(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Myanmar’s neo-Nazi Buddhists get free rein
By Maung Zarni
09/04/2013
“ขบวนการ 969” กลุ่มหัวรุนแรงที่มีแรงจูงใจจากเรื่องเชื้อชาติ คือพวกที่เป็นแกนกลางในเหตุการณ์การสังหารหมู่ชาวมุสลิมที่เป็นชนกลุ่มน้อยในพม่าเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อยที่สุด 40 คนและทำให้มีคนพลัดที่นาคาที่อยู่อีกประมาณ 12,000 คน กลุ่มดังกล่าวที่นำโดยพระภิกษุในพุทธศาสนานามว่า “วีระธู” (Wirathu) สามารถผงาดโดดเด่นขึ้นมาถึงขนาดนี้ได้อย่างไร? เราจะเข้าใจเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดีที่สุดก็ด้วยการมองผ่านบริบทแห่งการที่รัฐบาลพม่าตั้งแต่ในยุคที่เป็นระบอบปกครองเผด็จการทหาร ได้ตักตวงใช้ประโยชน์จากอารมณ์ความรู้สึกต่อต้านมุสลิมในหมู่ชาวพุทธที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศกันอย่างไรบ้าง
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
“ขบวนการ 969” (969 movement) ที่เป็นกลุ่มหัวรุนแรงในพม่า คือพวกที่เป็นแกนกลางในเหตุการณ์การสังหารหมู่ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมอย่างเหี้ยมโหดเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อยที่สุด 40 คน และทำให้มีคนพลัดที่นาคาที่อยู่อีกประมาณ 12,000 คน อย่างไรก็ตาม เราจะไม่สามารถทำความเข้าใจกลุ่มหัวรุนแรงที่นำโดยพระสงฆ์ในพุทธศาสนากลุ่มนี้ได้เลย หากไม่โฟกัสรวมศูนย์ความสนใจไปที่การต่อเชื่อมประสานกันระหว่างรัฐบาลของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง กับ สังคมโดยองค์รวมอันมีลักษณะโดดเด่นในเรื่องการเหยียดชนชาติ (racist) ของประเทศนี้
ขณะเดียวกัน เรื่องที่เกิดขึ้นมาคราวนี้ก็จะหาคำอธิบายไม่ได้เลย ถ้าหากเราไม่ทำการตรวจสอบบทบาทของฝ่ายต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ ก) รัฐ ซึ่งการปฏิบัติเท่าที่ผ่านมา ในทางเป็นจริงแล้วเท่ากับกำลังบอกกล่าวกับพวกกลุ่มชาวพุทธที่มีแนวคิดไม่แตกต่างไปจากพวกนาซีใหม่ (neo-Nazi) เหล่านี้ว่า สิ่งที่พวกเขากระทำลงไป จะไม่ทำให้พวกเขาถูกนำตัวมาลงโทษอะไรทั้งสิ้น ข) การอยู่เฉยๆ ของเต็ง เส่ง ถึงแม้ปรากฏสัญญาณสิ่งบอกเหตุจำนวนมากว่ากำลังมีการกระทำในลักษณะของการล้างเผ่าพันธุ์ต่อชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิม และ ค) ฝ่ายค้านที่นำโดยออง ซาน ซู จี ซึ่งอยู่ในสภาพการล้มละลายในทางศีลธรรมตลอดระยะเวลาที่วิกฤตการณ์นี้ปะทุขึ้นมา ทั้งนี้การก่อเหตุรุนแรงอย่างบ้าคลั่งคราวนี้ยังก่อให้เกิดคำถามจำนวนมากเกี่ยวกับทิศทางของประเทศนี้ตลอดจนความหวังที่จะเกิดการปฏิรูปด้านต่างๆ ขึ้นในพม่า
ขบวนการ 969 ที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนชาวพม่ามากน้อยแค่ไหนและกว้างขวางเพียงใด และขบวนการนี้มีความเป็นไปได้ขนาดไหนที่จะแผ่ลามขยายตัวไปทั่วทั้งประเทศพม่า?
คำตอบต่อคำถามนี้ก็คือ ในฐานะที่เป็นขบวนการใหม่ของพวกนักชาตินิยม ซึ่งป่าวร้องโฆษณาข้อความอันชัดเจนว่าด้วย “ความบริสุทธิทางเชื้อชาติและศาสนา”, รวมทั้งเรื่องความรู้สึกอันผิดๆ ไม่เป็นความจริงที่ว่าชาวพุทธกำลังตกเป็นเหยื่อ, ตลอดจนลัทธิชาตินิยมในทางวัฒนธรรมและทางเศรษฐกิจ (เรื่องหลังนี้ย่อมทำให้ขบวนการนี้ไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากลัทธินาซีของเยอรมนีในยุคทศวรรษ 1930) เหล่านี้กำลังทำให้พวกเขาได้รับความนิยมชมชอบเป็นอย่างมาก ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เหตุผลหลักๆ น่าจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ
ประการแรก พวกนักเทศนาชาวพุทธที่เป็นพวกหัวรุนแรงบางคน ซึ่งมาจากบรรดาสถาบันฝึกอบรมครูผู้สอนศาสนาที่มีเส้นสายอันแน่นหนาในระดับชาติ (เป็นต้นว่า พระวีระธู Wirathu ผู้นำของขบวนการ 969) สามารถป่าวร้องอย่างได้ผลในการทำให้ชาวมุสลิมในประเทศนี้กลายเป็นแพะรับบาป ชาวมุสลิมถูกกล่าวโทษว่าเป็นผู้สร้างความลำบากเดือดร้อนทางเศรษฐกิจให้แก่ประชาชนชาวพม่าและสร้างความเสื่อมโทรมทางวัฒนธรรมในสังคมวงกว้าง โดยที่นักเทศนาเหล่านี้วาดภาพให้เห็นไปว่าคนเชื้อชาติพม่าเป็นเหยื่อเคราะห์ร้ายที่ตกอยู่ในกำมือของชาวมุสลิมซึ่งรวมกลุ่มสมคบคิดกันในทางการค้าและกำลังแสดงพฤติการณ์แบบปลิงดูดเลือดและกาฝาก ประการที่สอง พวก 969 หยิบฉวยใช้ประโยชน์จากแนวความคิดเหยียดเชื้อชาติต่อต้านมุสลิมที่ดำรงคงอยู่ในหมู่ชาวพุทธซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศมาเป็นเวลานานแล้ว และจนถึงเวลานี้ก็ยังคงเป็นที่นิยมแพร่หลาย และประการสุดท้ายแต่ไม่ได้เป็นประการที่ทรงความสำคัญท้ายสุด ก็คือ ในทางเป็นจริงแล้วบรรดาสถาบันรัฐในทุกๆ ระดับ (ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ, พวกหน่วยข่าวกรอง, กองทัพ, หน่วยงานบริหารปกครองฝ่ายพลเรือนในท้องถิ่น, และแม้กระทั่งสำนักงานดับเพลิง) ภายใต้การบริหารจัดการของรัฐบาลเต็ง เส่ง ต่างกำลังแสดงท่าทีซึ่งทำให้ขบวนการชาวพุทธที่มีแนวคิดแบบนาซีใหม่เหล่านี้มองเห็นว่า สิ่งที่พวกเขากระทำลงไป จะไม่ทำให้พวกเขาถูกนำตัวมาลงโทษอะไรทั้งสิ้น รวมทั้งสถาบันรัฐเหล่านี้ยังจะให้ความร่วมมือแบบไม่ออกหน้าออกตาอีกด้วย
คำถามถัดมาที่ต้องพิจารณากันก็คือ รัฐบาลกรุงเนปีดอ กำลังทำอะไรบ้างเพื่อกำราบปราบปรามขบวนการหัวรุนแรงนี้ ?
ภายหลังที่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงต่อต้านมุสลิมซึ่งมุ่งเล่นงานคนชาติพันธุ์โรฮิงญา ในรัฐยะไข่ ทางภาคตวันตกของพม่าเมื่อปีที่แล้ว รัฐบาลเต็ง เส่ง ได้จัดทำรายงานอย่างเป็นทางการยื่นเสนอต่อรัฐสภาของประเทศ ในรายงานฉบับดังกล่าวได้ประณามพรรคการเมืองต่างๆ และพระภิกษุในพุทธศาสนาจำนวนหนึ่ง ว่ากำลังเผยแพร่ “ความชิงชังทางเชื้อชาติ” กระนั้นก็ตาม คณะรัฐบาลของเขาก็ยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติการใดๆ แม้แต่ครั้งเดียว เพื่อเล่นงานใครสักคนที่ได้เที่ยวยุยงอย่างเปิดเผยให้เกิดความเกลียดชังต่อต้านชาวมุสลิม หรือเกิดความเกลียดชังทางเชื้อชาติที่พุ่งเป้าไปยังชาวโรฮิงญา คณะรัฐบาลของเขายังไม่ได้จับกุมคุมขังหรือแม้แต่ยับยั้งขัดขวางนักเทศนาชาวพุทธสักคนเดียวที่กำลังแสดงพฤติการณ์เผยแพร่ความชิงชังต่อต้านมุสลิมอยู่ในสังคม และกำลังยั่วยุด้วยการเรียกร้องอย่างโต้งๆ ชัดเจนให้กำจัดชาวมุสลิมตลอดจนอิทธิพลของคนเหล่านี้ให้หมดสิ้นไปจากสังคม
“พวกพรรคการเมืองต่างๆ , พระภิกษุสงฆ์บางรูป, และบุคคลบางคน กำลังทำให้ความชิงชังทางเชื้อชาติเพิ่มทวีขึ้น พวกเขากระทั่งพยายามเข้าไปติดต่อและทำการล็อบบี้ยุยงชุมชน (ชาวพุทธยะไข่) ทั้งที่อยู่ภายในประเทศและทั้งที่อยู่ในต่างแดน” รายงานของเต็ง เส่ง ที่ยื่นเสนอต่อรัฐสภาในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ระบุเอาไว้เช่นนี้ เมื่อเป็นดังนั้น จึงเห็นได้อย่างกระจ่างกระจะว่า มีช่องว่างที่ต่อเชื่อมกันไม่ได้เลย ระหว่างการที่เต็ง เส่ง ป่าวร้องถึงเรื่องการดำรงคงอยู่ร่วมกันระหว่างศาสนาต่างๆ และความอดทนอดกลั้น ซึ่งพวกสื่อมวลชนกระแสหลักของโลกตะวันตกพากันนำไปรายงานเป็นข่าวกันอย่างกว้างขวาง ทว่าในอีกด้านหนึ่ง รัฐบาลของเขากลับแสดงท่าทีอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรกับความรุนแรงมุ่งต่อต้านมุสลิมที่กำลังปะทุลุกลามออกไป โดยที่สื่อมวลชนตะวันตกเดียวกันเหล่านี้บกพร่องล้มเหลวมิได้นำมารายงาน อย่างมากที่สุดก็มีเพียงแค่การตั้งข้อสังเกตว่า พวกตำรวจในท้องที่พากันยืนดูอยู่เฉยๆ ขณะที่ความรุนแรงของฝูงชนที่ดูเหมือนมีการจัดตั้งวางแผนกันมาก่อน กำลังเผยตัวออกมาให้เห็นต่อหน้าต่อตาพวกเขา
ตลอดทั่วทั้งประเทศพม่าในเวลานี้ ใครๆ ก็สามารถพบเห็น สิ่งพิมพ์, ดีวีดี, ซีดี, และวัสดุโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านมุสลิมประเภทอื่นๆ จำนวนมากได้อย่างง่ายดาย จนกระทั่งดูราวกับว่ามันกลายเป็นเรื่องไม่ผิดกฎหมายไปเสียแล้วที่จะเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลผิดๆ เพื่อต่อต้านมุสลิม ตลอดจนโฆษณาทัศนะความคิดอันแสดงความเกลียดชังมุสลิม ภายใต้ภาวะแวดล้อมที่ประเทศนี้กำลังเปิดกว้างมากขึ้น อย่างไรก็ดี ในทางตรงกันข้าม รัฐบาลกลับดำเนินการฟ้องร้องหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ “วอยซ์ วีกลี่” (Voice Weekly) จากการที่หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ตีพิมพ์เผยแพร่รายงานเพียงชิ้นเดียวเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่นในกระทรวงเหมืองแร่
การที่รัฐบาลเต็ง เส่ง ยังคงปล่อยปละไม่แตะต้องสิ่งพิมพ์หลายหลากนานาที่ตีพิมพ์เผยแพร่ข่าวลือ, การใส่ร้ายป้ายสี, และข่าวสารข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับชาวมุสลิมของประเทศเช่นนี้ จึงกำลังกลายเป็นหลักฐานอันชัดเจนว่า รัฐบาลนี้ให้ความสนอกสนใจเป็นห่วงกังวลเกี่ยวกับเรื่องที่จะถูกแฉโพยอย่างถูกต้องว่ามีการทุจริตคอร์รัปชั่นกันอย่างสูงลิ่ว ยิ่งกว่าการที่จะใช้ความพยายามเพื่อยุติหยุดยั้งเสียงกรรโชกเรียกร้องอย่างเปิดเผยและอย่างไม่หยุดหย่อนในสื่อหลากหลาย ให้แปรเปลี่ยนประเทศพม่าให้กลายเป็น “สุสานของปลิงมุสลิม”
ถ้าหากรัฐบาลเต็ง เส่ง ไม่ดำเนินการปราบปรามอย่างจริงจังมีขั้นมีตอนเป็นระบบ ต่อพวกที่ยุยงส่งเสริมและจัดตั้งวางแผนให้เกิดความรุนแรงต่างๆ ซึ่งมีที่มาจากความหวาดกลัวศาสนาอิสลาม ตลอดจนพวกที่พูดจาแสดงความคิดเห็นในทางเผยแพร่ความเกลียดชัง รวมทั้งถ้าหากรัฐบาลนี้ยังไม่ยกเลิกนโยบายที่ใช้มาอย่างยาวนานแล้วในทางเป็นจริง ในเรื่องการอยู่นิ่งเพิกเฉยไม่ลงโทษพวกที่ประกอบอาชญากรรมต่อชาวมุสลิม (ตลอดจนชนกลุ่มน้อยเชื้อชาติอื่นๆ) แล้ว รัฐบาลเต็ง เส่ง ก็กำลังเสี่ยงภัยอย่างอันตรายเหลือเกิน จากการปล่อยให้กลุ่ม 969 แปรเปลี่ยนยกระดับกลายเป็นขบวนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างเต็มขั้น ถึงแม้รัฐบาลนี้กำลังพยายามเสแสร้งทำท่าเหมือนกับว่ามุ่งหน้าไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย ทว่าระบอบปกครองที่ค้ำจุนโดยฝ่ายทหารของเต็ง เส่ง นี้ ก็มีประสบการณ์อันพิสูจน์ยืนยันกันมาเป็นเวลานานถึงกว่า 50 ปีแล้ว ในการปราบปรามกวาดล้างขบวนการฝ่ายค้านที่มีการจัดตั้งจัดองค์กรทั้งหลาย เช่นเดียวกัน ฝ่ายทหารของพม่าที่คอยสนับสนุนรัฐบาลนี้อยู่ ก็ได้แสดงให้เห็นเรื่อยมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีทีเดียว ถึงความสามารถอย่างทรงประสิทธิภาพในการเซนเซอร์ตรวจข่าวและในการหยุดยั้งข่าวหรือข้อความใดๆ ก็ตามทีที่ตนไม่ต้องการให้แพร่กระจายออกไปในสังคม
ในบทความของเขาที่ใช้ชื่อเรื่องว่า “Challenging the Authoritarian State: Buddhist Monks and Peaceful Protests in Burma, Issues and Policy” (การท้าทายรัฐเผด็จการรวบอำนาจ: พระสงฆ์ในพุทธศาสนาและการประท้วงอย่างสันติในพม่า, ประเด็นปัญหาและนโยบาย) และตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร “Fletcher Forum of World Affairs” ในปี 2008 จอว์ ยิน หล่าย (Kyaw Yin Hlaing) นักวิชาการชาวพม่าจากมหาวิทยาลัยซิตี้แห่งฮ่องกง (City University of Hong Kong) ซึ่งในปัจจุบันกลายเป็นที่ปรึกษาระดับท็อปคนหนึ่งของ เต็ง เส่ง โดยทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการของศูนย์สันติภาพพม่า (Myanmar Peace Center ใช้อักษรย่อว่า MPC) ของรัฐบาลนี้ ได้ตั้งข้อสังเกตอันน่าสนใจเอาไว้ว่า ฝ่ายทหารคือผู้ที่มีบทบาทเป็นแกนกลางในการกระตุ้นยุยงให้เกิดการจลาจลต่อต้านมุสลิมมาแล้วหลายต่อหลายครั้งในอดีตที่ผ่านมา เขาเขียนเอาไว้ดังนี้:
“ในปี 1997 คณะทหารผู้ปกครองประเทศเกิดตระหนักและตื่นตัวเกี่ยวกับแผนการของพระภิกษุจำนวนหนึ่ง ที่จะทำการประท้วงคัดค้านการที่ผู้บัญชาการ (ทหาร) ของเขต (มัณฑะเลย์) ดำเนินการบูรณะพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงองค์หนึ่งในเมืองมัณฑะเลย์อย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม ทว่าก่อนที่พระสงฆ์เหล่านี้จะสามารถเริ่มดำเนินการประท้วงขึ้นมาได้ ก็มีข่าวลือแพร่สะพัดออกไปว่าสตรีชาวพุทธผู้หนึ่งได้ถูกนักธุรกิจชาวมุสลิมข่มขืน รัฐบาลนั่นเองได้เบี่ยงเบนความสนใจของประชาชนจากตัวผู้บัญชาการทหารเขตผู้นี้ ไปเป็นนักธุรกิจชาวมุสลิมผู้นั้น ซึ่งในที่สุดแล้วก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดการจลาจลต่อต้านมุสลิมขึ้นมา ผู้สังเกตการณ์บางคนชี้ว่าพวกสายลับของหน่วยข่าวกรองมักยุแหย่ให้เกิดการจลาจลต่อต้านมุสลิมขึ้น เพื่อเป็นวิธีในการป้องกันไม่ให้พระสงฆ์ผู้โกรธเกรี้ยว เข้าไปยุ่งเกี่ยวร่วมอยู่ในกิจกรรมต่อต้านรัฐบาล” (หน้า 137-138)
เมื่อเร็วๆ นี้เอง นั่นคือในวันที่ 30 มีนาคม ศาสตราจารย์ โดนัลด์ ซีคิน (Donald Seekin) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “The Disorder in Order: the Army-State in Burma since 1962” (ความไร้ระเบียบในระเบียบ: รัฐ-กองทัพในพม่านับแต่ปี 1962) ได้เขียนตอบโต้บทความที่มีผู้เขียนลงในหน้าความเห็นของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ฉบับวันที่ 29 มีนาคม โดยใช้ชื่อเรื่องว่า “Kristallnacht in Myanmar” ( “คริสทัลนาคต์ ในพม่า” ทั้งนี้ คริสทัลนาคต์ หมายถึงเหตุการณ์ที่กองกำลังของพรรคนาซีเยอรมันภายใต้ฮิตเลอร์และพลเรือนอื่นๆ ได้ประสานงานกันก่อการสังหารหมู่ชาวยิวขึ้นทั่วทั้งเยอรมนีและหลายๆ ส่วนของออสเตรีย ในช่วงวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 1938 โดยที่พวกเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบชาวเยอรมันต่างพากันเฝ้าดูอยู่เฉยๆ มิได้เข้าห้ามปรามระงับเหตุ –ผู้แปล) ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ซีคิน เขียนตอบโต้เอาไว้ ดังนี้:
“ความเกลียดชังมุสลิมเป็นสิ่งที่ฝังรากหยั่งลึกอยู่ในสังคมชาวพม่ามานาน และได้รับการกระตุ้นส่งเสริมอย่างกระตือรือร้นทั้งจากระบอบปกครองเนวิน และระบอบปกครอง SLORC/SPDC (ระบอบปกครองของฝ่ายทหารในยุคหลังนายพลเนวิน) ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี 1962 จนถึงปี 2010 ยุทธวิธีอย่างหนึ่งที่พวกเขานิยมใช้มากได้แก่การโหมกระพือข่าวลือว่า คนมุสลิมได้ข่มขืนผู้หญิงชาวพุทธพม่า และมีแผนกโลบายร้ายกาจที่จะเปลี่ยนประชากรชาวพุทธทั้งหมดให้หันไปนับถืออิสลาม ยุทธวิธีที่อยู่ในลักษณะ “แบ่งแยกแล้วปกครอง” (divide and rule) ซึ่งทางการผู้กุมอำนาจของพม่านำมาใช้ในอดีตกาลที่เพิ่งผ่านพ้นไปหมาดๆ เช่นนี้ อาจจะได้ตัวอย่างมาจากระบอบปกครองเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ที่ใช้นโยบายฟูมฟักบ่มเพาะให้เกิด “สังคมที่มีความหลากหลาย” (plural society) ขึ้นมา เพื่อบั่นทอนความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในชาติ (อาณานิคม) ให้เหลืออยู่น้อยที่สุด”
เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาพวกผู้ปกครองทหารของพม่านั้น ได้เคยกระทำการฉกฉวยหาประโยชน์จากอคติในทางศาสนาและอคติในทางเชื้อชาติซึ่งดำรงอยู่มาช้านานในสังคมพม่า (ต้องไม่ลืมสภาพความเป็นจริงที่ว่า สังคมพม่าเป็นสังคมที่มีหลากหลายเชื้อชาติ) เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายทางการเมืองและทางยุทธศาสตร์ของพวกเขาเองอยู่บ่อยครั้ง โดยที่มีหลักฐานยืนยันอย่างหนักแน่นเป็นอันมาก ดังนั้น เราจึงไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่จะต้องไปพึ่งพิงอาศัยพวกทฤษฎีสมคบคิด มาเป็นเครื่องมือในการบ่งชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลเต็ง เส่ง น่าที่จะต้องการทำให้อารมณ์ความรู้สึกต่อต้านมุสลิมดังกล่าวแพร่กระจายออกไปในสังคมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายทางการเมืองของตนเองเช่นกัน เป็นต้นว่า การทำให้สังคมพม่าโดยองค์รวมเกิดแนวคิดขึ้นมาว่าสาธารณชนจะไม่มีความปลอดภัยเลย ถ้าหากพวกนายพลระดับสูงและฝ่ายทหารของพวกเขาไม่ได้ยื่นมือแห่งเผด็จการอันหนักแน่นมั่งคงเข้าไปยึดกุมการเมืองของประเทศเอาไว้
ถึงแม้ “ข้อความ” อย่างเป็นทางการที่เต็ง เส่ง กำลังส่งออกมา จะเป็นข้อความอันนุ่มนวลว่าด้วยความประสงค์ที่จะทำให้เกิดความสามัคคีกลมเกลียวทางศาสนาและการอยู่ร่วมกันได้ระหว่างศาสนาต่างๆ ในสังคม แต่จวบจนถึงเวลานี้เขาก็ยังมิได้ทำอะไรเลยในทางเป็นจริง ซึ่งจะเป็นการขจัดลิดรอนขบวนการชาวพุทธที่มีแนวคิดแบบนาซีใหม่เฉกเช่นกลุ่ม 969 เช่นเดียวกับที่ฝ่ายทหารก็ไม่ใช่ว่าจู่ๆ ก็หันมายอมรับให้มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างปราศจากเงื่อนไข ทั้งๆ ที่พวกเขาเฝ้าติดตามทำการเซนเซอร์สื่อมวลชนอย่างเข้มงวดกวดขันอยู่ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ การไม่เอาผิดกับพวกผู้ก่อเหตุ และการอยู่นิ่งๆ เฉยๆ โดยไม่ลงมือทำอะไร จึงน่าที่จะบังเกิดขึ้นมาบนพื้นฐานแห่งการคาดคำนวณในเชิงยุทธศาสตร์ของกรุงเนปีดอ ด้วยความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวและความไม่แน่นอนขึ้นในวงกว้าง ซึ่งก็จะไปสอดคล้องอยู่ในทิศทางเดียวกับยุทธวิธีแบ่งแยกแล้วปกครองทั้งหลายที่ฝ่ายทหารได้เคยนำออกมาใช้อยู่เป็นประจำ เพื่อให้สามารถเข้าควบคุมและส่งอิทธิพลครอบงำเหนือรัฐและเศรษฐกิจอย่างไม่ปราศจากผู้ท้าทาย
หม่อง ซาร์นี เป็นบล็อกเกอร์นักเคลื่อนไหวชาวพม่า (www.maungzarni.com) และเป็นนักวิจัยรับเชิญของหน่วยวิจัยภาคประชาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (Civil Society and Human Security Research Unit) ซึ่งสังกัดอยู่กับ ลอนดอน สคูล ออฟ อีโคโนมิกส์ (London School of Economics)
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
Myanmar’s neo-Nazi Buddhists get free rein
By Maung Zarni
09/04/2013
“ขบวนการ 969” กลุ่มหัวรุนแรงที่มีแรงจูงใจจากเรื่องเชื้อชาติ คือพวกที่เป็นแกนกลางในเหตุการณ์การสังหารหมู่ชาวมุสลิมที่เป็นชนกลุ่มน้อยในพม่าเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อยที่สุด 40 คนและทำให้มีคนพลัดที่นาคาที่อยู่อีกประมาณ 12,000 คน กลุ่มดังกล่าวที่นำโดยพระภิกษุในพุทธศาสนานามว่า “วีระธู” (Wirathu) สามารถผงาดโดดเด่นขึ้นมาถึงขนาดนี้ได้อย่างไร? เราจะเข้าใจเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดีที่สุดก็ด้วยการมองผ่านบริบทแห่งการที่รัฐบาลพม่าตั้งแต่ในยุคที่เป็นระบอบปกครองเผด็จการทหาร ได้ตักตวงใช้ประโยชน์จากอารมณ์ความรู้สึกต่อต้านมุสลิมในหมู่ชาวพุทธที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศกันอย่างไรบ้าง
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
“ขบวนการ 969” (969 movement) ที่เป็นกลุ่มหัวรุนแรงในพม่า คือพวกที่เป็นแกนกลางในเหตุการณ์การสังหารหมู่ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมอย่างเหี้ยมโหดเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อยที่สุด 40 คน และทำให้มีคนพลัดที่นาคาที่อยู่อีกประมาณ 12,000 คน อย่างไรก็ตาม เราจะไม่สามารถทำความเข้าใจกลุ่มหัวรุนแรงที่นำโดยพระสงฆ์ในพุทธศาสนากลุ่มนี้ได้เลย หากไม่โฟกัสรวมศูนย์ความสนใจไปที่การต่อเชื่อมประสานกันระหว่างรัฐบาลของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง กับ สังคมโดยองค์รวมอันมีลักษณะโดดเด่นในเรื่องการเหยียดชนชาติ (racist) ของประเทศนี้
ขณะเดียวกัน เรื่องที่เกิดขึ้นมาคราวนี้ก็จะหาคำอธิบายไม่ได้เลย ถ้าหากเราไม่ทำการตรวจสอบบทบาทของฝ่ายต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ ก) รัฐ ซึ่งการปฏิบัติเท่าที่ผ่านมา ในทางเป็นจริงแล้วเท่ากับกำลังบอกกล่าวกับพวกกลุ่มชาวพุทธที่มีแนวคิดไม่แตกต่างไปจากพวกนาซีใหม่ (neo-Nazi) เหล่านี้ว่า สิ่งที่พวกเขากระทำลงไป จะไม่ทำให้พวกเขาถูกนำตัวมาลงโทษอะไรทั้งสิ้น ข) การอยู่เฉยๆ ของเต็ง เส่ง ถึงแม้ปรากฏสัญญาณสิ่งบอกเหตุจำนวนมากว่ากำลังมีการกระทำในลักษณะของการล้างเผ่าพันธุ์ต่อชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิม และ ค) ฝ่ายค้านที่นำโดยออง ซาน ซู จี ซึ่งอยู่ในสภาพการล้มละลายในทางศีลธรรมตลอดระยะเวลาที่วิกฤตการณ์นี้ปะทุขึ้นมา ทั้งนี้การก่อเหตุรุนแรงอย่างบ้าคลั่งคราวนี้ยังก่อให้เกิดคำถามจำนวนมากเกี่ยวกับทิศทางของประเทศนี้ตลอดจนความหวังที่จะเกิดการปฏิรูปด้านต่างๆ ขึ้นในพม่า
ขบวนการ 969 ที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนชาวพม่ามากน้อยแค่ไหนและกว้างขวางเพียงใด และขบวนการนี้มีความเป็นไปได้ขนาดไหนที่จะแผ่ลามขยายตัวไปทั่วทั้งประเทศพม่า?
คำตอบต่อคำถามนี้ก็คือ ในฐานะที่เป็นขบวนการใหม่ของพวกนักชาตินิยม ซึ่งป่าวร้องโฆษณาข้อความอันชัดเจนว่าด้วย “ความบริสุทธิทางเชื้อชาติและศาสนา”, รวมทั้งเรื่องความรู้สึกอันผิดๆ ไม่เป็นความจริงที่ว่าชาวพุทธกำลังตกเป็นเหยื่อ, ตลอดจนลัทธิชาตินิยมในทางวัฒนธรรมและทางเศรษฐกิจ (เรื่องหลังนี้ย่อมทำให้ขบวนการนี้ไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากลัทธินาซีของเยอรมนีในยุคทศวรรษ 1930) เหล่านี้กำลังทำให้พวกเขาได้รับความนิยมชมชอบเป็นอย่างมาก ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เหตุผลหลักๆ น่าจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ
ประการแรก พวกนักเทศนาชาวพุทธที่เป็นพวกหัวรุนแรงบางคน ซึ่งมาจากบรรดาสถาบันฝึกอบรมครูผู้สอนศาสนาที่มีเส้นสายอันแน่นหนาในระดับชาติ (เป็นต้นว่า พระวีระธู Wirathu ผู้นำของขบวนการ 969) สามารถป่าวร้องอย่างได้ผลในการทำให้ชาวมุสลิมในประเทศนี้กลายเป็นแพะรับบาป ชาวมุสลิมถูกกล่าวโทษว่าเป็นผู้สร้างความลำบากเดือดร้อนทางเศรษฐกิจให้แก่ประชาชนชาวพม่าและสร้างความเสื่อมโทรมทางวัฒนธรรมในสังคมวงกว้าง โดยที่นักเทศนาเหล่านี้วาดภาพให้เห็นไปว่าคนเชื้อชาติพม่าเป็นเหยื่อเคราะห์ร้ายที่ตกอยู่ในกำมือของชาวมุสลิมซึ่งรวมกลุ่มสมคบคิดกันในทางการค้าและกำลังแสดงพฤติการณ์แบบปลิงดูดเลือดและกาฝาก ประการที่สอง พวก 969 หยิบฉวยใช้ประโยชน์จากแนวความคิดเหยียดเชื้อชาติต่อต้านมุสลิมที่ดำรงคงอยู่ในหมู่ชาวพุทธซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศมาเป็นเวลานานแล้ว และจนถึงเวลานี้ก็ยังคงเป็นที่นิยมแพร่หลาย และประการสุดท้ายแต่ไม่ได้เป็นประการที่ทรงความสำคัญท้ายสุด ก็คือ ในทางเป็นจริงแล้วบรรดาสถาบันรัฐในทุกๆ ระดับ (ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ, พวกหน่วยข่าวกรอง, กองทัพ, หน่วยงานบริหารปกครองฝ่ายพลเรือนในท้องถิ่น, และแม้กระทั่งสำนักงานดับเพลิง) ภายใต้การบริหารจัดการของรัฐบาลเต็ง เส่ง ต่างกำลังแสดงท่าทีซึ่งทำให้ขบวนการชาวพุทธที่มีแนวคิดแบบนาซีใหม่เหล่านี้มองเห็นว่า สิ่งที่พวกเขากระทำลงไป จะไม่ทำให้พวกเขาถูกนำตัวมาลงโทษอะไรทั้งสิ้น รวมทั้งสถาบันรัฐเหล่านี้ยังจะให้ความร่วมมือแบบไม่ออกหน้าออกตาอีกด้วย
คำถามถัดมาที่ต้องพิจารณากันก็คือ รัฐบาลกรุงเนปีดอ กำลังทำอะไรบ้างเพื่อกำราบปราบปรามขบวนการหัวรุนแรงนี้ ?
ภายหลังที่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงต่อต้านมุสลิมซึ่งมุ่งเล่นงานคนชาติพันธุ์โรฮิงญา ในรัฐยะไข่ ทางภาคตวันตกของพม่าเมื่อปีที่แล้ว รัฐบาลเต็ง เส่ง ได้จัดทำรายงานอย่างเป็นทางการยื่นเสนอต่อรัฐสภาของประเทศ ในรายงานฉบับดังกล่าวได้ประณามพรรคการเมืองต่างๆ และพระภิกษุในพุทธศาสนาจำนวนหนึ่ง ว่ากำลังเผยแพร่ “ความชิงชังทางเชื้อชาติ” กระนั้นก็ตาม คณะรัฐบาลของเขาก็ยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติการใดๆ แม้แต่ครั้งเดียว เพื่อเล่นงานใครสักคนที่ได้เที่ยวยุยงอย่างเปิดเผยให้เกิดความเกลียดชังต่อต้านชาวมุสลิม หรือเกิดความเกลียดชังทางเชื้อชาติที่พุ่งเป้าไปยังชาวโรฮิงญา คณะรัฐบาลของเขายังไม่ได้จับกุมคุมขังหรือแม้แต่ยับยั้งขัดขวางนักเทศนาชาวพุทธสักคนเดียวที่กำลังแสดงพฤติการณ์เผยแพร่ความชิงชังต่อต้านมุสลิมอยู่ในสังคม และกำลังยั่วยุด้วยการเรียกร้องอย่างโต้งๆ ชัดเจนให้กำจัดชาวมุสลิมตลอดจนอิทธิพลของคนเหล่านี้ให้หมดสิ้นไปจากสังคม
“พวกพรรคการเมืองต่างๆ , พระภิกษุสงฆ์บางรูป, และบุคคลบางคน กำลังทำให้ความชิงชังทางเชื้อชาติเพิ่มทวีขึ้น พวกเขากระทั่งพยายามเข้าไปติดต่อและทำการล็อบบี้ยุยงชุมชน (ชาวพุทธยะไข่) ทั้งที่อยู่ภายในประเทศและทั้งที่อยู่ในต่างแดน” รายงานของเต็ง เส่ง ที่ยื่นเสนอต่อรัฐสภาในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ระบุเอาไว้เช่นนี้ เมื่อเป็นดังนั้น จึงเห็นได้อย่างกระจ่างกระจะว่า มีช่องว่างที่ต่อเชื่อมกันไม่ได้เลย ระหว่างการที่เต็ง เส่ง ป่าวร้องถึงเรื่องการดำรงคงอยู่ร่วมกันระหว่างศาสนาต่างๆ และความอดทนอดกลั้น ซึ่งพวกสื่อมวลชนกระแสหลักของโลกตะวันตกพากันนำไปรายงานเป็นข่าวกันอย่างกว้างขวาง ทว่าในอีกด้านหนึ่ง รัฐบาลของเขากลับแสดงท่าทีอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรกับความรุนแรงมุ่งต่อต้านมุสลิมที่กำลังปะทุลุกลามออกไป โดยที่สื่อมวลชนตะวันตกเดียวกันเหล่านี้บกพร่องล้มเหลวมิได้นำมารายงาน อย่างมากที่สุดก็มีเพียงแค่การตั้งข้อสังเกตว่า พวกตำรวจในท้องที่พากันยืนดูอยู่เฉยๆ ขณะที่ความรุนแรงของฝูงชนที่ดูเหมือนมีการจัดตั้งวางแผนกันมาก่อน กำลังเผยตัวออกมาให้เห็นต่อหน้าต่อตาพวกเขา
ตลอดทั่วทั้งประเทศพม่าในเวลานี้ ใครๆ ก็สามารถพบเห็น สิ่งพิมพ์, ดีวีดี, ซีดี, และวัสดุโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านมุสลิมประเภทอื่นๆ จำนวนมากได้อย่างง่ายดาย จนกระทั่งดูราวกับว่ามันกลายเป็นเรื่องไม่ผิดกฎหมายไปเสียแล้วที่จะเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลผิดๆ เพื่อต่อต้านมุสลิม ตลอดจนโฆษณาทัศนะความคิดอันแสดงความเกลียดชังมุสลิม ภายใต้ภาวะแวดล้อมที่ประเทศนี้กำลังเปิดกว้างมากขึ้น อย่างไรก็ดี ในทางตรงกันข้าม รัฐบาลกลับดำเนินการฟ้องร้องหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ “วอยซ์ วีกลี่” (Voice Weekly) จากการที่หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ตีพิมพ์เผยแพร่รายงานเพียงชิ้นเดียวเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่นในกระทรวงเหมืองแร่
การที่รัฐบาลเต็ง เส่ง ยังคงปล่อยปละไม่แตะต้องสิ่งพิมพ์หลายหลากนานาที่ตีพิมพ์เผยแพร่ข่าวลือ, การใส่ร้ายป้ายสี, และข่าวสารข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับชาวมุสลิมของประเทศเช่นนี้ จึงกำลังกลายเป็นหลักฐานอันชัดเจนว่า รัฐบาลนี้ให้ความสนอกสนใจเป็นห่วงกังวลเกี่ยวกับเรื่องที่จะถูกแฉโพยอย่างถูกต้องว่ามีการทุจริตคอร์รัปชั่นกันอย่างสูงลิ่ว ยิ่งกว่าการที่จะใช้ความพยายามเพื่อยุติหยุดยั้งเสียงกรรโชกเรียกร้องอย่างเปิดเผยและอย่างไม่หยุดหย่อนในสื่อหลากหลาย ให้แปรเปลี่ยนประเทศพม่าให้กลายเป็น “สุสานของปลิงมุสลิม”
ถ้าหากรัฐบาลเต็ง เส่ง ไม่ดำเนินการปราบปรามอย่างจริงจังมีขั้นมีตอนเป็นระบบ ต่อพวกที่ยุยงส่งเสริมและจัดตั้งวางแผนให้เกิดความรุนแรงต่างๆ ซึ่งมีที่มาจากความหวาดกลัวศาสนาอิสลาม ตลอดจนพวกที่พูดจาแสดงความคิดเห็นในทางเผยแพร่ความเกลียดชัง รวมทั้งถ้าหากรัฐบาลนี้ยังไม่ยกเลิกนโยบายที่ใช้มาอย่างยาวนานแล้วในทางเป็นจริง ในเรื่องการอยู่นิ่งเพิกเฉยไม่ลงโทษพวกที่ประกอบอาชญากรรมต่อชาวมุสลิม (ตลอดจนชนกลุ่มน้อยเชื้อชาติอื่นๆ) แล้ว รัฐบาลเต็ง เส่ง ก็กำลังเสี่ยงภัยอย่างอันตรายเหลือเกิน จากการปล่อยให้กลุ่ม 969 แปรเปลี่ยนยกระดับกลายเป็นขบวนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างเต็มขั้น ถึงแม้รัฐบาลนี้กำลังพยายามเสแสร้งทำท่าเหมือนกับว่ามุ่งหน้าไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย ทว่าระบอบปกครองที่ค้ำจุนโดยฝ่ายทหารของเต็ง เส่ง นี้ ก็มีประสบการณ์อันพิสูจน์ยืนยันกันมาเป็นเวลานานถึงกว่า 50 ปีแล้ว ในการปราบปรามกวาดล้างขบวนการฝ่ายค้านที่มีการจัดตั้งจัดองค์กรทั้งหลาย เช่นเดียวกัน ฝ่ายทหารของพม่าที่คอยสนับสนุนรัฐบาลนี้อยู่ ก็ได้แสดงให้เห็นเรื่อยมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีทีเดียว ถึงความสามารถอย่างทรงประสิทธิภาพในการเซนเซอร์ตรวจข่าวและในการหยุดยั้งข่าวหรือข้อความใดๆ ก็ตามทีที่ตนไม่ต้องการให้แพร่กระจายออกไปในสังคม
ในบทความของเขาที่ใช้ชื่อเรื่องว่า “Challenging the Authoritarian State: Buddhist Monks and Peaceful Protests in Burma, Issues and Policy” (การท้าทายรัฐเผด็จการรวบอำนาจ: พระสงฆ์ในพุทธศาสนาและการประท้วงอย่างสันติในพม่า, ประเด็นปัญหาและนโยบาย) และตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร “Fletcher Forum of World Affairs” ในปี 2008 จอว์ ยิน หล่าย (Kyaw Yin Hlaing) นักวิชาการชาวพม่าจากมหาวิทยาลัยซิตี้แห่งฮ่องกง (City University of Hong Kong) ซึ่งในปัจจุบันกลายเป็นที่ปรึกษาระดับท็อปคนหนึ่งของ เต็ง เส่ง โดยทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการของศูนย์สันติภาพพม่า (Myanmar Peace Center ใช้อักษรย่อว่า MPC) ของรัฐบาลนี้ ได้ตั้งข้อสังเกตอันน่าสนใจเอาไว้ว่า ฝ่ายทหารคือผู้ที่มีบทบาทเป็นแกนกลางในการกระตุ้นยุยงให้เกิดการจลาจลต่อต้านมุสลิมมาแล้วหลายต่อหลายครั้งในอดีตที่ผ่านมา เขาเขียนเอาไว้ดังนี้:
“ในปี 1997 คณะทหารผู้ปกครองประเทศเกิดตระหนักและตื่นตัวเกี่ยวกับแผนการของพระภิกษุจำนวนหนึ่ง ที่จะทำการประท้วงคัดค้านการที่ผู้บัญชาการ (ทหาร) ของเขต (มัณฑะเลย์) ดำเนินการบูรณะพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงองค์หนึ่งในเมืองมัณฑะเลย์อย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม ทว่าก่อนที่พระสงฆ์เหล่านี้จะสามารถเริ่มดำเนินการประท้วงขึ้นมาได้ ก็มีข่าวลือแพร่สะพัดออกไปว่าสตรีชาวพุทธผู้หนึ่งได้ถูกนักธุรกิจชาวมุสลิมข่มขืน รัฐบาลนั่นเองได้เบี่ยงเบนความสนใจของประชาชนจากตัวผู้บัญชาการทหารเขตผู้นี้ ไปเป็นนักธุรกิจชาวมุสลิมผู้นั้น ซึ่งในที่สุดแล้วก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดการจลาจลต่อต้านมุสลิมขึ้นมา ผู้สังเกตการณ์บางคนชี้ว่าพวกสายลับของหน่วยข่าวกรองมักยุแหย่ให้เกิดการจลาจลต่อต้านมุสลิมขึ้น เพื่อเป็นวิธีในการป้องกันไม่ให้พระสงฆ์ผู้โกรธเกรี้ยว เข้าไปยุ่งเกี่ยวร่วมอยู่ในกิจกรรมต่อต้านรัฐบาล” (หน้า 137-138)
เมื่อเร็วๆ นี้เอง นั่นคือในวันที่ 30 มีนาคม ศาสตราจารย์ โดนัลด์ ซีคิน (Donald Seekin) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “The Disorder in Order: the Army-State in Burma since 1962” (ความไร้ระเบียบในระเบียบ: รัฐ-กองทัพในพม่านับแต่ปี 1962) ได้เขียนตอบโต้บทความที่มีผู้เขียนลงในหน้าความเห็นของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ฉบับวันที่ 29 มีนาคม โดยใช้ชื่อเรื่องว่า “Kristallnacht in Myanmar” ( “คริสทัลนาคต์ ในพม่า” ทั้งนี้ คริสทัลนาคต์ หมายถึงเหตุการณ์ที่กองกำลังของพรรคนาซีเยอรมันภายใต้ฮิตเลอร์และพลเรือนอื่นๆ ได้ประสานงานกันก่อการสังหารหมู่ชาวยิวขึ้นทั่วทั้งเยอรมนีและหลายๆ ส่วนของออสเตรีย ในช่วงวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 1938 โดยที่พวกเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบชาวเยอรมันต่างพากันเฝ้าดูอยู่เฉยๆ มิได้เข้าห้ามปรามระงับเหตุ –ผู้แปล) ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ซีคิน เขียนตอบโต้เอาไว้ ดังนี้:
“ความเกลียดชังมุสลิมเป็นสิ่งที่ฝังรากหยั่งลึกอยู่ในสังคมชาวพม่ามานาน และได้รับการกระตุ้นส่งเสริมอย่างกระตือรือร้นทั้งจากระบอบปกครองเนวิน และระบอบปกครอง SLORC/SPDC (ระบอบปกครองของฝ่ายทหารในยุคหลังนายพลเนวิน) ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี 1962 จนถึงปี 2010 ยุทธวิธีอย่างหนึ่งที่พวกเขานิยมใช้มากได้แก่การโหมกระพือข่าวลือว่า คนมุสลิมได้ข่มขืนผู้หญิงชาวพุทธพม่า และมีแผนกโลบายร้ายกาจที่จะเปลี่ยนประชากรชาวพุทธทั้งหมดให้หันไปนับถืออิสลาม ยุทธวิธีที่อยู่ในลักษณะ “แบ่งแยกแล้วปกครอง” (divide and rule) ซึ่งทางการผู้กุมอำนาจของพม่านำมาใช้ในอดีตกาลที่เพิ่งผ่านพ้นไปหมาดๆ เช่นนี้ อาจจะได้ตัวอย่างมาจากระบอบปกครองเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ที่ใช้นโยบายฟูมฟักบ่มเพาะให้เกิด “สังคมที่มีความหลากหลาย” (plural society) ขึ้นมา เพื่อบั่นทอนความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในชาติ (อาณานิคม) ให้เหลืออยู่น้อยที่สุด”
เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาพวกผู้ปกครองทหารของพม่านั้น ได้เคยกระทำการฉกฉวยหาประโยชน์จากอคติในทางศาสนาและอคติในทางเชื้อชาติซึ่งดำรงอยู่มาช้านานในสังคมพม่า (ต้องไม่ลืมสภาพความเป็นจริงที่ว่า สังคมพม่าเป็นสังคมที่มีหลากหลายเชื้อชาติ) เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายทางการเมืองและทางยุทธศาสตร์ของพวกเขาเองอยู่บ่อยครั้ง โดยที่มีหลักฐานยืนยันอย่างหนักแน่นเป็นอันมาก ดังนั้น เราจึงไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่จะต้องไปพึ่งพิงอาศัยพวกทฤษฎีสมคบคิด มาเป็นเครื่องมือในการบ่งชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลเต็ง เส่ง น่าที่จะต้องการทำให้อารมณ์ความรู้สึกต่อต้านมุสลิมดังกล่าวแพร่กระจายออกไปในสังคมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายทางการเมืองของตนเองเช่นกัน เป็นต้นว่า การทำให้สังคมพม่าโดยองค์รวมเกิดแนวคิดขึ้นมาว่าสาธารณชนจะไม่มีความปลอดภัยเลย ถ้าหากพวกนายพลระดับสูงและฝ่ายทหารของพวกเขาไม่ได้ยื่นมือแห่งเผด็จการอันหนักแน่นมั่งคงเข้าไปยึดกุมการเมืองของประเทศเอาไว้
ถึงแม้ “ข้อความ” อย่างเป็นทางการที่เต็ง เส่ง กำลังส่งออกมา จะเป็นข้อความอันนุ่มนวลว่าด้วยความประสงค์ที่จะทำให้เกิดความสามัคคีกลมเกลียวทางศาสนาและการอยู่ร่วมกันได้ระหว่างศาสนาต่างๆ ในสังคม แต่จวบจนถึงเวลานี้เขาก็ยังมิได้ทำอะไรเลยในทางเป็นจริง ซึ่งจะเป็นการขจัดลิดรอนขบวนการชาวพุทธที่มีแนวคิดแบบนาซีใหม่เฉกเช่นกลุ่ม 969 เช่นเดียวกับที่ฝ่ายทหารก็ไม่ใช่ว่าจู่ๆ ก็หันมายอมรับให้มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างปราศจากเงื่อนไข ทั้งๆ ที่พวกเขาเฝ้าติดตามทำการเซนเซอร์สื่อมวลชนอย่างเข้มงวดกวดขันอยู่ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ การไม่เอาผิดกับพวกผู้ก่อเหตุ และการอยู่นิ่งๆ เฉยๆ โดยไม่ลงมือทำอะไร จึงน่าที่จะบังเกิดขึ้นมาบนพื้นฐานแห่งการคาดคำนวณในเชิงยุทธศาสตร์ของกรุงเนปีดอ ด้วยความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวและความไม่แน่นอนขึ้นในวงกว้าง ซึ่งก็จะไปสอดคล้องอยู่ในทิศทางเดียวกับยุทธวิธีแบ่งแยกแล้วปกครองทั้งหลายที่ฝ่ายทหารได้เคยนำออกมาใช้อยู่เป็นประจำ เพื่อให้สามารถเข้าควบคุมและส่งอิทธิพลครอบงำเหนือรัฐและเศรษฐกิจอย่างไม่ปราศจากผู้ท้าทาย
หม่อง ซาร์นี เป็นบล็อกเกอร์นักเคลื่อนไหวชาวพม่า (www.maungzarni.com) และเป็นนักวิจัยรับเชิญของหน่วยวิจัยภาคประชาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (Civil Society and Human Security Research Unit) ซึ่งสังกัดอยู่กับ ลอนดอน สคูล ออฟ อีโคโนมิกส์ (London School of Economics)
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)