(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
When Hu’s carrier met Ma’s missile
By Jens Kastner
15/08/2011
ไต้หวันตัดสินใจเผยแพร่ข่าวความสำเร็จในการสร้างขีปนาวุธ “นักล่าสังหารเรือบรรทุกเครื่องบิน” ซึ่งสามารถพุ่งทะยานด้วยความเร็วเหนือเสียงของตน ในวันเดียวกับที่จีนก็กำลังนำเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของพวกเขาออกแล่นในทะเลหลวงเป็นเที่ยวปฐมฤกษ์ เมื่อดูจากภายนอกแล้วความเคลื่อนไหวเหล่านี้เหมือนๆ กับขัดแย้งตรงกันข้ามกับบรรยากาศความสัมพันธ์ระหว่างเกาะไต้หวันกับแผ่นดินใหญ่ที่กำลังดำเนินไปอย่างชื่นมื่นยิ่ง อย่างไรก็ตาม หากขยับใกล้เข้าไปพินิจพิจารณาการเปิดตัวของทั้งสองฝ่าย ก็จะเห็นชัดเจนว่าล้วนแต่อยู่ในอาการยังไม่พรักพร้อมเต็มที่ด้วยกันทั้งคู่ ดังนั้นจึงนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า ไม่ว่าสำหรับประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่ว ของไต้หวัน หรือประธานาธิบดีหู จิ่นเทา ของจีน อาวุธของพวกเขาเหล่านี้ต่างก็มุ่งเล็งยิงไปยัง “เป้าหมายภายใน” เสียมากกว่า
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ไทเป - ตอนเช้าของวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน (ทปจ.) ได้แล่นออกจากอู่ต่อเรือของตนในเขตเมืองต้าเหลียน เมืองท่าสำคัญและเมืองหลวงของมณฑลเหลียวหนิง ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เพื่อเริ่มการทดสอบเดินเรือในทะเลเที่ยวปฐมฤกษ์ ในเวลาเดียวกันนั้นเอง ณ งานแสดงสินค้าเทคโนโลยีด้านการทหารงานหนึ่งที่อยู่ห่างออกไปทางใต้ประมาณ 1,500 กิโลเมตร กองทัพไต้หวันก็ได้นำเสนออาวุธต่อต้านเรือรบรุ่นใหม่ของตนต่อสาธารณชน อาวุธดังกล่าวนี้เป็นขีปนาวุธที่มีสมรรถนะเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็วเหนือเสียง (supersonic) โดยที่โปสเตอร์ที่ใช้ประกอบการแถลงข่าวประชาสัมพันธ์คราวนี้ ก็ตั้งใจจัดทำให้เห็นเป็นภาพที่ขีปนาวุธนี้กำลังทำลายเรือรบที่มีรูปร่างหน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกับเจ้าเรือรบยักษ์ใหญ่มหึมาลำล่าสุดของกองทัพปลดแอกประชาชนจีนเอามากๆ
ฉากจำลองการสู้รบที่ผู้จัดทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ขีปนาวุธไต้หวันเลือกนำมาใช้นี้ ดูเหมือนออกจะไม่ค่อยเหมาะสมสอดคล้องกับช่วงเวลาปัจจุบันที่ความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่ อันเรียกขานกันว่า ความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ (cross-strait relations) กำลังดำเนินไปอย่างฉันมิตรและเต็มไปด้วยความชื่นมื่น ทว่าเมื่อขยับใกล้เข้าไปอีกเพื่อพินิจพิจารณารายละเอียดทั้งกรณีของขีปนาวุธ และของเรือบรรทุกเครื่องบิน มันก็เปิดเผยให้เห็นว่าจังหวะเวลาที่ไทเปและปักกิ่งเลือกใช้ในการเปิดตัวแสนยานุภาพทางอาวุธของแต่ละฝ่ายในคราวนี้ เป็นเรื่องที่พวกเขาต่างก็ไตร่ตรองเลือกกันอย่างรอบคอบทีเดียว
ประการแรกสุด เท่าที่ปรากฏอยู่ในเวลานี้ ไม่ว่าเรือบรรทุกเครื่องบินของจีน ซึ่งมีความยาว 300 เมตร และระวางขับน้ำ 65,000 ตัน โดยเป็นเรือชั้นคุซเนตซอฟ (Kuznetsov-class) ที่สร้างขึ้นในยุคสหภาพโซเวียตแล้วนำมาปรับปรุงยกเครื่องกันใหม่หมด หรือ ขีปนาวุธ สงเฟิง 3 (Hsiung Feng 3 ใช้อักษรย่อว่า HF-3) ของไต้หวัน ที่มีความยาว 6.1 เมตร และน้ำหนัก 1.5 ตัน คุณค่าทางทหารของมันยังเป็นที่น่าสงสัยข้องใจกันทั้งคู่ ประการที่สอง จุดมุ่งหมายแรกสุดและสำคัญที่สุดของระบบอาวุธทั้งสอง ดูเหมือนจะอยู่ที่เป็นการส่งสัญญาณอันน่าประทับใจ ด้วยความวาดหวังว่าจะมีส่วนช่วยสนับสนุนพวกผู้นำทางฝ่ายของตน ในสมรภูมิแห่งการเมืองภายในประเทศการเมืองภายในดินแดนของพวกเขาเอง
เรื่องราวที่เรือบรรทุกเครื่องบินของจีนที่ยังมิได้มีการตั้งชื่อเลยลำนี้ ได้เริ่มต้นการทดสอบการเดินทางในทะเลในที่สุด ภายหลังจากที่ฝ่ายจีนใช้เวลาอย่างยาวนานเป็นสิบปี เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากโครงสร้างของเรือ “วาร์ยัก” (Varyag) ยุคสหภาพโซเวียตที่ตกไปอยู่ในมือของยูเครน ให้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการเรือบรรทุกเครื่องบินของแดนมังกรนั้น เป็นสิ่งที่ถูกเสนอออกมาอย่างเอิกเกริกกว้างขวาง โดยสื่อมวลชนแทบจะทุกๆ แขนงที่มีอยู่ในโลก
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เรือบรรทุกเครื่องบินลำเดี่ยวๆ ลำเดียวอาจจะดูน่าประทับใจแค่ไหนก็ตามที แต่มันย่อมไร้ประโยชน์ถ้าหากไม่ได้มีกลุ่มกำลังเรือรบอันเหมาะสมมาคอยพิทักษ์คุ้มครอง มีเหตุผลที่น่ารับฟังได้อย่างสมบูรณ์ทีเดียวว่า กองทัพเรือแห่งกองทัพปลดแอกประชาชนจีนนั้นตั้งใจจริงๆ ที่จะใช้เรือรบลำนี้ เพียงเพื่อวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรมทั้งทางด้านการบิน, การเดินเรือ, และการส่งกำลังบำรุง ทว่าเมื่อดูจากรายงานข่าวของสื่อมวลชนแล้ว เรือเหล็กยักษ์ลำนี้ย่อมเป็นสัญลักษณ์ของการก้าวขึ้นสู่ฐานะความเป็นมหาอำนาจใหญ่ และดังนั้นจึงทำให้บรรดาชาติเพื่อนบ้านของจีนรู้สึกเสียววาบที่กระดูกสันหลังอยู่นั่นเอง
สำหรับนิทรรศการและงานแสดงสินค้าเทคโนโลยีการบินและอวกาศ และเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ ปี 2011 แห่งไทเป (The 2011 Taipei Aerospace and Defense Technology Exhibition) ย่อมเป็นที่เตะตาสนอกสนใจของสื่อมวลชนทั่วโลกน้อยกว่านัก แต่ในงานนี้เองที่ถูกใช้เป็นสถานที่เปิดเผยข่าว เอชเอฟ-3 ซูเปอร์โซนิก ขีปนาวุธลาดตระเวนต่อต้านเรือรบ ที่พัฒนาขึ้นโดยไต้หวันเอง นอกจากนั้น เพื่อตอกย้ำให้เห็นถึงสมรรถนะของอาวุธปล่อยติดหัวรบหัวเดียวและมีพิสัยทำการ 130 กิโลเมตรชนิดนี้ ผู้สร้าง เอชเอฟ-3 ซึ่งก็คือ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชุงซาน (Chung-Shan Institute of Science and Technology หรือ CSIST) ได้ตั้งแสดงขีปนาวุธรุ่นนี้ตรงด้านหน้าของโปสเตอร์ที่ทำเป็นภาพเรือบรรทุกเครื่องบินลำหนึ่งกำลังเกิดไฟลุกไหม้เจากการถูกโจมตีด้วย เอชเอฟ-3
เป็นที่ชัดเจนมากๆ ว่าภาพโปสเตอร์นี้ต้องการสื่อถึงอะไร เพราะเรือบรรทุกเครื่องบินลำเคราะห์ร้ายดังกล่าว ดูเหมือนกับเรือบรรทุกเครื่องบินของจีนเป็นอย่างยิ่ง และข้อความที่พิมพ์เป็นอักษรภาษาจีนถัดไปจากพระเพลิงที่โหมฮือดูร้อนแรงดุจไฟนรก ก็คือคำว่า “นักล่าสังหารเรือบรรทุกเครื่องบิน” (aircraft carrier-killer)
การออกข่าวประชาสัมพันธ์เช่นนี้ทำให้เกิดการอภิปรายถกเถียงกันขึ้นมาอย่างมีชีวิตชีวา
“หัวรบของขีปนาวุธ เอชเอฟ-3 มีน้ำหนักเพียงแค่ 120 กิโลกรัม การที่กล่าวอ้างว่าขีปนาวุธนี้สามารถจมเรือบรรทุกเครื่องบินได้ จึงเป็นเรื่องที่พูดเกินเลยไปมาก” นี่เป็นรายงานของสื่อมวลชนท้องถิ่น “ขีปนาวุธ เอชเอฟ-3 ของไต้หวัน ตลอดจนขีปนาวุธลาดตระเวนรุ่นอื่นๆ ของไต้หวันนั้น สำหรับ ทปจ. (กองทัพปลดแอกประชาชนจีน) แล้ว มันก็เหมือนกับยุงที่กำลังวิ่งไล่กัดช้างนั่นแหละ” สื่อมวลชนอ้างคำพูดของ หลิน ฉงปิน (Lin Chong-pin) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของไต้หวัน
แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ ที่แสดงความคิดเห็นด้วยท่าทีที่ดูเบามองเมินน้อยลงกว่านี้
“ขีปนาวุธ เอชเอฟ-3 สามารถที่จะสร้างความเสียหายต่อเรือรบขนาดใหญ่ หรือจมเรือที่มีขนาดเล็กได้” จอห์น ไพค์ (John Pike ) ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการของเว็บไซต์ โกลบอลซีเคียวริตี้ดอตโออาร์จี (GlobalSecurity.org) บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ ครั้นเมื่อถามว่าชาวบ้านธรรมดาสามารถจินตนาการออกมาเป็นอะไรได้บ้าง หากจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับระดับความสามารถในการทำลายของหัวรบขนาด 120 กิโลกรัมอย่างของขีปนาวุธ เอชเอฟ - 3 ไพค์ก็ตอบแบบยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นกันชัดๆ ดังนี้ “มันจะสามารถทำลายอาคาร 5 ชั้นได้หลังหนึ่ง แต่คงไม่สามารถทำลายกลุ่มอาคารของมืองใหญ่ๆ ได้ทั้งแถบหรอก ขณะที่หลุมลึกที่เกิดจากการโจมตีจะยังไม่ทะลุทะลวงลงลึกถึงขี้นสร้างความเสียหายให้แก่สายทางของระบบรถไฟใต้ดิน”
ขณะที่กองทัพไต้หวันเอง ยังคงพยายามยืนยันว่าภาพจำลองการสู้รบที่ปรากฎอยู่ในโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์นั้น ไม่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสความเป็นไปได้เอาเสียเลย “ขีปนาวุธ เอชเอฟ-3 มีสมรรถนะในการทะลุทะลวงผ่านผิวชั้นนอกของเรือ จากนั้นจึงเข้าไประเบิดขึ้นตรงบริเวณภายในส่วนที่สำคัญต่าวๆ ของห้องเครื่องยนต์ ดังนั้นจึงสามารถก่อความเสียหายอย่างสูงสุด” นายทหารไต้หวันผู้หนึ่งกล่าวย้ำ
สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชุงซาน เริ่มต้นสร้างขีปนาวุธลาดตระเวน เอชเอฟ-3 เมื่อประมาณกลางทศวรรษที่แล้ว และได้เปิดเผยให้สาธารณชนทราบเป็นครั้งแรกในปี 2007 มีรายงานว่า เอชเอฟ-3 ซึ่งวางแผนกันไว้ว่าจะสามารถทำความเร็วได้ประมาณ 2,300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงสามารถเปรียบเทียบอย่างทัดเทียมได้กับขีปนาวุธต่อต้านเรือรบที่ผลิตโดยรัสเซียในรุ่น เอสเอส-เอ็น-22 ซันเบิร์น (SS-N-22 Sunburn) ทั้งนี้กำลังมีการนำ เอชเอฟ-3 ติดตั้งในเรือฟรีเกต ชั้นเพอร์รี (Perry-class) ของไต้หวันเพื่อทำการทดสอบ โดยที่มีแผนการจะนำไปติดตั้งในเรือรบประเภท คาตามารัน คอร์เวตต์ (catamaran corvette) ระวางขับน้ำ 500 ตันรุ่นใหม่ของตน ซึ่งจะมีเทคโนโลยีสุดไฮเทคอย่าง สเตลธ์ (stealth) ที่สามารถหลบหลีกการตรวจจับของเรดาร์ได้ เรือคาตามารัน คอร์เวตต์ รุ่นใหม่นี้ทางไต้หวันเป็นผู้พัฒนาขึ้นเอง โดยมีกำหนดที่จะสร้างเรือต้นแบบขึ้นมาให้เสร็จสิ้นภายในปี 2012 นอกจากนี้ไต้หวันยังมีแผนการนำ เอชเอฟ-3 ไปติดตั้งในเรือเล็กติดขีปนาวุธ (missile boat) รุ่นใหม่ที่เรียกว่ารุ่น กวงหวา-6 (Kuang Hua-6) ซึ่งได้เริ่มเข้าประจำการตั้งแต่ปีที่แล้ว
เยนส์ คาสต์เนอร์ เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในกรุงไทเป
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
When Hu’s carrier met Ma’s missile
By Jens Kastner
15/08/2011
ไต้หวันตัดสินใจเผยแพร่ข่าวความสำเร็จในการสร้างขีปนาวุธ “นักล่าสังหารเรือบรรทุกเครื่องบิน” ซึ่งสามารถพุ่งทะยานด้วยความเร็วเหนือเสียงของตน ในวันเดียวกับที่จีนก็กำลังนำเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของพวกเขาออกแล่นในทะเลหลวงเป็นเที่ยวปฐมฤกษ์ เมื่อดูจากภายนอกแล้วความเคลื่อนไหวเหล่านี้เหมือนๆ กับขัดแย้งตรงกันข้ามกับบรรยากาศความสัมพันธ์ระหว่างเกาะไต้หวันกับแผ่นดินใหญ่ที่กำลังดำเนินไปอย่างชื่นมื่นยิ่ง อย่างไรก็ตาม หากขยับใกล้เข้าไปพินิจพิจารณาการเปิดตัวของทั้งสองฝ่าย ก็จะเห็นชัดเจนว่าล้วนแต่อยู่ในอาการยังไม่พรักพร้อมเต็มที่ด้วยกันทั้งคู่ ดังนั้นจึงนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า ไม่ว่าสำหรับประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่ว ของไต้หวัน หรือประธานาธิบดีหู จิ่นเทา ของจีน อาวุธของพวกเขาเหล่านี้ต่างก็มุ่งเล็งยิงไปยัง “เป้าหมายภายใน” เสียมากกว่า
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ไทเป - ตอนเช้าของวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน (ทปจ.) ได้แล่นออกจากอู่ต่อเรือของตนในเขตเมืองต้าเหลียน เมืองท่าสำคัญและเมืองหลวงของมณฑลเหลียวหนิง ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เพื่อเริ่มการทดสอบเดินเรือในทะเลเที่ยวปฐมฤกษ์ ในเวลาเดียวกันนั้นเอง ณ งานแสดงสินค้าเทคโนโลยีด้านการทหารงานหนึ่งที่อยู่ห่างออกไปทางใต้ประมาณ 1,500 กิโลเมตร กองทัพไต้หวันก็ได้นำเสนออาวุธต่อต้านเรือรบรุ่นใหม่ของตนต่อสาธารณชน อาวุธดังกล่าวนี้เป็นขีปนาวุธที่มีสมรรถนะเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็วเหนือเสียง (supersonic) โดยที่โปสเตอร์ที่ใช้ประกอบการแถลงข่าวประชาสัมพันธ์คราวนี้ ก็ตั้งใจจัดทำให้เห็นเป็นภาพที่ขีปนาวุธนี้กำลังทำลายเรือรบที่มีรูปร่างหน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกับเจ้าเรือรบยักษ์ใหญ่มหึมาลำล่าสุดของกองทัพปลดแอกประชาชนจีนเอามากๆ
ฉากจำลองการสู้รบที่ผู้จัดทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ขีปนาวุธไต้หวันเลือกนำมาใช้นี้ ดูเหมือนออกจะไม่ค่อยเหมาะสมสอดคล้องกับช่วงเวลาปัจจุบันที่ความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่ อันเรียกขานกันว่า ความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ (cross-strait relations) กำลังดำเนินไปอย่างฉันมิตรและเต็มไปด้วยความชื่นมื่น ทว่าเมื่อขยับใกล้เข้าไปอีกเพื่อพินิจพิจารณารายละเอียดทั้งกรณีของขีปนาวุธ และของเรือบรรทุกเครื่องบิน มันก็เปิดเผยให้เห็นว่าจังหวะเวลาที่ไทเปและปักกิ่งเลือกใช้ในการเปิดตัวแสนยานุภาพทางอาวุธของแต่ละฝ่ายในคราวนี้ เป็นเรื่องที่พวกเขาต่างก็ไตร่ตรองเลือกกันอย่างรอบคอบทีเดียว
ประการแรกสุด เท่าที่ปรากฏอยู่ในเวลานี้ ไม่ว่าเรือบรรทุกเครื่องบินของจีน ซึ่งมีความยาว 300 เมตร และระวางขับน้ำ 65,000 ตัน โดยเป็นเรือชั้นคุซเนตซอฟ (Kuznetsov-class) ที่สร้างขึ้นในยุคสหภาพโซเวียตแล้วนำมาปรับปรุงยกเครื่องกันใหม่หมด หรือ ขีปนาวุธ สงเฟิง 3 (Hsiung Feng 3 ใช้อักษรย่อว่า HF-3) ของไต้หวัน ที่มีความยาว 6.1 เมตร และน้ำหนัก 1.5 ตัน คุณค่าทางทหารของมันยังเป็นที่น่าสงสัยข้องใจกันทั้งคู่ ประการที่สอง จุดมุ่งหมายแรกสุดและสำคัญที่สุดของระบบอาวุธทั้งสอง ดูเหมือนจะอยู่ที่เป็นการส่งสัญญาณอันน่าประทับใจ ด้วยความวาดหวังว่าจะมีส่วนช่วยสนับสนุนพวกผู้นำทางฝ่ายของตน ในสมรภูมิแห่งการเมืองภายในประเทศการเมืองภายในดินแดนของพวกเขาเอง
เรื่องราวที่เรือบรรทุกเครื่องบินของจีนที่ยังมิได้มีการตั้งชื่อเลยลำนี้ ได้เริ่มต้นการทดสอบการเดินทางในทะเลในที่สุด ภายหลังจากที่ฝ่ายจีนใช้เวลาอย่างยาวนานเป็นสิบปี เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากโครงสร้างของเรือ “วาร์ยัก” (Varyag) ยุคสหภาพโซเวียตที่ตกไปอยู่ในมือของยูเครน ให้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการเรือบรรทุกเครื่องบินของแดนมังกรนั้น เป็นสิ่งที่ถูกเสนอออกมาอย่างเอิกเกริกกว้างขวาง โดยสื่อมวลชนแทบจะทุกๆ แขนงที่มีอยู่ในโลก
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เรือบรรทุกเครื่องบินลำเดี่ยวๆ ลำเดียวอาจจะดูน่าประทับใจแค่ไหนก็ตามที แต่มันย่อมไร้ประโยชน์ถ้าหากไม่ได้มีกลุ่มกำลังเรือรบอันเหมาะสมมาคอยพิทักษ์คุ้มครอง มีเหตุผลที่น่ารับฟังได้อย่างสมบูรณ์ทีเดียวว่า กองทัพเรือแห่งกองทัพปลดแอกประชาชนจีนนั้นตั้งใจจริงๆ ที่จะใช้เรือรบลำนี้ เพียงเพื่อวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรมทั้งทางด้านการบิน, การเดินเรือ, และการส่งกำลังบำรุง ทว่าเมื่อดูจากรายงานข่าวของสื่อมวลชนแล้ว เรือเหล็กยักษ์ลำนี้ย่อมเป็นสัญลักษณ์ของการก้าวขึ้นสู่ฐานะความเป็นมหาอำนาจใหญ่ และดังนั้นจึงทำให้บรรดาชาติเพื่อนบ้านของจีนรู้สึกเสียววาบที่กระดูกสันหลังอยู่นั่นเอง
สำหรับนิทรรศการและงานแสดงสินค้าเทคโนโลยีการบินและอวกาศ และเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ ปี 2011 แห่งไทเป (The 2011 Taipei Aerospace and Defense Technology Exhibition) ย่อมเป็นที่เตะตาสนอกสนใจของสื่อมวลชนทั่วโลกน้อยกว่านัก แต่ในงานนี้เองที่ถูกใช้เป็นสถานที่เปิดเผยข่าว เอชเอฟ-3 ซูเปอร์โซนิก ขีปนาวุธลาดตระเวนต่อต้านเรือรบ ที่พัฒนาขึ้นโดยไต้หวันเอง นอกจากนั้น เพื่อตอกย้ำให้เห็นถึงสมรรถนะของอาวุธปล่อยติดหัวรบหัวเดียวและมีพิสัยทำการ 130 กิโลเมตรชนิดนี้ ผู้สร้าง เอชเอฟ-3 ซึ่งก็คือ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชุงซาน (Chung-Shan Institute of Science and Technology หรือ CSIST) ได้ตั้งแสดงขีปนาวุธรุ่นนี้ตรงด้านหน้าของโปสเตอร์ที่ทำเป็นภาพเรือบรรทุกเครื่องบินลำหนึ่งกำลังเกิดไฟลุกไหม้เจากการถูกโจมตีด้วย เอชเอฟ-3
เป็นที่ชัดเจนมากๆ ว่าภาพโปสเตอร์นี้ต้องการสื่อถึงอะไร เพราะเรือบรรทุกเครื่องบินลำเคราะห์ร้ายดังกล่าว ดูเหมือนกับเรือบรรทุกเครื่องบินของจีนเป็นอย่างยิ่ง และข้อความที่พิมพ์เป็นอักษรภาษาจีนถัดไปจากพระเพลิงที่โหมฮือดูร้อนแรงดุจไฟนรก ก็คือคำว่า “นักล่าสังหารเรือบรรทุกเครื่องบิน” (aircraft carrier-killer)
การออกข่าวประชาสัมพันธ์เช่นนี้ทำให้เกิดการอภิปรายถกเถียงกันขึ้นมาอย่างมีชีวิตชีวา
“หัวรบของขีปนาวุธ เอชเอฟ-3 มีน้ำหนักเพียงแค่ 120 กิโลกรัม การที่กล่าวอ้างว่าขีปนาวุธนี้สามารถจมเรือบรรทุกเครื่องบินได้ จึงเป็นเรื่องที่พูดเกินเลยไปมาก” นี่เป็นรายงานของสื่อมวลชนท้องถิ่น “ขีปนาวุธ เอชเอฟ-3 ของไต้หวัน ตลอดจนขีปนาวุธลาดตระเวนรุ่นอื่นๆ ของไต้หวันนั้น สำหรับ ทปจ. (กองทัพปลดแอกประชาชนจีน) แล้ว มันก็เหมือนกับยุงที่กำลังวิ่งไล่กัดช้างนั่นแหละ” สื่อมวลชนอ้างคำพูดของ หลิน ฉงปิน (Lin Chong-pin) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของไต้หวัน
แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ ที่แสดงความคิดเห็นด้วยท่าทีที่ดูเบามองเมินน้อยลงกว่านี้
“ขีปนาวุธ เอชเอฟ-3 สามารถที่จะสร้างความเสียหายต่อเรือรบขนาดใหญ่ หรือจมเรือที่มีขนาดเล็กได้” จอห์น ไพค์ (John Pike ) ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการของเว็บไซต์ โกลบอลซีเคียวริตี้ดอตโออาร์จี (GlobalSecurity.org) บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ ครั้นเมื่อถามว่าชาวบ้านธรรมดาสามารถจินตนาการออกมาเป็นอะไรได้บ้าง หากจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับระดับความสามารถในการทำลายของหัวรบขนาด 120 กิโลกรัมอย่างของขีปนาวุธ เอชเอฟ - 3 ไพค์ก็ตอบแบบยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นกันชัดๆ ดังนี้ “มันจะสามารถทำลายอาคาร 5 ชั้นได้หลังหนึ่ง แต่คงไม่สามารถทำลายกลุ่มอาคารของมืองใหญ่ๆ ได้ทั้งแถบหรอก ขณะที่หลุมลึกที่เกิดจากการโจมตีจะยังไม่ทะลุทะลวงลงลึกถึงขี้นสร้างความเสียหายให้แก่สายทางของระบบรถไฟใต้ดิน”
ขณะที่กองทัพไต้หวันเอง ยังคงพยายามยืนยันว่าภาพจำลองการสู้รบที่ปรากฎอยู่ในโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์นั้น ไม่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสความเป็นไปได้เอาเสียเลย “ขีปนาวุธ เอชเอฟ-3 มีสมรรถนะในการทะลุทะลวงผ่านผิวชั้นนอกของเรือ จากนั้นจึงเข้าไประเบิดขึ้นตรงบริเวณภายในส่วนที่สำคัญต่าวๆ ของห้องเครื่องยนต์ ดังนั้นจึงสามารถก่อความเสียหายอย่างสูงสุด” นายทหารไต้หวันผู้หนึ่งกล่าวย้ำ
สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชุงซาน เริ่มต้นสร้างขีปนาวุธลาดตระเวน เอชเอฟ-3 เมื่อประมาณกลางทศวรรษที่แล้ว และได้เปิดเผยให้สาธารณชนทราบเป็นครั้งแรกในปี 2007 มีรายงานว่า เอชเอฟ-3 ซึ่งวางแผนกันไว้ว่าจะสามารถทำความเร็วได้ประมาณ 2,300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงสามารถเปรียบเทียบอย่างทัดเทียมได้กับขีปนาวุธต่อต้านเรือรบที่ผลิตโดยรัสเซียในรุ่น เอสเอส-เอ็น-22 ซันเบิร์น (SS-N-22 Sunburn) ทั้งนี้กำลังมีการนำ เอชเอฟ-3 ติดตั้งในเรือฟรีเกต ชั้นเพอร์รี (Perry-class) ของไต้หวันเพื่อทำการทดสอบ โดยที่มีแผนการจะนำไปติดตั้งในเรือรบประเภท คาตามารัน คอร์เวตต์ (catamaran corvette) ระวางขับน้ำ 500 ตันรุ่นใหม่ของตน ซึ่งจะมีเทคโนโลยีสุดไฮเทคอย่าง สเตลธ์ (stealth) ที่สามารถหลบหลีกการตรวจจับของเรดาร์ได้ เรือคาตามารัน คอร์เวตต์ รุ่นใหม่นี้ทางไต้หวันเป็นผู้พัฒนาขึ้นเอง โดยมีกำหนดที่จะสร้างเรือต้นแบบขึ้นมาให้เสร็จสิ้นภายในปี 2012 นอกจากนี้ไต้หวันยังมีแผนการนำ เอชเอฟ-3 ไปติดตั้งในเรือเล็กติดขีปนาวุธ (missile boat) รุ่นใหม่ที่เรียกว่ารุ่น กวงหวา-6 (Kuang Hua-6) ซึ่งได้เริ่มเข้าประจำการตั้งแต่ปีที่แล้ว
เยนส์ คาสต์เนอร์ เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในกรุงไทเป
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)