(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Hardy perennials block US-China light
By Jingdong Yuan
12/05/2011
มีความคืบหน้าไปพอประมาณในประเด็นเรื่องการเปิดตลาด และสายสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างประเทศทั้งสอง จากการที่สหรัฐฯกับจีนเปิดสนทนาหารือทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจประจำปีครั้งที่ 3 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ความก้าวหน้าเช่นนี้ย่อมเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่การเจรจารูปแบบดังกล่าว ในฐานะของเวทีเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติที่กำลังขยายตัวกว้างขวางออกไปทุกที ทั้งนี้แม้ปัญหายืดเยื้อเรื้อรังเก่าๆ เดิมๆ อย่างเรื่องสิทธิมนุษยชน และค่าเงินหยวนของจีน จะยังคงเป็นอุปสรรคขัดขวางที่สำคัญ แต่อย่างน้อยที่สุดก็มีบางสิ่งบางอย่างที่ก่อให้เกิดความหวังในทางสดใส
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ซิดนีย์, ออสเตรเลีย – จีนกับสหรัฐฯสามารถเพิ่มพูนปัจจัยแห่งความรู้สึกดีๆ ระหว่างกัน จากการที่มีความคืบหน้าในประเด็นปัญหาจำนวนหนึ่ง เป็นต้นว่าความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศทั้งสอง ซึ่งบัดนี้มีฐานะเป็นระบบเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 1 และอันดับ 2 ของโลกแล้ว ทั้งนี้ภายหลังจากที่พวกเขาได้เปิดการพูดจาหารือประจำปีของพวกเขา โดยในครั้งนี้เป็นการประชุมรูปแบบนี้ครั้งที่ 3 อย่างไรก็ดี ในอีกด้านหนึ่งทั้งสองประเทศก็ยังคงยืนกรานจุดยืนเดิมของตนเองอย่างเหนียวแน่นในปัญหาสำคัญๆ หลายเรื่อง ซึ่งรวมถึงการที่อเมริกาแสดงความไม่พอใจอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับมูลค่าของสกุลเงินตราของจีน
ระหว่างการประชุมประจำปีที่ใช้ชื่อว่า การสนทนาทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจสหรัฐฯ-จีน (United States-China Strategic and Economic Dialogue ใช้อักษรย่อว่า SED) ที่กรุงวอชิงตัน เป็นเวลา 2 วันซึ่งสิ้นสุดลงในวันอังคาร(10) มีความคืบหน้าไปพอประมาณในเรื่องการเข้าถึงตลาด, การลงทุน, การคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา, รวมทั้งมีการให้คำมั่นสัญญาที่จะเพิ่มพูนการปรึกษาหารือกันในด้านการทหารและกิจการต่างๆ ในระดับภูมิภาคให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น, ตลอดจนการหาทางปฏิบัติให้เป็นไปตามกรอบโครงอันรอบด้านกว้างขวาง ที่มุ่งกระชับความร่วมมือระดับทวิภาคีให้มั่นคงแน่นหนาขึ้นอีก
ทั้งสองฝ่ายมี “ความก้าวหน้าไปอย่างสำคัญยิ่ง” ในเรื่องนโยบายทางเศรษฐกิจ รัฐมนตรีคลัง ทิโมธี ไกธ์เนอร์ (Timothy Geithner) ของสหรัฐฯแถลงเอาไว้เช่นนี้ พร้อมกับยกตัวอย่างความเคลื่อนไหวหลายๆ ประการในเรื่องความโปร่งใส ขณะที่รองนายกรัฐมนตรี หวัง ฉีซาน (Wang Qishan) ของจีนพูดถึงการประชุมหารือคราวนี้ว่า เป็น “ความสำเร็จ” โดยเขาบอกว่าทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องต้องกันที่จะ “ปฏิเสธลัทธิกีดกันการค้า” เขายังกล่าวอีกว่ารัฐบาลจีนจะเปิดประตูต้อนรับพวกบริษัทสหรัฐฯเข้าไปลงทุนในแดนมังกรให้มากยิ่งขึ้น
สำหรับประเด็นปัญหายืดเยื้อเรื้อรัง 2 เรื่อง อันได้แก่ มูลค่าของสกุลเงินตราของจีน, และการเคารพสิทธิมนุษยชนของแดนมังกรนั้น ยังคงเป็นสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในท่ามกลางความสัมพันธ์ที่กำลังเติบโตขยายตัวไปอย่างมากมายกว้างขวาง ทั้งนี้วอชิงตันมองการได้เปรียบดุลการค้าอย่างมหาศาลของจีนว่า เป็นอาการที่แสดงให้เห็นถึงการที่ปักกิ่งยังคงกดค่าเงินหยวนของตนให้ต่ำกว่าความเป็นจริงอยู่ต่อไป โดยขุนคลังไกธ์เนอร์กล่าวว่า เขามีความหวังลดน้อยลงในเรื่องเกี่ยวกับความคืบหน้าของการปรับขึ้นค่าเงินหยวน พร้อมกับเสริมว่าเขาหวังให้จีนเร่งความเร็วในการปรับค่าเงินตราของตนให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (People's Bank of China) ซึ่งเป็นแบงก์ชาติของแดนมังกร ได้ปล่อยให้เงินหยวนมีค่าสูงขึ้น 0.9% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา นับเป็นฝีก้าวการปรับเพิ่มค่าที่เร็วที่สุดของปีนี้ หลังจากที่มีพวกเจ้าหน้าที่ระดับวางนโยบายหลายรายออกมาส่งสัญญาณว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรานั้นสามารถที่จะใช้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ในการจำกัดผลกระทบจากการที่พวกสินค้าโภคภัณฑ์ที่นำเข้ากำลังขยับราคาสูงขึ้นไป ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก
บลูมเบิร์กยังรายงานความเห็นของ หลิว หลี่กัง (Liu Li- gang) หัวหน้านักเศรษฐกิจด้านจีน ณ ธนาคารออสเตรเลีย แอนด์ นิวซีแลนด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป (Australia & New Zealand Banking Group) สาขาฮ่องกง ที่กล่าวว่า เนื่องจากเวลานี้มาตรการการขึ้นอัตราดอกเบี้ย และการเพิ่มสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง กำลังเริ่มแสดงให้เห็นว่าได้ผลน้อยลงไปเรื่อยๆ แล้ว ดังนั้น พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีนจะต้องหันมาพึ่งพาอาศัยนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น และยอมปล่อยให้เงินหยวนปรับค่าแข็งด้วยอัตรารวดเร็วยิ่งขึ้น จะได้ช่วยตีกรอบควบคุมอัตราเงินเฟ้อจากสินค้านำเข้า
สำหรับ ดอยช์ แบงก์ (Deutsche Bank) มองว่า เงินหยวนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ จะขยับขึ้นด้วยอัตราเท่ากับปีละ 7 – 10% ทีเดียว ในช่วงเวลา 2 เดือนข้างหน้านี้ เพื่อแสดงบทบาทในการลดต้นทุนของการนำเข้า ทั้งนี้ตามรายงานของบลูมเบิร์กเช่นเดียวกัน ขณะที่ แคปิตอล อีโคโนมิกส์ (Capital Economics) ทำนายว่าเงินหยวนจะแข็งขึ้นด้วยอัตราเท่ากับปีละ 8% ในระยะเวลา 6 เดือนจากนี้ไป จนกว่าอันตรายของเงินเฟ้อจะคลี่คลายลง
ถึงแม้ประเด็นปัญหาเรื่องเงินตรายังคงไม่ค่อยมีความคืบหน้าก็ตามที แต่อย่างน้อยที่สุดก็มีการกำหนดหลักหมายขึ้นมา เพื่อให้ปักกิ่งและวอชิงตันสามารถดำเนินจังหวะก้าวเป็นพิเศษต่างๆ เพื่อจัดการกับปัญหานี้ ตลอดจนความวิตกกังวลในเรื่องอื่นๆ โดยที่ในตอนสรุปปิดท้ายการหารือคราวนี้ ได้มีการเปิดตัวเอกสารที่ใช้ชื่อว่า “กรอบโครงรอบด้านสำหรับสหรัฐฯ-จีนเพื่อการส่งเสริมความเจริญเติบโตอย่างเข้มแข็ง, ยั่งยืน, และสมดุล และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ” (US-China Comprehensive Framework for Promoting Strong, Sustainable and Balanced Growth and Economic Cooperation)
เอกสารสำคัญฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะหาทางสร้างกลไกเพื่อการแก้ไขประเด็นปัญหาสำคัญๆ ที่ยังคงติดขัดยืดเยื้ออยู่เป็นปีๆ แล้วในวาระทางเศรษฐกิจระดับทวิภาคี ประเด็นปัญหาเหล่านี้มีดังเช่น การเข้าถึงตลาด, การคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา, การได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในด้านการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐและในเรื่องบริการต่างๆ ทางการเงิน, ฐานะการเป็นระบบเศรษฐกิจแบบตลาด, และข้อจำกัดในการส่งออก
กรอบโครงฉบับนี้ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการกระชับความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯกับจีนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ด้วยการทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมทางการเงินระหว่างประเทศอันมีเสถียรภาพ, การทำให้จีนมีบทบาทใหญ่โตมากขึ้นในกิจการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ, และการให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องแก่การร่วมส่วนของสหรัฐฯในเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรืองในระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
เมื่อชั่งน้ำหนักประเด็นต่างๆ ที่หารือกันโดยรวมแล้ว การประชุม SED คราวนี้ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่เริ่มต้นขึ้นมาในปี 2009 นับว่าได้เกิดความคืบหน้าไปอย่างสำคัญ นอกจากนั้นแล้ว ครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่มีคณะผู้แทนทางทหารระดับสูงจากทั้งสองฝ่ายเข้าร่วมการเจรจาด้วย ซึ่งเป็นการก้าวไปข้างหน้าอย่างมีความหมายยิ่งในปฏิสัมพันธ์ในรูปลักษณ์ทหารต่อทหาร ขณะที่อีกจุดหนึ่งที่สำคัญก็คือได้มีการจัดทำกรอบเพื่อการปรึกษาหารือระดับทวิภาคีว่าด้วยภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องยอมรับกันว่า สิ่งที่ได้มาจากการประชุมคราวนี้ อยู่ในลักษณะของคำมั่นสัญญาที่จะลงมือกระทำการต่างๆ ในอนาคต มากกว่าผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและเฉพาะเจาะจง ทว่านั่นก็เป็นสิ่งที่ควรคาดหมายเอาไว้ก่อนแล้ว และเมื่อพิจารณากันโดยองค์รวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขอบเขตของประเด็นปัญหาที่สนทนากัน, ความลึกซึ้งของการอภิปรายหารือ, ตลอดจนแวดวงของผู้ที่เข้าร่วม ก็จะเห็นได้ว่ามิติต่างๆ เหล่านี้ของการประชุม SED ในปีนี้ เหนือล้ำกว่าของการหารือในปีก่อนๆ และรูปแบบของการสนทนาเช่นนี้ก็กำลังกลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ปักกิ่งกับวอชิงตันเข้าผูกพันและมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในระดับทวิภาคี, ระดับภูมิภาค, และระดับโลก
แล้วยังมีอะไรอีกที่ถือว่ายังคงขาดหายไปจากการประชุม SED? สหรัฐอเมริกากับจีนนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องรับมือและบริหารจัดการชุดประเด็นปัญหารวม 4 ชุดซึ่งจะทรงความสำคัญอย่างยิ่งยวดในช่วงระยะเวลา 2 ปีข้างหน้านี้
ชุดประเด็นปัญหาชุดแรกสุดและสำคัญที่สุด เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและเจตนารมณ์ทางยุทธศาสตร์ของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ถึงแม้สงครามเย็นจะได้สิ้นสุดลงไปแล้วมากกว่า 20 ปี ทว่าจีนและสหรัฐฯก็ยังไม่สามารถที่จะข้ามพ้นความรู้สึกไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันของพวกเขา เพื่อที่จะได้สถาปนารากฐานอันแข็งแกร่งแห่งความไว้เนื้อเชื่อใจกันและความเชื่อมั่นในกันและกันขึ้นมาให้สำเร็จ
ขณะที่ถ้อยคำโวหารจากเมืองหลวงทั้งสอง มักระบุย้ำเน้นถึงความสำคัญของการมีความสัมพันธ์แบบทวิภาคีที่มีเสถียรภาพ และไม่มีฝ่ายใดเลยที่ระบุว่าอีกฝ่ายหนึ่งคือศัตรู แต่มันก็เป็นที่กระจ่างชัดอยู่ดีว่า ความขุ่นข้องหมองใจอันฝังรากลึก และการมุ่งหน้าสกัดขัดขวางกันอย่างโจ่งแจ้ง ยังคงมีเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลสูงมากในการกำหนดนโยบายต่ออีกฝ่ายหนึ่งของทั้งสองประเทศ จีนนั้นยังคงรู้สึกถูกสบประมาทจากการที่สหรัฐฯขายอาวุธให้แก่ไต้หวัน ตลอดจนการที่วอชิงตันเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มพันธมิตรทางทหาร และกลุ่มความร่วมมือของ(รัฐประชาธิปไตย)ผู้มีเจตนารมณ์ร่วมกัน ซึ่งมีสหรัฐฯเป็นศูนย์กลาง (US-centered military alliances and coalitions of the willing (democracies))
ส่วนในอีกด้านหนึ่ง ก็เห็นได้ชัดเจนว่าวอชิงตันรู้สึกกังวลใจเกี่ยวกับการที่จีนกำลังเร่งปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่กองทัพปลดแอกประชาชนจีน เร่งพัฒนาสมรรถนะแบบอสมมาตร (asymmetrical capabilities นั่นคือ มุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถทางทหารในบางด้านจนอยู่ในระดับชั้นนำของโลก ถึงแม้ในด้านอื่นๆ อาจจะยังล้าหลังอย่างมาก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดจุดแข็งซึ่งทรงความสำคัญในระดับยุทธศาสตร์ -หมายเหตุผู้แปล), รวมทั้งการที่จีนกำลังแสดงท่าทียืนกรานอ้างสิทธิ์ของตนเองอย่างแข็งกร้าวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดจนมีอารมณ์ความรู้สึกแบบลัทธิชาตินิยมมากขึ้นทุกที ในเวลาจัดการกับข้อพิพาทเรื่องดินแดนในภูมิภาคแถบนี้ มีความเป็นไปได้สูงขึ้นมากทีเดียว ที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาอาจจะบานปลายขยายตัวในเชิงการทหาร ทั้งนี้ถ้าหากพิจารณาถึงการสั่งสมแสนยานุภาพทางนาวีของจีน ขณะที่สหรัฐฯก็ยังคงดำเนินการเฝ้าติดตามและตรวจการณ์อย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อน ตลอดจนสหรัฐฯยังคงมีแสนยานุภาพทางทหารอย่างมากมาย อยู่ในแถบซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก
เห็นได้อย่างชัดเจนทีเดียว่า กรอบโครงการแลกเปลี่ยนแบบทหารต่อทหารระหว่างสหรัฐฯกับจีนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ถึงแม้มีประโยชน์แต่ก็ยังไม่น่าจะเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงเดิมพันอันมหาศาลและความเสี่ยงอันมากมายที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้เอง การนำเอาส่วนประกอบด้านยุทธศาสตร์ทางการทหารเข้ามาร่วมอยู่ในการประชุม SED ด้วย จึงควรถือเป็นการก้าวไปข้างหน้าที่ดีมากก้าวหนึ่ง ทว่ายังจำเป็นต้องทำอะไรยิ่งกว่านี้อีกมาก โดยอย่างน้อยที่สุดก็สมควรที่จะพัฒนากลไกในเรื่องการบริหารจัดการวิกฤต และกลไกในการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามบานปลาย ให้มีความทะมัดทะแมงใช้การได้มากยิ่งขึ้น
ดร.จินตง หยวน เป็นรองศาสตราจารย์อยู่ที่ ศูนย์เพื่อการศึกษาด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ (Center for International Security Studies) มหาวิทยาลัยซิดนีย์
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
Hardy perennials block US-China light
By Jingdong Yuan
12/05/2011
มีความคืบหน้าไปพอประมาณในประเด็นเรื่องการเปิดตลาด และสายสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างประเทศทั้งสอง จากการที่สหรัฐฯกับจีนเปิดสนทนาหารือทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจประจำปีครั้งที่ 3 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ความก้าวหน้าเช่นนี้ย่อมเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่การเจรจารูปแบบดังกล่าว ในฐานะของเวทีเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติที่กำลังขยายตัวกว้างขวางออกไปทุกที ทั้งนี้แม้ปัญหายืดเยื้อเรื้อรังเก่าๆ เดิมๆ อย่างเรื่องสิทธิมนุษยชน และค่าเงินหยวนของจีน จะยังคงเป็นอุปสรรคขัดขวางที่สำคัญ แต่อย่างน้อยที่สุดก็มีบางสิ่งบางอย่างที่ก่อให้เกิดความหวังในทางสดใส
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ซิดนีย์, ออสเตรเลีย – จีนกับสหรัฐฯสามารถเพิ่มพูนปัจจัยแห่งความรู้สึกดีๆ ระหว่างกัน จากการที่มีความคืบหน้าในประเด็นปัญหาจำนวนหนึ่ง เป็นต้นว่าความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศทั้งสอง ซึ่งบัดนี้มีฐานะเป็นระบบเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 1 และอันดับ 2 ของโลกแล้ว ทั้งนี้ภายหลังจากที่พวกเขาได้เปิดการพูดจาหารือประจำปีของพวกเขา โดยในครั้งนี้เป็นการประชุมรูปแบบนี้ครั้งที่ 3 อย่างไรก็ดี ในอีกด้านหนึ่งทั้งสองประเทศก็ยังคงยืนกรานจุดยืนเดิมของตนเองอย่างเหนียวแน่นในปัญหาสำคัญๆ หลายเรื่อง ซึ่งรวมถึงการที่อเมริกาแสดงความไม่พอใจอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับมูลค่าของสกุลเงินตราของจีน
ระหว่างการประชุมประจำปีที่ใช้ชื่อว่า การสนทนาทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจสหรัฐฯ-จีน (United States-China Strategic and Economic Dialogue ใช้อักษรย่อว่า SED) ที่กรุงวอชิงตัน เป็นเวลา 2 วันซึ่งสิ้นสุดลงในวันอังคาร(10) มีความคืบหน้าไปพอประมาณในเรื่องการเข้าถึงตลาด, การลงทุน, การคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา, รวมทั้งมีการให้คำมั่นสัญญาที่จะเพิ่มพูนการปรึกษาหารือกันในด้านการทหารและกิจการต่างๆ ในระดับภูมิภาคให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น, ตลอดจนการหาทางปฏิบัติให้เป็นไปตามกรอบโครงอันรอบด้านกว้างขวาง ที่มุ่งกระชับความร่วมมือระดับทวิภาคีให้มั่นคงแน่นหนาขึ้นอีก
ทั้งสองฝ่ายมี “ความก้าวหน้าไปอย่างสำคัญยิ่ง” ในเรื่องนโยบายทางเศรษฐกิจ รัฐมนตรีคลัง ทิโมธี ไกธ์เนอร์ (Timothy Geithner) ของสหรัฐฯแถลงเอาไว้เช่นนี้ พร้อมกับยกตัวอย่างความเคลื่อนไหวหลายๆ ประการในเรื่องความโปร่งใส ขณะที่รองนายกรัฐมนตรี หวัง ฉีซาน (Wang Qishan) ของจีนพูดถึงการประชุมหารือคราวนี้ว่า เป็น “ความสำเร็จ” โดยเขาบอกว่าทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องต้องกันที่จะ “ปฏิเสธลัทธิกีดกันการค้า” เขายังกล่าวอีกว่ารัฐบาลจีนจะเปิดประตูต้อนรับพวกบริษัทสหรัฐฯเข้าไปลงทุนในแดนมังกรให้มากยิ่งขึ้น
สำหรับประเด็นปัญหายืดเยื้อเรื้อรัง 2 เรื่อง อันได้แก่ มูลค่าของสกุลเงินตราของจีน, และการเคารพสิทธิมนุษยชนของแดนมังกรนั้น ยังคงเป็นสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในท่ามกลางความสัมพันธ์ที่กำลังเติบโตขยายตัวไปอย่างมากมายกว้างขวาง ทั้งนี้วอชิงตันมองการได้เปรียบดุลการค้าอย่างมหาศาลของจีนว่า เป็นอาการที่แสดงให้เห็นถึงการที่ปักกิ่งยังคงกดค่าเงินหยวนของตนให้ต่ำกว่าความเป็นจริงอยู่ต่อไป โดยขุนคลังไกธ์เนอร์กล่าวว่า เขามีความหวังลดน้อยลงในเรื่องเกี่ยวกับความคืบหน้าของการปรับขึ้นค่าเงินหยวน พร้อมกับเสริมว่าเขาหวังให้จีนเร่งความเร็วในการปรับค่าเงินตราของตนให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (People's Bank of China) ซึ่งเป็นแบงก์ชาติของแดนมังกร ได้ปล่อยให้เงินหยวนมีค่าสูงขึ้น 0.9% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา นับเป็นฝีก้าวการปรับเพิ่มค่าที่เร็วที่สุดของปีนี้ หลังจากที่มีพวกเจ้าหน้าที่ระดับวางนโยบายหลายรายออกมาส่งสัญญาณว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรานั้นสามารถที่จะใช้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ในการจำกัดผลกระทบจากการที่พวกสินค้าโภคภัณฑ์ที่นำเข้ากำลังขยับราคาสูงขึ้นไป ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก
บลูมเบิร์กยังรายงานความเห็นของ หลิว หลี่กัง (Liu Li- gang) หัวหน้านักเศรษฐกิจด้านจีน ณ ธนาคารออสเตรเลีย แอนด์ นิวซีแลนด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป (Australia & New Zealand Banking Group) สาขาฮ่องกง ที่กล่าวว่า เนื่องจากเวลานี้มาตรการการขึ้นอัตราดอกเบี้ย และการเพิ่มสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง กำลังเริ่มแสดงให้เห็นว่าได้ผลน้อยลงไปเรื่อยๆ แล้ว ดังนั้น พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีนจะต้องหันมาพึ่งพาอาศัยนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น และยอมปล่อยให้เงินหยวนปรับค่าแข็งด้วยอัตรารวดเร็วยิ่งขึ้น จะได้ช่วยตีกรอบควบคุมอัตราเงินเฟ้อจากสินค้านำเข้า
สำหรับ ดอยช์ แบงก์ (Deutsche Bank) มองว่า เงินหยวนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ จะขยับขึ้นด้วยอัตราเท่ากับปีละ 7 – 10% ทีเดียว ในช่วงเวลา 2 เดือนข้างหน้านี้ เพื่อแสดงบทบาทในการลดต้นทุนของการนำเข้า ทั้งนี้ตามรายงานของบลูมเบิร์กเช่นเดียวกัน ขณะที่ แคปิตอล อีโคโนมิกส์ (Capital Economics) ทำนายว่าเงินหยวนจะแข็งขึ้นด้วยอัตราเท่ากับปีละ 8% ในระยะเวลา 6 เดือนจากนี้ไป จนกว่าอันตรายของเงินเฟ้อจะคลี่คลายลง
ถึงแม้ประเด็นปัญหาเรื่องเงินตรายังคงไม่ค่อยมีความคืบหน้าก็ตามที แต่อย่างน้อยที่สุดก็มีการกำหนดหลักหมายขึ้นมา เพื่อให้ปักกิ่งและวอชิงตันสามารถดำเนินจังหวะก้าวเป็นพิเศษต่างๆ เพื่อจัดการกับปัญหานี้ ตลอดจนความวิตกกังวลในเรื่องอื่นๆ โดยที่ในตอนสรุปปิดท้ายการหารือคราวนี้ ได้มีการเปิดตัวเอกสารที่ใช้ชื่อว่า “กรอบโครงรอบด้านสำหรับสหรัฐฯ-จีนเพื่อการส่งเสริมความเจริญเติบโตอย่างเข้มแข็ง, ยั่งยืน, และสมดุล และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ” (US-China Comprehensive Framework for Promoting Strong, Sustainable and Balanced Growth and Economic Cooperation)
เอกสารสำคัญฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะหาทางสร้างกลไกเพื่อการแก้ไขประเด็นปัญหาสำคัญๆ ที่ยังคงติดขัดยืดเยื้ออยู่เป็นปีๆ แล้วในวาระทางเศรษฐกิจระดับทวิภาคี ประเด็นปัญหาเหล่านี้มีดังเช่น การเข้าถึงตลาด, การคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา, การได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในด้านการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐและในเรื่องบริการต่างๆ ทางการเงิน, ฐานะการเป็นระบบเศรษฐกิจแบบตลาด, และข้อจำกัดในการส่งออก
กรอบโครงฉบับนี้ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการกระชับความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯกับจีนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ด้วยการทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมทางการเงินระหว่างประเทศอันมีเสถียรภาพ, การทำให้จีนมีบทบาทใหญ่โตมากขึ้นในกิจการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ, และการให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องแก่การร่วมส่วนของสหรัฐฯในเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรืองในระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
เมื่อชั่งน้ำหนักประเด็นต่างๆ ที่หารือกันโดยรวมแล้ว การประชุม SED คราวนี้ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่เริ่มต้นขึ้นมาในปี 2009 นับว่าได้เกิดความคืบหน้าไปอย่างสำคัญ นอกจากนั้นแล้ว ครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่มีคณะผู้แทนทางทหารระดับสูงจากทั้งสองฝ่ายเข้าร่วมการเจรจาด้วย ซึ่งเป็นการก้าวไปข้างหน้าอย่างมีความหมายยิ่งในปฏิสัมพันธ์ในรูปลักษณ์ทหารต่อทหาร ขณะที่อีกจุดหนึ่งที่สำคัญก็คือได้มีการจัดทำกรอบเพื่อการปรึกษาหารือระดับทวิภาคีว่าด้วยภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องยอมรับกันว่า สิ่งที่ได้มาจากการประชุมคราวนี้ อยู่ในลักษณะของคำมั่นสัญญาที่จะลงมือกระทำการต่างๆ ในอนาคต มากกว่าผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและเฉพาะเจาะจง ทว่านั่นก็เป็นสิ่งที่ควรคาดหมายเอาไว้ก่อนแล้ว และเมื่อพิจารณากันโดยองค์รวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขอบเขตของประเด็นปัญหาที่สนทนากัน, ความลึกซึ้งของการอภิปรายหารือ, ตลอดจนแวดวงของผู้ที่เข้าร่วม ก็จะเห็นได้ว่ามิติต่างๆ เหล่านี้ของการประชุม SED ในปีนี้ เหนือล้ำกว่าของการหารือในปีก่อนๆ และรูปแบบของการสนทนาเช่นนี้ก็กำลังกลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ปักกิ่งกับวอชิงตันเข้าผูกพันและมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในระดับทวิภาคี, ระดับภูมิภาค, และระดับโลก
แล้วยังมีอะไรอีกที่ถือว่ายังคงขาดหายไปจากการประชุม SED? สหรัฐอเมริกากับจีนนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องรับมือและบริหารจัดการชุดประเด็นปัญหารวม 4 ชุดซึ่งจะทรงความสำคัญอย่างยิ่งยวดในช่วงระยะเวลา 2 ปีข้างหน้านี้
ชุดประเด็นปัญหาชุดแรกสุดและสำคัญที่สุด เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและเจตนารมณ์ทางยุทธศาสตร์ของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ถึงแม้สงครามเย็นจะได้สิ้นสุดลงไปแล้วมากกว่า 20 ปี ทว่าจีนและสหรัฐฯก็ยังไม่สามารถที่จะข้ามพ้นความรู้สึกไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันของพวกเขา เพื่อที่จะได้สถาปนารากฐานอันแข็งแกร่งแห่งความไว้เนื้อเชื่อใจกันและความเชื่อมั่นในกันและกันขึ้นมาให้สำเร็จ
ขณะที่ถ้อยคำโวหารจากเมืองหลวงทั้งสอง มักระบุย้ำเน้นถึงความสำคัญของการมีความสัมพันธ์แบบทวิภาคีที่มีเสถียรภาพ และไม่มีฝ่ายใดเลยที่ระบุว่าอีกฝ่ายหนึ่งคือศัตรู แต่มันก็เป็นที่กระจ่างชัดอยู่ดีว่า ความขุ่นข้องหมองใจอันฝังรากลึก และการมุ่งหน้าสกัดขัดขวางกันอย่างโจ่งแจ้ง ยังคงมีเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลสูงมากในการกำหนดนโยบายต่ออีกฝ่ายหนึ่งของทั้งสองประเทศ จีนนั้นยังคงรู้สึกถูกสบประมาทจากการที่สหรัฐฯขายอาวุธให้แก่ไต้หวัน ตลอดจนการที่วอชิงตันเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มพันธมิตรทางทหาร และกลุ่มความร่วมมือของ(รัฐประชาธิปไตย)ผู้มีเจตนารมณ์ร่วมกัน ซึ่งมีสหรัฐฯเป็นศูนย์กลาง (US-centered military alliances and coalitions of the willing (democracies))
ส่วนในอีกด้านหนึ่ง ก็เห็นได้ชัดเจนว่าวอชิงตันรู้สึกกังวลใจเกี่ยวกับการที่จีนกำลังเร่งปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่กองทัพปลดแอกประชาชนจีน เร่งพัฒนาสมรรถนะแบบอสมมาตร (asymmetrical capabilities นั่นคือ มุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถทางทหารในบางด้านจนอยู่ในระดับชั้นนำของโลก ถึงแม้ในด้านอื่นๆ อาจจะยังล้าหลังอย่างมาก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดจุดแข็งซึ่งทรงความสำคัญในระดับยุทธศาสตร์ -หมายเหตุผู้แปล), รวมทั้งการที่จีนกำลังแสดงท่าทียืนกรานอ้างสิทธิ์ของตนเองอย่างแข็งกร้าวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดจนมีอารมณ์ความรู้สึกแบบลัทธิชาตินิยมมากขึ้นทุกที ในเวลาจัดการกับข้อพิพาทเรื่องดินแดนในภูมิภาคแถบนี้ มีความเป็นไปได้สูงขึ้นมากทีเดียว ที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาอาจจะบานปลายขยายตัวในเชิงการทหาร ทั้งนี้ถ้าหากพิจารณาถึงการสั่งสมแสนยานุภาพทางนาวีของจีน ขณะที่สหรัฐฯก็ยังคงดำเนินการเฝ้าติดตามและตรวจการณ์อย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อน ตลอดจนสหรัฐฯยังคงมีแสนยานุภาพทางทหารอย่างมากมาย อยู่ในแถบซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก
เห็นได้อย่างชัดเจนทีเดียว่า กรอบโครงการแลกเปลี่ยนแบบทหารต่อทหารระหว่างสหรัฐฯกับจีนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ถึงแม้มีประโยชน์แต่ก็ยังไม่น่าจะเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงเดิมพันอันมหาศาลและความเสี่ยงอันมากมายที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้เอง การนำเอาส่วนประกอบด้านยุทธศาสตร์ทางการทหารเข้ามาร่วมอยู่ในการประชุม SED ด้วย จึงควรถือเป็นการก้าวไปข้างหน้าที่ดีมากก้าวหนึ่ง ทว่ายังจำเป็นต้องทำอะไรยิ่งกว่านี้อีกมาก โดยอย่างน้อยที่สุดก็สมควรที่จะพัฒนากลไกในเรื่องการบริหารจัดการวิกฤต และกลไกในการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามบานปลาย ให้มีความทะมัดทะแมงใช้การได้มากยิ่งขึ้น
ดร.จินตง หยวน เป็นรองศาสตราจารย์อยู่ที่ ศูนย์เพื่อการศึกษาด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ (Center for International Security Studies) มหาวิทยาลัยซิดนีย์
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)