(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนลน์ www.atimes.com)
Weakness exposed in Thai insurgency
By Anthony Davis
14/02/2013
การเตือนภัยจากพวกชาวบ้านในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่กำลังเผชิญปัญหาหนักของไทย ส่งผลให้ฝ่ายทหารสามารถตอบโต้จัดการซุ่มตีพวกแบ่งแยกดินแดนที่ยกกำลังบุกเข้าโจมตีค่ายทหารแห่งหนึ่ง จนทำให้พวกผู้ก่อความไม่สงบเหล่านี้เสียชีวิตไป 16 คน ความพ่ายแพ้คราวนี้ถือเป็นความเพลี่ยงพล้ำทางยุทธวิธีครั้งหนักหน่วงสาหัสที่สุดของการก่อกบฎของชาวมุสลิมมลายู นับตั้งแต่ที่เริ่มต้นขึ้นมาในปี 2004 อีกทั้งบ่งบอกให้เห็นด้วยว่าพวกผู้ก่อความไม่สงบได้บังเกิดความเชื่อมั่นมากเกินไปเกี่ยวกับความแข็งแกร่งที่แท้จริงของพวกเขา
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ในระยะเวลาเกือบๆ 1 ทศวรรษของความขัดแย้งมุ่งแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย สิ่งที่เราได้พบเห็นอยู่เป็นประจำ ก็คือการที่ฝ่ายทหารถูกทำให้ประหลาดใจคาดไม่ถึง รวมทั้งต้องเลือดตกยางออก และถูกหยามหมิ่นให้อดสู แต่การปะทะกันในจังหวัดนราธิวาสเมื่อช่วงชั่วโมงแรกๆ ของวันที่ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กลับแสดงให้เห็นถึงการสลับสับเปลี่ยนบทบาทกันซึ่งนานๆ ครั้งนักจึงจะเกิดขึ้นมา บนพื้นฐานของข่าวกรองการปฏิบัติการซึ่งมีความน่าเชื่อถือ และความชำนิชำนาญทางยุทธวิธีจากการฝึกฝนจนช่ำชอง กองทหารของเหล่านาวิกโยธินไทย และหนุนหลังโดยกองกำลังรบพิเศษของกองทัพเรือ ก็สามารถทำลายการเข้าตีค่ายทหารครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของพวกผู้ก่อความไม่สงบ โดยที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพวกแบ่งแยกดินแดนเหล่านี้ ชนิดที่น่าจะพูดได้ว่าเป็นความเพลี่ยงพล้ำในสนามรบครั้งเลวร้ายที่สุดเท่าที่พวกผู้ก่อความไม่สงบเหล่านี้เคยประสบมาทีเดียว
ความเสียหายในเฉพาะหน้าที่สุด ซึ่งก็คือการสูญเสียชีวิตไป 16 ชีวิต โดยหนึ่งในนั้นเป็นผู้บังคับบัญชานักรบระดับอาวุโสในท้องถิ่น อีกทั้งยังสูญเสียอาวุธปืนไปในจำนวนใกล้ๆ กัน กำลังกลายเป็นแรงกระหน่ำตีอันหนักหน่วงทั้งในทางปฏิบัติและทางจิตวิทยา ต่อขบวนการก่อความไม่สงบในบริเวณพื้นที่ตอนกลางของจังหวัดนราธิวาสซึ่งมีความสำคัญมากในทางยุทธศาสตร์ นอกจากนั้นแล้ว เหตุการณ์คราวนี้ยังเป็นการตอกย้ำปัญหาเชิงยุทธศาสตร์ระยะยาวหลายๆ ประการซึ่งการก่อกบฎแบ่งแยกดินแดนของชาวมุสลิมมาเลย์นี้กำลังเผชิญอยู่ และน่าที่จะส่งผลถึงขั้นเปลี่ยนโฉมอนาคตของความขัดแย้งคราวนี้ได้ทีเดียว
การบุกเข้าตีของพวกผู้ก่อความไม่สงบซึ่งเปิดฉากขึ้นเมื่อเวลาประมาณตีหนึ่งของวันที่ 13 กุมภาพันธ์คราวนี้ พวกเขาวางแผนจะถล่มค่ายของหมวดปืนเล็กเหล่านาวิกโยธินไทย ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลบาเร๊ะเหนือ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส การปฏิบัติการดังกล่าว ใช้กองกำลังนักรบจรยุทธ์ติดอาวุธอย่างดีประมาณ 50 ถึง 60 คน กองกำลังเหล่านี้สวมชุดพรางของทหารและเสื้อเกราะกันกระสุน ถือเป็นกรณีล่าสุดของการยกกำลังขนาดใหญ่เข้าตีค่ายกองกำลังฝ่ายความมั่นคงในจังหวัดนี้ที่ดำเนินต่อเนื่องมาหลายครั้งหลายคราแล้ว โดยที่จุดประสงค์สำคัญที่สุดของการโจมตีก็คือการยึดอาวุธต่างๆ ในค่าย
การปฏิบัติการเหล่านี้ได้รับการขนานนามว่าเป็น “มะรือโบตก โมเดล” ซึ่งเป็นการอ้างอิงถึงการโจมตีในลักษณะนี้ครั้งแรกที่เกิดขึ้นในตำบลมะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 19 มกราคม 2011 โดยในการปฏิบัติการคราวนั้น กลุ่มก่อความไม่สงบที่มีการจัดตั้งเป็นอย่างดีจำนวนประมาณ 40 คน ประสบความสำเร็จสามารถบุกเข้าไปในฐานปฏิบัติการของกองร้อยของกองทัพบกไทยได้ในการเข้าตีเมื่อตอนค่ำ พวกเขาสังหารทหารตายไป 4 คนและบาดเจ็บอีก 6 คน พร้อมกับยึดอาวุธปืนเอ็ม 16 ไปราว 50 กระบอก ตลอดจนปืนกลเบาด้วย
สำหรับการเข้าตีครั้งล่าสุด ก็ทำนองเดียวกับการปฏิบัติการแบบ “มารือโบตก โมเดล” ครั้งก่อนๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี 2011 และ 2012 พวกผู้ก่อความไม่สงบจัดแบ่งกำลังออกเป็น 3 ชุด โดย 2 ชุดเป็นชุดโจมตีซึ่งตอนแรกจะเปิดฉากเข้าตีในลักษณะมุ่งหันเหความสนใจ ครั้นแล้วจึงเข้าตีจริงด้วยกำลังหลักจากทิศทางซึ่งเปลี่ยนไปจากช่วงที่เข้าตีตอนแรก ในเวลาเดียวกันกำลังของชุดที่ 3 ก็ทำหน้าที่ตัดเส้นทางคมนาคม ด้วยการโค่นต้นไม้ขวางถนนที่มุ่งมายังค่าย ตลอดจนโปรยตะปูเรือใบ รวมทั้งวางกับดักที่เป็นระเบิดแสวงเครื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้กำลังหนุนเคลื่อนเข้าไปถึงค่ายได้อย่างสะดวกง่ายดาย
อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าการรักษาความลับเกี่ยวกับการปฏิบัติการของผู้ก่อความไม่สงบซึ่งปกติแล้วเป็นไปอย่างเข้มงวด ในคราวนี้กลับมีจุดอ่อนซึ่งก่อให้เกิดความหายนะ ตามคำแถลงของ พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า นั้น กองกำลังฝ่ายความมั่นคงได้รับคำเตือนจากพวกชาวบ้านท้องถิ่น และ “อดีตผู้ก่อความไม่สงบที่เบื่อหน่ายความรุนแรง” ทว่า แหล่งข่าวทหารในท้องถิ่นหลายรายชี้ว่า เป็นเพราะมีการยึดเอกสารและภาพร่างต่างๆ จากสมาชิกผู้ปฏิบัติการของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนรายหนึ่งที่ถูกสังหารเสียชีวิตในระหว่างที่เจ้าหน้าที่พยายามเข้าจับกุมเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ จึงกลายเป็นสัญญาณเตือนภัยพวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบว่า กำลังจะมีการเข้าตีค่ายทหารนาวิกโยธินแห่งนั้นแล้ว
มีความเป็นไปได้อีกเช่นกันที่ข้อมูลข่าวสารซึ่งทำให้พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบสามารถเตรียมรับมือได้อย่างทันการณ์นั้น มาจากแหล่งข่าวกรองชั้นเยี่ยมซึ่งนานๆ ครั้งจึงจะมีโชคดีถึงขนาดนี้ นั่นก็คือเป็นแหล่งข่าวซึ่งเป็นสมาชิกผู้ก่อความไม่สงบที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ ทั้งนี้ยิ่งเมื่อพิจารณาจากการที่ทหารนาวิกโยธินรู้อย่างชัดเจนไม่เพียงแค่สถานที่ซึ่งจะถูกโจมตี หากยังวันที่ที่จะมีการปฏิบัติการอีกด้วย จึงดูเหมือนว่าคนวงในผู้ก่อความไม่สงบนั่นเอง น่าจะเป็นแหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารเหล่านี้
ฝ่ายไหนเป็นผู้เปิดฉากยิงนัดแรกในเหตุการณ์เมื่อตอนชั่วโมงแรกๆ ของวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ยังคงไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ทันทีที่การสู้รบเริ่มต้นขึ้น พวกผู้ก่อความไม่สงบในชุดโจมตีหลักซึ่งกำลังเคลื่อนที่บุกผ่านสวนยางมุ่งไปยังด้านหน้าของค่าย ก็ถลำเข้าไปในพื้นที่ซุ่มตีซึ่งมีทั้งนาวิกโยธินและกองกำลังหน่วยซีลส์ (SEALs) ของราชนาวีเฝ้ารออยู่เบื้องหลังแนวป้องกันด้านนอกสุดที่ทำขึ้นจากกระสอบทราย รวมทั้งยังต้องเผชิญกับทหารชุดที่สองซึ่งอำพรางซ่อนตัวอยู่ในอาคารชั้นเดียวหลังหนึ่งที่ตั้งห่างออกมาด้านนอกค่ายประมาณ 100 เมตร
ในการเตรียมตัวเพื่อซุ่มตีคราวนี้ ทหารนาวิกโยธินยังได้ติดตั้งทุ่นระเบิดต่อต้านบุคคลชนิดกำหนดทิศทาง แบบ เอ็ม-18 เคลย์มอร์ (M-18 Claymore นิยมเรียกกันในภาษาไทยว่า ระเบิดเคโม) จำนวน 7 ลูก ซึ่งเพิ่มอำนาจในการสังหารให้รุนแรงขึ้นอีก ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของแหล่งข่าวฝ่ายทหารหลายราย ทหารทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกค่าย ซึ่งรวมกันแล้วมีประมาณ 110 คนนั้น ต่างได้รับหน้ากากมองเห็นในตอนกลางคืน ถึงแม้ว่าสมรภูมิสังหารที่บริเวณด้านหน้าค่ายในบางช่วงบางเวลาก็สว่างโพลนไปทั่วจากบรรดาพลุที่ถูกยิงขึ้นฟ้าอีกด้วย แหล่งข่าวเหล่านี้เช่นกันเปิดเผยรายละเอียด
หลังจากยิงต่อสู้กันประมาณ 20 นาที การเข้าตีก็แตกสลายไปท่ามกลางความสับสน พวกกำลังจรยุทธ์ส่วนใหญ่หลบหนีไปได้โดยอาศัยรถกระบะ 3 คันที่รออยู่ แล้วทิ้งรถกระบะคันที่ 4 ซึ่งเต็มไปด้วยรูกระสุน และรถจักรยานยนต์อีก 2 คันเอาไว้ นอกจากนั้นยังตรวจพบเก็บกู้ปืนเอ็ม 16 และปืนประเภทอาก้ารวม 13 กระบอกจากบริเวณรอบๆ ค่ายได้อีกด้วย
**ความเพลี่ยงพล้ำทางยุทธวิธี**
ความสูญเสียคราวนี้ถือเป็นหลักหมายแห่งความเพลี่ยงพล้ำทางยุทธวิธีครั้งสาหัสสากรรจ์ที่สุดของพวกแบ่งแยกดินแดนเหล่านี้ นับตั้งแต่ที่การก่อความไม่สงบเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2004 ขณะที่มีนักรบจำนวนสูงกว่านี้มาก (รวมทั้งสิ้น 101 คน) สิ้นชีวิตไปในการเข้าตีที่ตั้งของกองกำลังความมั่นคงหลายๆ แห่งทั่วทั้งจังหวัดยะลาและจังหวัดปัตตานีเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2004 และเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นที่มัสยิดกรือเซะ ในเวลาต่อมาของวันเดียวกันนั้น แต่กรณีแวดล้อมเหตุการณ์เหล่านี้ในวันนั้น ก็แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงจากความรุนแรงอันดุเดือดเลือดพล่านล่าสุดนี้ มีหลักฐานที่หนักแน่นน่าเชื่อถือบ่งชี้ให้เห็นด้วยซ้ำว่า การสูญเสียชีวิตจำนวนมากในปี 2004 แท้ที่จริงแล้วมีบางส่วนภายในคณะผู้นำของพวกแบ่งแยกดินแดนลงความเห็นว่า มันเป็นหนทางวิธีการที่สามารถยอมรับได้สำหรับการปลุกระดมเรียกร้องความเห็นอกเห็นใจจากประชาชน
ผู้ที่ตายไปในปี 2004 ส่วนใหญ่แล้วมีอาวุธติดตัวในระดับที่ย่ำแย่น่าสมเพชเวทนา จำนวนมากทีเดียวมีเพียงมีดใหญ่ (machetes ในภาษาไทยมีผู้นิยมเรียกว่า มีดสปาต้า) เท่านั้นเป็นอาวุธ แต่ด้วยความเชื่อมั่นศรัทธาในพิธีกรรมหลอกลวงไร้ความหมายที่อ้างว่าเป็นพิธีทางศาสนา ตลอดจนการปลุกเสกเวทย์มนตร์ซึ่งกระทำกันในคืนก่อนหน้านั้น พวกเขาเหล่านี้จำนวนมากวิ่งตลุยเข้าไปพบกับความตายโดยที่ยังเชื่อว่าพวกเขาสามารถล่องหนหายตัวได้ หรือไม่ก็ยิงไม่เข้า ข้อเท็จจริงที่สำคัญมากก็คือ พวกบุคคลสำคัญซึ่งจัดให้มีการโจมตีแบบที่อาศัยแรงบันดาลใจจากลัทธิพิธีกรรมหลอกลวงเหล่านี้ (โดยบุคคลที่โดดเด่นที่สุดย่อมต้องเป็น ยูซุฟ รายาลอง Yusuf Rayalong ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมากกว่าในชื่อ อุสตาด โซ๊ะ Ustad Soh) ไม่ได้เข้าร่วมกับบรรดาเหยื่อทดลองกระสุนของพวกเขาด้วย และยังคงทำการเคลื่อนไหวอยู่อย่างคึกคักจนกระทั่งในทุกวันนี้
การก่อความไม่สงบแบบกระแสหลักนั้น มีความแตกต่างตรงกันข้ามอย่างมากมายกับการก่อเหตุโจมตีในเดือนเมษายน 2004 ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยแบบกระแสหลักพวกผู้ก่อความไม่สงบมักพยายามที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอันไม่จำเป็น โดยจะเข้าโจมตีต่อเมื่อมีโอกาสความเป็นไปได้สูงที่จะประสบความสำเร็จ และเบื้องลึกลงไปก็มีมาตรการรักษาความลับในการปฏิบัติการอย่างเข้มงวดกวดขัน เป็นการใช้ความระแวดระวังชนิดที่ทำให้การเข้าตีที่นำไปสู่หายนะครั้งล่าสุดนี้ดูแปลกแปร่งออกไปอย่างชัดเจน ระหว่างเดือนเมษายน 2004 จนถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ปีนี้ จำนวนนักรบที่ถูกสังหารในการปะทะกันแต่ละครั้งนั้นสูงสุดก็คือ 5 คน ซึ่งเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ฝ่ายทหารบุกเข้าตีที่ซ่อนกลางป่าแห่งหนึ่งของพวกผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2012
เหตุการณ์ในอำเภอบาเจาะนี้ ในระดับหนึ่งแล้วสามารถที่จะมองว่าเป็นการเบรกเกมอย่างโชคดีครั้งหนึ่งของฝ่ายกองกำลังความมั่นคง และก็เป็นการเพลี่ยงพล้ำแบบครั้งเดียวแล้วไม่มีอีก ของฝ่ายก่อความไม่สงบแบ่งแยกดินแดน –นั่นก็คือมันเป็นความปราชัยในทางยุทธวิธีครั้งหนึ่งของสงครามที่ทำการสู้รบกันอย่างยาวนาน โดยที่สงครามนี้กำลังกลายเป็นสงครามที่ทวีรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เมื่อพิจารณาจากทัศนะมุมมองเช่นนี้แล้ว กรณีบาเจาะนี้อย่างน้อยที่สุดก็สะท้อนให้เห็นความเชื่อมั่นมากเกินไปอย่างชัดเจนของฝ่ายขบวนการใต้ดิน ซึ่งบังเกิดความคุ้นชินที่จะเป็นฝ่ายริเริ่มในทางยุทธวิธี และมีความรู้สึกว่าสงครามกำลังดำเนินไปในเส้นทางของพวกเขาแล้ว
ควรต้องตั้งข้อสังเกตเอาไว้ด้วยว่า เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2012 ฝ่ายนำของผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มเดียวกันในพื้นที่เดียวกันนี้เอง ได้เคยก่อการโจมตีแบบ “มาเรือโบตก โมเดล” ทำนองเดียวกัน ต่อค่ายของทหารนาวิกโยธินไทยอีกแห่งหนึ่งในอำเภอบาเจาะ โดยที่สามารถฝ่าผ่านแนวป้องกันชั้นนอกเข้าไป และทำให้นาวิกโยธินได้รับบาดเจ็บจำนวน 11 คน เมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ทหารนาวิกโยธินไทยน่าจะเป็นหน่วยที่มีความเป็นมืออาชีพมากที่สุดในบรรดาหน่วยงานความมั่นคงต่างๆ หลากหลายซึ่งกำลังปฏิบัติการอยู่ในภูมิภาคดังกล่าว อีกทั้งไม่พึงต้องสงสัยเลยว่าพวกเขามีการสรุปเก็บรับบทเรียนจากการถูกโจมตีคราวนั้น ด้วยเหตุนี้ การหวนกลับไปตีค่ายนาวิกโยธินอีกแห่งหนึ่งในอำเภอเดียวกัน แม้เมื่อพิจารณาสถานการณ์ไปในทางเอื้ออำนวยอย่างมากที่สุดแล้ว ก็ยังต้องถือเป็นเรื่องของความบ้าบิ่นอย่างโง่เขลา
แอนโธนี เดวิส ทำงานเป็นนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงให้แก่ ไอเอสเอส-เจนส์ (IHS-Jane's) ปัจจุบันเขาพำนักอยู่ในกรุงเทพฯ
(อ่านต่อตอน2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
Weakness exposed in Thai insurgency
By Anthony Davis
14/02/2013
การเตือนภัยจากพวกชาวบ้านในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่กำลังเผชิญปัญหาหนักของไทย ส่งผลให้ฝ่ายทหารสามารถตอบโต้จัดการซุ่มตีพวกแบ่งแยกดินแดนที่ยกกำลังบุกเข้าโจมตีค่ายทหารแห่งหนึ่ง จนทำให้พวกผู้ก่อความไม่สงบเหล่านี้เสียชีวิตไป 16 คน ความพ่ายแพ้คราวนี้ถือเป็นความเพลี่ยงพล้ำทางยุทธวิธีครั้งหนักหน่วงสาหัสที่สุดของการก่อกบฎของชาวมุสลิมมลายู นับตั้งแต่ที่เริ่มต้นขึ้นมาในปี 2004 อีกทั้งบ่งบอกให้เห็นด้วยว่าพวกผู้ก่อความไม่สงบได้บังเกิดความเชื่อมั่นมากเกินไปเกี่ยวกับความแข็งแกร่งที่แท้จริงของพวกเขา
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ในระยะเวลาเกือบๆ 1 ทศวรรษของความขัดแย้งมุ่งแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย สิ่งที่เราได้พบเห็นอยู่เป็นประจำ ก็คือการที่ฝ่ายทหารถูกทำให้ประหลาดใจคาดไม่ถึง รวมทั้งต้องเลือดตกยางออก และถูกหยามหมิ่นให้อดสู แต่การปะทะกันในจังหวัดนราธิวาสเมื่อช่วงชั่วโมงแรกๆ ของวันที่ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กลับแสดงให้เห็นถึงการสลับสับเปลี่ยนบทบาทกันซึ่งนานๆ ครั้งนักจึงจะเกิดขึ้นมา บนพื้นฐานของข่าวกรองการปฏิบัติการซึ่งมีความน่าเชื่อถือ และความชำนิชำนาญทางยุทธวิธีจากการฝึกฝนจนช่ำชอง กองทหารของเหล่านาวิกโยธินไทย และหนุนหลังโดยกองกำลังรบพิเศษของกองทัพเรือ ก็สามารถทำลายการเข้าตีค่ายทหารครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของพวกผู้ก่อความไม่สงบ โดยที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพวกแบ่งแยกดินแดนเหล่านี้ ชนิดที่น่าจะพูดได้ว่าเป็นความเพลี่ยงพล้ำในสนามรบครั้งเลวร้ายที่สุดเท่าที่พวกผู้ก่อความไม่สงบเหล่านี้เคยประสบมาทีเดียว
ความเสียหายในเฉพาะหน้าที่สุด ซึ่งก็คือการสูญเสียชีวิตไป 16 ชีวิต โดยหนึ่งในนั้นเป็นผู้บังคับบัญชานักรบระดับอาวุโสในท้องถิ่น อีกทั้งยังสูญเสียอาวุธปืนไปในจำนวนใกล้ๆ กัน กำลังกลายเป็นแรงกระหน่ำตีอันหนักหน่วงทั้งในทางปฏิบัติและทางจิตวิทยา ต่อขบวนการก่อความไม่สงบในบริเวณพื้นที่ตอนกลางของจังหวัดนราธิวาสซึ่งมีความสำคัญมากในทางยุทธศาสตร์ นอกจากนั้นแล้ว เหตุการณ์คราวนี้ยังเป็นการตอกย้ำปัญหาเชิงยุทธศาสตร์ระยะยาวหลายๆ ประการซึ่งการก่อกบฎแบ่งแยกดินแดนของชาวมุสลิมมาเลย์นี้กำลังเผชิญอยู่ และน่าที่จะส่งผลถึงขั้นเปลี่ยนโฉมอนาคตของความขัดแย้งคราวนี้ได้ทีเดียว
การบุกเข้าตีของพวกผู้ก่อความไม่สงบซึ่งเปิดฉากขึ้นเมื่อเวลาประมาณตีหนึ่งของวันที่ 13 กุมภาพันธ์คราวนี้ พวกเขาวางแผนจะถล่มค่ายของหมวดปืนเล็กเหล่านาวิกโยธินไทย ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลบาเร๊ะเหนือ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส การปฏิบัติการดังกล่าว ใช้กองกำลังนักรบจรยุทธ์ติดอาวุธอย่างดีประมาณ 50 ถึง 60 คน กองกำลังเหล่านี้สวมชุดพรางของทหารและเสื้อเกราะกันกระสุน ถือเป็นกรณีล่าสุดของการยกกำลังขนาดใหญ่เข้าตีค่ายกองกำลังฝ่ายความมั่นคงในจังหวัดนี้ที่ดำเนินต่อเนื่องมาหลายครั้งหลายคราแล้ว โดยที่จุดประสงค์สำคัญที่สุดของการโจมตีก็คือการยึดอาวุธต่างๆ ในค่าย
การปฏิบัติการเหล่านี้ได้รับการขนานนามว่าเป็น “มะรือโบตก โมเดล” ซึ่งเป็นการอ้างอิงถึงการโจมตีในลักษณะนี้ครั้งแรกที่เกิดขึ้นในตำบลมะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 19 มกราคม 2011 โดยในการปฏิบัติการคราวนั้น กลุ่มก่อความไม่สงบที่มีการจัดตั้งเป็นอย่างดีจำนวนประมาณ 40 คน ประสบความสำเร็จสามารถบุกเข้าไปในฐานปฏิบัติการของกองร้อยของกองทัพบกไทยได้ในการเข้าตีเมื่อตอนค่ำ พวกเขาสังหารทหารตายไป 4 คนและบาดเจ็บอีก 6 คน พร้อมกับยึดอาวุธปืนเอ็ม 16 ไปราว 50 กระบอก ตลอดจนปืนกลเบาด้วย
สำหรับการเข้าตีครั้งล่าสุด ก็ทำนองเดียวกับการปฏิบัติการแบบ “มารือโบตก โมเดล” ครั้งก่อนๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี 2011 และ 2012 พวกผู้ก่อความไม่สงบจัดแบ่งกำลังออกเป็น 3 ชุด โดย 2 ชุดเป็นชุดโจมตีซึ่งตอนแรกจะเปิดฉากเข้าตีในลักษณะมุ่งหันเหความสนใจ ครั้นแล้วจึงเข้าตีจริงด้วยกำลังหลักจากทิศทางซึ่งเปลี่ยนไปจากช่วงที่เข้าตีตอนแรก ในเวลาเดียวกันกำลังของชุดที่ 3 ก็ทำหน้าที่ตัดเส้นทางคมนาคม ด้วยการโค่นต้นไม้ขวางถนนที่มุ่งมายังค่าย ตลอดจนโปรยตะปูเรือใบ รวมทั้งวางกับดักที่เป็นระเบิดแสวงเครื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้กำลังหนุนเคลื่อนเข้าไปถึงค่ายได้อย่างสะดวกง่ายดาย
อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าการรักษาความลับเกี่ยวกับการปฏิบัติการของผู้ก่อความไม่สงบซึ่งปกติแล้วเป็นไปอย่างเข้มงวด ในคราวนี้กลับมีจุดอ่อนซึ่งก่อให้เกิดความหายนะ ตามคำแถลงของ พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า นั้น กองกำลังฝ่ายความมั่นคงได้รับคำเตือนจากพวกชาวบ้านท้องถิ่น และ “อดีตผู้ก่อความไม่สงบที่เบื่อหน่ายความรุนแรง” ทว่า แหล่งข่าวทหารในท้องถิ่นหลายรายชี้ว่า เป็นเพราะมีการยึดเอกสารและภาพร่างต่างๆ จากสมาชิกผู้ปฏิบัติการของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนรายหนึ่งที่ถูกสังหารเสียชีวิตในระหว่างที่เจ้าหน้าที่พยายามเข้าจับกุมเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ จึงกลายเป็นสัญญาณเตือนภัยพวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบว่า กำลังจะมีการเข้าตีค่ายทหารนาวิกโยธินแห่งนั้นแล้ว
มีความเป็นไปได้อีกเช่นกันที่ข้อมูลข่าวสารซึ่งทำให้พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบสามารถเตรียมรับมือได้อย่างทันการณ์นั้น มาจากแหล่งข่าวกรองชั้นเยี่ยมซึ่งนานๆ ครั้งจึงจะมีโชคดีถึงขนาดนี้ นั่นก็คือเป็นแหล่งข่าวซึ่งเป็นสมาชิกผู้ก่อความไม่สงบที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ ทั้งนี้ยิ่งเมื่อพิจารณาจากการที่ทหารนาวิกโยธินรู้อย่างชัดเจนไม่เพียงแค่สถานที่ซึ่งจะถูกโจมตี หากยังวันที่ที่จะมีการปฏิบัติการอีกด้วย จึงดูเหมือนว่าคนวงในผู้ก่อความไม่สงบนั่นเอง น่าจะเป็นแหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารเหล่านี้
ฝ่ายไหนเป็นผู้เปิดฉากยิงนัดแรกในเหตุการณ์เมื่อตอนชั่วโมงแรกๆ ของวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ยังคงไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ทันทีที่การสู้รบเริ่มต้นขึ้น พวกผู้ก่อความไม่สงบในชุดโจมตีหลักซึ่งกำลังเคลื่อนที่บุกผ่านสวนยางมุ่งไปยังด้านหน้าของค่าย ก็ถลำเข้าไปในพื้นที่ซุ่มตีซึ่งมีทั้งนาวิกโยธินและกองกำลังหน่วยซีลส์ (SEALs) ของราชนาวีเฝ้ารออยู่เบื้องหลังแนวป้องกันด้านนอกสุดที่ทำขึ้นจากกระสอบทราย รวมทั้งยังต้องเผชิญกับทหารชุดที่สองซึ่งอำพรางซ่อนตัวอยู่ในอาคารชั้นเดียวหลังหนึ่งที่ตั้งห่างออกมาด้านนอกค่ายประมาณ 100 เมตร
ในการเตรียมตัวเพื่อซุ่มตีคราวนี้ ทหารนาวิกโยธินยังได้ติดตั้งทุ่นระเบิดต่อต้านบุคคลชนิดกำหนดทิศทาง แบบ เอ็ม-18 เคลย์มอร์ (M-18 Claymore นิยมเรียกกันในภาษาไทยว่า ระเบิดเคโม) จำนวน 7 ลูก ซึ่งเพิ่มอำนาจในการสังหารให้รุนแรงขึ้นอีก ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของแหล่งข่าวฝ่ายทหารหลายราย ทหารทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกค่าย ซึ่งรวมกันแล้วมีประมาณ 110 คนนั้น ต่างได้รับหน้ากากมองเห็นในตอนกลางคืน ถึงแม้ว่าสมรภูมิสังหารที่บริเวณด้านหน้าค่ายในบางช่วงบางเวลาก็สว่างโพลนไปทั่วจากบรรดาพลุที่ถูกยิงขึ้นฟ้าอีกด้วย แหล่งข่าวเหล่านี้เช่นกันเปิดเผยรายละเอียด
หลังจากยิงต่อสู้กันประมาณ 20 นาที การเข้าตีก็แตกสลายไปท่ามกลางความสับสน พวกกำลังจรยุทธ์ส่วนใหญ่หลบหนีไปได้โดยอาศัยรถกระบะ 3 คันที่รออยู่ แล้วทิ้งรถกระบะคันที่ 4 ซึ่งเต็มไปด้วยรูกระสุน และรถจักรยานยนต์อีก 2 คันเอาไว้ นอกจากนั้นยังตรวจพบเก็บกู้ปืนเอ็ม 16 และปืนประเภทอาก้ารวม 13 กระบอกจากบริเวณรอบๆ ค่ายได้อีกด้วย
**ความเพลี่ยงพล้ำทางยุทธวิธี**
ความสูญเสียคราวนี้ถือเป็นหลักหมายแห่งความเพลี่ยงพล้ำทางยุทธวิธีครั้งสาหัสสากรรจ์ที่สุดของพวกแบ่งแยกดินแดนเหล่านี้ นับตั้งแต่ที่การก่อความไม่สงบเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2004 ขณะที่มีนักรบจำนวนสูงกว่านี้มาก (รวมทั้งสิ้น 101 คน) สิ้นชีวิตไปในการเข้าตีที่ตั้งของกองกำลังความมั่นคงหลายๆ แห่งทั่วทั้งจังหวัดยะลาและจังหวัดปัตตานีเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2004 และเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นที่มัสยิดกรือเซะ ในเวลาต่อมาของวันเดียวกันนั้น แต่กรณีแวดล้อมเหตุการณ์เหล่านี้ในวันนั้น ก็แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงจากความรุนแรงอันดุเดือดเลือดพล่านล่าสุดนี้ มีหลักฐานที่หนักแน่นน่าเชื่อถือบ่งชี้ให้เห็นด้วยซ้ำว่า การสูญเสียชีวิตจำนวนมากในปี 2004 แท้ที่จริงแล้วมีบางส่วนภายในคณะผู้นำของพวกแบ่งแยกดินแดนลงความเห็นว่า มันเป็นหนทางวิธีการที่สามารถยอมรับได้สำหรับการปลุกระดมเรียกร้องความเห็นอกเห็นใจจากประชาชน
ผู้ที่ตายไปในปี 2004 ส่วนใหญ่แล้วมีอาวุธติดตัวในระดับที่ย่ำแย่น่าสมเพชเวทนา จำนวนมากทีเดียวมีเพียงมีดใหญ่ (machetes ในภาษาไทยมีผู้นิยมเรียกว่า มีดสปาต้า) เท่านั้นเป็นอาวุธ แต่ด้วยความเชื่อมั่นศรัทธาในพิธีกรรมหลอกลวงไร้ความหมายที่อ้างว่าเป็นพิธีทางศาสนา ตลอดจนการปลุกเสกเวทย์มนตร์ซึ่งกระทำกันในคืนก่อนหน้านั้น พวกเขาเหล่านี้จำนวนมากวิ่งตลุยเข้าไปพบกับความตายโดยที่ยังเชื่อว่าพวกเขาสามารถล่องหนหายตัวได้ หรือไม่ก็ยิงไม่เข้า ข้อเท็จจริงที่สำคัญมากก็คือ พวกบุคคลสำคัญซึ่งจัดให้มีการโจมตีแบบที่อาศัยแรงบันดาลใจจากลัทธิพิธีกรรมหลอกลวงเหล่านี้ (โดยบุคคลที่โดดเด่นที่สุดย่อมต้องเป็น ยูซุฟ รายาลอง Yusuf Rayalong ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมากกว่าในชื่อ อุสตาด โซ๊ะ Ustad Soh) ไม่ได้เข้าร่วมกับบรรดาเหยื่อทดลองกระสุนของพวกเขาด้วย และยังคงทำการเคลื่อนไหวอยู่อย่างคึกคักจนกระทั่งในทุกวันนี้
การก่อความไม่สงบแบบกระแสหลักนั้น มีความแตกต่างตรงกันข้ามอย่างมากมายกับการก่อเหตุโจมตีในเดือนเมษายน 2004 ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยแบบกระแสหลักพวกผู้ก่อความไม่สงบมักพยายามที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอันไม่จำเป็น โดยจะเข้าโจมตีต่อเมื่อมีโอกาสความเป็นไปได้สูงที่จะประสบความสำเร็จ และเบื้องลึกลงไปก็มีมาตรการรักษาความลับในการปฏิบัติการอย่างเข้มงวดกวดขัน เป็นการใช้ความระแวดระวังชนิดที่ทำให้การเข้าตีที่นำไปสู่หายนะครั้งล่าสุดนี้ดูแปลกแปร่งออกไปอย่างชัดเจน ระหว่างเดือนเมษายน 2004 จนถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ปีนี้ จำนวนนักรบที่ถูกสังหารในการปะทะกันแต่ละครั้งนั้นสูงสุดก็คือ 5 คน ซึ่งเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ฝ่ายทหารบุกเข้าตีที่ซ่อนกลางป่าแห่งหนึ่งของพวกผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2012
เหตุการณ์ในอำเภอบาเจาะนี้ ในระดับหนึ่งแล้วสามารถที่จะมองว่าเป็นการเบรกเกมอย่างโชคดีครั้งหนึ่งของฝ่ายกองกำลังความมั่นคง และก็เป็นการเพลี่ยงพล้ำแบบครั้งเดียวแล้วไม่มีอีก ของฝ่ายก่อความไม่สงบแบ่งแยกดินแดน –นั่นก็คือมันเป็นความปราชัยในทางยุทธวิธีครั้งหนึ่งของสงครามที่ทำการสู้รบกันอย่างยาวนาน โดยที่สงครามนี้กำลังกลายเป็นสงครามที่ทวีรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เมื่อพิจารณาจากทัศนะมุมมองเช่นนี้แล้ว กรณีบาเจาะนี้อย่างน้อยที่สุดก็สะท้อนให้เห็นความเชื่อมั่นมากเกินไปอย่างชัดเจนของฝ่ายขบวนการใต้ดิน ซึ่งบังเกิดความคุ้นชินที่จะเป็นฝ่ายริเริ่มในทางยุทธวิธี และมีความรู้สึกว่าสงครามกำลังดำเนินไปในเส้นทางของพวกเขาแล้ว
ควรต้องตั้งข้อสังเกตเอาไว้ด้วยว่า เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2012 ฝ่ายนำของผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มเดียวกันในพื้นที่เดียวกันนี้เอง ได้เคยก่อการโจมตีแบบ “มาเรือโบตก โมเดล” ทำนองเดียวกัน ต่อค่ายของทหารนาวิกโยธินไทยอีกแห่งหนึ่งในอำเภอบาเจาะ โดยที่สามารถฝ่าผ่านแนวป้องกันชั้นนอกเข้าไป และทำให้นาวิกโยธินได้รับบาดเจ็บจำนวน 11 คน เมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ทหารนาวิกโยธินไทยน่าจะเป็นหน่วยที่มีความเป็นมืออาชีพมากที่สุดในบรรดาหน่วยงานความมั่นคงต่างๆ หลากหลายซึ่งกำลังปฏิบัติการอยู่ในภูมิภาคดังกล่าว อีกทั้งไม่พึงต้องสงสัยเลยว่าพวกเขามีการสรุปเก็บรับบทเรียนจากการถูกโจมตีคราวนั้น ด้วยเหตุนี้ การหวนกลับไปตีค่ายนาวิกโยธินอีกแห่งหนึ่งในอำเภอเดียวกัน แม้เมื่อพิจารณาสถานการณ์ไปในทางเอื้ออำนวยอย่างมากที่สุดแล้ว ก็ยังต้องถือเป็นเรื่องของความบ้าบิ่นอย่างโง่เขลา
แอนโธนี เดวิส ทำงานเป็นนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงให้แก่ ไอเอสเอส-เจนส์ (IHS-Jane's) ปัจจุบันเขาพำนักอยู่ในกรุงเทพฯ
(อ่านต่อตอน2 ซึ่งเป็นตอนจบ)