(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Tiananmen crash linked to Xinjiang mosque raid
By Shohret Hoshur
07/11/2013
พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีนระบุว่า เหตุการณ์ชาวอุยกูร์มุสลิมผู้หนึ่งขับรถยนต์พุ่งเข้าชนกลุ่มคนในบริเวณจัตุรัสเทียนอันเหมิน กลางกรุงปักกิ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องพัวพันกับการโจมตีแบบผู้ก่อการร้าย อย่างไรก็ตาม เราอาจจะมองเห็นแรงจูงใจของเขาได้ตรงกับสภาพความเป็นจริงมากกว่า ถ้าหากพิจารณาว่าการกระทำของเขาคราวนี้ เป็นการแก้แค้นอันขมขื่นและตรงไปตรงมาต่อการที่พวกเจ้าหน้าที่บุกรื้อถอนมัสยิดในบ้านเกิดของเขาไปส่วนหนึ่ง โดยที่เขาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงคนหนึ่งในการออกเงินทุนเพื่อทำการก่อสร้างส่วนที่ถูกทำลายไปนี้
ชายชาวมุสลิมชาติพันธุ์อุยกูร์ผู้หนึ่ง ขับรถยนต์ของเขาพุ่งเข้าใส่กลุ่มคนที่เข้าแถวรวมกันอยู่ในบริเวณหนึ่งของจัตุรัสเทียนอันเหมินเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยที่พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีนระบุว่านี่เป็นพฤติการณ์ก่อเหตุหมายชีวิตของผู้ก่อการร้าย แต่แท้ที่จริงแล้วการกระทำของชายผู้นี้อาจจะเนื่องมาจากความโกรธแค้นตำรวจที่ยกกำลังกันเข้าไปรื้อถอนมัสยิดแห่งหนึ่งในบ้านเกิดของเขา ซึ่งตั้งอยู่ในเขตซินเจียง (ซินเกียง) ที่เต็มไปด้วยปัญหายุ่งยากคุกรุ่นอยู่แล้ว ทั้งนี้ตามปากคำเมื่อวันพุธ (6 พ.ย.)ของอดีตเจ้าหน้าที่คนหนึ่งในหมู่บ้านภูมิลำเนาของเขาแห่งนั้น
อุสเมน เฮเซน (Usmen Hesen) ผู้เสียชีวิตไปในเหตุรถชนดังกล่าวพร้อมๆ กับภรรยาและมารดาของเขาซึ่งก็อยู่ในรถยนต์คันนั้นด้วย ได้เคยประกาศให้สัญญาต่อหน้าสาธารณชนว่า เขาจะแก้แค้นการที่ตำรวจบุกเข้ารื้อถอนมัสยิดซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้านเยนกี อัยมัก (Yengi Aymaq) ของเขา ที่อยู่ในพื้นที่ของอำเภออักโต (Akto) ของเขตซินเจียง อดีตผู้ใหญ่บ้าน ฮามุต ตูร์ดี (Hamut Turdi) ระบุ
“ผมคิดว่ามีความเป็นไปได้อย่างยิ่งที่ อุสเมน เฮเซน ทำเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อล้างแค้นให้แก่ชาวบ้านในหมู่บ้านของพวกเรา” ตูร์ดี บอกกับ วิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาอุยกูร์ (RFA's Uyghur Service)
เขากล่าวว่า เฮเซน ซึ่งอยู่ในวัย 33 ปี มีความโกรธเกรี้ยวเป็นอย่างยิ่งในตอนที่ตำรวจจีนยกกำลังเข้าไปในมัสยิดพิลัล (Pilal) ของหมู่บ้านเยนกี อัยมัก และรื้อถอนทำลายลานกว้างยกพื้นมีหลังคาคลุมที่อยู่ติดกับตัวอาคารมัสยิด ทั้งตัวลานและตัวอาคารมัสยิดต่างสร้างขึ้นด้วยเงินทุนที่เก็บรวบรวมจากการบริจาคของชุมชนชาวบ้านแห่งนี้ ทว่าพวกเจ้าหน้าที่ระบุว่าลานกว้างดังกล่าวเป็นส่วนก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นมาอย่างผิดกฎหมาย
ตามคำบอกเล่าของอดีตผู้ใหญ่บ้านผู้นี้ เฮเซนเป็นผู้ที่บริจาคเงินก้อนโตทีเดียวสำหรับการก่อสร้างลานมัสยิดแห่งนั้น
“นี่เป็นเหตุผลข้อหนึ่งที่อาจผลักดันให้เขาก่อเหตุโจมตีที่เทียนอันเหมินแบบนี้” ซึ่งนอกจากทำให้ เฮเซน พร้อมครอบครัวเสียชีวิตไป 3 คนแล้ว ยังทำให้นักท่องเที่ยวสิ้นชีพไปอีก 2 คนและบาดเจ็บอีกหลายสิบคน ณ สถานที่ซึ่งผู้คนนิยมไปเที่ยวชมกันและถือเป็นหัวใจของประเทศจีน ตูร์ดี กล่าว
เขาชี้ด้วยว่า วันที่ 28 ตุลาคม ซึ่ง เฮเซน ก่อเหตุขับรถพุ่งชนกลุ่มคนในจัตุรัสเทียนอันเหมิน นั้น เป็นวันครบรอบ 1 ปีพอดิบพอดีของเหตุการณ์มัสยิดพิลัล ถูกบุกจู่โจมและถูกรื้อถอนไปบางส่วนในคราวนั้น
หมู่บ้านเยนกี อัยมัก ตั้งอยู่ในตำบลอุจเม (Ujme) ซึ่งอยู่ใต้การปกครองของจังหวัดปกครองตนเองคิซิลซู คีร์กิซ (Kizilsu Kirghiz Autonomous Prefecture) ในซินเจียง โดยที่ ซินเจียง เป็นภูมิลำเนาของชาวอุยกูร์ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และต่างพากันร้องเรียนว่าพวกเขาประสบความทุกข์ยากลำบากมานานแล้ว จากนโยบายต่างๆ ของปักกิ่งที่ทั้งแบ่งแยกกีดกันคนชาติพันธุ์ส่วนน้อย และทั้งควบคุมกดขี่การนับถือศาสนา
ตูร์ดี ผู้ปัจจุบันอายุ 55 ปี และเคยปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ใหญ่บ้านของเยนกี อัยมัก มาเป็นเวลา 22 ปีก่อนที่จะถูกพวกเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจปลดออก สืบเนื่องจากเหตุการณ์มัสยิดพิลัล เล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นว่า เฮเซน ได้ออกมาพูดกับเพื่อนชาวบ้านอย่างชนิดสร้างอารมณ์สะเทือนใจมาก ไม่นานนักหลังจากที่ตำรวจประมาณ 100 คนยกกำลังเข้ารายล้อมมัสยิดแห่งดังกล่าว ในขณะที่พวกคนงานทำการรื้อถอนทำลายลานกว้าง
เฮเซน ออกมาพูดในคราวนั้น ด้วยความพยายามที่จะให้พวกชาวบ้านซึ่งมาชุมนุมกันอยู่ที่มัสยิดและทะเลาะโต้แย้งกับพวกตำรวจติดอาวุธ มีสติระงับอารมณ์และยอมถอยออกมา
“ในตอนนั้น อุสเมน เฮเซน กระโดดออกมาห้ามและเกลี้ยกล่อมโน้มน้าวให้ชาวบ้านแยกย้ายกันกลับบ้าน โดยเขาพูดว่า ‘วันนี้พวกมันชนะ ส่วนพวกเราแพ้ เพราะพวกมันมีปืนอยู่ในมือ ส่วนพวกเราไม่มีอะไรเลย แต่อย่ากลัวเลย สักวันหนึ่งเราจะต้องทำอะไรสักอย่างด้วยตัวของเราเองอย่างแน่นอน’” ตูร์ดี เล่า
“พอ อุสเมน เฮเซน พูดคำพูดที่ทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจกันมากนี้จบลงแล้ว (แม่ของเขา) คูวันฮัน เรยิม (Kuwanhan Reyim) ก็เดินเข้าไปหาเขาพร้อมกับร้องไห้ เธอกอดเขาและจูบเขาที่หน้าผาก เพราะเธอรู้สึกภาคภูมิใจลูกชายคนนี้มาก ชาวบ้านที่อยู่ตรงนั้นก็น้ำตาไหลเช่นเดียวกันและยอมแยกย้ายกันจากไป”
พอชาวบ้านถอยออกไปแล้ว พวกคนงานรื้อถอนก็ใช้รถขุดรื้อถอนลาน และทำลายกำแพงที่ล้อมรอบลานไปหลายส่วนด้วย ตูร์ดี บอกและกล่าวต่อไปว่า ทีมรื้อถอนเหล่านี้ยังย้ายเอาพรม 12 ผืนออกมาจากมัสยิด รวมทั้งสร้างความเสียหายให้แก่ระบบน้ำประปาและระบบทำความร้อนของอาคารมัสยิด
วันรุ่งขึ้น เฮเซน ได้ออกไปจากหมู่บ้านเยนกี อัยมัก และไม่เคยกลับมาอีกเลย อดีตผู้ใหญ่บ้านเล่าต่อ
พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีนพากันประณามว่า กลุ่มหัวรุนแรงติดอาวุธสังกัด “ขบวนการอิสลามิสต์เตอร์กิสถานตะวันออก” (East Turkestan Islamic Movement ใช้อักษรย่อว่า ETIM) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก คือผู้ก่อเหตุโจมตีที่เทียนอันเหมินคราวนี้ ทั้งนี้ชาวอุยกูร์จำนวนมากนิยมเรียกซินเจียง ซึ่งมีพรมแดนประชิดติดกับอัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, และพวกอดีตสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตในภูมิภาคเอเชียกลาง เป็นแคว้นเตอร์กิสถานตะวันออก
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แหล่งข่าวรายหนึ่งซึ่งอ้างว่ารู้จักคุ้นเคยกับครอบครัวของเฮเซน ได้เสนอแนะว่า เฮเซนก่อเหตุคราวนี้ขึ้นมาอาจจะเพื่อเป็นการแก้แค้น ภายหลังจากสมาชิกในครอบครัวของเขาคนหนึ่งต้องสิ้นชีวิตไป ในการจลาจลนองเลือดระหว่างชาวจีนฮั่นที่เป็นคนส่วนใหญ่ของแดนมังกร กับชาวอุยกูร์ ในเมืองอูรุมฉี เมืองหลวงของซินเกียง เมื่อปี 2009
แต่ก็มีแหล่งข่าวอีกรายหนึ่งที่เคยเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกับเฮเซน ระบุว่าน้องชายของเฮเซนได้เสียชีวิตไปในอุบัติเหตุการจราจรที่มีปริศนาเมื่อหลายปีก่อน โดยที่มีการกล่าวโทษกันว่าเป็นฝีมือของชาวจีนฮั่นหรือไม่ก็ของพวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีน
ทั้งนี้มีชาวอุยกูร์นับพันๆ คนทีเดียวได้หายตัวไป หลังจากที่พวกเขาถูกจับกุมในระหว่างการปฏิบัติการกวาดล้างครั้งใหญ่หลายระลอกภายหลังเหตุจลาจลที่อูรุมฉี กลุ่มชาวอุยกูร์หลายๆ กลุ่มระบุ
**มัสยิดพิลัล**
ตูร์ดี บอกว่า ชาวบ้านในหมู่บ้านของเฮเซน ได้เก็บรวบรวมเงินกันอยู่เป็นเวลา 3 ปีจนได้เงินประมาณ 200,000 หยวน (ราว 1 ล้านบาท) เพื่อใช้สร้างมัสยิดพิลัล และประสบความสำเร็จในการยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างเมื่อปี 2011
เขาเล่าต่อไปว่า หลังจากสร้างมัสยิดขึ้นมาในช่วงกลางปี 2012 แล้ว พวกชาวบ้านก็ระดมรวบรวมเงินได้อีกก้อนหนึ่งราวๆ 30,000 หยวนในเดือนสิงหาคมของปีนั้น เพื่อใช้ทำยกพื้นคอนกรีตของลานกว้างติดอาคารมัสยิด ตลอดจนก่อกำแพงล้อมรอบเพื่อรักษาสถานที่ให้สะอาดสำหรับใช้ในพิธีฝังศพ
แต่เมื่อโครงการสร้างลานเสร็จสิ้นลง พวกเจ้าหน้าที่ระดับชอบระดับท้องถิ่นกลับออกคำสั่งให้รื้อถอน เพราะชาวบ้านไม่ได้ยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างส่วนนี้
ซินเจียงนั้นบังเกิดเหตุการณ์รุนแรงไม่ขาดสายในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ปักกิ่งเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด และขยายการบุกจู่โจมเข้าตรวจค้นที่อยู่อาศัยของครอบครัวชาวอุยกูร์
โชห์เรต โฮชูร์ (Shohret Hoshur ) เป็นผู้รายงานข่าวนี้ให้แก่วิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาอุยกูร์ (Radio Free Asia's Uyghur Service) มามัตจัน จูมา (Mamatjan Juma) เป็นผู้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และโจชัว ลิปส์ (Joshua Lipes) เป็นผู้เขียนรายงานข่าวนี้เป็นภาษาอังกฤษ
วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต
Tiananmen crash linked to Xinjiang mosque raid
By Shohret Hoshur
07/11/2013
พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีนระบุว่า เหตุการณ์ชาวอุยกูร์มุสลิมผู้หนึ่งขับรถยนต์พุ่งเข้าชนกลุ่มคนในบริเวณจัตุรัสเทียนอันเหมิน กลางกรุงปักกิ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องพัวพันกับการโจมตีแบบผู้ก่อการร้าย อย่างไรก็ตาม เราอาจจะมองเห็นแรงจูงใจของเขาได้ตรงกับสภาพความเป็นจริงมากกว่า ถ้าหากพิจารณาว่าการกระทำของเขาคราวนี้ เป็นการแก้แค้นอันขมขื่นและตรงไปตรงมาต่อการที่พวกเจ้าหน้าที่บุกรื้อถอนมัสยิดในบ้านเกิดของเขาไปส่วนหนึ่ง โดยที่เขาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงคนหนึ่งในการออกเงินทุนเพื่อทำการก่อสร้างส่วนที่ถูกทำลายไปนี้
ชายชาวมุสลิมชาติพันธุ์อุยกูร์ผู้หนึ่ง ขับรถยนต์ของเขาพุ่งเข้าใส่กลุ่มคนที่เข้าแถวรวมกันอยู่ในบริเวณหนึ่งของจัตุรัสเทียนอันเหมินเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยที่พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีนระบุว่านี่เป็นพฤติการณ์ก่อเหตุหมายชีวิตของผู้ก่อการร้าย แต่แท้ที่จริงแล้วการกระทำของชายผู้นี้อาจจะเนื่องมาจากความโกรธแค้นตำรวจที่ยกกำลังกันเข้าไปรื้อถอนมัสยิดแห่งหนึ่งในบ้านเกิดของเขา ซึ่งตั้งอยู่ในเขตซินเจียง (ซินเกียง) ที่เต็มไปด้วยปัญหายุ่งยากคุกรุ่นอยู่แล้ว ทั้งนี้ตามปากคำเมื่อวันพุธ (6 พ.ย.)ของอดีตเจ้าหน้าที่คนหนึ่งในหมู่บ้านภูมิลำเนาของเขาแห่งนั้น
อุสเมน เฮเซน (Usmen Hesen) ผู้เสียชีวิตไปในเหตุรถชนดังกล่าวพร้อมๆ กับภรรยาและมารดาของเขาซึ่งก็อยู่ในรถยนต์คันนั้นด้วย ได้เคยประกาศให้สัญญาต่อหน้าสาธารณชนว่า เขาจะแก้แค้นการที่ตำรวจบุกเข้ารื้อถอนมัสยิดซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้านเยนกี อัยมัก (Yengi Aymaq) ของเขา ที่อยู่ในพื้นที่ของอำเภออักโต (Akto) ของเขตซินเจียง อดีตผู้ใหญ่บ้าน ฮามุต ตูร์ดี (Hamut Turdi) ระบุ
“ผมคิดว่ามีความเป็นไปได้อย่างยิ่งที่ อุสเมน เฮเซน ทำเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อล้างแค้นให้แก่ชาวบ้านในหมู่บ้านของพวกเรา” ตูร์ดี บอกกับ วิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาอุยกูร์ (RFA's Uyghur Service)
เขากล่าวว่า เฮเซน ซึ่งอยู่ในวัย 33 ปี มีความโกรธเกรี้ยวเป็นอย่างยิ่งในตอนที่ตำรวจจีนยกกำลังเข้าไปในมัสยิดพิลัล (Pilal) ของหมู่บ้านเยนกี อัยมัก และรื้อถอนทำลายลานกว้างยกพื้นมีหลังคาคลุมที่อยู่ติดกับตัวอาคารมัสยิด ทั้งตัวลานและตัวอาคารมัสยิดต่างสร้างขึ้นด้วยเงินทุนที่เก็บรวบรวมจากการบริจาคของชุมชนชาวบ้านแห่งนี้ ทว่าพวกเจ้าหน้าที่ระบุว่าลานกว้างดังกล่าวเป็นส่วนก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นมาอย่างผิดกฎหมาย
ตามคำบอกเล่าของอดีตผู้ใหญ่บ้านผู้นี้ เฮเซนเป็นผู้ที่บริจาคเงินก้อนโตทีเดียวสำหรับการก่อสร้างลานมัสยิดแห่งนั้น
“นี่เป็นเหตุผลข้อหนึ่งที่อาจผลักดันให้เขาก่อเหตุโจมตีที่เทียนอันเหมินแบบนี้” ซึ่งนอกจากทำให้ เฮเซน พร้อมครอบครัวเสียชีวิตไป 3 คนแล้ว ยังทำให้นักท่องเที่ยวสิ้นชีพไปอีก 2 คนและบาดเจ็บอีกหลายสิบคน ณ สถานที่ซึ่งผู้คนนิยมไปเที่ยวชมกันและถือเป็นหัวใจของประเทศจีน ตูร์ดี กล่าว
เขาชี้ด้วยว่า วันที่ 28 ตุลาคม ซึ่ง เฮเซน ก่อเหตุขับรถพุ่งชนกลุ่มคนในจัตุรัสเทียนอันเหมิน นั้น เป็นวันครบรอบ 1 ปีพอดิบพอดีของเหตุการณ์มัสยิดพิลัล ถูกบุกจู่โจมและถูกรื้อถอนไปบางส่วนในคราวนั้น
หมู่บ้านเยนกี อัยมัก ตั้งอยู่ในตำบลอุจเม (Ujme) ซึ่งอยู่ใต้การปกครองของจังหวัดปกครองตนเองคิซิลซู คีร์กิซ (Kizilsu Kirghiz Autonomous Prefecture) ในซินเจียง โดยที่ ซินเจียง เป็นภูมิลำเนาของชาวอุยกูร์ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และต่างพากันร้องเรียนว่าพวกเขาประสบความทุกข์ยากลำบากมานานแล้ว จากนโยบายต่างๆ ของปักกิ่งที่ทั้งแบ่งแยกกีดกันคนชาติพันธุ์ส่วนน้อย และทั้งควบคุมกดขี่การนับถือศาสนา
ตูร์ดี ผู้ปัจจุบันอายุ 55 ปี และเคยปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ใหญ่บ้านของเยนกี อัยมัก มาเป็นเวลา 22 ปีก่อนที่จะถูกพวกเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจปลดออก สืบเนื่องจากเหตุการณ์มัสยิดพิลัล เล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นว่า เฮเซน ได้ออกมาพูดกับเพื่อนชาวบ้านอย่างชนิดสร้างอารมณ์สะเทือนใจมาก ไม่นานนักหลังจากที่ตำรวจประมาณ 100 คนยกกำลังเข้ารายล้อมมัสยิดแห่งดังกล่าว ในขณะที่พวกคนงานทำการรื้อถอนทำลายลานกว้าง
เฮเซน ออกมาพูดในคราวนั้น ด้วยความพยายามที่จะให้พวกชาวบ้านซึ่งมาชุมนุมกันอยู่ที่มัสยิดและทะเลาะโต้แย้งกับพวกตำรวจติดอาวุธ มีสติระงับอารมณ์และยอมถอยออกมา
“ในตอนนั้น อุสเมน เฮเซน กระโดดออกมาห้ามและเกลี้ยกล่อมโน้มน้าวให้ชาวบ้านแยกย้ายกันกลับบ้าน โดยเขาพูดว่า ‘วันนี้พวกมันชนะ ส่วนพวกเราแพ้ เพราะพวกมันมีปืนอยู่ในมือ ส่วนพวกเราไม่มีอะไรเลย แต่อย่ากลัวเลย สักวันหนึ่งเราจะต้องทำอะไรสักอย่างด้วยตัวของเราเองอย่างแน่นอน’” ตูร์ดี เล่า
“พอ อุสเมน เฮเซน พูดคำพูดที่ทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจกันมากนี้จบลงแล้ว (แม่ของเขา) คูวันฮัน เรยิม (Kuwanhan Reyim) ก็เดินเข้าไปหาเขาพร้อมกับร้องไห้ เธอกอดเขาและจูบเขาที่หน้าผาก เพราะเธอรู้สึกภาคภูมิใจลูกชายคนนี้มาก ชาวบ้านที่อยู่ตรงนั้นก็น้ำตาไหลเช่นเดียวกันและยอมแยกย้ายกันจากไป”
พอชาวบ้านถอยออกไปแล้ว พวกคนงานรื้อถอนก็ใช้รถขุดรื้อถอนลาน และทำลายกำแพงที่ล้อมรอบลานไปหลายส่วนด้วย ตูร์ดี บอกและกล่าวต่อไปว่า ทีมรื้อถอนเหล่านี้ยังย้ายเอาพรม 12 ผืนออกมาจากมัสยิด รวมทั้งสร้างความเสียหายให้แก่ระบบน้ำประปาและระบบทำความร้อนของอาคารมัสยิด
วันรุ่งขึ้น เฮเซน ได้ออกไปจากหมู่บ้านเยนกี อัยมัก และไม่เคยกลับมาอีกเลย อดีตผู้ใหญ่บ้านเล่าต่อ
พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีนพากันประณามว่า กลุ่มหัวรุนแรงติดอาวุธสังกัด “ขบวนการอิสลามิสต์เตอร์กิสถานตะวันออก” (East Turkestan Islamic Movement ใช้อักษรย่อว่า ETIM) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก คือผู้ก่อเหตุโจมตีที่เทียนอันเหมินคราวนี้ ทั้งนี้ชาวอุยกูร์จำนวนมากนิยมเรียกซินเจียง ซึ่งมีพรมแดนประชิดติดกับอัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, และพวกอดีตสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตในภูมิภาคเอเชียกลาง เป็นแคว้นเตอร์กิสถานตะวันออก
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แหล่งข่าวรายหนึ่งซึ่งอ้างว่ารู้จักคุ้นเคยกับครอบครัวของเฮเซน ได้เสนอแนะว่า เฮเซนก่อเหตุคราวนี้ขึ้นมาอาจจะเพื่อเป็นการแก้แค้น ภายหลังจากสมาชิกในครอบครัวของเขาคนหนึ่งต้องสิ้นชีวิตไป ในการจลาจลนองเลือดระหว่างชาวจีนฮั่นที่เป็นคนส่วนใหญ่ของแดนมังกร กับชาวอุยกูร์ ในเมืองอูรุมฉี เมืองหลวงของซินเกียง เมื่อปี 2009
แต่ก็มีแหล่งข่าวอีกรายหนึ่งที่เคยเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกับเฮเซน ระบุว่าน้องชายของเฮเซนได้เสียชีวิตไปในอุบัติเหตุการจราจรที่มีปริศนาเมื่อหลายปีก่อน โดยที่มีการกล่าวโทษกันว่าเป็นฝีมือของชาวจีนฮั่นหรือไม่ก็ของพวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีน
ทั้งนี้มีชาวอุยกูร์นับพันๆ คนทีเดียวได้หายตัวไป หลังจากที่พวกเขาถูกจับกุมในระหว่างการปฏิบัติการกวาดล้างครั้งใหญ่หลายระลอกภายหลังเหตุจลาจลที่อูรุมฉี กลุ่มชาวอุยกูร์หลายๆ กลุ่มระบุ
**มัสยิดพิลัล**
ตูร์ดี บอกว่า ชาวบ้านในหมู่บ้านของเฮเซน ได้เก็บรวบรวมเงินกันอยู่เป็นเวลา 3 ปีจนได้เงินประมาณ 200,000 หยวน (ราว 1 ล้านบาท) เพื่อใช้สร้างมัสยิดพิลัล และประสบความสำเร็จในการยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างเมื่อปี 2011
เขาเล่าต่อไปว่า หลังจากสร้างมัสยิดขึ้นมาในช่วงกลางปี 2012 แล้ว พวกชาวบ้านก็ระดมรวบรวมเงินได้อีกก้อนหนึ่งราวๆ 30,000 หยวนในเดือนสิงหาคมของปีนั้น เพื่อใช้ทำยกพื้นคอนกรีตของลานกว้างติดอาคารมัสยิด ตลอดจนก่อกำแพงล้อมรอบเพื่อรักษาสถานที่ให้สะอาดสำหรับใช้ในพิธีฝังศพ
แต่เมื่อโครงการสร้างลานเสร็จสิ้นลง พวกเจ้าหน้าที่ระดับชอบระดับท้องถิ่นกลับออกคำสั่งให้รื้อถอน เพราะชาวบ้านไม่ได้ยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างส่วนนี้
ซินเจียงนั้นบังเกิดเหตุการณ์รุนแรงไม่ขาดสายในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ปักกิ่งเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด และขยายการบุกจู่โจมเข้าตรวจค้นที่อยู่อาศัยของครอบครัวชาวอุยกูร์
โชห์เรต โฮชูร์ (Shohret Hoshur ) เป็นผู้รายงานข่าวนี้ให้แก่วิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาอุยกูร์ (Radio Free Asia's Uyghur Service) มามัตจัน จูมา (Mamatjan Juma) เป็นผู้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และโจชัว ลิปส์ (Joshua Lipes) เป็นผู้เขียนรายงานข่าวนี้เป็นภาษาอังกฤษ
วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต