xs
xsm
sm
md
lg

อดีตช่วยรมว.ต่างประเทศสหรัฐฯยอมรับ “โลกตะวันตก” ใจไม่ถึงจนทำให้ “ปูตินบรรลุเป้าหมายในภารกิจ” -กองกำลังรัสเซียซ้อมรบใกล้พรมแดนยูเครนถอนกลับเข้าที่ตั้ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์- ฟิลิป เจ โครว์ลีย์ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของสหรัฐฯในสมัยแรกของรัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบามา และเป็นศาตราจารย์ประจำสถาบันความสัมพันธ์ทางการทูตและการสื่อสารของโลกแห่งมหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตันได้ให้ความเห็นเชิงวิเคราะห์ผ่านบทความของเขาในสื่อบีบีซีอังกฤษในเดียวกัน(3)ว่า ปูตินบรรลุภารกิจของเขาแล้ว และล่าสุดวันนี้(4)ปูตินได้สั่งให้ทหารที่ร่วมการฝึกในทางตะวันตกของรัสเซียใกล้กับยูเครนกลับเข้าฐานประจำของพวกเขาแล้ว อ้างจากสำนักข่าวอินเตอร์แฟกส์

ปัญหาที่มาพร้อมกับการตัดสินใจของแต่ละฝ่ายที่จะเผยโฉมออกมาในที่สุดของทั้งมอสโก หรือบรัสเซลและวอชิงตัน ที่สุดท้ายเห็นได้ชัดว่ารัสเซีย สหภาพยุโรป และสหรัฐฯกำลังเล่นหมากคนละกระดาน

โดยพบว่าโลกตะวันตกกำลังวางหมากอยู่กับรัสเซีย แต่ทว่าประธานาธิบดีแห่งรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน กำลังเล่นเดิมพันอยู่กับยูเครน จนกระทั่งในเวลาล่าสุดนี้ เห็นได้ชัดว่าปูตินเป็นฝ่ายชนะในต้นทุนที่เขาพร้อมยอมจ่าย ในขณะที่โลกตะวันตกและยูเครนที่มีไพ่ตายเหนือกว่าอยู่ในมือที่พร้อมจะเล่น แต่กลับลังเลที่จะต้องใช้มันเพราะใจไม่ถึงพอที่ต้องยอมรับในผลที่จะตามมา

ในวันอาทิตย์(2)ที่ผ่านมา รัฐมนตรีกระทรวงต่างสหรัฐฯ จอห์น แคร์รีย์ ได้เปิดเผยผ่านรายการซันเดย์ทอล์โชว์ว่า ยูเครนไม่จำเป็นต้องเป็น “ตะวันออก-ตะวันตก” จากทฤษฎีเกมส์ผลรวมเป็นศูนย์ แต่ความเป็นจริงแล้วมันเป็นเช่นนั้น ยูเครนถือเป็นปัญหาหลงเหลือใหญ่สุดท้ายที่ตกค้างมาจากหลังสิ้นสุดยุคสงครามเย็น ยูเครนได้เลือกหรือยังที่ยืนอยู่กับฝั่งรัสเซียหรือกับโลกตะวันตก? มีรอยปริที่เด่นชัดในการปฎิวัติและประวัติศาสตร์ยูเครน รวมไปถึงสังคมวิทยา และการเมืองของประเทศ

วิกฤตยูเครนที่ถือว่าใหญ่ที่สุดในยุโรปในศตวรรษที่ 21นี้เกิดขึ้นในต้นเดือนพฤศจิกายน 2013ที่ยูเครนต้องตัดสินใจเลือกระหว่าง “สหภาพยุโรป” หรือ “สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย”

เห็นได้ชัดว่าอดีตประธานาธิบดียูเครน วิกเตอร์ ยานูโควิชหันหน้าไปทางตะวันออก ขอพึ่งพิงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจำนวน 15พันล้านดอลลาร์ที่ปูตินมอบให้เพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจยูเครน แต่ประชาชนชาวยูเครนภายใต้การนำของยานูโควิชกลับมองไปทางตะวันตก ประท้วงการตัดสินใจของยานูโควิชที่ยอมไม่ลงนามกระชับความสัมพันธ์ด้านการค้าอย่างใกล้ชิดกับสหภาพยุโรปและบีบให้ยานูโควิชต้องหลบหนีออกไปยังรัสเซีย

ซึ่งโอบามาได้กล่าวในวันศุกร์(28 กุมภาพันธ์)ล่าสุดว่า รัสเซียต้องจ่ายในสิ่งที่ได้ตัดสินใจลงไป และแคร์รีย์ได้สาธยายถึงออพชันในเมนูที่มีไม่ว่าจะเป็น การถูกโดดเดี่ยวทางการเมือง เป็นเป้าโดนคว่ำบาตร และลงทุนและการค้าที่หดตัว

แต่ในขณะเดียวกันปูตินก็มีตัวเลขที่โลกตะวันตกต้องรับผิดชอบเช่นกัน เป็นต้นว่า นายกรัฐมนตรียูเครนรักษาการ อาร์เซนีย์ ยัตเซนยุค ได้เปิดเผยในวันอาทิตย์(2)ว่า “ยูเครนเข้าใกล้กับหายนะแล้ว” และยานูโควิชอาจจะหนีหายไปพร้อมกับเงิน 70พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่ห้องนิรภัยของประเทศว่างเปล่า ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าก่อนหน้านี้ ปูตินได้ซ่อนสมุดเช็คไว้ในกระเป๋า และสั่งจ่ายเงินช่วยเหลือยูเครนแค่ 3 พันล้านดอลลาร์ จึงเป็นคำถามที่ว่า โลกตะวันตกและไอเอ็มเอฟจะเข้าโอบอุ้มยูเครนได้หรือไม่ และได้เร็วแค่ไหน ไม่คำยืนยันอย่างเพียงพอเพื่อมารับรองในขณะที่ซีกโลกตะวันตกเองต่างก็เผชิญปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจตามๆกัน

เป็นไปได้ที่ชาติตะวันตกสามารถคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับรัสเซียจากสาเหตุที่เข้ารุกรานยูเครน และจากแหล่งข่าวกองทัพรัสเซียในวันอังคาร(4)พบว่า มีทหารรัสเซียจำนวน 16,000 คนได้ตรึงกำลังอยู่ในเขตไครเมียมาเป็นเวลาร่วมสัปดาห์แล้ว แต่ยังมีข้อจำกัดว่าสิ่งใดบ้างที่สามารถกระทำได้โดยไม่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของยุโรป และเมื่อมองถึงการผลิตในภาพรวมของทั้งโลก รัสเซียยังถือเป็นยักษ์ใหญ่ในโลกพลังงานที่มีความสำคัญต่อยุโรป เช่น เยอรมันยังนำเข้าแก๊สธรรมชาติ ถึง 1 ใน 3 ของประเทศจากรัสเซียเป็นต้น

และมหาอำนาจเศรษฐกิจของโลกตัดสินใจไม่เดินทางไปร่วมการประชุม G8 ที่จะจัดขึ้นที่โซชิในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ และเป็นไปได้อย่างสูงว่าการประชุมจะต้องยกเลิกไป ซึ้งกลุ่ม G7 ยังสามารถระงับสมาชิกภาพของรัสเซีย แต่ในความเป็นจริงแล้วปูตินให้ความสนใจกับยูเครนกว่ามากที่จะให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ชาติตะวันตก

และปูตินทำให้รู้ว่าเป้าหมายยุทธศาสตร์ของเขานั้นคือการยังคงให้ “ยูเครนอยู่ภายใต้อิทธิพลของรัสเซียต่อไป ไม่ว่าจะเป็นในฐานะประเทศคู่ค้า หรือรัฐกันชนก็ตาม” ซึ่งไพ่ตายของโลกตะวันตกคือการกลับเข้าสู่โต๊ะเจรจาที่จะนำยูเครนเข้าสู่สหภาพยุโรป หรือแม้กระทั่งองค์การนาโต แต่ทั้งสหรัฐฯและสหภาพยุโรปจะยอมเสี่ยงที่ต้องเผชิญหน้าขั้นแตกหักกับรัสเซียอย่างนั้นหรือ

ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นเช่นนั้น ปัญหาพวกนี้จะยังคงเป็นฉากหลังในการเลือกตั้งทั่วไปยูเครนที่จะมีขึ้นในปลายเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งในปัจจุบันเห็นได้ชัดว่ายูเครนไม่มีความสามารถที่จะเลือกได้ และดูเหมือนว่าในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่ายูเครนอาจจะไม่สามารถคงความเป็นรัฐเหมือนกับที่เป็นอยู่ในขณะนี้

เพราะในไครเมียที่มีระบบกึ่งปกครองตนเองมีแผนที่จะทำประชามติเพื่อตัดสินอนาคตว่า จะคงสถานะอยู่ใต้ยูเครนต่อไปในฐานะรัฐกึ่งอิสระ หรือจะประกาศเอกราช หรือจะยอมเข้าร่วมเป็นหนึ่งในพันธรัฐใต้ร่มเงารัสเซีย

ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าปูตินต้องการไครเมียเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียหรือไม่ แต่เขาได้ส่งสัญญาณถึงพลเมืองไครเมียที่พูดภาษารัสเซียเป็นหลัก ที่มีทั้งเชื้อชาติและวัฒนธรรมผูกโยงเข้ากับรัสเซีย ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่หนุนหลังการตัดสินใจของเขา

ด้านอำนาจใหม่ในกรุงเคียฟเพิ่งได้รับสัญญาณนี้ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังจากที่ไครเมียได้แต่งตั้งผู้นำกองทัพเรือไครเมียขึ้น

แต่หลังจากที่การเข้าไปผิดจังหวะในปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจยูเครน ความอยู่รอดของยานูโควิช และความแข็งแกร่งของม็อบฝ่ายค้านยูเครนที่จตุรัสเอกราชกลางกรุงเคียฟ วลาดิมีร์ ปูติน ได้อดทนรอโอกาสใช้ทั้งอิทธิพลและระยะเวลาทำให้การปฎิวัติยูเครนครั้งนี้อ่อนแอลงนี้เหมือนกับที่เขาทำในเหตุการณ์ปฎิวัติสีส้มเมื่อปี 2005

และล่าสุดในเช้าวันอังคาร(4)สำนักข่าวอินเตอร์แฟกส์ได้รายงานว่าปูตินได้ออกคำสั่งให้กองกำลังที่ร่วมซ้อมรบในKirillovsk ทางภาคตะวันตกรัสเซียติดพรมแดนยูเครนเดินทางกลับเข้ากรมกองของพวกเขา ซึ่งปูตินได้ชมการฝึกในวันจันทร์(3)ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการซ้อมรบที่ผู้นำรัสเซียได้สั่งให้มีขึ้นอย่างกระทันหันในสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ซึ่งในการซ้อมรบนี้มีทหาร 150,000 นาย อากาศยานรบ 90 ลำ รถหุ้มเกราะ 880 คันเรือรบ 80 ลำ และอาวุธหนักอื่นๆอีกมากมาย







กำลังโหลดความคิดเห็น