(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Cold War ally, modern-day nuisance
By Brian McCartan
10/01/2011
ชุมชนชาวม้งในสหรัฐอเมริกา อาจจะรู้สึกเศร้าโศกอาลัยกับการมรณกรรมของนายพล “วังเปา” บุรุษผู้มีศักยภาพมากที่สุดที่จะเป็นสัญลักษณ์ของ “สงครามลับ” ของซีไอเอในประเทศลาว ในฐานะที่เขาเป็นผู้บัญชาการของกองกำลังฝ่ายต่อต้านชาวม้ง ทว่าสำหรับทางการทั้งในวอชิงตัน, กรุงเทพฯ, และเวียงจันทน์ พวกเขาน่าที่จะพากันถอนหายใจด้วยความรู้สึกโล่งอกอย่างเงียบๆ มากกว่า วังเปาเป็นตัวอย่างรูปธรรมที่ชัดเจนยิ่งของความเป็นปรปักษ์ต่างๆ ในยุคสงครามเย็น อีกทั้งยังมีความพยายามที่จะธำรงรักษาความเป็นปรปักษ์เช่นนั้นเอาไว้ด้วย ขณะที่มันได้กลายเป็นสิ่งที่ผู้คนจำนวนมากในภูมิภาคแถบนี้และในสหรัฐอเมริกา ปรารถนาที่จะนำมากลบฝังแล้วลืมเลือนไปเสีย
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
กรุงเทพฯ – นายพลวังเปา (Vang Pao) ผู้เล่นที่สำคัญยิ่ง และก็เป็นผู้ที่มีศักยภาพมากที่สุดที่จะเป็นสัญลักษณ์ของ “สงครามลับ” ของสำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (US Central Intelligence Agency หรือ CIA) ในประเทศลาว ได้ถึงแก่กรรมลงด้วยสาเหตุทางธรรมชาติที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา สิริอายุได้ 81 ปี ขณะที่นายพลผู้นี้ไม่เคยเข้ารับราชการในกองทัพสหรัฐฯอย่างเป็นทางการ แต่พวกผู้สนับสนุนยกย่องเชิดชูเขาในชุมชนชนชาติม้งต่างเชื่อว่า ศพของเขาควรที่จะได้รับเกียรตินำไปฝังที่สุสานแห่งชาติอาร์ลิงตัน (Arlington National Cemetery) เคียงข้างวีรบุรุษสงครามชาวอเมริกันคนอื่นๆ
อดีตที่ชวนให้เกิดการถกเถียงขัดแย้งของเขา เป็นต้นว่า การที่เขาถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องพัวพันกับการลักลอบค้ายาเสพติด และการที่เขาถูกฟ้องร้องกล่าวโทษว่ามีบทบาทในการอาศัยแผ่นดินสหรัฐฯมาวางแผนโค่นล้มรัฐบาลลาว เหล่านี้น่าที่จะกลายเป็นน้ำหนักที่ทัดทานคัดค้านไม่ให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ยินยอมผ่อนผันให้แก่เขาเป็นกรณีพิเศษเพื่อจะได้ฝังร่างที่อาร์ลิงตัน ขณะที่จุดมุ่งหมายทางยุทธศาสตร์ต่อภูมิภาคแถบนี้ของวอชิงตันในช่วงหลังสงครามเย็น ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากมายแล้ว วังเปาจึงยิ่งกำลังกลายเป็นบทตอนของประวัติศาสตร์ ซึ่งทั้งสหรัฐฯและเหล่าพันธมิตรของสหรัฐฯในภูมิภาค ต่างยินดีที่จะเห็นมันจบบทปิดฉากลงไปมากกว่า
ในช่วงปลายทศวรรษ 1950 อิทธิพลของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังสร้างความวิตกให้แก่สหรัฐฯมากขึ้นเรื่อยๆ และวอชิงตันก็ต้องการเสาะแสวงหาผู้บังคับบัญชาทหารซึ่งมีความสามารถที่จะเข้าสู้รบกับพวกคอมมิวนิสต์ในลาวโดยไม่จำเป็นต้องมีการส่งกองทหารอเมริกันเข้าไปร่วมทำศึกด้วย ในเดือนธันวาคม 1959 บิลล์ แลร์ (Bill Lair) ที่ปรึกษาผู้หนึ่งของซีไอเอที่ประจำการอยู่ในประเทศไทย ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับวังเปา ซึ่งในขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นผู้บังคับการกองพันของกองทัพบกราชอาณาจักรลาว ในเวลาต่อมาแลร์ก็ได้ดำเนินการจัดหาอาวุธและการฝึกอบรมให้แก่กองกำลังอาวุธชาวม้งที่อยู่ในการบังคับบัญชาของวังเปา
ขณะที่การสู้รบในลาวเพิ่มทวีขึ้น บทบาทของเหล่านักรบของวังเปาก็ขยายตัวออกไป โดยไม่เพียงทำหน้าที่คอยสกัดกั้นกองกำลังอาวุธของขบวนการปะเทดลาวและเวียดนามเหนือเท่านั้น หากยังทำหน้าที่เป็นผู้สอดแนมติดตาม และเข้าสกัดขัดขวางไม่ให้ศัตรูสามารถลำเลียงขนส่งใน “เส้นทางโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh Trail), คอยช่วยเหลือกู้ภัยให้แก่ทหารอากาศอเมริกันที่เครื่องบินถูกยิงตก, และพิทักษ์คุ้มครองจุดยุทธศาสตร์สำคัญๆ ตามเส้นทางที่เครื่องบินทหารของสหรัฐฯบินไปทำการโจมตีทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ต่อเวียดนามเหนือ
การสู้รบเหล่านี้ส่วนใหญ่บังเกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออันห่างไกลของประเทศลาว เฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณรอบๆ ทุ่งไหหินซึ่งถือเป็นเขตยุทธศาสตร์สำคัญ การทิ้งระเบิดอย่างหนักหน่วงและเป็นเวลาต่อเนื่องกันอย่างยาวนานของสหรัฐฯ ทั้งที่มุ่งต่อเส้นทางโฮจิมินห์ ตลอดจนในการสนับสนุนกองกำลังอาวุธชาวม้ง ในที่สุดแล้วก็ทำให้ลาวกลายเป็นประเทศซึ่งถูกทิ้งระเบิดหนักหน่วงร้ายแรงที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก อาวุธนานาจากการโจมตีทิ้งระเบิดของสหรัฐฯในตอนนั้นแล้วยังไม่ระเบิดและถูกปล่อยทิ้งเอาไว้ ได้กลายเป็นมรดกมฤตยูที่พลเรือนชาวลาวยังคงต้องรับเคราะห์จนเกิดการบาดเจ็บและล้มตายกันอยู่เป็นระยะ ทั้งนี้แม้กระทั่งพวกชาวไร่ชาวนาที่เข้าไปทำกินในที่ดินซึ่งมีวัตถุระเบิดหลงเหลืออยู่
กองกำลังอาวุธของวังเปาในท้ายที่สุดแล้วได้เติบใหญ่ขยายตัวจนมีนักรบร่วมๆ 40,000 คน และกลายเป็นกระดูกสันหลังของการต้านทานสู้รบกับกองกำลังคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตาม ความสูญเสียของฝ่ายเขาก็หนักหน่วงมโหฬารยิ่ง ทหารของเขาในตอนเริ่มแรกมีลักษณะเป็นกองจรยุทธ์ที่เน้นการเคลื่อนที่รุกถอยรวดเร็ว แต่ต่อมาได้ถูกนำไปใช้เสมือนเป็นกองทหารตามแบบแผน อันเป็นบทบาทซึ่งไม่เหมะสมกับกองกำลังเหล่านี้เลย พวกเขาจึงประสบการบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก และเมื่อถึงปลายทศวรรษ 1960 กองกำลังอาวุธชาวม้งนี้ถูกบีบบังคับให้ต้องระดมเกณฑ์เอาเด็กหนุ่มเด็กวัยรุ่นที่บางคนอายุเพียงแค่ 13 ปีเท่านั้น เข้ามาเพิ่มเติมจำนวนของพวกเขา
แลร์ยังจัดการให้ชาวม้งเหล่านี้ได้รับการฝึกอบรมจากพวกครูฝึกที่สังกัดอยู่ในกองกำกับการสนับสนุนทางอากาศของตำรวจไทย (Police Aerial Reinforcement Unit หรือรู้จักกันในชื่อย่อว่า PARU) ความสัมพันธ์ที่เขามีอยู่กับฝ่ายทหารของไทยก็เพิ่มพูนแนบแน่นขึ้นทั้งจากการจัดฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องของทาง PARU และทั้งจากการระดมรับสมัคร “ทหารรับจ้าง” ชาวไทยหลายพันคนให้มาเข้าร่วมสนับสนุนสงครามลับในลาว การที่ไทยให้ความสนับสนุนความพยายามของสหรัฐฯและชาวม้งดังกล่าวนี้ ในกรุงเทพฯมองกันว่านี่เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้พวกคอมมิวนิสต์สามารถเข้ายึดครองลาว ซึ่งจะเป็นการคุกคามอย่างหนักต่อรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย รวมทั้งยังจะเป็นการปลุกขวัญเพิ่มกำลังใจให้แก่การก่อความไม่สงบของพวกคอมมิวนิสต์ไทยเองด้วย
วังเปาไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้บังคับบัญชาทหารเท่านั้น แต่เขายังทำหน้าที่กำกับดูแลโครงการความช่วยเหลือและการพัฒนาต่างๆ ที่ให้แก่นักรบของเขาตลอดจนครอบครัวของพวกนักรบ โครงการเหล่านี้จำนวนมากทางสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (United States Agency for International Development หรือรู้จักกันในชื่อย่อว่า USAID) เป็นผู้จัดหามาให้ ในโครงการต่างๆ ดังกล่าว มีทั้งการจัดฝึกอบรมทางการเกษตร ตลอดจนมีการจัดตั้งโรงเรียนและสถานพยาบาลต่างๆ
อย่างไรก็ตาม ชีวิตแห่งอาชีพทหารของวังเปาใช่ว่าจะดำเนินไปโดยปราศจากความขัดแย้งไม่ลงรอยใดๆ ในฐานะที่เขาเป็นผู้กำกับดูแลโครงการต่างๆ ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสหรัฐฯ เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนนักรบของเขาและครอบครัวของเหล่านักรบ ได้เกิดเสียงกล่าวหากันอย่างอึงคะนึงทีเดียวทั้งในระหว่างและภายหลังสงคราม เกี่ยวกับการลักลอบค้าฝิ่นของวังเปาและพวกนายทหารของเขา โดยข้อครหาระบุว่านี่เป็นวิธีหาเงินเพื่อนำมาจ่ายเงินเดือนให้กองทัพของเขาและขณะเดียวกันทำให้พวกเขามั่งคั่งร่ำรวยไปด้วย ข้อกล่าวหาเหล่านี้ในบางกรณีมีการระบุว่าสหรัฐฯได้เข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันด้วย เป็นต้นว่ามีการใช้เครื่องบินของ แอร์อเมริกา (Air America) ซึ่งเป็นบริษัทการบินของซีไอเอ ทำการลำเลียงขนส่งฝิ่น
ข้อกล่าวหาที่มีการรายงานกันอย่างกว้างขวางเหล่านี้ ได้ถูกโต้แย้งโดยชาวม้งบางรายตลอดจนผู้สนับสนุนของพวกเขา ซึ่งก็รวมถึงอดีตเจ้าหน้าที่กึ่งทหารบางคนที่ได้เคยทำงานเคียงข้างกับชาวม้งเหล่านี้ อย่างไรก็ดี แผนการที่จะตั้งชื่อสวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเมืองเมดิสัน (Madison) มลรัฐวิสคอนซิน ตามชื่อของวังเปา ต้องมีอันถูกยกเลิกไปในปี 2002 หลังจากมีการหยิบยกพาดพิงถึงเรื่องที่เขาถูกกล่าวหาว่า เขาเป็นผู้ออกคำสั่งให้สังหารพวกเชลยศึกสงคราม, เหล่าผู้ติดตาม, และพวกคู่แข่งทางการเมือง
ในที่สุดแล้วกองกำลังอาวุธของวังเปาก็ไม่สามารถยังความปราชัยให้แก่พวกคอมมิวนิสต์ปะเทดลาว หากแต่พวกคอมมิวนิสต์ลาวต่างหากซึ่งลงท้ายก็สามารถยึดครองทั่วประเทศนี้ได้สำเร็จในปี 1975 วังเปา, ครอบครัวของเขา, และพวกผู้นำอาวุโสชาวม้ง ต่างได้รับการอพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัยโดยพวกอเมริกัน ทว่ามีนักรบชาวม้งและครอบครัวของพวกเขาอย่างน้อยที่สุดจำนวน 5,000 คนถูกทอดทิ้งเอาไว้เบื้องหลัง
ชุมชนผู้พลัดถิ่นชาวม้ง และกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆ บอกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากนั้นก็คือ ชาวม้งที่สนับสนุนวังเปาในระหว่างสงครามถูกโจมตีเล่นงานเพื่อแก้แค้นกันเป็นชุดใหญ่ ชาวม้งหลายหมื่นคนหลบหนีเข้ามาอยู่ในประเทศไทย สหรัฐฯนั้นไม่เคยยอมรับอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับสงครามลับในลาวนี้จวบจนกระทั่งถึงปี 1997 เมื่อมีการก่อตั้งอนุสรณ์สถานแห่งหนึ่งขึ้นในสุสานแห่งชาติอาร์ลิงตัน เพื่อเป็นเกียรติแก่ชาวม้งและนักรบอื่นๆ ที่ผ่านศึกสงครามคราวนั้นมา
ในอเมริกา ช่วงแรกๆ ตัววังเปาเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในมลรัฐมอนแทนา แต่ในที่สุดแล้วก็โยกย้ายมาอยู่ในเคาน์ตี ออเรนจ์ (Orange County) มลรัฐแคลิฟอร์เนีย เขาได้รับการยกย่องในเรื่องพยายามเป็นคนกลางช่วยเหลือให้ชาวม้งหลายหมื่นคนจากค่ายผู้ลี้ภัยต่างๆ ในประเทศไทยได้เดินทางไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐฯ ขณะที่ในดินแดนสหรัฐฯนั้น วังเปาได้ก่อตั้งหน่วยงานไม่ค้ากำไรขึ้นมาหลายแห่ง เป็นต้นว่า “ชุมชนครอบครัวชาวลาว” (Lao Family Community) แสดงบทบาทในการจัดหาบริการทางสังคมต่างๆ , สอนภาษาอังกฤษ และทักษะการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานอื่นๆ เพื่อช่วยผ่อนเพลาความยากลำบากของชาวม้งในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ชีวิตในสหรัฐฯ เขายังจัดตั้งองค์กรในลักษณะสภาขึ้นมา เพื่อเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในระหว่างแซ่ตระกูลต่างๆ ของชาวม้งซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 18 แซ่ตระกูล รวมทั้งยังทำหน้าที่เป็นคนกลางด้วยตนเองเพื่อไกล่เกลี่ยแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชุมชนชาวม้งที่ตั้งกระจัดกระจายกันอยู่ทั่วสหรัฐฯ โดยในปัจจุบันในสหรัฐอเมริกามีชาวม้งพำนักอาศัยอยู่เป็นจำนวนกว่า 200,000 คน
ไบรอัน แมคคาร์แทน เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระที่พำนักอยู่ในกรุงเทพฯ สามารถติดต่อเขาได้ทางอีเมล์ที่ brianpm@comcast.net
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
Cold War ally, modern-day nuisance
By Brian McCartan
10/01/2011
ชุมชนชาวม้งในสหรัฐอเมริกา อาจจะรู้สึกเศร้าโศกอาลัยกับการมรณกรรมของนายพล “วังเปา” บุรุษผู้มีศักยภาพมากที่สุดที่จะเป็นสัญลักษณ์ของ “สงครามลับ” ของซีไอเอในประเทศลาว ในฐานะที่เขาเป็นผู้บัญชาการของกองกำลังฝ่ายต่อต้านชาวม้ง ทว่าสำหรับทางการทั้งในวอชิงตัน, กรุงเทพฯ, และเวียงจันทน์ พวกเขาน่าที่จะพากันถอนหายใจด้วยความรู้สึกโล่งอกอย่างเงียบๆ มากกว่า วังเปาเป็นตัวอย่างรูปธรรมที่ชัดเจนยิ่งของความเป็นปรปักษ์ต่างๆ ในยุคสงครามเย็น อีกทั้งยังมีความพยายามที่จะธำรงรักษาความเป็นปรปักษ์เช่นนั้นเอาไว้ด้วย ขณะที่มันได้กลายเป็นสิ่งที่ผู้คนจำนวนมากในภูมิภาคแถบนี้และในสหรัฐอเมริกา ปรารถนาที่จะนำมากลบฝังแล้วลืมเลือนไปเสีย
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
กรุงเทพฯ – นายพลวังเปา (Vang Pao) ผู้เล่นที่สำคัญยิ่ง และก็เป็นผู้ที่มีศักยภาพมากที่สุดที่จะเป็นสัญลักษณ์ของ “สงครามลับ” ของสำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (US Central Intelligence Agency หรือ CIA) ในประเทศลาว ได้ถึงแก่กรรมลงด้วยสาเหตุทางธรรมชาติที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา สิริอายุได้ 81 ปี ขณะที่นายพลผู้นี้ไม่เคยเข้ารับราชการในกองทัพสหรัฐฯอย่างเป็นทางการ แต่พวกผู้สนับสนุนยกย่องเชิดชูเขาในชุมชนชนชาติม้งต่างเชื่อว่า ศพของเขาควรที่จะได้รับเกียรตินำไปฝังที่สุสานแห่งชาติอาร์ลิงตัน (Arlington National Cemetery) เคียงข้างวีรบุรุษสงครามชาวอเมริกันคนอื่นๆ
อดีตที่ชวนให้เกิดการถกเถียงขัดแย้งของเขา เป็นต้นว่า การที่เขาถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องพัวพันกับการลักลอบค้ายาเสพติด และการที่เขาถูกฟ้องร้องกล่าวโทษว่ามีบทบาทในการอาศัยแผ่นดินสหรัฐฯมาวางแผนโค่นล้มรัฐบาลลาว เหล่านี้น่าที่จะกลายเป็นน้ำหนักที่ทัดทานคัดค้านไม่ให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ยินยอมผ่อนผันให้แก่เขาเป็นกรณีพิเศษเพื่อจะได้ฝังร่างที่อาร์ลิงตัน ขณะที่จุดมุ่งหมายทางยุทธศาสตร์ต่อภูมิภาคแถบนี้ของวอชิงตันในช่วงหลังสงครามเย็น ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากมายแล้ว วังเปาจึงยิ่งกำลังกลายเป็นบทตอนของประวัติศาสตร์ ซึ่งทั้งสหรัฐฯและเหล่าพันธมิตรของสหรัฐฯในภูมิภาค ต่างยินดีที่จะเห็นมันจบบทปิดฉากลงไปมากกว่า
ในช่วงปลายทศวรรษ 1950 อิทธิพลของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังสร้างความวิตกให้แก่สหรัฐฯมากขึ้นเรื่อยๆ และวอชิงตันก็ต้องการเสาะแสวงหาผู้บังคับบัญชาทหารซึ่งมีความสามารถที่จะเข้าสู้รบกับพวกคอมมิวนิสต์ในลาวโดยไม่จำเป็นต้องมีการส่งกองทหารอเมริกันเข้าไปร่วมทำศึกด้วย ในเดือนธันวาคม 1959 บิลล์ แลร์ (Bill Lair) ที่ปรึกษาผู้หนึ่งของซีไอเอที่ประจำการอยู่ในประเทศไทย ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับวังเปา ซึ่งในขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นผู้บังคับการกองพันของกองทัพบกราชอาณาจักรลาว ในเวลาต่อมาแลร์ก็ได้ดำเนินการจัดหาอาวุธและการฝึกอบรมให้แก่กองกำลังอาวุธชาวม้งที่อยู่ในการบังคับบัญชาของวังเปา
ขณะที่การสู้รบในลาวเพิ่มทวีขึ้น บทบาทของเหล่านักรบของวังเปาก็ขยายตัวออกไป โดยไม่เพียงทำหน้าที่คอยสกัดกั้นกองกำลังอาวุธของขบวนการปะเทดลาวและเวียดนามเหนือเท่านั้น หากยังทำหน้าที่เป็นผู้สอดแนมติดตาม และเข้าสกัดขัดขวางไม่ให้ศัตรูสามารถลำเลียงขนส่งใน “เส้นทางโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh Trail), คอยช่วยเหลือกู้ภัยให้แก่ทหารอากาศอเมริกันที่เครื่องบินถูกยิงตก, และพิทักษ์คุ้มครองจุดยุทธศาสตร์สำคัญๆ ตามเส้นทางที่เครื่องบินทหารของสหรัฐฯบินไปทำการโจมตีทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ต่อเวียดนามเหนือ
การสู้รบเหล่านี้ส่วนใหญ่บังเกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออันห่างไกลของประเทศลาว เฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณรอบๆ ทุ่งไหหินซึ่งถือเป็นเขตยุทธศาสตร์สำคัญ การทิ้งระเบิดอย่างหนักหน่วงและเป็นเวลาต่อเนื่องกันอย่างยาวนานของสหรัฐฯ ทั้งที่มุ่งต่อเส้นทางโฮจิมินห์ ตลอดจนในการสนับสนุนกองกำลังอาวุธชาวม้ง ในที่สุดแล้วก็ทำให้ลาวกลายเป็นประเทศซึ่งถูกทิ้งระเบิดหนักหน่วงร้ายแรงที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก อาวุธนานาจากการโจมตีทิ้งระเบิดของสหรัฐฯในตอนนั้นแล้วยังไม่ระเบิดและถูกปล่อยทิ้งเอาไว้ ได้กลายเป็นมรดกมฤตยูที่พลเรือนชาวลาวยังคงต้องรับเคราะห์จนเกิดการบาดเจ็บและล้มตายกันอยู่เป็นระยะ ทั้งนี้แม้กระทั่งพวกชาวไร่ชาวนาที่เข้าไปทำกินในที่ดินซึ่งมีวัตถุระเบิดหลงเหลืออยู่
กองกำลังอาวุธของวังเปาในท้ายที่สุดแล้วได้เติบใหญ่ขยายตัวจนมีนักรบร่วมๆ 40,000 คน และกลายเป็นกระดูกสันหลังของการต้านทานสู้รบกับกองกำลังคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตาม ความสูญเสียของฝ่ายเขาก็หนักหน่วงมโหฬารยิ่ง ทหารของเขาในตอนเริ่มแรกมีลักษณะเป็นกองจรยุทธ์ที่เน้นการเคลื่อนที่รุกถอยรวดเร็ว แต่ต่อมาได้ถูกนำไปใช้เสมือนเป็นกองทหารตามแบบแผน อันเป็นบทบาทซึ่งไม่เหมะสมกับกองกำลังเหล่านี้เลย พวกเขาจึงประสบการบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก และเมื่อถึงปลายทศวรรษ 1960 กองกำลังอาวุธชาวม้งนี้ถูกบีบบังคับให้ต้องระดมเกณฑ์เอาเด็กหนุ่มเด็กวัยรุ่นที่บางคนอายุเพียงแค่ 13 ปีเท่านั้น เข้ามาเพิ่มเติมจำนวนของพวกเขา
แลร์ยังจัดการให้ชาวม้งเหล่านี้ได้รับการฝึกอบรมจากพวกครูฝึกที่สังกัดอยู่ในกองกำกับการสนับสนุนทางอากาศของตำรวจไทย (Police Aerial Reinforcement Unit หรือรู้จักกันในชื่อย่อว่า PARU) ความสัมพันธ์ที่เขามีอยู่กับฝ่ายทหารของไทยก็เพิ่มพูนแนบแน่นขึ้นทั้งจากการจัดฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องของทาง PARU และทั้งจากการระดมรับสมัคร “ทหารรับจ้าง” ชาวไทยหลายพันคนให้มาเข้าร่วมสนับสนุนสงครามลับในลาว การที่ไทยให้ความสนับสนุนความพยายามของสหรัฐฯและชาวม้งดังกล่าวนี้ ในกรุงเทพฯมองกันว่านี่เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้พวกคอมมิวนิสต์สามารถเข้ายึดครองลาว ซึ่งจะเป็นการคุกคามอย่างหนักต่อรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย รวมทั้งยังจะเป็นการปลุกขวัญเพิ่มกำลังใจให้แก่การก่อความไม่สงบของพวกคอมมิวนิสต์ไทยเองด้วย
วังเปาไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้บังคับบัญชาทหารเท่านั้น แต่เขายังทำหน้าที่กำกับดูแลโครงการความช่วยเหลือและการพัฒนาต่างๆ ที่ให้แก่นักรบของเขาตลอดจนครอบครัวของพวกนักรบ โครงการเหล่านี้จำนวนมากทางสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (United States Agency for International Development หรือรู้จักกันในชื่อย่อว่า USAID) เป็นผู้จัดหามาให้ ในโครงการต่างๆ ดังกล่าว มีทั้งการจัดฝึกอบรมทางการเกษตร ตลอดจนมีการจัดตั้งโรงเรียนและสถานพยาบาลต่างๆ
อย่างไรก็ตาม ชีวิตแห่งอาชีพทหารของวังเปาใช่ว่าจะดำเนินไปโดยปราศจากความขัดแย้งไม่ลงรอยใดๆ ในฐานะที่เขาเป็นผู้กำกับดูแลโครงการต่างๆ ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสหรัฐฯ เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนนักรบของเขาและครอบครัวของเหล่านักรบ ได้เกิดเสียงกล่าวหากันอย่างอึงคะนึงทีเดียวทั้งในระหว่างและภายหลังสงคราม เกี่ยวกับการลักลอบค้าฝิ่นของวังเปาและพวกนายทหารของเขา โดยข้อครหาระบุว่านี่เป็นวิธีหาเงินเพื่อนำมาจ่ายเงินเดือนให้กองทัพของเขาและขณะเดียวกันทำให้พวกเขามั่งคั่งร่ำรวยไปด้วย ข้อกล่าวหาเหล่านี้ในบางกรณีมีการระบุว่าสหรัฐฯได้เข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันด้วย เป็นต้นว่ามีการใช้เครื่องบินของ แอร์อเมริกา (Air America) ซึ่งเป็นบริษัทการบินของซีไอเอ ทำการลำเลียงขนส่งฝิ่น
ข้อกล่าวหาที่มีการรายงานกันอย่างกว้างขวางเหล่านี้ ได้ถูกโต้แย้งโดยชาวม้งบางรายตลอดจนผู้สนับสนุนของพวกเขา ซึ่งก็รวมถึงอดีตเจ้าหน้าที่กึ่งทหารบางคนที่ได้เคยทำงานเคียงข้างกับชาวม้งเหล่านี้ อย่างไรก็ดี แผนการที่จะตั้งชื่อสวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเมืองเมดิสัน (Madison) มลรัฐวิสคอนซิน ตามชื่อของวังเปา ต้องมีอันถูกยกเลิกไปในปี 2002 หลังจากมีการหยิบยกพาดพิงถึงเรื่องที่เขาถูกกล่าวหาว่า เขาเป็นผู้ออกคำสั่งให้สังหารพวกเชลยศึกสงคราม, เหล่าผู้ติดตาม, และพวกคู่แข่งทางการเมือง
ในที่สุดแล้วกองกำลังอาวุธของวังเปาก็ไม่สามารถยังความปราชัยให้แก่พวกคอมมิวนิสต์ปะเทดลาว หากแต่พวกคอมมิวนิสต์ลาวต่างหากซึ่งลงท้ายก็สามารถยึดครองทั่วประเทศนี้ได้สำเร็จในปี 1975 วังเปา, ครอบครัวของเขา, และพวกผู้นำอาวุโสชาวม้ง ต่างได้รับการอพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัยโดยพวกอเมริกัน ทว่ามีนักรบชาวม้งและครอบครัวของพวกเขาอย่างน้อยที่สุดจำนวน 5,000 คนถูกทอดทิ้งเอาไว้เบื้องหลัง
ชุมชนผู้พลัดถิ่นชาวม้ง และกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆ บอกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากนั้นก็คือ ชาวม้งที่สนับสนุนวังเปาในระหว่างสงครามถูกโจมตีเล่นงานเพื่อแก้แค้นกันเป็นชุดใหญ่ ชาวม้งหลายหมื่นคนหลบหนีเข้ามาอยู่ในประเทศไทย สหรัฐฯนั้นไม่เคยยอมรับอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับสงครามลับในลาวนี้จวบจนกระทั่งถึงปี 1997 เมื่อมีการก่อตั้งอนุสรณ์สถานแห่งหนึ่งขึ้นในสุสานแห่งชาติอาร์ลิงตัน เพื่อเป็นเกียรติแก่ชาวม้งและนักรบอื่นๆ ที่ผ่านศึกสงครามคราวนั้นมา
ในอเมริกา ช่วงแรกๆ ตัววังเปาเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในมลรัฐมอนแทนา แต่ในที่สุดแล้วก็โยกย้ายมาอยู่ในเคาน์ตี ออเรนจ์ (Orange County) มลรัฐแคลิฟอร์เนีย เขาได้รับการยกย่องในเรื่องพยายามเป็นคนกลางช่วยเหลือให้ชาวม้งหลายหมื่นคนจากค่ายผู้ลี้ภัยต่างๆ ในประเทศไทยได้เดินทางไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐฯ ขณะที่ในดินแดนสหรัฐฯนั้น วังเปาได้ก่อตั้งหน่วยงานไม่ค้ากำไรขึ้นมาหลายแห่ง เป็นต้นว่า “ชุมชนครอบครัวชาวลาว” (Lao Family Community) แสดงบทบาทในการจัดหาบริการทางสังคมต่างๆ , สอนภาษาอังกฤษ และทักษะการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานอื่นๆ เพื่อช่วยผ่อนเพลาความยากลำบากของชาวม้งในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ชีวิตในสหรัฐฯ เขายังจัดตั้งองค์กรในลักษณะสภาขึ้นมา เพื่อเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในระหว่างแซ่ตระกูลต่างๆ ของชาวม้งซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 18 แซ่ตระกูล รวมทั้งยังทำหน้าที่เป็นคนกลางด้วยตนเองเพื่อไกล่เกลี่ยแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชุมชนชาวม้งที่ตั้งกระจัดกระจายกันอยู่ทั่วสหรัฐฯ โดยในปัจจุบันในสหรัฐอเมริกามีชาวม้งพำนักอาศัยอยู่เป็นจำนวนกว่า 200,000 คน
ไบรอัน แมคคาร์แทน เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระที่พำนักอยู่ในกรุงเทพฯ สามารถติดต่อเขาได้ทางอีเมล์ที่ brianpm@comcast.net
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)