(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Jihadist teaching back in Pakistan classrooms
By Frud Bezhan
04/09/2013
ต้องใช้ความพยายามอันยากลำบากมากทีเดียว กว่าที่จะสามารถนำเอาโองการในคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งสอนเรื่อง “ญิฮัด” หรือ การทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ ออกมาจากแบบเรียนต่างๆ ที่ใช้อยู่ตามโรงเรียนในภาคตะวันตกเฉียงใต้อันเต็มไปด้วยความไม่สงบของปากีสถาน ทว่าการเปลี่ยนแปลงซึ่งต่อสู้มาได้อย่างยากเย็นนี้ กำลังถูกคุกคามอย่างหนักหน่วงในขณะนี้ เมื่อรัฐบาลท้องถิ่นที่เพิ่งได้รับเลือกตั้งใหม่ๆ ของแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควา ประกาศเจตนารมณ์ว่า ต้องการรื้อฟื้นนำเอาเนื้อหาซึ่งปลูกฝังแนวความคิดนักรบญิฮัดอันรุนแรงกลับมาใส่ในหนังสือตำราเรียนใหม่ ถึงแม้มันจะเป็นการตัดสินใจที่สร้างความผิดหวังท้อแท้ให้ครูบาอาจารย์จำนวนหนึ่งก็ตามที
ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา แบบเรียนที่ใช้กันอยู่ตามโรงเรียนต่างๆ ทั่วปากีสถานมีเนื้อหาจำนวนไม่น้อยซึ่งเป็นการสั่งสอนความคิดที่ผิดๆ , การเกลียดชังกัน, และการไร้ขันติธรรมในทางศาสนา อันเป็นการบ่มเพาะเกื้อกูลความรุนแรงที่เกิดจากความผิดแผกแตกต่างกัน ตลอดจนความนิยมในการใช้ความก้าวร้าว ซึ่งกำลังแพร่ระบาดไปอย่างกว้างขวางอยู่ในประเทศนี้ในปัจจุบัน
ในแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควา (Khyber Pakhtunkhwa province) ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน และถือเป็นหนึ่งในพื้นที่เพาะพันธุ์กลุ่มหัวรุนแรงสุดโต่งต่างๆ อย่างเช่นพวกตอลิบาน พวกเจ้าหน้าที่ทางด้านการศึกษาได้ดำเนินขั้นตอนหลายๆ ประการในปี 2008 ซึ่งมุ่งสกัดขัดขวางการปลูกฝังถ่ายทอดแนวความคิดอิสลามเคร่งจารีตแบบสุดโต่งไปให้แก่คนรุ่นต่อไป
ตลอดระยะเวลาไม่กี่ปีถัดจากนั้น พวกหนังสือแบบเรียนซึ่งใช้กันอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนกระทั่งถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนรัฐบาลในแคว้นนี้ (ในปากีสถานนั้นไม่มีการวางหลักสูตรระดับชาติสำหรับใช้ทั่วประเทศ) ได้ถูกรื้อถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายมโหฬาร
โองการในคัมภีร์อัลกุรอานที่สอนเรื่อง “ญิฮัด” หรือ การทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ ได้ถูกนำออกไป เช่นเดียวกับภาพประกอบที่เป็นภาพอาวุธหรือความรุนแรงต่างๆ บทตอนซึ่งกล่าวถึงบุคคลผู้ยึดมั่นเคร่งครัดในศาสนาอิสลาม ตลอดจนอุดมการณ์แบบอิสลามเคร่งจารีต ถูกแทนที่ด้วยข้อเขียนซึ่งส่งเสริมยกย่องกวีและนักปรัชญาท้องถิ่น หรืออัตลักษณ์ของชาวปัชตุน (Pashtun) ที่เป็นผู้คนส่วนใหญ่ในบริเวณนี้
แต่แล้วการเปลี่ยนแปลงที่ได้มาจากการลงแรงต่อสู้ด้วยความยากลำบากเหล่านี้กำลังถูกคุกคามอย่างหนักหน่วง โดยที่รัฐบาลผสมชุดใหม่ของแคว้นซึ่งจัดตั้งขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง และมีพรรคขบวนการเพื่อความยุติธรรมปากีสถาน (Pakistan Movement for Justice ใช้อักษรย่อว่า PTI) ของ อิมรอน ข่าน (Imran Khan) อดีตดารานักกีฬาคริกเก็ตชื่อก้องเป็นแกนนำ ร่วมกับพรรคจามาอัต-อี-อิสลามี (Jamaat-e Islami ใช้อักษรย่อว่า JI) ได้ประกาศเจตนารมณ์ของพวกเขาออกมาแล้วว่า ต้องการรื้อฟื้นนำเอาเนื้อหาซึ่งปลูกฝังแนวความคิดนักรบญิฮัดอันรุนแรงกลับมาใส่ในหนังสือตำราเรียนใหม่
การตัดสินใจดังกล่าวสร้างความผิดหวังท้อแท้ให้ครูอาจารย์และนักการศึกษาผู้ซึ่งมองเห็นว่า การศึกษาคือเครื่องมือที่ดีที่สุดในการต่อสู้กับการโฆษณาชวนเชื่อแนวความคิดนิยมสงครามศักดิ์สิทธิ์อันสุดโต่ง ซึ่งเผยแพร่โดยกลุ่มหัวรุนแรงก้าวร้าวในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความไม่สงบแห่งนี้ พวกซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ความเคลื่อนไหวเช่นนี้บอกว่า มีอันตรายเหลือเกินที่เยาวชนของแคว้นนี้จะถูกบ่มเพาะให้กลายเป็นพวกที่นิยมความก้าวร้าวรุนแรงและสุดโต่ง
** “ส่วนหนึ่งในความศรัทธาของเรา”**
รัฐบาลแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควาไม่ได้ระบุว่าจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้กันเมื่อใด แต่เห็นได้ชัดเจนว่าคงไม่ทันปีการศึกษาใหม่ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ทั้งนี้แบบเรียนและวัสดุการเรียนการสอนที่จะถูกเปลี่ยนประกอบด้วยหลายๆ วิชา เป็นต้นว่า ประวัติศาสตร์ปากีสถาน และ ศาสนาอิสลามศึกษา
ชาห์ ฟาร์มาน (Shah Farman) รัฐมนตรีดูแลด้านสารสนเทศและวัฒนธรรมของแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควา กล่าวในระหว่างการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 21 สิงหาคมว่า รัฐบาลใหม่ชุดนี้จะต้อง แก้ไขสิ่งที่เป็น “ช่องโหว่และข้อบกพร่อง” ในหนังสือแบบเรียนที่ใช้กันอยู่เวลานี้ซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นโดยรัฐบาลชุดก่อน ที่นำโดยพรรคแห่งชาติอะวามี (Awami National Party ใช้อักษรย่อว่า ANP) ซึ่งมีแนวทางที่ต้องการแยกศาสนาออกจากการเมือง
“มันจะกลายเป็นอธิปไตย, เสรีภาพ, และคุณค่าอิสลามแบบไหนกันล่ะ ในเมื่อคำสอนของอิสลาม, เรื่องของญิฮัด, และวีรบุรุษของชาติ ถูกเอาออกไปจากตำราเรียนเสียแล้ว” เขาตั้งคำถามในท่ามกลางนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ ระหว่างการแถลงข่าวที่เมืองเปชาวาร์ (Peshawar) เมืองเอกของแคว้น “ญิฮัดนั้นคือส่วนหนึ่งในความศรัทธายึดมั่นของเรา ดังนั้นเราจะไม่มีการถอยหลังในเรื่องนี้”
ฟาร์มานยังยกตัวอย่างสิ่งที่เขาระบุว่าเป็นความไม่ถูกต้องในแบบเรียนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน หนึ่งในนั้นก็คือการพูดถึงแคว้นแคชเมียร์ อันเป็นพื้นที่บริเวณเทือกเขาหิมาลัยที่ในปัจจุบันปากีสถานกับอินเดียเฉือนแบ่งกันครอบครอง โดยในตำราเรียนเหล่านี้บอกว่าแคชเมียร์เป็นพื้นที่ที่ประเทศทั้งสอง “พิพาทกัน” อยู่ ทว่าปากีสถานอ้างสิทธิ์มาตลอดว่าแคว้นดังกล่าวซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ที่สุดเป็นชาวมุสลิมนั้นเป็นของตนทั้งหมด
ฟาร์มานยังหยิบยกภาพประกอบในแบบเรียนภาพหนึ่ง ซึ่งเป็นภาพของเด็กชายคนหนึ่งกำลังรับประทานอาหารด้วยมือซ้ายของเขา ทั้งนี้ผู้สอนศาสนาอิสลามบางส่วนบอกว่า มือซ้ายควรใช้เฉพาะตอนที่เข้าห้องส้วมหรือทำความสะอาดจมูกของตนเท่านั้น ขณะที่มือขวามีความใกล้ชิดกับพระเจ้ามากกว่า
**ต่อสู้กับ “ความเกลียดชัง, การแบ่งแยกเป็นฝักฝ่าย”**
ดร.ฟาซัล รอฮีม มาร์วัต (Dr Fazal Rahim Marwat) เป็นอดีตประธานคณะกรรมการแบบเรียน (Textbook Board) ของแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควา ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลท้องถิ่นที่รับผิดชอบเรื่องการปรับปรุงแก้ไขและการจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนของโรงเรียนต่าง ๆในแคว้นนี้
มาร์วัต ซึ่งในปัจจุบันเป็นรองศาสตราจารย์อยู่ที่มหาวิทยาเปชาวาร์ (University of Peshawar) แสดงความคิดเห็นว่าการตัดสินใจดังกล่าวของรัฐบาลแคว้นชุดใหม่ มีแต่จะช่วยแพร่ขยายความคลั่งไคล้ศาสนา และปลูกฝังยาพิษเข้าสู่ความคิดจิตใจของนักเรียนในแคว้นนี้เท่านั้น
“เป็นธรรมดาที่การเปลี่ยนแปลงนี้จะต้องมีผลกระทบเป็นอย่างมาก” มาร์วัต กล่าว “ใน FATA (Federally Administered Tribal Areas พื้นที่ชาวชนเผ่าที่ส่วนกลางบริหาร เป็นพื้นที่กึ่งปกครองตนเองของปากีสถานซึ่งอยู่ติดต่อกับแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควา) และกระทั่งตลอดทั่วทั้งปากีสถานเวลานี้ มันก็มีการก่อความไม่สงบและมีสงครามอยู่แล้ว คราวนี้ก็มีเนื้อหาสร้างความเกลียดชังแฝงฝังอยู่ในหนังสือทางการศึกษาอย่างเยอะแยะมากมายเข้าไปอีก ถ้าย้อนกลับไปในอดีตคุณจะสามารถมองเห็นว่ามันส่งผลต่อการศึกษาในหลายๆ ด้านทีเดียว ในตอนที่มีการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์อัฟกานิสถาน (เพื่อต่อต้านการยึดครองอัฟกานิสถานของกองทัพสหภาพโซเวียตในช่วงทศวรรษ 1980) รัฐบาลปากีสถานได้เริ่มนำเอาแนวความคิดว่าด้วยญิฮัดเข้าสู่โรงเรียนต่างๆ นั่นก็กลายเป็นการส่งเสริมสนับสนุนความรุนแรงและความสุดโต่งที่พวกเราพบเห็นอยู่ในทุกวันนี้ ดังนั้นถ้าใครก็ตามต้องการนำเอาเนื้อหาเหล่านี้เข้ามาใช้กันอีก มันก็จะส่งเสริมสนับสนุนสิ่งที่ว่ามานี้แหละ”
ภายใต้กระบวนการปฏิรูปที่เริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่ปี 2006 มาร์วัตบอกว่าคณะกรรมการชุดที่เขาเป็นประธานได้นำเอาเนื้อหาที่เป็นการส่งเสริมความรุนแรงออกไปจากแบบเรียนที่ใช้กันตามโรงเรียน และแทนที่ด้วยแนวคิดซึ่งมุ่งสนับสนุนสันติภาพและขันติธรรม
ในปี 2011 คณะกรรมการแบบเรียนของแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควา ได้อาศัยช่องจากการที่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญของปากีสถาน มาผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในระดับอุดมศึกษาด้วย ทั้งนี้ก่อนหน้านั้น ระบบการศึกษาในปากีสถานมีลักษณะรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง โดยที่แคว้นต่างๆ มีสิทธิ์มีเสียงน้อยมากๆ ไม่ว่าจะในเรื่องนโยบายการศึกษา, หลักสูตร, หรือการวางแผนทางการศึกษา ทว่าบทแก้ไขรัฐธรรมนูญบทที่ 18 นั่นเองได้มอบหมายให้อำนาจเต็มแก่ทางแคว้นต่างๆ ในการจัดการเรื่องการอุดมศึกษา
“คติพจน์ที่ผมยึดถืออยู่คือ สันติภาพ” มาร์วัต กล่าว “ผมจะบอกให้พิมพ์คำขวัญที่ว่าพวกเราต้องการสันติภาพ เอาไว้ในหน้าแรกและหน้าหลังๆ ของแบบเรียนที่ผมจัดพิมพ์ พวกเราพยายามที่จะลดเนื้อหาที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังและการแบ่งแยกเป็นฝักฝ่ายให้เหลือน้อยที่สุด พวกเรานำเสนอวีรบุรุษของชาวปัชตุนท้องถิ่น เข้ามาแทนที่วีรบุรุษที่เป็นชาวอาหรับ ตลอดจนแนะนำวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้ามาอยู่ในแบบเรียนด้วย
เรดิโอ มาชาอัล (Radio Mashaal) ของ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี มีส่วนช่วยจัดทำรายงานชิ้นนี้
รายงานนี้มาจาก เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี ( Radio Free Europe/Radio Liberty หรือ RFE/RL) ทั้งนี้ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี เป็นกิจการกระจายเสียงที่ได้รับเงินทุนจากรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อเสนอข่าวสารข้อมูลและบทวิเคราะห์ไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก, เอเชียกลาง, และตะวันออกกลาง
Jihadist teaching back in Pakistan classrooms
By Frud Bezhan
04/09/2013
ต้องใช้ความพยายามอันยากลำบากมากทีเดียว กว่าที่จะสามารถนำเอาโองการในคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งสอนเรื่อง “ญิฮัด” หรือ การทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ ออกมาจากแบบเรียนต่างๆ ที่ใช้อยู่ตามโรงเรียนในภาคตะวันตกเฉียงใต้อันเต็มไปด้วยความไม่สงบของปากีสถาน ทว่าการเปลี่ยนแปลงซึ่งต่อสู้มาได้อย่างยากเย็นนี้ กำลังถูกคุกคามอย่างหนักหน่วงในขณะนี้ เมื่อรัฐบาลท้องถิ่นที่เพิ่งได้รับเลือกตั้งใหม่ๆ ของแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควา ประกาศเจตนารมณ์ว่า ต้องการรื้อฟื้นนำเอาเนื้อหาซึ่งปลูกฝังแนวความคิดนักรบญิฮัดอันรุนแรงกลับมาใส่ในหนังสือตำราเรียนใหม่ ถึงแม้มันจะเป็นการตัดสินใจที่สร้างความผิดหวังท้อแท้ให้ครูบาอาจารย์จำนวนหนึ่งก็ตามที
ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา แบบเรียนที่ใช้กันอยู่ตามโรงเรียนต่างๆ ทั่วปากีสถานมีเนื้อหาจำนวนไม่น้อยซึ่งเป็นการสั่งสอนความคิดที่ผิดๆ , การเกลียดชังกัน, และการไร้ขันติธรรมในทางศาสนา อันเป็นการบ่มเพาะเกื้อกูลความรุนแรงที่เกิดจากความผิดแผกแตกต่างกัน ตลอดจนความนิยมในการใช้ความก้าวร้าว ซึ่งกำลังแพร่ระบาดไปอย่างกว้างขวางอยู่ในประเทศนี้ในปัจจุบัน
ในแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควา (Khyber Pakhtunkhwa province) ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน และถือเป็นหนึ่งในพื้นที่เพาะพันธุ์กลุ่มหัวรุนแรงสุดโต่งต่างๆ อย่างเช่นพวกตอลิบาน พวกเจ้าหน้าที่ทางด้านการศึกษาได้ดำเนินขั้นตอนหลายๆ ประการในปี 2008 ซึ่งมุ่งสกัดขัดขวางการปลูกฝังถ่ายทอดแนวความคิดอิสลามเคร่งจารีตแบบสุดโต่งไปให้แก่คนรุ่นต่อไป
ตลอดระยะเวลาไม่กี่ปีถัดจากนั้น พวกหนังสือแบบเรียนซึ่งใช้กันอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนกระทั่งถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนรัฐบาลในแคว้นนี้ (ในปากีสถานนั้นไม่มีการวางหลักสูตรระดับชาติสำหรับใช้ทั่วประเทศ) ได้ถูกรื้อถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายมโหฬาร
โองการในคัมภีร์อัลกุรอานที่สอนเรื่อง “ญิฮัด” หรือ การทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ ได้ถูกนำออกไป เช่นเดียวกับภาพประกอบที่เป็นภาพอาวุธหรือความรุนแรงต่างๆ บทตอนซึ่งกล่าวถึงบุคคลผู้ยึดมั่นเคร่งครัดในศาสนาอิสลาม ตลอดจนอุดมการณ์แบบอิสลามเคร่งจารีต ถูกแทนที่ด้วยข้อเขียนซึ่งส่งเสริมยกย่องกวีและนักปรัชญาท้องถิ่น หรืออัตลักษณ์ของชาวปัชตุน (Pashtun) ที่เป็นผู้คนส่วนใหญ่ในบริเวณนี้
แต่แล้วการเปลี่ยนแปลงที่ได้มาจากการลงแรงต่อสู้ด้วยความยากลำบากเหล่านี้กำลังถูกคุกคามอย่างหนักหน่วง โดยที่รัฐบาลผสมชุดใหม่ของแคว้นซึ่งจัดตั้งขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง และมีพรรคขบวนการเพื่อความยุติธรรมปากีสถาน (Pakistan Movement for Justice ใช้อักษรย่อว่า PTI) ของ อิมรอน ข่าน (Imran Khan) อดีตดารานักกีฬาคริกเก็ตชื่อก้องเป็นแกนนำ ร่วมกับพรรคจามาอัต-อี-อิสลามี (Jamaat-e Islami ใช้อักษรย่อว่า JI) ได้ประกาศเจตนารมณ์ของพวกเขาออกมาแล้วว่า ต้องการรื้อฟื้นนำเอาเนื้อหาซึ่งปลูกฝังแนวความคิดนักรบญิฮัดอันรุนแรงกลับมาใส่ในหนังสือตำราเรียนใหม่
การตัดสินใจดังกล่าวสร้างความผิดหวังท้อแท้ให้ครูอาจารย์และนักการศึกษาผู้ซึ่งมองเห็นว่า การศึกษาคือเครื่องมือที่ดีที่สุดในการต่อสู้กับการโฆษณาชวนเชื่อแนวความคิดนิยมสงครามศักดิ์สิทธิ์อันสุดโต่ง ซึ่งเผยแพร่โดยกลุ่มหัวรุนแรงก้าวร้าวในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความไม่สงบแห่งนี้ พวกซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ความเคลื่อนไหวเช่นนี้บอกว่า มีอันตรายเหลือเกินที่เยาวชนของแคว้นนี้จะถูกบ่มเพาะให้กลายเป็นพวกที่นิยมความก้าวร้าวรุนแรงและสุดโต่ง
** “ส่วนหนึ่งในความศรัทธาของเรา”**
รัฐบาลแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควาไม่ได้ระบุว่าจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้กันเมื่อใด แต่เห็นได้ชัดเจนว่าคงไม่ทันปีการศึกษาใหม่ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ทั้งนี้แบบเรียนและวัสดุการเรียนการสอนที่จะถูกเปลี่ยนประกอบด้วยหลายๆ วิชา เป็นต้นว่า ประวัติศาสตร์ปากีสถาน และ ศาสนาอิสลามศึกษา
ชาห์ ฟาร์มาน (Shah Farman) รัฐมนตรีดูแลด้านสารสนเทศและวัฒนธรรมของแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควา กล่าวในระหว่างการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 21 สิงหาคมว่า รัฐบาลใหม่ชุดนี้จะต้อง แก้ไขสิ่งที่เป็น “ช่องโหว่และข้อบกพร่อง” ในหนังสือแบบเรียนที่ใช้กันอยู่เวลานี้ซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นโดยรัฐบาลชุดก่อน ที่นำโดยพรรคแห่งชาติอะวามี (Awami National Party ใช้อักษรย่อว่า ANP) ซึ่งมีแนวทางที่ต้องการแยกศาสนาออกจากการเมือง
“มันจะกลายเป็นอธิปไตย, เสรีภาพ, และคุณค่าอิสลามแบบไหนกันล่ะ ในเมื่อคำสอนของอิสลาม, เรื่องของญิฮัด, และวีรบุรุษของชาติ ถูกเอาออกไปจากตำราเรียนเสียแล้ว” เขาตั้งคำถามในท่ามกลางนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ ระหว่างการแถลงข่าวที่เมืองเปชาวาร์ (Peshawar) เมืองเอกของแคว้น “ญิฮัดนั้นคือส่วนหนึ่งในความศรัทธายึดมั่นของเรา ดังนั้นเราจะไม่มีการถอยหลังในเรื่องนี้”
ฟาร์มานยังยกตัวอย่างสิ่งที่เขาระบุว่าเป็นความไม่ถูกต้องในแบบเรียนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน หนึ่งในนั้นก็คือการพูดถึงแคว้นแคชเมียร์ อันเป็นพื้นที่บริเวณเทือกเขาหิมาลัยที่ในปัจจุบันปากีสถานกับอินเดียเฉือนแบ่งกันครอบครอง โดยในตำราเรียนเหล่านี้บอกว่าแคชเมียร์เป็นพื้นที่ที่ประเทศทั้งสอง “พิพาทกัน” อยู่ ทว่าปากีสถานอ้างสิทธิ์มาตลอดว่าแคว้นดังกล่าวซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ที่สุดเป็นชาวมุสลิมนั้นเป็นของตนทั้งหมด
ฟาร์มานยังหยิบยกภาพประกอบในแบบเรียนภาพหนึ่ง ซึ่งเป็นภาพของเด็กชายคนหนึ่งกำลังรับประทานอาหารด้วยมือซ้ายของเขา ทั้งนี้ผู้สอนศาสนาอิสลามบางส่วนบอกว่า มือซ้ายควรใช้เฉพาะตอนที่เข้าห้องส้วมหรือทำความสะอาดจมูกของตนเท่านั้น ขณะที่มือขวามีความใกล้ชิดกับพระเจ้ามากกว่า
**ต่อสู้กับ “ความเกลียดชัง, การแบ่งแยกเป็นฝักฝ่าย”**
ดร.ฟาซัล รอฮีม มาร์วัต (Dr Fazal Rahim Marwat) เป็นอดีตประธานคณะกรรมการแบบเรียน (Textbook Board) ของแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควา ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลท้องถิ่นที่รับผิดชอบเรื่องการปรับปรุงแก้ไขและการจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนของโรงเรียนต่าง ๆในแคว้นนี้
มาร์วัต ซึ่งในปัจจุบันเป็นรองศาสตราจารย์อยู่ที่มหาวิทยาเปชาวาร์ (University of Peshawar) แสดงความคิดเห็นว่าการตัดสินใจดังกล่าวของรัฐบาลแคว้นชุดใหม่ มีแต่จะช่วยแพร่ขยายความคลั่งไคล้ศาสนา และปลูกฝังยาพิษเข้าสู่ความคิดจิตใจของนักเรียนในแคว้นนี้เท่านั้น
“เป็นธรรมดาที่การเปลี่ยนแปลงนี้จะต้องมีผลกระทบเป็นอย่างมาก” มาร์วัต กล่าว “ใน FATA (Federally Administered Tribal Areas พื้นที่ชาวชนเผ่าที่ส่วนกลางบริหาร เป็นพื้นที่กึ่งปกครองตนเองของปากีสถานซึ่งอยู่ติดต่อกับแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควา) และกระทั่งตลอดทั่วทั้งปากีสถานเวลานี้ มันก็มีการก่อความไม่สงบและมีสงครามอยู่แล้ว คราวนี้ก็มีเนื้อหาสร้างความเกลียดชังแฝงฝังอยู่ในหนังสือทางการศึกษาอย่างเยอะแยะมากมายเข้าไปอีก ถ้าย้อนกลับไปในอดีตคุณจะสามารถมองเห็นว่ามันส่งผลต่อการศึกษาในหลายๆ ด้านทีเดียว ในตอนที่มีการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์อัฟกานิสถาน (เพื่อต่อต้านการยึดครองอัฟกานิสถานของกองทัพสหภาพโซเวียตในช่วงทศวรรษ 1980) รัฐบาลปากีสถานได้เริ่มนำเอาแนวความคิดว่าด้วยญิฮัดเข้าสู่โรงเรียนต่างๆ นั่นก็กลายเป็นการส่งเสริมสนับสนุนความรุนแรงและความสุดโต่งที่พวกเราพบเห็นอยู่ในทุกวันนี้ ดังนั้นถ้าใครก็ตามต้องการนำเอาเนื้อหาเหล่านี้เข้ามาใช้กันอีก มันก็จะส่งเสริมสนับสนุนสิ่งที่ว่ามานี้แหละ”
ภายใต้กระบวนการปฏิรูปที่เริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่ปี 2006 มาร์วัตบอกว่าคณะกรรมการชุดที่เขาเป็นประธานได้นำเอาเนื้อหาที่เป็นการส่งเสริมความรุนแรงออกไปจากแบบเรียนที่ใช้กันตามโรงเรียน และแทนที่ด้วยแนวคิดซึ่งมุ่งสนับสนุนสันติภาพและขันติธรรม
ในปี 2011 คณะกรรมการแบบเรียนของแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควา ได้อาศัยช่องจากการที่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญของปากีสถาน มาผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในระดับอุดมศึกษาด้วย ทั้งนี้ก่อนหน้านั้น ระบบการศึกษาในปากีสถานมีลักษณะรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง โดยที่แคว้นต่างๆ มีสิทธิ์มีเสียงน้อยมากๆ ไม่ว่าจะในเรื่องนโยบายการศึกษา, หลักสูตร, หรือการวางแผนทางการศึกษา ทว่าบทแก้ไขรัฐธรรมนูญบทที่ 18 นั่นเองได้มอบหมายให้อำนาจเต็มแก่ทางแคว้นต่างๆ ในการจัดการเรื่องการอุดมศึกษา
“คติพจน์ที่ผมยึดถืออยู่คือ สันติภาพ” มาร์วัต กล่าว “ผมจะบอกให้พิมพ์คำขวัญที่ว่าพวกเราต้องการสันติภาพ เอาไว้ในหน้าแรกและหน้าหลังๆ ของแบบเรียนที่ผมจัดพิมพ์ พวกเราพยายามที่จะลดเนื้อหาที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังและการแบ่งแยกเป็นฝักฝ่ายให้เหลือน้อยที่สุด พวกเรานำเสนอวีรบุรุษของชาวปัชตุนท้องถิ่น เข้ามาแทนที่วีรบุรุษที่เป็นชาวอาหรับ ตลอดจนแนะนำวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้ามาอยู่ในแบบเรียนด้วย
เรดิโอ มาชาอัล (Radio Mashaal) ของ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี มีส่วนช่วยจัดทำรายงานชิ้นนี้
รายงานนี้มาจาก เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี ( Radio Free Europe/Radio Liberty หรือ RFE/RL) ทั้งนี้ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี เป็นกิจการกระจายเสียงที่ได้รับเงินทุนจากรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อเสนอข่าวสารข้อมูลและบทวิเคราะห์ไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก, เอเชียกลาง, และตะวันออกกลาง