xs
xsm
sm
md
lg

อีกแล้ว! “โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ” ยอมรับ ปล่อยน้ำปนเปื้อน “กัมมันตภาพรังสี” รั่วอีก 100 ตัน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเอฟพี - เกิดเหตุน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีในระดับสูงปริมาตร 100 ตันรั่วไหลที่โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะอีกครั้ง บริษัทผู้บริหารโรงไฟฟ้าแห่งนี้แถลงในวันพฤหัสบดี (20 ก.พ.) หลังเปิดเผยว่าโรงไฟฟ้าที่มีสภาพทรุดโทรมพิกลพิการแห่งนี้มีเครื่องวัดอุณหภูมิที่ยังใช้การได้เพียงเครื่องเดียวจากทั้งหมด 9 เครื่อง

โฆษกของบริษัท “โตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์” (เท็ปโก) ซึ่งเป็นผู้บริหารโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะกล่าว่า น้ำปนเปื้อนสารพิษหยุดไหลออกมาจากถังเก็บน้ำในโรงไฟฟ้าแล้ว และดูเหมือนจะสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้แล้ว ทว่าข่าวนี้ก็ทำบริษัทที่มี “ชื่อเสีย” ในด้านความปลอดภัยแห่งนี้ต้องถูกโจมตีอีกครั้ง

“เนื่องจากไม่มีทางระบายน้ำใกล้รอยรั่ว ซึ่งอยู่ห่างจากมหาสมุทร จึงเป็นไปได้ยากที่น้ำเหล่านี้จะรั่วไหลลงไปในทะเล” เขาชี้

ถังเก็บน้ำใบดังกล่าวซึ่งเป็นหนึ่งในถังหลายร้อยใบที่โรงไฟฟ้า อยู่ห่างจากชายฝั่งราว 700 เมตร โดยมีไว้เพื่อกักเก็บน้ำที่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี จากกระบวนการหล่อเย็นเตาปฏิกรณ์ซึ่งหลอมละลายแล้ว

อย่างไรก็ตาม เขาเผยว่า น้ำที่รั่วออกมาคราวนี้ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีในระดับสูง โดยมีค่ารังสีบีตาถึง “230 ล้านเบ็กเคอเรลต่อลิตร”

ทั้งนี้ ค่าการปนเปื้อนของน้ำที่รั่วออกมาสูงกว่าระดับที่รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนดคือ 100 เบ็กเคอเรล ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม และ 10 เบ็กเคอเรล ต่อน้ำดื่ม 1 ลิตร ทั้งนี้ เบ็กเคอเรลเป็นหน่วยที่ใช้วัดกัมมันตภาพรังสี

รังสีบีตา ซึ่งประกอบด้วยธาตุโลหะสตรอนเทียม - 90 ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง นั้นเป็นอันตรายต่อมนุษย์อย่างร้ายแรง และสามารถทำลายดีเอ็นเอได้ แต่ก็เป็นสารที่สามารถป้องกันการรั่วไหลได้ค่อนข้างง่าย และไม่สามารถซึมผ่านแผ่นอลูมิเนียมบางๆ

“ตอนนี้เรากำลังดำเนินการฟื้นฟูน้ำที่รั่วไหล ตลอดจนดินที่ปนเปื้อนสารพิษจากน้ำ” โฆษกของบริษัทกล่าวเสริม

ถังใบนี้ใช้เก็บน้ำที่ผ่านการกรองเอาธาตุโลหะซีเซียมออกไปแล้ว แต่ยังคงเจือปนสตรอนเทียม ซึ่งเป็นสารที่สะสมในกระดูก และก่อมะเร็งหากรับประทานเข้าไป

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า อุบัติเหตุครั้งนี้เกิดขึ้นหนึ่งวันหลัง “เท็ปโก” ออกมาประกาศว่า เครื่องวัดอุณหภูมิ 1 ใน 2 เครื่อง ในส่วนล่างของถังรับแรงดันของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 2 เกิดชำรุดเสียหาย โดยแต่เดิมมีเครื่องวัดอุณหภูมิในถังรับแรงดันทั้งหมด 9 เครื่อง แต่ตอนนี้อีก 8 เครื่องไม่สามารถใช้การได้

เท็ปโกกล่าวว่า ยังสามารถใช้เครื่องวัดอุณหภูมิที่เหลือเพื่อตรวจสอบอุณหภูมิในถังรับแรงดันได้ สำนักข่าวเกียวโด และหนังสือพิมพ์อาซาฮี ชิมบุนระบุ

ทั้งนี้ อุปกรณ์ดังกล่าวมีไว้วัดระดับอุณหภูมิเชื้อเพลิงที่เก็บไว้ใน “สภาวะปิดเครื่องแบบเย็นตัว” (Cold shutdown) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแสดงปฏิกิริยาต่อเนื่องจนพัฒนาไปถึงค่าวิกฤต อาซาฮี ชิมบุนรายงาน
คณะผู้ตรวจสอบจากทบวงการปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) กำลังเข้าตรวจสอบสภาพโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ เมื่อวันที่ 13 ก.พ. โดยองค์การนานาชาติแห่งนี้ได้เรียกร้องให้ญี่ปุ่นหันมาพิจารณาทบทวน กระบวนการปล่อยน้ำปนเปื้อนจากกระบวนการหล่อเย็นเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้าแห่งนี้
กำลังโหลดความคิดเห็น