(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Beijing more sensitive to war tremors
By Brendan O'Reilly
17/09/2012
การตัดสินใจของโตเกียวที่จะพยายามเข้าควบคุมหมู่เกาะซึ่งพิพาทอยู่กับปักกิ่งในทะเลจีนตะวันออกให้แน่นหนารัดกุมยิ่งขึ้น ดูเหมือนจะกลายเป็นการคำนวณผิดพลาดอย่างร้ายแรง อันที่จริงแล้ว มันก็ไม่ถึงกับเป็นเรื่องผิดปกติธรรมดาอะไรหรอกที่พวกผู้ประท้วงในจีนกำลังส่งเสียงเรียกร้องต้องการทำสงครามกับญี่ปุ่น แต่สิ่งที่แตกต่างจากคราวก่อนๆ ในอดีตที่ผ่านมาอยู่ตรงที่ว่า ความแตกร้าวที่กำลังปรากฏให้เห็นในคณะผู้นำสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทำให้ปักกิ่งมีความอ่อนไหวต่ออารมณ์ความรู้สึกของประชาชนเพิ่มมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ในขณะที่ปักกิ่งแสดงท่าทีดำเนินฝีก้าวต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อท้าทายการควบคุมเหนือหมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์/เซงกากุ ของฝ่ายญี่ปุ่นอยู่นั้น เราก็สามารถมองเห็นกันได้อย่างชัดเจนว่า กระแสชาตินิยมที่กำลังกระพือพัดอย่างแรงกล้าในแดนมังกรคราวนี้ เป็นการโหมฮือกันทั่วทั้งโลกของคนจีนจริงๆ ทั้งนี้หลังจากที่รัฐบาลแดนอาทิตย์อุทัยตัดสินใจที่จะซื้อหมู่เกาะแห่งนี้แล้ว สาธารณรัฐจีนซึ่งตั้งฐานอยู่บนเกาะไต้หวัน ก็ประกาศถอนผู้แทนของตนออกจากกรุงโตเกียวเพื่อเป็นการประท้วง รัฐมนตรีต่างประเทศ ทิโมธี หยาง (Timothy Yang) ของสาธารณรัฐจีน ได้แถลงประณามนโยบายดังกล่าวนี้ของญี่ปุ่นอย่างดุดัน โดยกล่าวว่า “เราเรียกร้องอย่างแรงกล้าให้รัฐบาลญี่ปุ่นยกเลิกความเคลื่อนไหวเช่นนี้ การกระทำตามอำเภอใจฝ่ายเดียวและอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายของญี่ปุ่น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่ว่า สาธารณรัฐจีนเป็นเจ้าของหมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์” [6]
นอกเหนือจากการแสดงการประท้วงในทางการทูตด้วยถ้อยคำดุเดือดรุนแรงจากทั้งสองฝ่ายของช่องแคบไต้หวัน (นั่นคือฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ และฝ่ายสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน) แล้ว ทั่วทั้งอาณาบริเวณ “เกรตเตอร์ไชน่า” (Greater China หมายรวมถึงจีนแผ่นดินใหญ่, ไต้หวัน, ฮ่องกง, และมาเก๊า) ก็มีคนจีนจำนวนมากออกมาแสดงความโกรธกริ้วใส่ญี่ปุ่นเป็นการใหญ่ โดยที่ก่อนหน้านั้นหลายสัปดาห์ เป็นพวกนักเคลื่อนไหวนิยมจีนจากฮ่องกงนั่นเองที่นั่งเรือไปขึ้นบกที่หมู่เกาะพิพาทแห่งนี้ นอกจากนั้นเสียงเรียกร้องให้คนจีนคว่ำบาตรไม่ซื้อไม่ใช้สินค้าญี่ปุ่นก็กำลังได้รับการตอบรับดังก้องทีเดียว อย่างไรก็ตาม สิ่งซึ่งเป็นลางบอกเหตุในทางร้ายก็ปรากฏขึ้นมาด้วย โดยการประท้วงต่อต้านญี่ปุ่นในหลายๆ เมืองของจีนในระยะไม่กี่วันมานี้ได้แปรสภาพกลายเป็นการจลาจล ภาพของการเผารถยนต์ญี่ปุ่น (และภาพของเจ้าของรถซึ่งแต่งตัวดีกำลังร้องไห้น้ำตานอง) ถูกส่งกระจายไปทั่วสื่อสังคมของแดนมังกรด้วยความรวดเร็วยิ่งกว่าตัวการจลาจลเองด้วยซ้ำ ธงชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีนถูกประดับตกแต่งเอาไว้อย่างสง่าโดดเด่นตามร้านค้าต่างๆ ทั่วประเทศ เคียงข้างกับแผ่นป้ายเขียนข้อความประณามต่อต้านญี่ปุ่น รัฐบาลญี่ปุ่นถึงกับต้องออกคำเตือนพลเมืองของตนที่อยู่ในจีน ให้ระมัดระวังตัวเพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้หลังจากที่ได้เกิดกรณีการโจมตีและการก่อกวนรังควาญ “อย่างร้ายแรง” ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก [7]
เหตุการณ์อีกอย่างหนึ่งซึ่งทำให้วิกฤตการณ์คราวนี้ดูมีภาพลักษณ์เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก ได้แก่การที่ ชินอิชิ นิชิมิยะ (Shinichi Nishimiya) ผู้เพิ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำจีนใหม่ๆ ได้เสียชีวิตที่กรุงปักกิ่งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายนนี้ [8] นิชิมิยะเพิ่งได้รับมอบหมายให้รับตำแหน่งหน้าที่นี้เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน บรรดาผู้มีอำนาจรับผิดชอบของทั้งสองประเทศ ต่างปฏิเสธความเป็นไปได้ที่จะมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันระหว่างการเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรของนิชิมิยะ กับการชุมนุมเดินขบวนต่อต้านญี่ปุ่นอย่างรุนแรงในประเทศจีนที่กำลังเพิ่มความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ กระนั้นการสูญเสียเขาก็มีส่วนทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับญี่ปุ่นที่เขม็งเกลียวอยู่แล้ว ยิ่งทวีความสลับซับซ้อนมากขึ้นไปอีก
วิกฤตการณ์ในทะเลจีนตะวันออกครั้งนี้ ยังจะส่งผลกระทบกระเทือนทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญ พร้อมๆ กับที่ก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมสั่นไหวในทางภูมิรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ทางการค้าทวิภาคีระหว่างญี่ปุ่นกับสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน มีมูลค่ามากมายมหาศาลถึงกว่า 340,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่เสียงเรียกร้องให้คว่ำบาตร “สินค้าของศัตรู” ดังกระหึ่มเพิ่มขึ้นในทั้งสองประเทศ ผลกระทบของการเผชิญหน้ากันที่ยังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องไม่หยุดเช่นนี้ ก็กำลังเป็นที่รู้สึกกันได้ในสมุดบัญชีของภาคธุรกิจทั้งในแดนมังกรและในแดนอาทิตย์อุทัย แล้วทำไมทั้งสองฝ่ายจึงกำลังยอมเสี่ยงที่จะทำให้ข้อพิพาทขยายตัวยกระดับความรุนแรงสูงขึ้นไปในช่วงระยะเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อเช่นขณะนี้?
กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัจจุบันทั้งปักกิ่งและโตเกียวต่างอยู่ในสภาพของการขี่อยู่บนหลังเสือแห่งลัทธิชาตินิยมแข็งกร้าว ฝ่ายญี่ปุ่นนั้นกำลังเผชิญทั้งปัญหาการแตกแยกทางการเมืองภายในอย่างร้ายแรง, การโต้แย้งถกเถียงกันอย่างดุเดือดในเรื่องการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์, และภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อย่างยืดเยื้อยาวนาน การตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีโยชิฮิโกะ โนดะ ที่จะเข้าซื้อหมู่เกาะแห่งนี้ และทำให้ประเด็นปัญหานี้กลายเป็นประเด็นปัญหาระดับชาติขึ้นมา บังเกิดขึ้นภายหลังที่ผู้ว่าราชการมหานครโตเกียว ชินตาระ อิชิฮารา (Shintara Ishihara) ที่เป็นพวกชาตินิยมแข็งกร้าว ไม่เพียงแต่ออกมาประกาศว่ามหานครโตเกียวจะเข้าซื้อหมู่เกาะแห่งนี้เสียเองเท่านั้น หากแต่ยังจะเข้าไปพัฒนาด้วย ซึ่งย่อมมีหวังทำให้ฝ่ายจีนโกรธกริ้วหนัก ดูเหมือนว่าแผนการของนายกรัฐมนตรีโนดะคือ หลังจากซื้อมาแล้วก็จะปล่อยทิ้งหมู่เกาะแห่งนี้เอาไว้โดยไม่เข้าไปพัฒนา ในความพยายามที่จะไต่เส้นลวดเดินไปในทางสายกลางระหว่างการทำให้ฝ่ายจีนแค้นเคือง และการทำให้พวกนักชาตินิยมชาวญี่ปุ่นโกรธเกรี้ยว อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่ายุทธศาสตร์นี้กลายเป็นการคำนวณผิดและเดินหมากพลาดอย่างร้ายแรงไปเสียแล้ว
ในระยะหลายสิบปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่แล้วรัฐบาลจีนมักหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าทางการทหารกับชาติอื่น ตรงกันข้ามวิธีการสำคัญที่สุดซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้ในการเพิ่มพูนหนุนส่งความชอบธรรมในการบริหารปกครองประเทศของตน ก็คือด้วยการทำให้เศรษฐกิจเติบโตขยายตัว การพิพาทกับต่างประเทศนั้นถูกเก็บเอาไว้เป็นเรื่องรองในขณะที่รัฐบาลเน้นหนักโฟกัสไปที่เป้าหมายเดี่ยวๆ โดดๆ ในเรื่องการเพิ่มพูนความมั่งคั่งรุ่งเรืองในทางวัตถุ เนื่องจากในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาพรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่ได้มีการแตกแยกกันภายในอย่างเปิดเผยชัดเจน และเนื่องจากลักษณะเผด็จการรวบอำนาจของระบบของจีน ส่วนใหญ่แล้วก็สามารถช่วยเป็นโล่กำบังพรรคให้พ้นจากการถูกตรวจสอบโดยตรงจากประชาชน คณะผู้นำจีนจึงสามารถดำเนินยุทธศาสตร์ระยะยาวไปตามที่ได้ตัดสินใจไว้แล้วเพื่อส่งเสริมสนับสนุนพลังอำนาจในทางระหว่างประเทศของจีน วิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ๆ เป็นต้นว่า กรณีที่องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization หรือ NATO) ทิ้งระเบิดใส่สถานเอกอัครราชทูตจีนในเซอร์เบียเมื่อปี 1999 ไม่ได้นำไปสู่การตอบโต้ของฝ่ายจีนอย่างยืดเยื้อหรือรุนแรงอะไรนัก ถึงแม้ประชาชนจีนมีอารมณ์ความรู้สึกโกรธกริ้วเดือดดาลกันมากก็ตามที
อย่างไรก็ดี แบบแผนเช่นนี้คงจะไม่เป็นจริงอีกต่อไปแล้ว ความแตกแยกภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีนกำลังเผยโฉมออกมาจากกรณีการหล่นจากอำนาจของ ป๋อ ซีไหล อดีตเลขาธิการพรรคสาขามหานครฉงชิ่ง ยิ่งไปกว่านั้น การที่ สี จิ้นผิง ทายาทผู้ที่จะสืบทอดตำแหน่งผู้นำสูงสุดของพรรคคนต่อไป ได้หายหน้าไปนานวันจากสายตาของสาธารณชนเมื่อเร็วๆ นี้ ก็เป็นเชื้อเพลิงทำให้เกิดข่าวลือสะพัดว่าเกิดการเผชิญหน้าอย่างรุนแรงภายในหมู่ผู้นำพรรค ในกรณีที่ถ้าหากเกิดการต่อสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจทางการเมืองในจีนขึ้นมาอย่างจริงจังแล้ว มีความเป็นไปได้เป็นอย่างมากที่ฝ่ายซึ่งเป็นผู้ครองอำนาจอยู่ อาจจะแสวงหาความสนับสนุนภายในประเทศด้วยการชักนำให้เกิดการต่อสู้ด้วยอาวุธกับประดาชาติที่เคยเป็นศัตรูเก่าแก่ร้ายกาจของแดนมังกร
พวกรัฐบาลฝ่ายตะวันตกที่พยายามกดดันจีนให้เดินหน้าเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยนั้น กระทำการบีบคั้นดังกล่าวในลักษณะมืดบอดสายตาสั้นไม่เข้าใจเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ระดับสูงสุดเอาเสียเลย ถ้าหากรัฐบาลในจีนแผ่นดินใหญ่ปัจจุบัน กำลังเป็นรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนตามสไตล์ของโลกตะวันตกแล้ว ก็คงแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะต้านทานแรงกดดันอันมหาศาลของประชาชนที่ต้องการจะทำสงครามสู้รบกับญี่ปุ่น
นอกเหนือจากความไม่แน่นอนในทางการเมืองแล้ว เศรษฐกิจของจีนก็กำลังส่งสัญญาณชะลอตัวอย่างน่าวิตกห่วงใยอีกด้วย ข่าวร้ายในทางเศรษฐกิจชิ้นแล้วชิ้นเล่าโถมทับเพิ่มพูนเข้ามาเรื่อยๆ ตลอดจนหลายๆ เดือนหลังมานี้ โดยที่พวกตัวเลขเครื่องบ่งชี้เศรษฐกิจตัวสำคัญๆ ต่างแสดงให้เห็นว่าอัตราการเติบโตขยายตัวของเศรษฐกิจจีนกำลังลดต่ำลงมามาก เมื่อเร็วๆ นี้นายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ได้พยายามกล่าวให้ความเชื่อมั่นอีกครั้งหนึ่งแก่ประเทศจีน (และก็แก่ทั่วโลกด้วย) ว่าสามารถที่จะฝ่าฟันเอาชนะความย่ำแย่ทางเศรษฐกิจคราวนี้ไปได้อย่างแน่นอน เขาบอกว่า “ผมไม่เห็นด้วยเลยกับข้อโต้แย้งที่ระบุว่า อัตราการเติบโตขยายตัวระดับสูงๆ ของจีนกำลังมาถึงจุดจบแล้วภายหลังจากดำเนินมาได้ 30 ปี แท้จริงแล้วเรายังสามารถทำเช่นนั้นไปได้อีกยาวนาน”[9] นายกฯเวินยังเดินหน้าประกาศเป้าหมายอัตราเติบโตของปีนี้ว่าอยู่ที่ 7.5% สำหรับในระบบเศรษฐกิจสำคัญๆ ของโลกส่วนใหญ่แล้ว อัตราเติบโตขยายตัวระดับนี้ต้องถือว่าน่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง ทว่าสำหรับจีน ตัวเลขนี้คืออัตราการเติบโตที่เชื่องช้าที่สุดในรอบระยะเวลา 22 ปีทีเดียว
จากการเข้าซื้อหมู่เกาะพิพาทในช่วงระยะหัวเลี้ยวหัวต่ออันสำคัญยิ่งยวดนี้ นายกรัฐมนตรีโนดะของญี่ปุ่นก็ได้บังคับรัฐบาลจีนให้ต้องแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยการเพิ่มเดิมพันทั้งในทางการทูต, เศรษฐกิจ, และการทหาร ของความขัดแย้งนี้ เนื่องจากจีนมองว่า ความเคลื่อนไหวแต่ฝ่ายเดียวของญี่ปุ่นในการทำให้ดินแดนที่ช่วงชิงกรรมสิทธิ์กันอยู่นี้กลายเป็น “เรื่องระดับชาติ” ของแดนอาทิตย์อุทัย ก็คือการเปลี่ยนแปลงสถานะเดิมที่ดำรงอยู่ และดังนั้นจึงเท่ากับเป็นการยั่วยุ แน่นอนทีเดียวว่าจีนยังจะหลีกเลี่ยงจากการเผชิญภัยทางทหารอย่างสุ่มเสี่ยง ตราบเท่าที่เศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตขยายตัวได้อย่างรวดเร็วต่อไป และคณะผู้นำจีนส่วนใหญ่ก็ยังคงสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ในกรณีที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ขึ้นในประเทศจีน หรือเกิดสถานการณ์ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองขึ้นในแดนมังกรแล้ว เหตุผลข้อโต้แย้งทั้งหลายที่หยิบยกขึ้นมากล่าวเอาไว้เหล่านี้ ก็เป็นอันใช้ไม่ได้อีกต่อไป
**หมายเหตุ**
[1] รายละเอียดดูที่ Sino-Japanese clash, Deccan Herald, Sep 13, 2012.
[2] รายละเอียดดูที่ China sends six ships to disputed islands, Al Jazeera, Sep 14, 2012.
[3] รายละเอียดดูที่ China willing to risk 'conflict' as it claims waters around Senkakus, The Asashi Shimbun, Sep 15, 2012.
[4] รายละเอียดดูที่ Locke urges bilateral talks to resolve issues, China Daily, Sep 15, 2012.
[5] รายละเอียดดูที่ US defense chief Panetta warns on Asia territory rows, BBC News, Sep 16, 2012.
[6] รายละเอียดดูที่ Taiwan recalls envoy over island dispute, Straits Times, Sep 11, 2012.
[7] รายละเอียดดูที่ Japan warns citizens in China after assaults, Japan Today, Sep 14, 2012.
[8] รายละเอียดดูที่ Japan's new envoy to China dead: officials, Times of India, Sep 16, 2012.
[9] รายละเอียดดูที่ China's economy to continue 'fast and stable' growth, says Premier Wen Jiabao, Telegraph, Sep 11, 2012.
เบรนดัน พี โอไรลีย์ เป็นนักเขียนและนักการศึกษาที่มาจากเมืองซีแอตเติล, สหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันพำนักอยู่ในจีน เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง
The Transcendent Harmony
Beijing more sensitive to war tremors
By Brendan O'Reilly
17/09/2012
การตัดสินใจของโตเกียวที่จะพยายามเข้าควบคุมหมู่เกาะซึ่งพิพาทอยู่กับปักกิ่งในทะเลจีนตะวันออกให้แน่นหนารัดกุมยิ่งขึ้น ดูเหมือนจะกลายเป็นการคำนวณผิดพลาดอย่างร้ายแรง อันที่จริงแล้ว มันก็ไม่ถึงกับเป็นเรื่องผิดปกติธรรมดาอะไรหรอกที่พวกผู้ประท้วงในจีนกำลังส่งเสียงเรียกร้องต้องการทำสงครามกับญี่ปุ่น แต่สิ่งที่แตกต่างจากคราวก่อนๆ ในอดีตที่ผ่านมาอยู่ตรงที่ว่า ความแตกร้าวที่กำลังปรากฏให้เห็นในคณะผู้นำสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทำให้ปักกิ่งมีความอ่อนไหวต่ออารมณ์ความรู้สึกของประชาชนเพิ่มมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ในขณะที่ปักกิ่งแสดงท่าทีดำเนินฝีก้าวต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อท้าทายการควบคุมเหนือหมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์/เซงกากุ ของฝ่ายญี่ปุ่นอยู่นั้น เราก็สามารถมองเห็นกันได้อย่างชัดเจนว่า กระแสชาตินิยมที่กำลังกระพือพัดอย่างแรงกล้าในแดนมังกรคราวนี้ เป็นการโหมฮือกันทั่วทั้งโลกของคนจีนจริงๆ ทั้งนี้หลังจากที่รัฐบาลแดนอาทิตย์อุทัยตัดสินใจที่จะซื้อหมู่เกาะแห่งนี้แล้ว สาธารณรัฐจีนซึ่งตั้งฐานอยู่บนเกาะไต้หวัน ก็ประกาศถอนผู้แทนของตนออกจากกรุงโตเกียวเพื่อเป็นการประท้วง รัฐมนตรีต่างประเทศ ทิโมธี หยาง (Timothy Yang) ของสาธารณรัฐจีน ได้แถลงประณามนโยบายดังกล่าวนี้ของญี่ปุ่นอย่างดุดัน โดยกล่าวว่า “เราเรียกร้องอย่างแรงกล้าให้รัฐบาลญี่ปุ่นยกเลิกความเคลื่อนไหวเช่นนี้ การกระทำตามอำเภอใจฝ่ายเดียวและอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายของญี่ปุ่น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่ว่า สาธารณรัฐจีนเป็นเจ้าของหมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์” [6]
นอกเหนือจากการแสดงการประท้วงในทางการทูตด้วยถ้อยคำดุเดือดรุนแรงจากทั้งสองฝ่ายของช่องแคบไต้หวัน (นั่นคือฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ และฝ่ายสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน) แล้ว ทั่วทั้งอาณาบริเวณ “เกรตเตอร์ไชน่า” (Greater China หมายรวมถึงจีนแผ่นดินใหญ่, ไต้หวัน, ฮ่องกง, และมาเก๊า) ก็มีคนจีนจำนวนมากออกมาแสดงความโกรธกริ้วใส่ญี่ปุ่นเป็นการใหญ่ โดยที่ก่อนหน้านั้นหลายสัปดาห์ เป็นพวกนักเคลื่อนไหวนิยมจีนจากฮ่องกงนั่นเองที่นั่งเรือไปขึ้นบกที่หมู่เกาะพิพาทแห่งนี้ นอกจากนั้นเสียงเรียกร้องให้คนจีนคว่ำบาตรไม่ซื้อไม่ใช้สินค้าญี่ปุ่นก็กำลังได้รับการตอบรับดังก้องทีเดียว อย่างไรก็ตาม สิ่งซึ่งเป็นลางบอกเหตุในทางร้ายก็ปรากฏขึ้นมาด้วย โดยการประท้วงต่อต้านญี่ปุ่นในหลายๆ เมืองของจีนในระยะไม่กี่วันมานี้ได้แปรสภาพกลายเป็นการจลาจล ภาพของการเผารถยนต์ญี่ปุ่น (และภาพของเจ้าของรถซึ่งแต่งตัวดีกำลังร้องไห้น้ำตานอง) ถูกส่งกระจายไปทั่วสื่อสังคมของแดนมังกรด้วยความรวดเร็วยิ่งกว่าตัวการจลาจลเองด้วยซ้ำ ธงชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีนถูกประดับตกแต่งเอาไว้อย่างสง่าโดดเด่นตามร้านค้าต่างๆ ทั่วประเทศ เคียงข้างกับแผ่นป้ายเขียนข้อความประณามต่อต้านญี่ปุ่น รัฐบาลญี่ปุ่นถึงกับต้องออกคำเตือนพลเมืองของตนที่อยู่ในจีน ให้ระมัดระวังตัวเพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้หลังจากที่ได้เกิดกรณีการโจมตีและการก่อกวนรังควาญ “อย่างร้ายแรง” ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก [7]
เหตุการณ์อีกอย่างหนึ่งซึ่งทำให้วิกฤตการณ์คราวนี้ดูมีภาพลักษณ์เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก ได้แก่การที่ ชินอิชิ นิชิมิยะ (Shinichi Nishimiya) ผู้เพิ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำจีนใหม่ๆ ได้เสียชีวิตที่กรุงปักกิ่งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายนนี้ [8] นิชิมิยะเพิ่งได้รับมอบหมายให้รับตำแหน่งหน้าที่นี้เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน บรรดาผู้มีอำนาจรับผิดชอบของทั้งสองประเทศ ต่างปฏิเสธความเป็นไปได้ที่จะมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันระหว่างการเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรของนิชิมิยะ กับการชุมนุมเดินขบวนต่อต้านญี่ปุ่นอย่างรุนแรงในประเทศจีนที่กำลังเพิ่มความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ กระนั้นการสูญเสียเขาก็มีส่วนทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับญี่ปุ่นที่เขม็งเกลียวอยู่แล้ว ยิ่งทวีความสลับซับซ้อนมากขึ้นไปอีก
วิกฤตการณ์ในทะเลจีนตะวันออกครั้งนี้ ยังจะส่งผลกระทบกระเทือนทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญ พร้อมๆ กับที่ก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมสั่นไหวในทางภูมิรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ทางการค้าทวิภาคีระหว่างญี่ปุ่นกับสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน มีมูลค่ามากมายมหาศาลถึงกว่า 340,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่เสียงเรียกร้องให้คว่ำบาตร “สินค้าของศัตรู” ดังกระหึ่มเพิ่มขึ้นในทั้งสองประเทศ ผลกระทบของการเผชิญหน้ากันที่ยังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องไม่หยุดเช่นนี้ ก็กำลังเป็นที่รู้สึกกันได้ในสมุดบัญชีของภาคธุรกิจทั้งในแดนมังกรและในแดนอาทิตย์อุทัย แล้วทำไมทั้งสองฝ่ายจึงกำลังยอมเสี่ยงที่จะทำให้ข้อพิพาทขยายตัวยกระดับความรุนแรงสูงขึ้นไปในช่วงระยะเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อเช่นขณะนี้?
กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัจจุบันทั้งปักกิ่งและโตเกียวต่างอยู่ในสภาพของการขี่อยู่บนหลังเสือแห่งลัทธิชาตินิยมแข็งกร้าว ฝ่ายญี่ปุ่นนั้นกำลังเผชิญทั้งปัญหาการแตกแยกทางการเมืองภายในอย่างร้ายแรง, การโต้แย้งถกเถียงกันอย่างดุเดือดในเรื่องการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์, และภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อย่างยืดเยื้อยาวนาน การตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีโยชิฮิโกะ โนดะ ที่จะเข้าซื้อหมู่เกาะแห่งนี้ และทำให้ประเด็นปัญหานี้กลายเป็นประเด็นปัญหาระดับชาติขึ้นมา บังเกิดขึ้นภายหลังที่ผู้ว่าราชการมหานครโตเกียว ชินตาระ อิชิฮารา (Shintara Ishihara) ที่เป็นพวกชาตินิยมแข็งกร้าว ไม่เพียงแต่ออกมาประกาศว่ามหานครโตเกียวจะเข้าซื้อหมู่เกาะแห่งนี้เสียเองเท่านั้น หากแต่ยังจะเข้าไปพัฒนาด้วย ซึ่งย่อมมีหวังทำให้ฝ่ายจีนโกรธกริ้วหนัก ดูเหมือนว่าแผนการของนายกรัฐมนตรีโนดะคือ หลังจากซื้อมาแล้วก็จะปล่อยทิ้งหมู่เกาะแห่งนี้เอาไว้โดยไม่เข้าไปพัฒนา ในความพยายามที่จะไต่เส้นลวดเดินไปในทางสายกลางระหว่างการทำให้ฝ่ายจีนแค้นเคือง และการทำให้พวกนักชาตินิยมชาวญี่ปุ่นโกรธเกรี้ยว อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่ายุทธศาสตร์นี้กลายเป็นการคำนวณผิดและเดินหมากพลาดอย่างร้ายแรงไปเสียแล้ว
ในระยะหลายสิบปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่แล้วรัฐบาลจีนมักหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าทางการทหารกับชาติอื่น ตรงกันข้ามวิธีการสำคัญที่สุดซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้ในการเพิ่มพูนหนุนส่งความชอบธรรมในการบริหารปกครองประเทศของตน ก็คือด้วยการทำให้เศรษฐกิจเติบโตขยายตัว การพิพาทกับต่างประเทศนั้นถูกเก็บเอาไว้เป็นเรื่องรองในขณะที่รัฐบาลเน้นหนักโฟกัสไปที่เป้าหมายเดี่ยวๆ โดดๆ ในเรื่องการเพิ่มพูนความมั่งคั่งรุ่งเรืองในทางวัตถุ เนื่องจากในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาพรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่ได้มีการแตกแยกกันภายในอย่างเปิดเผยชัดเจน และเนื่องจากลักษณะเผด็จการรวบอำนาจของระบบของจีน ส่วนใหญ่แล้วก็สามารถช่วยเป็นโล่กำบังพรรคให้พ้นจากการถูกตรวจสอบโดยตรงจากประชาชน คณะผู้นำจีนจึงสามารถดำเนินยุทธศาสตร์ระยะยาวไปตามที่ได้ตัดสินใจไว้แล้วเพื่อส่งเสริมสนับสนุนพลังอำนาจในทางระหว่างประเทศของจีน วิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ๆ เป็นต้นว่า กรณีที่องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization หรือ NATO) ทิ้งระเบิดใส่สถานเอกอัครราชทูตจีนในเซอร์เบียเมื่อปี 1999 ไม่ได้นำไปสู่การตอบโต้ของฝ่ายจีนอย่างยืดเยื้อหรือรุนแรงอะไรนัก ถึงแม้ประชาชนจีนมีอารมณ์ความรู้สึกโกรธกริ้วเดือดดาลกันมากก็ตามที
อย่างไรก็ดี แบบแผนเช่นนี้คงจะไม่เป็นจริงอีกต่อไปแล้ว ความแตกแยกภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีนกำลังเผยโฉมออกมาจากกรณีการหล่นจากอำนาจของ ป๋อ ซีไหล อดีตเลขาธิการพรรคสาขามหานครฉงชิ่ง ยิ่งไปกว่านั้น การที่ สี จิ้นผิง ทายาทผู้ที่จะสืบทอดตำแหน่งผู้นำสูงสุดของพรรคคนต่อไป ได้หายหน้าไปนานวันจากสายตาของสาธารณชนเมื่อเร็วๆ นี้ ก็เป็นเชื้อเพลิงทำให้เกิดข่าวลือสะพัดว่าเกิดการเผชิญหน้าอย่างรุนแรงภายในหมู่ผู้นำพรรค ในกรณีที่ถ้าหากเกิดการต่อสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจทางการเมืองในจีนขึ้นมาอย่างจริงจังแล้ว มีความเป็นไปได้เป็นอย่างมากที่ฝ่ายซึ่งเป็นผู้ครองอำนาจอยู่ อาจจะแสวงหาความสนับสนุนภายในประเทศด้วยการชักนำให้เกิดการต่อสู้ด้วยอาวุธกับประดาชาติที่เคยเป็นศัตรูเก่าแก่ร้ายกาจของแดนมังกร
พวกรัฐบาลฝ่ายตะวันตกที่พยายามกดดันจีนให้เดินหน้าเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยนั้น กระทำการบีบคั้นดังกล่าวในลักษณะมืดบอดสายตาสั้นไม่เข้าใจเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ระดับสูงสุดเอาเสียเลย ถ้าหากรัฐบาลในจีนแผ่นดินใหญ่ปัจจุบัน กำลังเป็นรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนตามสไตล์ของโลกตะวันตกแล้ว ก็คงแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะต้านทานแรงกดดันอันมหาศาลของประชาชนที่ต้องการจะทำสงครามสู้รบกับญี่ปุ่น
นอกเหนือจากความไม่แน่นอนในทางการเมืองแล้ว เศรษฐกิจของจีนก็กำลังส่งสัญญาณชะลอตัวอย่างน่าวิตกห่วงใยอีกด้วย ข่าวร้ายในทางเศรษฐกิจชิ้นแล้วชิ้นเล่าโถมทับเพิ่มพูนเข้ามาเรื่อยๆ ตลอดจนหลายๆ เดือนหลังมานี้ โดยที่พวกตัวเลขเครื่องบ่งชี้เศรษฐกิจตัวสำคัญๆ ต่างแสดงให้เห็นว่าอัตราการเติบโตขยายตัวของเศรษฐกิจจีนกำลังลดต่ำลงมามาก เมื่อเร็วๆ นี้นายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ได้พยายามกล่าวให้ความเชื่อมั่นอีกครั้งหนึ่งแก่ประเทศจีน (และก็แก่ทั่วโลกด้วย) ว่าสามารถที่จะฝ่าฟันเอาชนะความย่ำแย่ทางเศรษฐกิจคราวนี้ไปได้อย่างแน่นอน เขาบอกว่า “ผมไม่เห็นด้วยเลยกับข้อโต้แย้งที่ระบุว่า อัตราการเติบโตขยายตัวระดับสูงๆ ของจีนกำลังมาถึงจุดจบแล้วภายหลังจากดำเนินมาได้ 30 ปี แท้จริงแล้วเรายังสามารถทำเช่นนั้นไปได้อีกยาวนาน”[9] นายกฯเวินยังเดินหน้าประกาศเป้าหมายอัตราเติบโตของปีนี้ว่าอยู่ที่ 7.5% สำหรับในระบบเศรษฐกิจสำคัญๆ ของโลกส่วนใหญ่แล้ว อัตราเติบโตขยายตัวระดับนี้ต้องถือว่าน่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง ทว่าสำหรับจีน ตัวเลขนี้คืออัตราการเติบโตที่เชื่องช้าที่สุดในรอบระยะเวลา 22 ปีทีเดียว
จากการเข้าซื้อหมู่เกาะพิพาทในช่วงระยะหัวเลี้ยวหัวต่ออันสำคัญยิ่งยวดนี้ นายกรัฐมนตรีโนดะของญี่ปุ่นก็ได้บังคับรัฐบาลจีนให้ต้องแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยการเพิ่มเดิมพันทั้งในทางการทูต, เศรษฐกิจ, และการทหาร ของความขัดแย้งนี้ เนื่องจากจีนมองว่า ความเคลื่อนไหวแต่ฝ่ายเดียวของญี่ปุ่นในการทำให้ดินแดนที่ช่วงชิงกรรมสิทธิ์กันอยู่นี้กลายเป็น “เรื่องระดับชาติ” ของแดนอาทิตย์อุทัย ก็คือการเปลี่ยนแปลงสถานะเดิมที่ดำรงอยู่ และดังนั้นจึงเท่ากับเป็นการยั่วยุ แน่นอนทีเดียวว่าจีนยังจะหลีกเลี่ยงจากการเผชิญภัยทางทหารอย่างสุ่มเสี่ยง ตราบเท่าที่เศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตขยายตัวได้อย่างรวดเร็วต่อไป และคณะผู้นำจีนส่วนใหญ่ก็ยังคงสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ในกรณีที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ขึ้นในประเทศจีน หรือเกิดสถานการณ์ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองขึ้นในแดนมังกรแล้ว เหตุผลข้อโต้แย้งทั้งหลายที่หยิบยกขึ้นมากล่าวเอาไว้เหล่านี้ ก็เป็นอันใช้ไม่ได้อีกต่อไป
**หมายเหตุ**
[1] รายละเอียดดูที่ Sino-Japanese clash, Deccan Herald, Sep 13, 2012.
[2] รายละเอียดดูที่ China sends six ships to disputed islands, Al Jazeera, Sep 14, 2012.
[3] รายละเอียดดูที่ China willing to risk 'conflict' as it claims waters around Senkakus, The Asashi Shimbun, Sep 15, 2012.
[4] รายละเอียดดูที่ Locke urges bilateral talks to resolve issues, China Daily, Sep 15, 2012.
[5] รายละเอียดดูที่ US defense chief Panetta warns on Asia territory rows, BBC News, Sep 16, 2012.
[6] รายละเอียดดูที่ Taiwan recalls envoy over island dispute, Straits Times, Sep 11, 2012.
[7] รายละเอียดดูที่ Japan warns citizens in China after assaults, Japan Today, Sep 14, 2012.
[8] รายละเอียดดูที่ Japan's new envoy to China dead: officials, Times of India, Sep 16, 2012.
[9] รายละเอียดดูที่ China's economy to continue 'fast and stable' growth, says Premier Wen Jiabao, Telegraph, Sep 11, 2012.
เบรนดัน พี โอไรลีย์ เป็นนักเขียนและนักการศึกษาที่มาจากเมืองซีแอตเติล, สหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันพำนักอยู่ในจีน เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง
The Transcendent Harmony