Militants wait in the wings
By Syed Saleem Shahzad
01/02/2011
จากการที่กองกำลังความมั่นคงของอียิปต์ต้องรับมือกับการชุมนุมประท้วงตามท้องถนน ทำให้พวกหัวรุนแรงจำนวนนับพันนับหมื่นที่เมื่อก่อนตกอยู่ในสภาพถูกควบคุมอย่างเข้มงวด เวลานี้กลับสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว ผู้คนเหล่านี้พร้อมด้วยนักโทษจำนวนมากที่แหกคุกออกมาในระหว่างความปั่นป่วนวุ่นวาย อาจจะกลายเป็นพลังที่ต้องนำมาคำนึงถึง ภายหลังระบอบปกครองของประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ล้มครืนลงไป
อิสลามาบัด, ปากีสถาน – ยังไม่มีกลุ่มพลังฝ่ายค้านใดๆ ในอียิปต์ แม้กระทั่งกลุ่มภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) ที่ในเวลานี้มีการจัดตั้งจัดองค์กรอย่างแข็งแกร่งเพียงพอแก่เข้าไปยึดอำนาจรัฐ ในระหว่างการพัฒนาการของเหตุการณ์ที่การชุมนุมเดินขบวนของประชามหาชนตามเมืองใหญ่ๆ ของอียิปต์ นำไปสู่การถอดถอนประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ตลอดจนรัฐบาลของเขา
จวบจนถึงเวลานี้ นอกเหนือไปจากการเรียกร้องให้มูบารัคที่ปัจจุบันอยู่ในวัย 83 ปี ก้าวลงจากอำนาจที่ยึดครองเอาไว้อย่างยาวนานเป็นเวลาถึง 30 ปีแล้ว การประท้วงก็ยังคงปราศจากการเสนอข้อเรียกร้องที่ค่อนข้างเป็นระบบใดๆ ทั้งสิ้น
ขณะที่การชุมนุมประท้วงขนาดใหญ่กำลังดำเนินไปอยู่นี้ ยังมีปัจจัยที่คาดทำนายได้ยากปัจจัยหนึ่ง นั่นก็คืออดีตพวกหัวรุนแรงจำนวนประมาณ 15,000 คนที่ศาลสั่งให้ปล่อยตัวเป็นอิสระในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ทว่ายังคงอยู่ในบัญชีรายชื่อถูกเฝ้าจับตามองของพวกหน่วยงานด้านข่าวกรองของอียิปต์
“ผู้ยอมสละชีพเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับก่อให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับก่อให้เกิดการปฏิวัติ และการปฏิวัติก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับก่อให้เกิดความก้าวหน้า” ฟาร์รุค ซาลีม (Farrukh Saleem) นักวิเคราะห์คนสำคัญชาวปากีสถาน ตั้งข้อสังเกตไว้เช่นนี้ในหนังสือพิมพ์ เดอะ นิวส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (The News International) “การปฏิวัติเป็นเรื่องว่าด้วยความไม่พออกพอใจของสาธารณชน ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายลงของระบบระเบียบที่ปักหลักมั่นคง การปฏิวัติเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยที่มีรากเหง้าอยู่ในอาณาบริเวณซึ่งขาดไร้ซึ่งสิทธิทั้งทางด้านการเมืองและทางด้านเศรษฐกิจ การปฏิวัติเริ่มต้นขึ้นที่ด้านนอกของศูนย์กลางแห่งอำนาจ ในอาณาบริเวณที่อำนาจบังคับของรัฐบาลมีความอ่อนแอ แล้วจากนั้นจึงเคลื่อนตัวเข้าสู่ศูนย์กลางแห่งอำนาจ”
ตลอดช่วงปลายทศวรรษ 1990 จนถึงต้นปี 2001 มีพวกหัวรุนแรงจำนวนนับพันนับหมื่นถูกไล่ล่าติดตามจับกุมโดยฝีมือของ สุไลมาน โอมาร์ (Suleiman Omar) อดีตผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรอง ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากมูบารัคให้ขึ้นเป็นรองประธานาธิบดี ภายหลังที่การชุมนุมประท้วงคราวนี้ปะทุขึ้นมาไม่กี่วัน ถ้าหากกลไกด้านความมั่นคงของประเทศเกิดพังครืน พวกหัวรุนแรงเหล่านี้ก็อาจที่จะเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการก้าวเดินของประเทศชาติในอนาคต
พวกหัวรุนแรงเหล่านี้ส่วนมากมาจากกลุ่ม อัล-กามาอะ อัล-อิสลามีย์ยา (al-Gamaa al-Islamiyya) ตลอดจนพวกองค์กรใต้ดินที่แทบไม่เป็นที่รู้จักอีกจำนวนมาก กลุ่มเหล่านี้งอกเงยเติบโตขึ้นมาในช่วงระหว่างและภายหลังการทำสงครามศาสนา (ญิฮัด) ในอัฟกานิสถานเพื่อต่อต้านขับไล่สหภาพโซเวียต กลุ่มเหล่านี้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงในอียิปต์ตลอดทั่วทั้งทศวรรษ 1980 และทศวรรษ 1990 และทำการโจมตีพวกนักท่องเที่ยวตลอดกองกำลังความมั่นคงอยู่เป็นประจำ
อย่างไรก็ดี สมาชิกของกลุ่มเหล่านี้จำนวนมาก ก็ได้ถูกกองกำลังความมั่นคงปราบปรามทำลายอย่างเหี้ยมเกรียม มีจำนวนหลายร้อยที่ถูกประหารชีวิต และจำนวนเรือนพันเรือนหมื่นถูกโยนเข้าคุก แล้วก็มีจำนวนหลายพันที่ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ ภายหลังมีการตีฆ้องร้องป่าวประณามกิจกรรมประเภทนี้ ถึงแม้พวกเขายังต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ไปรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบอยู่เป็นประจำ
ยังมีพวกนักโทษที่อาจจะมีจำนวนถึงหลายร้อยคนทีเดียว ซึ่งสามารถหลบหนีออกจากเรือนจำต่างๆ ตลอดช่วงเวลาแห่งการชุมนุมประท้วง มาถึงตอนนี้ทั้งพวกหัวรุนแรงตลอดจนพวกนักโทษแหกคุกย่อมไม่ติดตามไล่ล่าแล้ว เนื่องจากกองกำลังความมั่นคงต้องรับมือกับการลุกฮือตามท้องถนน ซึ่งถือเป็นการท้าทายที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่อียิปต์เคยเผชิญมา
ในช่วงสุดสัปดาห์แรกของการประท้วง นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เกิดการลุกฮือชึ้นมา ที่ปรากฏร่องรอยเกี่ยวกับบทบาทของพวกหัวรุนแรงอิสลามมิสต์ในความปั่นป่วนไม่สงบคราวนี้ เมื่อมีเรือนจำอย่างน้อยที่สุด 4 แห่งถูกโจมตี และพวกอิสลามิสต์หลายร้อยคนก็สามารถหลบหนีเป็นอิสระ เรื่องนี้เปิดเผยให้เห็นอย่างชัดเจนถึงจุดอ่อนของกลไกความมั่นคงซึ่งตามปกติแล้วขึ้นชื่อลือชาในเรื่องความเหี้ยมโหด
**ตัวอย่างจากปากีสถาน**
เมื่อต้นทศวรรษ 2000 ในปากีสถาน ระบอบปกครองของอดีตประธานาธิบดี พล.อ.เปอร์เวซ มูชาร์รัฟ (Pervez Musharraf) ได้ดำเนินการปราบปรามกวาดล้างพวกองค์กรหัวรุนแรง อย่างเช่น เซปาห์-อี-ซอฮาบาห์ (Sepah-e-Sahabah), ฮาร์คอตุล มุญะฮีดีน (Harkatul Mujahideen), ลัสคาร์-อี-ไตบา (Laskhar-e-Taiba), และ ไจช์-อี-โมฮัมหมัด (Jaish-e-Mohammad) มีการใช้มาตรการอันเข้มงวดกวดขันเพื่อป้องกันไม่ให้สมาชิกขององค์กรเหล่านี้เข้าไปรวมกำลังกับกลุ่มต่างๆ ที่นำโดยอัลกออิดะห์
อย่างไรก็ตาม จากการที่มีการก่อความไม่สงบระดับความดุเดือดเข้มข้นต่ำ ปะทุขึ้นมาในอาณาบริเวณต่างๆ ของชาวชนเผ่า ทำให้ยังคงสามารถปลุกระดมพวกหัวรุนแรงเหล่านี้ให้ไปสมทบ โดยที่ไม่มีกลไกต่อต้านการก่อการร้ายใดๆ เลยที่สามารถหยุดยั้งกิจกรรมของพวกเขาได้ และพวกเขาก็ได้ผูกพันธมิตรกับอัลกออิดะห์เพื่อร่วมกันดำเนินงานต่อต้านชนชั้นนำและสถาบันของประเทศ
ประเทศเยเมนในปัจจุบันกำลังปรากฏภาพในทำนองเดียวกันนี้ การปฏิบัติการต่อต้านอัลกออิดะห์ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 ส่วนใหญ่ทีเดียวสามารถกำจัดกวาดล้างพวกอัลกออิดะห์ในประเทศนั้นไปได้มาก ทว่าภายหลังจากที่พวกหัวรุนแรงชาวเยเมนระดับหัวหน้า 2-3 คนสามารถแหกคุกหลบหนีได้สำเร็จ การก่อความไม่สงบระดับความดุเดือดเข้มข้นต่ำ ก็เปิดฉากขึ้นในดินแดนต่างๆ ของชาวชนเผ่า สภาพเช่นนี้เองยังได้ช่วยกระตุ้นปลุกบรรดาหน่วยหัวรุนแรงจำนวนมาก ซึ่งได้ซุ่มซ่อนอำพรางตัวในเยเมนอยู่ก่อนแล้ว
สำหรับอียิปต์ก็มีประวัติศาสตร์อันยาวนานของพวกหัวรุนแรง ทว่าตลอดช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา พวกหัวรุนแรงส่วนใหญ่อยู่ในภาวะหลับใหลหยุดพัก
ภายหลังเกิดการลอบสังหาร ฮาซาน อัล บานนา (Hasan al-Banna) ผู้ก่อตั้งกลุ่มภราดรภาพอิสลาม เมื่อปี 1948 ก็เกิดปรากฏการณ์ที่พวกหัวรุนแรงแตกตัวออกเป็นหลายๆ กลุ่มย่อยขึ้นมาทันที จากนั้นการกระทำรัฐประหารของฝ่ายทหาร แล้วติดตามมาด้วยการเข้ายึดอำนาจของ กามัล อับเดล นัสเซอร์ (Gamal Abdel Nasser) ในปี 1956 โดยที่ได้รับความช่วยเหลือจากพวกนายทหารซึ่งเกี่ยวข้องโยงใยอยู่กับกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ก็ได้ทำให้กลุ่มนี้รุ่งเรืองเฟื่องฟูขึ้นมาเป็นช่วงระยะสั้นๆ โดยที่ทางกลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงแตกแยกออกเป็นฝักฝ่ายอย่างน้อยที่สุด 3 กลุ่มย่อย
การที่ในเวลาต่อมานัสเซอร์มีแนวทางและความคิดเห็นแตกต่างจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิม กลายเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงระยะเวลาที่กลุ่มนี้ถูกปราบปรามอย่างยาวนาน จวบจนกระทั่งถึงประมาณกลางทศวรรษ 1960 เมื่อกลุ่มภราดรภาพมุสลิมตกลงอย่างเป็นทางการที่จะปฏิเสธการใช้แนวทางรุนแรง และหันมายอมรับระบอบประชาธิปไตย
เมื่อถึงต้นทศวรรษ 1970 กลุ่มภราดรภาพมุสลิมตลอดจนกลุ่มอิสลามิสต์หัวรุนแรงอื่นๆ ดูเหมือนกับเป็นซากวัตถุโบราณที่ตกทอดมาจากอดีต แต่แล้วพวกเขาก็ฟื้นตัวมีชีวิตชีวาขึ้นมาใหม่ตอนประมาณปลายทศวรรษ 1970 และพอถึงต้นทศวรรษ 1980 พวกเขาซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ น.พ.อัยมาน อัล ซอวาฮิรี (Dr Ayman al-Zawahiri) ก็เก่งกล้าสามารถถึงขึ้นวางแผนก่อการรัฐประหารยึดอำนาจ ถึงแม้แผนดังกล่าวต้องล้มเหลวลงเนื่องจากทางการดำเนินการปราบปรามกวาดล้างอย่างทันการณ์ แต่พวกหัวรุนแรงก็ยังคงประสบความสำเร็จในการลอบสังหารประธานาธิบดีอันวาร์ ซาดัต (Anwar Sadat) ในปี 1981
จากการศึกษาทบทวนความเป็นมาของกลุ่มอิสลามิสต์ที่ใช้แนวทางความรุนแรงในอียิปต์ เปิดเผยให้เห็นว่าถึงแม้กลุ่มเหล่านี้ได้ถูกบดขยี้ทำลายล้างมาแล้วหลายครั้งหลายหน แต่พวกเขาก็ยังดีดตัวกลับฟื้นขึ้นมาได้เสมอ แม้บางครั้งมันอาจจะต้องใช้เวลาเป็นหลายๆ ปีก็ตามที
ในช่วงเวลาภายหลังการลอบสังหาร อัล บานนา การใช้แนวทางความรุนแรงดูจะเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ต่อการที่ผู้ก่อตั้งกลุ่มภราดรภาพมุสลิมผู้นี้ถูกสังหารโหด ขณะที่ระยะเวลาจากปลายทศวรรษ 1950 จนถึงทศวรรษ 1960 กลุ่มหัวรุนแรงได้ยอมรับเอารากเหง้าทางแนวความคิดอุดมการณ์แบบสุดโต่ง และประกาศว่าสังคมอียิปต์เป็นสังคมของพวกนอกรีตนอกศาสนา นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อกบฎมุ่งโค่นล้มอำนาจรัฐกันทีเดียว ทว่าอียิปต์ยังคงสามารถกดข่มพวกเขาลงไปได้อย่างอยู่หมัดจวบจนกระทั่งถึงกลางทศวรรษ 1970 เมื่อการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างอียิปต์กับอิสราเอล เหตุการณ์นี้ซึ่งชาวมุสลิมจำนวนมากเห็นว่าเป็นการทรยศ ได้กลายเป็นการให้ชีวิตใหม่แก่แนวทางใช้ความรุนแรง และความรุนแรงดังกล่าวได้พุ่งขึ้นไปถึงระดับมีการลงมือสังหารซาดัต
สงครามศาสนา (ญิฮัด) ในอัฟกานิสถานเพื่อขับไล่กองทหารสหภาพโซเวียตผู้ยึดครอง ในช่วงทศวรรษ 1980 ได้เพิ่มมิติใหม่ให้แก่แนวทางใช้ความรุนแรง โดยที่ได้ส่งผลสะเทือนแก่การมุ่งดำเนินการปฏิวัติอิสลามขึ้นในอียิปต์ ทว่าจวบจนกระทั่งถึงตอนต้นทศวรรษ 2000 พวกเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจยังคงเป็นฝ่ายที่เหนือกว่าอย่างท่วมท้นอีกคำรบหนึ่ง
สำหรับในขณะนี้ เมื่อเกิดการประท้วงครั้งยิ่งใหญ่มโหฬารขึ้นในอียิปต์ แนวทางใช้ความรุนแรงก็สามารถที่จะกระเตื้องดีดกลับขึ้นมาใหม่ โดยที่ในคราวนี้มีมิติใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาอีกเช่นกัน นั่นก็คือ ในสมรภูมิสงครามของอัฟกานิสถานและอิรักนั้น กองกำลังก่อความไม่สงบที่นั่นกำลังอยู่ภายใต้การนำของกลุ่มชาวอียิปต์ซึ่งเป็นพวกที่มีอำนาจครอบงำเหนืออัลกออิดะห์อยู่ในปัจจุบัน
ความปั่นป่วนวุ่นวายตามท้องถนนสายต่างๆ ของโลกอาหรับ จึงอาจทำให้ลัทธิใช้ความรุนแรงกลายเป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนเลยก็เป็นได้
ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด เป็นหัวหน้าโต๊ะปากีสถานของเอเชียไทมส์ออนไลน์ เขาเป็นผู้เขียนหนังสือที่กำลังจะออกจำหน่ายในเร็วๆ นี้ซึ่งใช้ชื่อ Inside Al-Qaeda and the Taliban 9/11 and Beyond จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ Pluto Press สหราชอาณาจักร สำหรับที่อยู่ทางอีเมล์ของเขาคือ saleem_shahzad2002@yahoo.com
By Syed Saleem Shahzad
01/02/2011
จากการที่กองกำลังความมั่นคงของอียิปต์ต้องรับมือกับการชุมนุมประท้วงตามท้องถนน ทำให้พวกหัวรุนแรงจำนวนนับพันนับหมื่นที่เมื่อก่อนตกอยู่ในสภาพถูกควบคุมอย่างเข้มงวด เวลานี้กลับสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว ผู้คนเหล่านี้พร้อมด้วยนักโทษจำนวนมากที่แหกคุกออกมาในระหว่างความปั่นป่วนวุ่นวาย อาจจะกลายเป็นพลังที่ต้องนำมาคำนึงถึง ภายหลังระบอบปกครองของประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ล้มครืนลงไป
อิสลามาบัด, ปากีสถาน – ยังไม่มีกลุ่มพลังฝ่ายค้านใดๆ ในอียิปต์ แม้กระทั่งกลุ่มภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) ที่ในเวลานี้มีการจัดตั้งจัดองค์กรอย่างแข็งแกร่งเพียงพอแก่เข้าไปยึดอำนาจรัฐ ในระหว่างการพัฒนาการของเหตุการณ์ที่การชุมนุมเดินขบวนของประชามหาชนตามเมืองใหญ่ๆ ของอียิปต์ นำไปสู่การถอดถอนประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ตลอดจนรัฐบาลของเขา
จวบจนถึงเวลานี้ นอกเหนือไปจากการเรียกร้องให้มูบารัคที่ปัจจุบันอยู่ในวัย 83 ปี ก้าวลงจากอำนาจที่ยึดครองเอาไว้อย่างยาวนานเป็นเวลาถึง 30 ปีแล้ว การประท้วงก็ยังคงปราศจากการเสนอข้อเรียกร้องที่ค่อนข้างเป็นระบบใดๆ ทั้งสิ้น
ขณะที่การชุมนุมประท้วงขนาดใหญ่กำลังดำเนินไปอยู่นี้ ยังมีปัจจัยที่คาดทำนายได้ยากปัจจัยหนึ่ง นั่นก็คืออดีตพวกหัวรุนแรงจำนวนประมาณ 15,000 คนที่ศาลสั่งให้ปล่อยตัวเป็นอิสระในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ทว่ายังคงอยู่ในบัญชีรายชื่อถูกเฝ้าจับตามองของพวกหน่วยงานด้านข่าวกรองของอียิปต์
“ผู้ยอมสละชีพเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับก่อให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับก่อให้เกิดการปฏิวัติ และการปฏิวัติก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับก่อให้เกิดความก้าวหน้า” ฟาร์รุค ซาลีม (Farrukh Saleem) นักวิเคราะห์คนสำคัญชาวปากีสถาน ตั้งข้อสังเกตไว้เช่นนี้ในหนังสือพิมพ์ เดอะ นิวส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (The News International) “การปฏิวัติเป็นเรื่องว่าด้วยความไม่พออกพอใจของสาธารณชน ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายลงของระบบระเบียบที่ปักหลักมั่นคง การปฏิวัติเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยที่มีรากเหง้าอยู่ในอาณาบริเวณซึ่งขาดไร้ซึ่งสิทธิทั้งทางด้านการเมืองและทางด้านเศรษฐกิจ การปฏิวัติเริ่มต้นขึ้นที่ด้านนอกของศูนย์กลางแห่งอำนาจ ในอาณาบริเวณที่อำนาจบังคับของรัฐบาลมีความอ่อนแอ แล้วจากนั้นจึงเคลื่อนตัวเข้าสู่ศูนย์กลางแห่งอำนาจ”
ตลอดช่วงปลายทศวรรษ 1990 จนถึงต้นปี 2001 มีพวกหัวรุนแรงจำนวนนับพันนับหมื่นถูกไล่ล่าติดตามจับกุมโดยฝีมือของ สุไลมาน โอมาร์ (Suleiman Omar) อดีตผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรอง ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากมูบารัคให้ขึ้นเป็นรองประธานาธิบดี ภายหลังที่การชุมนุมประท้วงคราวนี้ปะทุขึ้นมาไม่กี่วัน ถ้าหากกลไกด้านความมั่นคงของประเทศเกิดพังครืน พวกหัวรุนแรงเหล่านี้ก็อาจที่จะเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการก้าวเดินของประเทศชาติในอนาคต
พวกหัวรุนแรงเหล่านี้ส่วนมากมาจากกลุ่ม อัล-กามาอะ อัล-อิสลามีย์ยา (al-Gamaa al-Islamiyya) ตลอดจนพวกองค์กรใต้ดินที่แทบไม่เป็นที่รู้จักอีกจำนวนมาก กลุ่มเหล่านี้งอกเงยเติบโตขึ้นมาในช่วงระหว่างและภายหลังการทำสงครามศาสนา (ญิฮัด) ในอัฟกานิสถานเพื่อต่อต้านขับไล่สหภาพโซเวียต กลุ่มเหล่านี้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงในอียิปต์ตลอดทั่วทั้งทศวรรษ 1980 และทศวรรษ 1990 และทำการโจมตีพวกนักท่องเที่ยวตลอดกองกำลังความมั่นคงอยู่เป็นประจำ
อย่างไรก็ดี สมาชิกของกลุ่มเหล่านี้จำนวนมาก ก็ได้ถูกกองกำลังความมั่นคงปราบปรามทำลายอย่างเหี้ยมเกรียม มีจำนวนหลายร้อยที่ถูกประหารชีวิต และจำนวนเรือนพันเรือนหมื่นถูกโยนเข้าคุก แล้วก็มีจำนวนหลายพันที่ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ ภายหลังมีการตีฆ้องร้องป่าวประณามกิจกรรมประเภทนี้ ถึงแม้พวกเขายังต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ไปรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบอยู่เป็นประจำ
ยังมีพวกนักโทษที่อาจจะมีจำนวนถึงหลายร้อยคนทีเดียว ซึ่งสามารถหลบหนีออกจากเรือนจำต่างๆ ตลอดช่วงเวลาแห่งการชุมนุมประท้วง มาถึงตอนนี้ทั้งพวกหัวรุนแรงตลอดจนพวกนักโทษแหกคุกย่อมไม่ติดตามไล่ล่าแล้ว เนื่องจากกองกำลังความมั่นคงต้องรับมือกับการลุกฮือตามท้องถนน ซึ่งถือเป็นการท้าทายที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่อียิปต์เคยเผชิญมา
ในช่วงสุดสัปดาห์แรกของการประท้วง นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เกิดการลุกฮือชึ้นมา ที่ปรากฏร่องรอยเกี่ยวกับบทบาทของพวกหัวรุนแรงอิสลามมิสต์ในความปั่นป่วนไม่สงบคราวนี้ เมื่อมีเรือนจำอย่างน้อยที่สุด 4 แห่งถูกโจมตี และพวกอิสลามิสต์หลายร้อยคนก็สามารถหลบหนีเป็นอิสระ เรื่องนี้เปิดเผยให้เห็นอย่างชัดเจนถึงจุดอ่อนของกลไกความมั่นคงซึ่งตามปกติแล้วขึ้นชื่อลือชาในเรื่องความเหี้ยมโหด
**ตัวอย่างจากปากีสถาน**
เมื่อต้นทศวรรษ 2000 ในปากีสถาน ระบอบปกครองของอดีตประธานาธิบดี พล.อ.เปอร์เวซ มูชาร์รัฟ (Pervez Musharraf) ได้ดำเนินการปราบปรามกวาดล้างพวกองค์กรหัวรุนแรง อย่างเช่น เซปาห์-อี-ซอฮาบาห์ (Sepah-e-Sahabah), ฮาร์คอตุล มุญะฮีดีน (Harkatul Mujahideen), ลัสคาร์-อี-ไตบา (Laskhar-e-Taiba), และ ไจช์-อี-โมฮัมหมัด (Jaish-e-Mohammad) มีการใช้มาตรการอันเข้มงวดกวดขันเพื่อป้องกันไม่ให้สมาชิกขององค์กรเหล่านี้เข้าไปรวมกำลังกับกลุ่มต่างๆ ที่นำโดยอัลกออิดะห์
อย่างไรก็ตาม จากการที่มีการก่อความไม่สงบระดับความดุเดือดเข้มข้นต่ำ ปะทุขึ้นมาในอาณาบริเวณต่างๆ ของชาวชนเผ่า ทำให้ยังคงสามารถปลุกระดมพวกหัวรุนแรงเหล่านี้ให้ไปสมทบ โดยที่ไม่มีกลไกต่อต้านการก่อการร้ายใดๆ เลยที่สามารถหยุดยั้งกิจกรรมของพวกเขาได้ และพวกเขาก็ได้ผูกพันธมิตรกับอัลกออิดะห์เพื่อร่วมกันดำเนินงานต่อต้านชนชั้นนำและสถาบันของประเทศ
ประเทศเยเมนในปัจจุบันกำลังปรากฏภาพในทำนองเดียวกันนี้ การปฏิบัติการต่อต้านอัลกออิดะห์ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 ส่วนใหญ่ทีเดียวสามารถกำจัดกวาดล้างพวกอัลกออิดะห์ในประเทศนั้นไปได้มาก ทว่าภายหลังจากที่พวกหัวรุนแรงชาวเยเมนระดับหัวหน้า 2-3 คนสามารถแหกคุกหลบหนีได้สำเร็จ การก่อความไม่สงบระดับความดุเดือดเข้มข้นต่ำ ก็เปิดฉากขึ้นในดินแดนต่างๆ ของชาวชนเผ่า สภาพเช่นนี้เองยังได้ช่วยกระตุ้นปลุกบรรดาหน่วยหัวรุนแรงจำนวนมาก ซึ่งได้ซุ่มซ่อนอำพรางตัวในเยเมนอยู่ก่อนแล้ว
สำหรับอียิปต์ก็มีประวัติศาสตร์อันยาวนานของพวกหัวรุนแรง ทว่าตลอดช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา พวกหัวรุนแรงส่วนใหญ่อยู่ในภาวะหลับใหลหยุดพัก
ภายหลังเกิดการลอบสังหาร ฮาซาน อัล บานนา (Hasan al-Banna) ผู้ก่อตั้งกลุ่มภราดรภาพอิสลาม เมื่อปี 1948 ก็เกิดปรากฏการณ์ที่พวกหัวรุนแรงแตกตัวออกเป็นหลายๆ กลุ่มย่อยขึ้นมาทันที จากนั้นการกระทำรัฐประหารของฝ่ายทหาร แล้วติดตามมาด้วยการเข้ายึดอำนาจของ กามัล อับเดล นัสเซอร์ (Gamal Abdel Nasser) ในปี 1956 โดยที่ได้รับความช่วยเหลือจากพวกนายทหารซึ่งเกี่ยวข้องโยงใยอยู่กับกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ก็ได้ทำให้กลุ่มนี้รุ่งเรืองเฟื่องฟูขึ้นมาเป็นช่วงระยะสั้นๆ โดยที่ทางกลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงแตกแยกออกเป็นฝักฝ่ายอย่างน้อยที่สุด 3 กลุ่มย่อย
การที่ในเวลาต่อมานัสเซอร์มีแนวทางและความคิดเห็นแตกต่างจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิม กลายเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงระยะเวลาที่กลุ่มนี้ถูกปราบปรามอย่างยาวนาน จวบจนกระทั่งถึงประมาณกลางทศวรรษ 1960 เมื่อกลุ่มภราดรภาพมุสลิมตกลงอย่างเป็นทางการที่จะปฏิเสธการใช้แนวทางรุนแรง และหันมายอมรับระบอบประชาธิปไตย
เมื่อถึงต้นทศวรรษ 1970 กลุ่มภราดรภาพมุสลิมตลอดจนกลุ่มอิสลามิสต์หัวรุนแรงอื่นๆ ดูเหมือนกับเป็นซากวัตถุโบราณที่ตกทอดมาจากอดีต แต่แล้วพวกเขาก็ฟื้นตัวมีชีวิตชีวาขึ้นมาใหม่ตอนประมาณปลายทศวรรษ 1970 และพอถึงต้นทศวรรษ 1980 พวกเขาซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ น.พ.อัยมาน อัล ซอวาฮิรี (Dr Ayman al-Zawahiri) ก็เก่งกล้าสามารถถึงขึ้นวางแผนก่อการรัฐประหารยึดอำนาจ ถึงแม้แผนดังกล่าวต้องล้มเหลวลงเนื่องจากทางการดำเนินการปราบปรามกวาดล้างอย่างทันการณ์ แต่พวกหัวรุนแรงก็ยังคงประสบความสำเร็จในการลอบสังหารประธานาธิบดีอันวาร์ ซาดัต (Anwar Sadat) ในปี 1981
จากการศึกษาทบทวนความเป็นมาของกลุ่มอิสลามิสต์ที่ใช้แนวทางความรุนแรงในอียิปต์ เปิดเผยให้เห็นว่าถึงแม้กลุ่มเหล่านี้ได้ถูกบดขยี้ทำลายล้างมาแล้วหลายครั้งหลายหน แต่พวกเขาก็ยังดีดตัวกลับฟื้นขึ้นมาได้เสมอ แม้บางครั้งมันอาจจะต้องใช้เวลาเป็นหลายๆ ปีก็ตามที
ในช่วงเวลาภายหลังการลอบสังหาร อัล บานนา การใช้แนวทางความรุนแรงดูจะเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ต่อการที่ผู้ก่อตั้งกลุ่มภราดรภาพมุสลิมผู้นี้ถูกสังหารโหด ขณะที่ระยะเวลาจากปลายทศวรรษ 1950 จนถึงทศวรรษ 1960 กลุ่มหัวรุนแรงได้ยอมรับเอารากเหง้าทางแนวความคิดอุดมการณ์แบบสุดโต่ง และประกาศว่าสังคมอียิปต์เป็นสังคมของพวกนอกรีตนอกศาสนา นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อกบฎมุ่งโค่นล้มอำนาจรัฐกันทีเดียว ทว่าอียิปต์ยังคงสามารถกดข่มพวกเขาลงไปได้อย่างอยู่หมัดจวบจนกระทั่งถึงกลางทศวรรษ 1970 เมื่อการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างอียิปต์กับอิสราเอล เหตุการณ์นี้ซึ่งชาวมุสลิมจำนวนมากเห็นว่าเป็นการทรยศ ได้กลายเป็นการให้ชีวิตใหม่แก่แนวทางใช้ความรุนแรง และความรุนแรงดังกล่าวได้พุ่งขึ้นไปถึงระดับมีการลงมือสังหารซาดัต
สงครามศาสนา (ญิฮัด) ในอัฟกานิสถานเพื่อขับไล่กองทหารสหภาพโซเวียตผู้ยึดครอง ในช่วงทศวรรษ 1980 ได้เพิ่มมิติใหม่ให้แก่แนวทางใช้ความรุนแรง โดยที่ได้ส่งผลสะเทือนแก่การมุ่งดำเนินการปฏิวัติอิสลามขึ้นในอียิปต์ ทว่าจวบจนกระทั่งถึงตอนต้นทศวรรษ 2000 พวกเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจยังคงเป็นฝ่ายที่เหนือกว่าอย่างท่วมท้นอีกคำรบหนึ่ง
สำหรับในขณะนี้ เมื่อเกิดการประท้วงครั้งยิ่งใหญ่มโหฬารขึ้นในอียิปต์ แนวทางใช้ความรุนแรงก็สามารถที่จะกระเตื้องดีดกลับขึ้นมาใหม่ โดยที่ในคราวนี้มีมิติใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาอีกเช่นกัน นั่นก็คือ ในสมรภูมิสงครามของอัฟกานิสถานและอิรักนั้น กองกำลังก่อความไม่สงบที่นั่นกำลังอยู่ภายใต้การนำของกลุ่มชาวอียิปต์ซึ่งเป็นพวกที่มีอำนาจครอบงำเหนืออัลกออิดะห์อยู่ในปัจจุบัน
ความปั่นป่วนวุ่นวายตามท้องถนนสายต่างๆ ของโลกอาหรับ จึงอาจทำให้ลัทธิใช้ความรุนแรงกลายเป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนเลยก็เป็นได้
ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด เป็นหัวหน้าโต๊ะปากีสถานของเอเชียไทมส์ออนไลน์ เขาเป็นผู้เขียนหนังสือที่กำลังจะออกจำหน่ายในเร็วๆ นี้ซึ่งใช้ชื่อ Inside Al-Qaeda and the Taliban 9/11 and Beyond จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ Pluto Press สหราชอาณาจักร สำหรับที่อยู่ทางอีเมล์ของเขาคือ saleem_shahzad2002@yahoo.com