เอเอฟพี - ร่างไร้วิญญาณของทารกแรกเกิด 2 ราย ได้รับการชำระกายเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนพิธีฝังศพในนครการาจี หลังจากเด็กน้อยทั้งคู่ถูกทิ้งให้เสียชีวิตอยู่ในถังขยะ
“ทารกทั้งสองมีอายุเพียง 1 หรือ 2 วันเท่านั้น” มูฮัมหมัด ซาเลม เจ้าหน้าที่อาสาสมัครกล่าว ขณะที่มองดูศพ ซึ่งเพื่อนร่วมงานของเขากำลังอาบน้ำให้อย่างทะนุถนอมในห้องเก็บศพของมูลนิธิเอธี
อัตราการฆ่าทารกกำลังเพิ่มขึ้นในประเทศมุสลิมเคร่งครัดอย่างปากีสถาน เนื่องจากการเกิดของเด็กนอกสมรสมักถูกประณาม รวมทั้งการคบชู้สู่ชายถือเป็นอาชญากรรมที่อาจถูกลงโทษจนถึงแก่ความตาย ภายใต้การตีความกฎหมายอิสลามอันเข้มงวด โดยเมื่อปี 2010 ที่ผ่านมา มูลนิธิเอธีประเมินไว้ ว่า มีเด็กมากกว่า 1,000 คนถูกฆ่า หรือทิ้งให้เสียชีวิตในปากีสถาน ซึ่งส่วนมากเป็นเด็กผู้หญิง
ทั้งนี้ ตัวเลขการเสียชีวิตของเด็กทารกดังกล่าวเป็นสถิติที่เก็บมาจากเมืองหลักๆ ในปากีสถานเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา มูลนิธิเอธีระบุว่า เพียงเดือนเดียวมีการพบศพเด็กทาก 40 รายถูกทิ้งในถังขยะ และท่อระบายน้ำ
อันวาร์ คัซมี ประธานมูลนิธิเอธี กล่าวว่า เมื่อปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่พบศพเด็กทารกถูกทิ้งจำนวน 1,210 ศพ โดยเพิ่มขึ้นมาจากเมื่อปี 2008 ซึ่งมี 890 ศพ และปี 2009 มี 999 ศพ
“อย่าก่อฆาตกรรม โปรดนำเด็กมาให้เรา” ข้อความบนป้ายที่แขวนไว้หน้ามูลนิธิเอธีในนครการาจี ระบุ โดยองค์กรแห่งนี้หวังว่า พ่อแม่จะนำเด็กที่ไม่ต้องการมาฝากไว้ยังมูลนิธิ แทนที่จะทิ้งให้เด็กตายอยู่ข้างถนน
“คนที่นำมาเด็กมาทิ้งไว้ส่วนมาก คิดว่า เด็กๆ พวกนี้เป็นลูกนอกกฎหมาย แต่พวกเด็กๆ เป็นผู้บริสุทธิ์ และต้องการความรักเหมือนกับมนุษย์ทั่วไป” อับดุล ซัตตอร์ เอธี ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิกล่าว เด็กส่วนใหญ่ที่พบมักมีอายุไม่ถึง 1 สัปดาห์ และเป็นเด็กผู้หญิงถึง 9 จาก 10 ราย
การทำแท้งเป็นเรื่องต้องห้ามในปากีสถาน เว้นแต่เมื่อผู้เป็นมารดาอาจได้รับอันตรายจากการตั้งครรภ์ ทว่านักกฎหมายหลายรายเห็นตรงกัน ว่า การเปิดทำแท้งเสรีจะช่วยลดอัตรการฆ่าเด็กทารก และช่วยไม่ให้ผู้เป็นแม่นำทารกไปทิ้งไว้ตามข้างถนน
ตามกฎหมายปากีสถาน ผู้ใดถูกพบว่าละทิ้งเด็กทารกจะต้องโทษจำคุก 7 ปี ผู้ใดมีความผิดฐานลักลอบฝังศพเด็กทารกจะต้องโทษจำคุก 2 ปี ส่วนการฆาตกรรมต้องรับโทษจำคุกตลอดชีวิต
อย่างไรก็ตาม คดีฆาตกรรมเด็กทารกส่วนใหญ่ไม่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี “สถานีตำรวจส่วนใหญ่ไม่ได้ลงบันทึกคดีการฆ่าเด็กทารก ตำรวจเพียงแต่สืบสวนไปตามเรื่องตามราวเท่านั้น” อับดุล ราชีด นักกฎหมายปากีสถาน กล่าว
“ทารกทั้งสองมีอายุเพียง 1 หรือ 2 วันเท่านั้น” มูฮัมหมัด ซาเลม เจ้าหน้าที่อาสาสมัครกล่าว ขณะที่มองดูศพ ซึ่งเพื่อนร่วมงานของเขากำลังอาบน้ำให้อย่างทะนุถนอมในห้องเก็บศพของมูลนิธิเอธี
อัตราการฆ่าทารกกำลังเพิ่มขึ้นในประเทศมุสลิมเคร่งครัดอย่างปากีสถาน เนื่องจากการเกิดของเด็กนอกสมรสมักถูกประณาม รวมทั้งการคบชู้สู่ชายถือเป็นอาชญากรรมที่อาจถูกลงโทษจนถึงแก่ความตาย ภายใต้การตีความกฎหมายอิสลามอันเข้มงวด โดยเมื่อปี 2010 ที่ผ่านมา มูลนิธิเอธีประเมินไว้ ว่า มีเด็กมากกว่า 1,000 คนถูกฆ่า หรือทิ้งให้เสียชีวิตในปากีสถาน ซึ่งส่วนมากเป็นเด็กผู้หญิง
ทั้งนี้ ตัวเลขการเสียชีวิตของเด็กทารกดังกล่าวเป็นสถิติที่เก็บมาจากเมืองหลักๆ ในปากีสถานเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา มูลนิธิเอธีระบุว่า เพียงเดือนเดียวมีการพบศพเด็กทาก 40 รายถูกทิ้งในถังขยะ และท่อระบายน้ำ
อันวาร์ คัซมี ประธานมูลนิธิเอธี กล่าวว่า เมื่อปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่พบศพเด็กทารกถูกทิ้งจำนวน 1,210 ศพ โดยเพิ่มขึ้นมาจากเมื่อปี 2008 ซึ่งมี 890 ศพ และปี 2009 มี 999 ศพ
“อย่าก่อฆาตกรรม โปรดนำเด็กมาให้เรา” ข้อความบนป้ายที่แขวนไว้หน้ามูลนิธิเอธีในนครการาจี ระบุ โดยองค์กรแห่งนี้หวังว่า พ่อแม่จะนำเด็กที่ไม่ต้องการมาฝากไว้ยังมูลนิธิ แทนที่จะทิ้งให้เด็กตายอยู่ข้างถนน
“คนที่นำมาเด็กมาทิ้งไว้ส่วนมาก คิดว่า เด็กๆ พวกนี้เป็นลูกนอกกฎหมาย แต่พวกเด็กๆ เป็นผู้บริสุทธิ์ และต้องการความรักเหมือนกับมนุษย์ทั่วไป” อับดุล ซัตตอร์ เอธี ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิกล่าว เด็กส่วนใหญ่ที่พบมักมีอายุไม่ถึง 1 สัปดาห์ และเป็นเด็กผู้หญิงถึง 9 จาก 10 ราย
การทำแท้งเป็นเรื่องต้องห้ามในปากีสถาน เว้นแต่เมื่อผู้เป็นมารดาอาจได้รับอันตรายจากการตั้งครรภ์ ทว่านักกฎหมายหลายรายเห็นตรงกัน ว่า การเปิดทำแท้งเสรีจะช่วยลดอัตรการฆ่าเด็กทารก และช่วยไม่ให้ผู้เป็นแม่นำทารกไปทิ้งไว้ตามข้างถนน
ตามกฎหมายปากีสถาน ผู้ใดถูกพบว่าละทิ้งเด็กทารกจะต้องโทษจำคุก 7 ปี ผู้ใดมีความผิดฐานลักลอบฝังศพเด็กทารกจะต้องโทษจำคุก 2 ปี ส่วนการฆาตกรรมต้องรับโทษจำคุกตลอดชีวิต
อย่างไรก็ตาม คดีฆาตกรรมเด็กทารกส่วนใหญ่ไม่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี “สถานีตำรวจส่วนใหญ่ไม่ได้ลงบันทึกคดีการฆ่าเด็กทารก ตำรวจเพียงแต่สืบสวนไปตามเรื่องตามราวเท่านั้น” อับดุล ราชีด นักกฎหมายปากีสถาน กล่าว