(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
‘Fear of Taliban’ stops executions
By Ashfaq Yusufzai
18/09/2013
รัฐบาลปากีสถานหวาดกลัวถูกกลุ่มหัวรุนแรงติดอาวุธแก้แค้น ถึงขนาดให้ชะลอการลงโทษประหารชีวิตสมาชิกกลุ่มในเครือตอลิบาน 3 คนตามคำพิพากษาของศาลเอาไว้ก่อน ทั้งนี้ตามการเปิดเผยของพวกผู้นำทางการเมืองหลายราย โดยหนึ่งในนั้นคือ เมียน อิฟติคาร์ ฮุสเซน หัวหน้าพรรคแห่งชาติอะวามี โดยที่ ฮุสเซน ซึ่งพรรคของเขาตกเป็นเป้าหมายการโจมตีของพวกอิสลามิสต์สุดโต่งเหล่านี้มาโดยตลอด กล่าวเปรียบเปรยให้เห็นแบบเป็นตลกร้ายว่า พวกตอลิบานนั้นเข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์มามากมายแล้ว แต่เวลานี้กลับเรียกร้องให้ยุติการประหารชีวิตซึ่งเป็นการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามกฎหมายแท้ๆ
เปชาวาร์, ปากีสถาน – รัฐบาลปากีสถานมีคำสั่งชะลอการดำเนินการประหารชีวิตผู้ที่เป็นสมาชิกของกลุ่มในเครือตอลิบานจำนวน 3 คน ตามโทษทัณฑ์ซึ่งศาลมีคำพิพากษาออกมาภายหลังจากได้พิจารณาคดีจนเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว เหล่าผู้นำทางการเมืองหลายคนระบุว่า การเลื่อนออกไปก่อนเช่นนี้ไม่ใช่เนื่องจากรัฐบาลยึดมั่นในหลักการคัดค้านการลงโทษด้วยวิธีประหารชีวิต หากแต่เป็นเพราะหวาดกลัวพวกตอลิบาน
“การที่รัฐบาลสั่งงดการประหารเอาไว้ก่อนคราวนี้ มีความหมายเท่ากับว่ารัฐบาลยอมจำนนต่อแรงกดดันของพวกตอลิบานเท่านั้นเอง” เมียน อิฟติคาร์ ฮุสเซน (Mian Iftikhar Hussain) หัวหน้าพรรคแห่งชาติอะวามี (Awami National Party ใช้อักษรย่อว่า ANP) กล่าวกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter Press Service ใช้อักษรย่อว่า IPS) เขาบอกต่อไปว่า การกระทำของรัฐบาลครั้งนี้ “ไม่ใช่เป็นเพราะรับฟังเสียงเรียกร้องขององค์กรภาคประชาชนอะไรทั้งสิ้น”
พรรค ANP ตกเป็นเป้าหมายเล่นงานของพวกตอลิบานมานานแล้ว กลุ่มตอลิบานส่วนที่เป็นชาวปากีสถาน ซึ่งใช้ชื่อองค์กรว่า เตห์ริก-ไอ-ตอลิบาน ปากีสถาน (Tehrik-i-Taliban Pakistan และใช้อักษรย่อว่า TTP) ได้เข่นฆ่าสังหารพวกผู้นำและผู้ทำงานของพรรค ANP ไปถึงราว 800 คน เมื่อตอนที่พรรคขึ้นเป็นรัฐบาลท้องถิ่นของแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควา (Khyber Pakhtunkhwa province) ในช่วงระหว่างปี 2008 จนถึงปี 2013 เนื่องจากพรรคมีจุดยืนที่ต่อต้านคัดค้านกลุ่มตอลิบานอย่างจริงจัง
ฮุสเซน ผู้เป็นปรปักษ์ตัวเอ้ของตอลิบานกล่าวว่า พวกหัวรุนแรงติดอาวุธกลุ่มนี้ไม่เคยลังเลใจเลยที่จะดำเนินการประหารชีวิตตามแบบฉบับของพวกเขาเองต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ทั้งด้วยการโจมตีด้วยระเบิดรูปแบบต่างๆ และทั้งด้วยการโจมตีแบบฆ่าตัวตาย แต่มาในตอนนี้พวกเขากลับต้องการที่จะให้หยุดการประหารชีวิตคนของพวกเขา ทั้งๆ ที่เป็นการดำเนินการอย่างถูกต้องกฎหมาย
“พวกตอลิบานเข่นฆ่าคนเป็นร้อยๆ โดยที่ไม่เคยมีการไต่สวนพิจารณาคดีด้วยซ้ำ แต่มาในตอนนี้กลับกำลังร้องเอะอะโวยวายไม่ยอมให้มีการประหารชีวิตคนของพวกเขาซึ่งถูกศาลพิจารณาไต่สวนและตัดสินแล้วว่ามีความผิด” ฮุนเซน กล่าวกับ ไอพีเอส
จำเลยทั้ง 3 คนซึ่งถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงเหล่านี้ ถูกระบุว่าเป็นผู้ก่อการร้ายในสังกัดกลุ่มหัวรุนแรงที่มีชื่อว่า ลัชคาร์-ไอ-จังวี (Lashkar-i-Jhangvi ใช้อักษรย่อว่า LeJ) คนเหล่านี้จะต้องถูกดำเนินการประหารชีวิต ภายหลังจากที่มาตรการระงับการลงโทษถึงตายต่อผู้กระทำความผิด ซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่สมัยของ อาซิฟ อาลี ซาร์ดารี (Asif Ali Zardari) ประธานาธิบดีคนก่อน ได้หมดอายุลงในวันที่ 30 มิถุนายนปีนี้
ทั้งนี้ นักโทษเด็ดขาดทั้งสามคนนี้ อันได้แก่ อัตตาอุลเลาะห์ ข่าน (Attaullah Khan) ถูกพิพากษาโดยศาลต่อต้านการก่อการร้ายซึ่งตั้งอยู่ในนครการาจี ตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2004 ให้ถูกประหารชีวิตจากการกระทำความผิด 6 กระทงด้วยกัน อีกคนหนึ่ง คือ โมฮัมหมัด อาซัม (Mohammad Azam) ก็ถูกศาลแห่งเดียวกันลงโทษถึงตายในวันที่ 21 สิงหาคมจากการกระทำความผิด 4 กระทง เช่นเดียวกับคนที่สามคือ จาลัล ชาห์ (Jalal Shah) ซึ่งถูกตัดสินให้รับโทษประหารชีวิตด้วยความผิดในลักษณะเดียวกันนี้
ในปากีสถานนั้นมีพวกองค์กรภาคประชาชน (เอ็นจีโอ) ซึ่งรณรงค์เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการใช้บทลงโทษประหารชีวิต และก็มี คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งปากีสถาน (Human Rights Commission of Pakistan) ที่ออกมาเร่งเร้าให้รัฐบาลยืดอายุประกาศงดลงโทษถึงตายต่อผู้กระทำความผิดออกไปอีก ทว่ารัฐบาลไม่ได้ยอมรับกระทำตามข้อรียกร้องเหล่านี้ เท่าที่ผ่านมาปากีสถานได้ลงโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอนักโทษไปประมาณ 8,000 คน
อย่างไรก็ตาม มูฮัมหมัด อีร์ฟาน (Muhammad Irfan) จากองค์กรเอ็นจีโอที่มีชื่อว่า “ฟรีดอม ฟอร์ ออล” (Freedom for All) บอกกับไอพีเอสว่า รัฐบาลได้เคยกำหนดเอาไว้ว่าจะจัดการประหารชีวิตนักโทษทั้ง 3 คนนี้ในวันที่ 20, 21, และ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา แต่แล้วก็กลับชะลอการดำเนินการออกไปก่อนเมื่อถึงนาทีสุดท้าย
“รัฐบาลพรรค PML-N (แกนนำรัฐบาลผสมชุดปัจจุบันของปากีสถานที่มี นาวาซ ชารีฟ เป็นนายกรัฐมนตรี คือ พรรคสันนิบาตมุสลิมปากีสถาน ฝ่ายนาวาซ มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า “Pakistan Muslim League (Nawaz)” ใช้อักษรย่อว่า PML-N) นั้นกลัวพวก TPP ดังนั้นจึงต้องยุติไม่ดำเนินการประหารชีวิต” เขาบอก
พวกกลุ่มย่อยๆ ภายใต้สังกัด TPP ได้ทำการเข่นฆ่าประชาชนและกลุ่มพลังต่างๆ ในตลอดทั่วทุกแคว้นของปากีสถาน ยกเว้นเฉพาะแคว้นปัญจาบ (Punjab) ตอนที่มีคำสั่งให้ดำเนินการประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดในสังกัดตอลิบาน 3 คนดังกล่าว กลุ่มตอลิบานสาขาปัญจาบได้ออกคำเตือนหลายต่อหลายครั้งว่า พวกเขาจะทำการโจมตีขึ้นในแคว้นนี้เป็นครั้งแรก
โฆษกของ TPP ผู้ใช้ชื่อว่า มาวลานา อุสมาตุลเลาะห์ มูอาเวีย (Maulana Asmatullah Muavia) กล่าวในคำแถลงความยาว 1 หน้ากระดาษที่นำออกเผยแพร่เมื่อวันที่ 12 สิงหาคมว่า รัฐบาล PML-N “จะต้องชดใช้อย่างสาสม” ถ้าหากขืนดำเนินการประหารชีวิตนักโทษที่เป็นพวกตอลิบาน “เราได้เปิดศึกทำสงครามกับพวกพรรคการเมืองอื่นๆ ซึ่งได้กลายเป็นหุ่นเชิดในมือของฝ่ายทหารมาแล้ว และเวลานี้มีบางคนบางพวกในหน่วยงานลับของรัฐบาลกำลังพยายามที่จะนำเอาพรรค PML-N มาชนกับกลุ่มตอลิบาน”
TPP ยังกล่าวหาด้วยว่า การที่รัฐบาลออกคำสั่งให้ดำเนินการประหารชีวิตพวกนักโทษที่สังกัดอยู่กับ TPP เหล่านี้ เพราะถูกสหรัฐฯบีบคั้นกดดัน จึงขอเรียกร้องรัฐบาลอย่าได้กระทำการดังกล่าว
พวกผู้นำของพรรค ANP แสดงความคิดเห็นว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังแสดงจุดยืนที่นุ่มนวลในการรับมือกับพวกตอลิบาน เพราะพวกตอลิบานก็ใช้นโยบายอันนุ่มนวลในแคว้นปัญจาบ ซึ่งเป็นฐานเสียงของนายกรัฐมนตรีนาวาซ ชารีฟ (Nawaz Sharif) “ปัญจาบได้รับการยกเว้นจากพวกหัวรุนแรงติดอาวุธพวกนี้เสมอมา พวกเขาพุ่งเป้าหมายเล่นงานแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควา, แคว้นบาลูจิสถาน (Balochistan) และแคว้นสินธุ์ (Sindh) แต่ไม่ใช่ปัญจาบ เพราะรัฐบาลของปัญจาบใช้ท่าทีที่นุ่มนวลต่อพวกหัวรุนแรงติดอาวุธพวกนี้นั่นเอง” วุฒิสมาชิก มูฮัมหมัด อาดีล (Muhammad Adeel) แห่งพรรค ANP บอกกับสำนักข่าวไอพีเอส
“TPP ออกมาขู่ว่าพรรค PML-N จะถูกโจมตีเหมือนกับที่พรรค ANP เจออยู่แล้วเป็นประจำ ถ้ายังขืนเดินหน้าประหารชีวิตพวกหัวรุนแรงติดอาวุธตามที่กำหนดกันไว้ ทีนี้ก็มารอดูกันว่าเรื่องจะเป็นยังไงต่อไป แต่เท่าที่เป็นอยู่ในตอนนี้นะ พวกตอลิบานยังใส่ชื่อรัฐบาลแคว้นปัญจาบไว้ในบัญชีฝ่ายดีของพวกเขาอยู่”
เวลานี้ มุขมนตรีของแคว้นปัญจาบ คือ ชาห์บาซ ชารีฟ (Shahbaz Sharif) น้องชายของนายกรัฐมนตรี นาวาซ ชารีฟ ขณะที่กลุ่ม LeJ, กลุ่มลัชคาร์ ตอยบา (Lashkar Toiba), กลุ่ม จามาตู ดาวะ (Jamatu Dawa), ตลอดจนองค์กรหัวรุนแรงติดอาวุธอื่นๆ ได้ใช้ปัญจาบเป็นฐานมานานแล้ว
“ตลอดเวลาหลายๆ ปีที่ผ่านมา พวกเราเรียกร้องแล้วเรียกร้องอีกให้รัฐบาลปัญจาบดำเนินการต่อต้านปราบปรามพวกหัวรุนแรงติดอาวุธเหล่านี้ แต่แทนที่จะลงมือเล่นงานกลุ่มก่อการร้ายกลุ่มต่างๆ พวกนี้ ปัญจาบกลับกำลังให้การสนับสนุนคนพวกนี้” วุฒิสมาชิก อาดีล บอก
เวลานี้พวกผู้นำพรรครัฐบาลพยายามบอกว่า คนเหล่านี้ถูกตัดสินลงโทษโดยศาล ดังนั้นการตัดสินใจในเรื่องนี้จึงต้องถือเป็นความรับผิดชอบของศาล หาใช่เรื่องของรัฐบาลไม่ อย่างไรก็ดี แทบไม่มีใครเลยที่เชื่อว่าการตัดสินใจใดๆ ในเรื่องนี้ไม่ได้มีอิทธิพลทางการเมืองมาเกี่ยวข้องพัวพันด้วย
นอกเหนือจากนักโทษประหาร 3 รายที่ยังถูกชะลอการดำเนินการลงโทษเอาไว้ก่อนดังกล่าวแล้ว รัฐมนตรีมหาดไทย เชาธรี นิซาร์ อาลี ข่าน (Chaudhry Nisar Ali Khan) เพิ่งแถลงว่า ยังมีนักโทษที่เป็นพวก TPP อีก 5 คนที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษประหารชีวิต และแฟ้มเรื่องของนักโทษเหล่านี้ ทางกระทรวงมหาดไทยได้จัดส่งขึ้นไปเสนอสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อผ่านไปยังทำเนียบประธานาธิบดีต่อไป ทั้งนี้ประธานาธิบดีคือผู้ที่มีอำนาจออกคำสั่งประหารชีวิต
อย่างไรก็ตาม จากสัญญาณสิ่งบ่งชี้ต่างๆ ในเวลานี้ เห็นทีจะไม่มีการดำเนินการประหารชีวิตคนเหล่านี้หรอก เพียงแต่ว่าเหตุผลของการไม่ลงโทษถึงตายนี้ เป็นเหตุผลที่ไม่ถูกต้องไม่ชอบไม่ควรเท่านั้น พวกผู้นำของพรรค ANP กล่าวเหน็บแนม
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
‘Fear of Taliban’ stops executions
By Ashfaq Yusufzai
18/09/2013
รัฐบาลปากีสถานหวาดกลัวถูกกลุ่มหัวรุนแรงติดอาวุธแก้แค้น ถึงขนาดให้ชะลอการลงโทษประหารชีวิตสมาชิกกลุ่มในเครือตอลิบาน 3 คนตามคำพิพากษาของศาลเอาไว้ก่อน ทั้งนี้ตามการเปิดเผยของพวกผู้นำทางการเมืองหลายราย โดยหนึ่งในนั้นคือ เมียน อิฟติคาร์ ฮุสเซน หัวหน้าพรรคแห่งชาติอะวามี โดยที่ ฮุสเซน ซึ่งพรรคของเขาตกเป็นเป้าหมายการโจมตีของพวกอิสลามิสต์สุดโต่งเหล่านี้มาโดยตลอด กล่าวเปรียบเปรยให้เห็นแบบเป็นตลกร้ายว่า พวกตอลิบานนั้นเข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์มามากมายแล้ว แต่เวลานี้กลับเรียกร้องให้ยุติการประหารชีวิตซึ่งเป็นการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามกฎหมายแท้ๆ
เปชาวาร์, ปากีสถาน – รัฐบาลปากีสถานมีคำสั่งชะลอการดำเนินการประหารชีวิตผู้ที่เป็นสมาชิกของกลุ่มในเครือตอลิบานจำนวน 3 คน ตามโทษทัณฑ์ซึ่งศาลมีคำพิพากษาออกมาภายหลังจากได้พิจารณาคดีจนเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว เหล่าผู้นำทางการเมืองหลายคนระบุว่า การเลื่อนออกไปก่อนเช่นนี้ไม่ใช่เนื่องจากรัฐบาลยึดมั่นในหลักการคัดค้านการลงโทษด้วยวิธีประหารชีวิต หากแต่เป็นเพราะหวาดกลัวพวกตอลิบาน
“การที่รัฐบาลสั่งงดการประหารเอาไว้ก่อนคราวนี้ มีความหมายเท่ากับว่ารัฐบาลยอมจำนนต่อแรงกดดันของพวกตอลิบานเท่านั้นเอง” เมียน อิฟติคาร์ ฮุสเซน (Mian Iftikhar Hussain) หัวหน้าพรรคแห่งชาติอะวามี (Awami National Party ใช้อักษรย่อว่า ANP) กล่าวกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter Press Service ใช้อักษรย่อว่า IPS) เขาบอกต่อไปว่า การกระทำของรัฐบาลครั้งนี้ “ไม่ใช่เป็นเพราะรับฟังเสียงเรียกร้องขององค์กรภาคประชาชนอะไรทั้งสิ้น”
พรรค ANP ตกเป็นเป้าหมายเล่นงานของพวกตอลิบานมานานแล้ว กลุ่มตอลิบานส่วนที่เป็นชาวปากีสถาน ซึ่งใช้ชื่อองค์กรว่า เตห์ริก-ไอ-ตอลิบาน ปากีสถาน (Tehrik-i-Taliban Pakistan และใช้อักษรย่อว่า TTP) ได้เข่นฆ่าสังหารพวกผู้นำและผู้ทำงานของพรรค ANP ไปถึงราว 800 คน เมื่อตอนที่พรรคขึ้นเป็นรัฐบาลท้องถิ่นของแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควา (Khyber Pakhtunkhwa province) ในช่วงระหว่างปี 2008 จนถึงปี 2013 เนื่องจากพรรคมีจุดยืนที่ต่อต้านคัดค้านกลุ่มตอลิบานอย่างจริงจัง
ฮุสเซน ผู้เป็นปรปักษ์ตัวเอ้ของตอลิบานกล่าวว่า พวกหัวรุนแรงติดอาวุธกลุ่มนี้ไม่เคยลังเลใจเลยที่จะดำเนินการประหารชีวิตตามแบบฉบับของพวกเขาเองต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ทั้งด้วยการโจมตีด้วยระเบิดรูปแบบต่างๆ และทั้งด้วยการโจมตีแบบฆ่าตัวตาย แต่มาในตอนนี้พวกเขากลับต้องการที่จะให้หยุดการประหารชีวิตคนของพวกเขา ทั้งๆ ที่เป็นการดำเนินการอย่างถูกต้องกฎหมาย
“พวกตอลิบานเข่นฆ่าคนเป็นร้อยๆ โดยที่ไม่เคยมีการไต่สวนพิจารณาคดีด้วยซ้ำ แต่มาในตอนนี้กลับกำลังร้องเอะอะโวยวายไม่ยอมให้มีการประหารชีวิตคนของพวกเขาซึ่งถูกศาลพิจารณาไต่สวนและตัดสินแล้วว่ามีความผิด” ฮุนเซน กล่าวกับ ไอพีเอส
จำเลยทั้ง 3 คนซึ่งถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงเหล่านี้ ถูกระบุว่าเป็นผู้ก่อการร้ายในสังกัดกลุ่มหัวรุนแรงที่มีชื่อว่า ลัชคาร์-ไอ-จังวี (Lashkar-i-Jhangvi ใช้อักษรย่อว่า LeJ) คนเหล่านี้จะต้องถูกดำเนินการประหารชีวิต ภายหลังจากที่มาตรการระงับการลงโทษถึงตายต่อผู้กระทำความผิด ซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่สมัยของ อาซิฟ อาลี ซาร์ดารี (Asif Ali Zardari) ประธานาธิบดีคนก่อน ได้หมดอายุลงในวันที่ 30 มิถุนายนปีนี้
ทั้งนี้ นักโทษเด็ดขาดทั้งสามคนนี้ อันได้แก่ อัตตาอุลเลาะห์ ข่าน (Attaullah Khan) ถูกพิพากษาโดยศาลต่อต้านการก่อการร้ายซึ่งตั้งอยู่ในนครการาจี ตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2004 ให้ถูกประหารชีวิตจากการกระทำความผิด 6 กระทงด้วยกัน อีกคนหนึ่ง คือ โมฮัมหมัด อาซัม (Mohammad Azam) ก็ถูกศาลแห่งเดียวกันลงโทษถึงตายในวันที่ 21 สิงหาคมจากการกระทำความผิด 4 กระทง เช่นเดียวกับคนที่สามคือ จาลัล ชาห์ (Jalal Shah) ซึ่งถูกตัดสินให้รับโทษประหารชีวิตด้วยความผิดในลักษณะเดียวกันนี้
ในปากีสถานนั้นมีพวกองค์กรภาคประชาชน (เอ็นจีโอ) ซึ่งรณรงค์เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการใช้บทลงโทษประหารชีวิต และก็มี คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งปากีสถาน (Human Rights Commission of Pakistan) ที่ออกมาเร่งเร้าให้รัฐบาลยืดอายุประกาศงดลงโทษถึงตายต่อผู้กระทำความผิดออกไปอีก ทว่ารัฐบาลไม่ได้ยอมรับกระทำตามข้อรียกร้องเหล่านี้ เท่าที่ผ่านมาปากีสถานได้ลงโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอนักโทษไปประมาณ 8,000 คน
อย่างไรก็ตาม มูฮัมหมัด อีร์ฟาน (Muhammad Irfan) จากองค์กรเอ็นจีโอที่มีชื่อว่า “ฟรีดอม ฟอร์ ออล” (Freedom for All) บอกกับไอพีเอสว่า รัฐบาลได้เคยกำหนดเอาไว้ว่าจะจัดการประหารชีวิตนักโทษทั้ง 3 คนนี้ในวันที่ 20, 21, และ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา แต่แล้วก็กลับชะลอการดำเนินการออกไปก่อนเมื่อถึงนาทีสุดท้าย
“รัฐบาลพรรค PML-N (แกนนำรัฐบาลผสมชุดปัจจุบันของปากีสถานที่มี นาวาซ ชารีฟ เป็นนายกรัฐมนตรี คือ พรรคสันนิบาตมุสลิมปากีสถาน ฝ่ายนาวาซ มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า “Pakistan Muslim League (Nawaz)” ใช้อักษรย่อว่า PML-N) นั้นกลัวพวก TPP ดังนั้นจึงต้องยุติไม่ดำเนินการประหารชีวิต” เขาบอก
พวกกลุ่มย่อยๆ ภายใต้สังกัด TPP ได้ทำการเข่นฆ่าประชาชนและกลุ่มพลังต่างๆ ในตลอดทั่วทุกแคว้นของปากีสถาน ยกเว้นเฉพาะแคว้นปัญจาบ (Punjab) ตอนที่มีคำสั่งให้ดำเนินการประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดในสังกัดตอลิบาน 3 คนดังกล่าว กลุ่มตอลิบานสาขาปัญจาบได้ออกคำเตือนหลายต่อหลายครั้งว่า พวกเขาจะทำการโจมตีขึ้นในแคว้นนี้เป็นครั้งแรก
โฆษกของ TPP ผู้ใช้ชื่อว่า มาวลานา อุสมาตุลเลาะห์ มูอาเวีย (Maulana Asmatullah Muavia) กล่าวในคำแถลงความยาว 1 หน้ากระดาษที่นำออกเผยแพร่เมื่อวันที่ 12 สิงหาคมว่า รัฐบาล PML-N “จะต้องชดใช้อย่างสาสม” ถ้าหากขืนดำเนินการประหารชีวิตนักโทษที่เป็นพวกตอลิบาน “เราได้เปิดศึกทำสงครามกับพวกพรรคการเมืองอื่นๆ ซึ่งได้กลายเป็นหุ่นเชิดในมือของฝ่ายทหารมาแล้ว และเวลานี้มีบางคนบางพวกในหน่วยงานลับของรัฐบาลกำลังพยายามที่จะนำเอาพรรค PML-N มาชนกับกลุ่มตอลิบาน”
TPP ยังกล่าวหาด้วยว่า การที่รัฐบาลออกคำสั่งให้ดำเนินการประหารชีวิตพวกนักโทษที่สังกัดอยู่กับ TPP เหล่านี้ เพราะถูกสหรัฐฯบีบคั้นกดดัน จึงขอเรียกร้องรัฐบาลอย่าได้กระทำการดังกล่าว
พวกผู้นำของพรรค ANP แสดงความคิดเห็นว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังแสดงจุดยืนที่นุ่มนวลในการรับมือกับพวกตอลิบาน เพราะพวกตอลิบานก็ใช้นโยบายอันนุ่มนวลในแคว้นปัญจาบ ซึ่งเป็นฐานเสียงของนายกรัฐมนตรีนาวาซ ชารีฟ (Nawaz Sharif) “ปัญจาบได้รับการยกเว้นจากพวกหัวรุนแรงติดอาวุธพวกนี้เสมอมา พวกเขาพุ่งเป้าหมายเล่นงานแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควา, แคว้นบาลูจิสถาน (Balochistan) และแคว้นสินธุ์ (Sindh) แต่ไม่ใช่ปัญจาบ เพราะรัฐบาลของปัญจาบใช้ท่าทีที่นุ่มนวลต่อพวกหัวรุนแรงติดอาวุธพวกนี้นั่นเอง” วุฒิสมาชิก มูฮัมหมัด อาดีล (Muhammad Adeel) แห่งพรรค ANP บอกกับสำนักข่าวไอพีเอส
“TPP ออกมาขู่ว่าพรรค PML-N จะถูกโจมตีเหมือนกับที่พรรค ANP เจออยู่แล้วเป็นประจำ ถ้ายังขืนเดินหน้าประหารชีวิตพวกหัวรุนแรงติดอาวุธตามที่กำหนดกันไว้ ทีนี้ก็มารอดูกันว่าเรื่องจะเป็นยังไงต่อไป แต่เท่าที่เป็นอยู่ในตอนนี้นะ พวกตอลิบานยังใส่ชื่อรัฐบาลแคว้นปัญจาบไว้ในบัญชีฝ่ายดีของพวกเขาอยู่”
เวลานี้ มุขมนตรีของแคว้นปัญจาบ คือ ชาห์บาซ ชารีฟ (Shahbaz Sharif) น้องชายของนายกรัฐมนตรี นาวาซ ชารีฟ ขณะที่กลุ่ม LeJ, กลุ่มลัชคาร์ ตอยบา (Lashkar Toiba), กลุ่ม จามาตู ดาวะ (Jamatu Dawa), ตลอดจนองค์กรหัวรุนแรงติดอาวุธอื่นๆ ได้ใช้ปัญจาบเป็นฐานมานานแล้ว
“ตลอดเวลาหลายๆ ปีที่ผ่านมา พวกเราเรียกร้องแล้วเรียกร้องอีกให้รัฐบาลปัญจาบดำเนินการต่อต้านปราบปรามพวกหัวรุนแรงติดอาวุธเหล่านี้ แต่แทนที่จะลงมือเล่นงานกลุ่มก่อการร้ายกลุ่มต่างๆ พวกนี้ ปัญจาบกลับกำลังให้การสนับสนุนคนพวกนี้” วุฒิสมาชิก อาดีล บอก
เวลานี้พวกผู้นำพรรครัฐบาลพยายามบอกว่า คนเหล่านี้ถูกตัดสินลงโทษโดยศาล ดังนั้นการตัดสินใจในเรื่องนี้จึงต้องถือเป็นความรับผิดชอบของศาล หาใช่เรื่องของรัฐบาลไม่ อย่างไรก็ดี แทบไม่มีใครเลยที่เชื่อว่าการตัดสินใจใดๆ ในเรื่องนี้ไม่ได้มีอิทธิพลทางการเมืองมาเกี่ยวข้องพัวพันด้วย
นอกเหนือจากนักโทษประหาร 3 รายที่ยังถูกชะลอการดำเนินการลงโทษเอาไว้ก่อนดังกล่าวแล้ว รัฐมนตรีมหาดไทย เชาธรี นิซาร์ อาลี ข่าน (Chaudhry Nisar Ali Khan) เพิ่งแถลงว่า ยังมีนักโทษที่เป็นพวก TPP อีก 5 คนที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษประหารชีวิต และแฟ้มเรื่องของนักโทษเหล่านี้ ทางกระทรวงมหาดไทยได้จัดส่งขึ้นไปเสนอสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อผ่านไปยังทำเนียบประธานาธิบดีต่อไป ทั้งนี้ประธานาธิบดีคือผู้ที่มีอำนาจออกคำสั่งประหารชีวิต
อย่างไรก็ตาม จากสัญญาณสิ่งบ่งชี้ต่างๆ ในเวลานี้ เห็นทีจะไม่มีการดำเนินการประหารชีวิตคนเหล่านี้หรอก เพียงแต่ว่าเหตุผลของการไม่ลงโทษถึงตายนี้ เป็นเหตุผลที่ไม่ถูกต้องไม่ชอบไม่ควรเท่านั้น พวกผู้นำของพรรค ANP กล่าวเหน็บแนม
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)