(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Qadri calls off Islamabad sit-in
By Syed Fazl-e-Haider
18/01/2013
การเผชิญหน้ากันกลางเมืองหลวงอิสลามาบัดที่ดำเนินมา 4 วัน ระหว่างรัฐบาลปากีสถาน กับ กลุ่มผู้ชุมนุมเดินขบวนเรือนหมื่น สิ้นสุดลงแล้วโดยที่ อิหม่าม ตอฮีร์ อุล กอดรี (Tahir ul Qadri) ประกาศว่าเป็นชัยชนะของฝ่ายผู้ประท้วงที่ตัวเขาเองเป็นผู้นำ แต่ขณะที่รัฐบาลมีการยินยอมอ่อนข้อให้แก่ข้อเรียกร้องในเรื่องการปฏิรูประบบการเลือกตั้งของ กอดรี จริงๆ การตกลงกันในคราวนี้ก็ถูกมองว่าเป็นการมุ่งรักษาหน้าให้แก่ทั้งสองฝ่ายมากกว่า
การาจี, ปากีสถาน - การชุมนุมประท้วงเป็นเวลา 4 วันที่บริเวณด้านนอกอาคารรัฐสภาในกรุงอิสลามาบัด ได้สิ้นสุดลงแล้ว หลังจาก อิหม่าม ตอฮีร์ อุล กอดรี (Tahir ul Qadri) ผู้นำการประท้วงคราวนี้ และฝ่ายรัฐบาล ได้บรรลุข้อตกลงกันในเรื่องการปฏิบัติตามข้อเรียกร้อง 4 ประการของกลุ่มผู้ประท้วง
กอดรี ลงนามในเอกสารที่เรียกขานกันว่า “คำประกาศแห่งการเดินขบวนระยะไกลสู่อิสลามาบัด” (Islamabad Long March Declaration) ภายหลังทำการเจรจากับคณะผู้แทนของฝ่ายรัฐบาลเป็นเวลาหลายชั่วโมง ข้อตกลงคราวนี้ ซึ่งทางนายกรัฐมนตรี ราจา เปอร์เวซ อัชรัฟ (Raja Pervez Ashraf) ได้รับรองเห็นชอบแล้ว ทำให้ผู้เดินขบวนนับพันนับหมื่นพากันตะโกนด้วยความดีอกดีใจและร้องรำทำเพลงกันไปตามท้องถนน
“ผมขอแสดงความยินดีกับพวกคุณ” กอรี บอกกับพวกผู้สนับสนุนเขา ขณะที่เขาออกมาปราศรัยประกาศยุติการประท้วงในวันพฤหัสบดี (17 ม.ค.) “อัลเลาะห์มอบชัยชนะให้แก่พวกคุณ วันนี้เป็นวันแห่งชัยชนะสำหรับประชาชนปากีสถาน พวกคุณควรเดินทางกลับบ้านด้วยความสงบสันติ เหมือนกับตอนที่พวกคุณเดินทางมาที่นี่”
ตามข้อตกลงที่สองฝ่ายทำกันในคราวนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งก็คือ รัฐสภาของปากีสถาน จะถูกประกาศยุบ “ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก่อนหน้าวันที่ 16 มีนาคม เพื่อที่จะได้สามารถจัดการเลือกตั้งขึ้นมาได้ภายในเวลา 90 วัน (นับจากนี้)” รัฐบาลผสมชุดปัจจุบันของปากีสถานที่นำโดยพรรคประชาชนปากีสถาน (Pakistan's People's Party หรือ PPP) ครบกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปีของตนในวันที่ 16 มีนาคมอยู่แล้ว โดยที่ตามรัฐธรรมนูญ จะต้องจัดการเลือกตั้งขึ้นภายในเวลา 60 วันหลังจากนั้น กลุ่มพันธมิตรพรรครัฐบาลยังให้คำมั่นด้วยว่า จะปรึกษาหารือกับ กอดรี ในเรื่องการเสนอชื่อผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ ในช่วงก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้ง
ส่วนที่สำคัญที่สุดของเอกสารคำประกาศฉบับนี้ ก็คือข้อกำหนดที่ระบุให้มีระยะเวลา 30 วันก่อนการเลือกตั้ง เพื่อที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งปากีสถาน (Election Commission of Pakistan หรือ ECP) จะได้ใช้มาทำการตรวจสอบสะสางเอกสารหลักฐานต่างๆ ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 62 และ 63 ของรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้นทั้งสองฝ่ายยังตกลงกันว่า จะมีการประชุมพิจารณาทบทวนองค์ประกอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งกันในวันที่ 27 มกราคม ที่เมืองละฮอร์ ซึ่งเป็นฐานของ กอดรี ตลอดจนจะมีการพูดถึงเรื่องการดำเนินการปฏิรูประบบการเลือกตั้งด้วย
ประธานาธิบดีอาซิฟ อาลี ซาร์ดารี (Asif Ali Zardari) แสดงให้เห็นถึงความเป็นรัฐบุรุษ ภายหลัง กอดรี ได้ยื่นคำขาดครั้งสุดท้ายออกมาในวันพฤหัสบดี (17ม.ค.) เมื่อเขาจัดส่งคณะกรรมการจำนวน 10 คนซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากพรรคพีพีพี ตลอดจนตัวแทนของพรรคและกลุ่มการเมืองอื่นๆ ที่ร่วมอยู่ในกลุ่มพันธมิตรพรรครัฐบาล ไปเจรจาหารือกับ กอดรี โดยพวกเขามีภาระหน้าที่ในการหาทางหลีกเลี่ยงให้พ้นออกจากวิกฤตการเมือง และสลายการชุมนุมประท้วงซึ่งได้สร้างแรงกดดันอย่างมากมายต่อรัฐบาล
เหล่านักวิเคราะห์ในท้องถิ่นเชื่อว่า การเจรจากันคราวนี้ซึ่งจัดขึ้นในย่าน ดี-โชว์ค (D-Chowk) อันเป็นสถานที่จัดการชุมนุมประท้วง โดยหารือกันอยู่ภายในตู้คอนเทนเนอร์ที่สามารถกันกระสุนได้นั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นการสร้างโอกาสที่จะรักษาหน้าให้แก่ทั้งฝ่ายรัฐบาลและทั้ง กอดรี ผู้ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับมายังปากีสถานภายหลังพำนักอาศัยอยู่หลายปีในแคนาดา
“กอดรี รู้ดีทีเดียวว่าเขากำลังตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก ภายหลังที่พวกพรรคฝ่ายค้านก็ปฏิเสธไม่เอาด้วยกับข้อเรียกร้องของเขา” สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานการแสดงความคิดเห็นของ ฮะซัน อัสคารี ริซวี (Hasan Askari Rizvi) นักวิเคราะห์การเมืองอิสระ “แล้วนี่ก็เป็นวิกฤตสำหรับรัฐบาลด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นพวกเขาจึงสามารถหาหนทางตรงกลางที่จะตกลงกันได้ เป็นต้นว่า การให้มีหลักประกันว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งจะดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งอย่างเคร่งครัดตามแนวทางของรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการรับประกันว่าจะได้ผู้สมัครที่ซื่อสัตย์สุจริต”
ขณะที่พวกที่วิพากษ์วิจารณ์ กอดรี ระบุว่า การที่ “ฟองสบู่เดินขบวนระยะไกล” แตกดังโพละเสียแล้วในตอนนี้ เป็นเพราะข้อตกลงที่สองฝ่ายทำกันนั้น แท้ที่จริงก็คือการทำให้ กอดรี กลายเป็นฝ่ายหนึ่งในกลุ่มพันธมิตรพรรครัฐบาลไปเสียเลย และก็เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีรักษาการขึ้นมาก่อนหน้าการจัดการเลือกตั้ง แล้วมันยังเป็นการแผ้วถางสร้างทางลงจากเวทีอย่างมีเกียรติให้แก่กอดรี ผู้ซึ่งปฏิเสธหนักแน่นต่อข่าวลืออันหนาหูตามสื่อต่างๆ ที่ว่าเขาได้รับการหนุนหลังจากฝ่ายทหารของปากีสถาน
กอดรี และพวกผู้สนับสนุนของเขา เริ่มต้นเปิดฉากการเดินขบวนระยะไกลของพวกเขาจากเมืองละฮอร์ เมื่อคืนวันที่ 13 มกราคม และมาถึงกรุงอิสลามาบัดในวันรุ่งขึ้น การประจันหน้ากันระหว่างรัฐบาลกับพวกผู้ประท้วงคราวนี้ได้เกิดการหักมุมพลิกผันหลายครั้งหลายครา ในวันพุธ (16 ม.ค.) รัฐบาลประกาศว่า กฎบัตรข้อเรียกร้องต่างๆ ของ กอดรี เป็นสิ่งที่ขัดรัฐธรรมนูญ ขณะที่พวกพรรคการเมืองใหญ่ๆ ของประเทศ ทั้งที่ร่วมอยู่ในคณะรัฐบาลผสมชุดปัจจุบันและที่เป็นฝ่ายค้าน ต่างจับมือเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการออกมาให้คำมั่นสัญญาว่า จะต่อสู้กับแผนกโลบายทุกๆ อย่างที่มุ่งจะชะลอการเลือกตั้ง และสร้างความชะงักงันให้แก่กระบวนการตามระบอบประชาธิปไตย
แม้กระทั่งพรรคปากีสถาน เตห์ริค-อี-อินซาอัฟ (Pakistan Tehrik-e-Insaaf หรือ PTI) ที่นำโดย อิมรอน ข่าน (Imran Khan) ก็ยังต้องกลับหลังหันมาวิพากษ์วิจารณ์วาระของ กอดรี การชุมนุมเดินขบวนประท้วงคราวนี้มาถึงจุดหลอมละลายในวันพุธ ภายหลังจากพรรคการเมืองทั้งหมด, ตลอดจนภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน ล้วนแล้วแต่ดูเหมือนจะคัดค้านวาระของ กอดรี และประทับตราข้อเรียกร้องของเขาว่าขัดรัฐธรรมนูญ
เดลิไทมส์ (Daily Times) หนังสือพิมพ์ชั้นนำของปากีสถาน เขียนวิจารณ์เอาไว้ดังนี้: “ถึงแม้ประชาชนชาวปากีสถานอาจจะชอบหรืออาจจะไม่ชอบผลงานของคณะรัฐบาลต่างๆ ที่ครองอำนาจอยู่ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาก็ตามที แต่ก็มีเพียงพวกที่ไม่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารอะไรเลย และพวกบ้าบิ่นมุทะลุซึ่งปราศจากความเข้าใจแม้เพียงน้อยนิดเกี่ยวกับอดีตของเราเท่านั้น ที่ต้องการโยนทารกน้อยแห่งประชาธิปไตยทิ้งไปพร้อมๆ กับรัฐบาลเหล่านี้ “วิกฤต” ที่ความอัปมงคลพวกนี้ก่อให้เกิดขึ้นมา ถูกผลักเคลื่อนออกไปอยู่ข้างๆ พร้อมๆ กัน และข้อเรียกร้องของ กอดรี ก็เผยให้เห็นมือที่อยู่เบื้องหลังของเขา ทั้งนี้ก็เหมือนดังที่เคยเป็นมาในอดีต เขาต้องการให้ฝ่ายทหารและฝ่ายตุลาการเป็นผู้ทำความตกลงกันเพื่อกำหนดชะตากรรมของประเทศชาติ ถึงแม้สถาบันเหล่านี้จะทรงอำนาจมากสักเพียงใดก็ตาม แต่นี่ย่อมมิใช่ขอบเขตแห่งอำนาจของพวกเขา อีกทั้งมิได้สอดคล้องกับหลักการทางรัฐธรรมนูญหรือหลักการทางประชาธิปไตยใดๆ ทั้งสิ้น คำเตือนจากรัฐบาลเมื่อวันพุธที่ว่า กำลังจะเกิดการโจมตีแบบก่อการร้ายเล่นงานการชุมนุมประท้วงคราวนี้ ได้จุดประกายให้เกิดข่าวลือคาดเก็งกันว่า อะไรบางอย่างที่เลวร้ายอย่างที่สุดอาจบังเกิดขึ้น ณ ย่าน ดี-โชว์ค (D-Chowk) ย่านศูนย์กลางการบริหารปกครอง (ในกรุงอิสลามาบัด) ซึ่งถูกทำให้ดูเสมือนกับเป็นจัตุรัสตอห์รีร์ (Tahrir Square) ของกรุงไคโร (ประเทศอียิปต์) เมื่อมีผู้เดินขบวนจำนวนนับพันนับหมื่นคนเข้าไปชุมนุมกัน การปรากฏตัวของผู้เดินขบวนเลือดร้อนระอุเหล่านี้ ก็ทำให้เกิดความวิตกห่วงใยขึ้นเช่นเดียวกัน ในเรื่องความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงจนกระทั่งนำไปสู่การล่มสลายของระเบียบกฎหมายในเขตเมืองหลวงของประเทศ และในที่สุดแล้วก็จะนำมาซึ่งการเข้าแทรกแซงของฝ่ายทหาร”
เรื่องการปฏิรูประบบการเลือกตั้ง ถูกมองว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งส่วนหนึ่งของข้อตกลงกันในคราวนี้ ถ้าหากว่าก่อนการเลือกตั้ง ไม่มีการปฏิรูปอย่างกว้างขวางทั่วถึงในเรื่องนี้แล้ว พวกหนีภาษีฉ้อฉล, พวกชักดาบเบี้ยวหนี้, และพวกใช้ใบปริญญาปลอมทั้งหลาย ก็จะสามารถสมัครลงแข่งขันในการเลือกตั้งและมีโอกาสได้เข้าไปอยู่ในรัฐสภา ถึงแม้เรื่องนี้เป็นความคิดเห็นที่เสนอโดยกอดรี แต่ข้อเรียกร้องของเขาเฉพาะในส่วนนี้ก็ได้รับความสนับสนุนจากประชาชนผู้มีเหตุมีผลทั้งหลาย ไม่ว่าเขาจะได้รับการหนุนหลังจากกลุ่มผู้ทรงอำนาจในฝ่ายทหารหรือจากฝ่ายอื่นใดก็ตามที ข้อเรียกร้องจำนวนไม่น้อยของเขาก็เป็นข้อเรียกร้องของประชาชนทั่วไปด้วย
ผู้ออกเสียงในปากีสถานต่างรู้สึกไม่ไว้วางใจคณะรัฐบาลผสมชุดปัจจุบัน ซึ่งขึ้นครองอำนาจภายหลังการเลือกตั้งเมื่อปี 2008 เนื่องจากรัฐบาลชุดนี้ไม่ได้ทำอะไรเป็นเนื้อเป็นหนังเลยนอกจากการสร้างผลงานฉาวโฉ่ในเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น ธรรมาภิบาลที่เลวทรามได้กัดกร่อนประสิทธิภาพของพวกรัฐวิสาหกิจรายสำคัญๆ ขณะที่ปัญหาการไม่ปฏิบัติตามระเบียบกฎหมาย ก็ส่งผลเสียในรูปของการหนีหายของเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
วิกฤตกระแสไฟฟ้ายังยิ่งเลวร้ายลงทุกที โหมกระพือความโกรธกริ้วของสาธารณชนและกระทบกระเทือนการผลิตทางอุตสาหกรรม มีความเห็นต้องตรงกันโดยทั่วไปว่า ศูนย์กลางการเงินและธุรกิจของประเทศอย่างนครการาจี กำลังถูกเปลี่ยนไปเป็นศูนย์กลางของอาชญากรรม ซึ่งเต็มไปด้วยนักขู่กรรโชก และแก๊งมาเฟียติดอาวุธคือผู้ตัดสินใจเรื่องต่างๆ อีกทั้งยึดเอาเมืองแห่งนี้ทั้งเมืองไว้เป็นตัวประกัน
การปฏิรูประบบการเลือกตั้ง กลายเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งสำหรับการประคับประคองระบอบประชาธิปไตยอันแท้จริง ในประเทศซึ่งถึงแม้การเข้าแทรกแซงของฝ่ายทหาร ได้ช่วยให้ปลอดพ้นจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งทั้งไร้ประสิทธิภาพ, ไร้ความสามารถ, และทุจริตคอร์รัปชั่น แต่มันก็กลายเป็นตัวขัดขวางความก้าวหน้าของกระบวนการแห่งระบอบประชาธิปไตย
ไซเอด ฟาซล์-อี-ไฮเดอร์ ( www.syedfazlehaider.com ) เป็นนักวิเคราะห์ทางด้านการพัฒนาในปากีสถาน เขาเขียนหนังสือเอาไว้หลายเล่ม เป็นต้นว่าเรื่อง The Economic Development of Balochistan ซึ่งตีพิมพ์ในเดือนพฤษภาคม 2004 สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ sfazlehaider05@yahoo.com
Qadri calls off Islamabad sit-in
By Syed Fazl-e-Haider
18/01/2013
การเผชิญหน้ากันกลางเมืองหลวงอิสลามาบัดที่ดำเนินมา 4 วัน ระหว่างรัฐบาลปากีสถาน กับ กลุ่มผู้ชุมนุมเดินขบวนเรือนหมื่น สิ้นสุดลงแล้วโดยที่ อิหม่าม ตอฮีร์ อุล กอดรี (Tahir ul Qadri) ประกาศว่าเป็นชัยชนะของฝ่ายผู้ประท้วงที่ตัวเขาเองเป็นผู้นำ แต่ขณะที่รัฐบาลมีการยินยอมอ่อนข้อให้แก่ข้อเรียกร้องในเรื่องการปฏิรูประบบการเลือกตั้งของ กอดรี จริงๆ การตกลงกันในคราวนี้ก็ถูกมองว่าเป็นการมุ่งรักษาหน้าให้แก่ทั้งสองฝ่ายมากกว่า
การาจี, ปากีสถาน - การชุมนุมประท้วงเป็นเวลา 4 วันที่บริเวณด้านนอกอาคารรัฐสภาในกรุงอิสลามาบัด ได้สิ้นสุดลงแล้ว หลังจาก อิหม่าม ตอฮีร์ อุล กอดรี (Tahir ul Qadri) ผู้นำการประท้วงคราวนี้ และฝ่ายรัฐบาล ได้บรรลุข้อตกลงกันในเรื่องการปฏิบัติตามข้อเรียกร้อง 4 ประการของกลุ่มผู้ประท้วง
กอดรี ลงนามในเอกสารที่เรียกขานกันว่า “คำประกาศแห่งการเดินขบวนระยะไกลสู่อิสลามาบัด” (Islamabad Long March Declaration) ภายหลังทำการเจรจากับคณะผู้แทนของฝ่ายรัฐบาลเป็นเวลาหลายชั่วโมง ข้อตกลงคราวนี้ ซึ่งทางนายกรัฐมนตรี ราจา เปอร์เวซ อัชรัฟ (Raja Pervez Ashraf) ได้รับรองเห็นชอบแล้ว ทำให้ผู้เดินขบวนนับพันนับหมื่นพากันตะโกนด้วยความดีอกดีใจและร้องรำทำเพลงกันไปตามท้องถนน
“ผมขอแสดงความยินดีกับพวกคุณ” กอรี บอกกับพวกผู้สนับสนุนเขา ขณะที่เขาออกมาปราศรัยประกาศยุติการประท้วงในวันพฤหัสบดี (17 ม.ค.) “อัลเลาะห์มอบชัยชนะให้แก่พวกคุณ วันนี้เป็นวันแห่งชัยชนะสำหรับประชาชนปากีสถาน พวกคุณควรเดินทางกลับบ้านด้วยความสงบสันติ เหมือนกับตอนที่พวกคุณเดินทางมาที่นี่”
ตามข้อตกลงที่สองฝ่ายทำกันในคราวนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งก็คือ รัฐสภาของปากีสถาน จะถูกประกาศยุบ “ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก่อนหน้าวันที่ 16 มีนาคม เพื่อที่จะได้สามารถจัดการเลือกตั้งขึ้นมาได้ภายในเวลา 90 วัน (นับจากนี้)” รัฐบาลผสมชุดปัจจุบันของปากีสถานที่นำโดยพรรคประชาชนปากีสถาน (Pakistan's People's Party หรือ PPP) ครบกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปีของตนในวันที่ 16 มีนาคมอยู่แล้ว โดยที่ตามรัฐธรรมนูญ จะต้องจัดการเลือกตั้งขึ้นภายในเวลา 60 วันหลังจากนั้น กลุ่มพันธมิตรพรรครัฐบาลยังให้คำมั่นด้วยว่า จะปรึกษาหารือกับ กอดรี ในเรื่องการเสนอชื่อผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ ในช่วงก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้ง
ส่วนที่สำคัญที่สุดของเอกสารคำประกาศฉบับนี้ ก็คือข้อกำหนดที่ระบุให้มีระยะเวลา 30 วันก่อนการเลือกตั้ง เพื่อที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งปากีสถาน (Election Commission of Pakistan หรือ ECP) จะได้ใช้มาทำการตรวจสอบสะสางเอกสารหลักฐานต่างๆ ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 62 และ 63 ของรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้นทั้งสองฝ่ายยังตกลงกันว่า จะมีการประชุมพิจารณาทบทวนองค์ประกอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งกันในวันที่ 27 มกราคม ที่เมืองละฮอร์ ซึ่งเป็นฐานของ กอดรี ตลอดจนจะมีการพูดถึงเรื่องการดำเนินการปฏิรูประบบการเลือกตั้งด้วย
ประธานาธิบดีอาซิฟ อาลี ซาร์ดารี (Asif Ali Zardari) แสดงให้เห็นถึงความเป็นรัฐบุรุษ ภายหลัง กอดรี ได้ยื่นคำขาดครั้งสุดท้ายออกมาในวันพฤหัสบดี (17ม.ค.) เมื่อเขาจัดส่งคณะกรรมการจำนวน 10 คนซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากพรรคพีพีพี ตลอดจนตัวแทนของพรรคและกลุ่มการเมืองอื่นๆ ที่ร่วมอยู่ในกลุ่มพันธมิตรพรรครัฐบาล ไปเจรจาหารือกับ กอดรี โดยพวกเขามีภาระหน้าที่ในการหาทางหลีกเลี่ยงให้พ้นออกจากวิกฤตการเมือง และสลายการชุมนุมประท้วงซึ่งได้สร้างแรงกดดันอย่างมากมายต่อรัฐบาล
เหล่านักวิเคราะห์ในท้องถิ่นเชื่อว่า การเจรจากันคราวนี้ซึ่งจัดขึ้นในย่าน ดี-โชว์ค (D-Chowk) อันเป็นสถานที่จัดการชุมนุมประท้วง โดยหารือกันอยู่ภายในตู้คอนเทนเนอร์ที่สามารถกันกระสุนได้นั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นการสร้างโอกาสที่จะรักษาหน้าให้แก่ทั้งฝ่ายรัฐบาลและทั้ง กอดรี ผู้ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับมายังปากีสถานภายหลังพำนักอาศัยอยู่หลายปีในแคนาดา
“กอดรี รู้ดีทีเดียวว่าเขากำลังตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก ภายหลังที่พวกพรรคฝ่ายค้านก็ปฏิเสธไม่เอาด้วยกับข้อเรียกร้องของเขา” สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานการแสดงความคิดเห็นของ ฮะซัน อัสคารี ริซวี (Hasan Askari Rizvi) นักวิเคราะห์การเมืองอิสระ “แล้วนี่ก็เป็นวิกฤตสำหรับรัฐบาลด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นพวกเขาจึงสามารถหาหนทางตรงกลางที่จะตกลงกันได้ เป็นต้นว่า การให้มีหลักประกันว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งจะดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งอย่างเคร่งครัดตามแนวทางของรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการรับประกันว่าจะได้ผู้สมัครที่ซื่อสัตย์สุจริต”
ขณะที่พวกที่วิพากษ์วิจารณ์ กอดรี ระบุว่า การที่ “ฟองสบู่เดินขบวนระยะไกล” แตกดังโพละเสียแล้วในตอนนี้ เป็นเพราะข้อตกลงที่สองฝ่ายทำกันนั้น แท้ที่จริงก็คือการทำให้ กอดรี กลายเป็นฝ่ายหนึ่งในกลุ่มพันธมิตรพรรครัฐบาลไปเสียเลย และก็เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีรักษาการขึ้นมาก่อนหน้าการจัดการเลือกตั้ง แล้วมันยังเป็นการแผ้วถางสร้างทางลงจากเวทีอย่างมีเกียรติให้แก่กอดรี ผู้ซึ่งปฏิเสธหนักแน่นต่อข่าวลืออันหนาหูตามสื่อต่างๆ ที่ว่าเขาได้รับการหนุนหลังจากฝ่ายทหารของปากีสถาน
กอดรี และพวกผู้สนับสนุนของเขา เริ่มต้นเปิดฉากการเดินขบวนระยะไกลของพวกเขาจากเมืองละฮอร์ เมื่อคืนวันที่ 13 มกราคม และมาถึงกรุงอิสลามาบัดในวันรุ่งขึ้น การประจันหน้ากันระหว่างรัฐบาลกับพวกผู้ประท้วงคราวนี้ได้เกิดการหักมุมพลิกผันหลายครั้งหลายครา ในวันพุธ (16 ม.ค.) รัฐบาลประกาศว่า กฎบัตรข้อเรียกร้องต่างๆ ของ กอดรี เป็นสิ่งที่ขัดรัฐธรรมนูญ ขณะที่พวกพรรคการเมืองใหญ่ๆ ของประเทศ ทั้งที่ร่วมอยู่ในคณะรัฐบาลผสมชุดปัจจุบันและที่เป็นฝ่ายค้าน ต่างจับมือเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการออกมาให้คำมั่นสัญญาว่า จะต่อสู้กับแผนกโลบายทุกๆ อย่างที่มุ่งจะชะลอการเลือกตั้ง และสร้างความชะงักงันให้แก่กระบวนการตามระบอบประชาธิปไตย
แม้กระทั่งพรรคปากีสถาน เตห์ริค-อี-อินซาอัฟ (Pakistan Tehrik-e-Insaaf หรือ PTI) ที่นำโดย อิมรอน ข่าน (Imran Khan) ก็ยังต้องกลับหลังหันมาวิพากษ์วิจารณ์วาระของ กอดรี การชุมนุมเดินขบวนประท้วงคราวนี้มาถึงจุดหลอมละลายในวันพุธ ภายหลังจากพรรคการเมืองทั้งหมด, ตลอดจนภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน ล้วนแล้วแต่ดูเหมือนจะคัดค้านวาระของ กอดรี และประทับตราข้อเรียกร้องของเขาว่าขัดรัฐธรรมนูญ
เดลิไทมส์ (Daily Times) หนังสือพิมพ์ชั้นนำของปากีสถาน เขียนวิจารณ์เอาไว้ดังนี้: “ถึงแม้ประชาชนชาวปากีสถานอาจจะชอบหรืออาจจะไม่ชอบผลงานของคณะรัฐบาลต่างๆ ที่ครองอำนาจอยู่ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาก็ตามที แต่ก็มีเพียงพวกที่ไม่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารอะไรเลย และพวกบ้าบิ่นมุทะลุซึ่งปราศจากความเข้าใจแม้เพียงน้อยนิดเกี่ยวกับอดีตของเราเท่านั้น ที่ต้องการโยนทารกน้อยแห่งประชาธิปไตยทิ้งไปพร้อมๆ กับรัฐบาลเหล่านี้ “วิกฤต” ที่ความอัปมงคลพวกนี้ก่อให้เกิดขึ้นมา ถูกผลักเคลื่อนออกไปอยู่ข้างๆ พร้อมๆ กัน และข้อเรียกร้องของ กอดรี ก็เผยให้เห็นมือที่อยู่เบื้องหลังของเขา ทั้งนี้ก็เหมือนดังที่เคยเป็นมาในอดีต เขาต้องการให้ฝ่ายทหารและฝ่ายตุลาการเป็นผู้ทำความตกลงกันเพื่อกำหนดชะตากรรมของประเทศชาติ ถึงแม้สถาบันเหล่านี้จะทรงอำนาจมากสักเพียงใดก็ตาม แต่นี่ย่อมมิใช่ขอบเขตแห่งอำนาจของพวกเขา อีกทั้งมิได้สอดคล้องกับหลักการทางรัฐธรรมนูญหรือหลักการทางประชาธิปไตยใดๆ ทั้งสิ้น คำเตือนจากรัฐบาลเมื่อวันพุธที่ว่า กำลังจะเกิดการโจมตีแบบก่อการร้ายเล่นงานการชุมนุมประท้วงคราวนี้ ได้จุดประกายให้เกิดข่าวลือคาดเก็งกันว่า อะไรบางอย่างที่เลวร้ายอย่างที่สุดอาจบังเกิดขึ้น ณ ย่าน ดี-โชว์ค (D-Chowk) ย่านศูนย์กลางการบริหารปกครอง (ในกรุงอิสลามาบัด) ซึ่งถูกทำให้ดูเสมือนกับเป็นจัตุรัสตอห์รีร์ (Tahrir Square) ของกรุงไคโร (ประเทศอียิปต์) เมื่อมีผู้เดินขบวนจำนวนนับพันนับหมื่นคนเข้าไปชุมนุมกัน การปรากฏตัวของผู้เดินขบวนเลือดร้อนระอุเหล่านี้ ก็ทำให้เกิดความวิตกห่วงใยขึ้นเช่นเดียวกัน ในเรื่องความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงจนกระทั่งนำไปสู่การล่มสลายของระเบียบกฎหมายในเขตเมืองหลวงของประเทศ และในที่สุดแล้วก็จะนำมาซึ่งการเข้าแทรกแซงของฝ่ายทหาร”
เรื่องการปฏิรูประบบการเลือกตั้ง ถูกมองว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งส่วนหนึ่งของข้อตกลงกันในคราวนี้ ถ้าหากว่าก่อนการเลือกตั้ง ไม่มีการปฏิรูปอย่างกว้างขวางทั่วถึงในเรื่องนี้แล้ว พวกหนีภาษีฉ้อฉล, พวกชักดาบเบี้ยวหนี้, และพวกใช้ใบปริญญาปลอมทั้งหลาย ก็จะสามารถสมัครลงแข่งขันในการเลือกตั้งและมีโอกาสได้เข้าไปอยู่ในรัฐสภา ถึงแม้เรื่องนี้เป็นความคิดเห็นที่เสนอโดยกอดรี แต่ข้อเรียกร้องของเขาเฉพาะในส่วนนี้ก็ได้รับความสนับสนุนจากประชาชนผู้มีเหตุมีผลทั้งหลาย ไม่ว่าเขาจะได้รับการหนุนหลังจากกลุ่มผู้ทรงอำนาจในฝ่ายทหารหรือจากฝ่ายอื่นใดก็ตามที ข้อเรียกร้องจำนวนไม่น้อยของเขาก็เป็นข้อเรียกร้องของประชาชนทั่วไปด้วย
ผู้ออกเสียงในปากีสถานต่างรู้สึกไม่ไว้วางใจคณะรัฐบาลผสมชุดปัจจุบัน ซึ่งขึ้นครองอำนาจภายหลังการเลือกตั้งเมื่อปี 2008 เนื่องจากรัฐบาลชุดนี้ไม่ได้ทำอะไรเป็นเนื้อเป็นหนังเลยนอกจากการสร้างผลงานฉาวโฉ่ในเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น ธรรมาภิบาลที่เลวทรามได้กัดกร่อนประสิทธิภาพของพวกรัฐวิสาหกิจรายสำคัญๆ ขณะที่ปัญหาการไม่ปฏิบัติตามระเบียบกฎหมาย ก็ส่งผลเสียในรูปของการหนีหายของเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
วิกฤตกระแสไฟฟ้ายังยิ่งเลวร้ายลงทุกที โหมกระพือความโกรธกริ้วของสาธารณชนและกระทบกระเทือนการผลิตทางอุตสาหกรรม มีความเห็นต้องตรงกันโดยทั่วไปว่า ศูนย์กลางการเงินและธุรกิจของประเทศอย่างนครการาจี กำลังถูกเปลี่ยนไปเป็นศูนย์กลางของอาชญากรรม ซึ่งเต็มไปด้วยนักขู่กรรโชก และแก๊งมาเฟียติดอาวุธคือผู้ตัดสินใจเรื่องต่างๆ อีกทั้งยึดเอาเมืองแห่งนี้ทั้งเมืองไว้เป็นตัวประกัน
การปฏิรูประบบการเลือกตั้ง กลายเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งสำหรับการประคับประคองระบอบประชาธิปไตยอันแท้จริง ในประเทศซึ่งถึงแม้การเข้าแทรกแซงของฝ่ายทหาร ได้ช่วยให้ปลอดพ้นจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งทั้งไร้ประสิทธิภาพ, ไร้ความสามารถ, และทุจริตคอร์รัปชั่น แต่มันก็กลายเป็นตัวขัดขวางความก้าวหน้าของกระบวนการแห่งระบอบประชาธิปไตย
ไซเอด ฟาซล์-อี-ไฮเดอร์ ( www.syedfazlehaider.com ) เป็นนักวิเคราะห์ทางด้านการพัฒนาในปากีสถาน เขาเขียนหนังสือเอาไว้หลายเล่ม เป็นต้นว่าเรื่อง The Economic Development of Balochistan ซึ่งตีพิมพ์ในเดือนพฤษภาคม 2004 สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ sfazlehaider05@yahoo.com