(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
US, China set for a year of surprises
By Brendan O'Reilly
04/01/2013
การเปลี่ยนถ่ายอำนาจที่บังเกิดขึ้นทั้งในสหรัฐฯและจีนเมื่อปี 2012 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้นำซึ่งกุมบังเหียนในแต่ละประเทศเป็นพวกที่มีแนวทางค่อนข้างสายกลาง แต่กระนั้นความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีที่ทรงความสำคัญที่สุดของโลกในปัจจุบัน ยังคงกำลังเพิ่มความตึงเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ ยุทธศาสตร์ทางการทหารของสหรัฐฯซึ่ง “ปักหมุด” เน้นหนักอยู่ที่เอเชีย ตลอดจนการที่สหรัฐฯสนับสนุนญี่ปุ่นในกรณีพิพาทหมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์/เซงกากุ มองดูโดดเด่นเตะตาว่าจะกลายเป็นสถานการณ์ที่อาจปะทุบานปลายร้ายแรงที่สุดในปี 2013 นี้ ทว่าเรายังควรคาดหมายว่าอาจจะได้เห็นการเดินนโยบายแบบน่าตื่นตะลึงอย่างอื่นๆ ด้วยจากทั้งสองฝ่าย
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
การที่รัฐบาลจีนยืนหยัดประณามสหรัฐฯเรื่อยมาว่า “สอดแทรกจุ้นจ้าน” ในกรณีพิพาทเหนือหมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์/เซงกากุ ในทะเลจีนตะวันออก และในประเด็นที่อเมริกาขายอาวุธให้แก่ไต้หวัน ก็เนื่องจากในสายตาของปักกิ่งแล้ว เรื่องเหล่านี้มิได้เป็นประเด็นทางระหว่างประเทศแต่อย่างใด ตรงกันข้าม มันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอธิปไตยของจีน ซึ่งถือเป็นประเด็นอันอ่อนไหวมาแต่ไหนแต่ไรแล้วในประวัติศาสตร์อันยาวนานของแดนมังกร เปรียบเทียบทัศนะของจีนในเรื่องนี้กับของอเมริกาแล้ว ถ้าหากถือว่าอเมริกามีส่วนได้ส่วนเสียอย่างถูกต้องชอบธรรมในการเข้ายุ่งเกี่ยวกับกรณีพิพาทเหล่านี้ มันก็จะต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องถูกต้องชอบธรรมพอๆ กันที่จีนจะเข้าไปพัวพันมีส่วนได้ส่วนเสียในการทะเลาะช่วงชิงดินแดนกันระหว่างสหรัฐฯกับเม็กซิโก (สมมุติว่าเกิดมีข้อพิพาทเช่นนี้ขึ้นมา) นั่นแหละ การเข้าเกี่ยวข้องพัวพันของฝ่ายอเมริกันในประเด็นเหล่านี้จึงถูกมองว่าไม่มีความจำเป็นอะไรเลย และเป็นเพียงความพยายามแบบปรปักษ์เพื่อบ่อนทำลายศักยภาพทั้งทางเศรษฐกิจ, การเมือง, และการทหาร ที่กำลังเติบโตขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ของจีนเท่านั้น
การที่บทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ทางการของจีนพูดพาดพิงถึง “ประเพณีในการสร้างศัตรูในจินตนาการ” ของอเมริกา เป็นการบ่งบอกให้ทราบกันอย่างชัดเจนเป็นพิเศษทีเดียว ศักยภาพของจีนที่จะท้าทายฐานะการเป็นผู้ครอบงำโลกของสหรัฐฯนั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปได้อย่างแท้จริง ไม่เหมือนกับลัทธิการก่อการร้ายที่ถูกอุปโลกน์ว่ามีการผนึกรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนหนึ่งเดียวตลอดทั่วโลก หรือภัยคุกคามแบบเก่าของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ส่งการปฏิวัติไปทั่วทั้งพิภพ ทั้งนี้รัฐบาลจีนกำลังส่งสียงเตือนคณะผู้นำอเมริกันให้ตระหนักและคำนึงถึงสิ่งที่พวกเขามุ่งมาดปรารถนา ประเทศจีนที่เจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและมีแรงจูงใจในทางการทหาร มองว่าตนเองเป็นพลังที่เข้าเผชิญหน้าฐานะความเป็นเจ้าโลกของสหรัฐฯ ประเทศจีนเช่นนี้ย่อมจะเป็นคู่แข่งที่ใหญ่โตมโหฬารยิ่งกว่าปรปักษ์อื่นๆ ที่สหรัฐฯเคยประสบมา
**แรงกดดันจากประชาชน **
ถ้อยคำโวหารแบบประจันหน้ากันทางการเมืองระหว่างสหรัฐฯกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเช่นนี้ ยังกำลังสะท้อนให้เห็นมากขึ้นในมติความคิดเห็นของประชาชนคนสามัญในทั้งสองประเทศอีกด้วย ตามการสำรวจที่จัดทำโดย โครงการพิวเพื่อการวัดทัศนคติทั่วโลก (Pew Global Attitudes Project) ปรากฏว่ามีประชาชนจีนเพียง 43% เท่านั้นที่มองสหรัฐฯในทางชื่นชม ต่ำลงมามากทีเดียวจากที่เคยอยู่ที่ 58% [4]
ผู้คนในจีนเวลานี้ 26% เต็มๆ ทีเดียว มีทัศนะต่อความสัมพันธ์จีน-อเมริกันว่า เป็นความสัมพันธ์แห่ง “การเป็นศัตรูกัน” สูงขึ้นจากที่เคยมีเพียงแค่ 8% เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ไม่ต้องสงสัยเลยว่าตัวเลขเหล่านี้คงได้รับอิทธิพลมากพอดูจากถ้อยคำจูงใจของประดาสื่อจีนที่อยู่ใต้การควบคุมของรัฐ อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงในอีกด้านหนึ่งก็คือ ความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯที่นำเอาทรัพย์สินทางการทหารอย่างมากมายไปประจำการใกล้ๆ ชายฝั่งของแดนมังกร ตลอดจนการที่วอชิงตันให้ความสนับสนุนญี่ปุ่น ย่อมจะถูกผู้คนภายในจีนมองว่าเป็นจุดยืนที่ก้าวร้าวรุกราน ไม่ว่าในขณะนั้นแดนมังกรจะอยู่ภายใต้ระบบการเมืองรูปแบบใดก็ตามที
ในเวลาเดียวกัน โครงการพิวเพื่อการวัดทัศนคติทั่วโลก ก็ค้นพบเช่นกันว่า ชาวอเมริกันจำนวนเพิ่มขึ้นบังเกิดความระแวงสงสัยและรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับจีน ปี 2012 ที่ผ่านมาได้เห็นการปรับเปลี่ยนอย่างสำคัญมากจากการที่ชาวอเมริกาชื่นชอบปรารถนาให้มี “ความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นกับประเทศจีน” กลายมาเป็นความต้องการให้ "แสดงความแข็งกร้าวยิ่งขึ้นกับประเทศจีน” โดยสิ่งที่ชาวอเมริกันระบุว่ารู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับจีนมากที่สุด ได้แก่ ความวิตกกังวลในทางเศรษฐกิจ –เป็นต้นว่า การที่จีนเป็นผู้ถือครองตราสารหนี้ภาคสาธารณะของอเมริกาเอาไว้เป็นจำนวนมหาศาล และการที่คนอเมริกันเข้าใจว่าสหรัฐฯกำลังสูญเสียตำแหน่งงานต่างๆ ไปให้แก่จีน ขณะที่ประเด็นอย่างเช่น สิทธิมนุษยชน และสมรรถนะทางการทหารที่กำลังเพิ่มพูนขึ้นของจีน กลับเป็นที่วิตกกังวลของประชากรสหรัฐฯไม่ถึงครึ่งหนึ่ง
แน่นอนทีเดียวว่า การที่สหรัฐฯเพิ่มการประจำการทางทหารในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกนั้น ไม่สามารถช่วยให้เศรษฐกิจของอเมริกากระเตื้องขึ้นมาได้สักเท่าใดนักหรอก ขณะที่ความชะงักงันทางเศรษฐกิจและภาวะทางตันในทางการเมือง (ความขัดแย้งระหว่างพรรคเดโมแครตที่เป็นฝ่ายรัฐบาลและคุมวุฒิสภา กับพรรครีพับลิกันที่เป็นผู้คุมสภาผู้แทนราษฎร –ผู้แปล) กลายเป็นภัยคุกคามที่นำพาให้อเมริกายังคงต้องไต่ลัดเลาะอยู่ตรงปากขอบแห่ง “หน้าผาการคลัง” (fiscal cliff) อย่างน่ากลัวว่าจะตกกลิ้งโคโร่ลงมาอยู่นี้ เครื่องบ่งชี้ต่างๆ ทางด้านเศรษฐกิจมหภาคของจีนกลับส่งสัญญาณในทางสดใสอย่างน่าประหลาดใจ แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าจีนนั้นปราศจากปัญหาภายในประเทศของตนเอง แท้ที่จริงแล้วประเด็นเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น และการเกิดภาวะหมดความอดทนมากขึ้นเรื่อยๆ กับเรื่องการดำเนินการปฏิรูปทางการเมืองภายในประเทศ จะกลายเป็นจุดโฟกัสสำคัญที่สุดของเหล่าผู้นำชุดใหม่ของจีนตลอดช่วงปี 2013 นี้ทีเดียว
พลวัตแห่งการเผชิญหน้ากันระหว่างสหรัฐฯกับจีนที่ค่อยๆ พัฒนาคลี่คลายไปอย่างช้าๆ น่าที่จะดำเนินต่อเนื่องต่อไปอีกในอนาคตอันใกล้นี้ ถ้าหากไม่เกิดการคำนวณผิดพลาดอย่างร้ายแรงที่สุดในทะเลจีนตะวันออกขึ้นมาแล้ว ทุกๆ ฝ่ายก็น่าที่จะแสดงท่าทีของพวกตนออกมาอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยไม่ถึงกับเกิดความขัดแย้งที่ลุกลามบานปลายกลายเป็นสงคราม กระนั้นก็ตาม ในขณะที่ดุลแห่งอำนาจระหว่างสหรัฐฯกับจีนกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างน่าตื่นใจอยู่นี้ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ฝ่ายจีนจะต้องคิดหาทางผลักดันเพื่อเอาคืนพรมแดนแห่งเขตอิทธิพลของตน อย่างน้อยที่สุดก็ในอาณาบริเวณต่างๆ ซึ่งปักกิ่งอ้างสิทธิว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนอันมิอาจแบ่งแยกได้ของตนเอง
สิ่งซึ่งมีศักยภาพที่จะกลายเป็นองค์ประกอบสร้างความไร้เสถียรภาพขึ้นในพลวัตจีน-อเมริกันนี้ ย่อมได้แก่ เศรษฐกิจของฝ่ายอเมริกา และโครงสร้างทางการเมืองของฝ่ายจีน ในกรณีที่เกิดวิกฤตทางการคลังและทางเศรษฐกิจอย่างล้ำลึกและยืดเยื้อขึ้นในอเมริกาขึ้นมา คาดหมายได้ว่าสหรัฐฯจะตัดลดหดถอยการปรากฏตัวทางทหารในทั่วโลกของตน ขณะที่ความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้เมื่อพิจารณาในแง่มุมทางการเมืองแล้วย่อมเป็นเรื่องที่กระทำได้ลำบาก แต่เมื่อเวลาผ่านไป มันก็น่าจะกลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้มากขึ้นเรื่อยๆ การจัดวางกำลังทหารอย่างสอดคล้องกับความเป็นจริงมากยิ่งขึ้นของสหรัฐฯ สามารถที่จะบรรเทาความหวาดกลัวของฝ่ายจีนที่ว่าจะถูกปิดล้อม และดังนั้นในทางเป็นจริงก็น่าจะช่วยปรับปรุงสายสัมพันธ์ทวิภาคีให้กระเตื้องดีขึ้น
ในอีกด้านหนึ่ง ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศของจีน เป็นปัจจัยที่อาจผลักดันให้จีนกับสหรัฐฯเข้าสู่การเผชิญหน้ากันระดับภูมิภาค และกระทั่งในระดับโลก อย่างฉับพลันกะทันหัน พวกผู้นำจีนนั้นจะพึ่งพาอาศัยความขัดแย้งทางการทหาร ก็เพียงเมื่อต้องการรวบรวมประชาชนของตนเองให้สามัคคีกันในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในอย่างใหญ่โตมโหฬารเท่านั้น แม้กระทั่งในการดำเนินกระบวนการปฏิรูประบบการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ชนิดซึ่งพยายามกระทำกันอย่างระมัดระวังแล้ว ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่จะได้เห็นประเทศจีนศุ้วแสดงท่าทียืนกรานแข็งกร้าวมากขึ้นบนเวทีระหว่างประเทศ
เมื่อปี 2012 เราได้เห็นสหรัฐฯ “ปักหลุด” เน้นหนักมาที่เอเชีย และการบานปลายยกระดับความรุนแรงอย่างไม่คาดหมายของกรณีพิพาททางดินแดนที่ดำรงมานมนานแล้วในทะเลจีนตะวันออก สำหรับปี 2013 เราก็อาจจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายอันสร้างความตื่นตะลึงเพิ่มมากขึ้นอีก มหาอำนาจทั้งสองอาจจะต้องยุ่งวุ่นวายอยู่กับความวิตกกังวลภายในประเทศของตนเองก็จริงอยู่ แต่ในเมื่อแนวโน้มที่จีนเร่งรัดแซงหน้าสหรัฐฯขึ้นไปเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ยังคงดำเนินต่อไปเช่นนี้ เราก็ควรต้องคาดหมายเอาไว้ว่าจะได้เผชิญกับสิ่งที่นอกเหนือความคาดหมาย
**หมายเหตุ**
[1] ดู Abe's foreign policy places importance on US to counter China, Asahi Shimbun, Dec 31, 2012.
[2] ดู Double blow to ties, China Daily, Dec 24, 2012.
[3] ดู Injecting more 'positive energy' into China-US relations, People's Daily, Dec 27, 2012.
[4] ดู American, Chinese Publics Increasingly Wary of the Other, Pew Research Center, Nov 1, 2012.
เบรนดัน พี โอไรลีย์ เป็นนักเขียนและนักการศึกษาที่มาจากเมืองซีแอตเติล, สหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันพำนักอยู่ในจีน เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Transcendent Harmony
US, China set for a year of surprises
By Brendan O'Reilly
04/01/2013
การเปลี่ยนถ่ายอำนาจที่บังเกิดขึ้นทั้งในสหรัฐฯและจีนเมื่อปี 2012 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้นำซึ่งกุมบังเหียนในแต่ละประเทศเป็นพวกที่มีแนวทางค่อนข้างสายกลาง แต่กระนั้นความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีที่ทรงความสำคัญที่สุดของโลกในปัจจุบัน ยังคงกำลังเพิ่มความตึงเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ ยุทธศาสตร์ทางการทหารของสหรัฐฯซึ่ง “ปักหมุด” เน้นหนักอยู่ที่เอเชีย ตลอดจนการที่สหรัฐฯสนับสนุนญี่ปุ่นในกรณีพิพาทหมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์/เซงกากุ มองดูโดดเด่นเตะตาว่าจะกลายเป็นสถานการณ์ที่อาจปะทุบานปลายร้ายแรงที่สุดในปี 2013 นี้ ทว่าเรายังควรคาดหมายว่าอาจจะได้เห็นการเดินนโยบายแบบน่าตื่นตะลึงอย่างอื่นๆ ด้วยจากทั้งสองฝ่าย
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
การที่รัฐบาลจีนยืนหยัดประณามสหรัฐฯเรื่อยมาว่า “สอดแทรกจุ้นจ้าน” ในกรณีพิพาทเหนือหมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์/เซงกากุ ในทะเลจีนตะวันออก และในประเด็นที่อเมริกาขายอาวุธให้แก่ไต้หวัน ก็เนื่องจากในสายตาของปักกิ่งแล้ว เรื่องเหล่านี้มิได้เป็นประเด็นทางระหว่างประเทศแต่อย่างใด ตรงกันข้าม มันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอธิปไตยของจีน ซึ่งถือเป็นประเด็นอันอ่อนไหวมาแต่ไหนแต่ไรแล้วในประวัติศาสตร์อันยาวนานของแดนมังกร เปรียบเทียบทัศนะของจีนในเรื่องนี้กับของอเมริกาแล้ว ถ้าหากถือว่าอเมริกามีส่วนได้ส่วนเสียอย่างถูกต้องชอบธรรมในการเข้ายุ่งเกี่ยวกับกรณีพิพาทเหล่านี้ มันก็จะต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องถูกต้องชอบธรรมพอๆ กันที่จีนจะเข้าไปพัวพันมีส่วนได้ส่วนเสียในการทะเลาะช่วงชิงดินแดนกันระหว่างสหรัฐฯกับเม็กซิโก (สมมุติว่าเกิดมีข้อพิพาทเช่นนี้ขึ้นมา) นั่นแหละ การเข้าเกี่ยวข้องพัวพันของฝ่ายอเมริกันในประเด็นเหล่านี้จึงถูกมองว่าไม่มีความจำเป็นอะไรเลย และเป็นเพียงความพยายามแบบปรปักษ์เพื่อบ่อนทำลายศักยภาพทั้งทางเศรษฐกิจ, การเมือง, และการทหาร ที่กำลังเติบโตขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ของจีนเท่านั้น
การที่บทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ทางการของจีนพูดพาดพิงถึง “ประเพณีในการสร้างศัตรูในจินตนาการ” ของอเมริกา เป็นการบ่งบอกให้ทราบกันอย่างชัดเจนเป็นพิเศษทีเดียว ศักยภาพของจีนที่จะท้าทายฐานะการเป็นผู้ครอบงำโลกของสหรัฐฯนั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปได้อย่างแท้จริง ไม่เหมือนกับลัทธิการก่อการร้ายที่ถูกอุปโลกน์ว่ามีการผนึกรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนหนึ่งเดียวตลอดทั่วโลก หรือภัยคุกคามแบบเก่าของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ส่งการปฏิวัติไปทั่วทั้งพิภพ ทั้งนี้รัฐบาลจีนกำลังส่งสียงเตือนคณะผู้นำอเมริกันให้ตระหนักและคำนึงถึงสิ่งที่พวกเขามุ่งมาดปรารถนา ประเทศจีนที่เจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและมีแรงจูงใจในทางการทหาร มองว่าตนเองเป็นพลังที่เข้าเผชิญหน้าฐานะความเป็นเจ้าโลกของสหรัฐฯ ประเทศจีนเช่นนี้ย่อมจะเป็นคู่แข่งที่ใหญ่โตมโหฬารยิ่งกว่าปรปักษ์อื่นๆ ที่สหรัฐฯเคยประสบมา
**แรงกดดันจากประชาชน **
ถ้อยคำโวหารแบบประจันหน้ากันทางการเมืองระหว่างสหรัฐฯกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเช่นนี้ ยังกำลังสะท้อนให้เห็นมากขึ้นในมติความคิดเห็นของประชาชนคนสามัญในทั้งสองประเทศอีกด้วย ตามการสำรวจที่จัดทำโดย โครงการพิวเพื่อการวัดทัศนคติทั่วโลก (Pew Global Attitudes Project) ปรากฏว่ามีประชาชนจีนเพียง 43% เท่านั้นที่มองสหรัฐฯในทางชื่นชม ต่ำลงมามากทีเดียวจากที่เคยอยู่ที่ 58% [4]
ผู้คนในจีนเวลานี้ 26% เต็มๆ ทีเดียว มีทัศนะต่อความสัมพันธ์จีน-อเมริกันว่า เป็นความสัมพันธ์แห่ง “การเป็นศัตรูกัน” สูงขึ้นจากที่เคยมีเพียงแค่ 8% เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ไม่ต้องสงสัยเลยว่าตัวเลขเหล่านี้คงได้รับอิทธิพลมากพอดูจากถ้อยคำจูงใจของประดาสื่อจีนที่อยู่ใต้การควบคุมของรัฐ อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงในอีกด้านหนึ่งก็คือ ความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯที่นำเอาทรัพย์สินทางการทหารอย่างมากมายไปประจำการใกล้ๆ ชายฝั่งของแดนมังกร ตลอดจนการที่วอชิงตันให้ความสนับสนุนญี่ปุ่น ย่อมจะถูกผู้คนภายในจีนมองว่าเป็นจุดยืนที่ก้าวร้าวรุกราน ไม่ว่าในขณะนั้นแดนมังกรจะอยู่ภายใต้ระบบการเมืองรูปแบบใดก็ตามที
ในเวลาเดียวกัน โครงการพิวเพื่อการวัดทัศนคติทั่วโลก ก็ค้นพบเช่นกันว่า ชาวอเมริกันจำนวนเพิ่มขึ้นบังเกิดความระแวงสงสัยและรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับจีน ปี 2012 ที่ผ่านมาได้เห็นการปรับเปลี่ยนอย่างสำคัญมากจากการที่ชาวอเมริกาชื่นชอบปรารถนาให้มี “ความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นกับประเทศจีน” กลายมาเป็นความต้องการให้ "แสดงความแข็งกร้าวยิ่งขึ้นกับประเทศจีน” โดยสิ่งที่ชาวอเมริกันระบุว่ารู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับจีนมากที่สุด ได้แก่ ความวิตกกังวลในทางเศรษฐกิจ –เป็นต้นว่า การที่จีนเป็นผู้ถือครองตราสารหนี้ภาคสาธารณะของอเมริกาเอาไว้เป็นจำนวนมหาศาล และการที่คนอเมริกันเข้าใจว่าสหรัฐฯกำลังสูญเสียตำแหน่งงานต่างๆ ไปให้แก่จีน ขณะที่ประเด็นอย่างเช่น สิทธิมนุษยชน และสมรรถนะทางการทหารที่กำลังเพิ่มพูนขึ้นของจีน กลับเป็นที่วิตกกังวลของประชากรสหรัฐฯไม่ถึงครึ่งหนึ่ง
แน่นอนทีเดียวว่า การที่สหรัฐฯเพิ่มการประจำการทางทหารในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกนั้น ไม่สามารถช่วยให้เศรษฐกิจของอเมริกากระเตื้องขึ้นมาได้สักเท่าใดนักหรอก ขณะที่ความชะงักงันทางเศรษฐกิจและภาวะทางตันในทางการเมือง (ความขัดแย้งระหว่างพรรคเดโมแครตที่เป็นฝ่ายรัฐบาลและคุมวุฒิสภา กับพรรครีพับลิกันที่เป็นผู้คุมสภาผู้แทนราษฎร –ผู้แปล) กลายเป็นภัยคุกคามที่นำพาให้อเมริกายังคงต้องไต่ลัดเลาะอยู่ตรงปากขอบแห่ง “หน้าผาการคลัง” (fiscal cliff) อย่างน่ากลัวว่าจะตกกลิ้งโคโร่ลงมาอยู่นี้ เครื่องบ่งชี้ต่างๆ ทางด้านเศรษฐกิจมหภาคของจีนกลับส่งสัญญาณในทางสดใสอย่างน่าประหลาดใจ แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าจีนนั้นปราศจากปัญหาภายในประเทศของตนเอง แท้ที่จริงแล้วประเด็นเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น และการเกิดภาวะหมดความอดทนมากขึ้นเรื่อยๆ กับเรื่องการดำเนินการปฏิรูปทางการเมืองภายในประเทศ จะกลายเป็นจุดโฟกัสสำคัญที่สุดของเหล่าผู้นำชุดใหม่ของจีนตลอดช่วงปี 2013 นี้ทีเดียว
พลวัตแห่งการเผชิญหน้ากันระหว่างสหรัฐฯกับจีนที่ค่อยๆ พัฒนาคลี่คลายไปอย่างช้าๆ น่าที่จะดำเนินต่อเนื่องต่อไปอีกในอนาคตอันใกล้นี้ ถ้าหากไม่เกิดการคำนวณผิดพลาดอย่างร้ายแรงที่สุดในทะเลจีนตะวันออกขึ้นมาแล้ว ทุกๆ ฝ่ายก็น่าที่จะแสดงท่าทีของพวกตนออกมาอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยไม่ถึงกับเกิดความขัดแย้งที่ลุกลามบานปลายกลายเป็นสงคราม กระนั้นก็ตาม ในขณะที่ดุลแห่งอำนาจระหว่างสหรัฐฯกับจีนกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างน่าตื่นใจอยู่นี้ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ฝ่ายจีนจะต้องคิดหาทางผลักดันเพื่อเอาคืนพรมแดนแห่งเขตอิทธิพลของตน อย่างน้อยที่สุดก็ในอาณาบริเวณต่างๆ ซึ่งปักกิ่งอ้างสิทธิว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนอันมิอาจแบ่งแยกได้ของตนเอง
สิ่งซึ่งมีศักยภาพที่จะกลายเป็นองค์ประกอบสร้างความไร้เสถียรภาพขึ้นในพลวัตจีน-อเมริกันนี้ ย่อมได้แก่ เศรษฐกิจของฝ่ายอเมริกา และโครงสร้างทางการเมืองของฝ่ายจีน ในกรณีที่เกิดวิกฤตทางการคลังและทางเศรษฐกิจอย่างล้ำลึกและยืดเยื้อขึ้นในอเมริกาขึ้นมา คาดหมายได้ว่าสหรัฐฯจะตัดลดหดถอยการปรากฏตัวทางทหารในทั่วโลกของตน ขณะที่ความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้เมื่อพิจารณาในแง่มุมทางการเมืองแล้วย่อมเป็นเรื่องที่กระทำได้ลำบาก แต่เมื่อเวลาผ่านไป มันก็น่าจะกลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้มากขึ้นเรื่อยๆ การจัดวางกำลังทหารอย่างสอดคล้องกับความเป็นจริงมากยิ่งขึ้นของสหรัฐฯ สามารถที่จะบรรเทาความหวาดกลัวของฝ่ายจีนที่ว่าจะถูกปิดล้อม และดังนั้นในทางเป็นจริงก็น่าจะช่วยปรับปรุงสายสัมพันธ์ทวิภาคีให้กระเตื้องดีขึ้น
ในอีกด้านหนึ่ง ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศของจีน เป็นปัจจัยที่อาจผลักดันให้จีนกับสหรัฐฯเข้าสู่การเผชิญหน้ากันระดับภูมิภาค และกระทั่งในระดับโลก อย่างฉับพลันกะทันหัน พวกผู้นำจีนนั้นจะพึ่งพาอาศัยความขัดแย้งทางการทหาร ก็เพียงเมื่อต้องการรวบรวมประชาชนของตนเองให้สามัคคีกันในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในอย่างใหญ่โตมโหฬารเท่านั้น แม้กระทั่งในการดำเนินกระบวนการปฏิรูประบบการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ชนิดซึ่งพยายามกระทำกันอย่างระมัดระวังแล้ว ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่จะได้เห็นประเทศจีนศุ้วแสดงท่าทียืนกรานแข็งกร้าวมากขึ้นบนเวทีระหว่างประเทศ
เมื่อปี 2012 เราได้เห็นสหรัฐฯ “ปักหลุด” เน้นหนักมาที่เอเชีย และการบานปลายยกระดับความรุนแรงอย่างไม่คาดหมายของกรณีพิพาททางดินแดนที่ดำรงมานมนานแล้วในทะเลจีนตะวันออก สำหรับปี 2013 เราก็อาจจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายอันสร้างความตื่นตะลึงเพิ่มมากขึ้นอีก มหาอำนาจทั้งสองอาจจะต้องยุ่งวุ่นวายอยู่กับความวิตกกังวลภายในประเทศของตนเองก็จริงอยู่ แต่ในเมื่อแนวโน้มที่จีนเร่งรัดแซงหน้าสหรัฐฯขึ้นไปเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ยังคงดำเนินต่อไปเช่นนี้ เราก็ควรต้องคาดหมายเอาไว้ว่าจะได้เผชิญกับสิ่งที่นอกเหนือความคาดหมาย
**หมายเหตุ**
[1] ดู Abe's foreign policy places importance on US to counter China, Asahi Shimbun, Dec 31, 2012.
[2] ดู Double blow to ties, China Daily, Dec 24, 2012.
[3] ดู Injecting more 'positive energy' into China-US relations, People's Daily, Dec 27, 2012.
[4] ดู American, Chinese Publics Increasingly Wary of the Other, Pew Research Center, Nov 1, 2012.
เบรนดัน พี โอไรลีย์ เป็นนักเขียนและนักการศึกษาที่มาจากเมืองซีแอตเติล, สหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันพำนักอยู่ในจีน เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Transcendent Harmony