(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Hu warns successors over ‘peaceful evolution’
By Wu Zhong
10/01/2012
ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา ออกมาเรียกร้องเมื่อเร็วๆ นี้ ให้จีนระมัดระวังตัวคอยต้านทานไม่ให้“กลุ่มพลังศัตรู” ประสบความสำเร็จใน “การแทรกซึมทางอุดมการณ์” คำพูดเช่นนี้ของเขาได้รับการตีความอย่างกว้างขวางว่าเป็นการประกาศทำสงครามกับวัฒนธรรมตะวันตก ทำนองเดียวกับการรณรงค์กำจัดมลพิษทางจิตใจที่เคยดำเนินการกันอยู่หลายระลอกในแดนมังกรเมื่อช่วงทศวรรษ 1980 อย่างไรก็ดี แท้ที่จริงแล้ว หู กำลังมุ่งเตือนคณะผู้นำใหม่ที่จะขึ้นครองอำนาจ ณ การประชุมสมัชชาทั่วประเทศพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 18 ตอนปลายปีนี้ต่างหาก โดยเขาต้องการตอกย้ำว่าจะต้องมีความตื่นตัวคอยเฝ้าระวังภัยคุกคามที่ใหญ่โตที่สุดต่อการเป็นผู้ปกครองประเทศของคอมมิวนิสต์ นั่นก็คือ สิ่งที่เรียกกันว่า “การวิวัฒนาการอย่างสันติ ”
ฮ่องกง – พรรคคอมมิวนิสต์จีนต้อนรับปีใหม่ 2012 ด้วยการตีพิมพ์เผยแพร่คำปราศรัยของ หู จิ่นเทา เลขาธิการใหญ่ของพรรคและประธานาธิบดีของประเทศ ซึ่งเรียกร้องให้ดำนินมาตรการที่ได้ผล เพื่อต่อต้านคัดค้าน “การแทรกซึมทางอุดมการณ์และทางวัฒนธรรม” ของ “กลุ่มพลังศัตรู”
การพูดถึงการแทรกซึมทางวัฒนธรรมของ หู ในคราวนี้ ปรากฏอยู่ในคำปราศรัยขนาดยาวเหยียด ที่เขาพูดในการประชุมคณะกรรมการกลางเต็มคณะของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คำปราศรัยดังกล่าวมีการใช้ถ้อยคำโวหารอันแข็งกร้าวผิดธรรมดา ซึ่งทำให้ผู้คนจำนวนมากทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกประเทศจีนพากันรู้สึกเซอร์ไพรซ์ สื่อมวลชนต่างประเทศบางสำนักมองเรื่องนี้ว่า เป็นการประกาศทำสงครามคัดค้านวัฒนธรรมตะวันตก
คำปราศรัยชิ้นนี้ทำให้ปัญญาชนจีนบางส่วนหวนระลึกถึงประดาการเคลื่อนไหวรณรงค์กำจัด “มลพิษทางจิตใจ (ของตะวันตก)” และต่อต้าน “กระบวนการเดินไปสู่เสรีนิยมแบบชนชั้นนายทุน” ในยุคทศวรรษ 1980 ซึ่งในที่สุดแล้วก็นำไปสู่การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน และจากนั้นก็เกิดการปราบปรามในปี 1989 นอกจากนั้นยังมีบางคนที่คิดว่าคำปราศรัยของ หู คราวนี้ คือสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่า ปักกิ่งกำลังจะควบคุมในเรื่องอุดมการณ์อย่างเข้มงวดกวดขันยิ่งขึ้น เพื่อปราบปรามขจัดเสียงคัดค้านแสดงความไม่พอใจทางการ
คำปราศรัยของหูนี้ ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่โดย “แสวงหาสัจจะ” (Seeking Truth) นิตยสารเล่มสำคัญที่สุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่มีโรงเรียนพรรคส่วนกลาง (Central Party School) เป็นผู้ดูแล ในฉบับแรกประจำปี 2012 นี้ คำเตือนของผู้นำสูงสุดของแดนมังกรนี้ มีเนื้อความซึ่งผู้เขียน (อู่ จง) ขอแปลจากภาษาจีนและทำตัวเน้นจุดที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้:
“ในทางระหว่างประเทศ ลักษณะอันโดดเด่นประการหนึ่งที่ใช้พิจารณาว่าประเทศๆ หนึ่งมีความสามารถทางการแข่งขันอย่างเข้มแข็งเพียงใด ได้แก่ ฐานะและบทบาททางวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ มีความสำคัญมากน้อยขนาดไหน
ประเทศจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกประเทศใหญ่ๆ ต่างถือเป็นยุทธศาสตร์อันสำคัญที่จะต้องทำให้อำนาจละมุนทางวัฒนธรรม (cultural soft power) ของตน มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ในโลกทุกวันนี้ การแลกเปลี่ยน, การบูรณาการ, และการเผชิญหน้ากันระหว่างแนวความคิดและวัฒนธรรมทุกๆ ชนิด กำลังบังเกิดขึ้นบ่อยยิ่งกว่าที่เป็นมาในอดีต ใครก็ตามที่สามารถเข้ายึดครองจุดบัญชาการทางวัฒนธรรม (cultural commanding point) เอาไว้ได้ ก็จะมีอำนาจละมุนทางวัฒนธรรมที่แข็งแกร่ง และดังนั้นก็จะสามารถกลายเป็นผู้ริเริ่มเดินหมากก่อนคนอื่นๆ ได้
ในเวลาเดียวกัน มีความจำเป็นที่เราต้องมองเห็นให้ชัดเจนว่า กลุ่มพลังศัตรูระหว่างประเทศ (international hostile forces) กำลังเพิ่มพูนยกระดับความพยายามเชิงยุทธศาสตร์ของพวกเขา ในการทำให้ประเทศชาติของเรากลายเป็นแบบตะวันตก ตลอดจนแบ่งแยกประเทศชาติของเรา โดยที่ปริมณฑลอุดมการณ์และวัฒนธรรมนั่นแหละ คือจุดโฟกัสที่พวกเขามุ่งแทรกซึมในระยะยาว มีความจำเป็นที่เราจะต้องตระหนักอย่างชัดเจนว่า การต่อสู้ในปริมณฑลอุดมการณ์นั้นเป็นการต่อสู้ที่จริงจังและสลับซับซ้อน, จักต้องมีความระมัดระวังตื่นตัวอยู่เสมอ และต้องเพิ่มพูนยกระดับความระแวดระวังของเราอยู่เสมอ, และจักต้องดำนินมาตรการตอบโต้ต่างๆ ที่ได้ผล ...
ครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่ หู ขึ้นครองอำนาจเมื่อ 9 ปีก่อนที่เขาแสดงออกมาอย่างเปิดเผยให้เห็นถึงความกังวลของปักกิ่งเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกขานกันว่า “วิวัฒนาการอย่างสันติ” (peaceful evolution) แนวความคิดในเรื่องนี้ก่อรูปขึ้นมาในช่วงสงครามเย็นโดย จอห์น ฟอสเตอร์ ดัลเลส (John Foster Dulles) อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ในระยะประมาณทศวรรษ 1950 แนวความคิดนี้วาดภาพให้เห็นว่า ในประเทศคอมมิวนิสต์นั้น สามารถเกิดการเปลี่ยนแปลง “อย่างสันติ” จากการปกครองแบบเผด็จการรวบอำนาจ กลายมาเป็นประชาธิปไตยได้
ตั้งแต่ในยุคสมัยของเหมา เจ๋อตง แล้ว พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้พยายามต้านทาน “วิวัฒนาการอย่างสันติ” เรื่อยมา และมีความเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคือภัยคุกคามใหญ่โตที่สุดต่อการเป็นผู้ปกครองประเทศอย่างต่อเนื่องยาวนานของตน สำหรับเหล่าผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนแล้ว ไม่มีสิ่งใดสำคัญยิ่งไปกว่าการปกป้องรักษาฐานะการเป็นผู้ปกครองประเทศของพรรคเอาไว้ให้ได้ นี่เองเป็นเหตุผลที่ทำให้ เติ้ง เสี่ยวผิง ออกคำสั่งเคลื่อนกองทหารของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน เข้าไปสลายการชุมนุมที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 1989 สิ่งที่ หู พูดในคำปราศรัยคราวนี้ จึงเป็นเพียงการเน้นย้ำแนวทางของพรรคกันอีกครั้งหนึ่งเท่านั้น
ถ้าหากตีความคำกล่าวของ หู นี้ ว่าเป็นการประกาศสงครามทางวัฒนธรรม ก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามันเป็นสงครามที่ฝ่ายจีนจะต้องกลายเป็นฝ่ายตั้งรับ แท้ที่จริงแล้วคำเตือนของหู มีทิศทางมุ่งไปยังภายในประเทศ ภายหลังจากอยู่รอดมาได้มิได้ล้มครืนตามไปทั้งๆ ที่กลุ่มอดีตสหภาพโซเวียตล้มหายตายจากไปทั้งกลุ่มในช่วงปลายทศวรรษ 1980 จนถึงต้นทศวรรษ 1990 เวลานี้พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็กำลังถูกเตือนให้ระลึกถึงภัยคุกคามของ “วิวัฒนาการอย่างสันติ” อีกคำรบหนึ่ง เมื่อเกิด “การปฏิวัติดอกกุหลาบ” ในตูนิเซีย และลุกลามกลายเป็นขบวนการ “อาหรับ สปริง” (Arab Spring) ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือเมื่อปีที่แล้ว
ในปัจจุบัน ภายหลังผ่านการปฏิรูปเศรษฐกิจในสไตล์ทุนนิยมมาเป็นเวลากว่า 30 ปี ประเทศจีนก็ได้กลายเป็นสังคมเปิดยิ่งกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต นอกจากนั้น พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังน่าที่จะค้นพบว่า ตนเองประสบความยากลำบากมากขึ้นเรื่อยๆ ในการอ้างเหตุผลความชอบธรรมเพื่อเข้าเป็นผู้ปกครองแดนมังกรอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกับที่เสียงเรียกร้องให้ดำเนินกระบวนการมุ่งสู่ระบอบประชาธิปไตยก็ดังก้องยิ่งขึ้นทุกขณะ
อย่างไรก็ดี คำเตือนคราวนี้ของหู น่าที่จะสามารถทำความเข้าใจได้ดีขึ้น ถ้าหากพิจารณาโดยคิดถึงการประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศครั้งที่ 18 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในตอนปลายปีนี้ โดยที่จะมีการลงมติรับรองคณะผู้นำส่วนกลางชุดใหม่ของพรรค
การต่อสู้คัดค้าน “วิวัฒนาการอย่างสันติ” ถือเป็นภารกิจระยะยาวของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทว่าหูกำลังจะต้องก้าวลงจากตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ของพรรคอยู่รอมร่อแล้ว ดังนั้น คำพูดของเขาจึงสามารถตีความได้ดังนี้: “ในระหว่างที่ผมดำรงตำแหน่งอยู่ ผมประสบความสำเร็จในการพิทักษ์ปกป้องให้พรรคยังคงเป็นผู้ปกครองประเทศต่อไป โดยที่ต่อต้านคัดค้านภัยคุกคามของ ‘วิวัฒนาการอย่างสันติ’ ผมจึงหวังว่าคณะผู้นำชุดใหม่จะดำเนินภารกิจเช่นนี้ต่อไป”
ก่อนหน้าจะเปิดการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 18 มีความจำเป็นที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะต้องรักษาเสถียรภาพทางการเมืองและเสถียรภาพทางสังคมเอาไว้ให้ได้ เพื่อให้แน่ใจว่าการเปลี่ยนถ่ายอำนาจจะดำเนินไปอย่างราบรื่น มีรายงานว่าปักกิ่งได้สั่งการให้ท้องที่ต่างๆ ดำเนินมาตรการที่จำเป็นทุกอย่างเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุใดๆ ที่จะก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพ ไม่ว่าจะเป็นช่วงก่อนหรือระหว่างการประชุมสมัชชา
ปักกิ่งยังได้เพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมอินเทอร์เน็ต โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อขจัดข่าวลือ ทั้งนี้ในประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ข่าวลือมักแพร่สะพัดเป็นพิเศษในระหว่างที่มีการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ หากพิจารณาจากแง่มุมนี้แล้ว การที่พรรคมีนโยบายปิดบังเรื่องแทบทุกเรื่องให้เป็นความลับ ย่อมสมควรที่จะถูกกล่าวโทษว่าเป็นตัวการของการเกิดข่าวลือ อย่างน้อยก็ในบางส่วน เพราะในเมื่อไม่มีข้อมูลข่าวสารที่เป็นของทางการ ประชาชนก็ต้องเฝ้าติดตามรับฟังคำเล่าลือต่างๆ นานา ทว่าปักกิ่งดูเหมือนจะมีความเชื่อว่า ข่าวลือบางอย่างเป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์สร้างขึ้นมาอย่างจงใจจากต่างแดน ด้วยความพยายามที่จะทำให้มันมีอิทธิพลต่อที่ประชุมสมัชชาพรรค
ก่อนหน้าการประชุมสมัชชา ได้มีหนังสือจำนวนมากตีพิมพ์ออกวางจำหน่ายในฮ่องกง (และคาดหมายได้ว่ายังจะมีทยอยออกมาอีกหลายๆ เล่ม) โดยมีเนื้อหาพูดถึงเรื่องใครจะเป็นผู้นำใหม่ตลอดจนภูมิหลังความเป็นมาของพวกเขา หรือไม่ก็กล่าวถึงการต่อสู้แย่งชิงอำนาจอันดุเดือดระหว่างกลุ่มต่างๆ ภายในพรรค ชาวฮ่องกงไม่มากนักหรอกที่สนใจติดตามอ่านหนังสือแบบนี้ ทว่าสิ่งพิมพ์เหล่านี้มีจุดมุ่งหมายหลักอยู่ที่การสนองรสนิยมของชาวจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งปัจจุบันเดินทางมาเยือนเขตปกครองพิเศษแห่งนี้เป็นจำนวนหลายหมื่นคนในแต่ละวัน ไม่จำเป็นต้องบอกก็คาดกันได้อยู่แล้วว่าเนื้อหาจำนวนมากของหนังสือเหล่านี้อาศัยการกะเก็งคาดเดายกเมฆตอกไข่ใส่สี และเวลานี้ด่านศุลกากรของจีนก็เพิ่มความเคร่งครัดในการตรวจตรา ตลอดจนจนห้ามปรามนักเดินทางท่องเที่ยวไม่ให้นำเอาหนังสือประเภทนี้กลับไปแผ่นดินใหญ่
เรื่องนี้ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งในวิธีการของปักกิ่งที่กำลังยกระดับความพยายามเพื่อต่อสู้คัดค้านการแทรกซึมทางอุดมการณ์และทางวัฒนธรรม ที่กระทำโดย “กลุ่มพลังศัตรูระหว่างประเทศ”
ถึงแม้จะมีความเคลื่อนไหวแบบนี้ออกมาให้เห็น แต่ความหวาดกลัวที่ว่า หู อาจจะถึงขนาดเปิดการรณรงค์ทั่วประเทศเพื่อควบคุมเรื่องอุดมการณ์อย่างเข้มงวดมากขึ้นนั้น น่าจะเพียงเป็นการคิดนึกจินตนาการเอาโดยปราศจากข้อเท็จจริงรองรับ เนื่องจากยุคสมัยได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
ทุกวันนี้มีผู้คนไม่มากนักหรอก แม้กระทั่งในหมู่สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนเอง ที่ยังคงมีความสนอกสนใจการรณรงค์แบบนั้นอยู่ ดังนั้นถ้าหากสมมุติว่าหูต้องการทำเรื่องเช่นนี้ขึ้นมาจริงๆ เขาก็จะต้องประสบความลำบากมากมายทีเดียว สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นอีกก็คือ หูกำลังจะก้าวลงจากตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ของพรรคในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้แล้ว จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่เขาจะเกิดต้องการทำให้บรรยากาศทางการเมืองและทางสังคมปั่นป่วนโกรธกริ้ว ก่อนที่เขาจะเข้าสู่ชีวิตวัยเกษียณ เพราะการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงใดๆ ในนโยบายใหญ่ๆ เช่นนี้ ย่อมจะถูกมองไปว่า เป็นการสร้าง “ความไม่กลมกลืน” ให้แก่การส่งผ่านอำนาจอันราบรื่น
อู่ จง เป็นบรรณาธิการด้านจีนของเอเชียไทมส์ออนไลน์
Hu warns successors over ‘peaceful evolution’
By Wu Zhong
10/01/2012
ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา ออกมาเรียกร้องเมื่อเร็วๆ นี้ ให้จีนระมัดระวังตัวคอยต้านทานไม่ให้“กลุ่มพลังศัตรู” ประสบความสำเร็จใน “การแทรกซึมทางอุดมการณ์” คำพูดเช่นนี้ของเขาได้รับการตีความอย่างกว้างขวางว่าเป็นการประกาศทำสงครามกับวัฒนธรรมตะวันตก ทำนองเดียวกับการรณรงค์กำจัดมลพิษทางจิตใจที่เคยดำเนินการกันอยู่หลายระลอกในแดนมังกรเมื่อช่วงทศวรรษ 1980 อย่างไรก็ดี แท้ที่จริงแล้ว หู กำลังมุ่งเตือนคณะผู้นำใหม่ที่จะขึ้นครองอำนาจ ณ การประชุมสมัชชาทั่วประเทศพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 18 ตอนปลายปีนี้ต่างหาก โดยเขาต้องการตอกย้ำว่าจะต้องมีความตื่นตัวคอยเฝ้าระวังภัยคุกคามที่ใหญ่โตที่สุดต่อการเป็นผู้ปกครองประเทศของคอมมิวนิสต์ นั่นก็คือ สิ่งที่เรียกกันว่า “การวิวัฒนาการอย่างสันติ ”
ฮ่องกง – พรรคคอมมิวนิสต์จีนต้อนรับปีใหม่ 2012 ด้วยการตีพิมพ์เผยแพร่คำปราศรัยของ หู จิ่นเทา เลขาธิการใหญ่ของพรรคและประธานาธิบดีของประเทศ ซึ่งเรียกร้องให้ดำนินมาตรการที่ได้ผล เพื่อต่อต้านคัดค้าน “การแทรกซึมทางอุดมการณ์และทางวัฒนธรรม” ของ “กลุ่มพลังศัตรู”
การพูดถึงการแทรกซึมทางวัฒนธรรมของ หู ในคราวนี้ ปรากฏอยู่ในคำปราศรัยขนาดยาวเหยียด ที่เขาพูดในการประชุมคณะกรรมการกลางเต็มคณะของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คำปราศรัยดังกล่าวมีการใช้ถ้อยคำโวหารอันแข็งกร้าวผิดธรรมดา ซึ่งทำให้ผู้คนจำนวนมากทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกประเทศจีนพากันรู้สึกเซอร์ไพรซ์ สื่อมวลชนต่างประเทศบางสำนักมองเรื่องนี้ว่า เป็นการประกาศทำสงครามคัดค้านวัฒนธรรมตะวันตก
คำปราศรัยชิ้นนี้ทำให้ปัญญาชนจีนบางส่วนหวนระลึกถึงประดาการเคลื่อนไหวรณรงค์กำจัด “มลพิษทางจิตใจ (ของตะวันตก)” และต่อต้าน “กระบวนการเดินไปสู่เสรีนิยมแบบชนชั้นนายทุน” ในยุคทศวรรษ 1980 ซึ่งในที่สุดแล้วก็นำไปสู่การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน และจากนั้นก็เกิดการปราบปรามในปี 1989 นอกจากนั้นยังมีบางคนที่คิดว่าคำปราศรัยของ หู คราวนี้ คือสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่า ปักกิ่งกำลังจะควบคุมในเรื่องอุดมการณ์อย่างเข้มงวดกวดขันยิ่งขึ้น เพื่อปราบปรามขจัดเสียงคัดค้านแสดงความไม่พอใจทางการ
คำปราศรัยของหูนี้ ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่โดย “แสวงหาสัจจะ” (Seeking Truth) นิตยสารเล่มสำคัญที่สุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่มีโรงเรียนพรรคส่วนกลาง (Central Party School) เป็นผู้ดูแล ในฉบับแรกประจำปี 2012 นี้ คำเตือนของผู้นำสูงสุดของแดนมังกรนี้ มีเนื้อความซึ่งผู้เขียน (อู่ จง) ขอแปลจากภาษาจีนและทำตัวเน้นจุดที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้:
“ในทางระหว่างประเทศ ลักษณะอันโดดเด่นประการหนึ่งที่ใช้พิจารณาว่าประเทศๆ หนึ่งมีความสามารถทางการแข่งขันอย่างเข้มแข็งเพียงใด ได้แก่ ฐานะและบทบาททางวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ มีความสำคัญมากน้อยขนาดไหน
ประเทศจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกประเทศใหญ่ๆ ต่างถือเป็นยุทธศาสตร์อันสำคัญที่จะต้องทำให้อำนาจละมุนทางวัฒนธรรม (cultural soft power) ของตน มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ในโลกทุกวันนี้ การแลกเปลี่ยน, การบูรณาการ, และการเผชิญหน้ากันระหว่างแนวความคิดและวัฒนธรรมทุกๆ ชนิด กำลังบังเกิดขึ้นบ่อยยิ่งกว่าที่เป็นมาในอดีต ใครก็ตามที่สามารถเข้ายึดครองจุดบัญชาการทางวัฒนธรรม (cultural commanding point) เอาไว้ได้ ก็จะมีอำนาจละมุนทางวัฒนธรรมที่แข็งแกร่ง และดังนั้นก็จะสามารถกลายเป็นผู้ริเริ่มเดินหมากก่อนคนอื่นๆ ได้
ในเวลาเดียวกัน มีความจำเป็นที่เราต้องมองเห็นให้ชัดเจนว่า กลุ่มพลังศัตรูระหว่างประเทศ (international hostile forces) กำลังเพิ่มพูนยกระดับความพยายามเชิงยุทธศาสตร์ของพวกเขา ในการทำให้ประเทศชาติของเรากลายเป็นแบบตะวันตก ตลอดจนแบ่งแยกประเทศชาติของเรา โดยที่ปริมณฑลอุดมการณ์และวัฒนธรรมนั่นแหละ คือจุดโฟกัสที่พวกเขามุ่งแทรกซึมในระยะยาว มีความจำเป็นที่เราจะต้องตระหนักอย่างชัดเจนว่า การต่อสู้ในปริมณฑลอุดมการณ์นั้นเป็นการต่อสู้ที่จริงจังและสลับซับซ้อน, จักต้องมีความระมัดระวังตื่นตัวอยู่เสมอ และต้องเพิ่มพูนยกระดับความระแวดระวังของเราอยู่เสมอ, และจักต้องดำนินมาตรการตอบโต้ต่างๆ ที่ได้ผล ...
ครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่ หู ขึ้นครองอำนาจเมื่อ 9 ปีก่อนที่เขาแสดงออกมาอย่างเปิดเผยให้เห็นถึงความกังวลของปักกิ่งเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกขานกันว่า “วิวัฒนาการอย่างสันติ” (peaceful evolution) แนวความคิดในเรื่องนี้ก่อรูปขึ้นมาในช่วงสงครามเย็นโดย จอห์น ฟอสเตอร์ ดัลเลส (John Foster Dulles) อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ในระยะประมาณทศวรรษ 1950 แนวความคิดนี้วาดภาพให้เห็นว่า ในประเทศคอมมิวนิสต์นั้น สามารถเกิดการเปลี่ยนแปลง “อย่างสันติ” จากการปกครองแบบเผด็จการรวบอำนาจ กลายมาเป็นประชาธิปไตยได้
ตั้งแต่ในยุคสมัยของเหมา เจ๋อตง แล้ว พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้พยายามต้านทาน “วิวัฒนาการอย่างสันติ” เรื่อยมา และมีความเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคือภัยคุกคามใหญ่โตที่สุดต่อการเป็นผู้ปกครองประเทศอย่างต่อเนื่องยาวนานของตน สำหรับเหล่าผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนแล้ว ไม่มีสิ่งใดสำคัญยิ่งไปกว่าการปกป้องรักษาฐานะการเป็นผู้ปกครองประเทศของพรรคเอาไว้ให้ได้ นี่เองเป็นเหตุผลที่ทำให้ เติ้ง เสี่ยวผิง ออกคำสั่งเคลื่อนกองทหารของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน เข้าไปสลายการชุมนุมที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 1989 สิ่งที่ หู พูดในคำปราศรัยคราวนี้ จึงเป็นเพียงการเน้นย้ำแนวทางของพรรคกันอีกครั้งหนึ่งเท่านั้น
ถ้าหากตีความคำกล่าวของ หู นี้ ว่าเป็นการประกาศสงครามทางวัฒนธรรม ก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามันเป็นสงครามที่ฝ่ายจีนจะต้องกลายเป็นฝ่ายตั้งรับ แท้ที่จริงแล้วคำเตือนของหู มีทิศทางมุ่งไปยังภายในประเทศ ภายหลังจากอยู่รอดมาได้มิได้ล้มครืนตามไปทั้งๆ ที่กลุ่มอดีตสหภาพโซเวียตล้มหายตายจากไปทั้งกลุ่มในช่วงปลายทศวรรษ 1980 จนถึงต้นทศวรรษ 1990 เวลานี้พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็กำลังถูกเตือนให้ระลึกถึงภัยคุกคามของ “วิวัฒนาการอย่างสันติ” อีกคำรบหนึ่ง เมื่อเกิด “การปฏิวัติดอกกุหลาบ” ในตูนิเซีย และลุกลามกลายเป็นขบวนการ “อาหรับ สปริง” (Arab Spring) ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือเมื่อปีที่แล้ว
ในปัจจุบัน ภายหลังผ่านการปฏิรูปเศรษฐกิจในสไตล์ทุนนิยมมาเป็นเวลากว่า 30 ปี ประเทศจีนก็ได้กลายเป็นสังคมเปิดยิ่งกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต นอกจากนั้น พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังน่าที่จะค้นพบว่า ตนเองประสบความยากลำบากมากขึ้นเรื่อยๆ ในการอ้างเหตุผลความชอบธรรมเพื่อเข้าเป็นผู้ปกครองแดนมังกรอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกับที่เสียงเรียกร้องให้ดำเนินกระบวนการมุ่งสู่ระบอบประชาธิปไตยก็ดังก้องยิ่งขึ้นทุกขณะ
อย่างไรก็ดี คำเตือนคราวนี้ของหู น่าที่จะสามารถทำความเข้าใจได้ดีขึ้น ถ้าหากพิจารณาโดยคิดถึงการประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศครั้งที่ 18 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในตอนปลายปีนี้ โดยที่จะมีการลงมติรับรองคณะผู้นำส่วนกลางชุดใหม่ของพรรค
การต่อสู้คัดค้าน “วิวัฒนาการอย่างสันติ” ถือเป็นภารกิจระยะยาวของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทว่าหูกำลังจะต้องก้าวลงจากตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ของพรรคอยู่รอมร่อแล้ว ดังนั้น คำพูดของเขาจึงสามารถตีความได้ดังนี้: “ในระหว่างที่ผมดำรงตำแหน่งอยู่ ผมประสบความสำเร็จในการพิทักษ์ปกป้องให้พรรคยังคงเป็นผู้ปกครองประเทศต่อไป โดยที่ต่อต้านคัดค้านภัยคุกคามของ ‘วิวัฒนาการอย่างสันติ’ ผมจึงหวังว่าคณะผู้นำชุดใหม่จะดำเนินภารกิจเช่นนี้ต่อไป”
ก่อนหน้าจะเปิดการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 18 มีความจำเป็นที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะต้องรักษาเสถียรภาพทางการเมืองและเสถียรภาพทางสังคมเอาไว้ให้ได้ เพื่อให้แน่ใจว่าการเปลี่ยนถ่ายอำนาจจะดำเนินไปอย่างราบรื่น มีรายงานว่าปักกิ่งได้สั่งการให้ท้องที่ต่างๆ ดำเนินมาตรการที่จำเป็นทุกอย่างเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุใดๆ ที่จะก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพ ไม่ว่าจะเป็นช่วงก่อนหรือระหว่างการประชุมสมัชชา
ปักกิ่งยังได้เพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมอินเทอร์เน็ต โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อขจัดข่าวลือ ทั้งนี้ในประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ข่าวลือมักแพร่สะพัดเป็นพิเศษในระหว่างที่มีการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ หากพิจารณาจากแง่มุมนี้แล้ว การที่พรรคมีนโยบายปิดบังเรื่องแทบทุกเรื่องให้เป็นความลับ ย่อมสมควรที่จะถูกกล่าวโทษว่าเป็นตัวการของการเกิดข่าวลือ อย่างน้อยก็ในบางส่วน เพราะในเมื่อไม่มีข้อมูลข่าวสารที่เป็นของทางการ ประชาชนก็ต้องเฝ้าติดตามรับฟังคำเล่าลือต่างๆ นานา ทว่าปักกิ่งดูเหมือนจะมีความเชื่อว่า ข่าวลือบางอย่างเป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์สร้างขึ้นมาอย่างจงใจจากต่างแดน ด้วยความพยายามที่จะทำให้มันมีอิทธิพลต่อที่ประชุมสมัชชาพรรค
ก่อนหน้าการประชุมสมัชชา ได้มีหนังสือจำนวนมากตีพิมพ์ออกวางจำหน่ายในฮ่องกง (และคาดหมายได้ว่ายังจะมีทยอยออกมาอีกหลายๆ เล่ม) โดยมีเนื้อหาพูดถึงเรื่องใครจะเป็นผู้นำใหม่ตลอดจนภูมิหลังความเป็นมาของพวกเขา หรือไม่ก็กล่าวถึงการต่อสู้แย่งชิงอำนาจอันดุเดือดระหว่างกลุ่มต่างๆ ภายในพรรค ชาวฮ่องกงไม่มากนักหรอกที่สนใจติดตามอ่านหนังสือแบบนี้ ทว่าสิ่งพิมพ์เหล่านี้มีจุดมุ่งหมายหลักอยู่ที่การสนองรสนิยมของชาวจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งปัจจุบันเดินทางมาเยือนเขตปกครองพิเศษแห่งนี้เป็นจำนวนหลายหมื่นคนในแต่ละวัน ไม่จำเป็นต้องบอกก็คาดกันได้อยู่แล้วว่าเนื้อหาจำนวนมากของหนังสือเหล่านี้อาศัยการกะเก็งคาดเดายกเมฆตอกไข่ใส่สี และเวลานี้ด่านศุลกากรของจีนก็เพิ่มความเคร่งครัดในการตรวจตรา ตลอดจนจนห้ามปรามนักเดินทางท่องเที่ยวไม่ให้นำเอาหนังสือประเภทนี้กลับไปแผ่นดินใหญ่
เรื่องนี้ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งในวิธีการของปักกิ่งที่กำลังยกระดับความพยายามเพื่อต่อสู้คัดค้านการแทรกซึมทางอุดมการณ์และทางวัฒนธรรม ที่กระทำโดย “กลุ่มพลังศัตรูระหว่างประเทศ”
ถึงแม้จะมีความเคลื่อนไหวแบบนี้ออกมาให้เห็น แต่ความหวาดกลัวที่ว่า หู อาจจะถึงขนาดเปิดการรณรงค์ทั่วประเทศเพื่อควบคุมเรื่องอุดมการณ์อย่างเข้มงวดมากขึ้นนั้น น่าจะเพียงเป็นการคิดนึกจินตนาการเอาโดยปราศจากข้อเท็จจริงรองรับ เนื่องจากยุคสมัยได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
ทุกวันนี้มีผู้คนไม่มากนักหรอก แม้กระทั่งในหมู่สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนเอง ที่ยังคงมีความสนอกสนใจการรณรงค์แบบนั้นอยู่ ดังนั้นถ้าหากสมมุติว่าหูต้องการทำเรื่องเช่นนี้ขึ้นมาจริงๆ เขาก็จะต้องประสบความลำบากมากมายทีเดียว สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นอีกก็คือ หูกำลังจะก้าวลงจากตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ของพรรคในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้แล้ว จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่เขาจะเกิดต้องการทำให้บรรยากาศทางการเมืองและทางสังคมปั่นป่วนโกรธกริ้ว ก่อนที่เขาจะเข้าสู่ชีวิตวัยเกษียณ เพราะการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงใดๆ ในนโยบายใหญ่ๆ เช่นนี้ ย่อมจะถูกมองไปว่า เป็นการสร้าง “ความไม่กลมกลืน” ให้แก่การส่งผ่านอำนาจอันราบรื่น
อู่ จง เป็นบรรณาธิการด้านจีนของเอเชียไทมส์ออนไลน์