xs
xsm
sm
md
lg

5 ข้อเพื่อเข้าใจเหตุการณ์โค่นล้ม “อดีตปธน.อียิปต์มอร์ซี”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์ - 2 ปีกว่าหลังจากการประท้วงครั้งใหญ่ที่จุดประกายอาหรับสปริงที่ได้โค่นล้มอดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูร์บารัค และเป็นอีกครั้งที่อียิปต์ขับไล่ประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซีผู้ที่เพิ่งกลายเป็นอดีตผู้นำของอียิปต์ที่เป็นคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง บางคนเรียกการปรากฎการณนี้ว่า “การปฎิวัติครั้งที่ 2”

“คิดถึงคนนับล้านที่เคยสนับสนุนมอร์ซีหลังจากการเลือกตั้ง” จากความเห็นของฟาวาซ เกอร์เกส ผู้อำนวยการประจำศูนย์การศึกษาตะวันออกกลางแห่ง London School of Economics “คิดถึงคนนับล้านที่ฝากความหวังไว้กับมอร์ซี”

“1 ปีหลังจากนั้น ชาวอียิปต์นับล้านที่เคยสนับสนุนมอร์ซีต่างออกมาเพื่อไล่เขาไป”

พวกเขาสมหวังเมี่อผู้บัญชาการกองทัพอียิปต์ประกาศในวันพุธ(3)ว่าได้ขับไล่มอร์ซีให้ตกเก้าอี้ไปแล้ว

เหตุการณ์ได้ดำเนินมาถึงขณะนี้ได้อย่างไร และจะเกิดอะไรขึ้นกับอียิปต์ มีคำถาม 5 ข้อ เพื่อความเข้าใจ

ทำไมชาวอียิปต์มากมายถึงขับไล่มอร์ซี?
ประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี เป็นมุสลิมสุดโต่งที่มีถูกหนุนหลังด้วยกลุ่มมุสลิมบราเธอร์ฮูด มอร์ซีได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ในปีที่ผ่านมา ในส่วนฝ่ายตรงข้ามของมอร์ซีกล่าวหาว่า รัฐบาลของมอร์ซีนั้นรวบอำนาจตั้งแต่เขาเข้ารับตำแหน่ง และมอร์ซีนั้นไม่ยอมให้เสรีภาพและความยุติธรรมกับสังคมอียิปต์

มอร์ซีได้ชื่อว่าเป็นพวกบ้าอำนาจ ใช้วาระทางอิสลามผ่านทางคำสั่ง เขาได้ต่อสู้กับกระบวนการทางยุติธรรม สื่อสารมวลชน ตำรวจ หรือแม้กระทั่งกับศิลปิน รัฐธรรมนูญที่เพิ่งถูกระงับการใช้ไปนั้นถูกสร้างเพื่อเอื้อประโยชน์ที่กลุ่มมุสลิมบราเธอร์ฮูดใช้เพื่อริดรอดเสรีภาพของชาวอียิปต์โดยทั่วไป และชาวอียิปต์เองต่างเบื่อหน่ายกับอาชญากรรมที่พุ่งสูงขึ้น และสภาพเศรษฐกิจที่แย่ อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ราคาอาหารที่พุ่งขึ้น ไฟฟ้าที่ดับบ่อยครั้งและการต้องต่อคิวเข้าแถวยาวเพื่อเติมน้ำมัน

ซึ่งนำมาสู่การประท้วงครั้งใหญ่ที่เริ่มขึ้นในวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันครบรอบวันการชนะเลือกตั้งของมอร์ซี

ปฎิกริยาจากฝ่ายสนับสนุนมอร์ซี เป็นอย่างไร?
มีการเดินขบวนครั้งใหญ่หลายครั้งเพื่อสนับสนุนมอร์ซี ซึ่งบรรดาผู้สนับสนุนมอร์ซีและเหล่าผู้สังเกตุการณ์จากภายนอก กล่าวว่าเรื่องที่จะขับไล่มอร์ซีพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระในตำแหน่งของเขาจะสิ้นสุดลงเป็นสิ่งที่น่าขบขันเพราะอียิปต์ในขณะนี้อยู่ในกระบวนการประชาธิปไตย

“การประท้วงนั้นถือเป็นสัญลักษณ์ทางประชาธิปไตย แต่การเปลี่ยนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งควรจะเกิดขึ้นในคูหาการเลือกตั้งเท่านั้น ไม่ใช่จากฝูงม๊อบที่ก่อให้เกิดความรุนแรง” เอ็ด ฮุซเซน เจ้าหน้าที่จากการศึกษาตะวันออกกลางที่สภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ประธานาบดีมอร์ซีที่เพิ่งสูญเสียอำนาจ ได้ย้ำถึงอำนาจที่เขามีตามกฎหมายผ่านสุนทรพจน์ของเขาในวันอังคาร(2)ที่ผ่านมา พร้อมกับยืนยันในขณะนั้นว่าเขาจะไม่ลาออก

“ประชาชนชาวอียิปต์มอบฉันทามติให้ผมเป็นประธานาธิบดีอียิปต์ “ มอร์ซีกล่าว “พวกเขาเลือกผมจากการเลือกตั้ง ชาวอียิปต์เขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมา ผมไม่มีทางเลือกเพราะผมต้องทำหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญอียิปต์ได้กำหนดไว้”

ซึ่งมอร์ซีถึงกลับกล่าวว่า เขายอมหลั่งเลือดหากจำเป็นเพื่อรักษาตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาไว้ แต่ในวันถัดมา(1) เขาโดนทำรัฐประหารและรัฐธรรมนูญอียิปต์ที่รับรองอำนาจตามกฎหมายของเขานั้นถูกระงับใช้ อ้างจากผู้บัญชาการกองทัพอียิปต์ นายพลเอก อับเดล ฟัตตอห์ อัล ซิซี

นอกไปจากนี้ บรรดาผู้สนับสนุนมอร์ซีที่ไคโรพลาซ่าต่างออกมาประกาศต่อต้านการยึดอำนาจ ร้องตระโกนประสานเสียง “โค่นล้มอำนาจทหาร” และจากแถลงการณ์ผ่านเฟสบุ๊กของประธานาธิบดีและทางทวิตเตอร์ของเขา มอร์ซีกล่าวว่า บรรดาชาวอียิปต์ที่รักในประชาธิปไตย “จะต้องต่อต้านต่อการยึดอำนาจในครั้งนี้”

บทบาทของกองทัพในอียิปต์ เป็นอย่างไร?
เมื่ออดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูร์บารัคได้ลาออกในปี 2011 กองทัพอียิปต์ได้เข้ามากุมอำนาจสูงสุดของประเทศจนกระทั่งการเลือกตั้งครั้งล่าสุด

จากการที่กองทัพอียิปต์ที่ยืนดูอยู่ไม่ห่าง และได้กระโดดเข้ามาเพื่อยื่นเส้นตายให้มอร์ซีหาคำตอบในสิ่งที่ประชาชนชาวอียิปต์ต้องการภายใน 48 ชั่วโมง

ส่วนด้านโฆษกกองทัพอียิปต์กล่าวว่า คำขาดที่ยื่นไปนั้นใช้เพื่อผลักดันทุกคนให้ทำตามความต้องการของประชาชนชาวอียิปต์ส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ใช่การยึดอำนาจผ่านการรัฐประหาร

แต่แล้วหลังจากกำหนดเส้นตายได้ผ่านไปในวันพุธ(3) มีรายงานจากผู้สนับสนุนของมอร์ซีว่า การยึดอำนาจได้เริ่มขึ้น หนังสือพิมพ์ของรัฐ อัล-อาห์ราม อ้างถึงแหล่งข่าวของประธานาธิบดีที่ไม่เปิดเผยว่า มอร์ซีได้รับการแจ้งเมื่อเวลา 19.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของอียิปต์ว่า “มอร์ซีไม่ได้เป็นผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐอิสลามแห่งนี้อีกต่อไปแล้ว”

จุดยืนสหรัฐฯ
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ ได้คุยกับมอร์ซีเมื่อต้นสัปดาห์นี้ และย้ำกับเขาอีกครั้งว่าสหรัฐฯไม่ได้สนับสนุนพรรคการเมืองใดหรือกลุ่มการเคลื่อนใดในอียิปต์ อ้างจากแถลงการของสหรัฐฯ “โอบามาได้ย้ำว่าประชาธิปไตยนั้นมีมากไปกว่าการเลือกตั้ง”

อย่างไรก็ตาม ทางโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เจน ซากี ปฎิเสธว่าโอบามาต้องการให้มอร์ซีจัดการเลือกตั้งขึ้นให้เร็วขึ้น

และเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศเผยกับCNNว่า การยึดอำนาจของกองทัพอียิปต์จะทำให้สภาคองเกรสตัดความช่วยเหลือที่สหรัฐฯมีให้กับอียิปต์ทั้งหมด ซึ่งซากีเสริมต่อว่า การช่วยเหลือต่างไที่สหรัฐฯให้เป็นแบบมีเงื่อนไข แต่ว่ายังคงมีอะไรที่ยังอยู่ข้างหน้าในสิ่งที่ทั้งสองชาติได้ตกลงทำร่วมกัน

ในขณะที่ประชาชนชาวอียิปต์ยังคงสงสัยในจุดประสงค์ของอเมริกาและอิทธิพลที่อเมริกาต้องการมีในอียิปต์

ก้าวต่อไปสำหรับกลุ่มมุสลิมบราเธอร์ฮูดและสำหรับอียิปต์คืออะไร?
มีการคาดการว่า การที่สามารถทำให้มอร์ซีพ้นจากตำแหน่งไม่ได้ประกันว่าการประท้วงและความรุนแรงนั้นจะหยุด มันอาจจะแย่มากไปกว่านี้ เพราะกลุ่มมุสลิมบราเธอร์ฮูดยังมีผู้สนับสนุนในอียิปต์อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้สนับสนุนเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดความรุนแรงได้ ซึ่งเขาคิดว่าการยึดอำนาจจากมอร์ซีในครั้งนี้ “เป็นการเดิมพันที่น่ากลัว”

จากที่ผ่านมา กลุ่มมุสลิมบราเธอร์ฮูดสามารถอยู่ได้และเติบโตถึงแม้ว่าจะถูกกดขี่ในช่วงเวลา 50-60ปีที่ผ่านมา ที่การเคลื่อนไหวของกลุ่มไม่สามารถทำได้โดยสิ้นเชิง เพราะฉะนั้นกลุ่มนี้ก็ยังจะไม่ไปไหน

“มุสลิมบราเธอร์ฮูดจะกระตือรือร้นเป็นที่สุดที่จะต่อต้านกลับ และสามารถคาดเดาได้ว่าจะต้องมีความตึงเครียดเกิดขึ้นในอียิปต์เลวร้ายลงไปกว่านี้ก่อนที่สถานการณ์จะดีขึ้น”

ฮุซเซนเจ้าหน้าที่จากสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกล่าวว่า ในระยะยาวประเทศต้องประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมืองมากขึ้นและจะกระทบกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการลงทุนจากต่างประเทศสำหรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

กำลังโหลดความคิดเห็น