xs
xsm
sm
md
lg

เรือรบของ 2 ชาติมหาอำนาจ “จีน-สหรัฐฯ” เกือบ “ปะทะกัน” ในทะเลจีนใต้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเอฟพี/เอเจนซีส์ - แหล่งข่าวกองทัพสหรัฐฯเปิดเผยว่า เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน “เหลียวหนิง” (Liaoning) ได้แล่นเข้ามาประชิดในระยะน้อยกว่า 500 หลา เกือบปะทะกับเรือลาดตระเวนคาวเพ็นส์ ( USS Cowpens ) ในเขตทะเลจีนใต้ในวันที่ 5 ธันวาคมที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯเลี่ยงปฎิเสธที่จะประเมินจุดมุ่งหมายของการเผชิญหน้าที่าแข็งกร้าวจากจีนในครั้งนี้ แต่สื่อรัสเซียอาร์ทีรายงานว่า จีนได้ส่งเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกเพื่อหยุดการลาดตระเวณของเรือรบสหรัฐฯในน่านน้ำพิพาทที่จีนอ้างสิทธิ์ครอบครอง

เรือลาดตระเวนคาวเพ็นส์ (USS Cowpens) จำต้องแล่นถอยออกมาเพื่อเลี่ยงการเฉี่ยวชนกับเรือรบจีนที่แล่นพุ่งตรงเข้ามาในระยะประจัญหน้าและหยุดลงในระยะที่น้อยกว่า 500 หลา รายงานจากแหล่งข่าวกองทัพเรือสหรัฐฯ และกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ

“การประจันหน้าครั้งนี้เกิดขึ้นในน่านน้ำสากลที่อยู่ในแถบทะเลจีนใต้เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม” แหล่งข่าวจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯเผยต่อในอีเมล

“และในท้ายที่สุด จากผลสำเร็จที่ต่อสายตรงคุยกันระหว่างเจ้าหน้าที่บนเรือรบสหรัฐฯและเรือรบของจีนทำให้เรือรบของทั้ง 2 ชาติมหาอำนาจสามารถตกลงกันได้ในการถอยหลังออกมาเพื่อเลี่ยงการปะทะ” แหล่งข่าวเผยต่อ

โดยเจ้าหน้าที่สหรัฐฯกล่าวต่อไปว่า เรือลาดตระเวนคาวเพ็นส์ได้เข้าไปอยู่ในระยะของเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีนที่ชื่อ “เหลียวหนิง” (Liaoning) ซึ่งถึงแม้จะไม่มีอะไรเกิดขึ้นในการเผชิญหน้าครั้งนี้แต่ก็ได้สร้างแรงกดดันให้กับทั้งสหรัฐฯและจีน ที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากหลังจากทางกรุงปักกิ่งได้ประกาศเขตป้องกันภัยทางอากาศ ในเดือนที่ผ่านมาที่ครอบคลุมทะเลจีนตะวันออก

ซึ่งการประจันหน้าจนเกือบจะกลายเป็นการปะทะเกิดขึ้นในในเขตยุทธศาสตร์ทะเลจีนใต้ที่รัฐบาลจีนได้มีนโยบายที่แข็งกร้าวในความพยายามที่จะควบคุมพื้นที่พิพาทกับประเทศเอเชียอื่นๆ ในแถบนี้โดยส่งเรือรบเหลียวหนิงลาดตระเวน ในขณะที่สหรัฐฯได้ส่งเรือลาดตระเวนคาวเพ็นส์ไปช่วยเพื่อผู้ประสบภัยพายุไห่เยี่ยนที่ฟิลิปปินส์ที่ผ่าน และในช่วงที่เกิดเหตุการณ์เกือบปะทะนั้น เรือรบลำนี้ทำการลาดตระเวนเป็นปกติในปฏิบัติการ “freedom-of-navigation” ที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาสิทธิช่องทางการเดินเรือสากลในบริเวณน่านน้ำเขตพิพาท

และอย่างไรก็ตาม อ้างจากสื่ออังกฤษ เดอะการ์เดียน แหล่งข่าวสหรัฐฯปฏิเสธที่จะตอบคำถามว่า “เรือรบจีนจงใจที่จะแล่นตรงเข้าหาเรือรบลาดตระเวนคาวเพ็นส์เพื่อต้องการปะทะหรือไม่” ซึ่งทางแหล่งข่าวหลีกเลี่ยงที่จะคาดการณ์ถึงจุดมุ่งหมายของเรือรบบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง โดยกล่าวเพียงว่า “บรรดาผู้นำกองทัพสหรัฐฯมีจุดมุ่งหมายชัดในการรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพต่อกองทัพกับจีน”

ในขณะที่สื่อรัสเซีย อาร์ที รายงานว่า เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นจากการที่จีนได้ส่งเรือรบบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิงเพื่อหยุดการลาดตระเวณของเรือรบลาดตระเวนคาวเพ็นส์ที่ทางจีนอ้างว่า สหรัฐฯได้ล้ำเข้ามาในเขตน่านน้ำจีน แต่ทว่าสหรัฐฯได้ปฏิเสธที่จะทำตาม โดยอ้างว่าเรือรบลาดตระเวณคาวเพ็นส์นั้นแล่นอยู่ในน่านน้ำสากลและปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และเมื่อเรือรบจีนได้แล่นตรงเข้าไปประจันหน้าท้าทาย ทางสหรัฐฯจำต้องแล่นถอยหลังเพื่อเลี่ยงการปะทะ

และยังมีรายงานว่าทางกรุงวอชิงตันและสถานทูตสหรัฐฯในกรุงปักกิ่งได้ใช้ช่องทางการทูตประท้วงในเรื่องที่เกิดขึ้นในครั้งนี้

ทางด้านผู้เชี่ยวชาญด้านการทหาร ริค ฟิชเชอร์ เผยว่า หลังจาก 2 ทศวรรษที่จีนได้สร้างกองเรือรบขึ้นทำให้จีนมีความมั่นใจในแสนยานุภาพทางทะเลมากขึ้น และไม่ต้องการเห็นกองเรือรบสหรัฐฯแล่นลาดตระเวนในภูมิภาคนี้ต่อไป และฟิชเชอร์ได้แนะนำว่า ทั้งสหรัฐฯและญี่ปุ่นควรร่วมมือกันป้องกันหมู่เกาะพิพาทเซนกากุ ที่จีนได้อ้างสิทธิ์เช่นกันในนามหมู่เกาะเตียวหยู และร่วมมือทางด้านความมั่นคงเพิ่มขึ้นกับฟิลิปปินส์


เรือลาดตระเวนคาวเพ็นส์ ( USS Cowpens )ของสหรัฐฯ
รือบรรทุกเครื่องบินจีน เหลียวหนิง (Liaoning)
ญี่ปุ่นสบโอกาสเป็นเจ้าภาพซัมมิต ชักชวน ‘ชาติอาเซียน’ คานอำนาจ ‘จีน’
ญี่ปุ่นสบโอกาสเป็นเจ้าภาพซัมมิต ชักชวน ‘ชาติอาเซียน’ คานอำนาจ ‘จีน’
คาดรัฐบาลนายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะ ถือโอกาสในการเป็นเจ้าภาพการประชุมซัมมิตญี่ปุ่น-อาเซียน ปลายสัปดาห์นี้ กระชับมิตรและชักชวนชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหล่านี้ช่วยกันคานอำนาจจีน โดยเฉพาะประเทศที่มีกรณีพิพาทด้านอธิปไตยกับปักกิ่งเช่นเดียวกันกับตนเอง ทั้งนี้มีรายงานว่าร่างแถลงการณ์ร่วมซึ่งเตรียมเอาไว้ จะเน้นย้ำเสรีภาพของการสัญจรในน่านน้ำ-น่านฟ้าสากล อันเป็นการบ่งบอกถึงความไม่พอใจภายในภูมิภาคแถบนี้ จากการประกาศเขตป้องกันภัยทางอากาศใหม่ของพญามังกร
กำลังโหลดความคิดเห็น