(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
World fails to make an Iraq reckoning
By Jim Lobe
20/03/2013
การวางระเบิดอย่างต่อเนื่องที่เกิดขึ้นในกรุงแบกแดดวันอังคาร (19มี.ค.) ที่ผ่านมา ดูเหมือนผู้ก่อเหตุมีจุดมุ่งหมายให้เป็นการระลึกวาระครบรอบ 10 ปีแห่งการรุกรานอิรัก อย่างไรก็ดี สำหรับในที่อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชนชั้นนำด้านนโยบายการต่างประเทศในวอชิงตัน เหตุผลที่ทำให้ไม่ค่อยมีใครสนใจอยากจัดการรำลึกวาระครบรอบนี้ขึ้นมาบ้าง น่าจะสามารถอธิบายได้จากข้อเท็จจริงที่ว่า สงครามคราวนี้เป็นประสบการณ์ซึ่งผู้คนจำนวนมาก --แม้กระทั่งพวกที่คอยปกป้องแก้ต่าง-- ต่างก็ปรารถนาที่จะลืมไปเสียเลยมากกว่า เพราะถึงอย่างไร บัญชีกำไรขาดทุนของสงครามนี้ก็อยู่ในสภาพที่แย่เอามากๆ
วอชิงตัน - เวลาผ่านไป 10 ปีแล้วหลังจากประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เปิดฉากยุทธการ “ตื่นตระหนกและตกใจกลัว” (shock and awe) ของเขาเพื่อสำแดงให้เห็นอำนาจอันเหนือชั้นกว่าอิรัก –ตลอดจนส่วนอื่นๆ ของโลก— ด้วยการทำให้เห็นกันอย่างชัดเจนว่ามันไม่มีประโยชน์อะไรที่จะทำการต้านทานแสนยานุภาพทางทหารของวอชิงตัน ทว่าสาธารณชนอเมริกันตลอดจนชนชั้นนำทางด้านนโยบายการต่างประเทศในวอชิงตัน ส่วนใหญ่แล้วดูเหมือนไม่ได้แสดงอาการสนอกสนใจ –จนกระทั่งกลายเป็นเรื่องน่าแปลกใจไม่น้อยทีเดียว-- ในการรำลึกถึงวาระครบรอบเช่นนี้ อย่าว่าแต่จะทำการประเมินทบทวนผลลัพธ์ด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้น
การขาดความสนใจใยดีเช่นนี้ น่าที่จะอธิบายได้ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า สื่อมวลชนให้ความใส่ใจต่ออิรักลดน้อยลงอย่างรวดเร็วภายหลังปี 2008 เมื่อประธานาธิบดีบารัค โอบามา ประกาศดำเนินแผนการลดกำลังทหารสหรัฐฯลงอย่างรวดเร็ว และในที่สุดก็ถอนกำลังทหารอเมริกันทั้งหมดในทางเป็นจริง ออกจากอิรักไปในตอนปลายปี 2011 โดยที่ในตอนนั้นเองก็เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เขาหันไปเพิ่มกำลังทหารสหรัฐฯในอัฟกานิสถานขึ้นมาเป็นกว่าสองเท่าตัว
“วิธีเดียวที่ทำให้คนอเมริกันได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับส่วนอื่นๆ ของโลก ก็คือเมื่อเราได้เข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันกับสงครามในต่างแดนแล้วนั่นแหละ” ทหารผ่านศึกผู้มีประสบการณ์เจนจัดในวอชิงตันผู้หนึ่งกล่าวตั้งข้อสังเกตอย่างคมคายเกี่ยวกับความสนใจโลกภายนอกของผู้คนในสหรัฐฯ
นอกจากนั้นการขาดความสนอกสนใจเช่นนี้ ยังน่าที่จะอธิบายได้ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า สงครามคราวนี้เป็นประสบการณ์ที่ผู้คนจำนวนมาก –แม้กระทั่งพวกที่คอยปกป้องแก้ต่างให้แก่สงครามนี้บางคนบางฝ่ายด้วยซ้ำ— ปรารถนาที่จะลืมเลือนไปเลยมากกว่า
เนื่องจากเมื่อมองกันโดยภาพรวมแล้ว บัญชีกำไรขาดทุนของสงครามคราวนี้ให้ภาพที่แย่เอามากๆ กล่าวคือ บุคลาการทางทหารของสหรัฐฯเกือบ 4,500 คน และพนักงานของพวกบริษัทรับเหมาภาคเอกชนของสหรัฐฯอีก 3,400 คนถูกฆ่าตาย และอีกหลายหมื่นคนได้รับบาดเจ็บมากบ้างน้อยบ้างทั้งในทางร่างกายและในทางจิตใจ ขณะที่ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสงครามโดยตรงทำให้กระทรวงการคลังที่มีเงินทองไม่ค่อยพอจับจ่าย ต้องควักกระเป๋าไปมากกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ตามตัวเลขการประมาณการล่าสุดของ โครงการค่าใช้จ่ายของสงคราม (Costs of War Project) ในสังกัดของมหาวิทยาลัยบราวน์ (Brown University) ซึ่งนำออกมาเผยแพร่ในสัปดาห์ที่แล้ว
โครงการนี้ยังประมาณการจำนวนพลเรือนชาวอิรักที่ถูกสังหารในสงครามครั้งนี้ว่ามีอย่างน้อยที่สุด 134,000 คน แต่รายงานการประมาณนี้เน้นย้ำว่า ตัวเลขนี้ควรจะถือว่าอนุรักษนิยมเอามากๆ และถึงอย่างไรก็ไม่ได้รวมเอาตัวเลขผู้ที่เสียชีวิตจากความยากลำบากต่างๆ อันสืบเนื่องจากสงคราม ซึ่งโครงการนี้บอกว่ารวมทั้งสิ้นอาจจะเป็นจำนวนอีกหลายแสนคนทีเดียว
นอกจากนั้น รายงานของโครงการย่อมมิได้รวมจำนวนผู้คนกว่า 50 คนที่ถูกฆ่าตายไปในกรุงแบกแดดเมื่อวันอังคาร (19 มี.ค.) ที่ผ่านมาในเหตุการณ์วางระเบิดหลายๆ ครั้งต่อเนื่องกันเป็นชุด โดยที่น่าจะเป็นฝีมือของพวกผู้ก่อความไม่สงบชาวสุหนี่ และดูเหมือนจะวางแผนก่อการขึ้นเพื่อให้เป็นการระลึกวาระครบรอบ 10 ปีแห่งการรุกรานอิรักของสหรัฐฯ และทั้งเพื่อเป็นการเตือนโลกให้ตระหนักว่าเป้าหมายของวอชิงตันที่จะฟื้นฟูเสถียรภาพในอิรักนั้น แม้เมื่อมองกันในแง่ดีที่สุดก็คงพูดได้เพียงแค่ว่า เป็นเสถียรภาพที่ยังไหลลื่นไม่แน่ไม่นอนเอาเสียเลย
อย่างไรก็ตาม วาระครบรอบเช่นนี้ยังสมควรถือเป็นโอกาสอันสำคัญสำหรับการขบคิดไตร่ตรอง โอกาสดังที่ว่ามานี้ยิ่งมีความหมายเป็นพิเศษหากพิจารณาถึงแรงกดดันภายในวอชิงตันซึ่งกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ให้สหรัฐฯดำเนินการแทรกแซงในซีเรียอย่างแข็งขันจริงจังมากกว่าที่เป็นอยู่ ตัวอย่างเช่น ประธานคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็น ส.ส.ฝ่ายเดโมแครตด้วยซ้ำไป เมื่อวันจันทร์ (18 มี.ค.) ก็ยังเสนอ“ร่างรัฐบัญญัติปลดปล่อยซีเรียปี 2013” (Free Syria Act of 2013) เข้าสู่สภา โดยที่มีเนื้อหาให้อำนาจแก่คณะรัฐบาลในการใช้จ่ายเงิน 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อให้ความช่วยเหลือทั้งประเภทที่ทำให้มีการบาดเจ็บล้มตาย (lethal aid) และประเภทที่ไม่ทำให้มีการบาดเจ็บล้มตาย (non-lethal aid) แก่พวกกบฏในซีเรีย ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงว่า ยังคงมีแรงบีบคั้นซึ่งทำให้มีความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯจะเปิดฉากทำสงครามกับอิหร่าน
กระนั้น นอกเหนือจากกรณีที่ต้องถือเป็นข้อยกเว้นไม่กี่กรณีแล้ว ปรากฏว่าพวกคลังสมองด้านนโยบายการต่างประเทศรายสำคัญที่สุดของวอชิงตัน ตลอดจนสำนักข่าวและหนังสือพิมพ์ในสหรัฐฯทั้งหลาย ดำเนินรายการอภิปรายถกเถียงตลอดจนตีพิมพ์บทความบทวิจารณ์ในหน้าทัศนะ-ความเห็นของพวกเขาในสัปดาห์นี้ โดยเน้นหนักไปที่เรื่องการเดินทางเยือนอิสราเอล, เขตเวสต์แบงก์, และจอร์แดน ของโอบามาในสัปดาห์นี้ มากกว่าการพูดถึงสงครามอิรักตลอดจนบทเรียนต่างๆ ที่ควรเรียนรู้จากสงครามดังกล่าว
กรณีหนึ่งในบรรดาข้อยกเว้นไม่กี่กรณีดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ก็คือในรายของสถาบันวิสาหกิจอเมริกัน (American Enterprise Institute ใช้อักษรย่อว่า AEI) ฐานที่มั่นอันแข็งแรงของแนวความคิดอนุรักษนิยมใหม่ (neo-conservative) ซึ่งได้เคยจัดรายการ “การบรรยายสรุปพร้อมกาแฟดำ” (black coffee briefings) ในช่วงก่อนสงครามอิรักระเบิดขึ้น รวมทั้งยังมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับรองประธานาธิบดีดิ๊ก เชนีย์ (Dick Cheney) และรัฐมนตรีกลาโหม โดนัลด์ รัมสเฟลด์ (Donald Rumsfeld) จนกระทั่งเป็นที่มั่นใจได้ว่า พวก “นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ” (“scholar”) ของสถาบันคลังสมองแห่งนี้ จะเป็นผู้แสดงบทบาทนำทั้งในการส่งเสริมสนับสนุน และกระทั่งในการวางแผนจริงๆ ให้แก่การรุกรานและการยึดครองอิรักในเวลาต่อมา –ภายใต้การชี้นำอย่างระแวดระวังของ อาหมัด ชาลาบี (Ahmad Chalabi) นายแบงก์ชาวอิรักที่ลี้ภัยอยู่นอกประเทศและเป็นบุคคลผู้เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจ โดยที่ตัวเขาเองเคยวาดหวังว่าจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของอิรักภายหลังการรุกราน
สถาบันวิสาหกิจอเมริกันได้จัดรายการบรรยายสรุปขึ้นเมื่อตอนบ่ายวันอังคาร โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งส่วนใหญ่เน้นน้ำหนักอยู่ที่เรื่องที่อ้างกันว่าเป็น “ความสำเร็จ” จากการเพิ่มทหารสหรัฐฯเข้าไปในอิรักแบบพุ่งพรวดอีก 30,000 คนในปี 2007 พวกเขาบอกว่ามันเป็นการป้องกันไม่ให้อิรักจมถลำลงสู่สงครามกลางเมืองระหว่างนิกายความเชื่อและชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างเต็มขั้น ขณะเดียวกัน พวกนักวิจัยของสถาบัน และมีวุฒิสมาชิกจอห์น แมคเคน (John McCain) ร่วมวงด้วย ยังกล่าวปกป้องแก้ต่างให้แก่ข้อเสนอต่างๆ ที่พวกเขาเสนอแนะขึ้นมาในตลอดช่วงสงครามคราวนี้
สำหรับหน้าทัศนะ-ความเห็นของสื่อมวลชนสหรัฐฯ ที่มีเรื่องเกี่ยวกับสงครามอิรักอยู่อย่างกะปริดกะปรอยในสัปดาห์ที่แล้วนั้น ชิ้นหนึ่งในจำนวนนี้ซึ่งเผยแพร่โดยฟอกซ์นิวส์ (FoxNews) เป็นของอดีตรัฐมนตรีช่วยกลาโหมสหรัฐฯ พอล วูลโฟวิตซ์ (Paul Wolfowitz) ซึ่งใช้ชื่อเรื่องว่า "Iraq War taught us tough lessons, but world is better off without Saddam Hussein'' (สงครามอิรักสอนบทเรียนหนักหน่วงให้เรา แต่โลกก็ดีขึ้นกว่าเดิมเมื่อปราศจากซัดดัม ฮุสเซน)
วูลโฟวิตซ์ เป็นสถาปนิกคนสำคัญคนหนึ่งของสงครามคราวนี้ อีกทั้งเป็นผู้หนุนหลังรายใหญ่ของ ชาลาบี บทความของเขาชิ้นนี้โต้แย้งแก้ต่างว่า วอชิงตันควรที่จะนำเอายุทธศาสตร์ต่อต้านการก่อความไม่สงบ (counter-insurgency (COIN) strategy) ทำนองเดียวกับการเพิ่มทหารขึ้นอย่างพรวดพราด 30,000 คนอย่างได้ผล มาใช้กันตั้งแต่ตอนต้นๆ ของสงครามแล้ว การเขียนระบุเช่นนี้ของเขาต้องถือเป็นตลกร้ายอันโดดเด่นทีเดียว ในเมื่อตอนช่วงที่สงครามใกล้จะเริ่มต้นขึ้นมานั้น วูลโฟวิตซ์นี่เองที่ได้กล่าวประณามอย่างเปิดเผยชัดเจนต่อ พล.อ.อีริก ชินเซกิ (Gen. Eric Shinseki) เสนาธิการทหารบกในเวลานั้น สืบเนื่องจาก พล.อ.ชินเซกิ ไปกล่าวเตือนรัฐสภาว่าหลังจากสหรัฐฯเข้ารุกรานอิรักแล้ว ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทหารอีกหลายแสนคนเพื่อทำหน้าที่รักษาสันติภาพ
อันที่จริงแล้ว พวกคอยปกป้องแก้ต่างให้แก่การทำสงคราม –ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือพวกอนุรักษนิยมใหม่ และพวกนักชาตินิยมผู้ก้าวร้าว อย่างเช่น เชนีย์ และ จอห์น โบลตัน (John Bolton) อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำยูเอ็น ซึ่งก็เป็น “นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ” ของสถาบันวิสาหกิจอเมริกันอีกคนหนึ่ง – ได้ใช้เวลาส่วนมากในสัปดาห์ที่ผ่านมาไปในการยืนกรานว่า พวกเขาไม่ได้ทำอะไรผิดพลาดเลย
“ถ้าหากผมจำเป็นต้องทำเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง ผมก็จะทำมันในนาทีนี้เลย” เชนีย์บอกกับผู้สัมภาษณ์ซึ่งสอบถามถึงเรื่องการรุกรานอิรัก ในรายการชีวประวัติทางโทรทัศน์รายการหนึ่งที่ออกอากาศไปเมื่อวันศุกร์ (15 มี.ค.) ที่แล้ว
เหมือนๆ กับพวกที่มีแนวคิดสายเหยี่ยวแบบเดียวกับตัวเขา รองประธานาธิบดีผู้นี้ยืนกรานว่า หน่วยงานข่าวกรองของสหรัฐฯและของชาติอื่นๆ ต่างมีความแน่ใจว่า ซัดดัม ฮุนเซน มีอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง (weapons of mass destruction หรือ WMD) อยู่ในครอบครอง โดยที่มีการเสนอทฤษฎีว่า เขากำลังเตรียมที่จะส่งมอบอาวุธประเภทนี้ให้พวกผู้ก่อการร้าย ซึ่งเรื่องนี้ ในสภาพการณ์ที่เกิดเหตุการณ์วินาศกรรม 9 กันยายน 2001 ขึ้นมาแล้ว ก็ถือเป็นเหตุผลอันชอบธรรมที่จะทำการรุกรานอิรัก
อันที่จริง แนวคิดที่พยายามแก้ต่างว่า ความบกพร่องผิดพลาดเพียงประการเดียวในการตัดสินใจทำสงครามคราวนั้น ก็คือ “ข่าวกรองที่แย่ๆ” เช่นนี้ ได้กลายเป็นมนตร์วิเศษให้แก่พวกนักปกป้องแก้ต่างให้แก่การทำสงคราม เฉกเช่นตัววูลโฟวิตซ์ แต่ดูเหมือนว่าข้ออุทธรณ์เช่นนี้ของพวกเขาก็ควรต้องถือเป็นเพียงตลกร้าย เมื่อพิจารณาจากการที่พวกเขาเองได้เข้าแทรกแซงกระบวนการทางด้านข่าวกรองถึงขนาดไหนในช่วงก่อนหน้าที่จะเปิดฉากทำสงคราม
“ข่าวกรองไม่ได้เป็นแรงขับดันหรือเป็นตัวชี้นำไปสู่การตัดสินใจเข้ารุกรานอิรักเลย มันไม่ได้เป็นแม้แต่น้อยนิด ถึงแม้คณะรัฐบาลบุชมีการเลือกตัดเลือกหยิบข่าวกรองเฉพาะส่วนที่ต้องการ เพื่อนำออกมาใช้อย่างเต็มที่ในการรณรงค์ขายสงครามคราวนี้ต่อสาธารณชนของพวกเขา” นี่เป็นคำยืนยันของ พอล พิลลาร์ (Paul Pillar) นักวิเคราะห์ของซีไอเอผู้มีประสบการณ์สูง ซึ่งได้ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ข่าวกรองแห่งชาติดูแลด้านตะวันออกใกล้และเอเชียใต้ (the National Intelligence Officer for the Near East and South Asia) อยู่ในเวลานั้น
แท้ที่จริงแล้ว ทำเนียบขาวถึงขนาดเพิกเฉยละเลยอย่างเป็นระบบ ถึงกับไม่แยแสพวกรายงานชิ้นสำคัญๆ ของประชาคมข่าวกรองและกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งระบุเตือนถึงผลสืบเนื่องต่างๆ ที่น่าจะเกิดขึ้นมาจากการเข้ารุกรานอิรัก แม้กระทั่งในกรณีที่อิรักมี WMD และมีความโน้มเอียงที่จะนำเอาอาวุธพวกนี้ไปให้ผู้ก่อการร้าย ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของ พิลลาร์ และตามรายงานปี 2007 ฉบับหนึ่งซึ่งจัดทำโดยพวกเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมาธิการข่าวกรองของวุฒิสภา (Senate Intelligence Committee)
ในบรรดาเรื่องอื่นๆ อีกหลายอย่างหลายประการ เรื่องหนึ่งที่รายงานเหล่านี้คาดการณ์เอาไว้อย่างถูกต้องแม่นยำ ก็คือการล่มสลายของระเบียบกฎหมายฝ่ายพลเรือน ภายหลังเกิดการรุกรานแล้ว ซึ่งนี่ก็คือสิ่งที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯไม่ได้เตรียมตัวรับมือเลยแม้แต่น้อย
นอกจากนั้น รายงานเหล่านี้ยังทำนายยังถูกต้องในเรื่องที่ว่าโครงการกวาดล้างพวกสมาชิกของพรรคบาธ (de-Ba'athification program) ซึ่งเป็นเรื่องที่สถาบันวิสาหกิจอเมริกัน และ ชาลาบี ต่างสนับสนุนอย่างเต็มที่นั้น จะนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงระหว่างคนต่างนิกายและต่างชาติพันธุ์ รวมทั้งยังจะทำให้แนวคิดอิสลามทางการเมือง (political Islam) และอารมณ์ความรู้สึกต่อต้านสหรัฐฯพุ่งพรวดพราดขึ้นมาตลอดทั่วทั้งภูมิภาคแถบนี้ ตลอดจนเรื่องรัฐบาลที่ขึ้นมีอำนาจในอิรักในเวลาต่อไปไม่ว่าชุดไหน ก็จะวางตัวเองเป็นพันธมิตรกับอิหร่านอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
ในส่วนของสาธารณชนทั่วไปนั้น ก็ดูเหมือนจะมีความโน้มเอียงไปในทางที่ไม่ต้องการประเมินทบทวนสงครามครั้งนี้กันใหม่เช่นเดียวกัน จากผลโพลหลายๆ สำนักที่เผยแพร่ออกมาในสัปดาห์นี้บ่งชี้ให้เห็นว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับสงครามอิรักยังคงค่อนข้างคงเดิมตลอดระยะเวลา 5 ปีหลังมานี้
ทั้งนี้โพลของเอบีซี/วอชิงตันโพสต์ ซึ่งจัดทำกันก่อนหน้านี้ในเดือนนี้ ระบุว่า เกินกว่าครึ่ง (58%) เชื่อว่าสงครามคราวนี้ “ไม่คุ้มค่าที่จะทำการสู้รบ” ซึ่งต่ำลงมาจากที่เคยขึ้นสูงถึง 64% ในช่วงปลายปี 2008 ส่วนการสำรวจของซีเอ็นเอ็นที่เผยแพร่ในวันอังคาร (19 มี.ค.) นี้ บอกว่า 59% เรียกการตัดสินใจเข้ารุกรานอิรักว่า เป็น “เป็นการกระทำที่งี่เง่า”
โพลของศูนย์วิจัยพิว (Pew Research Center) ซึ่งเผยแพร่ในวันจันทร์ (18 มี.ค.)พบว่า ผู้ตอบคำถามมีความเห็นแยกเป็น 2 ข้างๆ ละเท่ากัน เมื่อถูกถามว่า การใช้กำลังทหารเข้ารุกรานอิรักเป็นการตัดสินใจที่ “ถูกต้อง” หรือ “ผิดพลาด” และสหรัฐฯ “ประสบความสำเร็จมากที่สุด” หรือ “ประสบความล้มเหลวมากที่สุด” ในการบรรลุเป้าหมายต่างๆ ที่ตั้งไว้สำหรับการทำสงครามอิรัก
จิม โล้บ จัดทำบล็อกว่าด้วยนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ http://www.lobelog.com.
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
World fails to make an Iraq reckoning
By Jim Lobe
20/03/2013
การวางระเบิดอย่างต่อเนื่องที่เกิดขึ้นในกรุงแบกแดดวันอังคาร (19มี.ค.) ที่ผ่านมา ดูเหมือนผู้ก่อเหตุมีจุดมุ่งหมายให้เป็นการระลึกวาระครบรอบ 10 ปีแห่งการรุกรานอิรัก อย่างไรก็ดี สำหรับในที่อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชนชั้นนำด้านนโยบายการต่างประเทศในวอชิงตัน เหตุผลที่ทำให้ไม่ค่อยมีใครสนใจอยากจัดการรำลึกวาระครบรอบนี้ขึ้นมาบ้าง น่าจะสามารถอธิบายได้จากข้อเท็จจริงที่ว่า สงครามคราวนี้เป็นประสบการณ์ซึ่งผู้คนจำนวนมาก --แม้กระทั่งพวกที่คอยปกป้องแก้ต่าง-- ต่างก็ปรารถนาที่จะลืมไปเสียเลยมากกว่า เพราะถึงอย่างไร บัญชีกำไรขาดทุนของสงครามนี้ก็อยู่ในสภาพที่แย่เอามากๆ
วอชิงตัน - เวลาผ่านไป 10 ปีแล้วหลังจากประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เปิดฉากยุทธการ “ตื่นตระหนกและตกใจกลัว” (shock and awe) ของเขาเพื่อสำแดงให้เห็นอำนาจอันเหนือชั้นกว่าอิรัก –ตลอดจนส่วนอื่นๆ ของโลก— ด้วยการทำให้เห็นกันอย่างชัดเจนว่ามันไม่มีประโยชน์อะไรที่จะทำการต้านทานแสนยานุภาพทางทหารของวอชิงตัน ทว่าสาธารณชนอเมริกันตลอดจนชนชั้นนำทางด้านนโยบายการต่างประเทศในวอชิงตัน ส่วนใหญ่แล้วดูเหมือนไม่ได้แสดงอาการสนอกสนใจ –จนกระทั่งกลายเป็นเรื่องน่าแปลกใจไม่น้อยทีเดียว-- ในการรำลึกถึงวาระครบรอบเช่นนี้ อย่าว่าแต่จะทำการประเมินทบทวนผลลัพธ์ด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้น
การขาดความสนใจใยดีเช่นนี้ น่าที่จะอธิบายได้ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า สื่อมวลชนให้ความใส่ใจต่ออิรักลดน้อยลงอย่างรวดเร็วภายหลังปี 2008 เมื่อประธานาธิบดีบารัค โอบามา ประกาศดำเนินแผนการลดกำลังทหารสหรัฐฯลงอย่างรวดเร็ว และในที่สุดก็ถอนกำลังทหารอเมริกันทั้งหมดในทางเป็นจริง ออกจากอิรักไปในตอนปลายปี 2011 โดยที่ในตอนนั้นเองก็เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เขาหันไปเพิ่มกำลังทหารสหรัฐฯในอัฟกานิสถานขึ้นมาเป็นกว่าสองเท่าตัว
“วิธีเดียวที่ทำให้คนอเมริกันได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับส่วนอื่นๆ ของโลก ก็คือเมื่อเราได้เข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันกับสงครามในต่างแดนแล้วนั่นแหละ” ทหารผ่านศึกผู้มีประสบการณ์เจนจัดในวอชิงตันผู้หนึ่งกล่าวตั้งข้อสังเกตอย่างคมคายเกี่ยวกับความสนใจโลกภายนอกของผู้คนในสหรัฐฯ
นอกจากนั้นการขาดความสนอกสนใจเช่นนี้ ยังน่าที่จะอธิบายได้ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า สงครามคราวนี้เป็นประสบการณ์ที่ผู้คนจำนวนมาก –แม้กระทั่งพวกที่คอยปกป้องแก้ต่างให้แก่สงครามนี้บางคนบางฝ่ายด้วยซ้ำ— ปรารถนาที่จะลืมเลือนไปเลยมากกว่า
เนื่องจากเมื่อมองกันโดยภาพรวมแล้ว บัญชีกำไรขาดทุนของสงครามคราวนี้ให้ภาพที่แย่เอามากๆ กล่าวคือ บุคลาการทางทหารของสหรัฐฯเกือบ 4,500 คน และพนักงานของพวกบริษัทรับเหมาภาคเอกชนของสหรัฐฯอีก 3,400 คนถูกฆ่าตาย และอีกหลายหมื่นคนได้รับบาดเจ็บมากบ้างน้อยบ้างทั้งในทางร่างกายและในทางจิตใจ ขณะที่ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสงครามโดยตรงทำให้กระทรวงการคลังที่มีเงินทองไม่ค่อยพอจับจ่าย ต้องควักกระเป๋าไปมากกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ตามตัวเลขการประมาณการล่าสุดของ โครงการค่าใช้จ่ายของสงคราม (Costs of War Project) ในสังกัดของมหาวิทยาลัยบราวน์ (Brown University) ซึ่งนำออกมาเผยแพร่ในสัปดาห์ที่แล้ว
โครงการนี้ยังประมาณการจำนวนพลเรือนชาวอิรักที่ถูกสังหารในสงครามครั้งนี้ว่ามีอย่างน้อยที่สุด 134,000 คน แต่รายงานการประมาณนี้เน้นย้ำว่า ตัวเลขนี้ควรจะถือว่าอนุรักษนิยมเอามากๆ และถึงอย่างไรก็ไม่ได้รวมเอาตัวเลขผู้ที่เสียชีวิตจากความยากลำบากต่างๆ อันสืบเนื่องจากสงคราม ซึ่งโครงการนี้บอกว่ารวมทั้งสิ้นอาจจะเป็นจำนวนอีกหลายแสนคนทีเดียว
นอกจากนั้น รายงานของโครงการย่อมมิได้รวมจำนวนผู้คนกว่า 50 คนที่ถูกฆ่าตายไปในกรุงแบกแดดเมื่อวันอังคาร (19 มี.ค.) ที่ผ่านมาในเหตุการณ์วางระเบิดหลายๆ ครั้งต่อเนื่องกันเป็นชุด โดยที่น่าจะเป็นฝีมือของพวกผู้ก่อความไม่สงบชาวสุหนี่ และดูเหมือนจะวางแผนก่อการขึ้นเพื่อให้เป็นการระลึกวาระครบรอบ 10 ปีแห่งการรุกรานอิรักของสหรัฐฯ และทั้งเพื่อเป็นการเตือนโลกให้ตระหนักว่าเป้าหมายของวอชิงตันที่จะฟื้นฟูเสถียรภาพในอิรักนั้น แม้เมื่อมองกันในแง่ดีที่สุดก็คงพูดได้เพียงแค่ว่า เป็นเสถียรภาพที่ยังไหลลื่นไม่แน่ไม่นอนเอาเสียเลย
อย่างไรก็ตาม วาระครบรอบเช่นนี้ยังสมควรถือเป็นโอกาสอันสำคัญสำหรับการขบคิดไตร่ตรอง โอกาสดังที่ว่ามานี้ยิ่งมีความหมายเป็นพิเศษหากพิจารณาถึงแรงกดดันภายในวอชิงตันซึ่งกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ให้สหรัฐฯดำเนินการแทรกแซงในซีเรียอย่างแข็งขันจริงจังมากกว่าที่เป็นอยู่ ตัวอย่างเช่น ประธานคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็น ส.ส.ฝ่ายเดโมแครตด้วยซ้ำไป เมื่อวันจันทร์ (18 มี.ค.) ก็ยังเสนอ“ร่างรัฐบัญญัติปลดปล่อยซีเรียปี 2013” (Free Syria Act of 2013) เข้าสู่สภา โดยที่มีเนื้อหาให้อำนาจแก่คณะรัฐบาลในการใช้จ่ายเงิน 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อให้ความช่วยเหลือทั้งประเภทที่ทำให้มีการบาดเจ็บล้มตาย (lethal aid) และประเภทที่ไม่ทำให้มีการบาดเจ็บล้มตาย (non-lethal aid) แก่พวกกบฏในซีเรีย ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงว่า ยังคงมีแรงบีบคั้นซึ่งทำให้มีความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯจะเปิดฉากทำสงครามกับอิหร่าน
กระนั้น นอกเหนือจากกรณีที่ต้องถือเป็นข้อยกเว้นไม่กี่กรณีแล้ว ปรากฏว่าพวกคลังสมองด้านนโยบายการต่างประเทศรายสำคัญที่สุดของวอชิงตัน ตลอดจนสำนักข่าวและหนังสือพิมพ์ในสหรัฐฯทั้งหลาย ดำเนินรายการอภิปรายถกเถียงตลอดจนตีพิมพ์บทความบทวิจารณ์ในหน้าทัศนะ-ความเห็นของพวกเขาในสัปดาห์นี้ โดยเน้นหนักไปที่เรื่องการเดินทางเยือนอิสราเอล, เขตเวสต์แบงก์, และจอร์แดน ของโอบามาในสัปดาห์นี้ มากกว่าการพูดถึงสงครามอิรักตลอดจนบทเรียนต่างๆ ที่ควรเรียนรู้จากสงครามดังกล่าว
กรณีหนึ่งในบรรดาข้อยกเว้นไม่กี่กรณีดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ก็คือในรายของสถาบันวิสาหกิจอเมริกัน (American Enterprise Institute ใช้อักษรย่อว่า AEI) ฐานที่มั่นอันแข็งแรงของแนวความคิดอนุรักษนิยมใหม่ (neo-conservative) ซึ่งได้เคยจัดรายการ “การบรรยายสรุปพร้อมกาแฟดำ” (black coffee briefings) ในช่วงก่อนสงครามอิรักระเบิดขึ้น รวมทั้งยังมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับรองประธานาธิบดีดิ๊ก เชนีย์ (Dick Cheney) และรัฐมนตรีกลาโหม โดนัลด์ รัมสเฟลด์ (Donald Rumsfeld) จนกระทั่งเป็นที่มั่นใจได้ว่า พวก “นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ” (“scholar”) ของสถาบันคลังสมองแห่งนี้ จะเป็นผู้แสดงบทบาทนำทั้งในการส่งเสริมสนับสนุน และกระทั่งในการวางแผนจริงๆ ให้แก่การรุกรานและการยึดครองอิรักในเวลาต่อมา –ภายใต้การชี้นำอย่างระแวดระวังของ อาหมัด ชาลาบี (Ahmad Chalabi) นายแบงก์ชาวอิรักที่ลี้ภัยอยู่นอกประเทศและเป็นบุคคลผู้เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจ โดยที่ตัวเขาเองเคยวาดหวังว่าจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของอิรักภายหลังการรุกราน
สถาบันวิสาหกิจอเมริกันได้จัดรายการบรรยายสรุปขึ้นเมื่อตอนบ่ายวันอังคาร โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งส่วนใหญ่เน้นน้ำหนักอยู่ที่เรื่องที่อ้างกันว่าเป็น “ความสำเร็จ” จากการเพิ่มทหารสหรัฐฯเข้าไปในอิรักแบบพุ่งพรวดอีก 30,000 คนในปี 2007 พวกเขาบอกว่ามันเป็นการป้องกันไม่ให้อิรักจมถลำลงสู่สงครามกลางเมืองระหว่างนิกายความเชื่อและชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างเต็มขั้น ขณะเดียวกัน พวกนักวิจัยของสถาบัน และมีวุฒิสมาชิกจอห์น แมคเคน (John McCain) ร่วมวงด้วย ยังกล่าวปกป้องแก้ต่างให้แก่ข้อเสนอต่างๆ ที่พวกเขาเสนอแนะขึ้นมาในตลอดช่วงสงครามคราวนี้
สำหรับหน้าทัศนะ-ความเห็นของสื่อมวลชนสหรัฐฯ ที่มีเรื่องเกี่ยวกับสงครามอิรักอยู่อย่างกะปริดกะปรอยในสัปดาห์ที่แล้วนั้น ชิ้นหนึ่งในจำนวนนี้ซึ่งเผยแพร่โดยฟอกซ์นิวส์ (FoxNews) เป็นของอดีตรัฐมนตรีช่วยกลาโหมสหรัฐฯ พอล วูลโฟวิตซ์ (Paul Wolfowitz) ซึ่งใช้ชื่อเรื่องว่า "Iraq War taught us tough lessons, but world is better off without Saddam Hussein'' (สงครามอิรักสอนบทเรียนหนักหน่วงให้เรา แต่โลกก็ดีขึ้นกว่าเดิมเมื่อปราศจากซัดดัม ฮุสเซน)
วูลโฟวิตซ์ เป็นสถาปนิกคนสำคัญคนหนึ่งของสงครามคราวนี้ อีกทั้งเป็นผู้หนุนหลังรายใหญ่ของ ชาลาบี บทความของเขาชิ้นนี้โต้แย้งแก้ต่างว่า วอชิงตันควรที่จะนำเอายุทธศาสตร์ต่อต้านการก่อความไม่สงบ (counter-insurgency (COIN) strategy) ทำนองเดียวกับการเพิ่มทหารขึ้นอย่างพรวดพราด 30,000 คนอย่างได้ผล มาใช้กันตั้งแต่ตอนต้นๆ ของสงครามแล้ว การเขียนระบุเช่นนี้ของเขาต้องถือเป็นตลกร้ายอันโดดเด่นทีเดียว ในเมื่อตอนช่วงที่สงครามใกล้จะเริ่มต้นขึ้นมานั้น วูลโฟวิตซ์นี่เองที่ได้กล่าวประณามอย่างเปิดเผยชัดเจนต่อ พล.อ.อีริก ชินเซกิ (Gen. Eric Shinseki) เสนาธิการทหารบกในเวลานั้น สืบเนื่องจาก พล.อ.ชินเซกิ ไปกล่าวเตือนรัฐสภาว่าหลังจากสหรัฐฯเข้ารุกรานอิรักแล้ว ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทหารอีกหลายแสนคนเพื่อทำหน้าที่รักษาสันติภาพ
อันที่จริงแล้ว พวกคอยปกป้องแก้ต่างให้แก่การทำสงคราม –ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือพวกอนุรักษนิยมใหม่ และพวกนักชาตินิยมผู้ก้าวร้าว อย่างเช่น เชนีย์ และ จอห์น โบลตัน (John Bolton) อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำยูเอ็น ซึ่งก็เป็น “นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ” ของสถาบันวิสาหกิจอเมริกันอีกคนหนึ่ง – ได้ใช้เวลาส่วนมากในสัปดาห์ที่ผ่านมาไปในการยืนกรานว่า พวกเขาไม่ได้ทำอะไรผิดพลาดเลย
“ถ้าหากผมจำเป็นต้องทำเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง ผมก็จะทำมันในนาทีนี้เลย” เชนีย์บอกกับผู้สัมภาษณ์ซึ่งสอบถามถึงเรื่องการรุกรานอิรัก ในรายการชีวประวัติทางโทรทัศน์รายการหนึ่งที่ออกอากาศไปเมื่อวันศุกร์ (15 มี.ค.) ที่แล้ว
เหมือนๆ กับพวกที่มีแนวคิดสายเหยี่ยวแบบเดียวกับตัวเขา รองประธานาธิบดีผู้นี้ยืนกรานว่า หน่วยงานข่าวกรองของสหรัฐฯและของชาติอื่นๆ ต่างมีความแน่ใจว่า ซัดดัม ฮุนเซน มีอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง (weapons of mass destruction หรือ WMD) อยู่ในครอบครอง โดยที่มีการเสนอทฤษฎีว่า เขากำลังเตรียมที่จะส่งมอบอาวุธประเภทนี้ให้พวกผู้ก่อการร้าย ซึ่งเรื่องนี้ ในสภาพการณ์ที่เกิดเหตุการณ์วินาศกรรม 9 กันยายน 2001 ขึ้นมาแล้ว ก็ถือเป็นเหตุผลอันชอบธรรมที่จะทำการรุกรานอิรัก
อันที่จริง แนวคิดที่พยายามแก้ต่างว่า ความบกพร่องผิดพลาดเพียงประการเดียวในการตัดสินใจทำสงครามคราวนั้น ก็คือ “ข่าวกรองที่แย่ๆ” เช่นนี้ ได้กลายเป็นมนตร์วิเศษให้แก่พวกนักปกป้องแก้ต่างให้แก่การทำสงคราม เฉกเช่นตัววูลโฟวิตซ์ แต่ดูเหมือนว่าข้ออุทธรณ์เช่นนี้ของพวกเขาก็ควรต้องถือเป็นเพียงตลกร้าย เมื่อพิจารณาจากการที่พวกเขาเองได้เข้าแทรกแซงกระบวนการทางด้านข่าวกรองถึงขนาดไหนในช่วงก่อนหน้าที่จะเปิดฉากทำสงคราม
“ข่าวกรองไม่ได้เป็นแรงขับดันหรือเป็นตัวชี้นำไปสู่การตัดสินใจเข้ารุกรานอิรักเลย มันไม่ได้เป็นแม้แต่น้อยนิด ถึงแม้คณะรัฐบาลบุชมีการเลือกตัดเลือกหยิบข่าวกรองเฉพาะส่วนที่ต้องการ เพื่อนำออกมาใช้อย่างเต็มที่ในการรณรงค์ขายสงครามคราวนี้ต่อสาธารณชนของพวกเขา” นี่เป็นคำยืนยันของ พอล พิลลาร์ (Paul Pillar) นักวิเคราะห์ของซีไอเอผู้มีประสบการณ์สูง ซึ่งได้ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ข่าวกรองแห่งชาติดูแลด้านตะวันออกใกล้และเอเชียใต้ (the National Intelligence Officer for the Near East and South Asia) อยู่ในเวลานั้น
แท้ที่จริงแล้ว ทำเนียบขาวถึงขนาดเพิกเฉยละเลยอย่างเป็นระบบ ถึงกับไม่แยแสพวกรายงานชิ้นสำคัญๆ ของประชาคมข่าวกรองและกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งระบุเตือนถึงผลสืบเนื่องต่างๆ ที่น่าจะเกิดขึ้นมาจากการเข้ารุกรานอิรัก แม้กระทั่งในกรณีที่อิรักมี WMD และมีความโน้มเอียงที่จะนำเอาอาวุธพวกนี้ไปให้ผู้ก่อการร้าย ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของ พิลลาร์ และตามรายงานปี 2007 ฉบับหนึ่งซึ่งจัดทำโดยพวกเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมาธิการข่าวกรองของวุฒิสภา (Senate Intelligence Committee)
ในบรรดาเรื่องอื่นๆ อีกหลายอย่างหลายประการ เรื่องหนึ่งที่รายงานเหล่านี้คาดการณ์เอาไว้อย่างถูกต้องแม่นยำ ก็คือการล่มสลายของระเบียบกฎหมายฝ่ายพลเรือน ภายหลังเกิดการรุกรานแล้ว ซึ่งนี่ก็คือสิ่งที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯไม่ได้เตรียมตัวรับมือเลยแม้แต่น้อย
นอกจากนั้น รายงานเหล่านี้ยังทำนายยังถูกต้องในเรื่องที่ว่าโครงการกวาดล้างพวกสมาชิกของพรรคบาธ (de-Ba'athification program) ซึ่งเป็นเรื่องที่สถาบันวิสาหกิจอเมริกัน และ ชาลาบี ต่างสนับสนุนอย่างเต็มที่นั้น จะนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงระหว่างคนต่างนิกายและต่างชาติพันธุ์ รวมทั้งยังจะทำให้แนวคิดอิสลามทางการเมือง (political Islam) และอารมณ์ความรู้สึกต่อต้านสหรัฐฯพุ่งพรวดพราดขึ้นมาตลอดทั่วทั้งภูมิภาคแถบนี้ ตลอดจนเรื่องรัฐบาลที่ขึ้นมีอำนาจในอิรักในเวลาต่อไปไม่ว่าชุดไหน ก็จะวางตัวเองเป็นพันธมิตรกับอิหร่านอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
ในส่วนของสาธารณชนทั่วไปนั้น ก็ดูเหมือนจะมีความโน้มเอียงไปในทางที่ไม่ต้องการประเมินทบทวนสงครามครั้งนี้กันใหม่เช่นเดียวกัน จากผลโพลหลายๆ สำนักที่เผยแพร่ออกมาในสัปดาห์นี้บ่งชี้ให้เห็นว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับสงครามอิรักยังคงค่อนข้างคงเดิมตลอดระยะเวลา 5 ปีหลังมานี้
ทั้งนี้โพลของเอบีซี/วอชิงตันโพสต์ ซึ่งจัดทำกันก่อนหน้านี้ในเดือนนี้ ระบุว่า เกินกว่าครึ่ง (58%) เชื่อว่าสงครามคราวนี้ “ไม่คุ้มค่าที่จะทำการสู้รบ” ซึ่งต่ำลงมาจากที่เคยขึ้นสูงถึง 64% ในช่วงปลายปี 2008 ส่วนการสำรวจของซีเอ็นเอ็นที่เผยแพร่ในวันอังคาร (19 มี.ค.) นี้ บอกว่า 59% เรียกการตัดสินใจเข้ารุกรานอิรักว่า เป็น “เป็นการกระทำที่งี่เง่า”
โพลของศูนย์วิจัยพิว (Pew Research Center) ซึ่งเผยแพร่ในวันจันทร์ (18 มี.ค.)พบว่า ผู้ตอบคำถามมีความเห็นแยกเป็น 2 ข้างๆ ละเท่ากัน เมื่อถูกถามว่า การใช้กำลังทหารเข้ารุกรานอิรักเป็นการตัดสินใจที่ “ถูกต้อง” หรือ “ผิดพลาด” และสหรัฐฯ “ประสบความสำเร็จมากที่สุด” หรือ “ประสบความล้มเหลวมากที่สุด” ในการบรรลุเป้าหมายต่างๆ ที่ตั้งไว้สำหรับการทำสงครามอิรัก
จิม โล้บ จัดทำบล็อกว่าด้วยนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ http://www.lobelog.com.
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)