(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
China’s stunning setback to reform
By Willy Lam
19/11/2012
นายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ผู้กำลังจะก้าวลงจากอำนาจ ได้ออกมาเรียกร้องให้ดำเนินการปฏิรูประบบผู้นำของจีน ความเคลื่อนไหวเช่นนี้ช่างตรงกันข้ามกับคำรายงานปิดฉากยุคแห่งการครองอำนาจของเขาและหู จิ่นเทา ซึ่งเต็มไปด้วยแนวความคิดแบบอนุรักษนิยม อีกทั้งยังขัดแย้งเป็นคนละเรื่องกับวิธีการใช้กโลบายช่วงชิงและต่อรองกันอย่างลับๆ อยู่เบื้องหลังการคัดเลือกสมาชิกกรมการเมือง ณ มหาศาลาประชาชน เมื่อนำเอาสิ่งเหล่านี้มาปะติดปะต่อเป็นภาพรวมแล้ว มันบ่งชี้ให้เห็นว่าคณะผู้นำชุดใหม่ของจีนคงจะไม่ผลักดันเดินหน้าสู่เป้าหมายและนโยบายต่างๆ ตามที่พวกนักปฏิรูปเรียกร้องต้องการ
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ข้อความที่ได้เรื่องได้ราวตรงประเด็นที่สุดซึ่งออกมาจากการประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 (สมัชชา 18) ในความคิดของผู้เขียนแล้ว น่าจะเป็นคำพูดที่ออกมาจากปากของนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ถึงแม้ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า คำรายงานทางการเมือง ของเลขาธิการใหญ่ หู จิ่นเทา ผู้กำลังจะก้าวลงจากอำนาจ เมื่อวันเริ่มเปิดการประชุมสมัชชา 18 ซึ่งมีความยาวรวมทั้งสิ้น 101 นาที คือสิ่งที่สื่อมวลชนจีนและสื่อมวลชนระหว่างประเทศให้ความสนใจรายงานข่าวกันอย่างโดดเด่นท่วมท้นที่สุด ในตลอดทั้งงานประชุมอันใหญ่โตมโหฬารซึ่งดำเนินอยู่เป็นเวลา 7 วันคราวนี้
“เราจะต้องทำให้ภาวะผู้นำของพรรคมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้นและปรับปรุงยกระดับให้ดียิ่งขึ้น” เวิน กล่าวเช่นนี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ในระหว่างไปเยี่ยมเยียนและอภิปรายให้ความเห็นกับพวกสมาชิกของคณะผู้แทนจากมหานครเทียนจิน (เทียนสิน) ซึ่งเข้าร่วมการประชุมสมัชชา 18 “โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราจะต้องผลักดันการปฏิรูประบบผู้นำของพรรคและของรัฐให้มีความคืบหน้าต่อไปอีก” เป็นความจริงที่ว่า หู ซึ่งสละตำแหน่งในพรรคในการประชุมสมัชชาคราวนี้ แต่ยังคงครองตำแหน่งประธานาธิบดีของรัฐต่อไปจนกระทั่งถึงการประชุมรัฐสภาในเดือนมีนาคมปีหน้า ได้อุทิศส่วนที่ดีส่วนหนึ่งของคำรายงานทางการเมืองของเขา ให้แก่ประเด็นเรื่องการปฏิรูปทางการเมืองและการปฏิรูปเชิงสถาบัน แต่แล้วบทบาทหน้าที่ซึ่งทรงความสำคัญที่สุดของสมัชชา ซึ่งก็คือการคัดสรรคณะผู้นำชุดใหม่ที่ถือเป็นคณะผู้นำรุ่นที่ 5 ของพรรค กลับถูกครอบงำด้วยกโลบายเดินหมากช่วงชิงและต่อรองยื่นหมูยื่นแมวอย่างลับๆ ไร้ความโปร่งใส่ของฝักฝ่ายต่างๆ ตลอดจนถูกบงการจากอิทธิพลที่กลับฟื้นคืนมาอีกครั้งของพวกผู้อาวุโสในพรรคซึ่งปลดเกษียณอายุกันไปตั้งนานแล้ว
การที่ผู้เขียนเชื่อว่าการคัดเลือกผู้เข้าดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกกรมการเมือง (Politburo) แห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนของสมัชชา 18 รวมทั้งผู้เข้าไปอยู่ในคณะผู้ปกครองสูงสุดของแดนมังกร อย่างคณะกรรมการประจำของกรมการเมือง (Politburo Standing Committee) ชุดนี้ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 7 คน เป็นผลของการใช้กโลบายเดินหมากช่วงชิงและต่อรองยื่นหมูยื่นแมวกันอย่างลับๆ นั้น มีหลักฐานสนับสนุนที่เห็นชัดตั้งแต่ในช่วงสองสามนาทีแรกของพิธีเปิดการประชุมสมัชชาคราวนี้ ซึ่งจัดขึ้นที่มหาศาลาประชาชน บริเวณมหาจัตุรัสเทียนอันเหมิน ของกรุงปักกิ่ง
บุคคลคนแรกทีปรากฏต่อหน้ากล้องโทรทัศน์ทั้งหลาย คือ หู ผู้อยู่ในวัย 69 ปี จากนั้นผู้ที่ติดตามเขามาอย่างใกล้ชิดก็คือ อดีตประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน ซึ่งปัจจุบันอายุ 86 ปี ทั้งสองคนนี้ซึ่งถือกันว่าเป็น “แกนกลาง” ของคณะผู้นำรุ่นที่ 3 และรุ่นที่ 4 อยู่แยกห่างออกมาหลายเมตรทีเดียวจากกลุ่มบุคคลอีก 2 กลุ่ม ซึ่งได้แก่ กลุ่มของคณะกรรมการประจำกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคชุดที่ 17 ที่กำลังจะพ้นตำแหน่ง กับกลุ่มของอดีตสมาชิกคณะกรรมการประจำกรมการเมืองที่ปลดเกษียณอายุไปนานแล้ว โดยที่สมาชิกอายุมากที่สุดของกลุ่มหลังนี้ก็คือ ซ่ง ผิง (Song Ping) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในวัย 95 ปี เขาเคยเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการจัดตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และได้ปลดเกษียณจากคณะกรรมการประจำกรมการเมืองตั้งแต่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว
การปรากฏตัวของผู้ปฏิบัติงาน (cadre) ของพรรคที่อยู่ในวัย 80 ปีเศษ และ 90 ปีเศษเช่นนี้ ไม่ได้เป็นเพียงสัญลักษณ์แสดงให้เห็นถึงความสามัคคีเป็นเอกภาพกันของพรรคเท่านั้น พวกผู้นำในอดีตเหล่านี้อย่างน้อยที่สุดก็มีอยู่สองสามคนทีเดียวซึ่งแสดงบทบาทอันทรงอิทธิพลในการคัดสรรผู้ที่จะเข้าเป็นสมาชิกคณะกรรมการประจำกรมการเมืองชุดใหม่ของปีนี้ ตัวอย่างเช่น คณะกรรมการประจำกรมการเมืองชุดที่ 18 ทั้ง 7 คนนี้ เชื่อกันว่ามีอยู่ 3 คนเป็นผู้ที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของ เจียง ผู้ซึ่งยังคงเป็นผู้นำของฝ่ายที่เรียกกันว่า ก๊กเซี่ยงไฮ้ ในแวดวงการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทั้ง 3 คนดังกล่าวได้แก่ สี จิ้นผิง เลขาธิการใหญ่คนใหม่ของพรรค ผู้ซึ่งได้รับการเลือกเลื่อนเข้าไปนั่งในคณะกรรมการประจำกรมการเมืองตั้งแต่ปี 2007 จากการเสนอชื่อของ เจียง อีกคนหนึ่งคือ จาง เต๋อเจียง (Zhang Dejiang) ซึ่งได้รับการวางตัวให้ขึ้นเป็นประธานสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ (รัฐสภาของจีน) คนต่อไป ส่วนคนที่ 3 คือ หลิว หยุนซาน (Liu Yunshan) ซึ่งครองตำแหน่งเลขาธิการบริหารแห่งสำนักเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรค (Executive Secretary of the Central Committee Secretariat)
เจียง และอดีตนายกรัฐมนตรีหลี่ เผิง ที่ปัจจุบันอายุ 84 ปี คือผู้ที่มีส่วนอย่างสำคัญในการกีดกันขัดขวางไม่ให้คนสนิทของ หู 2 คน ได้แก่ หลี่ หยวนเฉา (Li Yuanchao) และ วัง หยาง (Wang Yang) ได้ขึ้นไปเป็นสมาชิกคณะกรรมการประจำกรมการเมืองในปีนี้ ทั้ง หลี่ และ วัง ซึ่งต่างมีชื่อเสียงเกียรติคุณในฐานะนักปฏิรูป เพียงแค่สามารถครองตำแหน่งสมาชิกกรมการเมืองของพวกเขาเอาไว้ต่อไปเท่านั้น วัง ซึ่งปัจจุบันอายุ 57 ปี กำลังจะพ้นตำแหน่งเลขาธิการพรรคสาขามณฑลกวางตุ้ง โดยได้รับการวางตัวให้ขึ้นเป็นรองนายกรัฐมนตรีในเดือนมีนาคมปีหน้า
เฉกเช่นเดียวกับในคำรายงานทางการเมืองต่อที่ประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 17 เมื่อปี 2007 ของเขา ในคำรายงานทางการเมืองซึ่งประธานาธิบดีหู กล่าวในวันเปิดประชุมสมัชชา 18 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ก็ได้มีการอุทิศย่อหน้ายาวๆ รวม 2 ย่อหน้า ให้แก่หัวข้อ “ประชาธิปไตยภายในพรรค” และเรื่องการปฏิรูประบบบุคลากรของพรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการใช้วิธีการที่ยุติธรรมยิ่งขึ้นและโปร่งใสมากขึ้นในการคัดสรรผู้นำระดับต่างๆ ตัวอย่างเช่น หู ระบุในรายละเอียดว่า เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทั้งหลายจะต้องทำให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ในเรื่องที่สมาชิกพรรคต้อง “มีสิทธิที่จะรู้, มีสิทธิที่จะเข้าร่วม (ในการวินิจฉัยของพรรค), มีสิทธิที่จะเลือกตั้ง, และมีสิทธิในการกำกับตรวจสอบ” นอกจากนั้น หูยังระบุว่า พรรคจะต้อง “ปฏิบัติอย่างถูกต้องและรอบด้าน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายต่างๆ ในเรื่องความเป็นประชาธิปไตย, การเปิดกว้าง, การให้มีการแข่งขัน, และการเน้นย้ำคุณสมบัติในเรื่องคุณงามความดี”
อย่างไรก็ตาม ในขณะที่เขาอภิปรายประเด็นเรื่องภาวะผู้นำของพรรคเมื่อ 5 ปีก่อนนั้น ประธานาธิบดีหู ได้เน้นหนักเรื่องระบบ “ประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ (democratic centralism) และคณะผู้นำร่วม (collective leadership)” อีกทั้งกล่าวย้ำว่า พรรคต้อง “คัดค้านและป้องกันการประพฤติปฏิบัติแบบเผด็จการของผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำรายบุคคล หรือผู้นำของกลุ่มย่อยๆ” แต่ในคำรายงานของปีนี้ ไม่ได้มีการอ้างอิงถึงการประพฤติปฏิบัติแบบเผด็จการของผู้นำทรงอำนาจอิทธิพลเช่นนี้แล้ว การที่ หู ล้มเหลวไม่ได้โจมตีเล่นงานพฤติการณ์ที่ชวนให้เข้าใจว่าหมายถึงผู้นำซึ่ง “ปกครองด้วยบุคลิกภาพส่วนตัว” ในแบบฉบับของเหมา เจ๋อตง อีกเช่นนี้ น่าจะสะท้อนให้เห็นว่าเขารู้สึกผิดหวังรู้สึกเซ็งกับการเล่นเล่ห์เพทุบายของบุคคลเฉกเช่น เจียง เจ๋อหมิน ในระยะสองสามเดือนที่ผ่านมา
ในบริบทเช่นนี้เอง ที่การแสดงความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีเวิน เกี่ยวกับ “การปฏิรูประบบผู้นำของพรรคและของรัฐ” เมื่อตอนไปพบปะร่วมอภิปรายถกเถียงกับคณะผู้แทนของเทียนจินที่เข้าร่วมการประชุมสมัชชา 18 ดูเป็นคำพูดที่เหมาะเจาะถูกจังหวะเวลาและเป็นการตีกระหน่ำอันหนักแน่วงต่อพวกที่กีดขวางการปฏิรูป ถึงแม้ในระยะสองสามปีที่ผ่านมา เวินได้เคยพูดจาเรียกร้องหลายสิบครั้งทีเดียวให้เร่งรัดการปฏิรูปทางการเมือง รวมทั้งให้ยึดมั่นปฏิบัติตามคำสั่งเสียในเรื่องนี้ของ เติ้ง เสี่ยวผิง อดีตผู้นำสูงสุดผู้ล่วงลับ แต่คราวนี้นับเป็นครั้งแรกที่เขาได้อ้างอิงอย่างอ้อมๆ ทว่าชัดเจนแจ่มแจ้ง ถึง 1 ในบรรดาคำปราศรัยที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดของบุรุษผู้ได้ชื่อว่าเป็นสถาปนิกใหญ่ของการปฏิรูปของจีนผู้นี้
ทั้งนี้ ในคำปราศรัยเมื่อปี 1980 ที่ใช้ชื่อเรื่องว่า “ว่าด้วยการปฏิรูประบบผู้นำพรรคและรัฐ” (On the Reform of the System of Party and State Leadership) เติ้งได้ระบุถึงการประพฤติปฏิบัติต่างๆ ที่จะเป็นอุปสรรคใหญ่ของกระบวนการเปิดเสรีทางการเมืองและกระบวนการเปิดเสรีเชิงสถาบัน ซึ่งได้แก่ “ลัทธิขุนนาง, การรวมศูนย์อำนาจไว้ในมือมากเกินไป, วิธีการต่างๆ แบบพ่อบ้าน, การครองตำแหน่งระดับผู้นำไปจนตลอดชีวิต, และการมีอภิสิทธิ์นานาประเภท”
เติ้งได้อธิบายแจกแจงประเพณี “การทำตัวแบบพ่อบ้าน” ของพรรคเอาไว้ดังนี้: “นอกจากนำไปสู่ภาวะการรวมศูนย์อำนาจเอาไว้ในมือของบุคคลต่างๆ มากเกินไปแล้ว วิถีทางต่างๆ แบบพ่อบ้านภายในแวดวงของนักปฏิวัตินั้นจะให้ความสำคัญแก่ตัวบุคคลเหนือองค์การจัดตั้ง ซึ่งก็จะทำให้องค์การจัดตั้งกลายเป็นเพียงเครื่องมือในกำมือของพวกเขาเท่านั้น”
ขณะที่ไม่ได้มีหลักฐานเป็นรูปธรรมใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่า เวินกำลังมุ่งวิพากษ์วิจารณ์ที่กิจกรรมในช่วงหลังๆ นี้ของบุคคลทรงอิทธิพลตัวใหญ่ๆ อย่างเช่น เจียง เจ๋อหมิน แต่ก็มีข้อน่าสังเกตว่าการแสดงความคิดเห็นต่อคณะผู้แทนจากเทียนจินของเขาคราวนี้ ได้ถูกตัดออกไปจากรายการข่าวภาคค่ำเมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว (15 พ.ย.) ของสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของทางการจีน (CCTV) อย่างชนิดหาคำอธิบายไม่ได้ สำนักข่าวซินหวาก็เพิ่งมาเสนอข่าวนี้เอาในวันถัดมา ทั้งๆ ที่ การตั้งข้อสังเกตแสดงความคิดเห็นของสมาชิกคณะกรรมการประจำกรมการเมืองคนอื่นๆ ในระหว่างไปเยี่ยมเยียนและเข้าร่วมการอภิปรายของคณะผู้แทนระดับมณฑลและมหานครเทียบเท่ามณฑลเช่นนี้ ต่างได้รับการเผยแพร่จากสื่อมวลชนของทางการเหล่านี้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง
ดร.วิลลี โว-ลัป ลัม (Dr Willy Wo-Lap Lam) เป็นนักวิจัยอาวุโส ณ มูลนิธิเจมส์ทาวน์ (The Jamestown Foundation) และเคยทำงานในระดับบรรณาธิการอาวุโสของสื่อระหว่างประเทศหลายเจ้า เช่น นิตยสารเอเชียวีก, หนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์, และในสำนักงานใหญ่ภาคเอเชีย-แปซิฟิก ของ ซีเอ็นเอ็น เขาเขียนหนังสือเกี่ยวกับประเทศจีนมาแล้ว 5 เล่ม โดยเล่มที่เพิ่งตีพิมพ์จำหน่ายเมื่อเร็วๆ นี้คือ “Chinese Politics in the Hu Jintao Era: New Leaders, New Challenges” เขายังเป็นศาสตราจารย์วุฒิคุณ (Adjunct Professor) ในด้านจีนศึกษา ณ มหาวิทยาลัยนานาชาติอะคิตะ (Akita International University) ประเทศญี่ปุ่น และที่ มหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง (Chinese University of Hong Kong)
(อ่านต่อตอน2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
China’s stunning setback to reform
By Willy Lam
19/11/2012
นายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ผู้กำลังจะก้าวลงจากอำนาจ ได้ออกมาเรียกร้องให้ดำเนินการปฏิรูประบบผู้นำของจีน ความเคลื่อนไหวเช่นนี้ช่างตรงกันข้ามกับคำรายงานปิดฉากยุคแห่งการครองอำนาจของเขาและหู จิ่นเทา ซึ่งเต็มไปด้วยแนวความคิดแบบอนุรักษนิยม อีกทั้งยังขัดแย้งเป็นคนละเรื่องกับวิธีการใช้กโลบายช่วงชิงและต่อรองกันอย่างลับๆ อยู่เบื้องหลังการคัดเลือกสมาชิกกรมการเมือง ณ มหาศาลาประชาชน เมื่อนำเอาสิ่งเหล่านี้มาปะติดปะต่อเป็นภาพรวมแล้ว มันบ่งชี้ให้เห็นว่าคณะผู้นำชุดใหม่ของจีนคงจะไม่ผลักดันเดินหน้าสู่เป้าหมายและนโยบายต่างๆ ตามที่พวกนักปฏิรูปเรียกร้องต้องการ
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ข้อความที่ได้เรื่องได้ราวตรงประเด็นที่สุดซึ่งออกมาจากการประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 (สมัชชา 18) ในความคิดของผู้เขียนแล้ว น่าจะเป็นคำพูดที่ออกมาจากปากของนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ถึงแม้ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า คำรายงานทางการเมือง ของเลขาธิการใหญ่ หู จิ่นเทา ผู้กำลังจะก้าวลงจากอำนาจ เมื่อวันเริ่มเปิดการประชุมสมัชชา 18 ซึ่งมีความยาวรวมทั้งสิ้น 101 นาที คือสิ่งที่สื่อมวลชนจีนและสื่อมวลชนระหว่างประเทศให้ความสนใจรายงานข่าวกันอย่างโดดเด่นท่วมท้นที่สุด ในตลอดทั้งงานประชุมอันใหญ่โตมโหฬารซึ่งดำเนินอยู่เป็นเวลา 7 วันคราวนี้
“เราจะต้องทำให้ภาวะผู้นำของพรรคมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้นและปรับปรุงยกระดับให้ดียิ่งขึ้น” เวิน กล่าวเช่นนี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ในระหว่างไปเยี่ยมเยียนและอภิปรายให้ความเห็นกับพวกสมาชิกของคณะผู้แทนจากมหานครเทียนจิน (เทียนสิน) ซึ่งเข้าร่วมการประชุมสมัชชา 18 “โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราจะต้องผลักดันการปฏิรูประบบผู้นำของพรรคและของรัฐให้มีความคืบหน้าต่อไปอีก” เป็นความจริงที่ว่า หู ซึ่งสละตำแหน่งในพรรคในการประชุมสมัชชาคราวนี้ แต่ยังคงครองตำแหน่งประธานาธิบดีของรัฐต่อไปจนกระทั่งถึงการประชุมรัฐสภาในเดือนมีนาคมปีหน้า ได้อุทิศส่วนที่ดีส่วนหนึ่งของคำรายงานทางการเมืองของเขา ให้แก่ประเด็นเรื่องการปฏิรูปทางการเมืองและการปฏิรูปเชิงสถาบัน แต่แล้วบทบาทหน้าที่ซึ่งทรงความสำคัญที่สุดของสมัชชา ซึ่งก็คือการคัดสรรคณะผู้นำชุดใหม่ที่ถือเป็นคณะผู้นำรุ่นที่ 5 ของพรรค กลับถูกครอบงำด้วยกโลบายเดินหมากช่วงชิงและต่อรองยื่นหมูยื่นแมวอย่างลับๆ ไร้ความโปร่งใส่ของฝักฝ่ายต่างๆ ตลอดจนถูกบงการจากอิทธิพลที่กลับฟื้นคืนมาอีกครั้งของพวกผู้อาวุโสในพรรคซึ่งปลดเกษียณอายุกันไปตั้งนานแล้ว
การที่ผู้เขียนเชื่อว่าการคัดเลือกผู้เข้าดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกกรมการเมือง (Politburo) แห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนของสมัชชา 18 รวมทั้งผู้เข้าไปอยู่ในคณะผู้ปกครองสูงสุดของแดนมังกร อย่างคณะกรรมการประจำของกรมการเมือง (Politburo Standing Committee) ชุดนี้ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 7 คน เป็นผลของการใช้กโลบายเดินหมากช่วงชิงและต่อรองยื่นหมูยื่นแมวกันอย่างลับๆ นั้น มีหลักฐานสนับสนุนที่เห็นชัดตั้งแต่ในช่วงสองสามนาทีแรกของพิธีเปิดการประชุมสมัชชาคราวนี้ ซึ่งจัดขึ้นที่มหาศาลาประชาชน บริเวณมหาจัตุรัสเทียนอันเหมิน ของกรุงปักกิ่ง
บุคคลคนแรกทีปรากฏต่อหน้ากล้องโทรทัศน์ทั้งหลาย คือ หู ผู้อยู่ในวัย 69 ปี จากนั้นผู้ที่ติดตามเขามาอย่างใกล้ชิดก็คือ อดีตประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน ซึ่งปัจจุบันอายุ 86 ปี ทั้งสองคนนี้ซึ่งถือกันว่าเป็น “แกนกลาง” ของคณะผู้นำรุ่นที่ 3 และรุ่นที่ 4 อยู่แยกห่างออกมาหลายเมตรทีเดียวจากกลุ่มบุคคลอีก 2 กลุ่ม ซึ่งได้แก่ กลุ่มของคณะกรรมการประจำกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคชุดที่ 17 ที่กำลังจะพ้นตำแหน่ง กับกลุ่มของอดีตสมาชิกคณะกรรมการประจำกรมการเมืองที่ปลดเกษียณอายุไปนานแล้ว โดยที่สมาชิกอายุมากที่สุดของกลุ่มหลังนี้ก็คือ ซ่ง ผิง (Song Ping) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในวัย 95 ปี เขาเคยเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการจัดตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และได้ปลดเกษียณจากคณะกรรมการประจำกรมการเมืองตั้งแต่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว
การปรากฏตัวของผู้ปฏิบัติงาน (cadre) ของพรรคที่อยู่ในวัย 80 ปีเศษ และ 90 ปีเศษเช่นนี้ ไม่ได้เป็นเพียงสัญลักษณ์แสดงให้เห็นถึงความสามัคคีเป็นเอกภาพกันของพรรคเท่านั้น พวกผู้นำในอดีตเหล่านี้อย่างน้อยที่สุดก็มีอยู่สองสามคนทีเดียวซึ่งแสดงบทบาทอันทรงอิทธิพลในการคัดสรรผู้ที่จะเข้าเป็นสมาชิกคณะกรรมการประจำกรมการเมืองชุดใหม่ของปีนี้ ตัวอย่างเช่น คณะกรรมการประจำกรมการเมืองชุดที่ 18 ทั้ง 7 คนนี้ เชื่อกันว่ามีอยู่ 3 คนเป็นผู้ที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของ เจียง ผู้ซึ่งยังคงเป็นผู้นำของฝ่ายที่เรียกกันว่า ก๊กเซี่ยงไฮ้ ในแวดวงการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทั้ง 3 คนดังกล่าวได้แก่ สี จิ้นผิง เลขาธิการใหญ่คนใหม่ของพรรค ผู้ซึ่งได้รับการเลือกเลื่อนเข้าไปนั่งในคณะกรรมการประจำกรมการเมืองตั้งแต่ปี 2007 จากการเสนอชื่อของ เจียง อีกคนหนึ่งคือ จาง เต๋อเจียง (Zhang Dejiang) ซึ่งได้รับการวางตัวให้ขึ้นเป็นประธานสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ (รัฐสภาของจีน) คนต่อไป ส่วนคนที่ 3 คือ หลิว หยุนซาน (Liu Yunshan) ซึ่งครองตำแหน่งเลขาธิการบริหารแห่งสำนักเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรค (Executive Secretary of the Central Committee Secretariat)
เจียง และอดีตนายกรัฐมนตรีหลี่ เผิง ที่ปัจจุบันอายุ 84 ปี คือผู้ที่มีส่วนอย่างสำคัญในการกีดกันขัดขวางไม่ให้คนสนิทของ หู 2 คน ได้แก่ หลี่ หยวนเฉา (Li Yuanchao) และ วัง หยาง (Wang Yang) ได้ขึ้นไปเป็นสมาชิกคณะกรรมการประจำกรมการเมืองในปีนี้ ทั้ง หลี่ และ วัง ซึ่งต่างมีชื่อเสียงเกียรติคุณในฐานะนักปฏิรูป เพียงแค่สามารถครองตำแหน่งสมาชิกกรมการเมืองของพวกเขาเอาไว้ต่อไปเท่านั้น วัง ซึ่งปัจจุบันอายุ 57 ปี กำลังจะพ้นตำแหน่งเลขาธิการพรรคสาขามณฑลกวางตุ้ง โดยได้รับการวางตัวให้ขึ้นเป็นรองนายกรัฐมนตรีในเดือนมีนาคมปีหน้า
เฉกเช่นเดียวกับในคำรายงานทางการเมืองต่อที่ประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 17 เมื่อปี 2007 ของเขา ในคำรายงานทางการเมืองซึ่งประธานาธิบดีหู กล่าวในวันเปิดประชุมสมัชชา 18 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ก็ได้มีการอุทิศย่อหน้ายาวๆ รวม 2 ย่อหน้า ให้แก่หัวข้อ “ประชาธิปไตยภายในพรรค” และเรื่องการปฏิรูประบบบุคลากรของพรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการใช้วิธีการที่ยุติธรรมยิ่งขึ้นและโปร่งใสมากขึ้นในการคัดสรรผู้นำระดับต่างๆ ตัวอย่างเช่น หู ระบุในรายละเอียดว่า เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทั้งหลายจะต้องทำให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ในเรื่องที่สมาชิกพรรคต้อง “มีสิทธิที่จะรู้, มีสิทธิที่จะเข้าร่วม (ในการวินิจฉัยของพรรค), มีสิทธิที่จะเลือกตั้ง, และมีสิทธิในการกำกับตรวจสอบ” นอกจากนั้น หูยังระบุว่า พรรคจะต้อง “ปฏิบัติอย่างถูกต้องและรอบด้าน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายต่างๆ ในเรื่องความเป็นประชาธิปไตย, การเปิดกว้าง, การให้มีการแข่งขัน, และการเน้นย้ำคุณสมบัติในเรื่องคุณงามความดี”
อย่างไรก็ตาม ในขณะที่เขาอภิปรายประเด็นเรื่องภาวะผู้นำของพรรคเมื่อ 5 ปีก่อนนั้น ประธานาธิบดีหู ได้เน้นหนักเรื่องระบบ “ประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ (democratic centralism) และคณะผู้นำร่วม (collective leadership)” อีกทั้งกล่าวย้ำว่า พรรคต้อง “คัดค้านและป้องกันการประพฤติปฏิบัติแบบเผด็จการของผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำรายบุคคล หรือผู้นำของกลุ่มย่อยๆ” แต่ในคำรายงานของปีนี้ ไม่ได้มีการอ้างอิงถึงการประพฤติปฏิบัติแบบเผด็จการของผู้นำทรงอำนาจอิทธิพลเช่นนี้แล้ว การที่ หู ล้มเหลวไม่ได้โจมตีเล่นงานพฤติการณ์ที่ชวนให้เข้าใจว่าหมายถึงผู้นำซึ่ง “ปกครองด้วยบุคลิกภาพส่วนตัว” ในแบบฉบับของเหมา เจ๋อตง อีกเช่นนี้ น่าจะสะท้อนให้เห็นว่าเขารู้สึกผิดหวังรู้สึกเซ็งกับการเล่นเล่ห์เพทุบายของบุคคลเฉกเช่น เจียง เจ๋อหมิน ในระยะสองสามเดือนที่ผ่านมา
ในบริบทเช่นนี้เอง ที่การแสดงความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีเวิน เกี่ยวกับ “การปฏิรูประบบผู้นำของพรรคและของรัฐ” เมื่อตอนไปพบปะร่วมอภิปรายถกเถียงกับคณะผู้แทนของเทียนจินที่เข้าร่วมการประชุมสมัชชา 18 ดูเป็นคำพูดที่เหมาะเจาะถูกจังหวะเวลาและเป็นการตีกระหน่ำอันหนักแน่วงต่อพวกที่กีดขวางการปฏิรูป ถึงแม้ในระยะสองสามปีที่ผ่านมา เวินได้เคยพูดจาเรียกร้องหลายสิบครั้งทีเดียวให้เร่งรัดการปฏิรูปทางการเมือง รวมทั้งให้ยึดมั่นปฏิบัติตามคำสั่งเสียในเรื่องนี้ของ เติ้ง เสี่ยวผิง อดีตผู้นำสูงสุดผู้ล่วงลับ แต่คราวนี้นับเป็นครั้งแรกที่เขาได้อ้างอิงอย่างอ้อมๆ ทว่าชัดเจนแจ่มแจ้ง ถึง 1 ในบรรดาคำปราศรัยที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดของบุรุษผู้ได้ชื่อว่าเป็นสถาปนิกใหญ่ของการปฏิรูปของจีนผู้นี้
ทั้งนี้ ในคำปราศรัยเมื่อปี 1980 ที่ใช้ชื่อเรื่องว่า “ว่าด้วยการปฏิรูประบบผู้นำพรรคและรัฐ” (On the Reform of the System of Party and State Leadership) เติ้งได้ระบุถึงการประพฤติปฏิบัติต่างๆ ที่จะเป็นอุปสรรคใหญ่ของกระบวนการเปิดเสรีทางการเมืองและกระบวนการเปิดเสรีเชิงสถาบัน ซึ่งได้แก่ “ลัทธิขุนนาง, การรวมศูนย์อำนาจไว้ในมือมากเกินไป, วิธีการต่างๆ แบบพ่อบ้าน, การครองตำแหน่งระดับผู้นำไปจนตลอดชีวิต, และการมีอภิสิทธิ์นานาประเภท”
เติ้งได้อธิบายแจกแจงประเพณี “การทำตัวแบบพ่อบ้าน” ของพรรคเอาไว้ดังนี้: “นอกจากนำไปสู่ภาวะการรวมศูนย์อำนาจเอาไว้ในมือของบุคคลต่างๆ มากเกินไปแล้ว วิถีทางต่างๆ แบบพ่อบ้านภายในแวดวงของนักปฏิวัตินั้นจะให้ความสำคัญแก่ตัวบุคคลเหนือองค์การจัดตั้ง ซึ่งก็จะทำให้องค์การจัดตั้งกลายเป็นเพียงเครื่องมือในกำมือของพวกเขาเท่านั้น”
ขณะที่ไม่ได้มีหลักฐานเป็นรูปธรรมใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่า เวินกำลังมุ่งวิพากษ์วิจารณ์ที่กิจกรรมในช่วงหลังๆ นี้ของบุคคลทรงอิทธิพลตัวใหญ่ๆ อย่างเช่น เจียง เจ๋อหมิน แต่ก็มีข้อน่าสังเกตว่าการแสดงความคิดเห็นต่อคณะผู้แทนจากเทียนจินของเขาคราวนี้ ได้ถูกตัดออกไปจากรายการข่าวภาคค่ำเมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว (15 พ.ย.) ของสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของทางการจีน (CCTV) อย่างชนิดหาคำอธิบายไม่ได้ สำนักข่าวซินหวาก็เพิ่งมาเสนอข่าวนี้เอาในวันถัดมา ทั้งๆ ที่ การตั้งข้อสังเกตแสดงความคิดเห็นของสมาชิกคณะกรรมการประจำกรมการเมืองคนอื่นๆ ในระหว่างไปเยี่ยมเยียนและเข้าร่วมการอภิปรายของคณะผู้แทนระดับมณฑลและมหานครเทียบเท่ามณฑลเช่นนี้ ต่างได้รับการเผยแพร่จากสื่อมวลชนของทางการเหล่านี้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง
ดร.วิลลี โว-ลัป ลัม (Dr Willy Wo-Lap Lam) เป็นนักวิจัยอาวุโส ณ มูลนิธิเจมส์ทาวน์ (The Jamestown Foundation) และเคยทำงานในระดับบรรณาธิการอาวุโสของสื่อระหว่างประเทศหลายเจ้า เช่น นิตยสารเอเชียวีก, หนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์, และในสำนักงานใหญ่ภาคเอเชีย-แปซิฟิก ของ ซีเอ็นเอ็น เขาเขียนหนังสือเกี่ยวกับประเทศจีนมาแล้ว 5 เล่ม โดยเล่มที่เพิ่งตีพิมพ์จำหน่ายเมื่อเร็วๆ นี้คือ “Chinese Politics in the Hu Jintao Era: New Leaders, New Challenges” เขายังเป็นศาสตราจารย์วุฒิคุณ (Adjunct Professor) ในด้านจีนศึกษา ณ มหาวิทยาลัยนานาชาติอะคิตะ (Akita International University) ประเทศญี่ปุ่น และที่ มหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง (Chinese University of Hong Kong)
(อ่านต่อตอน2 ซึ่งเป็นตอนจบ)