(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
China eyes post-Chavez oil axis
By Brendan P O'Reilly
12/03/2013
ความหวาดผวาที่ว่าจีนมีแผนการที่จะ “เก็บกัก” น้ำมันดิบสำรองเอาไว้ให้ได้มากๆ เพื่อเป็นการเตรียมรับมือเอาไว้ก่อนที่ช่วงราคาน้ำมันพุ่งขึ้นถึงขีดสูงสุดจะย่างก้าวเข้ามานั้น เป็นเรื่องที่พูดกันเกินเลยความเป็นจริงไปมากก็จริงอยู่ แต่แทบไม่มีข้อกังขาน่าสงสัยเลยว่าการที่จีนมีความต้องการได้น้ำมันปริมาณมหาศาลเพื่อการก้าวผงาดขึ้นไปสู่ฐานะครอบงำเศรษฐกิจโลกนั้น อย่างไรเสียก็จะต้องก่อให้เกิดการปะทะกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งนี้การที่ปักกิ่งแสดงความใส่ใจเป็นอย่างยิ่งต่อเวเนซุเอลานับตั้งแต่การถึงแก่อสัญกรรมของ อูโก ชาเบซ ดูจะเป็นสัญญาณบ่งบอกให้เห็นว่า การต่อสู้อาจจะเริ่มต้นขึ้นในบริเวณหลังบ้านของสหรัฐฯก็เป็นไปได้
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
จีนกำลังตั้งท่าที่จะแซงหน้าสหรัฐฯไปเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกภายในช่วงทศวรรษนี้ ถึงแม้การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนกำลังชะลอตัว โดยจากระดับพุ่งจิ๊ดจ๊าดอย่างน่ากลัวถึง 10% ต่อปี ก็แผ่วลงมาอยู่ที่ 7% ซึ่งถือว่ายังน่าเกรงขาม แต่กระนั้นการแปลงร่างพลิกโฉมทางเศรษฐกิจของแดนมังกรก็ยังคงมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อตลาดพลังงานของโลกอยู่นั่นเอง
ชนชั้นกลางของจีนที่กำลังเติบโตเพิ่มจำนวน มีความมุ่งมาดปรารถนามากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องที่จะมีไลฟ์สไตล์ และระดับของการบริโภค อยู่ในระดับเทียบเคียงได้กับแบบแผนการใช้ชีวิตของพวกที่มีฐานะใกล้ๆ กับพวกเขาในบรรดาประเทศร่ำรวยที่สุดทั้งหลายของโลก ขณะที่ไลฟ์สไตล์และการบริโภคแบบชนชั้นกลางในปัจจุบันย่อมหมายถึงการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น โดยที่แหล่งที่มาสำคัญที่สุดของพลังงานในเวลานี้ย่อมได้แก่น้ำมันและก๊าซ การถึงแก่อสัญกรรมของประธานาธิบดี อูโก ชาเบซ (Hugo Chavez) แห่งเวเนซุเอลาเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กลายเป็นเครื่องตอกย้ำสำทับให้คณะผู้นำในปักกิ่งมองเห็นอย่างชัดเจนว่า น้ำมันและก๊าซซึ่งเปรียบได้กับเส้นเลือดแห่งชีวิตของเศรษฐกิจสมัยใหม่นั้น เป็นสิ่งที่จีนมีความต้องการอย่างมากมายถึงขนาดไหน และการที่จีนยังต้องพึ่งพาอาศัยพลังงานนำเข้าอย่างมหาศาลเช่นในทุกวันนี้ เป็นจุดอ่อนทางภูมิรัฐศาสตร์อันน่าหวั่นเกรงเพียงใด
ในปี 2012 จีนนำเข้าน้ำมันโดยเฉลี่ย 5.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ช่วงระยะเวลาเดียวกันนั้นสหรัฐฯนำเข้าโดยเฉลี่ย 7.41 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่เนื่องจากสหรัฐฯกำลังขยับขยายการขุดค้นสกัดก๊าซธรรมชาติภายในประเทศซึ่งอยู่ในชั้นหินลึกๆ โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า “fracking” เมื่อบวกการที่อัตราการเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ไม่ค่อยกระเตื้องขึ้นมานัก ทว่าของจีนกลับยังคงเป็นตัวเลขที่สูงลิ่วน่าประทับใจ ดังนั้น แดนมังกรจึงกำลังจะแซงหน้าแดนอินทรีก้าวขึ้นไปเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก อันที่จริงแล้ว กระทั่งในบางเดือนของปี 2012 ที่ผ่านมา การนำเข้าน้ำมันของจีนก็เลยหน้าการนำเข้าของอเมริกาแล้วด้วยซ้ำ[1]
เมื่อก่อนจีนเคยมีฐานะเป็นชาติผู้ส่งออกน้ำมันสุทธิจวบจนกระทั่งถึงตอนต้นทศวรรษ 1990 ตลอดจนยังคงมีน้ำมันดิบสำรองอยู่ในระดับที่มากพอใช้ได้ทีเดียว ทว่าจากความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเหลือเกินของเศรษฐกิจแดนมังกรในรอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้ทำให้ปริมาณอุปสงค์ในน้ำมันปิโตรเลียมแซงหน้าปริมาณอุปทานภายในประเทศ จึงต้องมีการเอาน้ำมันเข้ามาจากต่างแดนมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ตามตัวเลขของบรรษัทน้ำมันปิโตรเลียมแห่งชาติของจีน (China National Petroleum Corporation) ระบุว่า น้ำมันที่ใช้กันอยู่ในแดนมังกรในปีนี้นั้น เป็นน้ำมันที่นำเข้าจากต่างประเทศถึง 59.4%
อุปสงค์ความต้องการใช้น้ำมันของจีนซึ่งกำลังเพิ่มขึ้นมากในเวลานี้ ที่สำคัญแล้วเป็นอุปสงค์ความต้องการของภาคผู้บริโภค แนวโน้มเช่นนี้นับวันมีแต่จะชัดเจนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ปักกิ่งกำหนดเป้าหมายเอาไว้ว่าจะปรับเปลี่ยนแบบแผนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของตน จากที่เคยพึ่งพาการส่งออกสินค้าผู้บริโภคเป็นสำคัญ ก็จะลดทอนเรื่องนี้ลง โดยหันไปอาศัยการบริโภคภายในประเทศเป็นแรงขับดันการเติบโตแทน ตลาดการบริโภคภายในแดนมังกรตลาดหนึ่ง ซึ่งจุดมุ่งหมายเช่นนี้กำลังกลายเป็นความจริงขึ้นมา ก็คือตลาดเกี่ยวกับรถยนต์ โดยที่แดนมังกรได้วิ่งแซงแดนอินทรีและกลายเป็นตลาดใหญ่ที่สุดสำหรับยานพาหนะใหม่ไปตั้งแต่ปี 2009 แล้ว ยิ่งในเวลานี้ที่การเป็นเจ้าของรถยนต์ส่วนบุคคล กำลังถูกมองกันในสังคมจีนมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าเป็นเครื่องแสดงออกอันจำเป็นถึงฐานะความเป็นชนชั้นกลาง เราย่อมสามารถคาดหมายได้ว่าถนนหนทางของแดนมังกรกำลังจะแออัดคับคั่งมากขึ้น และอากาศในเมืองใหญ่ๆ ของจีนก็กำลังจะขุ่นมัวเจือสีเทาเพิ่มขึ้นอีกจากเศษตกค้างของเชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมันปิโตรเลียม, ก๊าซธรรมชาติ, ถ่านหิน) ที่สกัดขุดเจาะในต่างประเทศ
ตลาดพลังงานระหว่างประเทศทั้งหลาย ย่อมเคลื่อนไหวแกว่งไกวไปมา โดยอิงอยู่กับปัจจัยทางด้านแนวโน้มของเศรษฐกิจมหภาค และปัจจัยทางด้านการค้นพบแหล่งพลังงานโดยเฉพาะแหล่งน้ำมันหรือก๊าซใหม่ๆ ในสภาพการณ์ที่ชนชั้นกลางที่กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในจีน (และในอินเดีย) บวกกับการที่ปริมาณสำรองในแหล่งน้ำมันสำคัญที่สุดของโลกบางแหล่งกำลังร่อยหรอลงไปทุกทีๆ เช่นนี้ย่อมหมายความว่า เมื่อมองกันเป็นระยะยาวแล้ว ราคาของน้ำมันปิโตรเลียมน่าจะมีแต่ขยับขึ้นไป ยกแว้นแต่จะมีแรงผลักดันอย่างรุนแรงให้โลกต้องเร่งรัดหาทางใช้ประโยชน์จากพวกพลังงานทางเลือกต่างๆ ที่อยู่ในลักษณะของพลังงานหมุนเวียนอันใช้กันได้ไม่มีหมด
**นัยทางภูมิรัฐศาสตร์**
การที่จีนกำลังต้องพึ่งพาอาศัยน้ำมันนำเข้ามากขึ้นเรื่อยๆ มิได้มีความหมายความสำคัญในปริมณฑลทางเศรษฐกิจเท่านั้น แท้ที่จริงแล้วมีนัยในทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นอย่างยิ่งอีกด้วย ประการแรกทีเดียว การที่จีนกำลังพยายามสร้างความสัมพันธ์ทางการเมืองอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นกับพวกชาติร่ำรวยพลังงานทั้งหลาย แท้ที่จริงแล้วมีแรงขับดันใหญ่ที่สุดจากเป้าหมายที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนถือว่าสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดทั้งหมด เป้าหมายดังที่ว่าก็คือ ต้องทำให้เป็นที่มั่นใจได้ว่าภายในแดนมังกรจะมีเสถียรภาพ โดยที่วิธีรักษาเสถียรภาพภายในประเทศนั้น สิ่งที่สำคัญมากๆ ได้แก่ต้องทำให้เศรษฐกิจมีความเจริญเติบโตต่อไปเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้ง ด้วยเหตุฉะนี้ ความผูกพันที่จีนมีอยู่กับรัสเซีย, อิหร่าน, และเวเนซุเอลา จึงมีแรงจูงใจจากความกระหายต้องการพลังงานเพื่อนำมาทำให้เศรษฐกิจของตนเติบโตและรักษาเสถียรภาพภายในประเทศให้ได้ มากกว่าเป็นด้วยแดนมังกรมีความปรารถนาที่จะก่อตั้งกลุ่มประเทศต่อต้านตะวันตกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งขึ้นมา
ในทำนองเดียวกัน การที่จีนเพิ่มการปรากฏตัวในย่านมหาสมุทรอินเดีย ก็มีแรงขับดันใหญ่อันดับหนึ่งจากเรื่องภูมิรัฐศาสตร์แห่งพลังงาน อินเดียนั้นมีความหวาดกลัว (อย่างเป็นที่เข้าใจได้) ว่าจะถูกปิดล้อมในทางยุทธศาสตร์จากการที่จีนกำลังสร้างความผูกพันอย่างแน่นหนากับปากีสถานและพม่า อย่างไรก็ดี การที่จีนมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศทั้งสองเหล่านี้ มีแรงจูงใจอย่างน้อยก็บางส่วน จากความจำเป็นที่แดนมังกรต้องการเส้นทางลำเลียงขนส่งพลังงานทางบกซึ่งเชื่อถือไว้วางใจได้พอสมควร โดยที่สายท่อส่งน้ำมันซึ่งทอดยาวจากชายฝั่งของพม่าไปยังภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนนั้นมีกำหนดที่จะเริ่มดำเนินการลำเลียงขนส่งได้ในปีนี้แล้ว ส่วนการที่จีนเข้าทำการลงทุนขนาดใหญ่โตในเมืองท่ากวาดาร์ (Gwadar) ของปากีสถาน ก็มีแรงบันดาลใจสำคัญจากความปรารถนาที่จะให้ตนเองสามารถเข้าถึงน้ำมันตะวันออกกลางได้โดยตรงมากขึ้น
น้ำมันดิบที่จีนน้ำเข้าจากต่างแดนนั้น เกือบๆ สามในสี่ทีเดียวมาจากแถบตะวันออกกลางและแอฟริกา ซัปพลายเหล่านี้ในปัจจุบันต้องลำเลียงขนส่งผ่านช่องแคบมะละกา ที่มีลักษณะเป็นคอขวด ตลอดจนผ่านทะเลจีนใต้ซึ่งแดนมังกรกำลังมีปัญหาอยู่กับหลายๆ ประเทศ เป็นต้นว่า สหรัฐฯนั้นประกาศอย่างเปิดเผยว่ากำลังปรับเปลี่ยนจุดเน้นหนักทางยุทธศาสตร์โดยที่จะโยกย้ายเอาเข้ากองเรือรบส่วนใหญ่ของตนมาไว้ในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะเดียวกันจีนกับพวกชาติเพื่อนบ้านหลายรายก็กำลังมีความตึงเครียดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการที่ต่างฝ่ายต่างอ้างอธิปไตยเหนือน่านน้ำต่างๆ ของทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้ทับซ้อนกัน โดยที่น่านน้ำเหล่านี้เองก็เป็นที่คาดหมายกันอยู่ว่ามีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสำรองอยู่ใต้พื้นเบื้องล่าง เวลานี้ยังคงอยู่ในช่วงของการศึกษาประมาณการกันว่าน้ำมันและก๊าซดังกล่าวจะมีปริมาณสักเท่าใด แต่ก็มีความเห็นกันอยู่มากว่าคงจะอยู่ในระดับเยอะทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ปักกิ่งจึงมีความหวั่นเกรงว่า หากเกิดการเผชิญกันด้วยกำลังอาวุธขึ้นในน่านน้ำบริเวณนี้แล้ว ก็จะเป็นภัยคุกคามต่อการลำเลียงขนส่งพลังงานนำเข้าของตน
เบรนดัน พี โอไรลีย์ เป็นนักเขียนและนักการศึกษาที่มาจากเมืองซีแอตเติล, สหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันพำนักอยู่ในจีน เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Transcendent Harmony
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
China eyes post-Chavez oil axis
By Brendan P O'Reilly
12/03/2013
ความหวาดผวาที่ว่าจีนมีแผนการที่จะ “เก็บกัก” น้ำมันดิบสำรองเอาไว้ให้ได้มากๆ เพื่อเป็นการเตรียมรับมือเอาไว้ก่อนที่ช่วงราคาน้ำมันพุ่งขึ้นถึงขีดสูงสุดจะย่างก้าวเข้ามานั้น เป็นเรื่องที่พูดกันเกินเลยความเป็นจริงไปมากก็จริงอยู่ แต่แทบไม่มีข้อกังขาน่าสงสัยเลยว่าการที่จีนมีความต้องการได้น้ำมันปริมาณมหาศาลเพื่อการก้าวผงาดขึ้นไปสู่ฐานะครอบงำเศรษฐกิจโลกนั้น อย่างไรเสียก็จะต้องก่อให้เกิดการปะทะกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งนี้การที่ปักกิ่งแสดงความใส่ใจเป็นอย่างยิ่งต่อเวเนซุเอลานับตั้งแต่การถึงแก่อสัญกรรมของ อูโก ชาเบซ ดูจะเป็นสัญญาณบ่งบอกให้เห็นว่า การต่อสู้อาจจะเริ่มต้นขึ้นในบริเวณหลังบ้านของสหรัฐฯก็เป็นไปได้
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
จีนกำลังตั้งท่าที่จะแซงหน้าสหรัฐฯไปเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกภายในช่วงทศวรรษนี้ ถึงแม้การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนกำลังชะลอตัว โดยจากระดับพุ่งจิ๊ดจ๊าดอย่างน่ากลัวถึง 10% ต่อปี ก็แผ่วลงมาอยู่ที่ 7% ซึ่งถือว่ายังน่าเกรงขาม แต่กระนั้นการแปลงร่างพลิกโฉมทางเศรษฐกิจของแดนมังกรก็ยังคงมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อตลาดพลังงานของโลกอยู่นั่นเอง
ชนชั้นกลางของจีนที่กำลังเติบโตเพิ่มจำนวน มีความมุ่งมาดปรารถนามากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องที่จะมีไลฟ์สไตล์ และระดับของการบริโภค อยู่ในระดับเทียบเคียงได้กับแบบแผนการใช้ชีวิตของพวกที่มีฐานะใกล้ๆ กับพวกเขาในบรรดาประเทศร่ำรวยที่สุดทั้งหลายของโลก ขณะที่ไลฟ์สไตล์และการบริโภคแบบชนชั้นกลางในปัจจุบันย่อมหมายถึงการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น โดยที่แหล่งที่มาสำคัญที่สุดของพลังงานในเวลานี้ย่อมได้แก่น้ำมันและก๊าซ การถึงแก่อสัญกรรมของประธานาธิบดี อูโก ชาเบซ (Hugo Chavez) แห่งเวเนซุเอลาเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กลายเป็นเครื่องตอกย้ำสำทับให้คณะผู้นำในปักกิ่งมองเห็นอย่างชัดเจนว่า น้ำมันและก๊าซซึ่งเปรียบได้กับเส้นเลือดแห่งชีวิตของเศรษฐกิจสมัยใหม่นั้น เป็นสิ่งที่จีนมีความต้องการอย่างมากมายถึงขนาดไหน และการที่จีนยังต้องพึ่งพาอาศัยพลังงานนำเข้าอย่างมหาศาลเช่นในทุกวันนี้ เป็นจุดอ่อนทางภูมิรัฐศาสตร์อันน่าหวั่นเกรงเพียงใด
ในปี 2012 จีนนำเข้าน้ำมันโดยเฉลี่ย 5.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ช่วงระยะเวลาเดียวกันนั้นสหรัฐฯนำเข้าโดยเฉลี่ย 7.41 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่เนื่องจากสหรัฐฯกำลังขยับขยายการขุดค้นสกัดก๊าซธรรมชาติภายในประเทศซึ่งอยู่ในชั้นหินลึกๆ โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า “fracking” เมื่อบวกการที่อัตราการเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ไม่ค่อยกระเตื้องขึ้นมานัก ทว่าของจีนกลับยังคงเป็นตัวเลขที่สูงลิ่วน่าประทับใจ ดังนั้น แดนมังกรจึงกำลังจะแซงหน้าแดนอินทรีก้าวขึ้นไปเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก อันที่จริงแล้ว กระทั่งในบางเดือนของปี 2012 ที่ผ่านมา การนำเข้าน้ำมันของจีนก็เลยหน้าการนำเข้าของอเมริกาแล้วด้วยซ้ำ[1]
เมื่อก่อนจีนเคยมีฐานะเป็นชาติผู้ส่งออกน้ำมันสุทธิจวบจนกระทั่งถึงตอนต้นทศวรรษ 1990 ตลอดจนยังคงมีน้ำมันดิบสำรองอยู่ในระดับที่มากพอใช้ได้ทีเดียว ทว่าจากความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเหลือเกินของเศรษฐกิจแดนมังกรในรอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้ทำให้ปริมาณอุปสงค์ในน้ำมันปิโตรเลียมแซงหน้าปริมาณอุปทานภายในประเทศ จึงต้องมีการเอาน้ำมันเข้ามาจากต่างแดนมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ตามตัวเลขของบรรษัทน้ำมันปิโตรเลียมแห่งชาติของจีน (China National Petroleum Corporation) ระบุว่า น้ำมันที่ใช้กันอยู่ในแดนมังกรในปีนี้นั้น เป็นน้ำมันที่นำเข้าจากต่างประเทศถึง 59.4%
อุปสงค์ความต้องการใช้น้ำมันของจีนซึ่งกำลังเพิ่มขึ้นมากในเวลานี้ ที่สำคัญแล้วเป็นอุปสงค์ความต้องการของภาคผู้บริโภค แนวโน้มเช่นนี้นับวันมีแต่จะชัดเจนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ปักกิ่งกำหนดเป้าหมายเอาไว้ว่าจะปรับเปลี่ยนแบบแผนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของตน จากที่เคยพึ่งพาการส่งออกสินค้าผู้บริโภคเป็นสำคัญ ก็จะลดทอนเรื่องนี้ลง โดยหันไปอาศัยการบริโภคภายในประเทศเป็นแรงขับดันการเติบโตแทน ตลาดการบริโภคภายในแดนมังกรตลาดหนึ่ง ซึ่งจุดมุ่งหมายเช่นนี้กำลังกลายเป็นความจริงขึ้นมา ก็คือตลาดเกี่ยวกับรถยนต์ โดยที่แดนมังกรได้วิ่งแซงแดนอินทรีและกลายเป็นตลาดใหญ่ที่สุดสำหรับยานพาหนะใหม่ไปตั้งแต่ปี 2009 แล้ว ยิ่งในเวลานี้ที่การเป็นเจ้าของรถยนต์ส่วนบุคคล กำลังถูกมองกันในสังคมจีนมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าเป็นเครื่องแสดงออกอันจำเป็นถึงฐานะความเป็นชนชั้นกลาง เราย่อมสามารถคาดหมายได้ว่าถนนหนทางของแดนมังกรกำลังจะแออัดคับคั่งมากขึ้น และอากาศในเมืองใหญ่ๆ ของจีนก็กำลังจะขุ่นมัวเจือสีเทาเพิ่มขึ้นอีกจากเศษตกค้างของเชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมันปิโตรเลียม, ก๊าซธรรมชาติ, ถ่านหิน) ที่สกัดขุดเจาะในต่างประเทศ
ตลาดพลังงานระหว่างประเทศทั้งหลาย ย่อมเคลื่อนไหวแกว่งไกวไปมา โดยอิงอยู่กับปัจจัยทางด้านแนวโน้มของเศรษฐกิจมหภาค และปัจจัยทางด้านการค้นพบแหล่งพลังงานโดยเฉพาะแหล่งน้ำมันหรือก๊าซใหม่ๆ ในสภาพการณ์ที่ชนชั้นกลางที่กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในจีน (และในอินเดีย) บวกกับการที่ปริมาณสำรองในแหล่งน้ำมันสำคัญที่สุดของโลกบางแหล่งกำลังร่อยหรอลงไปทุกทีๆ เช่นนี้ย่อมหมายความว่า เมื่อมองกันเป็นระยะยาวแล้ว ราคาของน้ำมันปิโตรเลียมน่าจะมีแต่ขยับขึ้นไป ยกแว้นแต่จะมีแรงผลักดันอย่างรุนแรงให้โลกต้องเร่งรัดหาทางใช้ประโยชน์จากพวกพลังงานทางเลือกต่างๆ ที่อยู่ในลักษณะของพลังงานหมุนเวียนอันใช้กันได้ไม่มีหมด
**นัยทางภูมิรัฐศาสตร์**
การที่จีนกำลังต้องพึ่งพาอาศัยน้ำมันนำเข้ามากขึ้นเรื่อยๆ มิได้มีความหมายความสำคัญในปริมณฑลทางเศรษฐกิจเท่านั้น แท้ที่จริงแล้วมีนัยในทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นอย่างยิ่งอีกด้วย ประการแรกทีเดียว การที่จีนกำลังพยายามสร้างความสัมพันธ์ทางการเมืองอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นกับพวกชาติร่ำรวยพลังงานทั้งหลาย แท้ที่จริงแล้วมีแรงขับดันใหญ่ที่สุดจากเป้าหมายที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนถือว่าสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดทั้งหมด เป้าหมายดังที่ว่าก็คือ ต้องทำให้เป็นที่มั่นใจได้ว่าภายในแดนมังกรจะมีเสถียรภาพ โดยที่วิธีรักษาเสถียรภาพภายในประเทศนั้น สิ่งที่สำคัญมากๆ ได้แก่ต้องทำให้เศรษฐกิจมีความเจริญเติบโตต่อไปเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้ง ด้วยเหตุฉะนี้ ความผูกพันที่จีนมีอยู่กับรัสเซีย, อิหร่าน, และเวเนซุเอลา จึงมีแรงจูงใจจากความกระหายต้องการพลังงานเพื่อนำมาทำให้เศรษฐกิจของตนเติบโตและรักษาเสถียรภาพภายในประเทศให้ได้ มากกว่าเป็นด้วยแดนมังกรมีความปรารถนาที่จะก่อตั้งกลุ่มประเทศต่อต้านตะวันตกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งขึ้นมา
ในทำนองเดียวกัน การที่จีนเพิ่มการปรากฏตัวในย่านมหาสมุทรอินเดีย ก็มีแรงขับดันใหญ่อันดับหนึ่งจากเรื่องภูมิรัฐศาสตร์แห่งพลังงาน อินเดียนั้นมีความหวาดกลัว (อย่างเป็นที่เข้าใจได้) ว่าจะถูกปิดล้อมในทางยุทธศาสตร์จากการที่จีนกำลังสร้างความผูกพันอย่างแน่นหนากับปากีสถานและพม่า อย่างไรก็ดี การที่จีนมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศทั้งสองเหล่านี้ มีแรงจูงใจอย่างน้อยก็บางส่วน จากความจำเป็นที่แดนมังกรต้องการเส้นทางลำเลียงขนส่งพลังงานทางบกซึ่งเชื่อถือไว้วางใจได้พอสมควร โดยที่สายท่อส่งน้ำมันซึ่งทอดยาวจากชายฝั่งของพม่าไปยังภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนนั้นมีกำหนดที่จะเริ่มดำเนินการลำเลียงขนส่งได้ในปีนี้แล้ว ส่วนการที่จีนเข้าทำการลงทุนขนาดใหญ่โตในเมืองท่ากวาดาร์ (Gwadar) ของปากีสถาน ก็มีแรงบันดาลใจสำคัญจากความปรารถนาที่จะให้ตนเองสามารถเข้าถึงน้ำมันตะวันออกกลางได้โดยตรงมากขึ้น
น้ำมันดิบที่จีนน้ำเข้าจากต่างแดนนั้น เกือบๆ สามในสี่ทีเดียวมาจากแถบตะวันออกกลางและแอฟริกา ซัปพลายเหล่านี้ในปัจจุบันต้องลำเลียงขนส่งผ่านช่องแคบมะละกา ที่มีลักษณะเป็นคอขวด ตลอดจนผ่านทะเลจีนใต้ซึ่งแดนมังกรกำลังมีปัญหาอยู่กับหลายๆ ประเทศ เป็นต้นว่า สหรัฐฯนั้นประกาศอย่างเปิดเผยว่ากำลังปรับเปลี่ยนจุดเน้นหนักทางยุทธศาสตร์โดยที่จะโยกย้ายเอาเข้ากองเรือรบส่วนใหญ่ของตนมาไว้ในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะเดียวกันจีนกับพวกชาติเพื่อนบ้านหลายรายก็กำลังมีความตึงเครียดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการที่ต่างฝ่ายต่างอ้างอธิปไตยเหนือน่านน้ำต่างๆ ของทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้ทับซ้อนกัน โดยที่น่านน้ำเหล่านี้เองก็เป็นที่คาดหมายกันอยู่ว่ามีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสำรองอยู่ใต้พื้นเบื้องล่าง เวลานี้ยังคงอยู่ในช่วงของการศึกษาประมาณการกันว่าน้ำมันและก๊าซดังกล่าวจะมีปริมาณสักเท่าใด แต่ก็มีความเห็นกันอยู่มากว่าคงจะอยู่ในระดับเยอะทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ปักกิ่งจึงมีความหวั่นเกรงว่า หากเกิดการเผชิญกันด้วยกำลังอาวุธขึ้นในน่านน้ำบริเวณนี้แล้ว ก็จะเป็นภัยคุกคามต่อการลำเลียงขนส่งพลังงานนำเข้าของตน
เบรนดัน พี โอไรลีย์ เป็นนักเขียนและนักการศึกษาที่มาจากเมืองซีแอตเติล, สหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันพำนักอยู่ในจีน เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Transcendent Harmony
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)