(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Asia and the sea powers, 1911 and 2011
By Alan G Jamieson
29/11/2011
อังกฤษในในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แผ่แสนยานุภาพทางทะเลครอบงำอยู่รอบๆ เอเชีย ส่วนสหรัฐอเมริกาในอีก 100 ปีต่อมาก็ทรงพลานุภาพในทำนองเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วมหาอำนาจทางนาวีทั้งสองรายนี้ มีข้อที่คล้ายคลึงกันอย่างน่าอัศจรรย์อยู่หลายๆ ประการ ขณะเดียวกันก็มีข้อที่แตกต่างกันอย่างโต้งๆ --และกระทั่งถึงขั้นน่าประหลาดพิสดาร—อยู่หลายๆ ประการเช่นกัน รวมทั้งสภาพการณ์ที่อเมริกาในเวลานี้กำลังต้องกู้หนี้ยืมสินอย่างมหาศาลจากชาติเอเชียผู้เป็น “คู่ต่อสู้” ที่ใหญ่โตที่สุดของตน ซึ่งก็คือ จีน
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
จากการที่กองทัพเรือจีนกำลังเริ่มออกไปทำการซ้อมรบในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกได้แล้ว มันก็ดูเหมือนว่าความเป็นเจ้าทางนาวีในน่านน้ำลึกสีครามรอบๆ เอเชียของสหรัฐฯกำลังเผชิญกับการท้าทาย ฐานะของสหรัฐอเมริกาที่เข้าครอบงำแผ่อิทธิพลในเขตทะเลต่างๆ ของโลกในทุกวันนี้ มีความละม้ายคล้ายคลึงกับอังกฤษในตอนที่ขี่คลื่นครองมหาสมุทรเมื่อ 100 ปีก่อน การมีฐานะเป็นเจ้าเหนือทะเลทั้งหลาย ทำให้มหาอำนาจเหล่านี้สามารถแผ่พลานุภาพมาสู่ดินแดนชายฝั่งต่างๆ ของเอเชีย และมหาอำนาจเจ้าสมุทรยิ่งใหญ่ทั้งคู่นี้ต่างก็พยายามที่จะหาทางแผ่พลานุภาพของพวกตนจากทะเล เข้ามาสู่ดินแดนชั้นในแห่งทวีปเอเชีย ซึ่งเสมือนกับเป็น “เกาะแห่งโลก” (world island)
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ภารกิจอันง่ายดายเลย และโดยทั่วไปแล้ว สหรัฐฯก็เฉกเช่นกับอังกฤษเมื่อ 1 ศตวรรษก่อน ยังไม่สามารถที่จะสถาปนาฐานะการครอบงำของตนให้ล้ำเกินพ้นไปจากดินแดนประชิดฝั่งสมุทรของเอเชีย แม้กระทั่งเมื่อฝ่ายอเมริกันในปัจจุบันสามารถที่จะเพิ่มฐานะความเป็นเจ้าเวหาเข้าไปในความเป็นเจ้าสมุทรได้อีกด้วย การที่เราจะเข้าอกเข้าใจถึงความยากลำบากต่างๆ ที่เผชิญหน้ามหาอำนาจเหล่านี้อยู่ได้อย่างซาบซึ้งยิ่งขึ้นนั้น การเปรียบเทียบฐานะของอังกฤษในเอเชียในปี 1911 กับฐานะของสหรัฐอเมริกาในทวีปนี้ในทุกวันนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่มีคุณค่า
ถ้าหากเราใช้ทัศนะมุมมองแบบระดับเดียวแล้ว อังกฤษในปี 1911 สามารถเข้าครอบงำบงการเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก ได้อย่างชนิดที่ไม่มีช่วงเวลาอื่นใดเทียบเท่า ในเวลานั้นอินเดียได้ถูกอังกฤษเข้าปกครองเป็นอาณานิคมมาเป็นระยะเวลามากกว่า 100 ปีแล้ว และอนุทวีปนี้ก็ทำให้อังกฤษได้เป็นเจ้าของกองทัพที่มีกำลังพลขนาดมหึมาซึ่งมีคุณค่าเหลือล้นพ้นประเมินในการคุกคามบังคับดินแดนส่วนอื่นๆ ของเอเชียให้คล้อยตามเจตนารมณ์ของพวกตน สำหรับในประเทศจีน การปฏิวัติในเดือนตุลาคม 1911 เพิ่งทำให้ “จักรวรรดิแห่งสวรรค์” (Celestial Empire) ล่มสลายลงไป ทว่ารัฐใหม่ของชาวจีนก็ดูเหมือนยังคงไร้ความสามารถในการคัดค้านต่อต้านประดามหาอำนาจจักรวรรดินิยมต่างชาติที่เข้าควบคุมท่าเรือต่างๆ แทบทั้งหมดของแดนมังกร ให้ประสบความสำเร็จมากไปกว่าพวกจักรพรรดิจีนในอดีต อันที่จริงแล้วในอีกไม่นานต่อมาจีนจะเกิดการพังทะลายภายในจนกระทั่งเข้าสู่ยุคแห่งขุนศึก ทำให้การต้านทานการแทรกแซงของต่างชาติยิ่งยากลำบากขึ้นไปอีก
ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 คู่ต่อสู้สำคัญที่สุดของอังกฤษในเอเชียก็คือรัสเซีย รัฐบาลอังกฤษชุดแล้วชุดเล่าต่างวิตกกังวลว่า อีกไม่นานนักจักรวรรดิพระเจ้าซาร์ที่แผ่ขยายตัวไม่ยอมหยุดหย่อนจะมาจนถึงชายแดนทางภาคเหนือของอินเดียแล้ว ในทัศนะของพวกนักการเมืองและเหล่านายพลของอังกฤษในเวลานั้น ทิศทางแนวโน้มที่รัสเซียจะเข้ารุกรานอนุทวีปแห่งนี้ดูเป็นจริงเป็นจังมาก ถึงแม้ในความเป็นจริงแล้วมันไม่เคยเป็นเช่นนั้นไปได้เลยสืบเนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องการส่งกำลังบำรุง อย่างไรก็ดี พอถึงปี 1911 ภัยคุกคามจากรัสเซียจู่ๆ ก็เรียกว่าสลายหายวับไป ทั้งนี้ก่อนหน้านั้นคือในปี 1904-05 รัสเซียประสบความปราชัยในการทำสงครามกับญี่ปุ่น จากนั้นก็ตามมาด้วยการปฏิวัติภายในรัสเซีย ในเวลานั้นพระเจ้าซาร์ยังทรงรักษาพระราชบัลลังก์เอาไว้ได้ ทว่ารัสเซียที่อ่อนแอลงมากแล้วในบัดนี้จำเป็นที่จะต้องมองหาทางรอมชอมกับอังกฤษเกี่ยวกับข้อพิพาทต่างๆ ในทางด้านจักรวรรดิของพวกตน การรอมชอมดังกล่าวบังเกิดขึ้นมาจริงๆ ในปี 1907 และเกี่ยวข้องโยงใยไปถึงการที่ทั้งสองฝ่ายต่างรับรองพื้นที่เขตอิทธิพลของแต่ละฝ่าย ตัวอย่างเช่น เรื่องการเป็นเอกราชแต่ในนามของเปอร์เซีย (อิหร่าน)
จากการที่รัสเซียไม่ได้เป็นภัยคุกคามในเอเชียอีกต่อไปแล้ว อังกฤษจึงดูเหมือนจะประสบชัยชนะได้เป็นใหญ่ครอบงำเหนือภูมิภาคแถบนี้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่พยายามหาทางบรรลุจุดมุ่งหมายในการทำให้รัสเซียโอนอ่อนลงมานั้น อังกฤษก็ได้ถูกบีบบังคับให้ต้องกลายเป็นมหาอำนาจยุโรปชาติแรกซึ่งไปผูกสัมพันธ์เป็นพันธมิตรกับชาติเอเชียอิสระรายหนึ่ง ในกรณีนี้คือการทำสนธิสัญญาปี 1902 กับญี่ปุ่น ด้วยสภาพที่กำลังทางนาวีและกำลังทหารของตนเองต้องกระจายตัวออกจนมากเกินไปอยู่แล้วในเอเชียตะวันออก อังกฤษจึงพรักพร้อมที่จะยอมรับความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น ถึงแม้อังกฤษมิได้ร่วมกับญี่ปุ่นในการทำสงครามกับรัสเซีย แต่อังกฤษก็ยังคงได้รับผลประโยชน์อย่างมากมายจากความพ่ายแพ้ของรัสเซียในคราวนั้น กระนั้นก็ดี ญี่ปุ่นมิได้อยู่ในฐานะเป็นเพียงบริวารของอังกฤษแต่อย่างใด พวกเขาก็มีความมุ่งมาดปรารถนาในเชิงจักรวรรดินิยมของตนเองในเอเชีย และความทะเยอทะยานเหล่านี้ก็จะปรากฏออกมาให้เห็นชัดขึ้นทุกทีๆ นับจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นต้นไป
อังกฤษมีความต้องการได้รับการสนับสนุนเพื่อประคับประคองฐานะของตนในเอเชียเอาไว้ เนื่องจากในขณะนั้นอังกฤษกำลังถูกบีบบังคับให้ต้องหันเหความสนใจออกไปจากกิจการต่างๆ ในทวีปนี้มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ สืบเนื่องจากการก้าวผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจรายใหม่ 2 ราย ซึ่งกำลังท้าทายการครอบงำโลกของอังกฤษ มหาอำนาจทั้งสองรายนี้ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี ทั้งคู่ต่างไม่ได้เป็นรัฐเอเชียหรือมีผลประโยชน์อย่างสำคัญในเอเชีย ถึงแม้ฝ่ายอเมริกันเพิ่งได้เข้าไปครอบครองฟิลิปปินส์เอาไว้ก่อนหน้านี้ไม่นานนัก (สหรัฐฯทำสงครามกับสเปนในปี 1898 โดยที่สเปนเป็นฝ่ายปราชัย และได้ยอมยกอาณานิคมฟิลิปปินส์ของตนให้แก่สหรัฐฯโดยแลกกับเงิน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปีนั้นเอง แต่การที่สหรัฐฯจะเข้ามาปกครองฟิลิปปินส์ได้นั้น ก็ได้ทำการปราบปรามชาวฟิลิปปินส์ที่พยายามประกาศเอกราช –ผู้แปล)
อังกฤษนั้นหวังที่จะพยายามรักษาความสัมพันธ์ฉันมิตรที่มีอยู่สหรัฐฯเอาไว้ ทว่าสำหรับความสัมพันธ์กับเยอรมนีเมื่อมาถึงปี 1911 ก็อยู่ในอาการยากลำบากกว่ามากมายนัก ถึงแม้อังกฤษกับเยอรมนีมีความโยงใยพัวพันทางเศรษฐกิจกันอย่างใกล้ชิดในฐานะที่เป็นคู่ค้าสำคัญมาก แต่ประเทศทั้งสองก็เกิดการปะทะขัดแย้งกันครั้งแล้วครั้งเล่า ในเมื่อเยอรมนีพยายามแสวงหาหนทางที่จะได้แสดงบทบาทในโลกอย่างใหญ่โตกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่เยอรมนีขยายกองทัพเรือของตน ได้นำไปสู่การแข่งขันเพิ่มกำลังรบทางนาวีกับอังกฤษอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น อังกฤษจึงถูกบังคับให้ต้องลดการปรากฏตัวทางนาวีในน่านน้ำแถบเอเชีย เพื่อรวมศูนย์กำลังเรือรบจำนวนมากขึ้น ไปประจันหน้ากับเยอรมนีในน่านน้ำทางแถบยุโรป และนี่เองเป็นเหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้อังกฤษจำเป็นต้องแสวงหาความสนับสนุนทางนาวีจากญี่ปุ่น
ดังนั้น ในปี 1911 ถึงแม้อังกฤษแลดูเหมือนมีฐานะครอบงำบงการเอเชีย แต่ในความเป็นจริงแล้วการก้าวผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจใหม่ๆ นอกทวีปเอเชีย กำลังกลายเป็นสาเหตุทำให้อังกฤษต้องหันเหพุ่งความสนใจไปยังอาณาบริเวณอื่นๆ ของพิภพใบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ซึ่งเยอรมนีดูเหมือนจะแสดงอาการเป็นภัยคุกคามโดยตรงต่ออังกฤษทีเดียว การผูกพันธมิตรกับญี่ปุ่นนั้นเป็นสิ่งที่อังกฤษวาดหวังไว้ว่าจะช่วยพยุงฐานะและอำนาจของตนในเอเชีย ทว่าในไม่ช้ามันก็เป็นที่ปรากฏชัดเจนว่า ญี่ปุ่นก็มีความมุ่งมาดปรารถนาแบบจักรวรรดิของตนเองในภูมิภาคดังกล่าว และในที่สุดแล้วจะมองเห็นอังกฤษเป็นอุปสรรคประการหนึ่งของความทะเยอทะยานเช่นนั้นของตนด้วยซ้ำไป
ปัจจุบัน ในปี 2011 สหรัฐอเมริกาไม่เพียงแต่เป็นมหาอำนาจทางนาวีระดับแนวหน้าที่สุดของโลกเท่านั้น หากยังเป็นมหาอำนาจทางอากาศที่นำหน้าที่สุดของโลกอีกด้วย กำลังทางทหารของอเมริกันในปัจจุบัน เป็นแสนยานุภาพที่เกรียงไกรเหนือล้ำไปไกลทีเดียว เมื่อเปรียบเทียบกับพลานุภาพทางทหารของอังกฤษในช่วงรุ่งเรืองที่สุดแห่งยุคจักรวรรดินิยมของตน กระนั้นสหรัฐฯก็ยังคงมีปัญหาหลายๆ ประการในเวลาที่พยายามเข้ามาครอบงำบงการให้กว้างไกลกว่าดินแดนบริเวณชายฝั่งทะเลของเอเชีย เมื่อ 100 ปีก่อนหน้านี้ อังกฤษพบว่าการเป็นพี่เบิ้มใหญ่โตในตลอดทั่วทั้งโลกของตน ประสบการท้าทายจากมหาอำนาจอเมริกาเหนือที่กำลังก้าวผงาดขึ้นมา และจากมหาอำนาจยุโรปที่กำลังก้าวผงาดขึ้นมาเช่นกัน สำหรับในวันนี้ คู่ต่อสู้หลักของอเมริกาคือ 2 มหาอำนาจเอเชียที่กำลังก้าวขึ้นมาอย่างโดดเด่น ได้แก่ อินเดีย และจีน โดยที่ยังมีรัสเซียกำลังมองหาทางยกระดับเพิ่มพูนฐานะของตนเองในเอเชียด้วยเช่นกัน พวกคู่ต่อสู้ของอังกฤษเมื่อ 100 ปีก่อนนั้นได้ดึงเอาความสนใจของอังกฤษให้หันเหออกไปจากเอเชีย ทว่าคู่ต่อสู้ของอเมริกาในเวลานี้กำลังทำให้สหรัฐฯรวมศูนย์ความสนใจมายังทวีปนี้
ในกรณีของอินเดีย ประเทศนี้ได้กลายเป็นชาติเอกราชหลุดออกจากการปกครองของอังกฤษในปี 1947 และช่วงเวลาอีก 50 ปีถัดมาส่วนใหญ่แล้วแดนภารตะดำเนินนโยบายการต่างประเทศแบบไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ทว่าตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา อินเดียได้เคลื่อนตัวเข้าไปอยู่ในแวดวงแห่งเขตอิทธิพลของอเมริกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนทีเดียว่าคนอเมริกันจำนวนมากมองอินเดียว่ามีศักยภาพที่จะเป็นพันธมิตรกับประเทศตนในอนาคต โดยที่อำนาจซึ่งขยายตัวขึ้นทุกทีของแดนภารตะจะสามารถใช้เป็นตัวถ่วงดุลการก้าวผงาดขึ้นมาของจีน ในวิถีทางเดียวกันกับที่อังกฤษเคยพยายามใช้ญี่ปุ่นเพื่อสกัดกั้นการเติบโตของอำนาจฝ่ายรัสเซียในเอเชีย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอินเดียมีความยินดีที่จะครอบครองฐานะดังกล่าวนี้หรือไม่ ย่อมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
อลัน จี เจมีสัน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ปัจจุบันพำนักอยู่ในแคนาดา ผลงานสิ่งพิมพ์ล่าสุดของเขาคือเรื่อง Faith and Sword: A Short History of Christian-Muslim Conflict (2006) และนวนิยายเรื่อง Crossroads of the Years (2008) หนังสือเล่มใหม่ของเขาชื่อ Lords of the Sea: A History of the Barbary Corsairs กำหนดวางจำหน่ายในเดือนกุมภาพันธ์ 2012
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
Asia and the sea powers, 1911 and 2011
By Alan G Jamieson
29/11/2011
อังกฤษในในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แผ่แสนยานุภาพทางทะเลครอบงำอยู่รอบๆ เอเชีย ส่วนสหรัฐอเมริกาในอีก 100 ปีต่อมาก็ทรงพลานุภาพในทำนองเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วมหาอำนาจทางนาวีทั้งสองรายนี้ มีข้อที่คล้ายคลึงกันอย่างน่าอัศจรรย์อยู่หลายๆ ประการ ขณะเดียวกันก็มีข้อที่แตกต่างกันอย่างโต้งๆ --และกระทั่งถึงขั้นน่าประหลาดพิสดาร—อยู่หลายๆ ประการเช่นกัน รวมทั้งสภาพการณ์ที่อเมริกาในเวลานี้กำลังต้องกู้หนี้ยืมสินอย่างมหาศาลจากชาติเอเชียผู้เป็น “คู่ต่อสู้” ที่ใหญ่โตที่สุดของตน ซึ่งก็คือ จีน
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
จากการที่กองทัพเรือจีนกำลังเริ่มออกไปทำการซ้อมรบในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกได้แล้ว มันก็ดูเหมือนว่าความเป็นเจ้าทางนาวีในน่านน้ำลึกสีครามรอบๆ เอเชียของสหรัฐฯกำลังเผชิญกับการท้าทาย ฐานะของสหรัฐอเมริกาที่เข้าครอบงำแผ่อิทธิพลในเขตทะเลต่างๆ ของโลกในทุกวันนี้ มีความละม้ายคล้ายคลึงกับอังกฤษในตอนที่ขี่คลื่นครองมหาสมุทรเมื่อ 100 ปีก่อน การมีฐานะเป็นเจ้าเหนือทะเลทั้งหลาย ทำให้มหาอำนาจเหล่านี้สามารถแผ่พลานุภาพมาสู่ดินแดนชายฝั่งต่างๆ ของเอเชีย และมหาอำนาจเจ้าสมุทรยิ่งใหญ่ทั้งคู่นี้ต่างก็พยายามที่จะหาทางแผ่พลานุภาพของพวกตนจากทะเล เข้ามาสู่ดินแดนชั้นในแห่งทวีปเอเชีย ซึ่งเสมือนกับเป็น “เกาะแห่งโลก” (world island)
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ภารกิจอันง่ายดายเลย และโดยทั่วไปแล้ว สหรัฐฯก็เฉกเช่นกับอังกฤษเมื่อ 1 ศตวรรษก่อน ยังไม่สามารถที่จะสถาปนาฐานะการครอบงำของตนให้ล้ำเกินพ้นไปจากดินแดนประชิดฝั่งสมุทรของเอเชีย แม้กระทั่งเมื่อฝ่ายอเมริกันในปัจจุบันสามารถที่จะเพิ่มฐานะความเป็นเจ้าเวหาเข้าไปในความเป็นเจ้าสมุทรได้อีกด้วย การที่เราจะเข้าอกเข้าใจถึงความยากลำบากต่างๆ ที่เผชิญหน้ามหาอำนาจเหล่านี้อยู่ได้อย่างซาบซึ้งยิ่งขึ้นนั้น การเปรียบเทียบฐานะของอังกฤษในเอเชียในปี 1911 กับฐานะของสหรัฐอเมริกาในทวีปนี้ในทุกวันนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่มีคุณค่า
ถ้าหากเราใช้ทัศนะมุมมองแบบระดับเดียวแล้ว อังกฤษในปี 1911 สามารถเข้าครอบงำบงการเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก ได้อย่างชนิดที่ไม่มีช่วงเวลาอื่นใดเทียบเท่า ในเวลานั้นอินเดียได้ถูกอังกฤษเข้าปกครองเป็นอาณานิคมมาเป็นระยะเวลามากกว่า 100 ปีแล้ว และอนุทวีปนี้ก็ทำให้อังกฤษได้เป็นเจ้าของกองทัพที่มีกำลังพลขนาดมหึมาซึ่งมีคุณค่าเหลือล้นพ้นประเมินในการคุกคามบังคับดินแดนส่วนอื่นๆ ของเอเชียให้คล้อยตามเจตนารมณ์ของพวกตน สำหรับในประเทศจีน การปฏิวัติในเดือนตุลาคม 1911 เพิ่งทำให้ “จักรวรรดิแห่งสวรรค์” (Celestial Empire) ล่มสลายลงไป ทว่ารัฐใหม่ของชาวจีนก็ดูเหมือนยังคงไร้ความสามารถในการคัดค้านต่อต้านประดามหาอำนาจจักรวรรดินิยมต่างชาติที่เข้าควบคุมท่าเรือต่างๆ แทบทั้งหมดของแดนมังกร ให้ประสบความสำเร็จมากไปกว่าพวกจักรพรรดิจีนในอดีต อันที่จริงแล้วในอีกไม่นานต่อมาจีนจะเกิดการพังทะลายภายในจนกระทั่งเข้าสู่ยุคแห่งขุนศึก ทำให้การต้านทานการแทรกแซงของต่างชาติยิ่งยากลำบากขึ้นไปอีก
ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 คู่ต่อสู้สำคัญที่สุดของอังกฤษในเอเชียก็คือรัสเซีย รัฐบาลอังกฤษชุดแล้วชุดเล่าต่างวิตกกังวลว่า อีกไม่นานนักจักรวรรดิพระเจ้าซาร์ที่แผ่ขยายตัวไม่ยอมหยุดหย่อนจะมาจนถึงชายแดนทางภาคเหนือของอินเดียแล้ว ในทัศนะของพวกนักการเมืองและเหล่านายพลของอังกฤษในเวลานั้น ทิศทางแนวโน้มที่รัสเซียจะเข้ารุกรานอนุทวีปแห่งนี้ดูเป็นจริงเป็นจังมาก ถึงแม้ในความเป็นจริงแล้วมันไม่เคยเป็นเช่นนั้นไปได้เลยสืบเนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องการส่งกำลังบำรุง อย่างไรก็ดี พอถึงปี 1911 ภัยคุกคามจากรัสเซียจู่ๆ ก็เรียกว่าสลายหายวับไป ทั้งนี้ก่อนหน้านั้นคือในปี 1904-05 รัสเซียประสบความปราชัยในการทำสงครามกับญี่ปุ่น จากนั้นก็ตามมาด้วยการปฏิวัติภายในรัสเซีย ในเวลานั้นพระเจ้าซาร์ยังทรงรักษาพระราชบัลลังก์เอาไว้ได้ ทว่ารัสเซียที่อ่อนแอลงมากแล้วในบัดนี้จำเป็นที่จะต้องมองหาทางรอมชอมกับอังกฤษเกี่ยวกับข้อพิพาทต่างๆ ในทางด้านจักรวรรดิของพวกตน การรอมชอมดังกล่าวบังเกิดขึ้นมาจริงๆ ในปี 1907 และเกี่ยวข้องโยงใยไปถึงการที่ทั้งสองฝ่ายต่างรับรองพื้นที่เขตอิทธิพลของแต่ละฝ่าย ตัวอย่างเช่น เรื่องการเป็นเอกราชแต่ในนามของเปอร์เซีย (อิหร่าน)
จากการที่รัสเซียไม่ได้เป็นภัยคุกคามในเอเชียอีกต่อไปแล้ว อังกฤษจึงดูเหมือนจะประสบชัยชนะได้เป็นใหญ่ครอบงำเหนือภูมิภาคแถบนี้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่พยายามหาทางบรรลุจุดมุ่งหมายในการทำให้รัสเซียโอนอ่อนลงมานั้น อังกฤษก็ได้ถูกบีบบังคับให้ต้องกลายเป็นมหาอำนาจยุโรปชาติแรกซึ่งไปผูกสัมพันธ์เป็นพันธมิตรกับชาติเอเชียอิสระรายหนึ่ง ในกรณีนี้คือการทำสนธิสัญญาปี 1902 กับญี่ปุ่น ด้วยสภาพที่กำลังทางนาวีและกำลังทหารของตนเองต้องกระจายตัวออกจนมากเกินไปอยู่แล้วในเอเชียตะวันออก อังกฤษจึงพรักพร้อมที่จะยอมรับความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น ถึงแม้อังกฤษมิได้ร่วมกับญี่ปุ่นในการทำสงครามกับรัสเซีย แต่อังกฤษก็ยังคงได้รับผลประโยชน์อย่างมากมายจากความพ่ายแพ้ของรัสเซียในคราวนั้น กระนั้นก็ดี ญี่ปุ่นมิได้อยู่ในฐานะเป็นเพียงบริวารของอังกฤษแต่อย่างใด พวกเขาก็มีความมุ่งมาดปรารถนาในเชิงจักรวรรดินิยมของตนเองในเอเชีย และความทะเยอทะยานเหล่านี้ก็จะปรากฏออกมาให้เห็นชัดขึ้นทุกทีๆ นับจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นต้นไป
อังกฤษมีความต้องการได้รับการสนับสนุนเพื่อประคับประคองฐานะของตนในเอเชียเอาไว้ เนื่องจากในขณะนั้นอังกฤษกำลังถูกบีบบังคับให้ต้องหันเหความสนใจออกไปจากกิจการต่างๆ ในทวีปนี้มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ สืบเนื่องจากการก้าวผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจรายใหม่ 2 ราย ซึ่งกำลังท้าทายการครอบงำโลกของอังกฤษ มหาอำนาจทั้งสองรายนี้ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี ทั้งคู่ต่างไม่ได้เป็นรัฐเอเชียหรือมีผลประโยชน์อย่างสำคัญในเอเชีย ถึงแม้ฝ่ายอเมริกันเพิ่งได้เข้าไปครอบครองฟิลิปปินส์เอาไว้ก่อนหน้านี้ไม่นานนัก (สหรัฐฯทำสงครามกับสเปนในปี 1898 โดยที่สเปนเป็นฝ่ายปราชัย และได้ยอมยกอาณานิคมฟิลิปปินส์ของตนให้แก่สหรัฐฯโดยแลกกับเงิน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปีนั้นเอง แต่การที่สหรัฐฯจะเข้ามาปกครองฟิลิปปินส์ได้นั้น ก็ได้ทำการปราบปรามชาวฟิลิปปินส์ที่พยายามประกาศเอกราช –ผู้แปล)
อังกฤษนั้นหวังที่จะพยายามรักษาความสัมพันธ์ฉันมิตรที่มีอยู่สหรัฐฯเอาไว้ ทว่าสำหรับความสัมพันธ์กับเยอรมนีเมื่อมาถึงปี 1911 ก็อยู่ในอาการยากลำบากกว่ามากมายนัก ถึงแม้อังกฤษกับเยอรมนีมีความโยงใยพัวพันทางเศรษฐกิจกันอย่างใกล้ชิดในฐานะที่เป็นคู่ค้าสำคัญมาก แต่ประเทศทั้งสองก็เกิดการปะทะขัดแย้งกันครั้งแล้วครั้งเล่า ในเมื่อเยอรมนีพยายามแสวงหาหนทางที่จะได้แสดงบทบาทในโลกอย่างใหญ่โตกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่เยอรมนีขยายกองทัพเรือของตน ได้นำไปสู่การแข่งขันเพิ่มกำลังรบทางนาวีกับอังกฤษอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น อังกฤษจึงถูกบังคับให้ต้องลดการปรากฏตัวทางนาวีในน่านน้ำแถบเอเชีย เพื่อรวมศูนย์กำลังเรือรบจำนวนมากขึ้น ไปประจันหน้ากับเยอรมนีในน่านน้ำทางแถบยุโรป และนี่เองเป็นเหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้อังกฤษจำเป็นต้องแสวงหาความสนับสนุนทางนาวีจากญี่ปุ่น
ดังนั้น ในปี 1911 ถึงแม้อังกฤษแลดูเหมือนมีฐานะครอบงำบงการเอเชีย แต่ในความเป็นจริงแล้วการก้าวผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจใหม่ๆ นอกทวีปเอเชีย กำลังกลายเป็นสาเหตุทำให้อังกฤษต้องหันเหพุ่งความสนใจไปยังอาณาบริเวณอื่นๆ ของพิภพใบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ซึ่งเยอรมนีดูเหมือนจะแสดงอาการเป็นภัยคุกคามโดยตรงต่ออังกฤษทีเดียว การผูกพันธมิตรกับญี่ปุ่นนั้นเป็นสิ่งที่อังกฤษวาดหวังไว้ว่าจะช่วยพยุงฐานะและอำนาจของตนในเอเชีย ทว่าในไม่ช้ามันก็เป็นที่ปรากฏชัดเจนว่า ญี่ปุ่นก็มีความมุ่งมาดปรารถนาแบบจักรวรรดิของตนเองในภูมิภาคดังกล่าว และในที่สุดแล้วจะมองเห็นอังกฤษเป็นอุปสรรคประการหนึ่งของความทะเยอทะยานเช่นนั้นของตนด้วยซ้ำไป
ปัจจุบัน ในปี 2011 สหรัฐอเมริกาไม่เพียงแต่เป็นมหาอำนาจทางนาวีระดับแนวหน้าที่สุดของโลกเท่านั้น หากยังเป็นมหาอำนาจทางอากาศที่นำหน้าที่สุดของโลกอีกด้วย กำลังทางทหารของอเมริกันในปัจจุบัน เป็นแสนยานุภาพที่เกรียงไกรเหนือล้ำไปไกลทีเดียว เมื่อเปรียบเทียบกับพลานุภาพทางทหารของอังกฤษในช่วงรุ่งเรืองที่สุดแห่งยุคจักรวรรดินิยมของตน กระนั้นสหรัฐฯก็ยังคงมีปัญหาหลายๆ ประการในเวลาที่พยายามเข้ามาครอบงำบงการให้กว้างไกลกว่าดินแดนบริเวณชายฝั่งทะเลของเอเชีย เมื่อ 100 ปีก่อนหน้านี้ อังกฤษพบว่าการเป็นพี่เบิ้มใหญ่โตในตลอดทั่วทั้งโลกของตน ประสบการท้าทายจากมหาอำนาจอเมริกาเหนือที่กำลังก้าวผงาดขึ้นมา และจากมหาอำนาจยุโรปที่กำลังก้าวผงาดขึ้นมาเช่นกัน สำหรับในวันนี้ คู่ต่อสู้หลักของอเมริกาคือ 2 มหาอำนาจเอเชียที่กำลังก้าวขึ้นมาอย่างโดดเด่น ได้แก่ อินเดีย และจีน โดยที่ยังมีรัสเซียกำลังมองหาทางยกระดับเพิ่มพูนฐานะของตนเองในเอเชียด้วยเช่นกัน พวกคู่ต่อสู้ของอังกฤษเมื่อ 100 ปีก่อนนั้นได้ดึงเอาความสนใจของอังกฤษให้หันเหออกไปจากเอเชีย ทว่าคู่ต่อสู้ของอเมริกาในเวลานี้กำลังทำให้สหรัฐฯรวมศูนย์ความสนใจมายังทวีปนี้
ในกรณีของอินเดีย ประเทศนี้ได้กลายเป็นชาติเอกราชหลุดออกจากการปกครองของอังกฤษในปี 1947 และช่วงเวลาอีก 50 ปีถัดมาส่วนใหญ่แล้วแดนภารตะดำเนินนโยบายการต่างประเทศแบบไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ทว่าตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา อินเดียได้เคลื่อนตัวเข้าไปอยู่ในแวดวงแห่งเขตอิทธิพลของอเมริกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนทีเดียว่าคนอเมริกันจำนวนมากมองอินเดียว่ามีศักยภาพที่จะเป็นพันธมิตรกับประเทศตนในอนาคต โดยที่อำนาจซึ่งขยายตัวขึ้นทุกทีของแดนภารตะจะสามารถใช้เป็นตัวถ่วงดุลการก้าวผงาดขึ้นมาของจีน ในวิถีทางเดียวกันกับที่อังกฤษเคยพยายามใช้ญี่ปุ่นเพื่อสกัดกั้นการเติบโตของอำนาจฝ่ายรัสเซียในเอเชีย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอินเดียมีความยินดีที่จะครอบครองฐานะดังกล่าวนี้หรือไม่ ย่อมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
อลัน จี เจมีสัน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ปัจจุบันพำนักอยู่ในแคนาดา ผลงานสิ่งพิมพ์ล่าสุดของเขาคือเรื่อง Faith and Sword: A Short History of Christian-Muslim Conflict (2006) และนวนิยายเรื่อง Crossroads of the Years (2008) หนังสือเล่มใหม่ของเขาชื่อ Lords of the Sea: A History of the Barbary Corsairs กำหนดวางจำหน่ายในเดือนกุมภาพันธ์ 2012
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)