(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Chinese makes case for rare earth curbs
By Robert M Cutler
02/07/2012
ทางการจีนออก “สมุดปกขาว” ว่าด้วยโลหะแรร์เอิร์ท ด้วยความมุ่งหมายที่จะแก้ข้อหาซึ่งแดนมังกรถูกฟ้องร้องว่า ใช้มาตรการจำกัดการส่งออกแร่ธาตุหายากเหล่านี้ตลอดจนกำแพงการค้าอย่างอื่นๆ ซึ่งเป็นการกีดกันการค้า อย่างไรก็ตาม การลดส่งออกของจีนกำลังนำไปสู่การค้นพบแหล่งแร่เหล่านี้แหล่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะช่วยผ่อนคลายความหวาดผวาที่ว่าซัปพลายจะขาดแคลนได้ก่อนที่องค์การการค้าโลกจะมีคำตัดสินออกมาเสียอีก
มอนทรีออล, แคนาดา–– สำนักงานสารนิเทศของคณะรัฐมนตรีจีน ได้ออกมาชี้แจงต่อสาธารณชนเพื่อแก้ต่างให้แก่อุตสาหกรรมโลหะแรร์เอิร์ท (rare earth) ของประเทศตน ด้วยการจัดทำสมุดปกขาวออกเผยแพร่เป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อเรื่องว่า “สถานการณ์และนโยบายต่างๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมแรร์เอิร์ทของประเทศจีน” (The Situation and Policies of China's Rare Earth Industry) สิ่งพิมพ์ฉบับนี้ ซึ่งปักกิ่งเรียกอย่างเป็นทางการว่าเป็น “สมุดปกขาว” (white paper) นับเป็นตัวอย่างหนึ่งในไม่กี่ตัวอย่างในช่วงหลังๆ มานี้ซึ่งมีการใช้คำๆ นี้อย่างถูกต้องตามความหมายของมัน
คำว่า “สมุดปกขาว” นั้นมีต้นกำเนิดเมื่อประมาณราวๆ 1 ศตวรรษก่อน เพื่อใช้เรียกรายงานการศึกษาวิจัยขนาดสั้นซึ่งใช้กันอยู่ในรัฐสภาอังกฤษ และใช้ปกของรายงานเป็นสีขาว (การที่ใช้ปกสีขาวก็ด้วยเจตนาจะแยกให้แตกต่างไปจากพวก “สมุดปกน้ำเงิน” blue book ของรัฐสภา ซึ่งเป็นเอกสารรายงานชนิดที่มีรายละเอียดต่างๆ และหุ้มด้วยปกสีน้ำเงิน) และรายงานการศึกษาวิจัยที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีจีนในคราวนี้ ก็เป็นสมุดปกขาวตามคำจำกัดความอย่างถูกต้องของแท้
โลหะแรร์เอิร์ทนั้น เป็นกลุ่มของโลหะ 17 ชนิดซึ่งเชื่อกันว่าหาได้ยากกว่าโลหะอื่นๆ แต่มีคุณสมบัติต่างๆ ที่ทำให้กลายเป็นส่วนประกอบที่จำเป็น สำหรับการผลิตเครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่อันสำคัญหลายหลากนานา ตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ ไปจนถึง กังหันลม และเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ใช้พลังไฟฟ้า ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงเครื่องมืออุปกรณ์ไฮเทคอีกจำนวนมากที่เกี่ยวข้องใช้ประโยชน์ในทางการทหาร
สมุดปกขาวฉบับนี้ประมาณการเอาไว้ว่า จีนถือครองสินแร่แรร์เอิร์ทอยู่ไม่ถึงหนึ่งในสี่ของที่มีกันอยู่ทั่วโลก ตัวเลขประมาณการนี้สร้างความตระหนกหวาดผวาให้แก่บางผู้บางคนซึ่งพึ่งพายึดถือข้อมูลประมาณการของสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯ (US Geological Survey) ที่ให้ไว้ที่ 37% จนกระทั่งส่งผลกลายเป็นการดันราคาหุ้นบางตัวในตลาดสหรัฐฯและยุโรปให้พุ่งขึ้นไป ทั้งนี้เห็นจะเป็นด้วยว่า คนเหล่านี้ไม่ได้เฉลียวใจพิจารณาให้ถ้วนถี่ว่า ตัวเลขประมาณการของทางสหรัฐฯที่ยังคงถูกอ้างอิงอยู่บ่อยๆ จวบจนกระทั่งบัดนี้นั้น แท้ที่จริงเป็นตัวเลขที่ให้ไว้เมื่อ 6 ปีมาแล้ว
กระนั้นก็ตาม ในปัจจุบันจีนก็ยังคงเป็นผู้ผลิตโลหะแรร์เอิร์ทในระดับเกินกว่า 9 ใน 10 นิดๆ ของการผลิตในทั่วโลกอยู่นั่นเอง ถึงแม้ตัวเลขนี้ได้ลดต่ำลงจากสัดส่วนมากกว่า 95% ซึ่งเคยกลายเป็นข่าวพาดหัวเมื่อช่วงทศวรรษก่อน และเป็นแรงขับดันให้เกิดการอภิปรายถกเถียงสาธารณะเกี่ยวกับ “แร่ธาตุยุทธศาสตร์” เหล่านี้ทั้งในสหรัฐฯและในยุโรป ทั้งนี้ในระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา จากการสำรวจขุดค้นเพิ่มเติมทำให้ค้นพบปริมาณแรร์เอิร์ทมากขึ้นอีกในสถานที่แห่งอื่นๆ นอกประเทศจีน
ด้วยเหตุนี้ สินแร่ที่อยู่ในความครอบครองของจีนเมื่อเทียบเป็นสัดส่วนของแรร์เอิร์ทที่มีอยู่ในโลกทั้งหมดจึงน่าที่จะลดต่ำลงต่อไปเรื่อยๆ แต่เนื่องจากอุปทานความต้องการใช้โลหะประเภทนี้จะยังไม่ลดถอยลง จึงเป็นที่คาดการณ์กันว่าการผลิตในทั่วโลกจะอยู่ในภาวะขาดแคลนไม่เพียงพอไปอย่างน้อยจนกระทั่งถึงช่วงกลางๆ ของทศวรรษปัจจุบันนี้ ดังนั้น จากการที่สาธารณชนบังเกิดความสนอกสนใจในปัญหานี้ ก็จึงทำให้เกิดการศึกษาวิจัยอันคึกคัก แม้กระทั่งการวิจัยในเรื่องความเป็นไปได้ที่จะขุดสินแร่เหล่านี้จากโคลนใต้ทะเลในบริเวณใกล้ๆ พวกรอยแตกที่มีความร้อนใต้เปลือกโลกระบายออกมา โดยที่ในเรื่องนี้คณะนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นได้มีข้อสรุปตั้งแต่เมื่อปีที่แล้วว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในทางเทคนิค
จีนนั้นได้ประกาศเมื่อปี 2009 ว่าจะจำกัดโควตาการส่งออกแรร์เอิร์ทในช่วงระหว่างปี 2010-2015 เอาไว้ไม่เกินปีละ 35,000 ตัน แล้วต่อมาก็ประกาศใหม่ในปี 2010 ว่า โควตาส่งออกสำหรับปี 2011 จะลดลงเหลือเพียง 14,446 ตันเท่านั้น
เอกสารสมุดปกขาวของคณะรัฐบาลจีนที่นำออกมาเผยแพร่หมาดๆ ฉบับนี้ มุ่งหมายที่จะแก้ต่างให้จีนจากการที่ถูกเล่นงานโจมตีในทางการทูตเกี่ยวกับการจำกัดการส่งออกเหล่านี้ ตลอดจนการดำเนินมาตรการอื่นๆ ซึ่งถูกระบุว่าเป็นการตั้งกำแพงกีดกั้นการค้า พวกที่กำลังเล่นงานแดนมังกรในเรื่องนี้มีสหภาพยุโรป(อียู), สหรัฐอเมริกา, และญี่ปุ่นเป็นผู้นำ โดยที่ใช้วิธีร้องเรียนฟ้องร้องตามหลักเกณฑ์ข้อบังคับขององค์การการค้าโลก (WTO)
ภายหลังที่อียู, สหรัฐฯ, และญี่ปุ่น ยื่นคำร้องเรียนไปยัง WTO เกี่ยวกับการจำกัดการส่งออกของจีน เมื่อ 4 เดือนที่แล้วก็ได้มีการเจรจาหารือกันระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่เนื่องจากการหารือเหล่านี้ไม่สามารถบรรลุข้อสรุปอันเป็นที่พอใจกันได้ เวลานี้คำร้องเรียนดังกล่าวจึงกลายสภาพเป็นคำขอให้จัดตั้งคณะทำงานตัดสินแก้ไขข้อพิพาทอย่างเป็นทางการแล้ว
อียู, สหรัฐฯ, และญี่ปุ่นนั้น ร้องเรียนกล่าวโทษจีนว่าทำให้เกิดสภาพการณ์ซึ่งกำลังบังคับพวกบริษัทต่างๆ จากประเทศเหล่านี้ ต้องโยกย้ายโรงงานของพวกตนไปยังจีน เพื่อให้สามารถธำรงรักษาการได้โลหะแรร์เอิร์ทของจีนมาใช้ในการผลิตได้ต่อไป ก่อนหน้านั้น เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว พวกเขาได้รับชัยชนะจากการที่ WTO ตัดสินว่าจีนล้มเหลวไม่ได้รักษาคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้ในระหว่างการเจรจากับประเทศต่างๆ ตามกระบวนการสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก โดยที่แดนมังกรกำลังใช้เรื่องการจัดเก็บภาษีและการกำหนดโควตาอย่างผิดระเบียบกฎเกณฑ์ของ WTO เพื่อจำกัดการส่งออกแร่ธาตุชนิดต่างๆ
เรื่องแรร์เอิร์ทยังไม่ได้กลายเป็นประเด็นปัญหาในเวลานั้น แต่คำตัดสินดังกล่าวก็มีผลต่อแร่ธาตุหลายชนิดทีเดียวซึ่งเป็นวัตถุดิบที่จีนส่งออกไปยังนานาประเทศ เป็นต้นว่า บ็อกไซต์ (สินแร่หลักที่ใช้ในการถลุงอลูมิเนียม), แมกนีเซียม, แมงกานีส, สารประกอบซิลิคอนชนิดต่างๆ , ฟอสฟอรัสประเภทต่างๆ, และสังกะสี ขณะที่ในคำร้องเรียนล่าสุดต่อ WTO นอกเหนือจากแรร์เอิร์ท 17 ชนิดแล้ว ยังครอบคลุมถึงแร่โมลิบดีนัม และ ทังสเตน อีกด้วย
ในตอนที่คำตัดสินเมื่อเดือนกรกฎาคม 2011 ประกาศออกมานั้น กระทรวงพาณิชย์ของจีนระบุว่าจะยื่นอุทธรณ์ สำหรับการแก้ต่างของจีนในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับโลหะแรร์เอิร์ท แม้จะเป็นกรณีใหม่แต่แดนมังกรก็ดูจะพึ่งพาอาศัยบทมาตราในระเบียบหลักเกณฑ์ของ WTO ซึ่งอนุญาตให้จำกัดการส่งออกได้ หากมีวัตถุประสงค์เพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ดังนั้น ในสมุดปกขาวของคณะรัฐมนตรีจีน อันถือเป็นคำแถลงอย่างเป็นทางการทว่าไม่ถึงกับเป็นการผูกมัดแดนมังกรอย่างหนักแน่นนั้น ก็ได้ใช้ข้อโต้แย้งในแนวทางเดียวกันนี้เช่นกัน พูดได้ว่ามันก็เป็นการบรรเลงซ้ำและขยายความข้อโต้แย้งทั้งหลายซึ่งนำมากล่าวในการประชุมแถลงข่าวที่กรุงปักกิ่งเมื่อปลายเดือนมิถุนายน โดย ซู โป (Su Bo) รองรัฐมนตรีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของแดนมังกร
เป็นความจริงอย่างที่ ซู โป แจกแจงอธิบาย ที่ว่าการทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทนั้น เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างยับเยินยิ่งกว่ากิจกรรมอย่างอื่นๆ กระนั้น อียู ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดเกี่ยวกับประเด็นนี้ ในส่วนของการดำเนินการกล่าวโทษฟ้องร้องแดนมังกรต่อ WTO ก็ยืนกรานอย่างหนักแน่นว่า การที่จีนใช้มาตรการอย่างเช่นการจำกัดโควตาการส่งออก, การขึ้นภาษี, การจำกัดการผลิต, และการกำหนดมาตรการการปล่อยไอเสียที่เข้มงวดขึ้นกว่าเดิม ก็ไม่ได้สามารถแก้ไขปัญหาจนถึงขนาดทำให้มั่นใจได้ว่าจะมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนขึ้นมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อียูย้ำว่า นโยบายเหล่านี้เป็นเพียงหน้ากากปกปิดอำพรางการช่วยเหลือให้พวกผู้ผลิตชาวจีน, ผู้ซื้อชาวจีน, และโรงงานอุตสาหกรรมชาวจีน เป็นฝ่ายได้เปรียบอย่างไม่เป็นธรรม ขณะที่ขึ้นราคาเอากับพวกคู่แข่งขันต่างชาติ ดังที่ คาเรล เดอ กูชต์ (Karel De Gucht) กรรมาธิการฝ่ายการค้าของอียู (EU Trade Commissioner) บอกว่า “ข้อจำกัดต่างๆ ในเรื่องแรร์เอิร์ทของจีน ... กำลังกลายเป็นการบิดเบือนอย่างมีนัยสำคัญต่อตลาดโลก ซึ่งทำให้พวกบริษัทของเราตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ”
อย่างไรก็ตาม กระบวนการพิจารณาตัดสินของ WTO จะต้องใช้เวลาเป็นแรมปีทีเดียวกว่าจะยุติจบสิ้น และในเวลาเดียวกันนั้น พวกบริษัททั้งของสหรัฐฯ, เยอรมนี, และออสเตรเลีย ต่างก็กำลังพัฒนาหาวิธีสำรวจขุดค้นและใช้ประโยชน์จากแหล่งสินแร่แรร์เอิร์ททั้งที่อยู่ภายในประเทศของพวกเขาเองและที่อยู่ในต่างแดน เรื่องนี้กำลังดำเนินไปอย่างคึกคักโดยเฉพาะในเอเชีย ซึ่งการเมืองในมาเลเซียถึงกับเดือดปุดๆ ทีเดียวในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ จากแผนการของบริษัทออสเตรเลียที่จะไปทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทที่นั่น ขณะที่แผนการของบริษัทเยอรมันในการสำรวจและขุดค้นในคาซัคสถาน ดูจะได้รับความสนใจระแวดระวังค่อนข้างน้อยกว่ากันมาก
ดร. โรเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์ http://www.robertcutler.org) สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) และมหาวิทยามิชิแกน และได้ทำงานวิจัยกับเป็นผู้บรรยายให้แก่มหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และรัสเซีย ปัจจุบันเป็นนักวิจัยอาวุโสของสถาบันยุโรป รัสเซีย และ ยูเรเชียศึกษา (Institute of European, Russian and Eurasian Studies) ซึ่งสังกัดอยู่ในมหาวิทยาลัยคาร์ลตัน ( Carleton University) ประเทศแคนาดา พร้อมกับนี้เขายังให้คำปรึกษาเป็นการส่วนตัวในหลายสาขา
Chinese makes case for rare earth curbs
By Robert M Cutler
02/07/2012
ทางการจีนออก “สมุดปกขาว” ว่าด้วยโลหะแรร์เอิร์ท ด้วยความมุ่งหมายที่จะแก้ข้อหาซึ่งแดนมังกรถูกฟ้องร้องว่า ใช้มาตรการจำกัดการส่งออกแร่ธาตุหายากเหล่านี้ตลอดจนกำแพงการค้าอย่างอื่นๆ ซึ่งเป็นการกีดกันการค้า อย่างไรก็ตาม การลดส่งออกของจีนกำลังนำไปสู่การค้นพบแหล่งแร่เหล่านี้แหล่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะช่วยผ่อนคลายความหวาดผวาที่ว่าซัปพลายจะขาดแคลนได้ก่อนที่องค์การการค้าโลกจะมีคำตัดสินออกมาเสียอีก
มอนทรีออล, แคนาดา–– สำนักงานสารนิเทศของคณะรัฐมนตรีจีน ได้ออกมาชี้แจงต่อสาธารณชนเพื่อแก้ต่างให้แก่อุตสาหกรรมโลหะแรร์เอิร์ท (rare earth) ของประเทศตน ด้วยการจัดทำสมุดปกขาวออกเผยแพร่เป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อเรื่องว่า “สถานการณ์และนโยบายต่างๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมแรร์เอิร์ทของประเทศจีน” (The Situation and Policies of China's Rare Earth Industry) สิ่งพิมพ์ฉบับนี้ ซึ่งปักกิ่งเรียกอย่างเป็นทางการว่าเป็น “สมุดปกขาว” (white paper) นับเป็นตัวอย่างหนึ่งในไม่กี่ตัวอย่างในช่วงหลังๆ มานี้ซึ่งมีการใช้คำๆ นี้อย่างถูกต้องตามความหมายของมัน
คำว่า “สมุดปกขาว” นั้นมีต้นกำเนิดเมื่อประมาณราวๆ 1 ศตวรรษก่อน เพื่อใช้เรียกรายงานการศึกษาวิจัยขนาดสั้นซึ่งใช้กันอยู่ในรัฐสภาอังกฤษ และใช้ปกของรายงานเป็นสีขาว (การที่ใช้ปกสีขาวก็ด้วยเจตนาจะแยกให้แตกต่างไปจากพวก “สมุดปกน้ำเงิน” blue book ของรัฐสภา ซึ่งเป็นเอกสารรายงานชนิดที่มีรายละเอียดต่างๆ และหุ้มด้วยปกสีน้ำเงิน) และรายงานการศึกษาวิจัยที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีจีนในคราวนี้ ก็เป็นสมุดปกขาวตามคำจำกัดความอย่างถูกต้องของแท้
โลหะแรร์เอิร์ทนั้น เป็นกลุ่มของโลหะ 17 ชนิดซึ่งเชื่อกันว่าหาได้ยากกว่าโลหะอื่นๆ แต่มีคุณสมบัติต่างๆ ที่ทำให้กลายเป็นส่วนประกอบที่จำเป็น สำหรับการผลิตเครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่อันสำคัญหลายหลากนานา ตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ ไปจนถึง กังหันลม และเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ใช้พลังไฟฟ้า ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงเครื่องมืออุปกรณ์ไฮเทคอีกจำนวนมากที่เกี่ยวข้องใช้ประโยชน์ในทางการทหาร
สมุดปกขาวฉบับนี้ประมาณการเอาไว้ว่า จีนถือครองสินแร่แรร์เอิร์ทอยู่ไม่ถึงหนึ่งในสี่ของที่มีกันอยู่ทั่วโลก ตัวเลขประมาณการนี้สร้างความตระหนกหวาดผวาให้แก่บางผู้บางคนซึ่งพึ่งพายึดถือข้อมูลประมาณการของสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯ (US Geological Survey) ที่ให้ไว้ที่ 37% จนกระทั่งส่งผลกลายเป็นการดันราคาหุ้นบางตัวในตลาดสหรัฐฯและยุโรปให้พุ่งขึ้นไป ทั้งนี้เห็นจะเป็นด้วยว่า คนเหล่านี้ไม่ได้เฉลียวใจพิจารณาให้ถ้วนถี่ว่า ตัวเลขประมาณการของทางสหรัฐฯที่ยังคงถูกอ้างอิงอยู่บ่อยๆ จวบจนกระทั่งบัดนี้นั้น แท้ที่จริงเป็นตัวเลขที่ให้ไว้เมื่อ 6 ปีมาแล้ว
กระนั้นก็ตาม ในปัจจุบันจีนก็ยังคงเป็นผู้ผลิตโลหะแรร์เอิร์ทในระดับเกินกว่า 9 ใน 10 นิดๆ ของการผลิตในทั่วโลกอยู่นั่นเอง ถึงแม้ตัวเลขนี้ได้ลดต่ำลงจากสัดส่วนมากกว่า 95% ซึ่งเคยกลายเป็นข่าวพาดหัวเมื่อช่วงทศวรรษก่อน และเป็นแรงขับดันให้เกิดการอภิปรายถกเถียงสาธารณะเกี่ยวกับ “แร่ธาตุยุทธศาสตร์” เหล่านี้ทั้งในสหรัฐฯและในยุโรป ทั้งนี้ในระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา จากการสำรวจขุดค้นเพิ่มเติมทำให้ค้นพบปริมาณแรร์เอิร์ทมากขึ้นอีกในสถานที่แห่งอื่นๆ นอกประเทศจีน
ด้วยเหตุนี้ สินแร่ที่อยู่ในความครอบครองของจีนเมื่อเทียบเป็นสัดส่วนของแรร์เอิร์ทที่มีอยู่ในโลกทั้งหมดจึงน่าที่จะลดต่ำลงต่อไปเรื่อยๆ แต่เนื่องจากอุปทานความต้องการใช้โลหะประเภทนี้จะยังไม่ลดถอยลง จึงเป็นที่คาดการณ์กันว่าการผลิตในทั่วโลกจะอยู่ในภาวะขาดแคลนไม่เพียงพอไปอย่างน้อยจนกระทั่งถึงช่วงกลางๆ ของทศวรรษปัจจุบันนี้ ดังนั้น จากการที่สาธารณชนบังเกิดความสนอกสนใจในปัญหานี้ ก็จึงทำให้เกิดการศึกษาวิจัยอันคึกคัก แม้กระทั่งการวิจัยในเรื่องความเป็นไปได้ที่จะขุดสินแร่เหล่านี้จากโคลนใต้ทะเลในบริเวณใกล้ๆ พวกรอยแตกที่มีความร้อนใต้เปลือกโลกระบายออกมา โดยที่ในเรื่องนี้คณะนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นได้มีข้อสรุปตั้งแต่เมื่อปีที่แล้วว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในทางเทคนิค
จีนนั้นได้ประกาศเมื่อปี 2009 ว่าจะจำกัดโควตาการส่งออกแรร์เอิร์ทในช่วงระหว่างปี 2010-2015 เอาไว้ไม่เกินปีละ 35,000 ตัน แล้วต่อมาก็ประกาศใหม่ในปี 2010 ว่า โควตาส่งออกสำหรับปี 2011 จะลดลงเหลือเพียง 14,446 ตันเท่านั้น
เอกสารสมุดปกขาวของคณะรัฐบาลจีนที่นำออกมาเผยแพร่หมาดๆ ฉบับนี้ มุ่งหมายที่จะแก้ต่างให้จีนจากการที่ถูกเล่นงานโจมตีในทางการทูตเกี่ยวกับการจำกัดการส่งออกเหล่านี้ ตลอดจนการดำเนินมาตรการอื่นๆ ซึ่งถูกระบุว่าเป็นการตั้งกำแพงกีดกั้นการค้า พวกที่กำลังเล่นงานแดนมังกรในเรื่องนี้มีสหภาพยุโรป(อียู), สหรัฐอเมริกา, และญี่ปุ่นเป็นผู้นำ โดยที่ใช้วิธีร้องเรียนฟ้องร้องตามหลักเกณฑ์ข้อบังคับขององค์การการค้าโลก (WTO)
ภายหลังที่อียู, สหรัฐฯ, และญี่ปุ่น ยื่นคำร้องเรียนไปยัง WTO เกี่ยวกับการจำกัดการส่งออกของจีน เมื่อ 4 เดือนที่แล้วก็ได้มีการเจรจาหารือกันระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่เนื่องจากการหารือเหล่านี้ไม่สามารถบรรลุข้อสรุปอันเป็นที่พอใจกันได้ เวลานี้คำร้องเรียนดังกล่าวจึงกลายสภาพเป็นคำขอให้จัดตั้งคณะทำงานตัดสินแก้ไขข้อพิพาทอย่างเป็นทางการแล้ว
อียู, สหรัฐฯ, และญี่ปุ่นนั้น ร้องเรียนกล่าวโทษจีนว่าทำให้เกิดสภาพการณ์ซึ่งกำลังบังคับพวกบริษัทต่างๆ จากประเทศเหล่านี้ ต้องโยกย้ายโรงงานของพวกตนไปยังจีน เพื่อให้สามารถธำรงรักษาการได้โลหะแรร์เอิร์ทของจีนมาใช้ในการผลิตได้ต่อไป ก่อนหน้านั้น เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว พวกเขาได้รับชัยชนะจากการที่ WTO ตัดสินว่าจีนล้มเหลวไม่ได้รักษาคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้ในระหว่างการเจรจากับประเทศต่างๆ ตามกระบวนการสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก โดยที่แดนมังกรกำลังใช้เรื่องการจัดเก็บภาษีและการกำหนดโควตาอย่างผิดระเบียบกฎเกณฑ์ของ WTO เพื่อจำกัดการส่งออกแร่ธาตุชนิดต่างๆ
เรื่องแรร์เอิร์ทยังไม่ได้กลายเป็นประเด็นปัญหาในเวลานั้น แต่คำตัดสินดังกล่าวก็มีผลต่อแร่ธาตุหลายชนิดทีเดียวซึ่งเป็นวัตถุดิบที่จีนส่งออกไปยังนานาประเทศ เป็นต้นว่า บ็อกไซต์ (สินแร่หลักที่ใช้ในการถลุงอลูมิเนียม), แมกนีเซียม, แมงกานีส, สารประกอบซิลิคอนชนิดต่างๆ , ฟอสฟอรัสประเภทต่างๆ, และสังกะสี ขณะที่ในคำร้องเรียนล่าสุดต่อ WTO นอกเหนือจากแรร์เอิร์ท 17 ชนิดแล้ว ยังครอบคลุมถึงแร่โมลิบดีนัม และ ทังสเตน อีกด้วย
ในตอนที่คำตัดสินเมื่อเดือนกรกฎาคม 2011 ประกาศออกมานั้น กระทรวงพาณิชย์ของจีนระบุว่าจะยื่นอุทธรณ์ สำหรับการแก้ต่างของจีนในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับโลหะแรร์เอิร์ท แม้จะเป็นกรณีใหม่แต่แดนมังกรก็ดูจะพึ่งพาอาศัยบทมาตราในระเบียบหลักเกณฑ์ของ WTO ซึ่งอนุญาตให้จำกัดการส่งออกได้ หากมีวัตถุประสงค์เพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ดังนั้น ในสมุดปกขาวของคณะรัฐมนตรีจีน อันถือเป็นคำแถลงอย่างเป็นทางการทว่าไม่ถึงกับเป็นการผูกมัดแดนมังกรอย่างหนักแน่นนั้น ก็ได้ใช้ข้อโต้แย้งในแนวทางเดียวกันนี้เช่นกัน พูดได้ว่ามันก็เป็นการบรรเลงซ้ำและขยายความข้อโต้แย้งทั้งหลายซึ่งนำมากล่าวในการประชุมแถลงข่าวที่กรุงปักกิ่งเมื่อปลายเดือนมิถุนายน โดย ซู โป (Su Bo) รองรัฐมนตรีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของแดนมังกร
เป็นความจริงอย่างที่ ซู โป แจกแจงอธิบาย ที่ว่าการทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทนั้น เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างยับเยินยิ่งกว่ากิจกรรมอย่างอื่นๆ กระนั้น อียู ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดเกี่ยวกับประเด็นนี้ ในส่วนของการดำเนินการกล่าวโทษฟ้องร้องแดนมังกรต่อ WTO ก็ยืนกรานอย่างหนักแน่นว่า การที่จีนใช้มาตรการอย่างเช่นการจำกัดโควตาการส่งออก, การขึ้นภาษี, การจำกัดการผลิต, และการกำหนดมาตรการการปล่อยไอเสียที่เข้มงวดขึ้นกว่าเดิม ก็ไม่ได้สามารถแก้ไขปัญหาจนถึงขนาดทำให้มั่นใจได้ว่าจะมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนขึ้นมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อียูย้ำว่า นโยบายเหล่านี้เป็นเพียงหน้ากากปกปิดอำพรางการช่วยเหลือให้พวกผู้ผลิตชาวจีน, ผู้ซื้อชาวจีน, และโรงงานอุตสาหกรรมชาวจีน เป็นฝ่ายได้เปรียบอย่างไม่เป็นธรรม ขณะที่ขึ้นราคาเอากับพวกคู่แข่งขันต่างชาติ ดังที่ คาเรล เดอ กูชต์ (Karel De Gucht) กรรมาธิการฝ่ายการค้าของอียู (EU Trade Commissioner) บอกว่า “ข้อจำกัดต่างๆ ในเรื่องแรร์เอิร์ทของจีน ... กำลังกลายเป็นการบิดเบือนอย่างมีนัยสำคัญต่อตลาดโลก ซึ่งทำให้พวกบริษัทของเราตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ”
อย่างไรก็ตาม กระบวนการพิจารณาตัดสินของ WTO จะต้องใช้เวลาเป็นแรมปีทีเดียวกว่าจะยุติจบสิ้น และในเวลาเดียวกันนั้น พวกบริษัททั้งของสหรัฐฯ, เยอรมนี, และออสเตรเลีย ต่างก็กำลังพัฒนาหาวิธีสำรวจขุดค้นและใช้ประโยชน์จากแหล่งสินแร่แรร์เอิร์ททั้งที่อยู่ภายในประเทศของพวกเขาเองและที่อยู่ในต่างแดน เรื่องนี้กำลังดำเนินไปอย่างคึกคักโดยเฉพาะในเอเชีย ซึ่งการเมืองในมาเลเซียถึงกับเดือดปุดๆ ทีเดียวในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ จากแผนการของบริษัทออสเตรเลียที่จะไปทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทที่นั่น ขณะที่แผนการของบริษัทเยอรมันในการสำรวจและขุดค้นในคาซัคสถาน ดูจะได้รับความสนใจระแวดระวังค่อนข้างน้อยกว่ากันมาก
ดร. โรเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์ http://www.robertcutler.org) สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) และมหาวิทยามิชิแกน และได้ทำงานวิจัยกับเป็นผู้บรรยายให้แก่มหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และรัสเซีย ปัจจุบันเป็นนักวิจัยอาวุโสของสถาบันยุโรป รัสเซีย และ ยูเรเชียศึกษา (Institute of European, Russian and Eurasian Studies) ซึ่งสังกัดอยู่ในมหาวิทยาลัยคาร์ลตัน ( Carleton University) ประเทศแคนาดา พร้อมกับนี้เขายังให้คำปรึกษาเป็นการส่วนตัวในหลายสาขา