(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Iran-US detente gives Israel, Gulf states jitters
By Jim Lobe
17/10/2013
ขณะที่คำแถลงอันส่อแสดงถึงความหวังเกี่ยวกับการเจรจาเรื่องนิวเคลียร์ในเจนีวาปรากฏออกมาไม่ขาดสายจากนครในสวิตเซอร์แลนด์แห่งนี้ บรรดาศัตรูของการผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างอิหร่านกับสหรัฐฯ ต่างก็กำลังทำงานโอเวอร์ไทม์เพื่อโน้มน้าวชักจูงทำเนียบขาวอย่าได้เพลามาตรการคว่ำบาตร จนกว่าเตหะรานจะยอมทำตามข้อเรียกร้องระดับสูงสุดของพวกเขาเสียก่อน ทั้งนี้อิสราเอลและรัฐริมอ่าวเปอร์เซียเหล่านี้ต่างก็กำลังแสดงให้เห็นว่า พวกเขารู้สึกวิตกกังวลเนื่องจากข้อตกลงเรื่องนิวเคลียร์จะช่วยให้อิหร่านสามารถกลับมาผงาดกลายเป็นมหาอำนาจสำคัญในภูมิภาคอีกครั้งหนึ่ง โดยที่พวกเขานั่นเองจะตกเป็นฝ่ายสูญเสีย
วอชิงตัน – คำแถลงต่างๆ ที่ออกมาจากเจนีวา เกี่ยวกับการเจรจาระหว่างอิหร่านกับพวกมหาอำนาจรายใหญ่ของโลกซึ่งกระทำกันในนครของสวิตเซอร์แลนด์แห่งนี้ กำลังส่อแสดงให้เห็นถึงความหวังแม้ยังคงคลุมเครือไม่ชัดเจนนัก กระนั้นมันก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้พวกศัตรูที่ไม่ต้องการเห็นการผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างวอชิงตันกับเตหะราน ต้องเร่งรัดตัวเองให้รีบทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู (Benjamin Netanyahu) แห่งอิสราเอล และพวกผู้สนับสนุนในกลุ่มล็อบบี้เพื่ออิสราเอล ซึ่งแสดงอิทธิพลบารมียิ่งใหญ่ที่สุดของพวกเขาผ่านทางรัฐสภาสหรัฐฯ ดูเหมือนกับกำลังทำงานโอเวอร์ไทมส์เพื่อโน้มน้าวชักจูงไม่ให้คณะรัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามา เพลามาตรการลงโทษคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิหร่าน จนกว่าเตหะรานจะยอมทำตามข้อเรียกร้องระดับสูงสุดของพวกเขาเสียก่อน
หนึ่งวันก่อนหน้าการเจรจาหารือเป็นเวลา 2 วันระหว่างสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านกับฝ่าย P5+1 (หมายถึง 5 ชาติสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งได้แก่ สหรัฐฯ, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, และจีน บวกกับอีก 1 คือ เยอรมนี) ปรากฏว่ากลุ่มวุฒิสมาชิกคนสำคัญของสหรัฐฯซึ่งมาจากทั้งสองพรรคจำนวนรวม 10 คน ได้ตีพิมพ์เผยแพร่หนังสือที่พวกเขาส่งไปถึงประธานาธิบดีบารัค โอบามา โดยมีเนื้อหาเร่งรัดให้คณะผู้แทนของสหรัฐฯประกาศจุดยืนต่างๆ ให้ชัดเจนที่เจนีวา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะต้องบอกให้อิหร่านยุติการดำเนินการเพิ่มความเข้มข้นทางนิวเคลียร์บนดินแดนของตนเองลงทั้งหมด ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องที่พวกผู้ชำนาญการด้านอิหร่านต่างเชื่อว่า จะเป็นการทำลายลู่ทางโอกาสที่จะทำข้อตกลงกันได้อย่างแน่นอน
ขณะที่วุฒิสมาชิกเหล่านี้ยืนกรานว่า ให้การ “สนับสนุนความพยายามของท่านในการสำรวจหนทางเปิดประตูโดยอาศัยการทูต” นั้น พวกเขาก็ระบุในหนังสือส่งไปถึงโอบามาด้วยว่า พวกเขากำลัง “เตรียมพร้อมที่จะผลักดันมาตรการคว่ำบาตรใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มแรงกดดัน “ต่อเตหะราน เว้นแต่อิหร่านจะใช้ “การปฏิบัติการ ... อย่างเป็นรูปธรรม” เพื่อยุบเลิกโปรแกรมนิวเคลียร์ของตน โดยเริ่มต้นด้วยการระงับการเพิ่มความเข้มข้นทางนิวเคลียร์ทั้งหมด
พวกเขาบอกว่า ถ้าหากอิหร่านยอมทำตาม พวกเขาก็จะระงับการเดินหน้าผลักดันกฎหมายเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรตามที่เตรียมเอาไว้ ซึ่งน่าที่จะออกมาได้อย่างเร็วที่สุดในสัปดาห์หน้า
หนังสือฉบับดังกล่าวเป็นเพียงภาพสะท้อนจุดยืนของเนทันยาฮู ผู้ซึ่งกำลังรณรงค์เคลื่อนไหวอย่างทุ่มเทสุดๆ มาเป็นเวลาหลายสัปดาห์แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ที่ ฮัสซัน รูฮานี (Hassan Rouhani) ประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่าน ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการเดินทางไปเยือนนครนิวยอร์กเมื่อเดือนที่แล้วเพื่อเข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ทั้งนี้เนทันยาฮูกำลังรณรงค์ระดมความสนับสนุน เพื่อต่อต้านคัดค้านไม่ให้เกิดข้อตกลงใดๆ ระหว่างฝ่าย P5+1 กับอิหร่าน ถ้าหากว่าไม่มีเงื่อนไขกำหนดให้เตหะรานต้องละทิ้งโปรแกรมนิวเคลียร์ของตน รวมทั้งสมรรถนะทางด้านการเพิ่มความเข้มข้นทางนิวเคลียร์ ไปอย่างสิ้นเชิง
เมื่อวันอังคาร (15 ต.ค.) เนทันยาฮูได้นำเอาสิ่งที่พวกนักเฝ้าจับตามองอิสราเอลผู้เจนสนามเรียกว่า เป็น “คำแถลงของคณะรัฐมนตรีด้านความมั่นคง” (Security Cabinet Statement) ออกมาเปิดเผยต่อสาธารณชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน โดยที่คำแถลงดังกล่าวนี้มีรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่กล่าวหาว่าเป็นการที่อิหร่านละเมิดมติฉบับต่างๆ ของคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น พร้อมกับเตือน P5+1 ว่าอย่าได้ผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ “ก่อนเวลาอันสมควร” หลังจากที่มาตรการดังกล่าวนี้ประสบความสำเร็จจนเป็นสาเหตุทำให้มูลค่าสกุลเงินตราของอิหร่านหดลดลงไปถึงครึ่งหนึ่งในปีที่แล้ว
“มันจะเป็นความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์อย่างแน่นอน ในการไม่เข้าฉวยใช้ประโยชน์จากมาตรการคว่ำบาตรอย่างเต็มที่ หากแต่กลับยินยอมอ่อนข้อก่อนที่จะได้รับหลักประกันว่าอิหร่านจะยุบเลิกโปรแกรมอาวุธนิวเคลียร์ของตน” คำแถลงของคณะรัฐมนตรีด้านความมั่นคงของอิสราเอลนี้ระบุ
จากนั้น คำแถลงได้พูดถึงเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งอิหร่านจะต้องกระทำให้เห็นก่อนที่อิสราเอลจะ “ต้อนรับหนทางแก้ไขปัญหาด้วยวิธีทางการทูตอย่างแท้จริง” โดยที่เงื่อนไขเหล่านี้มีดังเช่น อิหร่านจะต้องยกเลิกการดำเนินการเพิ่มความเข้มข้นทางนิวเคลียร์ทั้งหมด และเคลื่อนย้ายยูเรเนียมเพิ่มความเข้มข้นแล้วที่เก็บเอาไว้ทั้งหมดออกจากดินแดนของอิหร่าน
**ความเป็นไปได้ที่จะเกิดข้อตกลงระหว่างอิหร่านกับ P5+1**
กระแสการโจมตีอันดุเดือดเหล่านี้ บังเกิดขึ้นท่ามกลางการคาดเดากะเก็งที่ทวีขึ้นเรื่อยๆ ว่า การเจรจาที่เจนีวา 2 วันในวันอังคารและพุธที่ผ่านมา (15 – 16 ต.ค.) จะเป็นการเปิดช่องทางให้สามารถทำข้อตกลงกันได้อย่างชนิดที่ไม่เคยไปได้ไกลถึงขนาดนี้มาก่อน
ทั้งนี้เป็นครั้งแรกที่วอชิงตันดูเหมือนแสดงเจตนารมณ์อย่างจริงจังในการเสนอสภาวะสุดท้าย (end-state) ซึ่งจะสนองข้อเรียกร้องอันยาวนานของฝ่ายอิหร่านที่จะรักษาโปรแกรมเพิ่มความเข้มข้นทางนิวเคลียร์ของพวกเขาเอาไว้ โดยที่จะแลกเปลี่ยนกับการที่เตหะรานต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อบังคับต่างๆ อันเข้มงวด ตลอดจนระบบการกำกับตรวจสอบอันเคร่งครัด เพื่อให้เป็นที่แน่ใจว่าจะไม่มี “สมรรถนะทะลุทะลวง” (break-out capacity) ใดๆ ซึ่งจะทำให้อิหร่านสามารถที่จะผลิตอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมาได้สำเร็จภายในระยะเวลาอันสั้น
เพียงเมื่อไม่นานมานี้เอง สหรัฐฯยังใช้นโยบายที่โดยสาระสำคัญแล้วคือการประยุกต์ดัดแปลงจากจุดยืนของอิสราเอล ซึ่งถือว่าไม่สามารถไว้วางใจให้อิหร่านมีโปรแกรมเพิ่มความเข้มข้นทางนิวเคลียร์ใดๆ อยู่ในดินแดนของตนเองเลย อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังๆ มานี้ คณะรัฐบาลโอบามาได้ส่อแสดงท่าทีเป็นนัยๆ ว่า ในเวลาเดียวกับที่คณะรัฐบาลนี้จะไม่มีการยอมรับอย่างเป็นทางการถึง “สิทธิที่จะเพิ่มความเข้มข้นทางนิวเคลียร์”( "right to enrich") ของอิหร่านภายใต้สนธิสัญญาห้ามแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ (Non-Proliferation Treaty) แต่วอชิงตันก็สามารถใช้ชีวิตอยู่กับโปรแกรมดังกล่าวที่มีขนาดเพียงจำกัดได้ ถ้าหากมันมีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของการทำข้อตกลงชนิดครอบคลุมรอบด้าน
ข้อตกลงดังกล่าวนี้จะต้องครอบคลุมทั้งการที่เตหะรานต้องละทิ้งคลังสะสมยูเรเนียมเพิ่มความเข้มข้นแล้วที่มีอยู่ในปัจจุบันของตน, ทำลายสมรรถนะที่จะเพิ่มความเข้มข้นทางนิวเคลียร์ในระดับสูงขึ้นไปอีก, และแก้ไขคลี่คลายความห่วงกังวลเกี่ยวกับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบใช้น้ำชนิดหนัก (heavy-water) ของอิหร่านซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองอารัค (Arak) ซึ่งว่ากันว่ามีความสามารถเริ่มต้นผลิตพลูโตเนียม (plutonium) ได้เมื่อเปิดดำเนินงานตามกำหนดการตอนประมาณช่วงใดช่วงหนึ่งของปีหน้า
ตามคำบอกเล่าของพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เมื่อใดที่อิหร่านมีการปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวโดยที่สามารถตรวจสอบยืนยันได้อย่างชัดเจนแล้ว คณะรัฐบาลโอบามาและพวกชาติหุ้นส่วนใน P5+1 ก็จะยกเลิกมาตรการลงโทษคว่ำบาตรที่กระทำต่ออิหร่าน
ขณะที่ไม่มีใครหรอกที่คาดหมายว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงอันครอบคลุมรอบด้านได้ในระหว่างการเจรจาหารือที่เจนีวาสัปดาห์นี้ แต่จากการตอบรับที่ดูเป็นไปในทางบวกของคณะผู้แทนสหรัฐฯและคณะผู้แทนชาติตะวันตกอื่นๆ ต่อการนำเสนอของรัฐมนตรีต่างประเทศ จาวัด ซาริฟ (Javad Zarif) ของอิหร่าน ในเรื่องที่ว่าเตหะรานมีเจตนารมณ์ที่จะกระทำอะไรบ้างภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว เหล่านี้ก็ทำให้พวกนักวิเคราะห์มองกันแล้วว่า อีกไม่นานนักทั้งสองฝ่ายน่าที่จะดำเนินมาตรการการสร้างความเชื่อมั่น (confidence-building measures หรือ CBMs) และการผ่อนผันมาตรการคว่ำบาตรอันเหมาะสมกันได้
ทิศทางความเป็นไปได้เช่นนี้เองที่กำลังสร้างความกังวลให้แก่อิสราเอลและประดารัฐริมอ่าวเปอร์เซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ซาอุดีอาระเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, และบาห์เรน ผู้ซึ่งไม่เพียงต่อต้านการให้อิหร่านยังคงรักษาสมรรถนะการเพิ่มความเข้มข้นทางนิวเคลียร์ไม่ว่าชนิดใดเอาไว้เท่านั้น หากแต่พวกเขายังหวาดกลัวว่าจากการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจทางยุทธศาสตร์ในตลอดทั่วทั้งภูมิภาคแถบนี้อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ โดยที่จะเป็นไปในทางเอื้ออำนวยให้อิหร่านสามารถกลับผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจสำคัญได้อีกครั้งหนึ่ง ขณะที่พวกเขาเหล่านี้แหละจะเป็นผู้สูญเสีย
“พวกเขากำลังทำทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเขาสามารถทำได้ เพื่อให้แน่ใจว่าเรื่องเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นมา เนื่องจากพวกเขาหวาดกลัวมากว่าผลลัพธ์ใดๆ ก็ตามทีที่อิงอยู่กับการเจรจาเหล่านี้ จะกลายเป็นผลลบสุทธิสำหรับพวกเขาทั้งสิ้น โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับสถานะเดิมในปัจจุบัน” ตริตา ปาร์ซี (Trita Parsi) ประธานกรรมการบริหารของสภาชาวอเมริกันเชื้อสายอิหร่านแห่งชาติ (National Iranian American Council หรือ NIAC) กล่าวให้ความเห็น
แต่ ปาร์ซีบอกกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter Press Service ใช้อักษรย่อว่า IPS) ว่า ทัศนะมุมมองเช่นนี้เป็นการมองแบบสายตาสั้นและคับแคบ “เพราะไม่ได้มีการพิจารณาเลยในแง่มุมที่ว่า การเปลี่ยนเกมในลักษณะนี้ก็สามารถที่จะเปิดโอกาสใหม่ๆ ขึ้นมาเช่นเดียวกัน” โดยที่จะเป็นการสร้างโครงสร้างทางด้านความมั่นคงอย่างใหม่ ซึ่งสามารถที่จะช่วยลดการสู้รบขัดแย้งแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายในตะวันออกกลางลงไปได้ รวมทั้งสามารถที่จะฟื้นฟูเสถียรภาพบางระดับขึ้นมาในภูมิภาคที่เต็มไปด้วยความปั่นป่วนวุ่นวายแห่งนี้
**ความโกรธเกรี้ยวของซาอุดีอาระเบีย**
ซาอุดีอาระเบียนั้น ถึงแม้มีเสียงดังน้อยกว่าและมีอำนาจบารมีด้อยกว่าอิสราเอล ในแวดวงการเมืองภายในประเทศของสหรัฐฯ แต่ประเทศนี้ก็ยังออกโรงเพื่อแสดงให้เห็นถึงความไม่พอใจของตน ทั้งต่อการเจรจาที่ดำเนินอยู่ในเจนีวา และทั้งต่อความเป็นไปได้ทีอาจจะเกิดการปรองดองระหว่างวอชิงตันกับเตหะราน
ทั้งนี้เมื่อวันอังคาร (15 ต.ค.) เจ้าชาย ตุรกี บิน ไฟซัล อัล ซาอุด (Prince Turki bin Faisal al Saud) อดีตเอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียประจำอังกฤษและประจำสหรัฐฯ ได้ไปปรากฏตัวในการประชุมระดับผู้นำประจำปีของสภา NIAC โดยที่เขาได้กล่าวเตือนว่า “ควรจะต้องทำให้ รูฮานี แสดงการตอบสนองตามข้อเรียกร้องเสียก่อน ฝ่ายอื่นๆ จึงจะสามารถปฏิบัติต่อเขาด้วยความจริงจังได้” พร้อมกับร้องคร่ำครวญแสดงความไม่พอใจต่อข้อเท็จจริงที่ว่า สภาเพื่อความร่วมมือแห่งอ่าวเปอร์เซีย (Gulf Co-operation Council หรือ GCC) ซึ่งมีซาอุดีอาระเบียเป็นสมาชิกชั้นนำนั้น ถูกกีดกันไม่ได้เข้าร่วมการพูดคุยของ P5+1
ขณะที่เขายืนยันว่า ริยาด “เห็นชอบกับการมีปฏิสัมพันธ์กับอิหร่าน” แต่เขาก็กล่าวหาเตหะรานด้วยว่ากำลังแสวงหาฐานะ “ความเป็นเจ้าใหญ่นายโต” (hegemony) ในภูมิภาคแถบนี้ ตลอดจนกำลังเข้าแทรกแซงในชาติอาหรับอื่นๆ เขากล่าวย้ำว่า อิหร่านนั้นถูกกล่าวหาว่ากำลังเข้าร่วมวงในทางทหารโดยตรงในการ “เข่นฆ่าสังหาร” ในซีเรีย ด้วยเหตุนี้จึงสมควรที่จะถูกประกาศว่าขาดคุณสมบัติที่จะเข้าร่วมการประชุมนานาชาติที่เจนีวาเพื่อยุติสงครามกลางเมืองในซีเรีย
เขาบอกว่า รูฮานี “จะต้องกำจัดมรดกของโคไมนี (Khomeini) ในการเป็นนักแทรกแซงกิจการของชาติอื่นๆ ให้หมดสิ้นไป รวมทั้งจะต้องทำให้ได้เหมือนกับการพูดจาของเขา นั่นก็คือการจะต้องหันมาใช้นโยบายต่างๆ ที่มีความสมเหตุสมผล”
จิม โล้บ จัดทำบล็อกว่าด้วยนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ http://www.lobelog.com.
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
Iran-US detente gives Israel, Gulf states jitters
By Jim Lobe
17/10/2013
ขณะที่คำแถลงอันส่อแสดงถึงความหวังเกี่ยวกับการเจรจาเรื่องนิวเคลียร์ในเจนีวาปรากฏออกมาไม่ขาดสายจากนครในสวิตเซอร์แลนด์แห่งนี้ บรรดาศัตรูของการผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างอิหร่านกับสหรัฐฯ ต่างก็กำลังทำงานโอเวอร์ไทม์เพื่อโน้มน้าวชักจูงทำเนียบขาวอย่าได้เพลามาตรการคว่ำบาตร จนกว่าเตหะรานจะยอมทำตามข้อเรียกร้องระดับสูงสุดของพวกเขาเสียก่อน ทั้งนี้อิสราเอลและรัฐริมอ่าวเปอร์เซียเหล่านี้ต่างก็กำลังแสดงให้เห็นว่า พวกเขารู้สึกวิตกกังวลเนื่องจากข้อตกลงเรื่องนิวเคลียร์จะช่วยให้อิหร่านสามารถกลับมาผงาดกลายเป็นมหาอำนาจสำคัญในภูมิภาคอีกครั้งหนึ่ง โดยที่พวกเขานั่นเองจะตกเป็นฝ่ายสูญเสีย
วอชิงตัน – คำแถลงต่างๆ ที่ออกมาจากเจนีวา เกี่ยวกับการเจรจาระหว่างอิหร่านกับพวกมหาอำนาจรายใหญ่ของโลกซึ่งกระทำกันในนครของสวิตเซอร์แลนด์แห่งนี้ กำลังส่อแสดงให้เห็นถึงความหวังแม้ยังคงคลุมเครือไม่ชัดเจนนัก กระนั้นมันก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้พวกศัตรูที่ไม่ต้องการเห็นการผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างวอชิงตันกับเตหะราน ต้องเร่งรัดตัวเองให้รีบทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู (Benjamin Netanyahu) แห่งอิสราเอล และพวกผู้สนับสนุนในกลุ่มล็อบบี้เพื่ออิสราเอล ซึ่งแสดงอิทธิพลบารมียิ่งใหญ่ที่สุดของพวกเขาผ่านทางรัฐสภาสหรัฐฯ ดูเหมือนกับกำลังทำงานโอเวอร์ไทมส์เพื่อโน้มน้าวชักจูงไม่ให้คณะรัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามา เพลามาตรการลงโทษคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิหร่าน จนกว่าเตหะรานจะยอมทำตามข้อเรียกร้องระดับสูงสุดของพวกเขาเสียก่อน
หนึ่งวันก่อนหน้าการเจรจาหารือเป็นเวลา 2 วันระหว่างสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านกับฝ่าย P5+1 (หมายถึง 5 ชาติสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งได้แก่ สหรัฐฯ, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, และจีน บวกกับอีก 1 คือ เยอรมนี) ปรากฏว่ากลุ่มวุฒิสมาชิกคนสำคัญของสหรัฐฯซึ่งมาจากทั้งสองพรรคจำนวนรวม 10 คน ได้ตีพิมพ์เผยแพร่หนังสือที่พวกเขาส่งไปถึงประธานาธิบดีบารัค โอบามา โดยมีเนื้อหาเร่งรัดให้คณะผู้แทนของสหรัฐฯประกาศจุดยืนต่างๆ ให้ชัดเจนที่เจนีวา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะต้องบอกให้อิหร่านยุติการดำเนินการเพิ่มความเข้มข้นทางนิวเคลียร์บนดินแดนของตนเองลงทั้งหมด ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องที่พวกผู้ชำนาญการด้านอิหร่านต่างเชื่อว่า จะเป็นการทำลายลู่ทางโอกาสที่จะทำข้อตกลงกันได้อย่างแน่นอน
ขณะที่วุฒิสมาชิกเหล่านี้ยืนกรานว่า ให้การ “สนับสนุนความพยายามของท่านในการสำรวจหนทางเปิดประตูโดยอาศัยการทูต” นั้น พวกเขาก็ระบุในหนังสือส่งไปถึงโอบามาด้วยว่า พวกเขากำลัง “เตรียมพร้อมที่จะผลักดันมาตรการคว่ำบาตรใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มแรงกดดัน “ต่อเตหะราน เว้นแต่อิหร่านจะใช้ “การปฏิบัติการ ... อย่างเป็นรูปธรรม” เพื่อยุบเลิกโปรแกรมนิวเคลียร์ของตน โดยเริ่มต้นด้วยการระงับการเพิ่มความเข้มข้นทางนิวเคลียร์ทั้งหมด
พวกเขาบอกว่า ถ้าหากอิหร่านยอมทำตาม พวกเขาก็จะระงับการเดินหน้าผลักดันกฎหมายเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรตามที่เตรียมเอาไว้ ซึ่งน่าที่จะออกมาได้อย่างเร็วที่สุดในสัปดาห์หน้า
หนังสือฉบับดังกล่าวเป็นเพียงภาพสะท้อนจุดยืนของเนทันยาฮู ผู้ซึ่งกำลังรณรงค์เคลื่อนไหวอย่างทุ่มเทสุดๆ มาเป็นเวลาหลายสัปดาห์แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ที่ ฮัสซัน รูฮานี (Hassan Rouhani) ประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่าน ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการเดินทางไปเยือนนครนิวยอร์กเมื่อเดือนที่แล้วเพื่อเข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ทั้งนี้เนทันยาฮูกำลังรณรงค์ระดมความสนับสนุน เพื่อต่อต้านคัดค้านไม่ให้เกิดข้อตกลงใดๆ ระหว่างฝ่าย P5+1 กับอิหร่าน ถ้าหากว่าไม่มีเงื่อนไขกำหนดให้เตหะรานต้องละทิ้งโปรแกรมนิวเคลียร์ของตน รวมทั้งสมรรถนะทางด้านการเพิ่มความเข้มข้นทางนิวเคลียร์ ไปอย่างสิ้นเชิง
เมื่อวันอังคาร (15 ต.ค.) เนทันยาฮูได้นำเอาสิ่งที่พวกนักเฝ้าจับตามองอิสราเอลผู้เจนสนามเรียกว่า เป็น “คำแถลงของคณะรัฐมนตรีด้านความมั่นคง” (Security Cabinet Statement) ออกมาเปิดเผยต่อสาธารณชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน โดยที่คำแถลงดังกล่าวนี้มีรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่กล่าวหาว่าเป็นการที่อิหร่านละเมิดมติฉบับต่างๆ ของคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น พร้อมกับเตือน P5+1 ว่าอย่าได้ผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ “ก่อนเวลาอันสมควร” หลังจากที่มาตรการดังกล่าวนี้ประสบความสำเร็จจนเป็นสาเหตุทำให้มูลค่าสกุลเงินตราของอิหร่านหดลดลงไปถึงครึ่งหนึ่งในปีที่แล้ว
“มันจะเป็นความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์อย่างแน่นอน ในการไม่เข้าฉวยใช้ประโยชน์จากมาตรการคว่ำบาตรอย่างเต็มที่ หากแต่กลับยินยอมอ่อนข้อก่อนที่จะได้รับหลักประกันว่าอิหร่านจะยุบเลิกโปรแกรมอาวุธนิวเคลียร์ของตน” คำแถลงของคณะรัฐมนตรีด้านความมั่นคงของอิสราเอลนี้ระบุ
จากนั้น คำแถลงได้พูดถึงเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งอิหร่านจะต้องกระทำให้เห็นก่อนที่อิสราเอลจะ “ต้อนรับหนทางแก้ไขปัญหาด้วยวิธีทางการทูตอย่างแท้จริง” โดยที่เงื่อนไขเหล่านี้มีดังเช่น อิหร่านจะต้องยกเลิกการดำเนินการเพิ่มความเข้มข้นทางนิวเคลียร์ทั้งหมด และเคลื่อนย้ายยูเรเนียมเพิ่มความเข้มข้นแล้วที่เก็บเอาไว้ทั้งหมดออกจากดินแดนของอิหร่าน
**ความเป็นไปได้ที่จะเกิดข้อตกลงระหว่างอิหร่านกับ P5+1**
กระแสการโจมตีอันดุเดือดเหล่านี้ บังเกิดขึ้นท่ามกลางการคาดเดากะเก็งที่ทวีขึ้นเรื่อยๆ ว่า การเจรจาที่เจนีวา 2 วันในวันอังคารและพุธที่ผ่านมา (15 – 16 ต.ค.) จะเป็นการเปิดช่องทางให้สามารถทำข้อตกลงกันได้อย่างชนิดที่ไม่เคยไปได้ไกลถึงขนาดนี้มาก่อน
ทั้งนี้เป็นครั้งแรกที่วอชิงตันดูเหมือนแสดงเจตนารมณ์อย่างจริงจังในการเสนอสภาวะสุดท้าย (end-state) ซึ่งจะสนองข้อเรียกร้องอันยาวนานของฝ่ายอิหร่านที่จะรักษาโปรแกรมเพิ่มความเข้มข้นทางนิวเคลียร์ของพวกเขาเอาไว้ โดยที่จะแลกเปลี่ยนกับการที่เตหะรานต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อบังคับต่างๆ อันเข้มงวด ตลอดจนระบบการกำกับตรวจสอบอันเคร่งครัด เพื่อให้เป็นที่แน่ใจว่าจะไม่มี “สมรรถนะทะลุทะลวง” (break-out capacity) ใดๆ ซึ่งจะทำให้อิหร่านสามารถที่จะผลิตอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมาได้สำเร็จภายในระยะเวลาอันสั้น
เพียงเมื่อไม่นานมานี้เอง สหรัฐฯยังใช้นโยบายที่โดยสาระสำคัญแล้วคือการประยุกต์ดัดแปลงจากจุดยืนของอิสราเอล ซึ่งถือว่าไม่สามารถไว้วางใจให้อิหร่านมีโปรแกรมเพิ่มความเข้มข้นทางนิวเคลียร์ใดๆ อยู่ในดินแดนของตนเองเลย อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังๆ มานี้ คณะรัฐบาลโอบามาได้ส่อแสดงท่าทีเป็นนัยๆ ว่า ในเวลาเดียวกับที่คณะรัฐบาลนี้จะไม่มีการยอมรับอย่างเป็นทางการถึง “สิทธิที่จะเพิ่มความเข้มข้นทางนิวเคลียร์”( "right to enrich") ของอิหร่านภายใต้สนธิสัญญาห้ามแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ (Non-Proliferation Treaty) แต่วอชิงตันก็สามารถใช้ชีวิตอยู่กับโปรแกรมดังกล่าวที่มีขนาดเพียงจำกัดได้ ถ้าหากมันมีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของการทำข้อตกลงชนิดครอบคลุมรอบด้าน
ข้อตกลงดังกล่าวนี้จะต้องครอบคลุมทั้งการที่เตหะรานต้องละทิ้งคลังสะสมยูเรเนียมเพิ่มความเข้มข้นแล้วที่มีอยู่ในปัจจุบันของตน, ทำลายสมรรถนะที่จะเพิ่มความเข้มข้นทางนิวเคลียร์ในระดับสูงขึ้นไปอีก, และแก้ไขคลี่คลายความห่วงกังวลเกี่ยวกับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบใช้น้ำชนิดหนัก (heavy-water) ของอิหร่านซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองอารัค (Arak) ซึ่งว่ากันว่ามีความสามารถเริ่มต้นผลิตพลูโตเนียม (plutonium) ได้เมื่อเปิดดำเนินงานตามกำหนดการตอนประมาณช่วงใดช่วงหนึ่งของปีหน้า
ตามคำบอกเล่าของพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เมื่อใดที่อิหร่านมีการปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวโดยที่สามารถตรวจสอบยืนยันได้อย่างชัดเจนแล้ว คณะรัฐบาลโอบามาและพวกชาติหุ้นส่วนใน P5+1 ก็จะยกเลิกมาตรการลงโทษคว่ำบาตรที่กระทำต่ออิหร่าน
ขณะที่ไม่มีใครหรอกที่คาดหมายว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงอันครอบคลุมรอบด้านได้ในระหว่างการเจรจาหารือที่เจนีวาสัปดาห์นี้ แต่จากการตอบรับที่ดูเป็นไปในทางบวกของคณะผู้แทนสหรัฐฯและคณะผู้แทนชาติตะวันตกอื่นๆ ต่อการนำเสนอของรัฐมนตรีต่างประเทศ จาวัด ซาริฟ (Javad Zarif) ของอิหร่าน ในเรื่องที่ว่าเตหะรานมีเจตนารมณ์ที่จะกระทำอะไรบ้างภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว เหล่านี้ก็ทำให้พวกนักวิเคราะห์มองกันแล้วว่า อีกไม่นานนักทั้งสองฝ่ายน่าที่จะดำเนินมาตรการการสร้างความเชื่อมั่น (confidence-building measures หรือ CBMs) และการผ่อนผันมาตรการคว่ำบาตรอันเหมาะสมกันได้
ทิศทางความเป็นไปได้เช่นนี้เองที่กำลังสร้างความกังวลให้แก่อิสราเอลและประดารัฐริมอ่าวเปอร์เซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ซาอุดีอาระเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, และบาห์เรน ผู้ซึ่งไม่เพียงต่อต้านการให้อิหร่านยังคงรักษาสมรรถนะการเพิ่มความเข้มข้นทางนิวเคลียร์ไม่ว่าชนิดใดเอาไว้เท่านั้น หากแต่พวกเขายังหวาดกลัวว่าจากการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจทางยุทธศาสตร์ในตลอดทั่วทั้งภูมิภาคแถบนี้อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ โดยที่จะเป็นไปในทางเอื้ออำนวยให้อิหร่านสามารถกลับผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจสำคัญได้อีกครั้งหนึ่ง ขณะที่พวกเขาเหล่านี้แหละจะเป็นผู้สูญเสีย
“พวกเขากำลังทำทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเขาสามารถทำได้ เพื่อให้แน่ใจว่าเรื่องเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นมา เนื่องจากพวกเขาหวาดกลัวมากว่าผลลัพธ์ใดๆ ก็ตามทีที่อิงอยู่กับการเจรจาเหล่านี้ จะกลายเป็นผลลบสุทธิสำหรับพวกเขาทั้งสิ้น โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับสถานะเดิมในปัจจุบัน” ตริตา ปาร์ซี (Trita Parsi) ประธานกรรมการบริหารของสภาชาวอเมริกันเชื้อสายอิหร่านแห่งชาติ (National Iranian American Council หรือ NIAC) กล่าวให้ความเห็น
แต่ ปาร์ซีบอกกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter Press Service ใช้อักษรย่อว่า IPS) ว่า ทัศนะมุมมองเช่นนี้เป็นการมองแบบสายตาสั้นและคับแคบ “เพราะไม่ได้มีการพิจารณาเลยในแง่มุมที่ว่า การเปลี่ยนเกมในลักษณะนี้ก็สามารถที่จะเปิดโอกาสใหม่ๆ ขึ้นมาเช่นเดียวกัน” โดยที่จะเป็นการสร้างโครงสร้างทางด้านความมั่นคงอย่างใหม่ ซึ่งสามารถที่จะช่วยลดการสู้รบขัดแย้งแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายในตะวันออกกลางลงไปได้ รวมทั้งสามารถที่จะฟื้นฟูเสถียรภาพบางระดับขึ้นมาในภูมิภาคที่เต็มไปด้วยความปั่นป่วนวุ่นวายแห่งนี้
**ความโกรธเกรี้ยวของซาอุดีอาระเบีย**
ซาอุดีอาระเบียนั้น ถึงแม้มีเสียงดังน้อยกว่าและมีอำนาจบารมีด้อยกว่าอิสราเอล ในแวดวงการเมืองภายในประเทศของสหรัฐฯ แต่ประเทศนี้ก็ยังออกโรงเพื่อแสดงให้เห็นถึงความไม่พอใจของตน ทั้งต่อการเจรจาที่ดำเนินอยู่ในเจนีวา และทั้งต่อความเป็นไปได้ทีอาจจะเกิดการปรองดองระหว่างวอชิงตันกับเตหะราน
ทั้งนี้เมื่อวันอังคาร (15 ต.ค.) เจ้าชาย ตุรกี บิน ไฟซัล อัล ซาอุด (Prince Turki bin Faisal al Saud) อดีตเอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียประจำอังกฤษและประจำสหรัฐฯ ได้ไปปรากฏตัวในการประชุมระดับผู้นำประจำปีของสภา NIAC โดยที่เขาได้กล่าวเตือนว่า “ควรจะต้องทำให้ รูฮานี แสดงการตอบสนองตามข้อเรียกร้องเสียก่อน ฝ่ายอื่นๆ จึงจะสามารถปฏิบัติต่อเขาด้วยความจริงจังได้” พร้อมกับร้องคร่ำครวญแสดงความไม่พอใจต่อข้อเท็จจริงที่ว่า สภาเพื่อความร่วมมือแห่งอ่าวเปอร์เซีย (Gulf Co-operation Council หรือ GCC) ซึ่งมีซาอุดีอาระเบียเป็นสมาชิกชั้นนำนั้น ถูกกีดกันไม่ได้เข้าร่วมการพูดคุยของ P5+1
ขณะที่เขายืนยันว่า ริยาด “เห็นชอบกับการมีปฏิสัมพันธ์กับอิหร่าน” แต่เขาก็กล่าวหาเตหะรานด้วยว่ากำลังแสวงหาฐานะ “ความเป็นเจ้าใหญ่นายโต” (hegemony) ในภูมิภาคแถบนี้ ตลอดจนกำลังเข้าแทรกแซงในชาติอาหรับอื่นๆ เขากล่าวย้ำว่า อิหร่านนั้นถูกกล่าวหาว่ากำลังเข้าร่วมวงในทางทหารโดยตรงในการ “เข่นฆ่าสังหาร” ในซีเรีย ด้วยเหตุนี้จึงสมควรที่จะถูกประกาศว่าขาดคุณสมบัติที่จะเข้าร่วมการประชุมนานาชาติที่เจนีวาเพื่อยุติสงครามกลางเมืองในซีเรีย
เขาบอกว่า รูฮานี “จะต้องกำจัดมรดกของโคไมนี (Khomeini) ในการเป็นนักแทรกแซงกิจการของชาติอื่นๆ ให้หมดสิ้นไป รวมทั้งจะต้องทำให้ได้เหมือนกับการพูดจาของเขา นั่นก็คือการจะต้องหันมาใช้นโยบายต่างๆ ที่มีความสมเหตุสมผล”
จิม โล้บ จัดทำบล็อกว่าด้วยนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ http://www.lobelog.com.
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)