)
เอเอฟพี - ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (ซีไอเอ) ให้ความเห็นในวันอังคาร (11) ว่ายังไม่อาจตัดความเป็นไปได้ของการ “ก่อการร้าย” ในเหตุเครื่องบินของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ส หายสาบสูญไปตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมให้คำจำกัดความชะตากรรมของเครื่องบินลำนี้ว่ายังเป็น “ปริศนา”
จอห์น เบรนแนน ผู้อำนวยการซีไอเอ ยอมรับว่าได้รับรายงานเกี่ยวกับกรณี มีหลายกลุ่มออกมากล่าวอ้างอยู่เบื้องหลังเหตุสูญหายของเครื่องบินลำนี้ แต่ย้ำจนถึงตอนนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้ “ตอนนี้มีข่าวลือต่างๆ นานาเยอะเหลือเกิน บางส่วนก็กล่าวอ้างความรับผิดชอบ แต่ก็อย่างที่คุณรู้ ยังไม่สามารถยืนยันหรือแน่ใจใดๆ ได้ เรากำลังตรวจสอบเรื่องนี้อย่างระมัดระวังที่สุด”
เบรนแนน ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม แต่ความคิดเห็นของเขาถือเป็นเจ้าหน้าที่สหรัฐฯรายแรก ที่ออกมาพาดพิงว่ามีกลุ่มบุคคลออกมาอ้างความรับผิดชอบต่อชะตากรรมของเครื่องบินลำดังกล่าว และเมื่อถูกถามว่าเขา ตัดความเป็นไปได้ของก่อการร้ายไปแล้วหรือไม่ ผู้อำนวยการซีไอเอ ตอบว่า “ยัง ผมไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้นั้น”
อดีตที่ปรึกษาด้านต่อต้านก่อการร้ายของประธานาธิบดี บารัค โอบามา ชี้ว่ายังเร็วเกินไปที่จะสรุปชะตากรรมของเครื่องบินของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ส (เอ็มเอเอส) บรรทุกผู้โดยสารและลูกเรือ 239 คน สูญหายไปเมื่อวันเสาร์ (8) หลังเทคออฟจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ สู่ปลายทางกรุงปักกิ่ง “ชัดเจนว่ามันยังคงเป็นปริศนา”
ผู้อำนวยการซีไอเอรายนี้ตั้งข้อสังเกตว่ามีคำถามมากมายในกรณีแวดล้อมนี้ ไม่ว่าจะเป็นทำไมตัวรับส่งเรดาร์ของเครื่องบินถึงหยุดส่งสัญญาณและผู้โดยสารที่ใช้พาสปอร์ตที่ขโมยมามีบทบาทต่อเรื่องนี้อย่างไร “ในเรื่องทั้งหมดนี้มีสิ่งผิดปกติมากมาย เครื่องบินได้เลี้ยวกลับจึงหรือ คนที่เกี่ยวข้องกับพาสปอร์ตที่ขโมยมา พัวพันกับเรื่องนี้อย่างไร แล้วเครื่องรับส่งสัญญาณล่ะ ทำไมเครื่องบินถึงหายไปจากจอเรดาร์”
เมื่อถูกถามเกี่ยวกับข่าวลือที่ว่าบางทีนักบินอาจลงมือฆ่าตัวตาย ในประเด็นนี้ เบรนแนน ตอบว่า “ผมคิดว่าคงไม่สามารถตัดทฤษฎีใดๆ ไปได้” พร้อมบอกว่าเป็นเรื่องง่ายที่จะคาดเดากันไปต่างๆ นานา แต่เตือนว่าทุกฝ่ายจำเป็นต้องอดทนและปล่อยให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการสืบสวนต่อไป
ในวันอังคาร (11) มาเลเซีย ขยายขอบเขตการค้นหาเป็นรัศมี 100 ไมล์ทะเล (ราว 185 กิโลเมตร) รอบจุดที่โบอิ้ง 777 สูญหายไปจากจอเรดาร์เหนือทะเลจีนใต้ ขณะเดียวกันทางการแดนเสือเหลืองก็ลงมือดำเนินการตรวจสอบความเป็นไปได้ของเหตุก่อการร้าย ภายใต้ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่เอฟบีไอสหรัฐฯ
ตำรวจมาเลเซียระบุตัวผู้โดยสาร 1 ใน 2 คนที่ถือหนังสือเดินทางปลอมขึ้นเครื่องบินมาเลเซียแอร์ไลน์ส MH370 ที่สูญหาย โดยพบว่าเป็นชาวอิหร่านวัย 19 ปีที่ต้องการอพยพไปพำนักในเยอรมนี และไม่น่าจะพัวพันการก่อการร้าย ขณะที่ฝ่ายทหารของมาเลเซีย เชื่อว่าหลังจากโบอิ้ง 777 หายไปจากจอเรดาร์ของฝ่ายควบคุมการจราจรทางอากาศแล้ว มันยังคงบินต่อไปอีกเป็นเวลากว่า 1 ชั่วโมง โดยที่เปลี่ยนเส้นทางและมุ่งสู่ทิศตะวันตกมาตรงแถวๆ ช่องแคบมะละกา
ถ้าหากรายงานที่อ้างว่ามาจากฝ่ายทหารมาเลเซียนี้ได้รับการตรวจสอบยืนยันว่าเป็นความจริง ย่อมหมายความว่าเครื่องบินยังคงสามารถพยุงตัวอยู่ในระดับความสูงของการเดินทางตามปกติ และบินไปได้อีกราว 500 กิโลเมตร ขณะที่ช่องรับส่งสัญญาณเรดาร์ ตลอดจนระบบติดตามอื่นๆ ของเครื่องดูเหมือนจะถูกปิดหยุดใช้งาน
เอเอฟพี - ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (ซีไอเอ) ให้ความเห็นในวันอังคาร (11) ว่ายังไม่อาจตัดความเป็นไปได้ของการ “ก่อการร้าย” ในเหตุเครื่องบินของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ส หายสาบสูญไปตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมให้คำจำกัดความชะตากรรมของเครื่องบินลำนี้ว่ายังเป็น “ปริศนา”
จอห์น เบรนแนน ผู้อำนวยการซีไอเอ ยอมรับว่าได้รับรายงานเกี่ยวกับกรณี มีหลายกลุ่มออกมากล่าวอ้างอยู่เบื้องหลังเหตุสูญหายของเครื่องบินลำนี้ แต่ย้ำจนถึงตอนนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้ “ตอนนี้มีข่าวลือต่างๆ นานาเยอะเหลือเกิน บางส่วนก็กล่าวอ้างความรับผิดชอบ แต่ก็อย่างที่คุณรู้ ยังไม่สามารถยืนยันหรือแน่ใจใดๆ ได้ เรากำลังตรวจสอบเรื่องนี้อย่างระมัดระวังที่สุด”
เบรนแนน ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม แต่ความคิดเห็นของเขาถือเป็นเจ้าหน้าที่สหรัฐฯรายแรก ที่ออกมาพาดพิงว่ามีกลุ่มบุคคลออกมาอ้างความรับผิดชอบต่อชะตากรรมของเครื่องบินลำดังกล่าว และเมื่อถูกถามว่าเขา ตัดความเป็นไปได้ของก่อการร้ายไปแล้วหรือไม่ ผู้อำนวยการซีไอเอ ตอบว่า “ยัง ผมไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้นั้น”
อดีตที่ปรึกษาด้านต่อต้านก่อการร้ายของประธานาธิบดี บารัค โอบามา ชี้ว่ายังเร็วเกินไปที่จะสรุปชะตากรรมของเครื่องบินของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ส (เอ็มเอเอส) บรรทุกผู้โดยสารและลูกเรือ 239 คน สูญหายไปเมื่อวันเสาร์ (8) หลังเทคออฟจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ สู่ปลายทางกรุงปักกิ่ง “ชัดเจนว่ามันยังคงเป็นปริศนา”
ผู้อำนวยการซีไอเอรายนี้ตั้งข้อสังเกตว่ามีคำถามมากมายในกรณีแวดล้อมนี้ ไม่ว่าจะเป็นทำไมตัวรับส่งเรดาร์ของเครื่องบินถึงหยุดส่งสัญญาณและผู้โดยสารที่ใช้พาสปอร์ตที่ขโมยมามีบทบาทต่อเรื่องนี้อย่างไร “ในเรื่องทั้งหมดนี้มีสิ่งผิดปกติมากมาย เครื่องบินได้เลี้ยวกลับจึงหรือ คนที่เกี่ยวข้องกับพาสปอร์ตที่ขโมยมา พัวพันกับเรื่องนี้อย่างไร แล้วเครื่องรับส่งสัญญาณล่ะ ทำไมเครื่องบินถึงหายไปจากจอเรดาร์”
เมื่อถูกถามเกี่ยวกับข่าวลือที่ว่าบางทีนักบินอาจลงมือฆ่าตัวตาย ในประเด็นนี้ เบรนแนน ตอบว่า “ผมคิดว่าคงไม่สามารถตัดทฤษฎีใดๆ ไปได้” พร้อมบอกว่าเป็นเรื่องง่ายที่จะคาดเดากันไปต่างๆ นานา แต่เตือนว่าทุกฝ่ายจำเป็นต้องอดทนและปล่อยให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการสืบสวนต่อไป
ในวันอังคาร (11) มาเลเซีย ขยายขอบเขตการค้นหาเป็นรัศมี 100 ไมล์ทะเล (ราว 185 กิโลเมตร) รอบจุดที่โบอิ้ง 777 สูญหายไปจากจอเรดาร์เหนือทะเลจีนใต้ ขณะเดียวกันทางการแดนเสือเหลืองก็ลงมือดำเนินการตรวจสอบความเป็นไปได้ของเหตุก่อการร้าย ภายใต้ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่เอฟบีไอสหรัฐฯ
ตำรวจมาเลเซียระบุตัวผู้โดยสาร 1 ใน 2 คนที่ถือหนังสือเดินทางปลอมขึ้นเครื่องบินมาเลเซียแอร์ไลน์ส MH370 ที่สูญหาย โดยพบว่าเป็นชาวอิหร่านวัย 19 ปีที่ต้องการอพยพไปพำนักในเยอรมนี และไม่น่าจะพัวพันการก่อการร้าย ขณะที่ฝ่ายทหารของมาเลเซีย เชื่อว่าหลังจากโบอิ้ง 777 หายไปจากจอเรดาร์ของฝ่ายควบคุมการจราจรทางอากาศแล้ว มันยังคงบินต่อไปอีกเป็นเวลากว่า 1 ชั่วโมง โดยที่เปลี่ยนเส้นทางและมุ่งสู่ทิศตะวันตกมาตรงแถวๆ ช่องแคบมะละกา
ถ้าหากรายงานที่อ้างว่ามาจากฝ่ายทหารมาเลเซียนี้ได้รับการตรวจสอบยืนยันว่าเป็นความจริง ย่อมหมายความว่าเครื่องบินยังคงสามารถพยุงตัวอยู่ในระดับความสูงของการเดินทางตามปกติ และบินไปได้อีกราว 500 กิโลเมตร ขณะที่ช่องรับส่งสัญญาณเรดาร์ ตลอดจนระบบติดตามอื่นๆ ของเครื่องดูเหมือนจะถูกปิดหยุดใช้งาน