เอเจนซีส์ - ไอเอ็มเอฟเตือนวิกฤตหนี้ยูโรโซนที่กำลังเลวร้ายลงทุกที เป็นความเสี่ยงสำคัญต่อการเติบโตของจีน นอกเหนือจากปัจจัยลบภายในประเทศ เป็นต้นว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ตกต่ำแรงกว่าคาดหมาย กระนั้น องค์การโลกบาลทางการเงินแห่งนี้ก็เชื่อว่า ปักกิ่งมีลู่ทางและเครื่องมือทางการคลังในการรับมือสถานการณ์ร้ายต่างๆ พร้อมทั้งแนะนำการสานต่อการปฏิรูปและปล่อยให้เงินหยวนแข็งขึ้นจะช่วยลดความเสี่ยงและฟื้นสมดุลการขยายตัว
ไตรมาส 2 ของปีนี้ เศรษฐกิจแดนมังกรขยายตัวในอัตรา 7.6% นับว่าต่ำสุดในรอบ 3 ปี อย่างไรก็ดี กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดว่าอัตราเติบโตของจีนในปีงบประมาณปัจจุบันจะอยู่ที่ 8% แต่ก็เตือนหากไม่เตรียมมาตรการรับมือวิกฤตยูโรโซน ตัวเลขดังกล่าวมีโอกาสหดหายลงถึงครึ่งหนึ่ง
“ความเสี่ยงภายนอกที่สำคัญยังคงเป็นผลพวงจากวิกฤตยูโรโซนที่เลวร้ายลง ซึ่งหากปักกิ่งไม่มีนโยบายรับมือ อัตราเติบโตอาจวูบลงถึง 4% และ(นั่นหมายถึง) 1-3% สำหรับเศรษฐกิจโลก” ไอเอ็มเอฟระบุในรายงานว่าด้วยภาวะเศรษฐกิจของจีน ซึ่งนำออกเผยแพร่เมื่อวันพุธ(25)
ยูโรโซนเป็นตลาดสำคัญสำหรับสินค้าออกของจีน และเกิดความกลัวกันว่า วิกฤตหนี้ที่นั่นซึ่งลุกลามออกไปไม่หยุดกำลังบ่อนทำลายความเชื่อมั่นและความต้องการของผู้บริโภค จนฉุดยอดส่งออกไปยังภูมิภาคดังกล่าว
ในส่วนปัจจัยเสี่ยงภายในแดนมังกรเองนั้น ไอเอ็มเอฟเน้นหนักปัญหาจากภาคอสังหาริมทรัพย์
ช่วงไม่กี่ปีหลังๆ มานี้ พวกแบงก์จีนปล่อยกู้ทำสถิติสูงสุดเพื่อประคับประคองอัตราเติบโตของแดนมังกรในท่ามกลางวิกฤตการเงินโลก ส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างมาก ทว่าเมื่อเร็วๆ นี้เริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับฟองสบู่สินทรัพย์และผลจากราคาอสังหาริมทรัพย์ทรุดที่จะเกิดกับเศรษฐกิจจีน
ด้วยเหตุนี้ปักกิ่งจึงออกมาตรการต่างๆ เพื่อสกัดการเก็งกำไรและชะลอการเติบโตในภาคนี้ไม่ให้ร้อนแรงเกินไป เป็นต้นว่า การจำกัดจำนวนบ้านที่ประชาชนสามารถซื้อได้ และการเพิ่มเงินดาวน์ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในบางเมือง ซึ่งส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองส่วนใหญ่ตกลงไป
อย่างไรก็ตาม ไอเอ็มเอฟเตือนว่า การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลงอย่างไร้ระเบียบ อาจมีนัยสำคัญต่อการเติบโตของจีน เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมภายในประเทศอื่นๆ มากมาย เช่น สินค้าอุปโภคบริโภคคงทน การก่อสร้าง ไฟฟ้า
สำหรับปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศอย่างอื่นๆ นั้น รายงานแนะนำว่า ปักกิ่งต้องควบคุมระดับหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่น นอกจากนี้ผู้วางนโยบายแดนมังกรยังต้องออกมาตรการเพื่อตรวจสอบและควบคุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืมของนิติบุคคลท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่องทางระดมทุนของรัฐบาลท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด
ไอเอ็มเอฟยังกระตุ้นให้จีนลดการพึ่งพิงการลงทุนเพื่อกระตุ้นการเติบโต แต่หันไปมุ่งเน้นการบริโภคภายในประเทศแทน
รายงานชี้ว่า การเดินหน้าปฏิรูปและยอมให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นจะช่วยฟื้นสมดุลการเติบโตและลดความเสี่ยงได้
ในรายงานนี้ ไอเอ็มเอฟใช้ถ้อยคำเบากว่าในอดีต โดยกล่าวว่า หยวนขณะนี้มีมูลค่าต่ำเกินจริงเล็กน้อย สะท้อนมุมมองของนานาชาติว่า อัตราแลกเปลี่ยนของจีนเข้าใกล้ระดับที่เป็นธรรมมากขึ้น หลังจากอ่อนเกินจริงมาหนึ่งทศวรรษ และช่วยลดโอกาสในการเกิดข้อพิพาททางการค้าและการเมืองลง
ไอเอ็มเอฟลดการคาดการณ์การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของจีนในระยะกลางลงอยู่ที่ 4-4.5% ของมูลค่าเศรษฐกิจ สอดคล้องกับระดับที่นักเศรษฐศาสตร์มองว่าเป็นค่าเงินที่เป็นธรรม และสอดคล้องกับที่ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ กล่าวก่อนหน้านี้ว่า เป็นระดับที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกสมดุล
สำหรับมาตรการปฏิรูปอื่นๆ ที่ไอเอ็มเอฟแนะนำ มีดังเช่น การกำหนดระดับราคาที่ดีขึ้น ภายหลังจากที่จีนเปิดโอกาสให้แบงก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยเองมากขึ้น, การเพิ่มตัวเลือกการลงทุนทางการเงินเพื่อป้องกันการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์, และการเปลี่ยนแปลงมาตรการภาษีที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง โดยจากการเน้นการลงทุนก็หันไปกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการบริโภคภายในแทน
ไอเอ็มเอฟทิ้งท้ายว่า หากปราศจากมาตรการปฏิรูปเหล่านี้ มีแนวโน้มสูงมากที่การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของจีนจะเพิ่มขึ้นอีกและอาจมากกว่าในระดับปัจจุบัน รวมทั้งระบุว่าในเร็วๆ นี้จีนจำเป็นต้องปล่อยให้หยวนแข็งขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ไตรมาส 2 ของปีนี้ เศรษฐกิจแดนมังกรขยายตัวในอัตรา 7.6% นับว่าต่ำสุดในรอบ 3 ปี อย่างไรก็ดี กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดว่าอัตราเติบโตของจีนในปีงบประมาณปัจจุบันจะอยู่ที่ 8% แต่ก็เตือนหากไม่เตรียมมาตรการรับมือวิกฤตยูโรโซน ตัวเลขดังกล่าวมีโอกาสหดหายลงถึงครึ่งหนึ่ง
“ความเสี่ยงภายนอกที่สำคัญยังคงเป็นผลพวงจากวิกฤตยูโรโซนที่เลวร้ายลง ซึ่งหากปักกิ่งไม่มีนโยบายรับมือ อัตราเติบโตอาจวูบลงถึง 4% และ(นั่นหมายถึง) 1-3% สำหรับเศรษฐกิจโลก” ไอเอ็มเอฟระบุในรายงานว่าด้วยภาวะเศรษฐกิจของจีน ซึ่งนำออกเผยแพร่เมื่อวันพุธ(25)
ยูโรโซนเป็นตลาดสำคัญสำหรับสินค้าออกของจีน และเกิดความกลัวกันว่า วิกฤตหนี้ที่นั่นซึ่งลุกลามออกไปไม่หยุดกำลังบ่อนทำลายความเชื่อมั่นและความต้องการของผู้บริโภค จนฉุดยอดส่งออกไปยังภูมิภาคดังกล่าว
ในส่วนปัจจัยเสี่ยงภายในแดนมังกรเองนั้น ไอเอ็มเอฟเน้นหนักปัญหาจากภาคอสังหาริมทรัพย์
ช่วงไม่กี่ปีหลังๆ มานี้ พวกแบงก์จีนปล่อยกู้ทำสถิติสูงสุดเพื่อประคับประคองอัตราเติบโตของแดนมังกรในท่ามกลางวิกฤตการเงินโลก ส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างมาก ทว่าเมื่อเร็วๆ นี้เริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับฟองสบู่สินทรัพย์และผลจากราคาอสังหาริมทรัพย์ทรุดที่จะเกิดกับเศรษฐกิจจีน
ด้วยเหตุนี้ปักกิ่งจึงออกมาตรการต่างๆ เพื่อสกัดการเก็งกำไรและชะลอการเติบโตในภาคนี้ไม่ให้ร้อนแรงเกินไป เป็นต้นว่า การจำกัดจำนวนบ้านที่ประชาชนสามารถซื้อได้ และการเพิ่มเงินดาวน์ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในบางเมือง ซึ่งส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองส่วนใหญ่ตกลงไป
อย่างไรก็ตาม ไอเอ็มเอฟเตือนว่า การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลงอย่างไร้ระเบียบ อาจมีนัยสำคัญต่อการเติบโตของจีน เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมภายในประเทศอื่นๆ มากมาย เช่น สินค้าอุปโภคบริโภคคงทน การก่อสร้าง ไฟฟ้า
สำหรับปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศอย่างอื่นๆ นั้น รายงานแนะนำว่า ปักกิ่งต้องควบคุมระดับหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่น นอกจากนี้ผู้วางนโยบายแดนมังกรยังต้องออกมาตรการเพื่อตรวจสอบและควบคุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืมของนิติบุคคลท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่องทางระดมทุนของรัฐบาลท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด
ไอเอ็มเอฟยังกระตุ้นให้จีนลดการพึ่งพิงการลงทุนเพื่อกระตุ้นการเติบโต แต่หันไปมุ่งเน้นการบริโภคภายในประเทศแทน
รายงานชี้ว่า การเดินหน้าปฏิรูปและยอมให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นจะช่วยฟื้นสมดุลการเติบโตและลดความเสี่ยงได้
ในรายงานนี้ ไอเอ็มเอฟใช้ถ้อยคำเบากว่าในอดีต โดยกล่าวว่า หยวนขณะนี้มีมูลค่าต่ำเกินจริงเล็กน้อย สะท้อนมุมมองของนานาชาติว่า อัตราแลกเปลี่ยนของจีนเข้าใกล้ระดับที่เป็นธรรมมากขึ้น หลังจากอ่อนเกินจริงมาหนึ่งทศวรรษ และช่วยลดโอกาสในการเกิดข้อพิพาททางการค้าและการเมืองลง
ไอเอ็มเอฟลดการคาดการณ์การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของจีนในระยะกลางลงอยู่ที่ 4-4.5% ของมูลค่าเศรษฐกิจ สอดคล้องกับระดับที่นักเศรษฐศาสตร์มองว่าเป็นค่าเงินที่เป็นธรรม และสอดคล้องกับที่ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ กล่าวก่อนหน้านี้ว่า เป็นระดับที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกสมดุล
สำหรับมาตรการปฏิรูปอื่นๆ ที่ไอเอ็มเอฟแนะนำ มีดังเช่น การกำหนดระดับราคาที่ดีขึ้น ภายหลังจากที่จีนเปิดโอกาสให้แบงก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยเองมากขึ้น, การเพิ่มตัวเลือกการลงทุนทางการเงินเพื่อป้องกันการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์, และการเปลี่ยนแปลงมาตรการภาษีที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง โดยจากการเน้นการลงทุนก็หันไปกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการบริโภคภายในแทน
ไอเอ็มเอฟทิ้งท้ายว่า หากปราศจากมาตรการปฏิรูปเหล่านี้ มีแนวโน้มสูงมากที่การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของจีนจะเพิ่มขึ้นอีกและอาจมากกว่าในระดับปัจจุบัน รวมทั้งระบุว่าในเร็วๆ นี้จีนจำเป็นต้องปล่อยให้หยวนแข็งขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป