(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Hu hands China’s military baton to Xi
By Wu Zhong
15/11/2012
เป็นไปตามที่คาดการณ์กันอยู่ทั่วไป สี จิ้นผิง ก้าวขึ้นนั่งเป็นประธานของคณะกรรมการประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีขนาดเล็กลงมา เมื่อเขาเข้ารับสืบทอดตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ของพรรคอย่างเป็นทางการในวันพฤหัสบดี (15 พ.ย.) ที่ผ่านมา นอกจากนั้น พอถึงวาระเปิดประชุมเต็มคณะของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ (รัฐสภาจีน) ในเดือนมีนาคมปีหน้า เขาก็จะได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีของสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างไม่มีปัญหา แต่สิ่งที่ออกจะยังความประหลาดใจกันอยู่บ้าง ก็คือ เขาได้ขึ้นเป็นประธานของคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง ตั้งแต่ตอนนี้เลย เรื่องนี้เป็นสัญญาณอันชัดเจนว่า หู จิ่นเทา ผู้นำสูงสุดคนก่อนที่กำลังก้าวลงจากเวทีนั้น มีความตั้งใจที่จะปลดเกษียณอำลาการเมืองแบบเต็มตัว สำหรับตัวบุคคลอื่นๆ ในคณะผู้นำชุดใหม่ คนที่ได้รับการจับตามองเป็นพิเศษ ย่อมต้องเป็น หวัง ฉีซาน ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจซึ่งได้รับมอบหมายภารกิจเป็นมือปราบการทุจริตคอร์รัปชั่นของพรรค
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ถ้าหากจะเจาะลึกดูกันในเรื่องเส้นสายฝักฝ่าย สมาชิกของคณะกรรมการประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดใหม่ 7 คนนี้ นับว่าเป็นตัวแทนจากฝ่ายต่างๆ หลายหลาก สี จิ้นผิง กับ หวัง ฉีซาน ควรจัดว่ามาจากก๊กลูกท่านหลานเธอ สำหรับ หลี่ เค่อเฉียง อยู่ในก๊กสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์ ของ หู จิ่นเทา ขณะที่ อี๋ว์ เจิ้งเซิง เป็นทั้งพวกลูกท่านหลานเธอ และก็ถูกมองว่าเป็นคนของ เจียง เจ๋อหมิน เช่นเดียวกับ หลิว อิ๋ว์นซาน และ จาง เกาลี่ ที่ถูกมองเป็นคนของ เจียง เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ จึงมองกันว่าก๊กเซี่ยงไฮ้ ของเจียง ดูเหมือนจะเป็นฝ่ายได้เปรียบในการเปลี่ยนถ่ายอำนาจคราวนี้
อย่างไรก็ดี เมื่อดูจากภารกิจอันหนักหนาสาหัสทั้งหลายที่รออยู่เบื้องหน้า พวกเขาทั้งหมดต่างก็กำลังอยู่ในเรือลำเดียวกัน และจะต้องทำงานร่วมกัน ตลอดจนต้องประนีประนอมกันเมื่อพวกเขาเกิดความคิดเห็นแตกต่างกันขึ้นมา
ลักษณะเด่นประการหนึ่งของคณะกรรมการประจำกรมการเมืองชุดใหม่นี้ก็คือ เหล่าสมาชิกมีระดับการศึกษาสูงกว่าชุดก่อนๆ ในอดีต ทั้งนี้ สี จิ้นผิง และ หลี่ เค่อเฉียง ต่างสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก (สี จบด้านนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชิงหวา ส่วน หลี่ จบด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง) เรื่องเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
พวกเขายังมีอายุหนุ่มแน่นกว่าชุดก่อนๆ ทุกคนต่างเกิดในระหว่างปลายทศวรรษ 1940 จนถึงต้นทศวรรษ 1950 นั่นหมายความว่าพวกเขาทั้งหมดล้วนเติบใหญ่ขึ้นมาในยุคของเหมา เจ๋อตง การที่เคยเผชิญกับภาวะอดอยากในระหว่างที่ เหมา ใช้นโยบาย “ก้าวกระโดดใหญ่” และผ่านประสบการณ์ความปั่นป่วนวุ่นวายในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม อีกทั้งเคยถูกส่งตัวไปทำงานในระดับรากหญ้า น่าจะทำให้พวกเขาตระหนักซาบซึ้งว่าเส้นทางเดินเส้นทางไหนที่ดีกว่าสำหรับประเทศจีน และจะให้การสนับสนุนการปฏิรูปและการเปิดประตูประเทศ เมื่อมองกันในแง่นี้แล้ว พวกเขาทั้งหมดย่อมสามารถที่จะเรียกได้ว่าเป็นพวกหัวปฏิรูป ถึงแม้นี่ย่อมไม่จำเป็นที่จะต้องหมายความว่าพวกเขาจะเห็นชอบเห็นงามกับนโยบายและมาตรการในทางปฏิรูปทุกๆ ประการก็ตามที
ทุกๆ คนยกเว้น หลิว อิ๋ว์นซาน ยังมีประสบการณ์ในการบริหารปกครองมณฑลหรือมหานครเทียบเท่ามณฑลมาแล้ว ดังนั้นจึงซาบซึ้งเรื่องความยากลำบากต่างๆ ของพวกรัฐบาลระดับท้องถิ่น นอกจากนั้น พวกเขายังน่าจะตระหนักและจับได้ไล่ทันประดาลูกเล่นกลเม็ดที่พวกเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นอาจจะนำมาใช้ และจะไม่ยอมถูกหลอกต้มอย่างง่ายๆ
**เป้าหมายในเชิงปริมาณ**
ถือเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับคณะผู้นำชุดใหม่ที่ หู ไม่นั่งในตำแหน่งประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลางต่อไปอีก ยิ่งถ้าหากในช่วงแห่งการปลดเกษียณ หู จะไม่ยื่นมือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการในพรรคและกิจการของรัฐจริงๆ แล้ว สี และทีมงานของเขาก็น่าจะสามารถแสดงศักยภาพของพวกเขาเองออกมาได้อย่างเต็มที่ และถึงแม้พวกผู้อาวุโสของพรรครุ่นเก่าๆ กว่านั้น อย่างเช่น เจียง เจ๋อหมิน ยังคงต้องการที่จะเข้ามาแทรกแซง แต่อีกไม่ช้าไม่นานพวกเขาก็จะต้องหมดน้ำยาไปเองเนื่องจากความจำกัดของวัย
ในการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 18 คราวนี้ มีการระบุเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรมออกมา 2 ประการ ได้แก่ การเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ขึ้นไปอีก 1 เท่าตัวภายในปี 2020 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2010 และการเพิ่มรายได้ของประชาชนขึ้นไปอีก 1 เท่าตัวเช่นกันในช่วงระยะเวลาเดียวกัน เป้าหมายเหล่านี้เป็นเป้าหมายในเชิงปริมาณ การที่จะทำให้สำเร็จนั้น คณะผู้นำชุดใหม่จะต้องทำให้มั่นใจได้ว่าทั้ง จีดีพี และรายได้ประชาชน จะต้องมีอัตราเติบโตขยายตัวอย่างน้อยที่สุดปีละ 7.5% ตลอดระยะเวลา 8 ปีต่อจากนี้ไป ถ้าหากพวกเขาล้มเหลวทำไม่ได้ ประชาชนก็ย่อมจะต้องไม่พอใจพวกเขา
ทั้งนี้พวกเขาต้องขึ้นครองอำนาจในจังหวะเวลาที่ไม่ดีเอาเสียเลย ขณะที่เศรษฐกิจของจีนเองอาจจะหลุดออกมาจากช่วงที่ลงไปจนต่ำสุดแล้ว แต่พลังขับดันให้เกิดการเจริญเติบโตยังคงอยู่ในภาวะอ่อนแอ ด้วยเหตุนี้ นับตั้งแต่วันที่ 1 ที่เข้ารับตำแหน่งหน้าที่ สี และทีมงานก็จะสร้างใช้สมองของพวกเขาขบคิดอย่างหนักหน่วงถึงวิธีการที่จะกระตุ้นการเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจ
นอกจากนั้น พวกเขายังจะต้องตามสะสางเช็ดล้างความยุ่งเหยิงที่ถูกทิ้งเอาไว้จากยุคแห่งการนำของ หู จิ่นเทา-เวิน เจียเป่า อีกด้วย
ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนบรรลุการถ่ายโอนอำนาจสู่คณะผู้นำชุดใหม่ด้วยการจัดประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศครั้งที่ 18 นั้น หนังสือพิมพ์เหรินหมินรึเป้า ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ธงนำของพรรค ได้ตีพิมพ์บทความชิ้นหนึ่งทางเว็บไซต์ของตน ที่มีเนื้อหาเป็นการสรุปผลงานคุณูปการต่างๆ ของเหล่าผู้นำพรรคในช่วงที่ผ่านมา
“ประธานเหมาได้นำพาประชาชนจีนให้ลุกยืนขึ้นมา, เติ้ง เสี่ยวผิง นำพาประชาชนจีนให้กลายเป็นคนมั่งคั่งร่ำรวย, เจียง เจ๋อหมิน นำพาประชาชนจีนให้เติบใหญ่แข็งแรงยิ่งขึ้นอีก, และ หู จิ่นเทา นำพาประชาชนจีนให้ทะยานขึ้น (สู่ท้องฟ้า)” บทความดังกล่าวเขียนเอาไว้เช่นนี้ โดยระบุว่าเป็นการอ้างอิงคำพูดของเกษตรกรเลี้ยงไก่วัยอาวุโสผู้หนึ่ง ปรากฏว่าข้อความเหล่านี้ก่อให้เกิดการถกเถียงโต้แย้งกันใหญ่ในหมู่ชาวเน็ตจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่ยกย่องสรรเสริญ หู
แน่นอนทีเดียว เศรษฐกิจจีนได้ทะยานขึ้นไปลิบลิ่วในรอบ 1 ทศวรรษที่ผ่านมาภายใต้การนำของ หู-เวิน ทว่าแดนมังกรก็ต้องจ่ายด้วยราคาอันหนักหน่วงสาหัสให้แก่การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างน่ามหัศจรรย์ดังกล่าวนี้ ไม่ว่าจะในรูปของช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนที่ถ่างกว้าง, การทุจริตคอร์รัปชั่นที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย, ปัญหาต่างๆ ทางด้านความปลอดภัยของอาหารและความปลอดภัยของยารักษาโรค, ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากสภาพแวดล้อม-ระบบนิเวศ ก็ปรากฏขึ้นมาหลายครั้งหลายหน ... ราคาที่ต้องจ่ายเหล่านี้แพงเหลือใจจริงๆ จนกระทั่งผลการสำรวจความคิดเห็นครั้งต่างๆ ล้วนแสดงชี้ชัดว่าประชาชนจีนในทุกวันนี้รู้สึกมีความสุขน้อยกว่าเมื่อก่อน
สี และทีมงานจะต้องจัดการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยที่แต่ละอย่างล้วนไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยที่จะคลี่คลาย พวกเขาจะต้องต่อสู้ในสมรภูมิอันลำบากยากยิ่งในทุกๆ แนวรบเลยทีเดียว
หมายเหตุผู้แปล
เพื่อให้ข้อเขียนชิ้นนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอนำประวัติย่อของคณะกรรมการประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดใหม่ทั้ง 7 คน มาเผยแพร่เพิ่มเติมในที่นี่ ดังนี้
*สี จิ้นผิง*
เขาเป็นบุตรชายของนักปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีนที่ได้รับการยกย่องนับถือกันมาก ว่ากันว่าเขาได้รับการหนุนหลังจากอดีตประธานาธิบดี เจียง เจ๋อหมิน ผู้ซึ่งยังคงมีอิทธพลอยู่จนถึงทุกวันนี้ แต่ สี ก็ถูกมองกันอย่างกว้างขวางเช่นกัน เป็นบุคคลที่ฝักฝ่ายต่างๆ ภายในพรรคให้การยอมรับกันได้มากที่สุด
สี เคยผ่านงานเป็นผู้นำระดับสูงสุดทั้งที่มหานครเซี่ยงไฮ้ และพวกมณฑลชายฝั่งทะเลอย่าง ฝู่เจี้ยน และ เจ้อเจียง ซึ่งทุกๆ แห่งต่างเป็นพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในทางเศรษฐกิจ ภรรยาของเขาที่ชื่อ เผิง ลี่หยวน เป็นนักร้องชื่อเสียงโด่งดังและมียศทางทหารระดับนายพล ขณะที่บุตรสาวของพวกเขาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
*หลี่ เค่อเฉียง*
หลี่เป็นขุนนางข้าราชการที่สามารถเผยรอยยิ้มออกมาได้อย่างง่ายดายผิดธรรมดาสำหรับพวกผู้ปฏิบัติงานชาวคอมมิวนิสต์ซึ่งมักไร้สีสันไร้ชีวิตชีวา ในขณะเดียวกัน หลี่ ก็สามารถเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับชั้นในพรรค เขาเคยผ่านตำแหน่งระดับสูงสุดในมณฑลเหอหนาน และมณฑลเหลียวหนิง และได้รับเลื่อนให้เป็นสมาชิกคณะกรรมการประจำกรมการเมืองตั้งแต่ปี 2007 ขณะที่ตำแหน่งในภาครัฐปัจจุบันคือเป็นรองนายกรัฐมนตรี เขามีสายสัมพันธ์โยงใยกับ หู จิ่นเทา มายาวนาน หลี่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดี และสำเร็จการศึกษาด้านนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง
*จาง เต๋อเจียง*
จางได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการพรรคสาขามหานครฉงชิ่งในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ โดยเข้าแทนที่ ป๋อ ซีไหล ผู้ตกลงจากอำนาจท่ามกลางข่าวฉาวโฉ่ซึ่งยิ่งเพิ่มความไม่แน่นอนให้แก่การต่อรองและการช่วงชิงอำนาจที่มีอยู่เป็นปกติในระหว่างฝักฝ่ายต่างๆ ในพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยเฉพาะในช่วงก่อนหน้าการเปลี่ยนถ่ายอำนาจคณะผู้นำ
เขาสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคิมอิลซุง ในเกาหลีเหนือ และขึ้นดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีรับผิดชอบด้านพลังงาน, โทรคมนาคม, และการขนส่ง มาตั้งแต่ปี 2008
เชื่อกันว่าเขาเป็นคนสนิทใกล้ชิดกับ เจียง เจ๋อหมิน เขาเคยเป็นเลขาธิการพรรคสาขามณฑลเจ้อเจียง และมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งต่างมีเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรือง
*อี๋ว์ เจิ้งเซิง*
อี๋ว์ เป็นเลขาธิการพรรคสาขามหานครเซี่ยงไฮ้ตั้งแต่ปี 2007 โดยเข้าแทนที่ สี จิ้นผิง ผู้ได้รับการเลือกเลื่อนให้ดำรงตำแหน่งใหญ่ในส่วนกลาง ก่อนหน้านั้นเขายังเคยเป็นเลขาธิการพรรคสาขามณฑลหูเป่ย อี๋ว์สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิศวกรรมทหารฮาร์บิน มณฑลเฮยหลงเจียง
เขาเป็นบุตรชายของ อี๋ว์ ฉี่เวย ผู้อาวุโสของพรรคคนหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากกว่าในนาม “หวง จิ้ง” ด้วยเหตุนี้เขาจึงถูกจัดให้อยู่ในก๊กลูกท่านหลานเธอ และมีรายงานว่าเขามีสายสัมพันธ์อันดีกับ เติ้ง เสี่ยวผิง รวมทั้งเป็นเพื่อนกับบุตรชายคนโตของเติ้ง ที่ชื่อ เติ้ง ผู่ฟาง
*หลิว อิ๋ว์นซาน*
หลิวดำรงตำแหน่งผู้รับผิดชอบกระทรวงโฆษณาการของพรรคมาตั้งแต่ปี 2002 เขาเคยเป็นนักข่าวของสำนักข่าวซินหวาของทางการจีนในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ในช่วงกลางทศวรรษ 1970 หลิวได้ขึ้นเป็นรองเลขาธิการพรรคของพื้นที่ดังกล่าวในปี 1992 เขาถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นพวกหัวอนุรักษนิยม
*หวัง ฉีซาน*
หวัง เคยเป็นนายกเทศมนตรีมหานครปักกิ่ง, เคยเป็นนายใหญ่ของมณฑลกวางตุ้ง, และรองผู้ว่าการธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (ธนาคารกลางของแดนมังกร) เขาสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดี และเป็นตัวแทนของจีนในการเจรจาหารือทางเศรษฐกิจกับสหรัฐฯและสหภาพยุโรป โดยที่พวกผู้นำของฝ่ายตะวันตกเหล่านี้ต่างยกย่องเขาในเรื่องความพยายามที่จะผลักดันให้สายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจก้าวหน้าไป
เขาแต่งงานกับบุตรสาวของ เหยา อีหลิน ผู้เป็นสมาชิกคนหนึ่งของคณะกรรมการประจำกรมการเมืองในยุค เติ้ง เสี่ยวผิง และมักถูกจัดให้อยู่ในก๊กลูกท่านหลานเธอ
*จาง เกาลี่*
จางดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคสาขามหานครเทียนจิน (เทียนสิน) ตั้งแต่ปี 2007 เขาสำเร็จการศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ และทำงานอยู่หลายสิบปีในมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจในภาคใต้ของประเทศ จวบจนกระทั่งขึ้นสู่ตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคสาขากวางตุ้ง
เขาเป็นผู้บริหารสูงสุดของเมืองเซินเจิ้น ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 และต่อมาไปรับหน้าที่เป็นเลขาธิการพรรคสาขามณฑลซานตง ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศ มีรายงานว่าเขาเป็นคนสนิทของ เจียง เจ๋อหมิน และมีความสนิทสนมกับ ลี กาชิง อภิมหาเศรษฐีของฮ่องกง
(ข้อมูลจากสำนักข่าวเอเอฟพี)
อู่ จง เป็นบรรณาธิการด้านจีนของเอเชียไทมส์ออนไลน์
Hu hands China’s military baton to Xi
By Wu Zhong
15/11/2012
เป็นไปตามที่คาดการณ์กันอยู่ทั่วไป สี จิ้นผิง ก้าวขึ้นนั่งเป็นประธานของคณะกรรมการประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีขนาดเล็กลงมา เมื่อเขาเข้ารับสืบทอดตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ของพรรคอย่างเป็นทางการในวันพฤหัสบดี (15 พ.ย.) ที่ผ่านมา นอกจากนั้น พอถึงวาระเปิดประชุมเต็มคณะของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ (รัฐสภาจีน) ในเดือนมีนาคมปีหน้า เขาก็จะได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีของสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างไม่มีปัญหา แต่สิ่งที่ออกจะยังความประหลาดใจกันอยู่บ้าง ก็คือ เขาได้ขึ้นเป็นประธานของคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง ตั้งแต่ตอนนี้เลย เรื่องนี้เป็นสัญญาณอันชัดเจนว่า หู จิ่นเทา ผู้นำสูงสุดคนก่อนที่กำลังก้าวลงจากเวทีนั้น มีความตั้งใจที่จะปลดเกษียณอำลาการเมืองแบบเต็มตัว สำหรับตัวบุคคลอื่นๆ ในคณะผู้นำชุดใหม่ คนที่ได้รับการจับตามองเป็นพิเศษ ย่อมต้องเป็น หวัง ฉีซาน ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจซึ่งได้รับมอบหมายภารกิจเป็นมือปราบการทุจริตคอร์รัปชั่นของพรรค
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ถ้าหากจะเจาะลึกดูกันในเรื่องเส้นสายฝักฝ่าย สมาชิกของคณะกรรมการประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดใหม่ 7 คนนี้ นับว่าเป็นตัวแทนจากฝ่ายต่างๆ หลายหลาก สี จิ้นผิง กับ หวัง ฉีซาน ควรจัดว่ามาจากก๊กลูกท่านหลานเธอ สำหรับ หลี่ เค่อเฉียง อยู่ในก๊กสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์ ของ หู จิ่นเทา ขณะที่ อี๋ว์ เจิ้งเซิง เป็นทั้งพวกลูกท่านหลานเธอ และก็ถูกมองว่าเป็นคนของ เจียง เจ๋อหมิน เช่นเดียวกับ หลิว อิ๋ว์นซาน และ จาง เกาลี่ ที่ถูกมองเป็นคนของ เจียง เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ จึงมองกันว่าก๊กเซี่ยงไฮ้ ของเจียง ดูเหมือนจะเป็นฝ่ายได้เปรียบในการเปลี่ยนถ่ายอำนาจคราวนี้
อย่างไรก็ดี เมื่อดูจากภารกิจอันหนักหนาสาหัสทั้งหลายที่รออยู่เบื้องหน้า พวกเขาทั้งหมดต่างก็กำลังอยู่ในเรือลำเดียวกัน และจะต้องทำงานร่วมกัน ตลอดจนต้องประนีประนอมกันเมื่อพวกเขาเกิดความคิดเห็นแตกต่างกันขึ้นมา
ลักษณะเด่นประการหนึ่งของคณะกรรมการประจำกรมการเมืองชุดใหม่นี้ก็คือ เหล่าสมาชิกมีระดับการศึกษาสูงกว่าชุดก่อนๆ ในอดีต ทั้งนี้ สี จิ้นผิง และ หลี่ เค่อเฉียง ต่างสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก (สี จบด้านนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชิงหวา ส่วน หลี่ จบด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง) เรื่องเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
พวกเขายังมีอายุหนุ่มแน่นกว่าชุดก่อนๆ ทุกคนต่างเกิดในระหว่างปลายทศวรรษ 1940 จนถึงต้นทศวรรษ 1950 นั่นหมายความว่าพวกเขาทั้งหมดล้วนเติบใหญ่ขึ้นมาในยุคของเหมา เจ๋อตง การที่เคยเผชิญกับภาวะอดอยากในระหว่างที่ เหมา ใช้นโยบาย “ก้าวกระโดดใหญ่” และผ่านประสบการณ์ความปั่นป่วนวุ่นวายในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม อีกทั้งเคยถูกส่งตัวไปทำงานในระดับรากหญ้า น่าจะทำให้พวกเขาตระหนักซาบซึ้งว่าเส้นทางเดินเส้นทางไหนที่ดีกว่าสำหรับประเทศจีน และจะให้การสนับสนุนการปฏิรูปและการเปิดประตูประเทศ เมื่อมองกันในแง่นี้แล้ว พวกเขาทั้งหมดย่อมสามารถที่จะเรียกได้ว่าเป็นพวกหัวปฏิรูป ถึงแม้นี่ย่อมไม่จำเป็นที่จะต้องหมายความว่าพวกเขาจะเห็นชอบเห็นงามกับนโยบายและมาตรการในทางปฏิรูปทุกๆ ประการก็ตามที
ทุกๆ คนยกเว้น หลิว อิ๋ว์นซาน ยังมีประสบการณ์ในการบริหารปกครองมณฑลหรือมหานครเทียบเท่ามณฑลมาแล้ว ดังนั้นจึงซาบซึ้งเรื่องความยากลำบากต่างๆ ของพวกรัฐบาลระดับท้องถิ่น นอกจากนั้น พวกเขายังน่าจะตระหนักและจับได้ไล่ทันประดาลูกเล่นกลเม็ดที่พวกเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นอาจจะนำมาใช้ และจะไม่ยอมถูกหลอกต้มอย่างง่ายๆ
**เป้าหมายในเชิงปริมาณ**
ถือเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับคณะผู้นำชุดใหม่ที่ หู ไม่นั่งในตำแหน่งประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลางต่อไปอีก ยิ่งถ้าหากในช่วงแห่งการปลดเกษียณ หู จะไม่ยื่นมือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการในพรรคและกิจการของรัฐจริงๆ แล้ว สี และทีมงานของเขาก็น่าจะสามารถแสดงศักยภาพของพวกเขาเองออกมาได้อย่างเต็มที่ และถึงแม้พวกผู้อาวุโสของพรรครุ่นเก่าๆ กว่านั้น อย่างเช่น เจียง เจ๋อหมิน ยังคงต้องการที่จะเข้ามาแทรกแซง แต่อีกไม่ช้าไม่นานพวกเขาก็จะต้องหมดน้ำยาไปเองเนื่องจากความจำกัดของวัย
ในการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 18 คราวนี้ มีการระบุเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรมออกมา 2 ประการ ได้แก่ การเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ขึ้นไปอีก 1 เท่าตัวภายในปี 2020 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2010 และการเพิ่มรายได้ของประชาชนขึ้นไปอีก 1 เท่าตัวเช่นกันในช่วงระยะเวลาเดียวกัน เป้าหมายเหล่านี้เป็นเป้าหมายในเชิงปริมาณ การที่จะทำให้สำเร็จนั้น คณะผู้นำชุดใหม่จะต้องทำให้มั่นใจได้ว่าทั้ง จีดีพี และรายได้ประชาชน จะต้องมีอัตราเติบโตขยายตัวอย่างน้อยที่สุดปีละ 7.5% ตลอดระยะเวลา 8 ปีต่อจากนี้ไป ถ้าหากพวกเขาล้มเหลวทำไม่ได้ ประชาชนก็ย่อมจะต้องไม่พอใจพวกเขา
ทั้งนี้พวกเขาต้องขึ้นครองอำนาจในจังหวะเวลาที่ไม่ดีเอาเสียเลย ขณะที่เศรษฐกิจของจีนเองอาจจะหลุดออกมาจากช่วงที่ลงไปจนต่ำสุดแล้ว แต่พลังขับดันให้เกิดการเจริญเติบโตยังคงอยู่ในภาวะอ่อนแอ ด้วยเหตุนี้ นับตั้งแต่วันที่ 1 ที่เข้ารับตำแหน่งหน้าที่ สี และทีมงานก็จะสร้างใช้สมองของพวกเขาขบคิดอย่างหนักหน่วงถึงวิธีการที่จะกระตุ้นการเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจ
นอกจากนั้น พวกเขายังจะต้องตามสะสางเช็ดล้างความยุ่งเหยิงที่ถูกทิ้งเอาไว้จากยุคแห่งการนำของ หู จิ่นเทา-เวิน เจียเป่า อีกด้วย
ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนบรรลุการถ่ายโอนอำนาจสู่คณะผู้นำชุดใหม่ด้วยการจัดประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศครั้งที่ 18 นั้น หนังสือพิมพ์เหรินหมินรึเป้า ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ธงนำของพรรค ได้ตีพิมพ์บทความชิ้นหนึ่งทางเว็บไซต์ของตน ที่มีเนื้อหาเป็นการสรุปผลงานคุณูปการต่างๆ ของเหล่าผู้นำพรรคในช่วงที่ผ่านมา
“ประธานเหมาได้นำพาประชาชนจีนให้ลุกยืนขึ้นมา, เติ้ง เสี่ยวผิง นำพาประชาชนจีนให้กลายเป็นคนมั่งคั่งร่ำรวย, เจียง เจ๋อหมิน นำพาประชาชนจีนให้เติบใหญ่แข็งแรงยิ่งขึ้นอีก, และ หู จิ่นเทา นำพาประชาชนจีนให้ทะยานขึ้น (สู่ท้องฟ้า)” บทความดังกล่าวเขียนเอาไว้เช่นนี้ โดยระบุว่าเป็นการอ้างอิงคำพูดของเกษตรกรเลี้ยงไก่วัยอาวุโสผู้หนึ่ง ปรากฏว่าข้อความเหล่านี้ก่อให้เกิดการถกเถียงโต้แย้งกันใหญ่ในหมู่ชาวเน็ตจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่ยกย่องสรรเสริญ หู
แน่นอนทีเดียว เศรษฐกิจจีนได้ทะยานขึ้นไปลิบลิ่วในรอบ 1 ทศวรรษที่ผ่านมาภายใต้การนำของ หู-เวิน ทว่าแดนมังกรก็ต้องจ่ายด้วยราคาอันหนักหน่วงสาหัสให้แก่การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างน่ามหัศจรรย์ดังกล่าวนี้ ไม่ว่าจะในรูปของช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนที่ถ่างกว้าง, การทุจริตคอร์รัปชั่นที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย, ปัญหาต่างๆ ทางด้านความปลอดภัยของอาหารและความปลอดภัยของยารักษาโรค, ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากสภาพแวดล้อม-ระบบนิเวศ ก็ปรากฏขึ้นมาหลายครั้งหลายหน ... ราคาที่ต้องจ่ายเหล่านี้แพงเหลือใจจริงๆ จนกระทั่งผลการสำรวจความคิดเห็นครั้งต่างๆ ล้วนแสดงชี้ชัดว่าประชาชนจีนในทุกวันนี้รู้สึกมีความสุขน้อยกว่าเมื่อก่อน
สี และทีมงานจะต้องจัดการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยที่แต่ละอย่างล้วนไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยที่จะคลี่คลาย พวกเขาจะต้องต่อสู้ในสมรภูมิอันลำบากยากยิ่งในทุกๆ แนวรบเลยทีเดียว
หมายเหตุผู้แปล
เพื่อให้ข้อเขียนชิ้นนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอนำประวัติย่อของคณะกรรมการประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดใหม่ทั้ง 7 คน มาเผยแพร่เพิ่มเติมในที่นี่ ดังนี้
*สี จิ้นผิง*
เขาเป็นบุตรชายของนักปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีนที่ได้รับการยกย่องนับถือกันมาก ว่ากันว่าเขาได้รับการหนุนหลังจากอดีตประธานาธิบดี เจียง เจ๋อหมิน ผู้ซึ่งยังคงมีอิทธพลอยู่จนถึงทุกวันนี้ แต่ สี ก็ถูกมองกันอย่างกว้างขวางเช่นกัน เป็นบุคคลที่ฝักฝ่ายต่างๆ ภายในพรรคให้การยอมรับกันได้มากที่สุด
สี เคยผ่านงานเป็นผู้นำระดับสูงสุดทั้งที่มหานครเซี่ยงไฮ้ และพวกมณฑลชายฝั่งทะเลอย่าง ฝู่เจี้ยน และ เจ้อเจียง ซึ่งทุกๆ แห่งต่างเป็นพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในทางเศรษฐกิจ ภรรยาของเขาที่ชื่อ เผิง ลี่หยวน เป็นนักร้องชื่อเสียงโด่งดังและมียศทางทหารระดับนายพล ขณะที่บุตรสาวของพวกเขาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
*หลี่ เค่อเฉียง*
หลี่เป็นขุนนางข้าราชการที่สามารถเผยรอยยิ้มออกมาได้อย่างง่ายดายผิดธรรมดาสำหรับพวกผู้ปฏิบัติงานชาวคอมมิวนิสต์ซึ่งมักไร้สีสันไร้ชีวิตชีวา ในขณะเดียวกัน หลี่ ก็สามารถเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับชั้นในพรรค เขาเคยผ่านตำแหน่งระดับสูงสุดในมณฑลเหอหนาน และมณฑลเหลียวหนิง และได้รับเลื่อนให้เป็นสมาชิกคณะกรรมการประจำกรมการเมืองตั้งแต่ปี 2007 ขณะที่ตำแหน่งในภาครัฐปัจจุบันคือเป็นรองนายกรัฐมนตรี เขามีสายสัมพันธ์โยงใยกับ หู จิ่นเทา มายาวนาน หลี่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดี และสำเร็จการศึกษาด้านนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง
*จาง เต๋อเจียง*
จางได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการพรรคสาขามหานครฉงชิ่งในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ โดยเข้าแทนที่ ป๋อ ซีไหล ผู้ตกลงจากอำนาจท่ามกลางข่าวฉาวโฉ่ซึ่งยิ่งเพิ่มความไม่แน่นอนให้แก่การต่อรองและการช่วงชิงอำนาจที่มีอยู่เป็นปกติในระหว่างฝักฝ่ายต่างๆ ในพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยเฉพาะในช่วงก่อนหน้าการเปลี่ยนถ่ายอำนาจคณะผู้นำ
เขาสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคิมอิลซุง ในเกาหลีเหนือ และขึ้นดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีรับผิดชอบด้านพลังงาน, โทรคมนาคม, และการขนส่ง มาตั้งแต่ปี 2008
เชื่อกันว่าเขาเป็นคนสนิทใกล้ชิดกับ เจียง เจ๋อหมิน เขาเคยเป็นเลขาธิการพรรคสาขามณฑลเจ้อเจียง และมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งต่างมีเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรือง
*อี๋ว์ เจิ้งเซิง*
อี๋ว์ เป็นเลขาธิการพรรคสาขามหานครเซี่ยงไฮ้ตั้งแต่ปี 2007 โดยเข้าแทนที่ สี จิ้นผิง ผู้ได้รับการเลือกเลื่อนให้ดำรงตำแหน่งใหญ่ในส่วนกลาง ก่อนหน้านั้นเขายังเคยเป็นเลขาธิการพรรคสาขามณฑลหูเป่ย อี๋ว์สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิศวกรรมทหารฮาร์บิน มณฑลเฮยหลงเจียง
เขาเป็นบุตรชายของ อี๋ว์ ฉี่เวย ผู้อาวุโสของพรรคคนหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากกว่าในนาม “หวง จิ้ง” ด้วยเหตุนี้เขาจึงถูกจัดให้อยู่ในก๊กลูกท่านหลานเธอ และมีรายงานว่าเขามีสายสัมพันธ์อันดีกับ เติ้ง เสี่ยวผิง รวมทั้งเป็นเพื่อนกับบุตรชายคนโตของเติ้ง ที่ชื่อ เติ้ง ผู่ฟาง
*หลิว อิ๋ว์นซาน*
หลิวดำรงตำแหน่งผู้รับผิดชอบกระทรวงโฆษณาการของพรรคมาตั้งแต่ปี 2002 เขาเคยเป็นนักข่าวของสำนักข่าวซินหวาของทางการจีนในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ในช่วงกลางทศวรรษ 1970 หลิวได้ขึ้นเป็นรองเลขาธิการพรรคของพื้นที่ดังกล่าวในปี 1992 เขาถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นพวกหัวอนุรักษนิยม
*หวัง ฉีซาน*
หวัง เคยเป็นนายกเทศมนตรีมหานครปักกิ่ง, เคยเป็นนายใหญ่ของมณฑลกวางตุ้ง, และรองผู้ว่าการธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (ธนาคารกลางของแดนมังกร) เขาสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดี และเป็นตัวแทนของจีนในการเจรจาหารือทางเศรษฐกิจกับสหรัฐฯและสหภาพยุโรป โดยที่พวกผู้นำของฝ่ายตะวันตกเหล่านี้ต่างยกย่องเขาในเรื่องความพยายามที่จะผลักดันให้สายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจก้าวหน้าไป
เขาแต่งงานกับบุตรสาวของ เหยา อีหลิน ผู้เป็นสมาชิกคนหนึ่งของคณะกรรมการประจำกรมการเมืองในยุค เติ้ง เสี่ยวผิง และมักถูกจัดให้อยู่ในก๊กลูกท่านหลานเธอ
*จาง เกาลี่*
จางดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคสาขามหานครเทียนจิน (เทียนสิน) ตั้งแต่ปี 2007 เขาสำเร็จการศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ และทำงานอยู่หลายสิบปีในมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจในภาคใต้ของประเทศ จวบจนกระทั่งขึ้นสู่ตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคสาขากวางตุ้ง
เขาเป็นผู้บริหารสูงสุดของเมืองเซินเจิ้น ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 และต่อมาไปรับหน้าที่เป็นเลขาธิการพรรคสาขามณฑลซานตง ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศ มีรายงานว่าเขาเป็นคนสนิทของ เจียง เจ๋อหมิน และมีความสนิทสนมกับ ลี กาชิง อภิมหาเศรษฐีของฮ่องกง
(ข้อมูลจากสำนักข่าวเอเอฟพี)
อู่ จง เป็นบรรณาธิการด้านจีนของเอเชียไทมส์ออนไลน์