(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Erase that war with China 'in 2014'
By Peter Lee
23/12/2013
ยุทธศาสตร์ “ปักหมุดในเอเชีย” ที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ประกาศ เมื่อปี 2011 นั้น ถูกสร้างขึ้นมาในขณะที่สหรัฐฯกำลังพยายามหาความชอบธรรมและแรงจูงใจต่างๆ สำหรับการเป็นปรปักษ์ทางการทหารกับจีน โดยที่มีความเป็นไปได้ว่าอะไรๆ จะปะทุตัวขึ้นมาในปี 2014 นี้ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากพัฒนาการต่างๆ ในช่วงหลังๆ ก็กลับพบว่า นโยบายการต่างประเทศและการดำเนินการทางการทูตของฝ่ายจีน ส่วนใหญ่แล้วยังคงขับเคลื่อนด้วยความปรารถนาที่จะหลีกเลี่ยงภาวะถูกโดดเดี่ยว ตลอดจนยังคงขับดันด้วยความพยายามที่จะบรรเทาเจือจางการแบ่งขั้วอำนาจอย่างชัดเจนของนโยบาย “ปักหมุดในเอเชีย” ดังนั้น สงครามจึงยังคงเป็นสิ่งที่สามารถชะลอออกไปได้ อย่างน้อยที่สุดก็จนกระทั่งถึงปี 2017
(ต่อจากตอน 4)
**ยุทธศาสตร์ปักหมุด เวอร์ชั่น 2.0**
ตราบใดที่สาธารณรัฐประชาชนจีนยังคงเป็นรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ ตราบนั้นก็ยังคงคาดการณ์ได้เสมอว่าฝ่ายตะวันตกจะไม่มีวันละทิ้งถ้อยคำโวหารในเรื่องการปิดล้อมจำกัดเขตแดนมังกรไปอย่างสิ้นเชิง กระนั้นก็ตามที ความเป็นจริงที่กำลังค่อยๆ ปรากฏขึ้นมาอาจจะเป็นบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างออกไป และอาจจะเป็นประโยชน์แก่สหรัฐฯ และเป็นประโยชน์แก่ระเบียบด้านความมั่นคงในเอเชียโดยองค์รวม
ยุทธศาสตร์ปักหมุดในช่วงต่อไปข้างหน้า ซึ่งควรถือเป็นเวอร์ชั่น 2.0 แล้ว อาจจะไม่ได้เป็นเรื่องที่สหรัฐฯจะต้องพยายามก่อกวนทำให้ความมั่นคงในเอเชียเกิดความสับสน เพื่อจะได้ป้องกันไม่ให้ภาวะความเป็นเจ้าในระดับภูมิภาคของจีน สามารถเข้าเบียดแย่งฐานะความโดดเด่นทรงอำนาจสูงสุดของสหรัฐฯได้ แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ท้องเรื่องหลักของยุทธศาสตร์นี้ในเวอร์ชั่นใหม่ อาจจะปรับเปลี่ยนไปเป็นเรื่องของการยอมรับกระบวนการมุ่งสู่ความเท่าเทียมกันทางด้านการทหารภายในภูมิภาคนี้ สืบเนื่องจากการที่เศรษฐกิจของประเทศในแถบนี้กำลังเจริญเติบโตขึ้นมาตามลำดับ, ความรับรู้ความเข้าใจที่ว่าต้องเผชิญหน้ากับภัยคุกคาม (รวมทั้งภาวะเงินเฟ้อ), ตลอดจนความปรารถนาที่จะเป็นอิสระในเรื่องนโยบายความมั่นคง เหล่านี้กลายเป็นแรงขับดันให้มีการใช้จ่ายด้านกลาโหมเพิ่มขึ้นในตลอดทุกๆ ประเทศในเอเชีย ขณะที่ในเวลาเดียวกันนั้นเอง การที่ฝ่ายซึ่งเป็นคู่กรณีกันหรือเป็นคู่ปรปักษ์กัน (โดยที่ในภูมิภาคนี้ก็มีคู่ปรปักษ์เช่นนี้อยู่มากมายหลากหลายทีเดียว) ต่างก็กลับมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องขึ้นต่อกันและกันในทางเศรษฐกิจ ก็ทำให้เกิดความหวังขึ้นมาว่า ทุกๆ ฝ่ายต่างจะเกิดความตระหนักเพิ่มสูงขึ้น ถึงอันตรายของการหันไปพึ่งพาอาศัยด้านการทหาร/ความมั่นคงมากจนเกินไป จนกระทั่งทำให้ความสมดุลเกิดความเสียหาย
ถ้าหากสิ่งต่างๆ จักดำเนินไปในหนทางที่จีนปรารถนาแล้ว เราก็ควรจะได้เห็นสหรัฐฯตอบสนองต่อบทบาทของตนในเอเชียที่กำลังวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไป ด้วยการเล่นบทบาทเป็นคนกลางผู้ซื่อตรง และเป็น “ผู้คอยถ่วงดุลสูงสุด” (counterbalancer-in-chief) แทนที่จะยึดติดแน่นอยู่กับบทบาทการเป็นอัครอภิมหาอำนาจ (hyperpower) ผู้กำหนดระเบียบกฎเกณฑ์สูงสุด (lawgiver-in-chief) ผู้พร้อมยื่นคำขาดว่า “ต้องทำอย่างที่กูต้องการ ไม่อย่างนั้นก็ต้องเห็นดีกัน” (my-way-or-the-highway) ในการวางตนเป็นตัวแทนของพวกชาติประชาธิปไตยของเอเชีย เพื่อประจันหน้ากับจีน
แน่นอนทีเดียวว่า สิ่งต่างๆ อาจจะไม่ได้ดำเนินไปในหนทางที่จีนปรารถนา มันไม่ใช่ว่าเป็นภาพสมมุติสถานการณ์ที่ไม่น่าเป็นไปได้หรอก เนื่องจากพวกผู้นำสหรัฐฯรุ่นปัจจุบันนั้น เป็นพวกที่ขาดไร้ทั้งหลักความคิด, ประสบการณ์, ทักษะความชำนาญ, ตลอดจนความโน้มเอียง ที่จะทำให้พวกเขาสามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างได้ผลทรงประสิทธิภาพ ในภาวะแวดล้อมซึ่งเรียกร้องให้ต้องกระทำอะไรมากเกินกว่าแค่เพียงการแสดงความเป็นเจ้าใหญ่นายโต ออกมาอย่างแน่วแน่เด็ดเดี่ยวเท่านั้น
และคงต้องถือเป็นโชคร้ายคราวเคราะห์ทั้งสำหรับพวกพันธมิตรของอเมริกา และก็พวกศัตรูของอเมริกาด้วย เพราะเกียรติประวัติในเรื่องของการปฏิบัติการแสดงความเป็นเจ้าใหญ่นายโตของสหรัฐฯนั้น เห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีทั้งที่ทำได้อย่างดีและทั้งที่ทำได้อย่างเลว ผสมปนเปกันอยู่
การวาดภาพให้สหรัฐฯกลายเป็นผู้ดูแลจัดการเรื่องเสรีภาพและความมั่งคั่งรุ่งเรืองของโลกที่ทั้งเต็มไปด้วยความรังผิดชอบและทั้งอุดมไปด้วยความสามารถอย่างรอบด้านนั้น คือสมมุติฐานอันสามารถสร้างความปลาบปลื้มพึงพอใจแก่วอชิงตัน และวอชิงตันก็ไม่ได้ทำอะไรเลยเพื่อที่จะกำจัดลบเลือน แท้ที่จริงแล้ว ทัศนะมุมมองอันแสนสดใสนี้เองคือสิ่งที่คอยเติมความชอบธรรมอย่างมากมายอักโขให้แก่การยืนกรานด้วยความมั่นใจของวอชิงตันที่ว่า “การปักหมุดในเอเชีย” ของสหรัฐฯ จะทำให้สิ่งต่างๆ ดีงามอย่างเลิศเลอขึ้นอีกมากสำหรับทุกๆ ฝ่าย โดยที่ในเวลาเดียวกันนั้น วอชิงตันก็กลับทำหลงลืมละเลยไม่เอ่ยไม่คิดถึงช่วงเวลา 3 ทศวรรษแห่งความทุกข์ยากเดือดร้อนซึ่งสหรัฐฯได้ช่วยก่อให้เกิดขึ้นอย่างคงทนถาวร ในภูมิภาคซึ่งเป็นจุดโฟกัสเน้นหนักแห่งความสนใจและแห่งการทุ่มเทกำลังความสามารถของอเมริกาก่อนหน้านี้ ภูมิภาคที่เป็นจุดโฟกัสดังกล่าวก็คือ ตะวันออกกลาง
ถ้าหากต้องการมองภาพความเลวร้ายอย่างถึงที่สุดที่สหรัฐฯอาจจะก่อให้เกิดขึ้นกับเอเชียแล้ว ขอให้ลองมองดูช่วงสมัยแห่งการเป็นประธานาธิบดีอเมริกันของ จอร์จ ดับเบิลยู บุช เป็นอุทาหรณ์เถิด
ชาวเอเชียคงต้องขอบคุณการปรากฏขึ้นมาอย่างไม่คาดฝันของบ่อโคลนดูดแห่งตะวันออกกลาง ข้างใต้ของพรมลายกลีบดอกกุหลาบซึ่งปูทอดออกรอรับ “ผู้ปลดแอกชาวอเมริกัน” ในอิรัก เพราะมันทำให้คณะรัฐบาลบุชผู้ลูก ไม่ค่อยมีโอกาสหรือมีเวลาว่างอะไรมากมายนักสำหรับการสร้างความชั่วร้ายให้แก่เอเชียโดยตรง
กระนั้นก็ตามที สำหรับรองประธานาธิบดีดิ๊ก เชนีย์ ในยุคของ จอร์จ ดับเบิลยู บุชแล้ว การต่อต้านสิ่งที่มองว่าเป็นภัยคุกคามจากจีน ยังคงถือเป็นเกณฑ์แห่งการวัดความดีงามอยู่เสมอ โดยที่เชนีย์นั้นเป็นผู้ที่มองว่า เหตุผลสำคัญประการหนึ่งซึ่งสนับสนุนการเข้าไปเผชิญโชคในอิรักของสหรัฐฯ ก็คือการที่วอชิงตันอาจนำความสำเร็จที่จะเกิดขึ้น มาใช้เป็นประโยชน์ในการบีบคอตัดทอนซัปพลายด้านน้ำมันของสาธารณรัฐประชาชนจีนนั่นเอง พวกพันธมิตรของเขาที่อยู่ในกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯนั้น ไม่ได้หวาดหวั่นกลัวเกรงอะไรเลยในการนำเอาไพ่ไต้หวันมาเล่น ทั้งๆ ที่การทำเช่นนั้นจะต้องก่อให้เกิดความเสียหายพังพินาศในเอเชียตะวันออกเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย
ในปี 2007 สำนักพิมพ์คองเกรสชั่นนัล ควอเตอร์ลีย์ (Congressional Quarterly) ได้เผยแพร่ถ่ายทอดบันทึกความทรงจำของ ลอว์เรนซ์ วิลเคอร์สัน (Lawrence Wilkerson) ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมงานของอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ โคลิน พาวล์ (Colin Powell) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทัศนะมุมมองของพวกอนุรักษนิยมใหม่ (neo-conservative) ต่อการเป็นเอกราชของไต้หวัน โดยเขาเขียนเอาไว้ดังนี้:
“กระทรวงกลาโหมในเวลานั้น ซึ่งมี เฟธ (Feith) , แคมโบเน (Cambone), วูลโฟวิตซ์ (Wolfowitz) และ (รัฐมนตรีกลาโหม) รัมสเฟลด์ (Rumsfeld)เอง เป็นหัวเรือใหญ่ ได้ทำการจัดส่งบุคลากร 1 คนไปยังไต้หวันทุกๆ สัปดาห์ ... โดยสาระสำคัญแล้วก็คือไปบอก เฉิน สุยเปี่ยน (Chen Shui-bian ผู้เป็นประธานาธิบดีของไต้หวันในตอนนั้น ที่มาจากพรรคเดโมเครติก โปรเกรสซีฟ ปาร์ตี้) ... ว่าการประกาศเอกราชเป็นเรื่องดี”
วิลเคอร์สันบอกว่า เพื่อรับมือกับเรื่องนี้ พาวล์ จึงได้จัดส่งผู้แทนของตัวเขาเอง “เดินทางไล่หลังบุคคลผู้นั้นไป ในทุกๆ ครั้งที่พวกเขาส่งใครสักคนไปที่นั่น ทั้งนี้เพื่อคอยไปแก้ไขความเข้าใจผิดของกลไกด้านความมั่นคงแห่งชาติของไต้หวัน จากสิ่งที่พวกเขาได้รับแจ้งจากกระทรวงกลาโหม (สหรัฐฯ)”
“เรื่องนี้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง” วิลเคอร์สันระบุถึงความพยายามของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯที่จะไปยุให้ไต้หวันประกาศตนเป็นชาติเอกราช “จนกระทั่งเมื่อ จอร์จ ดับเบิลยู บุช กระโดดเข้ามา และบอกกับ รัมสเฟลด์ ให้ยุติเลิกราเสีย (อีกทั้ง) พร่ำบอกกับเขาอยู่หลายๆ ครั้ง ให้กลับไปสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างทหารกับทหารกับจีนขึ้นมาใหม่”
ผู้อำนวยการของสถาบันอเมริกันในไต้หวัน (American Institute in Taiwan ทำหน้าที่เป็นเสมือนสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำไต้หวันอย่างไม่เป็นทางการ เนื่องจากวอชิงตันต้องยุติความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทเป ภายหลังสถาปนาสายสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีน -ผู้แปล) ในสมัยนั้นคือ เธเรซา ชีฮาน (Theresa Sheehan) ผู้ซึ่งแต่งงานกับ แลร์รี เดอริตา (Larry DeRita) เลขานุการฝ่ายสื่อมวลชนของ โดนัลด์ รัมสเฟลด์ ที่กระทรวงกลาโหม ปรากฏว่า ชีฮานได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่ของเธอแบบแตกแถวจากนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศ ด้วยการผลักดันหนุนหลังให้ไต้หวันประกาศเอกราช อีกทั้งสนับสนุนป่าวร้องให้เห็นว่าวิถีทางของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯนั้นเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้จวบจนกระทั่ง โคลิน พาวล์ เรียกร้องให้เธอยื่นใบลาออก และเธอถูกโยกย้ายไปทำงานอื่น
สำหรับผู้ซึ่งคิดที่จะตอบโต้การอ้างอิงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีตนี้ ด้วยการหาความสนับสนุนจากข้อเท็จจริงที่ว่า เชนีย์ นั้นเวลานี้ได้พ้นจากตำแหน่งไปตั้งนานแล้ว ผมก็ขอให้นึกย้อนทบทวนว่า ปีศาจร้ายที่มนุษย์ปลุกขึ้นมานั้น ยังคงสามารถที่จะอยู่ยงคงกระพันและติดตามเฝ้าหลอกหลอนสร้างความชั่วร้ายต่อไปอีกนานแสนนาน ...
กระทั่งหลังจากที่การพังทลายทั้งทางนโยบายการต่างประเทศและทางการเมืองด้านต่างๆ ในช่วงเทอมที่ 2 แห่งการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้ทำลายเครดิตความน่าเชื่อถือในแนวทางการดำเนินนโยบายการต่างประเทศแบบก้าวร้าวของเชนีย์ไปตั้งมากมายแล้ว แต่รองประธานาธิบดีผู้นี้ก็ยังไม่แยแส และสามารถขจัดความพยายามของ คอนโดลีซซา ไรซ์ (Condoleezza Rice) ที่จะเข้ามาแสดงตัวควบคุมนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ ในฐานะที่เธอดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ โดยที่เขาเปิดฉากการเยือนต่างแดนแบบ ทัวร์ “อันธพาล” ("going rogue" tour) ในปี 2007 เพื่อระดมหาความสนับสนุนให้ญี่ปุ่น, อินเดีย, ออสเตรเลีย, และสหรัฐฯ จับมือกันเป็นพันธมิตรที่มุ่งต่อต้านสาธารณรัฐประชาชนจีนแบบเผชิญหน้า
ชินโซ อาเบะ ในตอนที่เขาขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรกที่รวมแล้วอยู่ได้ประมาณปีเศษๆ คือผู้ที่สนใจเอาใจใส่รับฟังเชนีย์เป็นพิเศษ เขาแสดงการรับรองอย่างกระตือรือร้นต่อนโยบายปิดล้อมแดนมังกรแบบ 4 มุม จนมีลักษณะเป็นรูป “เพชร” นี้ และทำให้มันกลายเป็นส่วนแกนกลางในยุทธศาสตร์เกี่ยวกับเอเชียของเขา รวมทั้งอาเบะยังได้หาทางปฏิบัติตามยุทธศาสตร์นี้ต่อมาอีก ด้วยการที่พยายามจับมือกับอินเดียในด้านความมั่นคงครั้งใหญ่ ในระหว่างการนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ของเขาในคราวนี้
จากภูมิหลังดังที่พรรณนานามา จะเห็นได้ว่าเครื่องวัดที่ทรงความสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งว่ากำลังจะเกิดความเลวร้ายขึ้นในเอเชียหรือไม่ ก็คือสถานการณ์ทางการเมืองในไต้หวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่ว (Ma Ying-jeou) ของสาธารณรัฐจีน (Republic of China ชื่ออย่างเป็นทางการของไต้หวัน) ผู้มีนโยบายมุ่งผูกพันกับแผ่นดินใหญ่อย่างเด็ดเดี่ยว กำลังมีคะแนนนิยมตกต่ำอย่างน่าใจหาย โดยที่รายงานข่าวชิ้นหนึ่งของหนังสือพิมพ์ ไทเป ไทมส์ (Taipei Times) ฉบับวันที่ 9 พฤศจิกายน 2013 ได้บอกให้เราทราบว่า เขาไม่สามารถที่จะปั่นทองคำทางการเมืองใดๆ ได้เลยจากการเอนเอียงไปทางปักกิ่งของเขา:
“ผลการสำรวจ ซึ่งกระทำตั้งแต่วันอังคารจนถึงวันพฤหัสบดี พบว่ามีผู้ตอบคำถามเพียง 15.5% เท่านั้นที่เห็นชอบกับผลงานของ หม่า นับเป็นอัตราส่วนต่ำที่สุดเท่าที่องค์กรคลังสมองแห่งนี้ได้เคยทำการสำรวจความคิดเห็นทุกๆ 2 เดือนเช่นนี้มา โดยที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้ว ขณะที่ในอีกด้านหนึ่ง เรตติ้งความไม่ยอมรับเขาก็พุ่งขึ้นสูงจนทำสถิติใหม่ที่ 75.9%”[3]
ถ้าหาก หม่า ไม่สามารถทำให้สิ่งต่างๆ หักเลี้ยวหวนกลับมาเป็นผลดีต่อตัวเขาแล้ว พรรคเดโมเครติก พีเพิลส์ ปาร์ตี้ (Democratic People's Party) ซึ่งมีแนวทางมุ่งที่จะให้ไต้หวันประกาศเอกราช และ ซู เจินชาง (Su Tseng-chang) ผู้ที่ได้รับการคาดหมายกันว่าจะเป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของพรรคนี้ ก็จะกลายเป็นคนคุมบังเหียนไต้หวันในปี 2017 ซู นั้นกำลังบ่มเพาะสร้างสัมพันธ์กับ ชินทาโร อิชิฮาระ (Shintaro Ishihara) นักชาตินิยมสุดขั้วชาวญี่ปุ่น โดยเขาพยายามอธิบายว่าเพื่อเป็นการถ่วงน้ำหนักการที่ หม่า และพรรคก๊กมิ่นตั๋ง ของเขา แสดงความโรมานซ์สนิทสนมกับปักกิ่ง นอกจากนั้นแล้ว มีความเป็นไปได้อย่างมากว่า ซูยังกำลังใกล้จะประกาศรับรองการกล่าวอ้างสิทธิ์เหนือหมู่เกาะเซงกากุของญี่ปุ่น โดยถือเป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์แห่งการจับขั้วเกาะกลุ่มพันธมิตรกันใหม่ของเขา
ถ้าหากพรรคเดโมเครติก พีเพิลส์ ปาร์ตี้ ขึ้นครองอำนาจในไต้หวัน, ส่วนนายกรัฐมนตรีอาเบะก็ยังคงเดินหน้าทำการสอดแทรกจุ้นจ้านในภูมิรัฐศาสตร์ระดับภูมิภาคของเขาต่อไป, และสาธารณรัฐประชาชนจีนก็สร้างความขุ่นเคืองให้แก่เพื่อนบ้านด้วยนโยบายต่างๆ ด้านอาณาเขตทางทะเลของแดนมังกรแล้ว ภาพสมมุติสถานการณ์ที่ว่าไต้หวันภายใต้พรรคเดโมเครติก พีเพิลส์ ปาร์ตี้ จะจัดการลงประชามติและมีผลออกมาว่าฝ่ายที่ต้องการประกาศเอกราชเป็นฝ่ายชนะ โดยที่ญี่ปุ่นก็ออกมาประกาศหนุนหลัง ก็อาจจะบังเกิดขึ้นได้ แน่นอนทีเดียวว่ามันจะต้องเป็นภาพสมมุติสถานการณ์แห่งความไร้เสถียรภาพ และเมื่อถึงตอนนั้นความอดกลั้นอดทนของสหรัฐฯก็จะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น ในการรับมือกับสถานการณ์
ในกรณีเช่นนั้น สาธารณรัฐประชาชนจีนเผชิญกับหนทางเลือกเพียง 2 ประการเท่านั้น นั่นคือ ถ้าไม่ยอมรับและยอมทนให้เกียรติภูมิและอำนาจของตนถูกชกเข้าโครมใหญ่ ก็จะต้องกดปุ่มประกาศทำสงคราม [4]
ถ้าหากไต้หวันมุ่งหน้าไปสู่การประกาศเอกราชแล้ว สหรัฐฯก็จะไม่ได้เผชิญกับโมเดลแห่งการปิดล้อมจำกัดเขตอันแสนสบาย ซึ่งสหรัฐฯกับพันธมิตรของเขามีหน้าที่ต้องกระทำเพียงแค่คอยฟาดมือตบใส่ปากใส่จมูกของมังกรจีน ในยามที่มังกรตัวนี้พยายามบุกรุกเข้าไปในพื้นที่อาณาเขตอันเกินเลยไปจากขอบเขตที่พวกเขาเห็นว่าถูกต้องและเหมาะสม ตรงกันข้าม มันกำลังจะกลายเป็นการรับมือกับการปฏิเสธไม่ยอมรับระบบ “จีนเดียว” (one-China) อย่างโจ่งแจ้งเปิดเผย ซึ่งจะทำให้ดุลแห่งอำนาจในภูมิภาคนี้แตกทลายเป็นเสี่ยงๆ และเมื่อดุลนี้ล่มสลายเสียแล้ว ก็เกิดความจำเป็นที่จะต้องหาทางทัดทานยับยั้งฝ่ายต่างๆ หลายหลากที่ออกมาแสดงความโกรธแค้นเป็นปรปักษ์กัน โดยที่ความเป็นปรปักษ์ดังกล่าวนี้ มีทั้งส่วนซึ่งขับดันโดยอารมณ์ความรู้สึกต้องการเรียกร้องดินแดนที่สูญเสียไปกลับคืน, ลัทธิชาตินิยม, และความสำนึกที่ว่าถูกคุกคามความอยู่รอด
นี่เป็นสถานการณ์ที่ผมเชื่อว่าคณะรัฐบาลโอบามาไม่ได้มีความพึงพอใจเลยถ้าหากพบว่าตนเองต้องพลัดหลงเข้าไป ทว่าคณะรัฐบาลโอบามาจะไม่ได้อยู่ในอำนาจอีกแล้วเมื่อถึงปี 2017
ผมคิดว่าพวกนักการเมืองทุกวันนี้มีสายตายาวไกลเพียงพอที่จะไม่เสี่ยงทอดลูกเต๋าเพื่อเปิดสงครามในเอเชียขึ้นมา แต่ก็อย่างที่ชอบพูดกันว่า ผลที่เกิดขึ้นในอดีตไม่ได้เป็นหลักประกันสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในปี 2014 ยังไม่มีสงครามหรอก แต่ในปี 2017 ล่ะ? ตอนนี้ผมยังไม่ขอวางเดิมพันอยู่ข้างไหนหรอก
**หมายเหตุ**
[1] ดูเรื่อง Maybe that war with China isn't so far off after all, Asia Times Online, December 22, 2011.
[2] ดูเรื่อง Japan spins anti-China merry-go-round, Asia Times Online, October 29, 2010.
[3] ดูเรื่อง Ma’s rating hits rock bottom: poll, Taipei Times, November 9, 2013.
[4] ดูเรื่อง DPP chairman risks Beijing backlash by meeting Ishihara, South China Morning Post, February 3, 2013.
ปีเตอร์ ลี เป็นนักเขียนที่สนใจเรื่องกิจการเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ ตลอดจนจุดตัดกันระหว่างภูมิภาคเหล่านี้กับนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ
(ข้อเขียนนี้มีความยาวมาก จึงแบ่งเป็น 5 ตอน นี่คือตอน 5 ซึ่งเป็นตอนจบ โปรดติดตาม
ปี 2014 จะเกิดสงครามสหรัฐฯ-จีน? ตอน 1: ปักกิ่งเพลี่ยงพล้ำ-วอชิงตันรุกไล่
ปี 2014 จะเกิดสงครามสหรัฐฯ-จีน? ตอน 2: เขตป้องกันภัยทางอากาศของปักกิ่ง
ปี 2014 จะเกิดสงครามสหรัฐฯ-จีน? ตอน 3: ‘อาเบะ ’ยึด ‘ยุทธศาสตร์ปักหลุด’
ปี 2014 จะเกิดสงครามสหรัฐฯ-จีน? ตอน 4: ‘จีน’ แตกต่างจาก ‘สหภาพโซเวียต’
ปี 2014 จะเกิดสงครามสหรัฐฯ-จีน? ตอน 5: ‘ปักหมุด’ เวอร์ชั่น 2.0)
Erase that war with China 'in 2014'
By Peter Lee
23/12/2013
ยุทธศาสตร์ “ปักหมุดในเอเชีย” ที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ประกาศ เมื่อปี 2011 นั้น ถูกสร้างขึ้นมาในขณะที่สหรัฐฯกำลังพยายามหาความชอบธรรมและแรงจูงใจต่างๆ สำหรับการเป็นปรปักษ์ทางการทหารกับจีน โดยที่มีความเป็นไปได้ว่าอะไรๆ จะปะทุตัวขึ้นมาในปี 2014 นี้ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากพัฒนาการต่างๆ ในช่วงหลังๆ ก็กลับพบว่า นโยบายการต่างประเทศและการดำเนินการทางการทูตของฝ่ายจีน ส่วนใหญ่แล้วยังคงขับเคลื่อนด้วยความปรารถนาที่จะหลีกเลี่ยงภาวะถูกโดดเดี่ยว ตลอดจนยังคงขับดันด้วยความพยายามที่จะบรรเทาเจือจางการแบ่งขั้วอำนาจอย่างชัดเจนของนโยบาย “ปักหมุดในเอเชีย” ดังนั้น สงครามจึงยังคงเป็นสิ่งที่สามารถชะลอออกไปได้ อย่างน้อยที่สุดก็จนกระทั่งถึงปี 2017
(ต่อจากตอน 4)
**ยุทธศาสตร์ปักหมุด เวอร์ชั่น 2.0**
ตราบใดที่สาธารณรัฐประชาชนจีนยังคงเป็นรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ ตราบนั้นก็ยังคงคาดการณ์ได้เสมอว่าฝ่ายตะวันตกจะไม่มีวันละทิ้งถ้อยคำโวหารในเรื่องการปิดล้อมจำกัดเขตแดนมังกรไปอย่างสิ้นเชิง กระนั้นก็ตามที ความเป็นจริงที่กำลังค่อยๆ ปรากฏขึ้นมาอาจจะเป็นบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างออกไป และอาจจะเป็นประโยชน์แก่สหรัฐฯ และเป็นประโยชน์แก่ระเบียบด้านความมั่นคงในเอเชียโดยองค์รวม
ยุทธศาสตร์ปักหมุดในช่วงต่อไปข้างหน้า ซึ่งควรถือเป็นเวอร์ชั่น 2.0 แล้ว อาจจะไม่ได้เป็นเรื่องที่สหรัฐฯจะต้องพยายามก่อกวนทำให้ความมั่นคงในเอเชียเกิดความสับสน เพื่อจะได้ป้องกันไม่ให้ภาวะความเป็นเจ้าในระดับภูมิภาคของจีน สามารถเข้าเบียดแย่งฐานะความโดดเด่นทรงอำนาจสูงสุดของสหรัฐฯได้ แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ท้องเรื่องหลักของยุทธศาสตร์นี้ในเวอร์ชั่นใหม่ อาจจะปรับเปลี่ยนไปเป็นเรื่องของการยอมรับกระบวนการมุ่งสู่ความเท่าเทียมกันทางด้านการทหารภายในภูมิภาคนี้ สืบเนื่องจากการที่เศรษฐกิจของประเทศในแถบนี้กำลังเจริญเติบโตขึ้นมาตามลำดับ, ความรับรู้ความเข้าใจที่ว่าต้องเผชิญหน้ากับภัยคุกคาม (รวมทั้งภาวะเงินเฟ้อ), ตลอดจนความปรารถนาที่จะเป็นอิสระในเรื่องนโยบายความมั่นคง เหล่านี้กลายเป็นแรงขับดันให้มีการใช้จ่ายด้านกลาโหมเพิ่มขึ้นในตลอดทุกๆ ประเทศในเอเชีย ขณะที่ในเวลาเดียวกันนั้นเอง การที่ฝ่ายซึ่งเป็นคู่กรณีกันหรือเป็นคู่ปรปักษ์กัน (โดยที่ในภูมิภาคนี้ก็มีคู่ปรปักษ์เช่นนี้อยู่มากมายหลากหลายทีเดียว) ต่างก็กลับมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องขึ้นต่อกันและกันในทางเศรษฐกิจ ก็ทำให้เกิดความหวังขึ้นมาว่า ทุกๆ ฝ่ายต่างจะเกิดความตระหนักเพิ่มสูงขึ้น ถึงอันตรายของการหันไปพึ่งพาอาศัยด้านการทหาร/ความมั่นคงมากจนเกินไป จนกระทั่งทำให้ความสมดุลเกิดความเสียหาย
ถ้าหากสิ่งต่างๆ จักดำเนินไปในหนทางที่จีนปรารถนาแล้ว เราก็ควรจะได้เห็นสหรัฐฯตอบสนองต่อบทบาทของตนในเอเชียที่กำลังวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไป ด้วยการเล่นบทบาทเป็นคนกลางผู้ซื่อตรง และเป็น “ผู้คอยถ่วงดุลสูงสุด” (counterbalancer-in-chief) แทนที่จะยึดติดแน่นอยู่กับบทบาทการเป็นอัครอภิมหาอำนาจ (hyperpower) ผู้กำหนดระเบียบกฎเกณฑ์สูงสุด (lawgiver-in-chief) ผู้พร้อมยื่นคำขาดว่า “ต้องทำอย่างที่กูต้องการ ไม่อย่างนั้นก็ต้องเห็นดีกัน” (my-way-or-the-highway) ในการวางตนเป็นตัวแทนของพวกชาติประชาธิปไตยของเอเชีย เพื่อประจันหน้ากับจีน
แน่นอนทีเดียวว่า สิ่งต่างๆ อาจจะไม่ได้ดำเนินไปในหนทางที่จีนปรารถนา มันไม่ใช่ว่าเป็นภาพสมมุติสถานการณ์ที่ไม่น่าเป็นไปได้หรอก เนื่องจากพวกผู้นำสหรัฐฯรุ่นปัจจุบันนั้น เป็นพวกที่ขาดไร้ทั้งหลักความคิด, ประสบการณ์, ทักษะความชำนาญ, ตลอดจนความโน้มเอียง ที่จะทำให้พวกเขาสามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างได้ผลทรงประสิทธิภาพ ในภาวะแวดล้อมซึ่งเรียกร้องให้ต้องกระทำอะไรมากเกินกว่าแค่เพียงการแสดงความเป็นเจ้าใหญ่นายโต ออกมาอย่างแน่วแน่เด็ดเดี่ยวเท่านั้น
และคงต้องถือเป็นโชคร้ายคราวเคราะห์ทั้งสำหรับพวกพันธมิตรของอเมริกา และก็พวกศัตรูของอเมริกาด้วย เพราะเกียรติประวัติในเรื่องของการปฏิบัติการแสดงความเป็นเจ้าใหญ่นายโตของสหรัฐฯนั้น เห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีทั้งที่ทำได้อย่างดีและทั้งที่ทำได้อย่างเลว ผสมปนเปกันอยู่
การวาดภาพให้สหรัฐฯกลายเป็นผู้ดูแลจัดการเรื่องเสรีภาพและความมั่งคั่งรุ่งเรืองของโลกที่ทั้งเต็มไปด้วยความรังผิดชอบและทั้งอุดมไปด้วยความสามารถอย่างรอบด้านนั้น คือสมมุติฐานอันสามารถสร้างความปลาบปลื้มพึงพอใจแก่วอชิงตัน และวอชิงตันก็ไม่ได้ทำอะไรเลยเพื่อที่จะกำจัดลบเลือน แท้ที่จริงแล้ว ทัศนะมุมมองอันแสนสดใสนี้เองคือสิ่งที่คอยเติมความชอบธรรมอย่างมากมายอักโขให้แก่การยืนกรานด้วยความมั่นใจของวอชิงตันที่ว่า “การปักหมุดในเอเชีย” ของสหรัฐฯ จะทำให้สิ่งต่างๆ ดีงามอย่างเลิศเลอขึ้นอีกมากสำหรับทุกๆ ฝ่าย โดยที่ในเวลาเดียวกันนั้น วอชิงตันก็กลับทำหลงลืมละเลยไม่เอ่ยไม่คิดถึงช่วงเวลา 3 ทศวรรษแห่งความทุกข์ยากเดือดร้อนซึ่งสหรัฐฯได้ช่วยก่อให้เกิดขึ้นอย่างคงทนถาวร ในภูมิภาคซึ่งเป็นจุดโฟกัสเน้นหนักแห่งความสนใจและแห่งการทุ่มเทกำลังความสามารถของอเมริกาก่อนหน้านี้ ภูมิภาคที่เป็นจุดโฟกัสดังกล่าวก็คือ ตะวันออกกลาง
ถ้าหากต้องการมองภาพความเลวร้ายอย่างถึงที่สุดที่สหรัฐฯอาจจะก่อให้เกิดขึ้นกับเอเชียแล้ว ขอให้ลองมองดูช่วงสมัยแห่งการเป็นประธานาธิบดีอเมริกันของ จอร์จ ดับเบิลยู บุช เป็นอุทาหรณ์เถิด
ชาวเอเชียคงต้องขอบคุณการปรากฏขึ้นมาอย่างไม่คาดฝันของบ่อโคลนดูดแห่งตะวันออกกลาง ข้างใต้ของพรมลายกลีบดอกกุหลาบซึ่งปูทอดออกรอรับ “ผู้ปลดแอกชาวอเมริกัน” ในอิรัก เพราะมันทำให้คณะรัฐบาลบุชผู้ลูก ไม่ค่อยมีโอกาสหรือมีเวลาว่างอะไรมากมายนักสำหรับการสร้างความชั่วร้ายให้แก่เอเชียโดยตรง
กระนั้นก็ตามที สำหรับรองประธานาธิบดีดิ๊ก เชนีย์ ในยุคของ จอร์จ ดับเบิลยู บุชแล้ว การต่อต้านสิ่งที่มองว่าเป็นภัยคุกคามจากจีน ยังคงถือเป็นเกณฑ์แห่งการวัดความดีงามอยู่เสมอ โดยที่เชนีย์นั้นเป็นผู้ที่มองว่า เหตุผลสำคัญประการหนึ่งซึ่งสนับสนุนการเข้าไปเผชิญโชคในอิรักของสหรัฐฯ ก็คือการที่วอชิงตันอาจนำความสำเร็จที่จะเกิดขึ้น มาใช้เป็นประโยชน์ในการบีบคอตัดทอนซัปพลายด้านน้ำมันของสาธารณรัฐประชาชนจีนนั่นเอง พวกพันธมิตรของเขาที่อยู่ในกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯนั้น ไม่ได้หวาดหวั่นกลัวเกรงอะไรเลยในการนำเอาไพ่ไต้หวันมาเล่น ทั้งๆ ที่การทำเช่นนั้นจะต้องก่อให้เกิดความเสียหายพังพินาศในเอเชียตะวันออกเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย
ในปี 2007 สำนักพิมพ์คองเกรสชั่นนัล ควอเตอร์ลีย์ (Congressional Quarterly) ได้เผยแพร่ถ่ายทอดบันทึกความทรงจำของ ลอว์เรนซ์ วิลเคอร์สัน (Lawrence Wilkerson) ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมงานของอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ โคลิน พาวล์ (Colin Powell) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทัศนะมุมมองของพวกอนุรักษนิยมใหม่ (neo-conservative) ต่อการเป็นเอกราชของไต้หวัน โดยเขาเขียนเอาไว้ดังนี้:
“กระทรวงกลาโหมในเวลานั้น ซึ่งมี เฟธ (Feith) , แคมโบเน (Cambone), วูลโฟวิตซ์ (Wolfowitz) และ (รัฐมนตรีกลาโหม) รัมสเฟลด์ (Rumsfeld)เอง เป็นหัวเรือใหญ่ ได้ทำการจัดส่งบุคลากร 1 คนไปยังไต้หวันทุกๆ สัปดาห์ ... โดยสาระสำคัญแล้วก็คือไปบอก เฉิน สุยเปี่ยน (Chen Shui-bian ผู้เป็นประธานาธิบดีของไต้หวันในตอนนั้น ที่มาจากพรรคเดโมเครติก โปรเกรสซีฟ ปาร์ตี้) ... ว่าการประกาศเอกราชเป็นเรื่องดี”
วิลเคอร์สันบอกว่า เพื่อรับมือกับเรื่องนี้ พาวล์ จึงได้จัดส่งผู้แทนของตัวเขาเอง “เดินทางไล่หลังบุคคลผู้นั้นไป ในทุกๆ ครั้งที่พวกเขาส่งใครสักคนไปที่นั่น ทั้งนี้เพื่อคอยไปแก้ไขความเข้าใจผิดของกลไกด้านความมั่นคงแห่งชาติของไต้หวัน จากสิ่งที่พวกเขาได้รับแจ้งจากกระทรวงกลาโหม (สหรัฐฯ)”
“เรื่องนี้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง” วิลเคอร์สันระบุถึงความพยายามของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯที่จะไปยุให้ไต้หวันประกาศตนเป็นชาติเอกราช “จนกระทั่งเมื่อ จอร์จ ดับเบิลยู บุช กระโดดเข้ามา และบอกกับ รัมสเฟลด์ ให้ยุติเลิกราเสีย (อีกทั้ง) พร่ำบอกกับเขาอยู่หลายๆ ครั้ง ให้กลับไปสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างทหารกับทหารกับจีนขึ้นมาใหม่”
ผู้อำนวยการของสถาบันอเมริกันในไต้หวัน (American Institute in Taiwan ทำหน้าที่เป็นเสมือนสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำไต้หวันอย่างไม่เป็นทางการ เนื่องจากวอชิงตันต้องยุติความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทเป ภายหลังสถาปนาสายสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีน -ผู้แปล) ในสมัยนั้นคือ เธเรซา ชีฮาน (Theresa Sheehan) ผู้ซึ่งแต่งงานกับ แลร์รี เดอริตา (Larry DeRita) เลขานุการฝ่ายสื่อมวลชนของ โดนัลด์ รัมสเฟลด์ ที่กระทรวงกลาโหม ปรากฏว่า ชีฮานได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่ของเธอแบบแตกแถวจากนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศ ด้วยการผลักดันหนุนหลังให้ไต้หวันประกาศเอกราช อีกทั้งสนับสนุนป่าวร้องให้เห็นว่าวิถีทางของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯนั้นเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้จวบจนกระทั่ง โคลิน พาวล์ เรียกร้องให้เธอยื่นใบลาออก และเธอถูกโยกย้ายไปทำงานอื่น
สำหรับผู้ซึ่งคิดที่จะตอบโต้การอ้างอิงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีตนี้ ด้วยการหาความสนับสนุนจากข้อเท็จจริงที่ว่า เชนีย์ นั้นเวลานี้ได้พ้นจากตำแหน่งไปตั้งนานแล้ว ผมก็ขอให้นึกย้อนทบทวนว่า ปีศาจร้ายที่มนุษย์ปลุกขึ้นมานั้น ยังคงสามารถที่จะอยู่ยงคงกระพันและติดตามเฝ้าหลอกหลอนสร้างความชั่วร้ายต่อไปอีกนานแสนนาน ...
กระทั่งหลังจากที่การพังทลายทั้งทางนโยบายการต่างประเทศและทางการเมืองด้านต่างๆ ในช่วงเทอมที่ 2 แห่งการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้ทำลายเครดิตความน่าเชื่อถือในแนวทางการดำเนินนโยบายการต่างประเทศแบบก้าวร้าวของเชนีย์ไปตั้งมากมายแล้ว แต่รองประธานาธิบดีผู้นี้ก็ยังไม่แยแส และสามารถขจัดความพยายามของ คอนโดลีซซา ไรซ์ (Condoleezza Rice) ที่จะเข้ามาแสดงตัวควบคุมนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ ในฐานะที่เธอดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ โดยที่เขาเปิดฉากการเยือนต่างแดนแบบ ทัวร์ “อันธพาล” ("going rogue" tour) ในปี 2007 เพื่อระดมหาความสนับสนุนให้ญี่ปุ่น, อินเดีย, ออสเตรเลีย, และสหรัฐฯ จับมือกันเป็นพันธมิตรที่มุ่งต่อต้านสาธารณรัฐประชาชนจีนแบบเผชิญหน้า
ชินโซ อาเบะ ในตอนที่เขาขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรกที่รวมแล้วอยู่ได้ประมาณปีเศษๆ คือผู้ที่สนใจเอาใจใส่รับฟังเชนีย์เป็นพิเศษ เขาแสดงการรับรองอย่างกระตือรือร้นต่อนโยบายปิดล้อมแดนมังกรแบบ 4 มุม จนมีลักษณะเป็นรูป “เพชร” นี้ และทำให้มันกลายเป็นส่วนแกนกลางในยุทธศาสตร์เกี่ยวกับเอเชียของเขา รวมทั้งอาเบะยังได้หาทางปฏิบัติตามยุทธศาสตร์นี้ต่อมาอีก ด้วยการที่พยายามจับมือกับอินเดียในด้านความมั่นคงครั้งใหญ่ ในระหว่างการนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ของเขาในคราวนี้
จากภูมิหลังดังที่พรรณนานามา จะเห็นได้ว่าเครื่องวัดที่ทรงความสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งว่ากำลังจะเกิดความเลวร้ายขึ้นในเอเชียหรือไม่ ก็คือสถานการณ์ทางการเมืองในไต้หวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่ว (Ma Ying-jeou) ของสาธารณรัฐจีน (Republic of China ชื่ออย่างเป็นทางการของไต้หวัน) ผู้มีนโยบายมุ่งผูกพันกับแผ่นดินใหญ่อย่างเด็ดเดี่ยว กำลังมีคะแนนนิยมตกต่ำอย่างน่าใจหาย โดยที่รายงานข่าวชิ้นหนึ่งของหนังสือพิมพ์ ไทเป ไทมส์ (Taipei Times) ฉบับวันที่ 9 พฤศจิกายน 2013 ได้บอกให้เราทราบว่า เขาไม่สามารถที่จะปั่นทองคำทางการเมืองใดๆ ได้เลยจากการเอนเอียงไปทางปักกิ่งของเขา:
“ผลการสำรวจ ซึ่งกระทำตั้งแต่วันอังคารจนถึงวันพฤหัสบดี พบว่ามีผู้ตอบคำถามเพียง 15.5% เท่านั้นที่เห็นชอบกับผลงานของ หม่า นับเป็นอัตราส่วนต่ำที่สุดเท่าที่องค์กรคลังสมองแห่งนี้ได้เคยทำการสำรวจความคิดเห็นทุกๆ 2 เดือนเช่นนี้มา โดยที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้ว ขณะที่ในอีกด้านหนึ่ง เรตติ้งความไม่ยอมรับเขาก็พุ่งขึ้นสูงจนทำสถิติใหม่ที่ 75.9%”[3]
ถ้าหาก หม่า ไม่สามารถทำให้สิ่งต่างๆ หักเลี้ยวหวนกลับมาเป็นผลดีต่อตัวเขาแล้ว พรรคเดโมเครติก พีเพิลส์ ปาร์ตี้ (Democratic People's Party) ซึ่งมีแนวทางมุ่งที่จะให้ไต้หวันประกาศเอกราช และ ซู เจินชาง (Su Tseng-chang) ผู้ที่ได้รับการคาดหมายกันว่าจะเป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของพรรคนี้ ก็จะกลายเป็นคนคุมบังเหียนไต้หวันในปี 2017 ซู นั้นกำลังบ่มเพาะสร้างสัมพันธ์กับ ชินทาโร อิชิฮาระ (Shintaro Ishihara) นักชาตินิยมสุดขั้วชาวญี่ปุ่น โดยเขาพยายามอธิบายว่าเพื่อเป็นการถ่วงน้ำหนักการที่ หม่า และพรรคก๊กมิ่นตั๋ง ของเขา แสดงความโรมานซ์สนิทสนมกับปักกิ่ง นอกจากนั้นแล้ว มีความเป็นไปได้อย่างมากว่า ซูยังกำลังใกล้จะประกาศรับรองการกล่าวอ้างสิทธิ์เหนือหมู่เกาะเซงกากุของญี่ปุ่น โดยถือเป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์แห่งการจับขั้วเกาะกลุ่มพันธมิตรกันใหม่ของเขา
ถ้าหากพรรคเดโมเครติก พีเพิลส์ ปาร์ตี้ ขึ้นครองอำนาจในไต้หวัน, ส่วนนายกรัฐมนตรีอาเบะก็ยังคงเดินหน้าทำการสอดแทรกจุ้นจ้านในภูมิรัฐศาสตร์ระดับภูมิภาคของเขาต่อไป, และสาธารณรัฐประชาชนจีนก็สร้างความขุ่นเคืองให้แก่เพื่อนบ้านด้วยนโยบายต่างๆ ด้านอาณาเขตทางทะเลของแดนมังกรแล้ว ภาพสมมุติสถานการณ์ที่ว่าไต้หวันภายใต้พรรคเดโมเครติก พีเพิลส์ ปาร์ตี้ จะจัดการลงประชามติและมีผลออกมาว่าฝ่ายที่ต้องการประกาศเอกราชเป็นฝ่ายชนะ โดยที่ญี่ปุ่นก็ออกมาประกาศหนุนหลัง ก็อาจจะบังเกิดขึ้นได้ แน่นอนทีเดียวว่ามันจะต้องเป็นภาพสมมุติสถานการณ์แห่งความไร้เสถียรภาพ และเมื่อถึงตอนนั้นความอดกลั้นอดทนของสหรัฐฯก็จะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น ในการรับมือกับสถานการณ์
ในกรณีเช่นนั้น สาธารณรัฐประชาชนจีนเผชิญกับหนทางเลือกเพียง 2 ประการเท่านั้น นั่นคือ ถ้าไม่ยอมรับและยอมทนให้เกียรติภูมิและอำนาจของตนถูกชกเข้าโครมใหญ่ ก็จะต้องกดปุ่มประกาศทำสงคราม [4]
ถ้าหากไต้หวันมุ่งหน้าไปสู่การประกาศเอกราชแล้ว สหรัฐฯก็จะไม่ได้เผชิญกับโมเดลแห่งการปิดล้อมจำกัดเขตอันแสนสบาย ซึ่งสหรัฐฯกับพันธมิตรของเขามีหน้าที่ต้องกระทำเพียงแค่คอยฟาดมือตบใส่ปากใส่จมูกของมังกรจีน ในยามที่มังกรตัวนี้พยายามบุกรุกเข้าไปในพื้นที่อาณาเขตอันเกินเลยไปจากขอบเขตที่พวกเขาเห็นว่าถูกต้องและเหมาะสม ตรงกันข้าม มันกำลังจะกลายเป็นการรับมือกับการปฏิเสธไม่ยอมรับระบบ “จีนเดียว” (one-China) อย่างโจ่งแจ้งเปิดเผย ซึ่งจะทำให้ดุลแห่งอำนาจในภูมิภาคนี้แตกทลายเป็นเสี่ยงๆ และเมื่อดุลนี้ล่มสลายเสียแล้ว ก็เกิดความจำเป็นที่จะต้องหาทางทัดทานยับยั้งฝ่ายต่างๆ หลายหลากที่ออกมาแสดงความโกรธแค้นเป็นปรปักษ์กัน โดยที่ความเป็นปรปักษ์ดังกล่าวนี้ มีทั้งส่วนซึ่งขับดันโดยอารมณ์ความรู้สึกต้องการเรียกร้องดินแดนที่สูญเสียไปกลับคืน, ลัทธิชาตินิยม, และความสำนึกที่ว่าถูกคุกคามความอยู่รอด
นี่เป็นสถานการณ์ที่ผมเชื่อว่าคณะรัฐบาลโอบามาไม่ได้มีความพึงพอใจเลยถ้าหากพบว่าตนเองต้องพลัดหลงเข้าไป ทว่าคณะรัฐบาลโอบามาจะไม่ได้อยู่ในอำนาจอีกแล้วเมื่อถึงปี 2017
ผมคิดว่าพวกนักการเมืองทุกวันนี้มีสายตายาวไกลเพียงพอที่จะไม่เสี่ยงทอดลูกเต๋าเพื่อเปิดสงครามในเอเชียขึ้นมา แต่ก็อย่างที่ชอบพูดกันว่า ผลที่เกิดขึ้นในอดีตไม่ได้เป็นหลักประกันสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในปี 2014 ยังไม่มีสงครามหรอก แต่ในปี 2017 ล่ะ? ตอนนี้ผมยังไม่ขอวางเดิมพันอยู่ข้างไหนหรอก
**หมายเหตุ**
[1] ดูเรื่อง Maybe that war with China isn't so far off after all, Asia Times Online, December 22, 2011.
[2] ดูเรื่อง Japan spins anti-China merry-go-round, Asia Times Online, October 29, 2010.
[3] ดูเรื่อง Ma’s rating hits rock bottom: poll, Taipei Times, November 9, 2013.
[4] ดูเรื่อง DPP chairman risks Beijing backlash by meeting Ishihara, South China Morning Post, February 3, 2013.
ปีเตอร์ ลี เป็นนักเขียนที่สนใจเรื่องกิจการเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ ตลอดจนจุดตัดกันระหว่างภูมิภาคเหล่านี้กับนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ
(ข้อเขียนนี้มีความยาวมาก จึงแบ่งเป็น 5 ตอน นี่คือตอน 5 ซึ่งเป็นตอนจบ โปรดติดตาม
ปี 2014 จะเกิดสงครามสหรัฐฯ-จีน? ตอน 1: ปักกิ่งเพลี่ยงพล้ำ-วอชิงตันรุกไล่
ปี 2014 จะเกิดสงครามสหรัฐฯ-จีน? ตอน 2: เขตป้องกันภัยทางอากาศของปักกิ่ง
ปี 2014 จะเกิดสงครามสหรัฐฯ-จีน? ตอน 3: ‘อาเบะ ’ยึด ‘ยุทธศาสตร์ปักหลุด’
ปี 2014 จะเกิดสงครามสหรัฐฯ-จีน? ตอน 4: ‘จีน’ แตกต่างจาก ‘สหภาพโซเวียต’
ปี 2014 จะเกิดสงครามสหรัฐฯ-จีน? ตอน 5: ‘ปักหมุด’ เวอร์ชั่น 2.0)