(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Wen versus Bo gets more explosive
By Francesco Sisci
31/10/2012
รายงานข่าวครึกโครมตูมตามของพวกสื่อมวลชนตะวันตกเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเปิดโปงให้เห็นถึงทรัพย์สินความร่ำรวยส่วนตัวของเหล่าผู้นำจีนอย่างเช่นนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า น่าที่จะได้รับการสนับสนุนอย่างสำคัญทีเดียวจากค่ายนีโอเหมาอิสต์ของ ป๋อ ซีไหล ในเมื่ออดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สาขามหานครฉงชิ่งผู้ตกจากอำนาจผู้นี้ กำลังต่อสู้ดิ้นรนอย่างหนักเพื่อให้ตนเองหลุดรอดจากโทษประหารชีวิต ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นจังหวะเวลาของการประโคมข่าว ตลอดจนความเป็นไปได้ที่ข้อกล่าวหาทุจริตคอร์รัปชั่นชนิดที่มุ่งเล่นงาน เวิน อย่างหนักหน่วงคราวนี้ ยังอาจถูกใช้กล่าวหาผู้นำคนอื่นๆ ด้วย เหล่านี้ล้วนแต่เป็นการเพิ่มบรรยากาศของความดุเดือดเลือดพล่าน ในช่วงเวลาก่อนจะถึงการประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศของพรรคคอมมิวนิสตจีนตอนต้นเดือนพฤศจิกายนนี้
ปักกิ่ง – เป็นเรื่องแน่นอนทีเดียวว่านี่เป็นข่าวที่ทรงความสำคัญเอามากๆ และเพราะว่ามันสำคัญมากนี่แหละจึงทำให้มีหนทางมากกว่าหนึ่งหนทางในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องนี้ รายงานข่าวชิ้นยาวของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ซึ่งเจาะลึกสาธยายถึงธุรกิจต่างๆ ของบุคคลในครอบครัวของนายกรัฐมนตรี เวิน เจียเป่า ของจีน ส่งเสียงระเบิดตูมตามกึกก้องในกรุงปักกิ่ง ในช่วงเวลาเดียวกับที่รัฐบาลแดนมังกรกำลังวุ่นวายอยู่กับการเตรียมการจัดประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศครั้งประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ตลอดจนเตรียมการสำหรับการไต่สวนพิจารณาคดี ป๋อ ซีไหล อดีตเลขาธิการพรรคสาขามหานครฉงชิ่ง ซึ่งตกลงจากอำนาจในกรณีอื้อฉาวทางการเมืองขนาดใหญ่โตที่สุด นับตั้งแต่การหล่นจากตำแหน่งของ หลิน เปียว ในปี 1971
ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดเจนว่า การทำรายงานข่าวเรื่องนี้ของนิวยอร์กไทมส์ตลอดจนจังหวะเวลาของการนำออกมาเผยแพร่นั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาเองโดยไม่มีใครเจตนา หรือเป็นความบังเอิญอันเหมาะเจาะเข้าล็อกพอดิบพอดี หรือว่ามันจะเป็นแผนการอันจัดทำขึ้นมาอย่างชำนาญชาญฉลาดสุดๆ โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับกรณีฉาวโฉ่ป๋อ ซีไหล หรือโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องในสมัชชา หรือกระทั่งโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องความสัมพันธ์ทวิภาคีสหรัฐฯ-จีน แต่ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร ก็เห็นกันอยู่แล้วว่า รายงานข่าวชิ้นนี้กระทบกระเทือนเรื่องทุกๆ เรื่องที่กล่าวถึงเหล่านี้
รายงานข่าวอันเต็มไปด้วยข้อมูลรายละเอียดในนิวยอร์กไทมส์ชิ้นนี้ ปรากฏออกมาในจังหวะเวลาเดียวกับที่รัฐบาลจีนประกาศข่าวการขับ ป๋อ ซีไหล ผู้มีแนวความคิดแบบนีโอเหมาอิสต์ ที่ต้องการฟื้นฟูความคิดและค่านิยมในยุคของเหมาขึ้นมาใหม่ อีกทั้งเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นศัตรูตัวฉกาจฉกรรจ์ที่สุดของ เวิน เจียเป่า ออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ อันเป็นตำแหน่งสุดท้ายของเขาที่ยังเหลืออยู่และสามารถใช้เป็นเกราะป้องกันไม่ให้ถูกนำตัวขึ้นพิจารณาคดีโดยฝ่ายตุลาการ
มันอาจจะเป็นเพียงความคล้องจองกันโดยไม่ได้มีใครเจตนา ทว่าการตีพิมพ์เผยแพร่ข้อกล่าวหาฉกาจฉกรรจ์เกี่ยวกับผลประโยชน์ต่างๆ ทางธุรกิจของคนในครอบครัวของ เวิน ผ่านทางหนังสือพิมพ์อเมริกันฉบับนี้ ย่อมส่งผลทำให้ฐานะของนายกรัฐมนตรีจีนผู้นี้ต้องอ่อนแอลงไป ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนกำลังเตรียมการเพื่อการไต่สวนพิจารณาคดี ป๋อ ซึ่งเป็นผู้ที่ เวิน ได้ทำศึกสงครามด้วย หรือไม่เช่นนั้น การประกาศขับ ป๋อ ออกจากรัฐสภาก็อาจจะเป็นกโลบายของรัฐบาลจีน ซึ่งมุ่งหวังที่จะลดทอนผลกระทบของการโจมตีต่างๆ ที่คาดหมายได้ว่าจะกระหน่ำเข้าใส่ เวิน
ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตามที สิ่งที่เป็นจริงในทางพฤตินัย (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากเรามองควบคู่ไปกับรายงานข่าวอีกชิ้นหนึ่งก่อนหน้านี้ไม่นานนักของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ซึ่งมุ่งขุดคุ้ยเกี่ยวกับธุรกิจต่างๆ ของรองประธานาธิบดี สี จิ้นผิง) ก็คือ รายงานข่าวชิ้นนี้ของนิวยอร์กไทมส์มีความสำคัญมาก เพราะมันเป็นตัวแทนของการที่สื่อมวลชนสหรัฐฯเข้าแทรกแซงโดยตรงและอย่างทรงพลังครั้งแรกสุดต่อกระบวนการทางการเมืองของจีน ดังที่ ปิแอร์ลุยจิ ซานัตตา (Pierluigi Zanatta) นักเฝ้ามองจีนผู้มากประสบการณ์ ได้ตั้งข้อสังเกตกับผู้เขียน
รายงานข่าวของนิวยอร์กไทมส์อุดมไปด้วยข้อมูลรายละเอียด โดยไม่เพียงภรรยาและบุตรชายของเวินเท่านั้นที่ถูกกล่าวหาว่าถือครองทรัพย์สินต่างๆ คิดเป็นมูลค่าระหว่างหลายร้อยล้านดอลลาร์ไปจนถึงเป็นพันๆ ล้านดอลลาร์ แม้กระทั่งมารดาอายุ 90 ปีของเขาก็เจอข้อกล่าวหาอย่างเดียวกัน ทรัพย์สินเงินทองเหล่านี้ นิวยอร์กไทมส์ระบุว่าส่วนใหญ่ทีเดียวสั่งสมขึ้นมาในระหว่างที่เวินกำลังดำรงตำแหน่งผู้นำคนสำคัญของแดนมังกร อันที่จริงเรื่องราวเหล่านี้ไม่ใช่ของใหม่ มันเป็นความลับที่รู้กันแพร่หลายมาเป็นปีๆ แล้ว แต่สิ่งที่พิเศษแตกต่างออกไปก็คือ รายงานข่าวชิ้นนี้ได้ให้รายละเอียดจำนวนมากมายเพื่อยืนยันเรื่องของตน
จากรายงานของนิวยอร์กไทมส์ เวินถูกวาดภาพให้เป็นประหนึ่งนักหาเงินหาทองระดับบิ๊กเบิ้มคนหนึ่งภายในกลไกรัฐจีน เป็นขุนนางข้าหลวงฝ่ายปกครองชนิดใหม่ของจีนซึ่งพร้อมอยู่ทุกเมื่อที่จะผลักดันสิ่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของครอบครัวของเขา
ในอีกด้านหนึ่ง รายงานชิ้นนี้ไม่ได้เอ่ยถึงการที่เวินแสดงความมุ่งมั่นผูกพันกับการปฏิรูปทางการเมือง หรือการที่นายกรัฐมนตรีผู้นี้เป็นผู้ที่แสดงบทบาทอันสำคัญที่สุดในสงครามต่อสู้เล่นงานกลุ่มนีโอเหมาอิสต์ของป๋อ สิ่งเหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงซึ่งทราบกันดีอยู่แล้ว และถ้าพิจารณาเรื่องเหล่านี้บ้าง บางทีก็อาจจะทำให้ต้องมีการมองข้อกล่าวหาเรื่องเวินทุจริตคอร์รัปชั่นในบริบทที่ผิดแผกแตกต่างออกไป ในทางตรงกันข้าม เนื่องจากทุกๆ คนทุกๆ ฝ่ายในประเทศจีนต่างทราบกันดีอยู่แล้วเกี่ยวกับการประจันหน้าอย่างเอาเป็นเอาตายของบุคคลทั้งสอง ดังนั้นผู้คนของฝ่าย ป๋อ จึงอาจใช้ข้อกล่าวหาที่เล่นงานเวินเหล่านี้มาเป็นข้อโต้แย้งว่า กรณีการทุจริตคอร์รัปชั่นของ ป๋อ ก็ไม่ได้พิเศษผิดธรรมดาแต่อย่างใดเลย
แต่ถึงอย่างไรเรื่องนี้จะไม่ช่วยให้มีการดึงลากเอาพรรคคอมมิวนิสต์จีนลงมาจากการเป็นผู้ปกครองแดนมังกร เนื่องจากก็ดังที่รายงานข่าวของสื่ออเมริกันบ่งชี้ให้เห็นแล้วว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ผ่านการพิสูจน์ตนเองมาครั้งแล้วครั้งเล่าว่ามีคุณสมบัติในเรื่องความยืดได้หดได้อย่างมากมายมหาศาล แม้กระนั้นมันก็คงจะลิดรอนพลังในการโจมตีเล่นงาน ป๋อ ลงไปมากพอสมควร
ป๋อ นั้นต้องการที่จะนำพาประเทศจีนให้ถอยย้อนกลับไปยึดมั่นในหลักการต่างๆ ของเหมา, ตัดทอนโอกาสทั้งหลายของพวกบริษัทเอกชนและรวมศูนย์อำนาจและเงินทองกลับมาอยู่ที่รัฐ ถึงแม้ว่ายุทธศาสตร์เช่นนี้ย่อมสามารถที่จะนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างเป็นระบบใหญ่โตภายในรัฐจีนเองยิ่งกว่าที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมากมายนัก ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากความด้อยประสิทธิภาพของประดารัฐวิสาหกิจทั้งหลาย
หากมองในแง่มุมที่ว่า ใครจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์ เราย่อมสามารถชี้ลงไปได้ว่ารายงานข่าวนี้น่าจะเป็นการช่วยเหลือการทำสงครามทางการเมืองของ ป๋อ ในทางเป็นจริงแล้ว ในคืนวันเดียวกันนั้นเอง ขณะที่เว็บไซต์ของนิวยอร์กไทมส์ถูกจีนทำการปิดกั้นไม่ให้ผู้คนในแดนมังกรเข้าไปได้ ปรากฏว่าเหล่าสาวกของ ป๋อ ได้พยายามที่จะเผยแพร่บทความกล่าวโทษ เวิน ชิ้นนี้ทาง เว่ยป๋อ (Weibo) ซึ่งก็คือทวิตเตอร์ของจีน
ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่สองแล้วที่พวกสื่อมวลชนอเมริกันทำการโจมตีอย่างใหญ่โตต่อเหล่าผู้นำจีน ในระยะหลายสัปดาห์ก่อนหน้านั้น สำนักข่าวบลูมเบิร์กได้เผยแพร่รายงานข่าวชิ้นหนึ่งที่พูดถึงทรัพย์สินความมั่งคั่งของครอบครัวสี จิ้นผิง บุรุษผู้ซึ่งในช่วงท้ายของสมัชชา 18 ที่เริ่มเปิดขึ้นในวันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ น่าจะกลายเป็นเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน และพอถึงการประชุมรัฐสภาในเดือนมีนาคมปีนี้ก็คงจะก้าวขึ้นรับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐประชาชนจีน รายงานข่าวเกี่ยวกับ สี ของบลูกเบิร์ก ก็ทำนองเดียวกับรายงานข่าวของเกี่ยวกับ เวิน ของนิวยอร์กไทมส์ นั่นคือมีการเก็บข้อมูลรายละเอียดจำนวนมากมาปะติดปะต่อเขียนเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา และปฏิกิริยาจากปักกิ่งก็คือการปิดกั้นไม่ให้ผู้คนในแดนมังกรสามารถเข้าไปอ่านรายงานข่าวชิ้นนี้ รวมทั้งสั่งบล็อกบริการของสำนักข่าวแห่งนี้ในประเทศจีน
ในประเทศเฉกเช่นแดนมังกร ซึ่งวัฒนธรรมทางการเมืองถูกห่อหุ้มด้วยความระแวงสงสัยอย่างหนาแน่นและนิยมอธิบายเบื้องหน้าเบื้องหลังกันด้วยพวกทฤษฎีสมคบคิด ผู้คนจึงกำลังเฝ้าจับตาตรึกตรองกันว่าใครบ้างที่สามารถช่วยให้องค์การสื่ออเมริกันทั้งสองรายนี้ทำรายงานข่าวเหล่านี้ขึ้นมา ในจีนนั้นเป็นเรื่องลำบากยากเย็นกว่าในหมู่ประเทศตะวันตกมากมายนัก ถ้าหากจะท่องไปภายในป่าทึบแห่งกระดาษและรายงานทางการเงินตลอดจนบันทึกข้อมูลต่างๆ ของทางการ โดยที่ไม่มีผู้นำทางหรือไม่มีผู้ชี้เบาะแสร่องรอยให้ว่าควรที่จะดูอะไรที่ไหน ด้วยเหตุนี้เอง บางคนบางฝ่ายในปักกิ่งจึงเชื่อว่าเป็นไปได้ที่ทั้งนิวยอร์กไทมส์และบลูมเบิร์กต่างก็ได้รับการชี้แนะหรือได้รับความช่วยเหลือในการทำวิจัยของพวกเขา จากพวกคนที่ต้องการเล่นงานโจมตี สี และ เวิน และดังนั้นจึงน่าจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ให้เห็นว่า ผู้คนที่ใกล้ชิดกับ ป๋อ ยังไม่คิดที่จะทอดทิ้งการต่อสู้ของพวกเขาหรอก
ขณะเดียวกัน ในช่วงโมงยามเดียวกันนั้นเอง สำนักข่าวซินหวาของทางการจีนก็ได้ระบุแจกแจงบรรดาข้อกล่าวหาเกี่ยวกับความผิดอันร้ายแรงของ ป๋อ ซีไหล โดยที่แต่ละข้อหาก็ล้วนแต่มีบทลงโทษถึงขั้นประหารชีวิต ทั้งนี้ ป๋อถูกกล่าวหาว่าปิดบังอำพรางการฆาตกรรม นีล เฮย์วูด (Neil Heywood) ซึ่งภรรยาของ ป๋อ เองได้ถูกศาลจีนตัดสินลงโทษประหารชีวิตแต่รอการลงอาญาไว้ก่อนเนื่องจากเป็นฆาตกรมือสังหารนักธุรกิจชาวอังกฤษผู้นี้ไปเรียบร้อยแล้ว ป๋อยังถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุทำให้ หวัง ลี่จิว์น (Wang Lijun) อดีตผู้บัญชาการตำรวจที่เป็นมือขวาของเขา พยายามหลบหนีไปลี้ภัยในต่างประเทศ ซึ่งเป็นความผิดเข้าข่ายกบฏทีเดียว (หวังก็ได้ถูกศาลตัดสินลงโทษไปแล้วเช่นเดียวกัน) แล้วยังมีข้อหาในเรื่องการพิจารณาเลือกเลื่อนและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ต่างๆ แบบขัดกับระเบียบกฎเกณฑ์ของพรรค ซึ่งนี่อาจจะเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงยิ่งกว่าเรื่องอื่นๆ ด้วยซ้ำ และสุดท้าย ป๋อ ยังถูกระบุว่ากระทำการฉ้อราษฎร์บังหลวงคิดเป็นมูลค่าสูงลิ่วมหึมา
ชะตากรรมทางการเมืองของ ป๋อ นับว่าได้ปิดฉากลงเรียบร้อยแล้ว ถึงแม้เรายังไม่ทราบชัดเจนว่ากระบวนการไต่สวนลงโทษ ป๋อ นั้นจะสิ้นสุดลงเมื่อใด แต่จากการที่เขาถูกกล่าวโทษด้วยข้อหาอุกฉกรรจ์หลายๆ ข้อหาทบทวีกันเช่นนี้ บ่งบอกให้ทราบว่าอดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนสาขามหานครฉงชิ่งผู้นี้ อาจจะถึงขั้นถูกลงโทษประหารชีวิตทีเดียว (ความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองในประเทศจีนซึ่งถึงขั้นผู้นำคนสำคัญถูกลงโทษเสียชีวิตนั้น เกิดขึ้นครั้งหลังสุดในปี 1971 ในกรณีของ หลิน เปียว ถึงแม้ในการบอกกล่าวต่อภายนอกจะมีการระบุว่า หลิน สิ้นชีพไปเนื่องจากประสบอุบัติเหตุก็ตามที) ไม่เช่นนั้นมันก็อาจถูกใช้เป็นหลักฐานสำคัญเพื่อรองรับการรณรงค์อันกว้างขวางของรัฐบาลซึ่งมุ่งกำจัดกวาดล้างเหล่าพันธมิตรของ ป๋อ ให้หมดสิ้น โดยที่คนเหล่านี้เองที่ต้องสงสัยว่าอยู่เบื้องหลังการเปิดโปงแฉโพยเรื่องราวต่างๆ ในช่วงหลังๆ มานี้
ในขณะที่การโจมตีซึ่งมุ่งเล่นงานผู้นำที่ถูกกล่าวหาว่าคอร์รัปชั่นเช่นนี้ ยังคงเดินหน้าสู่เป้าหมายที่มองเห็นได้อย่างถนัดชัดเจนรายต่อไป ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ที่มันอาจจะกระทบกระเทือนกระทั่งตัว หู จิ่นเทา ด้วย
เวลาเดียวกัน จากรายงานข่าวเหล่านี้น่าที่จะก่อให้เกิดผลเฉพาะหน้าอย่างน้อย 2 ประการ ประการแรกซึ่งถือว่าเป็นเรื่องค่อนข้างเล็ก ก็คืออาจจะมีการแตะเบรกด้วยการออกกฎเกณฑ์ใหม่ๆ ที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อจำกัดประดากิจกรรมของชนชั้นขุนนางที่มั่งคั่งร่ำรวยจากธุรกิจ “สีแดง” ของจีน ส่วนประการที่สองซึ่งเป็นประการที่สำคัญยิ่งกว่า ก็คือ การต่อสู้ทางการเมืองในช่วงสมัชชาพรรคคราวนี้ น่าที่จะทวีความร้อนแรงเพิ่มขึ้นอีกมาก
**หมายเหตุผู้แปล**
หลังจากนิวยอร์กไทมส์เผยแพร่รายงานข่าวว่าด้วยทรัพย์สินและธุรกิจต่างๆ ของบุคคลในครอบครัวเวิน เจียเป่า แล้ว ทางการจีนได้ออกมาตอบโต้ว่าเป็นการใส่ร้ายป้ายสีประเทศจีนและผู้นำจีน พร้อมระบุว่าครอบครัวของเวินตัดสินใจว่าจ้างทนายความเพื่อฟ้องร้องหนังสือพิมพ์อเมริกันฉบับนี้ ดูรายละเอียดได้ที่เรื่อง ลั่น "เดอะนิวยอร์กไทมส์" ลงข่าวป้ายสีผู้นำจีน เตรียมตัวรับเคราะห์, ผู้จัดการออนไลน์, 31 ตุลาคม 2555 (http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9550000132601)
ในเวลาต่อมา หนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ ได้รายงานโดยอ้างแหล่งข่าววงในระบุว่า เวิน ได้ขอให้คณะกรรมการประจำของกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน เปิดการสอบสวนเรื่องที่นิวยอร์กไทมส์กล่าวหาครอบครัวของเขา ดูรายละเอียดได้ที่เรื่อง เวินต้านคอมฯหัวเก่า ยืดอกให้สอบข้อหาทุจริต, ผู้จัดการออนไลน์, 6 พฤศจิกายน 2555 (http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9550000135506)
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นคอลัมนิสต์ให้กับ อิล โซเล 24 โอเร (Il Sole 24 Ore) หนังสือพิมพ์รายวันในอิตาลี สามารถที่จะติดต่อเขาทางอีเมล์ได้ที่ fsisci@gmail
Wen versus Bo gets more explosive
By Francesco Sisci
31/10/2012
รายงานข่าวครึกโครมตูมตามของพวกสื่อมวลชนตะวันตกเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเปิดโปงให้เห็นถึงทรัพย์สินความร่ำรวยส่วนตัวของเหล่าผู้นำจีนอย่างเช่นนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า น่าที่จะได้รับการสนับสนุนอย่างสำคัญทีเดียวจากค่ายนีโอเหมาอิสต์ของ ป๋อ ซีไหล ในเมื่ออดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สาขามหานครฉงชิ่งผู้ตกจากอำนาจผู้นี้ กำลังต่อสู้ดิ้นรนอย่างหนักเพื่อให้ตนเองหลุดรอดจากโทษประหารชีวิต ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นจังหวะเวลาของการประโคมข่าว ตลอดจนความเป็นไปได้ที่ข้อกล่าวหาทุจริตคอร์รัปชั่นชนิดที่มุ่งเล่นงาน เวิน อย่างหนักหน่วงคราวนี้ ยังอาจถูกใช้กล่าวหาผู้นำคนอื่นๆ ด้วย เหล่านี้ล้วนแต่เป็นการเพิ่มบรรยากาศของความดุเดือดเลือดพล่าน ในช่วงเวลาก่อนจะถึงการประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศของพรรคคอมมิวนิสตจีนตอนต้นเดือนพฤศจิกายนนี้
ปักกิ่ง – เป็นเรื่องแน่นอนทีเดียวว่านี่เป็นข่าวที่ทรงความสำคัญเอามากๆ และเพราะว่ามันสำคัญมากนี่แหละจึงทำให้มีหนทางมากกว่าหนึ่งหนทางในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องนี้ รายงานข่าวชิ้นยาวของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ซึ่งเจาะลึกสาธยายถึงธุรกิจต่างๆ ของบุคคลในครอบครัวของนายกรัฐมนตรี เวิน เจียเป่า ของจีน ส่งเสียงระเบิดตูมตามกึกก้องในกรุงปักกิ่ง ในช่วงเวลาเดียวกับที่รัฐบาลแดนมังกรกำลังวุ่นวายอยู่กับการเตรียมการจัดประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศครั้งประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ตลอดจนเตรียมการสำหรับการไต่สวนพิจารณาคดี ป๋อ ซีไหล อดีตเลขาธิการพรรคสาขามหานครฉงชิ่ง ซึ่งตกลงจากอำนาจในกรณีอื้อฉาวทางการเมืองขนาดใหญ่โตที่สุด นับตั้งแต่การหล่นจากตำแหน่งของ หลิน เปียว ในปี 1971
ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดเจนว่า การทำรายงานข่าวเรื่องนี้ของนิวยอร์กไทมส์ตลอดจนจังหวะเวลาของการนำออกมาเผยแพร่นั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาเองโดยไม่มีใครเจตนา หรือเป็นความบังเอิญอันเหมาะเจาะเข้าล็อกพอดิบพอดี หรือว่ามันจะเป็นแผนการอันจัดทำขึ้นมาอย่างชำนาญชาญฉลาดสุดๆ โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับกรณีฉาวโฉ่ป๋อ ซีไหล หรือโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องในสมัชชา หรือกระทั่งโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องความสัมพันธ์ทวิภาคีสหรัฐฯ-จีน แต่ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร ก็เห็นกันอยู่แล้วว่า รายงานข่าวชิ้นนี้กระทบกระเทือนเรื่องทุกๆ เรื่องที่กล่าวถึงเหล่านี้
รายงานข่าวอันเต็มไปด้วยข้อมูลรายละเอียดในนิวยอร์กไทมส์ชิ้นนี้ ปรากฏออกมาในจังหวะเวลาเดียวกับที่รัฐบาลจีนประกาศข่าวการขับ ป๋อ ซีไหล ผู้มีแนวความคิดแบบนีโอเหมาอิสต์ ที่ต้องการฟื้นฟูความคิดและค่านิยมในยุคของเหมาขึ้นมาใหม่ อีกทั้งเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นศัตรูตัวฉกาจฉกรรจ์ที่สุดของ เวิน เจียเป่า ออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ อันเป็นตำแหน่งสุดท้ายของเขาที่ยังเหลืออยู่และสามารถใช้เป็นเกราะป้องกันไม่ให้ถูกนำตัวขึ้นพิจารณาคดีโดยฝ่ายตุลาการ
มันอาจจะเป็นเพียงความคล้องจองกันโดยไม่ได้มีใครเจตนา ทว่าการตีพิมพ์เผยแพร่ข้อกล่าวหาฉกาจฉกรรจ์เกี่ยวกับผลประโยชน์ต่างๆ ทางธุรกิจของคนในครอบครัวของ เวิน ผ่านทางหนังสือพิมพ์อเมริกันฉบับนี้ ย่อมส่งผลทำให้ฐานะของนายกรัฐมนตรีจีนผู้นี้ต้องอ่อนแอลงไป ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนกำลังเตรียมการเพื่อการไต่สวนพิจารณาคดี ป๋อ ซึ่งเป็นผู้ที่ เวิน ได้ทำศึกสงครามด้วย หรือไม่เช่นนั้น การประกาศขับ ป๋อ ออกจากรัฐสภาก็อาจจะเป็นกโลบายของรัฐบาลจีน ซึ่งมุ่งหวังที่จะลดทอนผลกระทบของการโจมตีต่างๆ ที่คาดหมายได้ว่าจะกระหน่ำเข้าใส่ เวิน
ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตามที สิ่งที่เป็นจริงในทางพฤตินัย (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากเรามองควบคู่ไปกับรายงานข่าวอีกชิ้นหนึ่งก่อนหน้านี้ไม่นานนักของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ซึ่งมุ่งขุดคุ้ยเกี่ยวกับธุรกิจต่างๆ ของรองประธานาธิบดี สี จิ้นผิง) ก็คือ รายงานข่าวชิ้นนี้ของนิวยอร์กไทมส์มีความสำคัญมาก เพราะมันเป็นตัวแทนของการที่สื่อมวลชนสหรัฐฯเข้าแทรกแซงโดยตรงและอย่างทรงพลังครั้งแรกสุดต่อกระบวนการทางการเมืองของจีน ดังที่ ปิแอร์ลุยจิ ซานัตตา (Pierluigi Zanatta) นักเฝ้ามองจีนผู้มากประสบการณ์ ได้ตั้งข้อสังเกตกับผู้เขียน
รายงานข่าวของนิวยอร์กไทมส์อุดมไปด้วยข้อมูลรายละเอียด โดยไม่เพียงภรรยาและบุตรชายของเวินเท่านั้นที่ถูกกล่าวหาว่าถือครองทรัพย์สินต่างๆ คิดเป็นมูลค่าระหว่างหลายร้อยล้านดอลลาร์ไปจนถึงเป็นพันๆ ล้านดอลลาร์ แม้กระทั่งมารดาอายุ 90 ปีของเขาก็เจอข้อกล่าวหาอย่างเดียวกัน ทรัพย์สินเงินทองเหล่านี้ นิวยอร์กไทมส์ระบุว่าส่วนใหญ่ทีเดียวสั่งสมขึ้นมาในระหว่างที่เวินกำลังดำรงตำแหน่งผู้นำคนสำคัญของแดนมังกร อันที่จริงเรื่องราวเหล่านี้ไม่ใช่ของใหม่ มันเป็นความลับที่รู้กันแพร่หลายมาเป็นปีๆ แล้ว แต่สิ่งที่พิเศษแตกต่างออกไปก็คือ รายงานข่าวชิ้นนี้ได้ให้รายละเอียดจำนวนมากมายเพื่อยืนยันเรื่องของตน
จากรายงานของนิวยอร์กไทมส์ เวินถูกวาดภาพให้เป็นประหนึ่งนักหาเงินหาทองระดับบิ๊กเบิ้มคนหนึ่งภายในกลไกรัฐจีน เป็นขุนนางข้าหลวงฝ่ายปกครองชนิดใหม่ของจีนซึ่งพร้อมอยู่ทุกเมื่อที่จะผลักดันสิ่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของครอบครัวของเขา
ในอีกด้านหนึ่ง รายงานชิ้นนี้ไม่ได้เอ่ยถึงการที่เวินแสดงความมุ่งมั่นผูกพันกับการปฏิรูปทางการเมือง หรือการที่นายกรัฐมนตรีผู้นี้เป็นผู้ที่แสดงบทบาทอันสำคัญที่สุดในสงครามต่อสู้เล่นงานกลุ่มนีโอเหมาอิสต์ของป๋อ สิ่งเหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงซึ่งทราบกันดีอยู่แล้ว และถ้าพิจารณาเรื่องเหล่านี้บ้าง บางทีก็อาจจะทำให้ต้องมีการมองข้อกล่าวหาเรื่องเวินทุจริตคอร์รัปชั่นในบริบทที่ผิดแผกแตกต่างออกไป ในทางตรงกันข้าม เนื่องจากทุกๆ คนทุกๆ ฝ่ายในประเทศจีนต่างทราบกันดีอยู่แล้วเกี่ยวกับการประจันหน้าอย่างเอาเป็นเอาตายของบุคคลทั้งสอง ดังนั้นผู้คนของฝ่าย ป๋อ จึงอาจใช้ข้อกล่าวหาที่เล่นงานเวินเหล่านี้มาเป็นข้อโต้แย้งว่า กรณีการทุจริตคอร์รัปชั่นของ ป๋อ ก็ไม่ได้พิเศษผิดธรรมดาแต่อย่างใดเลย
แต่ถึงอย่างไรเรื่องนี้จะไม่ช่วยให้มีการดึงลากเอาพรรคคอมมิวนิสต์จีนลงมาจากการเป็นผู้ปกครองแดนมังกร เนื่องจากก็ดังที่รายงานข่าวของสื่ออเมริกันบ่งชี้ให้เห็นแล้วว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ผ่านการพิสูจน์ตนเองมาครั้งแล้วครั้งเล่าว่ามีคุณสมบัติในเรื่องความยืดได้หดได้อย่างมากมายมหาศาล แม้กระนั้นมันก็คงจะลิดรอนพลังในการโจมตีเล่นงาน ป๋อ ลงไปมากพอสมควร
ป๋อ นั้นต้องการที่จะนำพาประเทศจีนให้ถอยย้อนกลับไปยึดมั่นในหลักการต่างๆ ของเหมา, ตัดทอนโอกาสทั้งหลายของพวกบริษัทเอกชนและรวมศูนย์อำนาจและเงินทองกลับมาอยู่ที่รัฐ ถึงแม้ว่ายุทธศาสตร์เช่นนี้ย่อมสามารถที่จะนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างเป็นระบบใหญ่โตภายในรัฐจีนเองยิ่งกว่าที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมากมายนัก ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากความด้อยประสิทธิภาพของประดารัฐวิสาหกิจทั้งหลาย
หากมองในแง่มุมที่ว่า ใครจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์ เราย่อมสามารถชี้ลงไปได้ว่ารายงานข่าวนี้น่าจะเป็นการช่วยเหลือการทำสงครามทางการเมืองของ ป๋อ ในทางเป็นจริงแล้ว ในคืนวันเดียวกันนั้นเอง ขณะที่เว็บไซต์ของนิวยอร์กไทมส์ถูกจีนทำการปิดกั้นไม่ให้ผู้คนในแดนมังกรเข้าไปได้ ปรากฏว่าเหล่าสาวกของ ป๋อ ได้พยายามที่จะเผยแพร่บทความกล่าวโทษ เวิน ชิ้นนี้ทาง เว่ยป๋อ (Weibo) ซึ่งก็คือทวิตเตอร์ของจีน
ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่สองแล้วที่พวกสื่อมวลชนอเมริกันทำการโจมตีอย่างใหญ่โตต่อเหล่าผู้นำจีน ในระยะหลายสัปดาห์ก่อนหน้านั้น สำนักข่าวบลูมเบิร์กได้เผยแพร่รายงานข่าวชิ้นหนึ่งที่พูดถึงทรัพย์สินความมั่งคั่งของครอบครัวสี จิ้นผิง บุรุษผู้ซึ่งในช่วงท้ายของสมัชชา 18 ที่เริ่มเปิดขึ้นในวันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ น่าจะกลายเป็นเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน และพอถึงการประชุมรัฐสภาในเดือนมีนาคมปีนี้ก็คงจะก้าวขึ้นรับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐประชาชนจีน รายงานข่าวเกี่ยวกับ สี ของบลูกเบิร์ก ก็ทำนองเดียวกับรายงานข่าวของเกี่ยวกับ เวิน ของนิวยอร์กไทมส์ นั่นคือมีการเก็บข้อมูลรายละเอียดจำนวนมากมาปะติดปะต่อเขียนเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา และปฏิกิริยาจากปักกิ่งก็คือการปิดกั้นไม่ให้ผู้คนในแดนมังกรสามารถเข้าไปอ่านรายงานข่าวชิ้นนี้ รวมทั้งสั่งบล็อกบริการของสำนักข่าวแห่งนี้ในประเทศจีน
ในประเทศเฉกเช่นแดนมังกร ซึ่งวัฒนธรรมทางการเมืองถูกห่อหุ้มด้วยความระแวงสงสัยอย่างหนาแน่นและนิยมอธิบายเบื้องหน้าเบื้องหลังกันด้วยพวกทฤษฎีสมคบคิด ผู้คนจึงกำลังเฝ้าจับตาตรึกตรองกันว่าใครบ้างที่สามารถช่วยให้องค์การสื่ออเมริกันทั้งสองรายนี้ทำรายงานข่าวเหล่านี้ขึ้นมา ในจีนนั้นเป็นเรื่องลำบากยากเย็นกว่าในหมู่ประเทศตะวันตกมากมายนัก ถ้าหากจะท่องไปภายในป่าทึบแห่งกระดาษและรายงานทางการเงินตลอดจนบันทึกข้อมูลต่างๆ ของทางการ โดยที่ไม่มีผู้นำทางหรือไม่มีผู้ชี้เบาะแสร่องรอยให้ว่าควรที่จะดูอะไรที่ไหน ด้วยเหตุนี้เอง บางคนบางฝ่ายในปักกิ่งจึงเชื่อว่าเป็นไปได้ที่ทั้งนิวยอร์กไทมส์และบลูมเบิร์กต่างก็ได้รับการชี้แนะหรือได้รับความช่วยเหลือในการทำวิจัยของพวกเขา จากพวกคนที่ต้องการเล่นงานโจมตี สี และ เวิน และดังนั้นจึงน่าจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ให้เห็นว่า ผู้คนที่ใกล้ชิดกับ ป๋อ ยังไม่คิดที่จะทอดทิ้งการต่อสู้ของพวกเขาหรอก
ขณะเดียวกัน ในช่วงโมงยามเดียวกันนั้นเอง สำนักข่าวซินหวาของทางการจีนก็ได้ระบุแจกแจงบรรดาข้อกล่าวหาเกี่ยวกับความผิดอันร้ายแรงของ ป๋อ ซีไหล โดยที่แต่ละข้อหาก็ล้วนแต่มีบทลงโทษถึงขั้นประหารชีวิต ทั้งนี้ ป๋อถูกกล่าวหาว่าปิดบังอำพรางการฆาตกรรม นีล เฮย์วูด (Neil Heywood) ซึ่งภรรยาของ ป๋อ เองได้ถูกศาลจีนตัดสินลงโทษประหารชีวิตแต่รอการลงอาญาไว้ก่อนเนื่องจากเป็นฆาตกรมือสังหารนักธุรกิจชาวอังกฤษผู้นี้ไปเรียบร้อยแล้ว ป๋อยังถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุทำให้ หวัง ลี่จิว์น (Wang Lijun) อดีตผู้บัญชาการตำรวจที่เป็นมือขวาของเขา พยายามหลบหนีไปลี้ภัยในต่างประเทศ ซึ่งเป็นความผิดเข้าข่ายกบฏทีเดียว (หวังก็ได้ถูกศาลตัดสินลงโทษไปแล้วเช่นเดียวกัน) แล้วยังมีข้อหาในเรื่องการพิจารณาเลือกเลื่อนและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ต่างๆ แบบขัดกับระเบียบกฎเกณฑ์ของพรรค ซึ่งนี่อาจจะเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงยิ่งกว่าเรื่องอื่นๆ ด้วยซ้ำ และสุดท้าย ป๋อ ยังถูกระบุว่ากระทำการฉ้อราษฎร์บังหลวงคิดเป็นมูลค่าสูงลิ่วมหึมา
ชะตากรรมทางการเมืองของ ป๋อ นับว่าได้ปิดฉากลงเรียบร้อยแล้ว ถึงแม้เรายังไม่ทราบชัดเจนว่ากระบวนการไต่สวนลงโทษ ป๋อ นั้นจะสิ้นสุดลงเมื่อใด แต่จากการที่เขาถูกกล่าวโทษด้วยข้อหาอุกฉกรรจ์หลายๆ ข้อหาทบทวีกันเช่นนี้ บ่งบอกให้ทราบว่าอดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนสาขามหานครฉงชิ่งผู้นี้ อาจจะถึงขั้นถูกลงโทษประหารชีวิตทีเดียว (ความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองในประเทศจีนซึ่งถึงขั้นผู้นำคนสำคัญถูกลงโทษเสียชีวิตนั้น เกิดขึ้นครั้งหลังสุดในปี 1971 ในกรณีของ หลิน เปียว ถึงแม้ในการบอกกล่าวต่อภายนอกจะมีการระบุว่า หลิน สิ้นชีพไปเนื่องจากประสบอุบัติเหตุก็ตามที) ไม่เช่นนั้นมันก็อาจถูกใช้เป็นหลักฐานสำคัญเพื่อรองรับการรณรงค์อันกว้างขวางของรัฐบาลซึ่งมุ่งกำจัดกวาดล้างเหล่าพันธมิตรของ ป๋อ ให้หมดสิ้น โดยที่คนเหล่านี้เองที่ต้องสงสัยว่าอยู่เบื้องหลังการเปิดโปงแฉโพยเรื่องราวต่างๆ ในช่วงหลังๆ มานี้
ในขณะที่การโจมตีซึ่งมุ่งเล่นงานผู้นำที่ถูกกล่าวหาว่าคอร์รัปชั่นเช่นนี้ ยังคงเดินหน้าสู่เป้าหมายที่มองเห็นได้อย่างถนัดชัดเจนรายต่อไป ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ที่มันอาจจะกระทบกระเทือนกระทั่งตัว หู จิ่นเทา ด้วย
เวลาเดียวกัน จากรายงานข่าวเหล่านี้น่าที่จะก่อให้เกิดผลเฉพาะหน้าอย่างน้อย 2 ประการ ประการแรกซึ่งถือว่าเป็นเรื่องค่อนข้างเล็ก ก็คืออาจจะมีการแตะเบรกด้วยการออกกฎเกณฑ์ใหม่ๆ ที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อจำกัดประดากิจกรรมของชนชั้นขุนนางที่มั่งคั่งร่ำรวยจากธุรกิจ “สีแดง” ของจีน ส่วนประการที่สองซึ่งเป็นประการที่สำคัญยิ่งกว่า ก็คือ การต่อสู้ทางการเมืองในช่วงสมัชชาพรรคคราวนี้ น่าที่จะทวีความร้อนแรงเพิ่มขึ้นอีกมาก
**หมายเหตุผู้แปล**
หลังจากนิวยอร์กไทมส์เผยแพร่รายงานข่าวว่าด้วยทรัพย์สินและธุรกิจต่างๆ ของบุคคลในครอบครัวเวิน เจียเป่า แล้ว ทางการจีนได้ออกมาตอบโต้ว่าเป็นการใส่ร้ายป้ายสีประเทศจีนและผู้นำจีน พร้อมระบุว่าครอบครัวของเวินตัดสินใจว่าจ้างทนายความเพื่อฟ้องร้องหนังสือพิมพ์อเมริกันฉบับนี้ ดูรายละเอียดได้ที่เรื่อง ลั่น "เดอะนิวยอร์กไทมส์" ลงข่าวป้ายสีผู้นำจีน เตรียมตัวรับเคราะห์, ผู้จัดการออนไลน์, 31 ตุลาคม 2555 (http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9550000132601)
ในเวลาต่อมา หนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ ได้รายงานโดยอ้างแหล่งข่าววงในระบุว่า เวิน ได้ขอให้คณะกรรมการประจำของกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน เปิดการสอบสวนเรื่องที่นิวยอร์กไทมส์กล่าวหาครอบครัวของเขา ดูรายละเอียดได้ที่เรื่อง เวินต้านคอมฯหัวเก่า ยืดอกให้สอบข้อหาทุจริต, ผู้จัดการออนไลน์, 6 พฤศจิกายน 2555 (http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9550000135506)
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นคอลัมนิสต์ให้กับ อิล โซเล 24 โอเร (Il Sole 24 Ore) หนังสือพิมพ์รายวันในอิตาลี สามารถที่จะติดต่อเขาทางอีเมล์ได้ที่ fsisci@gmail