เอเจนซี - สหรัฐฯ ปฏิเสธที่จะลงนามรับรองกองทุนเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน ก่อนจะมีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในสัปดาห์หน้า หนังสือพิมพ์ ไฟแนนเชียล ไทม์ส รายงานวานนี้ (24)
เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เผยต่อไฟแนนเชียล ไทม์ส ว่า สหรัฐฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากซาอุดีอาระเบีย ยังไม่เห็นด้วยกับแนวปฏิบัติของกองทุนสภาพอากาศสีเขียว (Green Climate Fund)
กองทุนดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเมื่อปีที่แล้วโดยความเห็นชอบจากนานาประเทศ โดยมีเป้าหมายระดมทุนให้ได้ถึง 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีภายในปี 2020 เพื่อนำไปช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนาต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก ซึ่งคณะกรรมาธิการยูเอ็นได้จัดทำร่างกองทุนเสร็จสมบูรณ์แล้ว ระหว่างการประชุมที่แอฟริกาใต้เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
ประเทศผู้เจรจาจากทั่วโลกจะร่วมพิจารณาข้อเสนอในที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ เมืองเดอร์บัน ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน-9 ธันวาคมนี้ เพื่อบรรลุข้อตกลงสากลในการแก้ไขปัญหาโลกร้อน
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา บันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ เรียกร้องให้ประเทศที่ร่ำรวยเร่งฟันฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ และเพิ่มเงินสนับสนุนแก่กองทุนสภาพอากาศสีเขียว เพื่อมิให้กองทุนนี้กลายเป็นเพียง “เปลือกที่ว่างเปล่า”
ที่ผ่านมาสหรัฐฯ ก็มิได้ลงนามในพิธีสารเกียวโต ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดสภาพที่อากาศเลวร้าย, ภาวะระดับน้ำทะเลเพิ่มสูง และการเพาะปลูกที่ไม่ได้ผล
พิธีสารดังกล่าวจัดทำขึ้นเมื่อ 1997 และมีผลบังคับใช้ในปี 2005 โดยกำหนดให้ประเทศร่ำรวย 37 ประเทศมีพันธะทางกฎหมายที่จะต้องลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ตามที่กำหนด ระหว่างปี 2008-2012 ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะแรก
ปัจจุบันทั่วโลกก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในการลดปริมาณคาร์บอนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อควบคุมอุณหภูมิโลกมิให้เพิ่มสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอัตราที่นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่ามีความจำเป็นต่อการหลีกเลี่ยงผลกระทบขั้นรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เผยต่อไฟแนนเชียล ไทม์ส ว่า สหรัฐฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากซาอุดีอาระเบีย ยังไม่เห็นด้วยกับแนวปฏิบัติของกองทุนสภาพอากาศสีเขียว (Green Climate Fund)
กองทุนดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเมื่อปีที่แล้วโดยความเห็นชอบจากนานาประเทศ โดยมีเป้าหมายระดมทุนให้ได้ถึง 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีภายในปี 2020 เพื่อนำไปช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนาต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก ซึ่งคณะกรรมาธิการยูเอ็นได้จัดทำร่างกองทุนเสร็จสมบูรณ์แล้ว ระหว่างการประชุมที่แอฟริกาใต้เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
ประเทศผู้เจรจาจากทั่วโลกจะร่วมพิจารณาข้อเสนอในที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ เมืองเดอร์บัน ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน-9 ธันวาคมนี้ เพื่อบรรลุข้อตกลงสากลในการแก้ไขปัญหาโลกร้อน
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา บันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ เรียกร้องให้ประเทศที่ร่ำรวยเร่งฟันฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ และเพิ่มเงินสนับสนุนแก่กองทุนสภาพอากาศสีเขียว เพื่อมิให้กองทุนนี้กลายเป็นเพียง “เปลือกที่ว่างเปล่า”
ที่ผ่านมาสหรัฐฯ ก็มิได้ลงนามในพิธีสารเกียวโต ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดสภาพที่อากาศเลวร้าย, ภาวะระดับน้ำทะเลเพิ่มสูง และการเพาะปลูกที่ไม่ได้ผล
พิธีสารดังกล่าวจัดทำขึ้นเมื่อ 1997 และมีผลบังคับใช้ในปี 2005 โดยกำหนดให้ประเทศร่ำรวย 37 ประเทศมีพันธะทางกฎหมายที่จะต้องลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ตามที่กำหนด ระหว่างปี 2008-2012 ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะแรก
ปัจจุบันทั่วโลกก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในการลดปริมาณคาร์บอนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อควบคุมอุณหภูมิโลกมิให้เพิ่มสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอัตราที่นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่ามีความจำเป็นต่อการหลีกเลี่ยงผลกระทบขั้นรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ