(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Faded war wounds still raw in Asia
By Francesco Sisci
17/01/2013
ในยุโรปนั้น มรดกตกทอดของสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น ได้จางหายไปแล้วภายหลังเยอรมันตะวันออกและเยอรมันตะวันตกรวมเป็นประเทศเดียวกัน แต่ในเอเชีย ความแตกต่างทางอุดมการณ์ที่เคยเป็นตัวการทำให้เกิดการสู้รบและความขัดแย้งเหล่านี้ขึ้นมา ถึงแม้พร่าเลือนลงเรื่อยๆ ทว่าก็กลับแปรสภาพไปสู่ความเป็นปรปักษ์กันในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ เนื่องจากการเติบโตของเอเชียในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นมาบนประเด็นปัญหาระดับภูมิภาคเดิมๆ ตลอดจนรอยแผลเป็นต่างๆ ที่ยังไม่เคยมีการแก้ไขคลี่คลาย ด้วยเหตุนี้ จีนจึงต้องตัดสินใจว่า จะยอมปล่อยใจเดินตามความเกลียดชังที่ดำเนินมาในประวัติศาสตร์ หรือว่าจะตัดขาดผละออกจากเส้นทางเดินแห่งสงคราม
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ญี่ปุ่นรู้สึกว่าตนเองเป็นฝ่ายพ่ายแพ้อย่างยุติธรรมต่ออเมริกาทั้ง 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งคือในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945 และอีกครั้งหนึ่งในช่วงปลายทศวรรษ 1980 โดยที่ในคราวหลังนี้เป็นการต่อสู้แข่งขันกันในทางเศรษฐกิจ ทว่าญี่ปุ่นก็รู้สึกว่าตนเองเป็นผู้มีชัยเหนือรัฐเอเชียอื่นๆ ทั้งในทางการทหารและในทางเศรษฐกิจเมื่อปี 1945 และกระทั่งในเวลาต่อมาอีกด้วย เมื่อเศรษฐกิจของแดนอาทิตย์อุทัยมีความเจริญรุ่งเรืองไปจนกระทั่งถึงช่วงทศวรรษ 1980
แม้กระทั่งภายหลังจากห้วงเวลานั้น โตเกียวก็ยังคงดำเนินการช่วยเหลือประเทศจำนวนมากในภูมิภาคในทางด้านเศรษฐกิจ วอชิงตันซึ่งมีเหตุผลความต้องการของตนเอง ได้บังคับให้ญี่ปุ่นต้องอ่อนข้อให้แก่รัฐเอเชียอื่นๆ ในบางระยะบางห้วงเวลา แต่ถ้าปราศจากการเข้าแทรกแซงของอเมริกาในสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว เวลานี้ญี่ปุ่นก็อาจจะกำลังเข้าครอบครองประเทศจีนทั้งหมด และมีความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นอาจกำลังใกล้จะเข้าสู่กระบวนการทำให้ตนเองกลายเป็นจีน (Sinicization) เพราะถูกพิชิตด้วยวัฒนธรรมตามประเพณีของจีนที่ครอบคลุมแผ่ซ่านไปอย่างกว้างขวาง ทำนองเดียวกับที่พวกแมนจูแห่งราชวงศ์ชิงได้เคยถูกพิชิตมาแล้วเมื่อประมาณ 3 ศตวรรษครึ่งก่อนหน้านี้
ภาษาญี่ปุ่นในเวลานี้อาจจะเป็นภาษาที่เล็กลงมา และเป็นไปได้ว่าภาษาจีนอาจจะไม่ได้เข้าสู่กระบวนการทำให้ง่ายขึ้นและมีลักษณะเป็นตะวันตกมากขึ้นอย่างมากมาย ดังที่บังเกิดขึ้นมาภายหลังพวกคอมมิวนิสต์สามารถยึดครองแดนมังกร
สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมานี้ไม่ได้เกิดขึ้น ทว่าสิ่งอื่นๆ หลายๆ อย่างกลับบังเกิดขึ้นมา พวกโซเวียตที่เข้าสู่สมรภูมิภาคเอเชียของสงครามโลกครั้งที่ 2 ทีหลังเพื่อน ไม่เพียงเข้ายึดครองหมู่เกาะสองสามแห่งในภาคเหนือของญี่ปุ่นเอาไว้เท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นเสียอีกก็คือการบุกจู่โจมเข้าไปในแมนจูเรียที่ฝ่ายญี่ปุ่นยึดครองอยู่ และก็เป็นพื้นที่ซึ่งพวกคอมมิวนิสต์จีนที่เคยอ่อนแอและอดอยากกำลังพยายามรวมกลุ่มรวมกำลังกันขึ้นมาใหม่ ที่นี่เองที่พวกโซเวียตได้ติดอาวุธและสนับสนุนพวกคอมมิวนิสต์จีน ให้สามารถเดินหน้าสร้างความปราชัยให้แก่พวกชาตินิยมจีน (ก๊กมิ่นตั๋ง) ที่อุปถัมภ์ค้ำชูโดยพวกอเมริกัน สหรัฐอเมริกานั้นแม้จะเป็นผู้ชนะสงครามในเอเชีย แต่กลับวางตัวเหินห่างในศึกแก้มือแห่งสงครามกลางเมืองระหว่างคนจีนด้วยกัน
ถ้าหากโซเวียตไม่ได้ให้ความสนับสนุนแก่คอมมิวนิสต์จีน และสหรัฐฯก็ไม่ได้วางตัวเหินห่างไม่ค่อยอยากยุ่งเกี่ยวโดยตรงกับกิจการของคนจีนแล้ว เหมา เจ๋อตง ก็อาจจะไม่สามารถชนะสงครามกลางเมืองได้ และอาจจะยังคงเป็นเพียงแค่หมายเหตุเล็กๆ ในประวัติศาตร์จีนเท่านั้น
ในแนวรบด้านตะวันตก สหภาพโซเวียตได้ยังความปราชัยให้แก่พวกเยอรมันจริงๆ และปลดแอกยุโรปตะวันออกจากการครอบงำของนาซีจริงๆ แต่คุณูปการของมอสโกในเอเชียกลับไม่ได้มีความชัดเจนหรือมีความยิ่งใหญ่ในระดับนั้น
แน่นอนทีเดียวว่าสิ่งต่างๆ ที่พรรณนามาเหล่านี้ล้วนแต่เป็นจินตนาการอันฟุ้งเฟื่อง แต่มันก็มีส่วนช่วยจัดเวทีจริงให้แก่ละครว่าด้วยหมู่เกาะเซงกากุ/เตี้ยวอี๋ว์ และอิทธิพลในทะเลจีนใต้ ซึ่งกำลังเล่นกันอยู่ในเวลานี้ ในความเป็นจริงแล้ว สงครามเย็นยังไม่ได้ยุติลงในภูมิภาคแถบนี้ อีกทั้งผลลัพธ์ของสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ยังไม่เคยมีการกำหนดนิยามกันออกมาอย่างชัดเจนกระจ่างแจ้ง
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เปิดกว้างให้แก่การอภิปรายถกเถียงและการตีความกัน แต่ก็มีบางจุดบางประเด็นซึ่งชัดเจนแล้ว อันได้แก่:
**ฝ่ายอเมริกันเท่านั้นที่เป็นผู้ชนะอย่างชัดเจนในสมรภูมิของภูมิภาคนี้ในสงครามโลกครั้งที่ 2
**ญี่ปุ่นพ่ายแพ้เฉพาะต่อฝ่ายอเมริกัน ไม่มีใครอื่นอีกที่สามารถอ้างถึงชัยชนะอันชัดเจนได้
**อเมริกา ซึ่งด้วยเหตุผลทางยุทธศาสตร์ของตนเอง (นั่นคือเนื่องจากสงครามเย็นยังคงดำเนินอยู่) จึงไม่ได้ดำเนิน “กระบวนการถอดถอนความเป็นญี่ปุ่น” (de-Japanization) ต่อญี่ปุ่น แบบเดียวกับที่อเมริกาได้ดำเนิน “กระบวนการถอดถอนความเป็นเยอรมัน” (de-Germanization) ต่อเยอรมนีภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
**ฝ่ายจีนและฝ่ายอื่นๆ มีคุณูปการในการหยุดยั้งการรุกคืบของกองทหาร ทว่าในบางแง่บางมุมแล้วก็ต้องถือว่าญี่ปุ่นก็มีคุณูปการเช่นกันด้วยการไม่ร่วมวงเข้าโจมตีมอสโก
**จีนได้รับการช่วยเหลือจากอเมริการวม 2 ครั้ง กล่าวคือในระหว่างการต่อต้านญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และในระหว่างการต่อต้านรัสเซียในช่วงทศวรรษ 1970 ถ้าหากปราศจากจีนแล้ว อเมริกาก็คงจะต้องเผชิญช่วงเวลาอันยากลำบากกว่าที่ผ่านพ้นมา แต่ถ้าหากปราศจากอเมริกาแล้ว จีนก็น่าที่จะกลายเป็นผู้ปราชัยในทั้งสองคร้ง
**ญี่ปุ่นได้ช่วยเหลือเอเชียและจีนในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และการเจริญเติบโตของจีนก็ได้ช่วยการพัฒนาของเอเชีย
อย่างไรก็ตาม ยังมีองค์ประกอบอย่างอื่นๆ อีกที่ทำให้ภาพยิ่งยุ่งยากซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ไม่เหมือนกับในยุโรปซึ่งอเมริกาไม่เคยเป็นผู้ปราชัยเลย แต่ในเอเชีย วอชิงตันกลับต้องประสบกับความหวาดผวาหลายครั้งหลายครา สหรัฐฯนั้นไม่เคยสร้างความปราชัยอย่างสมบูรณ์แบบให้แก่ฝ่ายจีนในสงครามเกาหลีของทศวรรษ 1950 และสหรัฐฯกระทั่งถึงกับเป็นผู้พ่ายแพ้ในสงครามเวียดนาม โดยที่ในสงครามครั้งหลังนี้ การที่สหรัฐฯหันมาทำความตกลงดำเนินการปรับตัวทางการเมืองกับฝ่ายจีน ก็ต้องถือเป็นผลลัพธ์ที่ออกมาจากความปราชัยดังกล่าวนั่นเอง
ข้อเท็จจริงต่างๆ เหล่านี้ ยังกลายเป็นบริบทแวดล้อมให้แก่คำถามสำคัญอีกคำถามหนึ่ง จีนนั้นก็เฉกเช่นเดียวกับชาติอื่นๆ ในเอเชีย ใม่ได้เคยออกมายอมรับโดยเปิดเผยถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นแม้บางส่วนบางเรื่อง และการเจริญเติบโตของแดนมังกรก็กำลังทำให้คนอื่นๆ ทั้งหมดบังเกิดความหวั่นผวา เนื่องจากมันเป็นการเจริญเติบโตซึ่งเกิดขึ้นเหนือภูเขาลูกใหญ่แห่งประเด็นปัญหาระดับภูมิภาคที่ยังมิได้รับการแก้ไข ตลอดจนบาดแผลและรอยแผลเป็นที่ยังมิได้รับการเยียวยารักษา การที่แดนมังกรจะสามารถทำการพัฒนาอย่างสันติทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้นั้น จำเป็นที่จะต้องยอมรับรู้ยอมรับทราบข้อเท็จจริงเหล่านี้ เพื่อที่จะตระเตรียมและร่วมกันคลี่คลายบรรยากาศ ภายใต้สภาพการณ์ที่เป็นไปได้ว่า ปักกิ่งจะต้องประสบกับความรับรู้ความเข้าใจผิดๆ จำนวนมาก อันเกี่ยวข้องกับความทะเยอทะยานซึ่งกำลังทวีขึ้นของจีน ตลอดจนการตีอกร้องขู่คำรามที่เพิ่มมากขึ้นทั้งจากภายในจีนและจากประเทศอื่นๆ
การร่วมกันคลี่คลายบรรยากาศดังที่กล่าวมานี้ อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะทำให้แก้ไขประเด็นปัญหาหมู่เกาะเซงกากุ/เตี้ยวอี๋วืให้ตกไปได้ แต่ควรจะสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นสำหรับการเผชิญกับประเด็นปัญหาเหล่านี้ด้วยสมองที่ปลอดโปร่งเยือกเย็นยิ่งขึ้น
มีบางคนบางฝ่ายในประเทศจีนคิดว่า สหรัฐฯคือผู้ที่กำลังแอบชักใยเชิดหุ่นอยู่เบื้องหลัง ในแผนกโลบายแสนสลับซับซ้อนที่มุ่งขัดขวางการเจริยเติบโตของปักกิ่ง และบางคนบางฝ่ายทั้งในอเมริกาและในภูมิภาคแถบนี้ก็อาจจะมีความเห็นสอดคล้องไปในแนวเดียวกับความคิดทฤษฎีสมคบคิดเช่นนี้ ขณะเดียวกัน มีความเป็นไปได้ด้วยว่าบางคนบางฝ่ายในประเทศจีนอาจจะถึงกับสนับสนุนแผนการเช่นนี้ของฝ่ายอเมริกัน เนื่องจากพวกเขามองเห็นว่า มันคือโอกาสที่จะทำให้คณะผู้นำชุดปัจจุบันประสบความปราชัย และเปิดโอกาสขึ้นมาอีกคำรบหนึ่งให้แก่ฝักฝ่ายที่สนับสนุนนักลัทธิเหมายุคใหม่ (neo-Maoist) อย่าง ป๋อ ซีไหล (Bo Xilai) ซึ่งตกลงจากอำนาจในปีที่แล้ว ภายหลังเกิดกรณีอื้อฉาวอันใหญ่โตขึ้นในมหานครฉงชิ่ง
สำหรับผู้คนและฝ่ายต่างๆ ทั้งหมดเหล่านี้ การศึกษาอดีตเป็นเพียงการมองหาข้อแก้ตัวสำหรับการดำเนินแผนการต่างๆ ในอนาคตเท่านั้นเอง อย่างไรก็ดี แม้กระทั่งเป็นอย่างที่กล่าวมานี้ก็เถอะ การมีข้อแก้ตัวไม่ว่าในทางการเมืองหรือในชีวิตประจำวัน ก็เป็นสิ่งสำคัญมากในการเอาชนะใจพวกที่ยังมิได้ตกลงปลงใจเลือกว่าจะอยู่กับฝ่ายใด จากนั้นเราก็จะได้เห็นกันว่า ผู้คนทั้งที่อยู่ภายในจีนและที่อยู่ภายนอกจีน เลือกที่จะแก้ไขสะสางบันทึกในประวัติศาสตร์ให้อยู่ในเส้นทางอันซื่อตรงมากขึ้น หรือเลือกที่จะผลักไสอดีตออกไปและมุ่งรวมศูนย์ความสนใจไปอยู่ที่การทะเลาะเบาะแว้งกันในปัจจุบัน
แน่นอนทีเดียว เหมือนกับที่พฤติกรรมของสัตว์แสดงให้เราเห็นกันอยู่เป็นประจำ การวิวาทกันเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าการคบคิดอภิปรายกัน และพวกนักวางแผนสงครามตลอดทั่วทั้งโลกย่อมเตรียมการสำหรับรับมือกับกรณีฉุกเฉินสุดขีดต่างๆ ไม่ใช่สำหรับรับมือสิ่งที่บังเกิดขึ้นตามปกติ องค์ประกอบสองสามประการเหล่านี้ควรนำเราให้เกิดความเชื่อขึ้นมาว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นรอบๆ หมู่เกาะเซงกากุ/เตี้ยวอี๋ว์ มีแต่เรื่องเลวร้ายอย่างที่สุดเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง แรงกระตุ้นเพื่อความอยู่รอดและการวิวัฒนาการก็เป็นปัจจัยที่มีกำลังแรงกล้ายิ่ง และสำหรับในกรณีนี้มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ร่วมกันซึ่งจะได้มาจากการที่จีนบูรณาการเข้าไปอยู่ในโลกอย่างสนิทแนบแน่นยิ่งขึ้นอย่างมหาศาล อันเป็นอะไรที่ปักกิ่งมองเห็นอย่างกระจ่างชัดเจนมาตลอดระยะไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา
เมื่อเป็นดังนี้ จึงมีเหตุผลเช่นเดียวกันที่จะเชื่อว่า จีนซึ่งเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์อย่างใหญ่หลวงที่สุดจากการวิวัฒนาการอย่างสันติของตนเอง จะเลือกการตัดขาดผละออกจากเส้นทางเดินแห่งสงคราม, เพิกเฉยไม่สนใจต่อการยั่วยุ, และยอมรับรู้ยอมรับทราบถึงประวัติศาสตร์ที่เปิดอนาคตอันสดใสยิ่งขึ้นให้แก่ตนเองและให้แก่เพื่อนบ้านของตนทุกๆ รายในภูมิภาคริมมหาสมุทรแปซิฟิก
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นคอลัมนิสต์ให้กับ อิล โซเล 24 โอเร (Il Sole 24 Ore) หนังสือพิมพ์รายวันในอิตาลี สามารถที่จะติดต่อเขาทางอีเมล์ได้ที่ fsisci@gmail
Faded war wounds still raw in Asia
By Francesco Sisci
17/01/2013
ในยุโรปนั้น มรดกตกทอดของสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น ได้จางหายไปแล้วภายหลังเยอรมันตะวันออกและเยอรมันตะวันตกรวมเป็นประเทศเดียวกัน แต่ในเอเชีย ความแตกต่างทางอุดมการณ์ที่เคยเป็นตัวการทำให้เกิดการสู้รบและความขัดแย้งเหล่านี้ขึ้นมา ถึงแม้พร่าเลือนลงเรื่อยๆ ทว่าก็กลับแปรสภาพไปสู่ความเป็นปรปักษ์กันในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ เนื่องจากการเติบโตของเอเชียในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นมาบนประเด็นปัญหาระดับภูมิภาคเดิมๆ ตลอดจนรอยแผลเป็นต่างๆ ที่ยังไม่เคยมีการแก้ไขคลี่คลาย ด้วยเหตุนี้ จีนจึงต้องตัดสินใจว่า จะยอมปล่อยใจเดินตามความเกลียดชังที่ดำเนินมาในประวัติศาสตร์ หรือว่าจะตัดขาดผละออกจากเส้นทางเดินแห่งสงคราม
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ญี่ปุ่นรู้สึกว่าตนเองเป็นฝ่ายพ่ายแพ้อย่างยุติธรรมต่ออเมริกาทั้ง 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งคือในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945 และอีกครั้งหนึ่งในช่วงปลายทศวรรษ 1980 โดยที่ในคราวหลังนี้เป็นการต่อสู้แข่งขันกันในทางเศรษฐกิจ ทว่าญี่ปุ่นก็รู้สึกว่าตนเองเป็นผู้มีชัยเหนือรัฐเอเชียอื่นๆ ทั้งในทางการทหารและในทางเศรษฐกิจเมื่อปี 1945 และกระทั่งในเวลาต่อมาอีกด้วย เมื่อเศรษฐกิจของแดนอาทิตย์อุทัยมีความเจริญรุ่งเรืองไปจนกระทั่งถึงช่วงทศวรรษ 1980
แม้กระทั่งภายหลังจากห้วงเวลานั้น โตเกียวก็ยังคงดำเนินการช่วยเหลือประเทศจำนวนมากในภูมิภาคในทางด้านเศรษฐกิจ วอชิงตันซึ่งมีเหตุผลความต้องการของตนเอง ได้บังคับให้ญี่ปุ่นต้องอ่อนข้อให้แก่รัฐเอเชียอื่นๆ ในบางระยะบางห้วงเวลา แต่ถ้าปราศจากการเข้าแทรกแซงของอเมริกาในสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว เวลานี้ญี่ปุ่นก็อาจจะกำลังเข้าครอบครองประเทศจีนทั้งหมด และมีความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นอาจกำลังใกล้จะเข้าสู่กระบวนการทำให้ตนเองกลายเป็นจีน (Sinicization) เพราะถูกพิชิตด้วยวัฒนธรรมตามประเพณีของจีนที่ครอบคลุมแผ่ซ่านไปอย่างกว้างขวาง ทำนองเดียวกับที่พวกแมนจูแห่งราชวงศ์ชิงได้เคยถูกพิชิตมาแล้วเมื่อประมาณ 3 ศตวรรษครึ่งก่อนหน้านี้
ภาษาญี่ปุ่นในเวลานี้อาจจะเป็นภาษาที่เล็กลงมา และเป็นไปได้ว่าภาษาจีนอาจจะไม่ได้เข้าสู่กระบวนการทำให้ง่ายขึ้นและมีลักษณะเป็นตะวันตกมากขึ้นอย่างมากมาย ดังที่บังเกิดขึ้นมาภายหลังพวกคอมมิวนิสต์สามารถยึดครองแดนมังกร
สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมานี้ไม่ได้เกิดขึ้น ทว่าสิ่งอื่นๆ หลายๆ อย่างกลับบังเกิดขึ้นมา พวกโซเวียตที่เข้าสู่สมรภูมิภาคเอเชียของสงครามโลกครั้งที่ 2 ทีหลังเพื่อน ไม่เพียงเข้ายึดครองหมู่เกาะสองสามแห่งในภาคเหนือของญี่ปุ่นเอาไว้เท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นเสียอีกก็คือการบุกจู่โจมเข้าไปในแมนจูเรียที่ฝ่ายญี่ปุ่นยึดครองอยู่ และก็เป็นพื้นที่ซึ่งพวกคอมมิวนิสต์จีนที่เคยอ่อนแอและอดอยากกำลังพยายามรวมกลุ่มรวมกำลังกันขึ้นมาใหม่ ที่นี่เองที่พวกโซเวียตได้ติดอาวุธและสนับสนุนพวกคอมมิวนิสต์จีน ให้สามารถเดินหน้าสร้างความปราชัยให้แก่พวกชาตินิยมจีน (ก๊กมิ่นตั๋ง) ที่อุปถัมภ์ค้ำชูโดยพวกอเมริกัน สหรัฐอเมริกานั้นแม้จะเป็นผู้ชนะสงครามในเอเชีย แต่กลับวางตัวเหินห่างในศึกแก้มือแห่งสงครามกลางเมืองระหว่างคนจีนด้วยกัน
ถ้าหากโซเวียตไม่ได้ให้ความสนับสนุนแก่คอมมิวนิสต์จีน และสหรัฐฯก็ไม่ได้วางตัวเหินห่างไม่ค่อยอยากยุ่งเกี่ยวโดยตรงกับกิจการของคนจีนแล้ว เหมา เจ๋อตง ก็อาจจะไม่สามารถชนะสงครามกลางเมืองได้ และอาจจะยังคงเป็นเพียงแค่หมายเหตุเล็กๆ ในประวัติศาตร์จีนเท่านั้น
ในแนวรบด้านตะวันตก สหภาพโซเวียตได้ยังความปราชัยให้แก่พวกเยอรมันจริงๆ และปลดแอกยุโรปตะวันออกจากการครอบงำของนาซีจริงๆ แต่คุณูปการของมอสโกในเอเชียกลับไม่ได้มีความชัดเจนหรือมีความยิ่งใหญ่ในระดับนั้น
แน่นอนทีเดียวว่าสิ่งต่างๆ ที่พรรณนามาเหล่านี้ล้วนแต่เป็นจินตนาการอันฟุ้งเฟื่อง แต่มันก็มีส่วนช่วยจัดเวทีจริงให้แก่ละครว่าด้วยหมู่เกาะเซงกากุ/เตี้ยวอี๋ว์ และอิทธิพลในทะเลจีนใต้ ซึ่งกำลังเล่นกันอยู่ในเวลานี้ ในความเป็นจริงแล้ว สงครามเย็นยังไม่ได้ยุติลงในภูมิภาคแถบนี้ อีกทั้งผลลัพธ์ของสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ยังไม่เคยมีการกำหนดนิยามกันออกมาอย่างชัดเจนกระจ่างแจ้ง
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เปิดกว้างให้แก่การอภิปรายถกเถียงและการตีความกัน แต่ก็มีบางจุดบางประเด็นซึ่งชัดเจนแล้ว อันได้แก่:
**ฝ่ายอเมริกันเท่านั้นที่เป็นผู้ชนะอย่างชัดเจนในสมรภูมิของภูมิภาคนี้ในสงครามโลกครั้งที่ 2
**ญี่ปุ่นพ่ายแพ้เฉพาะต่อฝ่ายอเมริกัน ไม่มีใครอื่นอีกที่สามารถอ้างถึงชัยชนะอันชัดเจนได้
**อเมริกา ซึ่งด้วยเหตุผลทางยุทธศาสตร์ของตนเอง (นั่นคือเนื่องจากสงครามเย็นยังคงดำเนินอยู่) จึงไม่ได้ดำเนิน “กระบวนการถอดถอนความเป็นญี่ปุ่น” (de-Japanization) ต่อญี่ปุ่น แบบเดียวกับที่อเมริกาได้ดำเนิน “กระบวนการถอดถอนความเป็นเยอรมัน” (de-Germanization) ต่อเยอรมนีภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
**ฝ่ายจีนและฝ่ายอื่นๆ มีคุณูปการในการหยุดยั้งการรุกคืบของกองทหาร ทว่าในบางแง่บางมุมแล้วก็ต้องถือว่าญี่ปุ่นก็มีคุณูปการเช่นกันด้วยการไม่ร่วมวงเข้าโจมตีมอสโก
**จีนได้รับการช่วยเหลือจากอเมริการวม 2 ครั้ง กล่าวคือในระหว่างการต่อต้านญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และในระหว่างการต่อต้านรัสเซียในช่วงทศวรรษ 1970 ถ้าหากปราศจากจีนแล้ว อเมริกาก็คงจะต้องเผชิญช่วงเวลาอันยากลำบากกว่าที่ผ่านพ้นมา แต่ถ้าหากปราศจากอเมริกาแล้ว จีนก็น่าที่จะกลายเป็นผู้ปราชัยในทั้งสองคร้ง
**ญี่ปุ่นได้ช่วยเหลือเอเชียและจีนในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และการเจริญเติบโตของจีนก็ได้ช่วยการพัฒนาของเอเชีย
อย่างไรก็ตาม ยังมีองค์ประกอบอย่างอื่นๆ อีกที่ทำให้ภาพยิ่งยุ่งยากซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ไม่เหมือนกับในยุโรปซึ่งอเมริกาไม่เคยเป็นผู้ปราชัยเลย แต่ในเอเชีย วอชิงตันกลับต้องประสบกับความหวาดผวาหลายครั้งหลายครา สหรัฐฯนั้นไม่เคยสร้างความปราชัยอย่างสมบูรณ์แบบให้แก่ฝ่ายจีนในสงครามเกาหลีของทศวรรษ 1950 และสหรัฐฯกระทั่งถึงกับเป็นผู้พ่ายแพ้ในสงครามเวียดนาม โดยที่ในสงครามครั้งหลังนี้ การที่สหรัฐฯหันมาทำความตกลงดำเนินการปรับตัวทางการเมืองกับฝ่ายจีน ก็ต้องถือเป็นผลลัพธ์ที่ออกมาจากความปราชัยดังกล่าวนั่นเอง
ข้อเท็จจริงต่างๆ เหล่านี้ ยังกลายเป็นบริบทแวดล้อมให้แก่คำถามสำคัญอีกคำถามหนึ่ง จีนนั้นก็เฉกเช่นเดียวกับชาติอื่นๆ ในเอเชีย ใม่ได้เคยออกมายอมรับโดยเปิดเผยถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นแม้บางส่วนบางเรื่อง และการเจริญเติบโตของแดนมังกรก็กำลังทำให้คนอื่นๆ ทั้งหมดบังเกิดความหวั่นผวา เนื่องจากมันเป็นการเจริญเติบโตซึ่งเกิดขึ้นเหนือภูเขาลูกใหญ่แห่งประเด็นปัญหาระดับภูมิภาคที่ยังมิได้รับการแก้ไข ตลอดจนบาดแผลและรอยแผลเป็นที่ยังมิได้รับการเยียวยารักษา การที่แดนมังกรจะสามารถทำการพัฒนาอย่างสันติทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้นั้น จำเป็นที่จะต้องยอมรับรู้ยอมรับทราบข้อเท็จจริงเหล่านี้ เพื่อที่จะตระเตรียมและร่วมกันคลี่คลายบรรยากาศ ภายใต้สภาพการณ์ที่เป็นไปได้ว่า ปักกิ่งจะต้องประสบกับความรับรู้ความเข้าใจผิดๆ จำนวนมาก อันเกี่ยวข้องกับความทะเยอทะยานซึ่งกำลังทวีขึ้นของจีน ตลอดจนการตีอกร้องขู่คำรามที่เพิ่มมากขึ้นทั้งจากภายในจีนและจากประเทศอื่นๆ
การร่วมกันคลี่คลายบรรยากาศดังที่กล่าวมานี้ อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะทำให้แก้ไขประเด็นปัญหาหมู่เกาะเซงกากุ/เตี้ยวอี๋วืให้ตกไปได้ แต่ควรจะสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นสำหรับการเผชิญกับประเด็นปัญหาเหล่านี้ด้วยสมองที่ปลอดโปร่งเยือกเย็นยิ่งขึ้น
มีบางคนบางฝ่ายในประเทศจีนคิดว่า สหรัฐฯคือผู้ที่กำลังแอบชักใยเชิดหุ่นอยู่เบื้องหลัง ในแผนกโลบายแสนสลับซับซ้อนที่มุ่งขัดขวางการเจริยเติบโตของปักกิ่ง และบางคนบางฝ่ายทั้งในอเมริกาและในภูมิภาคแถบนี้ก็อาจจะมีความเห็นสอดคล้องไปในแนวเดียวกับความคิดทฤษฎีสมคบคิดเช่นนี้ ขณะเดียวกัน มีความเป็นไปได้ด้วยว่าบางคนบางฝ่ายในประเทศจีนอาจจะถึงกับสนับสนุนแผนการเช่นนี้ของฝ่ายอเมริกัน เนื่องจากพวกเขามองเห็นว่า มันคือโอกาสที่จะทำให้คณะผู้นำชุดปัจจุบันประสบความปราชัย และเปิดโอกาสขึ้นมาอีกคำรบหนึ่งให้แก่ฝักฝ่ายที่สนับสนุนนักลัทธิเหมายุคใหม่ (neo-Maoist) อย่าง ป๋อ ซีไหล (Bo Xilai) ซึ่งตกลงจากอำนาจในปีที่แล้ว ภายหลังเกิดกรณีอื้อฉาวอันใหญ่โตขึ้นในมหานครฉงชิ่ง
สำหรับผู้คนและฝ่ายต่างๆ ทั้งหมดเหล่านี้ การศึกษาอดีตเป็นเพียงการมองหาข้อแก้ตัวสำหรับการดำเนินแผนการต่างๆ ในอนาคตเท่านั้นเอง อย่างไรก็ดี แม้กระทั่งเป็นอย่างที่กล่าวมานี้ก็เถอะ การมีข้อแก้ตัวไม่ว่าในทางการเมืองหรือในชีวิตประจำวัน ก็เป็นสิ่งสำคัญมากในการเอาชนะใจพวกที่ยังมิได้ตกลงปลงใจเลือกว่าจะอยู่กับฝ่ายใด จากนั้นเราก็จะได้เห็นกันว่า ผู้คนทั้งที่อยู่ภายในจีนและที่อยู่ภายนอกจีน เลือกที่จะแก้ไขสะสางบันทึกในประวัติศาสตร์ให้อยู่ในเส้นทางอันซื่อตรงมากขึ้น หรือเลือกที่จะผลักไสอดีตออกไปและมุ่งรวมศูนย์ความสนใจไปอยู่ที่การทะเลาะเบาะแว้งกันในปัจจุบัน
แน่นอนทีเดียว เหมือนกับที่พฤติกรรมของสัตว์แสดงให้เราเห็นกันอยู่เป็นประจำ การวิวาทกันเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าการคบคิดอภิปรายกัน และพวกนักวางแผนสงครามตลอดทั่วทั้งโลกย่อมเตรียมการสำหรับรับมือกับกรณีฉุกเฉินสุดขีดต่างๆ ไม่ใช่สำหรับรับมือสิ่งที่บังเกิดขึ้นตามปกติ องค์ประกอบสองสามประการเหล่านี้ควรนำเราให้เกิดความเชื่อขึ้นมาว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นรอบๆ หมู่เกาะเซงกากุ/เตี้ยวอี๋ว์ มีแต่เรื่องเลวร้ายอย่างที่สุดเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง แรงกระตุ้นเพื่อความอยู่รอดและการวิวัฒนาการก็เป็นปัจจัยที่มีกำลังแรงกล้ายิ่ง และสำหรับในกรณีนี้มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ร่วมกันซึ่งจะได้มาจากการที่จีนบูรณาการเข้าไปอยู่ในโลกอย่างสนิทแนบแน่นยิ่งขึ้นอย่างมหาศาล อันเป็นอะไรที่ปักกิ่งมองเห็นอย่างกระจ่างชัดเจนมาตลอดระยะไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา
เมื่อเป็นดังนี้ จึงมีเหตุผลเช่นเดียวกันที่จะเชื่อว่า จีนซึ่งเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์อย่างใหญ่หลวงที่สุดจากการวิวัฒนาการอย่างสันติของตนเอง จะเลือกการตัดขาดผละออกจากเส้นทางเดินแห่งสงคราม, เพิกเฉยไม่สนใจต่อการยั่วยุ, และยอมรับรู้ยอมรับทราบถึงประวัติศาสตร์ที่เปิดอนาคตอันสดใสยิ่งขึ้นให้แก่ตนเองและให้แก่เพื่อนบ้านของตนทุกๆ รายในภูมิภาคริมมหาสมุทรแปซิฟิก
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นคอลัมนิสต์ให้กับ อิล โซเล 24 โอเร (Il Sole 24 Ore) หนังสือพิมพ์รายวันในอิตาลี สามารถที่จะติดต่อเขาทางอีเมล์ได้ที่ fsisci@gmail