‘เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน’กับโอกาสที่จะได้กลับบ้าน
(การเดินทางอันโดดเดี่ยวของ เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ตอน2)
โดย ปีเตอร์ แวน บูเรน
(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
The lonely flight of Edward Snowden
By Peter Van Buren
03/07/2013
เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน นั้นไม่เหมือนกับ “ผู้เป่านกหวีด” (ผู้เปิดโปงความไม่ชอบมาพากลในหน่วยงานของตนเอง) คนอื่นๆ ในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งบางทีก็ไร้เดียงสาถึงกับคาดหมายว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะกระทำการต่างๆ โดยยึดมั่นตามรัฐธรรมนูญ อีกทั้งจะกลับหลังหันเลี้ยวออกมาจากเส้นทางอันมุ่งสู่ความเป็นเผด็จการรวบอำนาจและคืนสู่เส้นทางที่ถูกต้องชอบธรรม แต่สำหรับ “จอมแฉ” ผู้นี้แล้ว เขาทราบดีว่ากลไกความมั่นคงอันใหญ่โตมโหฬารของอเมริกาจะหมุนคว้างพุ่งเข้ามาเล่นงานเขาอย่างสุดกำลัง ในเวลาเดียวกับที่วอชิงตันพยายามที่จะวาดภาพทาสีให้เขาเป็นเพียงพวกอยากดังมุ่งแสวงหาชื่อเสียงส่วนตัว แต่การกระทำเพื่อเปิดเผยให้เห็นสัจจะความจริงของเขา ซึ่งต้องเสียสละชีวิตอันเป็นปกติสุขและกลายเป็นผู้หลบหนีลี้ภัยนั้น กลับบ่งบอกให้เห็นถึงคุณสมบัติของคนที่เป็นวีรบุรุษ มิใช่คนขายชาติ
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 3 ตอน นี่คือตอน 2 *
(ต่อจากตอนแรก)
ผมจะมีโอกาสได้กลับอเมริกาไหม?
องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) จับประเด็นได้ตรงเป้าแม่นยำเลย เมื่อระบุเอาไว้ในคำแถลงของตนว่า สโนว์เดน “มีความเสี่ยงที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างเลวร้าย ถ้าหากถูกส่งตัวกลับไปสหรัฐฯในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน” และราวกับว่าต้องการเป็นหลักฐานพิสูจน์ว่าองค์การนิรโทษกรรมสากลกล่าวเอาไว้อย่างถูกต้องแล้ว เพราะแทนที่จะรอคอยให้ศาลสถิตย์ยุติธรรมมีคำพิพากษาอันชัดเจนออกมา ซึ่งอาจจะใช้เวลาเป็นเดือนๆ หรือกระทั่งเป็นปีๆ แต่นี่ยังไม่ทันที่จะมีการไต่สวนพิจารณาคดีใดๆ เลยด้วยซ้ำ ประธานสภาผู้แทนราษฎร จอห์น โบห์เนอร์ (John Boehner) ก็ออกมาเรียกสโนว์เดนแล้วว่า เป็น “คนขายชาติ” ขณะที่ ส.ส.ปีเตอร์ คิง (Peter King) เรียกเขาว่าเป็น “คนแปรพักตร์ทรยศชาติ” แล้วยังคนอื่นๆ อีกซึ่งกำลังออกมาเรียกร้องต้องการให้ประหารชีวิตเขา ถ้าหากสิ่งที่ผมพูดมาเหล่านี้ยังไม่เพียงพอ การถูกล่วงละเมิดต่างๆ นานาที่ แบรดลีย์ แมนนิ่ง (Bradley Manning) ต้องแบกรับด้วยความทนทุกข์ทรมาน ก็ได้ทำให้ สโนว์เดน บังเกิดความแน่ใจเรียบร้อยแล้วว่า การได้รับโอกาสในการไต่สวนพิจารณาคดีอย่างยุติธรรมและได้รับการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรมนั้น เป็นเพียงความฝันหวานที่ไม่มีทางเป็นไปได้สำหรับผู้เป่านกหวีดประเภทอย่างเขา (เขาระบุอ้างอิงอย่างเจาะจงถึง แมนนิ่ง ในคำร้องขอไปลี้ภัยที่เอกวาดอร์)
ดังนั้นขณะที่อยู่บนเครื่องบินซึ่งเดินทางออกมาจากฮ่องกง เขาทราบดี (อย่างที่เขาได้เคยทราบดีมานานแล้ว) ว่าความปรารถนาตามธรรมชาติที่จะเดินทางกลับไปยังสหรัฐฯและเข้ามอบตัวขอต่อสู้คดีในศาลอย่างกล้าหาญนั้น เป็นความคิดที่ต้องจัดให้อยู่ในระดับเกินเลยกว่าความบ้าระห่ำ กระนั้นก็ตามที ความรู้สึกรบเร้าให้หวนกลับประเทศที่เขารัก จะต้องเดินทางติดตามตัวเขาไปด้วยเช่นกัน บางทีในเที่ยวบินเที่ยวนั้นเขาอาจจะพบว่าตนเองมีความรู้สึกขบขันอย่างขมขื่นเมื่อขบคิดขึ้นมาได้ว่า ภายหลังที่เที่ยวทำอะไรตามอำเภอใจโดยไม่เคยนำพาแยแสต่อมาตรฐานในทางระหว่างประเทศใดๆ ตลอดระยะเวลาปีแล้วปีเล่าที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น อบู กรออิบ (Abu Ghraib), กวนตานาโม (Guantanamo), “เทคนิคการสอบสวนแบบปรับปรุงยกระดับขึ้นใหม่” (enhanced interrogation techniques), คุกมืด (black sites) สหรัฐฯกลับยังคงกล้าออกมาลอยหน้าลอยตาดุด่าทั้งฮ่องกง, จีน, และรัสเซีย ว่าไม่กระทำตามหลักนิติธรรมนิติรัฐ (ในกรณีของฮ่องกงกับจีน ก็คือสหรัฐฯแสดงความไม่พอใจที่ไม่ส่งตัวสโนว์เดนกลับไปให้สหรัฐฯตามสนธิสัญญาแลกเปลี่ยนผู้ร้ายข้ามแดนที่ฮ่องกงทำไว้กับสหรัฐฯ แต่กลับปล่อยให้สโนว์เดนเดินทางออกนอกประเทศไป ส่วนในกรณีรัสเซียนั้น วอชิงตันโกรธที่ยอมให้สโนว์เดนเดินทางจากฮ่องกงเข้าไปในแดนหมีขาว –ผู้แปล)
เขาทราบดีอย่างแน่นอนทีเดียวว่า การที่ตัวเขาเปิดโปงว่าสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) ของสหรัฐฯ ดำเนินการสอดแนมสืบความลับทางไซเบอร์อย่างใหญ่โตกว้างขวางต่อฮ่องกงและจีนนั้น ได้สร้างความอับอายขายหน้าอย่างลึกล้ำให้แก่คณะรัฐบาลโอบามา ในเมื่อสหรัฐฯเองเพิ่งวิพากษ์วิจารณ์อบรมเทศนาฝ่ายจีนอย่างรุนแรงมาหยกๆ จากการเที่ยวแฮ็กเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ทั้งของฝ่ายทหารสหรัฐฯและของภาคบริษัทธุรกิจอเมริกัน ตัวเขาเองนั้นมั่นอกมั่นใจว่าฝ่ายจีนจะไม่ส่งตัวเขาไปให้แก่รัฐบาลสหรัฐฯแน่นอน มันก็ในทำนองเดียวกับที่ประวัติศาสตร์แห่งการที่สหรัฐฯข่มเหงรังแกละตินอเมริกามานมนานหลายสิบปี ได้กลายเป็นหลักประกันว่าเขาจะมีช่องทางในการฝากฝังอนาคตเอาไว้กับสถานที่บางแห่งบางหนในอาณาบริเวณดังกล่าวนี้ เป็นต้นว่า เอกวาดอร์
ยิ่งถ้าหากเขาทราบเรื่องราวประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน โดยเฉพาะพวกกรณีทำนองเดียวกับที่เกิดขึ้นกับตัวเขาเองแล้ว สโนว์เดนอาจจะขบคิดไปถึงช่วงเวลาอีกช่วงหนึ่งที่เพิ่งผันผ่านไปไม่ถึงสิบปี ในตอนที่วอชิงตันเกิดความรู้สึกโกรธแค้นชนิดหนวดกระดิกเช่นกัน เมื่อชายที่ตนเองต้องการตัวสามารถเล็ดรอดหลุดออกจากประเทศซึ่งเป็นเพื่อนมิตรของตนแท้ๆ แล้วไปขอลี้ภัยทางการเมืองยังประเทศที่สามจนได้ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในปี 2004 ตอนที่สหรัฐฯขอให้ญี่ปุ่นจับกุม บ็อบบี้ ฟิสเชอร์ (Bobby Fischer) อดีตแชมป์โลกหมากรุกสากลผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกัน ด้วยข้อหาความผิดที่เขาเดินทางไปเข้าร่วมการแข่งขันหมากรุกรายการหนึ่งในปี 1992 ที่ยูโกสลาเวีย ซึ่งเป็นการละเมิดมาตรการคว่ำบาตรที่วอชิงตันประกาศใช้กับประเทศนั้น มีหลายๆ คนชี้ว่า เหตุผลแท้จริงที่ทำให้วอชิงตันติดตามไล่ล่าฟิสเชอร์ น่าจะมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า อดีตแชมป์โลกหมากรุกผู้นี้ได้เคยแถลงในช่วงหลังเหตุการณ์ 9/11 ว่า “มันถึงเวลาแล้วที่จะจัดการกับสหรัฐฯให้จบๆ ไปเสียที สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เพียงแต่แสดงให้เห็นว่า ใครที่เคยทำอะไรเอาไว้ ก็ต้องได้รับผลอย่างนั้นคืนสนอง”
หนังสือเดินทางสหรัฐฯของฟิสเชอร์ได้ถูกกระทรวงการต่างประเทศอเมริกันสั่งยกเลิก ทำนองเดียวกับของสโนว์เดนในเวลานี้ และก็ในลักษณะคล้ายๆ กับที่ฮ่องกงกระทำในช่วงไม่กี่วันก่อน ในที่สุดแล้วทางญี่ปุ่นได้ปล่อยตัวฟิสเชอร์ไปด้วยเหตุผลทางเทคนิคเรื่องการตรวจคนเข้าเมือง จากนั้นเขาก็บินไปยังไอซ์แลนด์ ซึ่งเขาได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติ มีฐานะเป็นพลเมืองของที่นั่น
ผมเป็นนักการทูตคนหนึ่งซึ่งประจำอยู่ในญี่ปุ่นในเวลานั้นพอดี และมีโอกาสได้ที่นั่งริมขอบเวทีทีเดียวสำหรับการเฝ้าชมการเจรจาต่อรองต่างๆ ที่เกิดขึ้นมา พวกเขาต้องมองเห็นข้อเทียบเคียงกับคราวนั้นแน่นอนเลยเมื่อเดินหน้าผลักดันกรณีสโนว์เดนที่ฮ่องกง เป็นต้นว่า วอชิงตันคิดว่าตนเองมีพื้นฐานข้ออ้างทางกฎหมายอันหนักแน่นทั้งเรื่องสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน และเรื่องหลักกฎหมายระหว่างประเทศ, พวกนักการทูตอเมริกันพากันส่งเสียงแสดงท่าทีราวกับเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองที่รู้สึกผิดหวัง และกำลังดุด่าว่ากล่าวเด็กคนหนึ่ง, ความหวังที่ชักซีดจางเมื่อมีความพยายามเอ่ยอ้างถึงความสัมพันธ์อันดีที่จะบังเกิดขึ้นในอนาคต, การเสาะแสวงหาบุคคลที่มีความเห็นอกเห็นใจในบรรดาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในท้องถิ่น, สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง, และกระทรวงการต่างประเทศ ในทางเป็นจริงแล้วคือใครก็ได้ ขอให้หาให้ได้สักคนหนึ่ง แล้วในท้ายที่สุด ก็คือความพยายามดิ้นรนอย่างหมดหวังที่จะโทรศัพท์ติดต่อขอความอนุเคราะห์แบบเป็นการส่วนตัว เพื่อซื้อเวลาออกไปอีกสักช่วงหนึ่งสำหรับการเดิน “แผนบี” ไม่ว่ามันจะเป็นอะไรก็ตามที แต่แล้วก็เฉกเช่นเดียวกับกรณีสโนว์เดน ลงท้ายสหรัฐฯก็ได้แต่ยืนมองอย่างหมดหวังในขณะเหยื่อของตนบินปร๋อห่างออกไปเรื่อยๆ
แล้วตอนนี้ผมจะอยู่ต่อไปยังไง?
เมื่อถึงบางช่วงบางตอน ผู้เป่านกหวีดทุกๆ คนย่อมเกิดความตระหนักขึ้นมาว่า ชีวิตของเขาจะไม่มีวันเหมือนเดิมอีกแล้ว สำหรับตัวผมนั้น นี่หมายถึงการสูญเสียงานอาชีพที่ผมทำมาถึง 24 ปีในกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ส่วนสำหรับ ทอม เดร็ก มันหมายถึงความพังพินาศทางการเงินเมื่อรัฐบาลพยายามที่จะทำให้เขาล้มละลายด้วยการฟ้องร้องเล่นงานทางคดีความไม่ยอมหยุดไม่ยอมหย่อน สำหรับ จอห์น คิเรียคู ซึ่งเป็นสายลับซีไอเอ มันอาจจะเป็นช่วงขณะในตอนที่เขาถูกศาลตัดสินว่ากระทำความผิดจริงจากการเปิดเผยข้อมูลลับให้แก่พวกนักหนังสือพิมพ์ เขาได้กล่าวอำลาครอบครัวของเขา จากนั้นก็เดินเข้าสู่เรือนจำ “สถาบันราชทัณฑ์สหรัฐฯลอเร็ตโต” (Loretto Federal Correctional Institution) ในมลรัฐเพนซิลเวเนีย
สโนว์เดนย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะต้องเกิดความกระวนกระวายเกี่ยวกับอนาคตขึ้นมา ไม่ว่าเขาจะจบลงด้วยการไปอยู่ที่ไหนก็ตามที คำถามที่จะติดตามเขาไปยังคงเหมือนเดิม เขาจะใช้ชีวิตต่อไปอย่างไร? จะมีงานอะไรให้เขาทำ? เขาเพิ่งจะมีอายุ 30 ปี และอย่างดีที่สุด เขาก็จะต้องใช้เวลาตลอดชีวิตในประเทศต่างแดนสักแห่งหนึ่งที่เขาอาจจะไม่เคยพบไม่เคยเห็นมาก่อน โดยที่เขาอาจจะไม่ได้รู้จักภาษาของประเทศนั้น หรือกระทั่งไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับประเทศนั้น
ดังนั้น ความหวาดกลัวจะคืบคลานเข้ามาอีกคำรบหนึ่ง ในรูปแบบที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย ความหวาดกลัวเป็นสิ่งที่ไม่เคยทอดทิ้งคุณไปเลย มันไม่ยอมไปไหนอย่างแน่นอนในเมื่อคุณกำลังต่อสู้เผชิญหน้ากับรัฐบาลที่ทรงอำนาจมากที่สุดในโลก เขาจะมีโอกาสได้พบครอบครัวและเพื่อนมิตรของเขาอีกไหม? ครอบครัวและเพื่อนมิตรเหล่านี้จะปฏิเสธไม่ยอมรับเขาไหม ไม่ว่าจะด้วยความกลัวที่จะถูกแก้แค้น หรือด้วยผลพวงจากการที่รัฐบาลรณรงค์ใส่ร้ายป้ายสีเขาก็ตามที? พ่อแม่/เพื่อนที่ดีที่สุด/แฟนของเขา จะเกิดเชื่อขึ้นมาไหมว่าเขาเป็นคนขายชาติ, คนแปรพักตร์ทรยศชาติ, คนที่มีอันตราย?
ผู้เป่านกหวีดทุกๆ คนต่างพบว่าความสัมพันธ์ส่วนบุคคลของพวกเขาตกอยู่ในความขึงตึงเคร่งเครียด ชีวิตแต่งงานถูกทดสอบอย่างหนักหรือกระทั่งพังพินาศไปเลย, เพื่อนๆ พากันหนีหาย, ลูกๆ ถูกล้อเลียนถูกกลั่นแกล้งที่โรงเรียน, ผมทราบจากการเดินไปบนเส้นทางแห่งการเป็นผู้เป่านกหวีดของผมเองว่า มันเป็นการลงโทษอย่างสกปรกน่ารังเกียจ โดยที่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากการดูหมิ่นเหยียดหยามของรัฐบาล มันเป็นการลงโทษอย่างสกปรกน่ารังเกียจ ต่อผู้เป่านกหวีดที่ลงมือกระทำสิ่งซึ่งมโนธรรมของเขาเห็นว่าเป็นความดีงาม
ถ้าหากเขามีความรู้สึกอันล้ำลึกมากสักหน่อยในเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สโนว์เดนอาจจะค้นพบอารมณ์ขัน จากวิถีทางที่คณะรัฐบาลโอบามาเลือกที่จะยกเลิกหนังสือเดินทางของเขาในระยะเวลาไม่นานนักก่อนที่เขาจะออกจากฮ่องกง ย้อนหลังกลับไปในช่วงยุคสงครามเย็น “จักรวรรดิแห่งความชั่วร้าย” ซึ่งหมายถึงสหภาพโซเวียต คือผู้ที่ขึ้นชื่อฉาวโฉ่ในเรื่องการปฏิเสธไม่ยอมออกหนังสือเดินทางให้ผู้ที่คัดค้านไม่เห็นดีเห็นงามกับรัฐบาล ขณะที่สหรัฐฯกลับเป็นฝ่ายคอยช่วยเหลือ ด้วยการยอมระงับงดใช้ระเบียบเรื่องผู้เดินทางเข้าประเทศต้องมีหนังสือเดินทาง เพื่อให้ผู้คัดค้านไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลหมีขาวเหล่านี้ สามารถหลบหนีมายังโลกตะวันตกได้
เพื่อให้เกิดความรู้สึกลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปอีกเกี่ยวกับเรื่องตลกร้ายที่เกิดขึ้นในขณะนี้ บางทีสโนว์เดนอาจจะลองค้นหาข้อมูลจากกูเกิล ในเรื่องตัวเลขจำนวนกรณีที่สหรัฐฯให้สิทธิในการลี้ภัยแก่บุคคลต่างชาติในช่วงระยะเวลาระหว่าง 2009 ถึง 2011 ซึ่งจะได้ข้อมูลออกมาดังนี้ ชาวรัสเซีย 1,222 ราย, ชาวจีน 9,493 ราย, และชาวเอกวาดอร์ 22 ราย ตัวเลขเหล่านี้ยังไม่รวมสมาชิกในครอบครัวของผู้ได้สิทธิเป็นผู้ลี้ภัยเหล่านี้ บางทีเขาอาจจะได้เรียนรู้ด้วยว่า ทั้งๆ ที่พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯแสดงความเกรี้ยวกราดอย่างรุนแรงในการเรียกร้องให้รัสเซียต้องคำนึงถึงพันธกรณีระหว่างประเทศด้วยการส่ง สโนว์เดน ให้แก่ฝ่ายอเมริกันในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน แต่เมื่อเร็วๆ นี้เองสหรัฐฯกลับปฏิเสธไม่ยอมทำตามคำขอของฝ่ายรัสเซียที่จะให้ส่งตัวพลเมืองของรัสเซีย 2 คนกลับไปยังแดนหมีขาวเพื่อพิจารณาความผิด
สโนว์เดนอาจจะครุ่นคิดรำพึงถึงเรื่องที่เมื่อตอนยังเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีนั้น โอบามาได้เคยออกมาให้คำมั่นสัญญาอย่างเปิดเผยชัดเจนว่า เขาจะปกป้องคุ้มครองพวกผู้เป่านกหวีด
“บ่อยครั้งทีเดียวที่แหล่งข่าวผู้ให้ข้อมูลข่าวสารชั้นเยี่ยมที่สุด ในเรื่องเกี่ยวกับความสิ้นเปลืองสุรุ่ยสุร่าย, การฉ้อฉลคดโกง, และการใช้อำนาจอย่างมิชอบในรัฐบาล” โอบามาพูดเอาไว้เช่นนี้ในตอนนั้น “ก็คือลูกจ้างของรัฐบาลที่มีตัวตนอยู่แล้ว ผู้ซึ่งมีความผูกพันยึดมั่นในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตและความถูกต้องของรัฐบาล และยินดีที่จะพูดความจริงออกมา การกระทำในลักษณะเช่นนี้คือความกล้าหาญและความรักชาติ ... ควรที่จะได้รับการส่งเสริมไม่ใช่ถูกอุดปากบีบคอเหมือนอย่างที่พวกเขาประสบอยู่ในระหว่างยุคของคณะรัฐบาลบุช” มันอาจจะเป็นมุกเดียวที่สามารถเรียกเสียงฮาสนั่นจากสโนว์เดนได้ ตลอดการเดินทางในเที่ยวบินเที่ยวนั้น
ปีเตอร์ แวน บูเรน เป็น “ผู้เป่านกหวีด” เปิดโปงความสิ้นเปลืองสุรุ่ยสุร่ายและการบริหารอันผิดพลาดของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯเอาไว้ในหนังสือของเขาที่ใช้ชื่อเรื่องว่า We Meant Well: How I Helped Lose the Battle for the Hearts and Minds of the Iraqi People.
(การเดินทางอันโดดเดี่ยวของ เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ตอน2)
โดย ปีเตอร์ แวน บูเรน
(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
The lonely flight of Edward Snowden
By Peter Van Buren
03/07/2013
เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน นั้นไม่เหมือนกับ “ผู้เป่านกหวีด” (ผู้เปิดโปงความไม่ชอบมาพากลในหน่วยงานของตนเอง) คนอื่นๆ ในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งบางทีก็ไร้เดียงสาถึงกับคาดหมายว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะกระทำการต่างๆ โดยยึดมั่นตามรัฐธรรมนูญ อีกทั้งจะกลับหลังหันเลี้ยวออกมาจากเส้นทางอันมุ่งสู่ความเป็นเผด็จการรวบอำนาจและคืนสู่เส้นทางที่ถูกต้องชอบธรรม แต่สำหรับ “จอมแฉ” ผู้นี้แล้ว เขาทราบดีว่ากลไกความมั่นคงอันใหญ่โตมโหฬารของอเมริกาจะหมุนคว้างพุ่งเข้ามาเล่นงานเขาอย่างสุดกำลัง ในเวลาเดียวกับที่วอชิงตันพยายามที่จะวาดภาพทาสีให้เขาเป็นเพียงพวกอยากดังมุ่งแสวงหาชื่อเสียงส่วนตัว แต่การกระทำเพื่อเปิดเผยให้เห็นสัจจะความจริงของเขา ซึ่งต้องเสียสละชีวิตอันเป็นปกติสุขและกลายเป็นผู้หลบหนีลี้ภัยนั้น กลับบ่งบอกให้เห็นถึงคุณสมบัติของคนที่เป็นวีรบุรุษ มิใช่คนขายชาติ
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 3 ตอน นี่คือตอน 2 *
(ต่อจากตอนแรก)
ผมจะมีโอกาสได้กลับอเมริกาไหม?
องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) จับประเด็นได้ตรงเป้าแม่นยำเลย เมื่อระบุเอาไว้ในคำแถลงของตนว่า สโนว์เดน “มีความเสี่ยงที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างเลวร้าย ถ้าหากถูกส่งตัวกลับไปสหรัฐฯในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน” และราวกับว่าต้องการเป็นหลักฐานพิสูจน์ว่าองค์การนิรโทษกรรมสากลกล่าวเอาไว้อย่างถูกต้องแล้ว เพราะแทนที่จะรอคอยให้ศาลสถิตย์ยุติธรรมมีคำพิพากษาอันชัดเจนออกมา ซึ่งอาจจะใช้เวลาเป็นเดือนๆ หรือกระทั่งเป็นปีๆ แต่นี่ยังไม่ทันที่จะมีการไต่สวนพิจารณาคดีใดๆ เลยด้วยซ้ำ ประธานสภาผู้แทนราษฎร จอห์น โบห์เนอร์ (John Boehner) ก็ออกมาเรียกสโนว์เดนแล้วว่า เป็น “คนขายชาติ” ขณะที่ ส.ส.ปีเตอร์ คิง (Peter King) เรียกเขาว่าเป็น “คนแปรพักตร์ทรยศชาติ” แล้วยังคนอื่นๆ อีกซึ่งกำลังออกมาเรียกร้องต้องการให้ประหารชีวิตเขา ถ้าหากสิ่งที่ผมพูดมาเหล่านี้ยังไม่เพียงพอ การถูกล่วงละเมิดต่างๆ นานาที่ แบรดลีย์ แมนนิ่ง (Bradley Manning) ต้องแบกรับด้วยความทนทุกข์ทรมาน ก็ได้ทำให้ สโนว์เดน บังเกิดความแน่ใจเรียบร้อยแล้วว่า การได้รับโอกาสในการไต่สวนพิจารณาคดีอย่างยุติธรรมและได้รับการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรมนั้น เป็นเพียงความฝันหวานที่ไม่มีทางเป็นไปได้สำหรับผู้เป่านกหวีดประเภทอย่างเขา (เขาระบุอ้างอิงอย่างเจาะจงถึง แมนนิ่ง ในคำร้องขอไปลี้ภัยที่เอกวาดอร์)
ดังนั้นขณะที่อยู่บนเครื่องบินซึ่งเดินทางออกมาจากฮ่องกง เขาทราบดี (อย่างที่เขาได้เคยทราบดีมานานแล้ว) ว่าความปรารถนาตามธรรมชาติที่จะเดินทางกลับไปยังสหรัฐฯและเข้ามอบตัวขอต่อสู้คดีในศาลอย่างกล้าหาญนั้น เป็นความคิดที่ต้องจัดให้อยู่ในระดับเกินเลยกว่าความบ้าระห่ำ กระนั้นก็ตามที ความรู้สึกรบเร้าให้หวนกลับประเทศที่เขารัก จะต้องเดินทางติดตามตัวเขาไปด้วยเช่นกัน บางทีในเที่ยวบินเที่ยวนั้นเขาอาจจะพบว่าตนเองมีความรู้สึกขบขันอย่างขมขื่นเมื่อขบคิดขึ้นมาได้ว่า ภายหลังที่เที่ยวทำอะไรตามอำเภอใจโดยไม่เคยนำพาแยแสต่อมาตรฐานในทางระหว่างประเทศใดๆ ตลอดระยะเวลาปีแล้วปีเล่าที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น อบู กรออิบ (Abu Ghraib), กวนตานาโม (Guantanamo), “เทคนิคการสอบสวนแบบปรับปรุงยกระดับขึ้นใหม่” (enhanced interrogation techniques), คุกมืด (black sites) สหรัฐฯกลับยังคงกล้าออกมาลอยหน้าลอยตาดุด่าทั้งฮ่องกง, จีน, และรัสเซีย ว่าไม่กระทำตามหลักนิติธรรมนิติรัฐ (ในกรณีของฮ่องกงกับจีน ก็คือสหรัฐฯแสดงความไม่พอใจที่ไม่ส่งตัวสโนว์เดนกลับไปให้สหรัฐฯตามสนธิสัญญาแลกเปลี่ยนผู้ร้ายข้ามแดนที่ฮ่องกงทำไว้กับสหรัฐฯ แต่กลับปล่อยให้สโนว์เดนเดินทางออกนอกประเทศไป ส่วนในกรณีรัสเซียนั้น วอชิงตันโกรธที่ยอมให้สโนว์เดนเดินทางจากฮ่องกงเข้าไปในแดนหมีขาว –ผู้แปล)
เขาทราบดีอย่างแน่นอนทีเดียวว่า การที่ตัวเขาเปิดโปงว่าสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) ของสหรัฐฯ ดำเนินการสอดแนมสืบความลับทางไซเบอร์อย่างใหญ่โตกว้างขวางต่อฮ่องกงและจีนนั้น ได้สร้างความอับอายขายหน้าอย่างลึกล้ำให้แก่คณะรัฐบาลโอบามา ในเมื่อสหรัฐฯเองเพิ่งวิพากษ์วิจารณ์อบรมเทศนาฝ่ายจีนอย่างรุนแรงมาหยกๆ จากการเที่ยวแฮ็กเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ทั้งของฝ่ายทหารสหรัฐฯและของภาคบริษัทธุรกิจอเมริกัน ตัวเขาเองนั้นมั่นอกมั่นใจว่าฝ่ายจีนจะไม่ส่งตัวเขาไปให้แก่รัฐบาลสหรัฐฯแน่นอน มันก็ในทำนองเดียวกับที่ประวัติศาสตร์แห่งการที่สหรัฐฯข่มเหงรังแกละตินอเมริกามานมนานหลายสิบปี ได้กลายเป็นหลักประกันว่าเขาจะมีช่องทางในการฝากฝังอนาคตเอาไว้กับสถานที่บางแห่งบางหนในอาณาบริเวณดังกล่าวนี้ เป็นต้นว่า เอกวาดอร์
ยิ่งถ้าหากเขาทราบเรื่องราวประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน โดยเฉพาะพวกกรณีทำนองเดียวกับที่เกิดขึ้นกับตัวเขาเองแล้ว สโนว์เดนอาจจะขบคิดไปถึงช่วงเวลาอีกช่วงหนึ่งที่เพิ่งผันผ่านไปไม่ถึงสิบปี ในตอนที่วอชิงตันเกิดความรู้สึกโกรธแค้นชนิดหนวดกระดิกเช่นกัน เมื่อชายที่ตนเองต้องการตัวสามารถเล็ดรอดหลุดออกจากประเทศซึ่งเป็นเพื่อนมิตรของตนแท้ๆ แล้วไปขอลี้ภัยทางการเมืองยังประเทศที่สามจนได้ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในปี 2004 ตอนที่สหรัฐฯขอให้ญี่ปุ่นจับกุม บ็อบบี้ ฟิสเชอร์ (Bobby Fischer) อดีตแชมป์โลกหมากรุกสากลผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกัน ด้วยข้อหาความผิดที่เขาเดินทางไปเข้าร่วมการแข่งขันหมากรุกรายการหนึ่งในปี 1992 ที่ยูโกสลาเวีย ซึ่งเป็นการละเมิดมาตรการคว่ำบาตรที่วอชิงตันประกาศใช้กับประเทศนั้น มีหลายๆ คนชี้ว่า เหตุผลแท้จริงที่ทำให้วอชิงตันติดตามไล่ล่าฟิสเชอร์ น่าจะมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า อดีตแชมป์โลกหมากรุกผู้นี้ได้เคยแถลงในช่วงหลังเหตุการณ์ 9/11 ว่า “มันถึงเวลาแล้วที่จะจัดการกับสหรัฐฯให้จบๆ ไปเสียที สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เพียงแต่แสดงให้เห็นว่า ใครที่เคยทำอะไรเอาไว้ ก็ต้องได้รับผลอย่างนั้นคืนสนอง”
หนังสือเดินทางสหรัฐฯของฟิสเชอร์ได้ถูกกระทรวงการต่างประเทศอเมริกันสั่งยกเลิก ทำนองเดียวกับของสโนว์เดนในเวลานี้ และก็ในลักษณะคล้ายๆ กับที่ฮ่องกงกระทำในช่วงไม่กี่วันก่อน ในที่สุดแล้วทางญี่ปุ่นได้ปล่อยตัวฟิสเชอร์ไปด้วยเหตุผลทางเทคนิคเรื่องการตรวจคนเข้าเมือง จากนั้นเขาก็บินไปยังไอซ์แลนด์ ซึ่งเขาได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติ มีฐานะเป็นพลเมืองของที่นั่น
ผมเป็นนักการทูตคนหนึ่งซึ่งประจำอยู่ในญี่ปุ่นในเวลานั้นพอดี และมีโอกาสได้ที่นั่งริมขอบเวทีทีเดียวสำหรับการเฝ้าชมการเจรจาต่อรองต่างๆ ที่เกิดขึ้นมา พวกเขาต้องมองเห็นข้อเทียบเคียงกับคราวนั้นแน่นอนเลยเมื่อเดินหน้าผลักดันกรณีสโนว์เดนที่ฮ่องกง เป็นต้นว่า วอชิงตันคิดว่าตนเองมีพื้นฐานข้ออ้างทางกฎหมายอันหนักแน่นทั้งเรื่องสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน และเรื่องหลักกฎหมายระหว่างประเทศ, พวกนักการทูตอเมริกันพากันส่งเสียงแสดงท่าทีราวกับเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองที่รู้สึกผิดหวัง และกำลังดุด่าว่ากล่าวเด็กคนหนึ่ง, ความหวังที่ชักซีดจางเมื่อมีความพยายามเอ่ยอ้างถึงความสัมพันธ์อันดีที่จะบังเกิดขึ้นในอนาคต, การเสาะแสวงหาบุคคลที่มีความเห็นอกเห็นใจในบรรดาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในท้องถิ่น, สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง, และกระทรวงการต่างประเทศ ในทางเป็นจริงแล้วคือใครก็ได้ ขอให้หาให้ได้สักคนหนึ่ง แล้วในท้ายที่สุด ก็คือความพยายามดิ้นรนอย่างหมดหวังที่จะโทรศัพท์ติดต่อขอความอนุเคราะห์แบบเป็นการส่วนตัว เพื่อซื้อเวลาออกไปอีกสักช่วงหนึ่งสำหรับการเดิน “แผนบี” ไม่ว่ามันจะเป็นอะไรก็ตามที แต่แล้วก็เฉกเช่นเดียวกับกรณีสโนว์เดน ลงท้ายสหรัฐฯก็ได้แต่ยืนมองอย่างหมดหวังในขณะเหยื่อของตนบินปร๋อห่างออกไปเรื่อยๆ
แล้วตอนนี้ผมจะอยู่ต่อไปยังไง?
เมื่อถึงบางช่วงบางตอน ผู้เป่านกหวีดทุกๆ คนย่อมเกิดความตระหนักขึ้นมาว่า ชีวิตของเขาจะไม่มีวันเหมือนเดิมอีกแล้ว สำหรับตัวผมนั้น นี่หมายถึงการสูญเสียงานอาชีพที่ผมทำมาถึง 24 ปีในกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ส่วนสำหรับ ทอม เดร็ก มันหมายถึงความพังพินาศทางการเงินเมื่อรัฐบาลพยายามที่จะทำให้เขาล้มละลายด้วยการฟ้องร้องเล่นงานทางคดีความไม่ยอมหยุดไม่ยอมหย่อน สำหรับ จอห์น คิเรียคู ซึ่งเป็นสายลับซีไอเอ มันอาจจะเป็นช่วงขณะในตอนที่เขาถูกศาลตัดสินว่ากระทำความผิดจริงจากการเปิดเผยข้อมูลลับให้แก่พวกนักหนังสือพิมพ์ เขาได้กล่าวอำลาครอบครัวของเขา จากนั้นก็เดินเข้าสู่เรือนจำ “สถาบันราชทัณฑ์สหรัฐฯลอเร็ตโต” (Loretto Federal Correctional Institution) ในมลรัฐเพนซิลเวเนีย
สโนว์เดนย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะต้องเกิดความกระวนกระวายเกี่ยวกับอนาคตขึ้นมา ไม่ว่าเขาจะจบลงด้วยการไปอยู่ที่ไหนก็ตามที คำถามที่จะติดตามเขาไปยังคงเหมือนเดิม เขาจะใช้ชีวิตต่อไปอย่างไร? จะมีงานอะไรให้เขาทำ? เขาเพิ่งจะมีอายุ 30 ปี และอย่างดีที่สุด เขาก็จะต้องใช้เวลาตลอดชีวิตในประเทศต่างแดนสักแห่งหนึ่งที่เขาอาจจะไม่เคยพบไม่เคยเห็นมาก่อน โดยที่เขาอาจจะไม่ได้รู้จักภาษาของประเทศนั้น หรือกระทั่งไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับประเทศนั้น
ดังนั้น ความหวาดกลัวจะคืบคลานเข้ามาอีกคำรบหนึ่ง ในรูปแบบที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย ความหวาดกลัวเป็นสิ่งที่ไม่เคยทอดทิ้งคุณไปเลย มันไม่ยอมไปไหนอย่างแน่นอนในเมื่อคุณกำลังต่อสู้เผชิญหน้ากับรัฐบาลที่ทรงอำนาจมากที่สุดในโลก เขาจะมีโอกาสได้พบครอบครัวและเพื่อนมิตรของเขาอีกไหม? ครอบครัวและเพื่อนมิตรเหล่านี้จะปฏิเสธไม่ยอมรับเขาไหม ไม่ว่าจะด้วยความกลัวที่จะถูกแก้แค้น หรือด้วยผลพวงจากการที่รัฐบาลรณรงค์ใส่ร้ายป้ายสีเขาก็ตามที? พ่อแม่/เพื่อนที่ดีที่สุด/แฟนของเขา จะเกิดเชื่อขึ้นมาไหมว่าเขาเป็นคนขายชาติ, คนแปรพักตร์ทรยศชาติ, คนที่มีอันตราย?
ผู้เป่านกหวีดทุกๆ คนต่างพบว่าความสัมพันธ์ส่วนบุคคลของพวกเขาตกอยู่ในความขึงตึงเคร่งเครียด ชีวิตแต่งงานถูกทดสอบอย่างหนักหรือกระทั่งพังพินาศไปเลย, เพื่อนๆ พากันหนีหาย, ลูกๆ ถูกล้อเลียนถูกกลั่นแกล้งที่โรงเรียน, ผมทราบจากการเดินไปบนเส้นทางแห่งการเป็นผู้เป่านกหวีดของผมเองว่า มันเป็นการลงโทษอย่างสกปรกน่ารังเกียจ โดยที่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากการดูหมิ่นเหยียดหยามของรัฐบาล มันเป็นการลงโทษอย่างสกปรกน่ารังเกียจ ต่อผู้เป่านกหวีดที่ลงมือกระทำสิ่งซึ่งมโนธรรมของเขาเห็นว่าเป็นความดีงาม
ถ้าหากเขามีความรู้สึกอันล้ำลึกมากสักหน่อยในเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สโนว์เดนอาจจะค้นพบอารมณ์ขัน จากวิถีทางที่คณะรัฐบาลโอบามาเลือกที่จะยกเลิกหนังสือเดินทางของเขาในระยะเวลาไม่นานนักก่อนที่เขาจะออกจากฮ่องกง ย้อนหลังกลับไปในช่วงยุคสงครามเย็น “จักรวรรดิแห่งความชั่วร้าย” ซึ่งหมายถึงสหภาพโซเวียต คือผู้ที่ขึ้นชื่อฉาวโฉ่ในเรื่องการปฏิเสธไม่ยอมออกหนังสือเดินทางให้ผู้ที่คัดค้านไม่เห็นดีเห็นงามกับรัฐบาล ขณะที่สหรัฐฯกลับเป็นฝ่ายคอยช่วยเหลือ ด้วยการยอมระงับงดใช้ระเบียบเรื่องผู้เดินทางเข้าประเทศต้องมีหนังสือเดินทาง เพื่อให้ผู้คัดค้านไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลหมีขาวเหล่านี้ สามารถหลบหนีมายังโลกตะวันตกได้
เพื่อให้เกิดความรู้สึกลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปอีกเกี่ยวกับเรื่องตลกร้ายที่เกิดขึ้นในขณะนี้ บางทีสโนว์เดนอาจจะลองค้นหาข้อมูลจากกูเกิล ในเรื่องตัวเลขจำนวนกรณีที่สหรัฐฯให้สิทธิในการลี้ภัยแก่บุคคลต่างชาติในช่วงระยะเวลาระหว่าง 2009 ถึง 2011 ซึ่งจะได้ข้อมูลออกมาดังนี้ ชาวรัสเซีย 1,222 ราย, ชาวจีน 9,493 ราย, และชาวเอกวาดอร์ 22 ราย ตัวเลขเหล่านี้ยังไม่รวมสมาชิกในครอบครัวของผู้ได้สิทธิเป็นผู้ลี้ภัยเหล่านี้ บางทีเขาอาจจะได้เรียนรู้ด้วยว่า ทั้งๆ ที่พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯแสดงความเกรี้ยวกราดอย่างรุนแรงในการเรียกร้องให้รัสเซียต้องคำนึงถึงพันธกรณีระหว่างประเทศด้วยการส่ง สโนว์เดน ให้แก่ฝ่ายอเมริกันในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน แต่เมื่อเร็วๆ นี้เองสหรัฐฯกลับปฏิเสธไม่ยอมทำตามคำขอของฝ่ายรัสเซียที่จะให้ส่งตัวพลเมืองของรัสเซีย 2 คนกลับไปยังแดนหมีขาวเพื่อพิจารณาความผิด
สโนว์เดนอาจจะครุ่นคิดรำพึงถึงเรื่องที่เมื่อตอนยังเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีนั้น โอบามาได้เคยออกมาให้คำมั่นสัญญาอย่างเปิดเผยชัดเจนว่า เขาจะปกป้องคุ้มครองพวกผู้เป่านกหวีด
“บ่อยครั้งทีเดียวที่แหล่งข่าวผู้ให้ข้อมูลข่าวสารชั้นเยี่ยมที่สุด ในเรื่องเกี่ยวกับความสิ้นเปลืองสุรุ่ยสุร่าย, การฉ้อฉลคดโกง, และการใช้อำนาจอย่างมิชอบในรัฐบาล” โอบามาพูดเอาไว้เช่นนี้ในตอนนั้น “ก็คือลูกจ้างของรัฐบาลที่มีตัวตนอยู่แล้ว ผู้ซึ่งมีความผูกพันยึดมั่นในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตและความถูกต้องของรัฐบาล และยินดีที่จะพูดความจริงออกมา การกระทำในลักษณะเช่นนี้คือความกล้าหาญและความรักชาติ ... ควรที่จะได้รับการส่งเสริมไม่ใช่ถูกอุดปากบีบคอเหมือนอย่างที่พวกเขาประสบอยู่ในระหว่างยุคของคณะรัฐบาลบุช” มันอาจจะเป็นมุกเดียวที่สามารถเรียกเสียงฮาสนั่นจากสโนว์เดนได้ ตลอดการเดินทางในเที่ยวบินเที่ยวนั้น
ปีเตอร์ แวน บูเรน เป็น “ผู้เป่านกหวีด” เปิดโปงความสิ้นเปลืองสุรุ่ยสุร่ายและการบริหารอันผิดพลาดของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯเอาไว้ในหนังสือของเขาที่ใช้ชื่อเรื่องว่า We Meant Well: How I Helped Lose the Battle for the Hearts and Minds of the Iraqi People.