(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Breathing space for Beijing
By Olivia Chung
12/04/2011
จีนแถลงการขาดดุลการค้าเป็นไตรมาสแรกในรอบระยะเวลา 7 ปี (ไม่กี่วันก่อนที่สหรัฐฯจะตีพิมพ์เผยแพร่รายงานฉบับสำคัญว่าด้วยอัตราแลกเปลี่ยน) เรื่องนี้ควรที่จะช่วยผ่อนคลายแรงกดดันที่ถาโถมใส่ปักกิ่งเพื่อให้ยินยอมปล่อยเงินหยวนปรับเพิ่มค่าขึ้นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาแห่งการหยุดพักหายใจเช่นนี้อาจจะไม่ได้ยาวนานอะไรนัก ในเมื่อตัวเลขรายเดือนกำลังแสดงแนวโน้มให้เห็นว่าแดนมังกรกำลังกลับมาได้เปรียบดุลอีกคำรบหนึ่งแล้ว
ฮ่องกง –ประเทศจีนเผยแพร่รายงานในสัปดาห์นี้ที่ระบุว่า แดนมังกรประสบการขาดดุลการค้าเป็นไตรมาสแรกในรอบระยะเวลา 7 ปี เนื่องจากการนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่าการส่งออก ท่ามกลางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ต่างกำลังพุ่งขึ้นสูง เห็นกันว่าตัวเลขดังกล่าวนี้น่าจะช่วยผ่อนคลายแรงกดดันระหว่างประเทศที่ต้องการให้แดนมังกรปรับเพิ่มค่าเงินหยวนด้วยความรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ถึงแม้พวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลตลอดจนนักวิเคราะห์ต่างก็เชื่อว่า ภาวะการขาดดุลเช่นนี้คงจะเป็นเพียงเรื่องชั่วคราวเท่านั้น
แดนมังกรซึ่งเวลามีฐานะเป็นระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกแล้ว รายงานว่าในช่วงไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม) ปีนี้ ตนขาดดุลการค้าเป็นจำนวน 1,020 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นการขาดดุลครั้งแรกหลังจากที่เคยเสียเปรียบดุลไป 8,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2004 ก่อนหน้านี้ 1 ปี คือ ไตรมาสแรกของปี 2010 นั้น จีนอยู่ในฐานะได้เปรียบดุลถึง 13,900 ล้านดอลลาร์ทีเดียว
“(การที่จีน)มีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจและการบริโภคภายในประเทศที่แข็งแกร่ง, การแข็งค่าขึ้นของเงินหยวน ซึ่งทำให้ราคาสินค้านำเข้าลดต่ำลง, และการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างพุ่งทะยานขึ้นในทั่วโลก คือปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้เกิดการพุ่งลิ่วของมูลค่าการนำเข้า ดังนั้นจึงส่งผลให้เกิดการเสียเปรียบดุลการค้าขึ้นมา” เจิ้ง เยว่เซิง (Zheng Yuesheng) อธิบดีกรมสถิติ แห่งสำนักงานศุลกากรใหญ่ (General Administration of Customs) ชี้แจง
ตามตัวเลขของสำนักงานศุลกากรใหญ่ ยอดการนำเข้าในรอบ 3 เดือนแรกปีนี้พุ่งขึ้นสูงกว่าระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนถึง 32.6% มาอยู่ที่ 400,660 ล้านหยวน (61,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นมากกว่าระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน 26.5% มาอยู่ที่ 399,640 ล้านหยวน
โจว สือเจียน (Zhou Shijian) นักวิจัยอาวุโสทางด้านความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ แห่งมหาวิทยาลัยชิงหวา (Tsinghua University) บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ว่า การที่แดนมังกรขาดดุลการค้าเช่นนี้ อาจจะส่งผลลัพธ์กลายเป็นการผ่อนคลายแรงกดดันที่จะให้จีนปรับขึ้นค่าเงินหยวนอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
“การขาดดุลในไตรมาสแรกเช่นนี้เป็นการส่งสัญญาณออกไปในทางบวกว่า การนำเข้าและการส่งออกของจีนกำลังมุ่งไปสู่ทิศทางของความสมดุล และดังนั้นเงินหยวนจึงไม่ได้มีมูลค่าต่ำเกินไปเลย ... จีนไม่ได้มีความมุ่งหมายที่จะให้ตนเองได้เปรียบดุลการค้า ดังนั้นข้อกล่าวหาจากบางประเทศที่ว่าจีนกำลังปั่นค่าเงินตราของตนเอง จึงไม่มีมูลเลย” เขากล่าว
ทั้งนี้สหรัฐฯคือหนึ่งในประดาประเทศที่พยายามกดดันบีบคั้นจีนให้ยินยอมปล่อยเงินหยวนปรับค่าขึ้นไปด้วยอัตรารวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้ช่วงห่างความไม่สมดุลทางการค้าของประเทศเหล่านี้ลดน้อยลง
กระทรวงการคลังของสหรัฐฯเองกำลังเตรียมที่จะเผยแพร่รายงานว่าด้วยนโยบายทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยน (International Economic and Exchange Rate Policies) ของตนในวันที่ 15 เมษายนนี้ ซึ่งถ้าหากฉบับล่าสุดนี้มีเนื้อหาที่อิงอยู่กับรายงานเช่นนี้ที่เคยจัดทำมาในปีก่อนๆ แล้ว ก็จะต้องมีการถกเถียงอภิปรายกันในประเด็นว่า จีนมีการปั่นค่าเงินตราของตนเพื่อให้อยู่ในฐานะเป็นฝ่ายได้เปรียบอย่างไม่เป็นธรรม ในทางการค้าระหว่างประเทศหรือไม่
“การที่สหรัฐฯคาดหวังว่าจะมีการปรับเพิ่มค่าเงินหยวนอย่างรวดเร็วมากขึ้นนั้น เป็นการคาดหมายที่ไม่สมเหตุสมผลเอาเสียใด” โจวให้ความเห็น ยิ่งในสภาพที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์กำลังทะยานขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสินแร่เหล็ก, น้ำมันดิบ, หรือถั่วเหลือง พวกวิสาหกิจในจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งยังต้องประสบความลำบากจากภาวะขาดแคลนแรงงานและระดับค่าจ้างที่กำลังทวีขึ้นเรื่อยๆ อยู่แล้ว จึงมีหวังที่“จะต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างใหญ่โตมโหฬารมากขึ้นไปอีก ถ้าหากเงินหยวนเกิดมีการเพิ่มค่าด้วยฝีก้าวที่รวดเร็วยิ่งขึ้น”
ณ วันศุกร์ (8) ที่ผ่านมา เงินหยวนซื้อขายกันในระดับ 6.5350 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในรอบ 17 ปีทีเดียว หากคำนวณในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา สกุลเงินตราของจีนก็แข็งค่าขึ้นมากว่า 4% และจะกลายเป็นประมาณ 26% ทีเดียวนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2005 เมื่อตอนที่จีนประกาศปฏิรูปนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินตราของตน
ขณะที่ทางด้านสินค้าโภคภัณฑ์นั้น ในระยะ 3 เดือนแรกของปีนี้ สินแร่เหล็กที่นำเข้ามาส่งให้แก่พวกโรงงานผลิตเหล็กกล้าของจีน มีปริมาณสูงขึ้น 14.4% เป็น 180 ล้านตัน ส่วนระดับราคาเฉลี่ยได้พุ่งพรวดขึ้นจากช่วงระยะเดียวกันของปีก่อนถึง 59.5% เป็น 156.5 ดอลลาร์ต่อตัน สำหรับถั่วเหลืองมีการนำเข้าเป็นปริมาณลดลง 0.7% เหลือ 10.96 ล้านตัน ทว่าระดับราคาเฉลี่ยก็กระโดดพรวดขึ้นไป 25.7% ทั้งนี้ตามตัวเลขที่แถลงโดยสำนักงานศุลกากรใหญ่
เมื่อพิจารณาจากคู่ค้าของแดนมังกร ในไตรมาสแรกปีนี้ การค้าที่จีนทำกับสหภาพยุโรปซึ่งมีฐานะเป็นคู่ค้าใหญ่ที่สุดของแดนมังกร ได้เพิ่มสูงขึ้นมาจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 22% เป็น 123,700 ล้านดอลลาร์ ขณะที่การค้ากับสหรัฐฯก็พุ่งพรวดขึ้น 25% เป็น 97,650 ล้านดอลลาร์ และการค้ากับญี่ปุ่นสูงขึ้น 27.1% เป็น 80,780 ล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ดี เถา หวัง (Tao Wang) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ด้านจีนของธนาคารยูบีเอส คาดหมายว่าตลอดทั้งปีนี้จีนจะยังคงมีการได้เปรียบดุลการค้า โดยอาจสูงถึง 150,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียว เนื่องจากปกติแล้วตัวเลขการส่งออกจะค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี และนี่ก็จะทำให้เกิดแรงกดดันระหว่างประเทศรอบใหม่ที่จะให้จีนปรับขึ้นค่าเงินหยวน เขาระบุพร้อมกับแสดงความเชื่อมั่นว่า ตลอดทั้งปีนี้เงินตราของจีนน่าจะแข็งค่าขึ้นราว 5% เมื่อเทียบกับดอลลาร์
หากเราจะพิจารณาตัวเลขดุลการค้าของจีนกันเป็นรายเดือน ก็จะพบว่าการได้เปรียบดุลการค้าเป็นจำนวน 140 ล้านดอลลาร์ในเดือนมกราคมและมีนาคมปีนี้ ได้ถูกบดบังจากการเสียเปรียบดุลไปถึง 7,300 ล้านดอลลาร์ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยที่เดือนกุมภาพันธ์เป็นช่วงที่การค้าลดต่ำลงมากเนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดเทศกาลตรุษจีน แต่หากดูเฉพาะเดือนมีนาคมเดือนเดียว ปรากฏว่ายอดการส่งออกสูงขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วถึง 35.8% ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้น 27.3%
ทั้งโจวและเจิ้งต่างเห็นพ้องกันว่า เมื่อปัจจัยที่มีลักษณะฤดูกาลหมดอิทธิพลลงไปแล้ว ในเดือนหลังๆ ของปีนี้จีนก็น่าจะกลับมาได้เปรียบดุลการค้าในแต่ละเดือนเพิ่มขึ้นอีก ถึงแม้อัตราการเพิ่มขึ้นอาจจะไม่รวดเร็วเท่าปีก่อนๆ
อันที่จริงในปี 2010 การได้เปรียบดุลการค้าของจีนก็ลดลงจากปีก่อนหน้า 6.4% เหลือ 183,100 ล้านดอลลาร์ ต่ำลงมาจากตัวเลข 196,000 ล้านดอลลาร์ที่ทำไว้ในปี 2009 ตลอดจนตัวเลขการได้เปรียบดุลสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 295,000 ล้านอลลาร์ในปี 2008
ในอีกด้านหนึ่ง เสิ่น เจี้ยนกวง (Shen Jianguang) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำฮ่องกงของบริษัทหลักทรัพย์มิซูโฮ ซีเคียวริตีส์ เอเชีย (Mizuho Securities Asia) มีความเห็นว่า การขาดดุลในไตรมาสแรกเช่นนี้ คือเครื่องสะท้อนให้เห็นความพยายามของจีนที่จะปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจของตนให้ลดการพึ่งพาอาศัยแต่การส่งออกและการลงทุนที่นำโดยรัฐบาล เขามองว่าการบริโภคภายในประเทศที่อยู่ในสภาพสดใสมาก ตลอดจนมาตรการจูงใจทางภาษีเพื่อกระตุ้นการนำเข้าซึ่งถูกนำออกมาใช้เมื่อเร็วๆ นี้ จะทำให้การได้เปรียบดุลการค้าของแดนมังกรลดต่ำลงได้
เขาชี้ต่อไปด้วยว่า อัตราเงินเฟ้อที่อิงตามราคาผู้บริโภคนั้นได้เพิ่มสูงขึ้นไปมาก ตลอดจนการที่มีสภาพคล่องเหลือล้นอยู่ในระบบการเงิน เหล่านี้ก็ได้ส่งผลเสมือนกับ “การปรับเพิ่มค่าเงินหยวนขึ้นมาในทางเป็นจริง” แล้ว
ประเทศจีนนั้นมีกำหนดที่จะเผยแพร่รายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในวันศุกร์ (15) นี้ โดยที่เสิ่นประมาณการว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index หรือ CPI) อันเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อตัวหลัก จะมีการขยับเพิ่มสูงขึ้นในระดับ 5.5% หรือ 6% ทีเดียวในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ในเดือนกุมภาพันธ์ ดัชนีราคาผู้บริโภคก็สูงขึ้น 4.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อันเป็นการล้ำเกินเป้าหมาย 4% ที่รัฐบาลตั้งเอาไว้เป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันแล้ว
โอลิเวีย ชุง เป็นผู้สื่อข่าวอาวุโสของเอเชียไทมส์ออนไลน์
Breathing space for Beijing
By Olivia Chung
12/04/2011
จีนแถลงการขาดดุลการค้าเป็นไตรมาสแรกในรอบระยะเวลา 7 ปี (ไม่กี่วันก่อนที่สหรัฐฯจะตีพิมพ์เผยแพร่รายงานฉบับสำคัญว่าด้วยอัตราแลกเปลี่ยน) เรื่องนี้ควรที่จะช่วยผ่อนคลายแรงกดดันที่ถาโถมใส่ปักกิ่งเพื่อให้ยินยอมปล่อยเงินหยวนปรับเพิ่มค่าขึ้นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาแห่งการหยุดพักหายใจเช่นนี้อาจจะไม่ได้ยาวนานอะไรนัก ในเมื่อตัวเลขรายเดือนกำลังแสดงแนวโน้มให้เห็นว่าแดนมังกรกำลังกลับมาได้เปรียบดุลอีกคำรบหนึ่งแล้ว
ฮ่องกง –ประเทศจีนเผยแพร่รายงานในสัปดาห์นี้ที่ระบุว่า แดนมังกรประสบการขาดดุลการค้าเป็นไตรมาสแรกในรอบระยะเวลา 7 ปี เนื่องจากการนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่าการส่งออก ท่ามกลางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ต่างกำลังพุ่งขึ้นสูง เห็นกันว่าตัวเลขดังกล่าวนี้น่าจะช่วยผ่อนคลายแรงกดดันระหว่างประเทศที่ต้องการให้แดนมังกรปรับเพิ่มค่าเงินหยวนด้วยความรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ถึงแม้พวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลตลอดจนนักวิเคราะห์ต่างก็เชื่อว่า ภาวะการขาดดุลเช่นนี้คงจะเป็นเพียงเรื่องชั่วคราวเท่านั้น
แดนมังกรซึ่งเวลามีฐานะเป็นระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกแล้ว รายงานว่าในช่วงไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม) ปีนี้ ตนขาดดุลการค้าเป็นจำนวน 1,020 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นการขาดดุลครั้งแรกหลังจากที่เคยเสียเปรียบดุลไป 8,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2004 ก่อนหน้านี้ 1 ปี คือ ไตรมาสแรกของปี 2010 นั้น จีนอยู่ในฐานะได้เปรียบดุลถึง 13,900 ล้านดอลลาร์ทีเดียว
“(การที่จีน)มีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจและการบริโภคภายในประเทศที่แข็งแกร่ง, การแข็งค่าขึ้นของเงินหยวน ซึ่งทำให้ราคาสินค้านำเข้าลดต่ำลง, และการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างพุ่งทะยานขึ้นในทั่วโลก คือปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้เกิดการพุ่งลิ่วของมูลค่าการนำเข้า ดังนั้นจึงส่งผลให้เกิดการเสียเปรียบดุลการค้าขึ้นมา” เจิ้ง เยว่เซิง (Zheng Yuesheng) อธิบดีกรมสถิติ แห่งสำนักงานศุลกากรใหญ่ (General Administration of Customs) ชี้แจง
ตามตัวเลขของสำนักงานศุลกากรใหญ่ ยอดการนำเข้าในรอบ 3 เดือนแรกปีนี้พุ่งขึ้นสูงกว่าระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนถึง 32.6% มาอยู่ที่ 400,660 ล้านหยวน (61,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นมากกว่าระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน 26.5% มาอยู่ที่ 399,640 ล้านหยวน
โจว สือเจียน (Zhou Shijian) นักวิจัยอาวุโสทางด้านความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ แห่งมหาวิทยาลัยชิงหวา (Tsinghua University) บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ว่า การที่แดนมังกรขาดดุลการค้าเช่นนี้ อาจจะส่งผลลัพธ์กลายเป็นการผ่อนคลายแรงกดดันที่จะให้จีนปรับขึ้นค่าเงินหยวนอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
“การขาดดุลในไตรมาสแรกเช่นนี้เป็นการส่งสัญญาณออกไปในทางบวกว่า การนำเข้าและการส่งออกของจีนกำลังมุ่งไปสู่ทิศทางของความสมดุล และดังนั้นเงินหยวนจึงไม่ได้มีมูลค่าต่ำเกินไปเลย ... จีนไม่ได้มีความมุ่งหมายที่จะให้ตนเองได้เปรียบดุลการค้า ดังนั้นข้อกล่าวหาจากบางประเทศที่ว่าจีนกำลังปั่นค่าเงินตราของตนเอง จึงไม่มีมูลเลย” เขากล่าว
ทั้งนี้สหรัฐฯคือหนึ่งในประดาประเทศที่พยายามกดดันบีบคั้นจีนให้ยินยอมปล่อยเงินหยวนปรับค่าขึ้นไปด้วยอัตรารวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้ช่วงห่างความไม่สมดุลทางการค้าของประเทศเหล่านี้ลดน้อยลง
กระทรวงการคลังของสหรัฐฯเองกำลังเตรียมที่จะเผยแพร่รายงานว่าด้วยนโยบายทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยน (International Economic and Exchange Rate Policies) ของตนในวันที่ 15 เมษายนนี้ ซึ่งถ้าหากฉบับล่าสุดนี้มีเนื้อหาที่อิงอยู่กับรายงานเช่นนี้ที่เคยจัดทำมาในปีก่อนๆ แล้ว ก็จะต้องมีการถกเถียงอภิปรายกันในประเด็นว่า จีนมีการปั่นค่าเงินตราของตนเพื่อให้อยู่ในฐานะเป็นฝ่ายได้เปรียบอย่างไม่เป็นธรรม ในทางการค้าระหว่างประเทศหรือไม่
“การที่สหรัฐฯคาดหวังว่าจะมีการปรับเพิ่มค่าเงินหยวนอย่างรวดเร็วมากขึ้นนั้น เป็นการคาดหมายที่ไม่สมเหตุสมผลเอาเสียใด” โจวให้ความเห็น ยิ่งในสภาพที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์กำลังทะยานขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสินแร่เหล็ก, น้ำมันดิบ, หรือถั่วเหลือง พวกวิสาหกิจในจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งยังต้องประสบความลำบากจากภาวะขาดแคลนแรงงานและระดับค่าจ้างที่กำลังทวีขึ้นเรื่อยๆ อยู่แล้ว จึงมีหวังที่“จะต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างใหญ่โตมโหฬารมากขึ้นไปอีก ถ้าหากเงินหยวนเกิดมีการเพิ่มค่าด้วยฝีก้าวที่รวดเร็วยิ่งขึ้น”
ณ วันศุกร์ (8) ที่ผ่านมา เงินหยวนซื้อขายกันในระดับ 6.5350 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในรอบ 17 ปีทีเดียว หากคำนวณในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา สกุลเงินตราของจีนก็แข็งค่าขึ้นมากว่า 4% และจะกลายเป็นประมาณ 26% ทีเดียวนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2005 เมื่อตอนที่จีนประกาศปฏิรูปนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินตราของตน
ขณะที่ทางด้านสินค้าโภคภัณฑ์นั้น ในระยะ 3 เดือนแรกของปีนี้ สินแร่เหล็กที่นำเข้ามาส่งให้แก่พวกโรงงานผลิตเหล็กกล้าของจีน มีปริมาณสูงขึ้น 14.4% เป็น 180 ล้านตัน ส่วนระดับราคาเฉลี่ยได้พุ่งพรวดขึ้นจากช่วงระยะเดียวกันของปีก่อนถึง 59.5% เป็น 156.5 ดอลลาร์ต่อตัน สำหรับถั่วเหลืองมีการนำเข้าเป็นปริมาณลดลง 0.7% เหลือ 10.96 ล้านตัน ทว่าระดับราคาเฉลี่ยก็กระโดดพรวดขึ้นไป 25.7% ทั้งนี้ตามตัวเลขที่แถลงโดยสำนักงานศุลกากรใหญ่
เมื่อพิจารณาจากคู่ค้าของแดนมังกร ในไตรมาสแรกปีนี้ การค้าที่จีนทำกับสหภาพยุโรปซึ่งมีฐานะเป็นคู่ค้าใหญ่ที่สุดของแดนมังกร ได้เพิ่มสูงขึ้นมาจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 22% เป็น 123,700 ล้านดอลลาร์ ขณะที่การค้ากับสหรัฐฯก็พุ่งพรวดขึ้น 25% เป็น 97,650 ล้านดอลลาร์ และการค้ากับญี่ปุ่นสูงขึ้น 27.1% เป็น 80,780 ล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ดี เถา หวัง (Tao Wang) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ด้านจีนของธนาคารยูบีเอส คาดหมายว่าตลอดทั้งปีนี้จีนจะยังคงมีการได้เปรียบดุลการค้า โดยอาจสูงถึง 150,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียว เนื่องจากปกติแล้วตัวเลขการส่งออกจะค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี และนี่ก็จะทำให้เกิดแรงกดดันระหว่างประเทศรอบใหม่ที่จะให้จีนปรับขึ้นค่าเงินหยวน เขาระบุพร้อมกับแสดงความเชื่อมั่นว่า ตลอดทั้งปีนี้เงินตราของจีนน่าจะแข็งค่าขึ้นราว 5% เมื่อเทียบกับดอลลาร์
หากเราจะพิจารณาตัวเลขดุลการค้าของจีนกันเป็นรายเดือน ก็จะพบว่าการได้เปรียบดุลการค้าเป็นจำนวน 140 ล้านดอลลาร์ในเดือนมกราคมและมีนาคมปีนี้ ได้ถูกบดบังจากการเสียเปรียบดุลไปถึง 7,300 ล้านดอลลาร์ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยที่เดือนกุมภาพันธ์เป็นช่วงที่การค้าลดต่ำลงมากเนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดเทศกาลตรุษจีน แต่หากดูเฉพาะเดือนมีนาคมเดือนเดียว ปรากฏว่ายอดการส่งออกสูงขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วถึง 35.8% ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้น 27.3%
ทั้งโจวและเจิ้งต่างเห็นพ้องกันว่า เมื่อปัจจัยที่มีลักษณะฤดูกาลหมดอิทธิพลลงไปแล้ว ในเดือนหลังๆ ของปีนี้จีนก็น่าจะกลับมาได้เปรียบดุลการค้าในแต่ละเดือนเพิ่มขึ้นอีก ถึงแม้อัตราการเพิ่มขึ้นอาจจะไม่รวดเร็วเท่าปีก่อนๆ
อันที่จริงในปี 2010 การได้เปรียบดุลการค้าของจีนก็ลดลงจากปีก่อนหน้า 6.4% เหลือ 183,100 ล้านดอลลาร์ ต่ำลงมาจากตัวเลข 196,000 ล้านดอลลาร์ที่ทำไว้ในปี 2009 ตลอดจนตัวเลขการได้เปรียบดุลสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 295,000 ล้านอลลาร์ในปี 2008
ในอีกด้านหนึ่ง เสิ่น เจี้ยนกวง (Shen Jianguang) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำฮ่องกงของบริษัทหลักทรัพย์มิซูโฮ ซีเคียวริตีส์ เอเชีย (Mizuho Securities Asia) มีความเห็นว่า การขาดดุลในไตรมาสแรกเช่นนี้ คือเครื่องสะท้อนให้เห็นความพยายามของจีนที่จะปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจของตนให้ลดการพึ่งพาอาศัยแต่การส่งออกและการลงทุนที่นำโดยรัฐบาล เขามองว่าการบริโภคภายในประเทศที่อยู่ในสภาพสดใสมาก ตลอดจนมาตรการจูงใจทางภาษีเพื่อกระตุ้นการนำเข้าซึ่งถูกนำออกมาใช้เมื่อเร็วๆ นี้ จะทำให้การได้เปรียบดุลการค้าของแดนมังกรลดต่ำลงได้
เขาชี้ต่อไปด้วยว่า อัตราเงินเฟ้อที่อิงตามราคาผู้บริโภคนั้นได้เพิ่มสูงขึ้นไปมาก ตลอดจนการที่มีสภาพคล่องเหลือล้นอยู่ในระบบการเงิน เหล่านี้ก็ได้ส่งผลเสมือนกับ “การปรับเพิ่มค่าเงินหยวนขึ้นมาในทางเป็นจริง” แล้ว
ประเทศจีนนั้นมีกำหนดที่จะเผยแพร่รายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในวันศุกร์ (15) นี้ โดยที่เสิ่นประมาณการว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index หรือ CPI) อันเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อตัวหลัก จะมีการขยับเพิ่มสูงขึ้นในระดับ 5.5% หรือ 6% ทีเดียวในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ในเดือนกุมภาพันธ์ ดัชนีราคาผู้บริโภคก็สูงขึ้น 4.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อันเป็นการล้ำเกินเป้าหมาย 4% ที่รัฐบาลตั้งเอาไว้เป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันแล้ว
โอลิเวีย ชุง เป็นผู้สื่อข่าวอาวุโสของเอเชียไทมส์ออนไลน์