(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
The Pentagon Is Ripe for Reduction
By Miriam Pemberton
12/12/2012
เวลานี้สหรัฐฯกำลังอยู่ตรงขอบๆ ของจังหวะเวลาแห่งประวัติศาสตร์อันสำคัญยิ่ง สหรัฐฯกำลังเริ่มต้นชะลอความเร็วเพื่อหลุดออกจากห้วงเวลาแห่งสงครามครั้งยาวนานที่สุดของประเทศ จังหวะเวลาเช่นนี้แหละย่อมเหมาะสมแก่การตัดลดงบประมาณด้านกลาโหม อันที่จริงแล้ว ส่วนหนึ่งของบรรดามาตรการใน “หน้าผาการคลัง” ที่วอชิงตันกำลังพยายามต่อรองกันเพื่อหลบหลีกให้ผ่านพ้นไม่ต้องดำเนินการนั้น ก็เป็นเรื่องการตัดลดค่าใช้จ่ายทางทหารนี้เอง ถึงแม้เป็นเรื่องแน่นอนทีเดียวว่า การตัดลดค่าใช้จ่ายด้านกลาโหม โดยที่ปราศจากข้อตกลงใหม่ใดๆ ในการสร้างความสมดุลทางงบประมาณโดยองค์รวมแล้ว ย่อมเป็นวิธีการที่เลวในการบริหารกิจการรัฐบาล
เวลานี้สหรัฐฯกำลังอยู่ตรงบริเวณชายขอบของจังหวะเวลาแห่งประวัติศาสตร์อันสำคัญมากอีกคำรบหนึ่ง สหรัฐฯกำลังเริ่มต้นชะลอความเร็วเพื่อหลุดออกมาจากห้วงเวลาแห่งสงครามครั้งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ และสหรัฐฯกำลังจะหมุนตัวกลับภายหลังจากที่ได้เพิ่มการใช้จ่ายให้แก่กระทรวงกลาโหมอย่างมากมายมาเป็นเวลานานถึง 13 ปีแล้ว
มันไม่ใช่เป็นเพียงระยะเวลาอันยาวนานเหลือเกินในความคิดของพวกผู้สนับสนุนเรียกร้องให้ทำการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้มาเนิ่นนานเต็มทีแล้วเท่านั้น แม้กระทั่ง วิลเลียม ลินน์ (William Lynn) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ผู้ซึ่งปัจจุบันทำหน้าที่เป็นนักล็อบบี้ให้แก่ เรย์ธีออน (Raytheon) บริษัทรับเหมาด้านการทหารรายใหญ่ ก็ยังพูดปรียบเทียบช่วงเวลาปัจจุบัน กับช่วงหลายๆ ปีภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ตลอดจนช่วงหลายๆ ปีภายหลังสงครามเกาหลี, ภายหลังสงครามเวียดนาม, และภายหลังสงครามเย็น ในระหว่างที่เขาไปกล่าวปราศรัยต่อสถาบันทหารเรือสหรัฐฯ (US Naval Institute) เมื่อเร็วๆ นี้ พร้อมกันนั้นเขาชี้ด้วยว่าสหรัฐฯกำลังจะมีการตัดลดงบประมาณทางทหารกันครั้งใหญ่ในเวลาไม่ช้าไม่นานนี้
ทว่านี่ไม่ได้เป็น “ชะง่อนผา” (precipice) ซึ่งกำลังเป็นที่สนอกสนใจวิตกทุกข์ร้อนกันอยู่ในวอชิงตันเวลานี้หรอก ตรงกันข้าม วลีซึ่งกำลังพูดกันติดปากกำลังได้ยินกันติดหู คือสิ่งที่เรียกขานกันว่า “หน้าผาการคลัง” (fiscal cliff) อันหมายถึงแพกเกจมาตรการขึ้นภาษี และตัดลดค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ ลงมาซึ่งกำหนดบังคับให้ต้องเริ่มดำเนินการกันตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2013 เป็นต้นไป ถ้าหากรัฐสภายังคงไม่สามารถตกลงกันเกี่ยวกับวิธีการที่จะหยุดยั้งการปฏิบัติตามแพกเกจดังกล่าวนี้
อันที่จริงแล้ว การตัดลดงบประมาณกระทรวงกลาโหม ก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนการ “หน้าผาการคลัง” ที่กำลังพูดจากันอย่างหน้าดำคร่ำเครียดนี่แหละ แต่คุณจะแทบไม่มีโอกาสได้รับทราบเรื่องนี้กันหรอก เนื่องจากสิ่งที่พูดจากันส่วนใหญ่แล้วเป็นเกี่ยวกับ “การปฏิรูป” ภาษี (ซึ่งรวมไปถึงการลดภาษีให้แก่คนร่ำรวยและพวกบริษัทต่างๆ ด้วย) และ “การปฏิรูปด้านสิทธิประโยชน์ต่างๆ” (reforming entitlements ) ที่เป็นวลีสำหรับใช้กลบเกลื่อนการบั่นทอนมาตรการทางด้านการประกันสังคมให้อ่อนแอลง อย่างไรก็ตาม ถ้าหากไม่สามารถจัดทำข้อตกลงฉบับใหม่กันได้แล้ว เริ่มตั้งแต่ปีหน้า สหรัฐฯก็จะใช้จ่ายด้านการทหารลดน้อยลงไปถึงราวปีละ 50,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียว
รัฐมนตรีกลาโหม เลียน เพเนตตา ของสหรัฐฯ ได้เรียกการตัดลดเช่นนี้ว่าเป็นเสมือน “วันสิ้นโลก” แต่มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ หรือ? การตัดลดดังกล่าวนี้ซึ่งจะต้องดำเนินไปเป็นเวลา 10 ปี โดยที่ตัวเลขจะต้องมีการปรับให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อในช่วงปีนั้นๆ ด้วยนั้น ในที่สุดแล้วก็เพียงแต่จะทำให้งบประมาณของกระทรวงกลาโหมอเมริกันถอยหลังกลับไปสู่ระดับที่เคยได้ในปี 2006 หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ มันยังคงอยู่ในระดับสูงที่สุดไม่ว่าจะเทียบกับช่วงเวลาใดก่อนหน้านั้นย้อนหลังไปจนถึงระยะที่เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง
มาตรการที่ระบุใน “หน้าผาการคลัง” จะมีการตัดงบประมาณการทหารของสหรัฐฯลงไปประมาณ 8% จากระดับที่อยู่ในปัจจุบัน ขณะที่ในสงครามครั้งอื่นๆ ทุกๆ ครั้ง (สงครามโลกครั้งที่สอง, สงครามเวียดนาม, และสงครามอื่นๆ ถัดจากนั้น) ล้วนแล้วแต่ตามหลังมาด้วยการลดขนาดงบประมาณกลาโหมลงไปทั้งสิ้น โดยที่หลายๆ ช่วงทีเดียวมีการตัดลดกันสูงกว่านี้เสียอีก ทั้งนี้ในเวทีการประชุมที่สถาบันทหารเรือสหรัฐฯ ครั้งเดียวกันกับที่ ลินน์ ไปปราศรัยนั้นเอง อดีตเจ้าหน้าที่สหรัฐฯอีกผู้หนึ่งซึ่งทำหน้าที่กำกับตรวจสอบงบประมาณทหารอยู่ในสำนักงานการบริหารและการงบประมาณ (Office of Management and Budget) ของทำเนียบขาว ได้คาดคำนวณตัวเลขออกมาว่า ระหว่างทศวรรษปัจจุบันนี้จะมีการตัดลดงบประมาณกลาโหมลงประมาณ 30% ด้วยซ้ำไป
ต้องยอมรับว่า การตัดลดค่าใช้จ่ายทางการทหาร หากบังเกิดขึ้นโดยที่ปราศจากข้อตกลงสร้างความสมดุลทางงบประมาณฉบับใหม่ใดๆ เลย ย่อมเป็นวิธีการที่เลวในการบริหารกิจการรัฐบาล ข้อบกพร่องฉกรรจ์ประการหนึ่งที่มองเห็นได้ก็คือ การลดงบประมาณกลาโหมเช่นนี้ มีเงื่อนไขผูกพันว่าจะต้องมีการตัดทอนงบประมาณในโครงการใช้จ่ายอื่นๆ ของรัฐบาลกลางของสหรัฐฯเกือบจะทุกๆ โครงการ ในสัดส่วนที่ทัดเทียมกัน ---ไม่ว่าจะเป็นโครงการการตรวจสอบความปลอดภัยทางอาหาร, การจัดฝึกอบรมให้แก่ผู้หางานทำ, การควบคุมการจราจรทางอากาศ, การวิจัยด้านการดูแลสุขภาพ, อันล้วนแต่เป็นเรื่องดีๆ จำเป็นๆ ทั้งสิ้น
ข้อบกพร่องฉกาจฉกรรจ์อีกประการหนึ่งได้แก่ เรื่อง “หน้าผาการคลัง” นี้ ทั้งหลายทั้งปวงมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การลดการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯให้ต่ำลง แต่ก็อย่างที่พลเมืองชาวอเมริกันส่วนข้างมากได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วในการเลือกตั้งที่เพิ่งผ่านพ้นไปตอนต้นเดือนพฤศจิกายน พลเมืองชาวอเมริกันส่วนใหญ่นั้นมีความคิดว่าเวลานี้เรื่องการสร้างงานต้องถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่งกว่าเรื่องการขาดดุลงบประมาณ
การเอาแต่ตัดลดเพียงด้านเดียวจะไม่ทำให้มีการสร้างงานขึ้นมา สหรัฐฯยังจะต้องหันเหทิศทางการใช้จ่ายเงินภาษีอากรของประชาชนอเมริกัน ออกมาจากพวกโครงการที่ชาวอเมริกันส่วนข้างมากไม่ได้มีความต้องการหรือมองเห็นความจำเป็น อย่างเช่นพวกโครงการไร้ประโยชน์ของกระทรวงกลาโหม แล้วหันมาทุ่มเทงบประมาณที่ประหยัดได้ให้แก่สิ่งที่ชาวอเมริกันต้องการและมองเห็นว่าจำเป็น เป็นต้นว่า โครงการพลังงานสะอาด และโครงการปรับปรุงด้านการขนส่ง
สหรัฐฯมีเงินทองมากเพียงพอที่จะทำเช่นนี้ได้อย่างแน่นอน เพราะสหรัฐฯไม่ได้กำลังอยู่ในภาวะถังแตกเลย เพียงแต่สหรัฐฯจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงการจัดลำดับความสำคัญทางด้านงบประมาณของตนเสียใหม่ สถาบันเพื่อการศึกษานโยบาย (Institute for Policy Studies) ได้เสนอกรอบโครงสำหรับการดำเนินการในเรื่องนี้เอาไว้แล้วในรายงานฉบับหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ (รายงานเรื่อง “เราไม่ได้กำลังอยู่ในภาวะถังแตก: คำชี้แนะแบบสามัญสำนึกเพื่อการหลบหลีกให้พ้นจาการถูกหลอกลวงต้มตุ๋นทางด้านการคลัง ขณะเดียวกับที่ทำให้สหรัฐฯมีความเสมอภาคมากขึ้น, มีสีเขียวมากขึ้น, และมีความมั่นคงยิ่งขึ้น” We're Not Broke: A commonsense guide to avoiding the fiscal swindle while making the United States more equitable, green, and secure) ข้อเสนอนี้ครอบคลุมถึงการตัดลดงบประมาณด้านกลาโหมปีละ 198,000 ล้านดอลลาร์ ---ตั้งแต่การใช้จ่ายในสิ่งต่างๆ อย่างเช่นสงครามซึ่งสหรัฐฯไม่สมควรเข้าไปทำการสู้รบเลย ไปจนถึงพวกระบบอาวุธและพวกฐานทัพในต่างแดนซึ่งสหรัฐฯไม่ได้มีความจำเป็น
มาตรการต่างๆ เหล่านี้จะทำให้งบประมาณการทหารของสหรัฐฯลดลงมาได้ 30% ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านกลาโหมของสหรัฐฯในศตวรรษใหม่นี้ ลดขนาดลงมาอยู่ในระดับสอดคล้องกับการลดขนาดที่บังเกิดขึ้นในศตวรรษที่แล้ว นี่เป็นขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับการสร้างฐานตำแหน่งงานต่างๆ อย่างยั่งยืนซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวอเมริกาต้องการเหลือเกิน
มีเรียม เพมเบอร์ตัน เป็นนักวิจัยอยู่ใน สถาบันเพื่อการศึกษานโยบาย (Institute for Policy Studies) และเป็นผู้มีส่วนร่วมในการจัดทำรายงานเรื่อง “เราไม่ได้กำลังอยู่ในภาวะถังแตก: คำชี้แนะแบบสามัญสำนึกเพื่อการหลบหลีกให้พ้นจาการถูกหลอกลวงต้มตุ๋นทางด้านการคลัง ขณะเดียวกับที่ทำให้สหรัฐฯมีความเสมอภาคมากขึ้น, มีสีเขียวมากขึ้น, และมีความมั่นคงยิ่งขึ้น” ( We're Not Broke: A commonsense guide to avoiding the fiscal swindle while making the United States more equitable, green, and secure)
(ข้อเขียนชิ้นนี้ ก่อนหน้านี้ได้รับการเผยแพร่อยู่ใน Foreign Policy In Focus อันเป็นโครงการหนึ่งของสถาบันเพื่อการศึกษานโยบาย)
The Pentagon Is Ripe for Reduction
By Miriam Pemberton
12/12/2012
เวลานี้สหรัฐฯกำลังอยู่ตรงขอบๆ ของจังหวะเวลาแห่งประวัติศาสตร์อันสำคัญยิ่ง สหรัฐฯกำลังเริ่มต้นชะลอความเร็วเพื่อหลุดออกจากห้วงเวลาแห่งสงครามครั้งยาวนานที่สุดของประเทศ จังหวะเวลาเช่นนี้แหละย่อมเหมาะสมแก่การตัดลดงบประมาณด้านกลาโหม อันที่จริงแล้ว ส่วนหนึ่งของบรรดามาตรการใน “หน้าผาการคลัง” ที่วอชิงตันกำลังพยายามต่อรองกันเพื่อหลบหลีกให้ผ่านพ้นไม่ต้องดำเนินการนั้น ก็เป็นเรื่องการตัดลดค่าใช้จ่ายทางทหารนี้เอง ถึงแม้เป็นเรื่องแน่นอนทีเดียวว่า การตัดลดค่าใช้จ่ายด้านกลาโหม โดยที่ปราศจากข้อตกลงใหม่ใดๆ ในการสร้างความสมดุลทางงบประมาณโดยองค์รวมแล้ว ย่อมเป็นวิธีการที่เลวในการบริหารกิจการรัฐบาล
เวลานี้สหรัฐฯกำลังอยู่ตรงบริเวณชายขอบของจังหวะเวลาแห่งประวัติศาสตร์อันสำคัญมากอีกคำรบหนึ่ง สหรัฐฯกำลังเริ่มต้นชะลอความเร็วเพื่อหลุดออกมาจากห้วงเวลาแห่งสงครามครั้งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ และสหรัฐฯกำลังจะหมุนตัวกลับภายหลังจากที่ได้เพิ่มการใช้จ่ายให้แก่กระทรวงกลาโหมอย่างมากมายมาเป็นเวลานานถึง 13 ปีแล้ว
มันไม่ใช่เป็นเพียงระยะเวลาอันยาวนานเหลือเกินในความคิดของพวกผู้สนับสนุนเรียกร้องให้ทำการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้มาเนิ่นนานเต็มทีแล้วเท่านั้น แม้กระทั่ง วิลเลียม ลินน์ (William Lynn) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ผู้ซึ่งปัจจุบันทำหน้าที่เป็นนักล็อบบี้ให้แก่ เรย์ธีออน (Raytheon) บริษัทรับเหมาด้านการทหารรายใหญ่ ก็ยังพูดปรียบเทียบช่วงเวลาปัจจุบัน กับช่วงหลายๆ ปีภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ตลอดจนช่วงหลายๆ ปีภายหลังสงครามเกาหลี, ภายหลังสงครามเวียดนาม, และภายหลังสงครามเย็น ในระหว่างที่เขาไปกล่าวปราศรัยต่อสถาบันทหารเรือสหรัฐฯ (US Naval Institute) เมื่อเร็วๆ นี้ พร้อมกันนั้นเขาชี้ด้วยว่าสหรัฐฯกำลังจะมีการตัดลดงบประมาณทางทหารกันครั้งใหญ่ในเวลาไม่ช้าไม่นานนี้
ทว่านี่ไม่ได้เป็น “ชะง่อนผา” (precipice) ซึ่งกำลังเป็นที่สนอกสนใจวิตกทุกข์ร้อนกันอยู่ในวอชิงตันเวลานี้หรอก ตรงกันข้าม วลีซึ่งกำลังพูดกันติดปากกำลังได้ยินกันติดหู คือสิ่งที่เรียกขานกันว่า “หน้าผาการคลัง” (fiscal cliff) อันหมายถึงแพกเกจมาตรการขึ้นภาษี และตัดลดค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ ลงมาซึ่งกำหนดบังคับให้ต้องเริ่มดำเนินการกันตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2013 เป็นต้นไป ถ้าหากรัฐสภายังคงไม่สามารถตกลงกันเกี่ยวกับวิธีการที่จะหยุดยั้งการปฏิบัติตามแพกเกจดังกล่าวนี้
อันที่จริงแล้ว การตัดลดงบประมาณกระทรวงกลาโหม ก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนการ “หน้าผาการคลัง” ที่กำลังพูดจากันอย่างหน้าดำคร่ำเครียดนี่แหละ แต่คุณจะแทบไม่มีโอกาสได้รับทราบเรื่องนี้กันหรอก เนื่องจากสิ่งที่พูดจากันส่วนใหญ่แล้วเป็นเกี่ยวกับ “การปฏิรูป” ภาษี (ซึ่งรวมไปถึงการลดภาษีให้แก่คนร่ำรวยและพวกบริษัทต่างๆ ด้วย) และ “การปฏิรูปด้านสิทธิประโยชน์ต่างๆ” (reforming entitlements ) ที่เป็นวลีสำหรับใช้กลบเกลื่อนการบั่นทอนมาตรการทางด้านการประกันสังคมให้อ่อนแอลง อย่างไรก็ตาม ถ้าหากไม่สามารถจัดทำข้อตกลงฉบับใหม่กันได้แล้ว เริ่มตั้งแต่ปีหน้า สหรัฐฯก็จะใช้จ่ายด้านการทหารลดน้อยลงไปถึงราวปีละ 50,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียว
รัฐมนตรีกลาโหม เลียน เพเนตตา ของสหรัฐฯ ได้เรียกการตัดลดเช่นนี้ว่าเป็นเสมือน “วันสิ้นโลก” แต่มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ หรือ? การตัดลดดังกล่าวนี้ซึ่งจะต้องดำเนินไปเป็นเวลา 10 ปี โดยที่ตัวเลขจะต้องมีการปรับให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อในช่วงปีนั้นๆ ด้วยนั้น ในที่สุดแล้วก็เพียงแต่จะทำให้งบประมาณของกระทรวงกลาโหมอเมริกันถอยหลังกลับไปสู่ระดับที่เคยได้ในปี 2006 หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ มันยังคงอยู่ในระดับสูงที่สุดไม่ว่าจะเทียบกับช่วงเวลาใดก่อนหน้านั้นย้อนหลังไปจนถึงระยะที่เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง
มาตรการที่ระบุใน “หน้าผาการคลัง” จะมีการตัดงบประมาณการทหารของสหรัฐฯลงไปประมาณ 8% จากระดับที่อยู่ในปัจจุบัน ขณะที่ในสงครามครั้งอื่นๆ ทุกๆ ครั้ง (สงครามโลกครั้งที่สอง, สงครามเวียดนาม, และสงครามอื่นๆ ถัดจากนั้น) ล้วนแล้วแต่ตามหลังมาด้วยการลดขนาดงบประมาณกลาโหมลงไปทั้งสิ้น โดยที่หลายๆ ช่วงทีเดียวมีการตัดลดกันสูงกว่านี้เสียอีก ทั้งนี้ในเวทีการประชุมที่สถาบันทหารเรือสหรัฐฯ ครั้งเดียวกันกับที่ ลินน์ ไปปราศรัยนั้นเอง อดีตเจ้าหน้าที่สหรัฐฯอีกผู้หนึ่งซึ่งทำหน้าที่กำกับตรวจสอบงบประมาณทหารอยู่ในสำนักงานการบริหารและการงบประมาณ (Office of Management and Budget) ของทำเนียบขาว ได้คาดคำนวณตัวเลขออกมาว่า ระหว่างทศวรรษปัจจุบันนี้จะมีการตัดลดงบประมาณกลาโหมลงประมาณ 30% ด้วยซ้ำไป
ต้องยอมรับว่า การตัดลดค่าใช้จ่ายทางการทหาร หากบังเกิดขึ้นโดยที่ปราศจากข้อตกลงสร้างความสมดุลทางงบประมาณฉบับใหม่ใดๆ เลย ย่อมเป็นวิธีการที่เลวในการบริหารกิจการรัฐบาล ข้อบกพร่องฉกรรจ์ประการหนึ่งที่มองเห็นได้ก็คือ การลดงบประมาณกลาโหมเช่นนี้ มีเงื่อนไขผูกพันว่าจะต้องมีการตัดทอนงบประมาณในโครงการใช้จ่ายอื่นๆ ของรัฐบาลกลางของสหรัฐฯเกือบจะทุกๆ โครงการ ในสัดส่วนที่ทัดเทียมกัน ---ไม่ว่าจะเป็นโครงการการตรวจสอบความปลอดภัยทางอาหาร, การจัดฝึกอบรมให้แก่ผู้หางานทำ, การควบคุมการจราจรทางอากาศ, การวิจัยด้านการดูแลสุขภาพ, อันล้วนแต่เป็นเรื่องดีๆ จำเป็นๆ ทั้งสิ้น
ข้อบกพร่องฉกาจฉกรรจ์อีกประการหนึ่งได้แก่ เรื่อง “หน้าผาการคลัง” นี้ ทั้งหลายทั้งปวงมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การลดการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯให้ต่ำลง แต่ก็อย่างที่พลเมืองชาวอเมริกันส่วนข้างมากได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วในการเลือกตั้งที่เพิ่งผ่านพ้นไปตอนต้นเดือนพฤศจิกายน พลเมืองชาวอเมริกันส่วนใหญ่นั้นมีความคิดว่าเวลานี้เรื่องการสร้างงานต้องถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่งกว่าเรื่องการขาดดุลงบประมาณ
การเอาแต่ตัดลดเพียงด้านเดียวจะไม่ทำให้มีการสร้างงานขึ้นมา สหรัฐฯยังจะต้องหันเหทิศทางการใช้จ่ายเงินภาษีอากรของประชาชนอเมริกัน ออกมาจากพวกโครงการที่ชาวอเมริกันส่วนข้างมากไม่ได้มีความต้องการหรือมองเห็นความจำเป็น อย่างเช่นพวกโครงการไร้ประโยชน์ของกระทรวงกลาโหม แล้วหันมาทุ่มเทงบประมาณที่ประหยัดได้ให้แก่สิ่งที่ชาวอเมริกันต้องการและมองเห็นว่าจำเป็น เป็นต้นว่า โครงการพลังงานสะอาด และโครงการปรับปรุงด้านการขนส่ง
สหรัฐฯมีเงินทองมากเพียงพอที่จะทำเช่นนี้ได้อย่างแน่นอน เพราะสหรัฐฯไม่ได้กำลังอยู่ในภาวะถังแตกเลย เพียงแต่สหรัฐฯจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงการจัดลำดับความสำคัญทางด้านงบประมาณของตนเสียใหม่ สถาบันเพื่อการศึกษานโยบาย (Institute for Policy Studies) ได้เสนอกรอบโครงสำหรับการดำเนินการในเรื่องนี้เอาไว้แล้วในรายงานฉบับหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ (รายงานเรื่อง “เราไม่ได้กำลังอยู่ในภาวะถังแตก: คำชี้แนะแบบสามัญสำนึกเพื่อการหลบหลีกให้พ้นจาการถูกหลอกลวงต้มตุ๋นทางด้านการคลัง ขณะเดียวกับที่ทำให้สหรัฐฯมีความเสมอภาคมากขึ้น, มีสีเขียวมากขึ้น, และมีความมั่นคงยิ่งขึ้น” We're Not Broke: A commonsense guide to avoiding the fiscal swindle while making the United States more equitable, green, and secure) ข้อเสนอนี้ครอบคลุมถึงการตัดลดงบประมาณด้านกลาโหมปีละ 198,000 ล้านดอลลาร์ ---ตั้งแต่การใช้จ่ายในสิ่งต่างๆ อย่างเช่นสงครามซึ่งสหรัฐฯไม่สมควรเข้าไปทำการสู้รบเลย ไปจนถึงพวกระบบอาวุธและพวกฐานทัพในต่างแดนซึ่งสหรัฐฯไม่ได้มีความจำเป็น
มาตรการต่างๆ เหล่านี้จะทำให้งบประมาณการทหารของสหรัฐฯลดลงมาได้ 30% ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านกลาโหมของสหรัฐฯในศตวรรษใหม่นี้ ลดขนาดลงมาอยู่ในระดับสอดคล้องกับการลดขนาดที่บังเกิดขึ้นในศตวรรษที่แล้ว นี่เป็นขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับการสร้างฐานตำแหน่งงานต่างๆ อย่างยั่งยืนซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวอเมริกาต้องการเหลือเกิน
มีเรียม เพมเบอร์ตัน เป็นนักวิจัยอยู่ใน สถาบันเพื่อการศึกษานโยบาย (Institute for Policy Studies) และเป็นผู้มีส่วนร่วมในการจัดทำรายงานเรื่อง “เราไม่ได้กำลังอยู่ในภาวะถังแตก: คำชี้แนะแบบสามัญสำนึกเพื่อการหลบหลีกให้พ้นจาการถูกหลอกลวงต้มตุ๋นทางด้านการคลัง ขณะเดียวกับที่ทำให้สหรัฐฯมีความเสมอภาคมากขึ้น, มีสีเขียวมากขึ้น, และมีความมั่นคงยิ่งขึ้น” ( We're Not Broke: A commonsense guide to avoiding the fiscal swindle while making the United States more equitable, green, and secure)
(ข้อเขียนชิ้นนี้ ก่อนหน้านี้ได้รับการเผยแพร่อยู่ใน Foreign Policy In Focus อันเป็นโครงการหนึ่งของสถาบันเพื่อการศึกษานโยบาย)