(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Yale donation sets tongues wagging
By Wu Zhong
13/01/2010
ศิษย์เก่าที่เป็นหนุ่มใหญ่ชาวจีนผู้หนึ่ง บริจาคเงินสูงสุดเป็นประวัติการณ์ร่วมๆ 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯให้แก่มหาวิทยาลยเยล สถาบันการศึกษาชื่อดังในสหรัฐอเมริกา กลายเป็นการจุดประกายให้เกิดการอภิปรายถกเถียงไปทั่วทั้งประเทศจีน โดยที่มีบางคนเรียกการกระทำคราวนี้ว่าเป็นการทรยศชาติ ขณะที่คนอื่นๆ บอกว่าควรคือเป็นความภาคภูมิใจของประเทศ และสิ่งที่ออกจะน่าประหลาดใจอยู่ไม่น้อยก็คือ สื่อที่รัฐควบคุมก็ได้เข้ามาร่วมวง โดยปกป้องแก้ต่างให้แก่ผู้ใจบุญรายนี้
ฮ่องกง – เศรษฐีเงินล้านชาวจีนผู้หนึ่ง บริจาคเงินร่วมๆ 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่คณะในมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ที่เขาเป็นศิษย์เก่าเคยร่ำเรียนจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เงินจำนวนนี้ถือว่าก้อนใหญ่ระดับสร้างสถิติใหม่ๆ ทีเดียว แล้วก็เลยกลายเป็นข่าวดังระเบิดในจีน จุดประกายให้เกิดการอภิปรายถกเถียงกันในทั่วทั้งประเทศว่า เขาสมควรที่จะให้เงินก้อนนี้แก่สถาบันการศึกษาของจีนมากกว่าหรือไม่
ภายหลังการแถลงข่าวของมหาวิทยาลัยเยล ทางโกลบอลไทมส์ (Global Times) ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือพิมพ์ของทางการจีน ก็ได้รายงานข่าวนี้ในแดนมังกรเป็นรายแรกเมื่อวันที่ 8 มกราคมว่า จางเหลย (Zhang Lei) ศิษย์เก่าผู้สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาโทด้านการบริหารจัดการ จากคณะบริหารจัดการ (School of Management) ของเยล และเป็นผู้ก่อตั้งตลอดจนเป็นหุ้นส่วนจัดการ (managing partner) ของกองทุนฮิลล์เฮาส์แคปิตอลแมเนจเมนต์ (Hillhouse Capital Management) ซึ่งจดทะเบียนในนิวยอร์กและตั้งสำนักงานอยู่ในปักกิ่ง ตกลงที่จะบริจาคเงินเป็นจำนวน 8,888,888 ล้านดอลลาร์ให้แก่คณะที่เขาเรียนจบมา ทั้งนี้การที่ให้เงินเป็นตัวเลขเช่นนี้ ก็เพราะคำว่า “แปด” ในภาษาจีน มีเสียงคล้ายๆ กับคำว่า “ร่ำรวย”คนจีนจึงถือกันโดยทั่วไปว่าเลขแปดเป็นเลขมงคล หลังจากการรายงานของโกลบอลไทมส์แล้ว สื่อจีนรายใหญ่ๆ อื่นๆ เป็นต้นว่า สำนักข่าวซินหวา, สถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน (China Central Television หรือ CCTV), ตลอดจนหนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี (China Daily) ก็ได้เสนอข่าวต่อเนื่องตามมาในทันที
ตามที่ปรากฏในเว็บไซต์ทางการของมหาวิทยาลัยเยล ริชาร์ด ซี เลวิน (Richard C Levin) อธิการบดีของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ แถลงเมื่อวันที่ 4 มกราคมว่า “เหลย จาง ตกลงที่จะให้ของขวัญชิ้นใหญ่ที่สุดเท่าที่คณะบริหารจัดการ ของมหาวิทยาลัยเยล เคยได้รับจากผู้สำเร็จจากศึกษาจากคณะนี้ นอกจากนั้นการที่จางสัญญาที่จะบริจาคเงินจำนวนนี้ ในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปีภายหลังที่เขาสำเร็จการศึกษาไปจากเยล ยังเท่ากับว่านี่เป็นการให้ของขวัญชิ้นใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา จากศิษย์เก่าที่ยังอยู่ในวัยเยาว์ของทั่วทั้งมหาวิทยาลัยเยลอีกด้วย”
เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยระบุว่า คณะบริหารจัดการของเยล กำลังอยู่ระหว่างการระดมหาเงินบริจาคให้ได้ถึง 300 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2011 เพื่อเป็นหลักประกัน “ความเป็นผู้นำในการศึกษาด้านบริหารจัดการแห่งศตวรรษที่ 21” นอกจากจางแล้ว ผู้บริจาคที่เป็นคนเชื้อสายจีนอีกคนหนึ่งที่ปรากฏชื่อในเว็บไซต์ก็คือ ลอรา ชา (Laura Cha) สมาชิกของสภาบริหารฮ่องกง (Hong Kong's executive council) ซึ่งเมื่อปลายทศวรรษ 1990 เคยทำงานเป็นรองประธานของคณะกรรมการหลักทรัพย์และตราสารอนุพันธ์ฟิวเจอร์สของฮ่องกง (Hong Kong's Securities and Futures Commission) รวมทั้งเคยเป็นรองประธานของคณะกรรมการกำกับตรวจสอบหลักทรัพย์แห่งประเทศจีน (China Securities Regulation Commission) ในช่วงปี 2001-2004
เนื่องจากจางแทบจะไม่เป็นที่รู้จักกันเอาเลยในประเทศจีน ทั้งผู้สื่อข่าวและบล็อกเกอร์ผู้อยากรู้อยากเห็น จึงเริ่มขุดเจาะหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับตัวเขากันในทันที บล็อกเกอร์บางคนถึงขั้นเปิดฉากดำเนินการสิ่งที่ภาษาจีนเรียกกันว่า “renrou shousuo” ( human flesh search การขุดค้นหาเนื้อมนุษย์) อันมีความหมายว่า ผู้คนในโลกไซเบอร์ส่งไม้ผลัดช่วยกันสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลพิเศษรายใดรายหนึ่ง
ตามรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ต้าเหอเดลี่ (Dahe Daily) ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ในเครือ เหอหนานเดลี่ (Henan Daily) หนังสือพิมพ์ทางการของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนสาขามณฑลเหอหนาน บอกเอาไว้ว่าจางปัจจุบันอายุ 38 ปี เกิดและเติบโตในเมืองจูหม่าเตี้ยน (Zhumadian) ในเหอหนาน ซึ่งเป็นมณฑลทางภาคกลางของจีน
ในปี 1989 เขาสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ด้วยคะแนนดีเยี่ยม และได้รับให้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเหรินหมินแห่งประเทศจีน (Renmin University of China) ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง เพื่อเรียนวิชาการเงินระหว่างประเทศ ถึงปี 1998 เขาไปเรียนต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเยล จางบอกกับต้าเหอเดลี่ โดยผ่านทาง เหลียงอวี๋ (Liang Yu) เพื่อนโรงเรียนมัธยมของเขาว่า เขาเลือกเรียนที่เยลก็เพราะในเวลานั้น สถาบันแห่งนี้คือสถาบันการศึกษาในต่างประเทศเพียงแห่งเดียวที่คุณพ่อคุณแม่ของเขารู้จักชื่อเสียงเรียงนาม
“ เยล ซอม (Yale SOM [School of Management]) เป็นผู้ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของผม นี่ไม่ได้เป็นการพูดให้เกินความจริงไปเลย” ต้าเหออ้างคำพูดของจาง เขากล่าวว่าครั้งหนึ่งเยลยังให้ความสนับสนุนทางการเงินแก่เขาเมื่อตอนที่เขาเริ่มก่อตั้งธุรกิจของเขาเองขึ้นมา เขาระบุด้วยว่า ตอนที่กลับประเทศเพื่อทำการลงทุนในจีนในปี 2005 นั้น เขามีเงินทุนอยู่ราว 30 ล้านดอลลาร์ เวลานี้ ฮิลล์เฮาส์ แคปิตอล แมเนจเมนต์ ของเขา เป็นผู้บริหารจัดการสินทรัพย์ทั้งสิ้น 2,500 ล้านดอลลาร์ (ต้าเหอเดลี่รายงานด้วยว่า มีบางคนสงสัยว่าฮิลล์เฮาส์อาจจะเป็นผู้บริหารจัดการกองทุนเพื่อการลงทุนในประเทศจีนของมหาวิทยาลัยเยลด้วย ทว่าหนังสือพิมพ์นี้ไม่ได้ให้หลักฐานอะไรยืนยันเรื่องนี้)
เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ในเรื่องที่กว้างไกลออกไปของเขา จางกล่าวว่าเหตุผลอีกประการหนึ่งที่ทำให้เขาตัดสินใจบริจาคเงินให้เยล ก็เพราะมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นที่รู้จักและยกย่องเชื่อถือในประเทศจีน เยลได้ช่วยประเทศจีนมากว่าร้อยปีแล้ว เจ้าหน้าที่จีนจำนวนมากทีเดียวสำเร็จการศึกษาจากเยล “ทว่าเป็นเวลานานมากแล้วที่ความช่วยเหลือดังกล่าวอยู่ในลักษณะทางเดียว ดังนั้นผมจึงต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้” จางบอก
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภูมิหลังของจาง ตลอดจนคำอธิบายของเขา กลายเป็นเชื้อเพลิงโหมเติมให้การอภิปรายถกเถียงยิ่งดำเนินไปอย่างดุเดือด
ในเว็บไซต์ของโกลบอลไทมส์ มีบล็อกเกอร์ 2-3 คนวิพากษ์วิจารณ์เรื่องที่จางอ้างว่าเยลเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา “คุณเข้าเรียนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเป็นเวลาตั้งสิบกว่าปี คุณจะไม่มีอะไรไม่เป็นอะไรทั้งนั้นแหละ ถ้าหากไม่ได้รับการศึกษาในประเทศจีน!” บล็อกเกอร์รายหนึ่งตอบโต้คำพูดของจาง
“สถานการณ์ปัจจุบันของการศึกษาขั้นอุดมศึกษาในประเทศจีนอยู่ในระดับที่น่าห่วง ผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยจำนวนมากไม่สามารถหางานทำได้ อย่างไรก็ตาม คุณกลับไปมอบเงินแก่มหาวิทยาลัยในต่างประเทศแทนที่จะมาช่วยเหลือการศึกษาของจีน นี่เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจจริงๆ” อีกคนหนึ่งบอก “เราไม่เคยเห็นเลยว่า ฮิลล์เฮาส์ แคปิตอล แมเนจเมนต์ ได้เคยบริจาคเงินก้อนใหญ่โตเช่นนี้เพื่อบรรเทาภัยพิบัติภายหลังเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ที่เสฉวน (ในเดือนพฤษภาคม 2008)”
บล็อกเกอร์คนหนึ่งพูดสรุปถึงจางอย่างง่ายๆ เลยว่า “คนทรยศชาติ ไปลงถังขยะเสียเถอะ”
ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเหรินหมิน ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่จางก็เคยร่ำเรียนมา หลายๆ คนตั้งคำถามว่า ทำไมจางจึงไม่บริจาคเงินให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้บ้าง
อย่างไรก็ดีในเว็บไซต์ทั้งสองที่กล่าวถึงนี้ มีผู้คนจำนวนมากที่แสดงความสนับสนุนจาง โดยกล่าวว่าการที่เขาจะทำอะไรกับเงินทองของเขาเอง ย่อมเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับตัวเขา ผู้สนับสนุนเหล่านี้หลายคนยังชี้ถึงปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบการศึกษาของจีน และกล่าวว่าความเคลื่อนไหวเช่นนี้ของจางน่าจะกลายเป็นแรงสะท้อนไปถึงปัญหาต่างๆ ที่กำลังกระทบกระเทือนระบบการศึกษาของจีน เป็นต้นว่า การทุจริตคอร์รัปชั่น, การทุจริตในเรื่องการสอบ, การให้ปริญญาบัตร/ประกาศนียบัตรปลอม, และการที่ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นมหาวิทยาลัยจำนวนมากยังไม่มีงานทำ “นักศึกษาจีนคนหนึ่งที่ทำคะแนนได้ดีเยี่ยมในตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัยระดับชาติ บอกว่าเยลคือผู้ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา นี่ไม่ใช่เป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่ของการศึกษาระดับอุดมศึกษาของจีนหรอกหรือ” บุคคลผู้หนึ่งตั้งคำถามในเว็บไซต์ของโกลบอลไทมส์
ในอีกด้านหนึ่ง ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจและน่าจะมีความสำคัญก็คือ มีบทวิจารณ์หลายชิ้นที่ปรากฏในสื่อของรัฐ อยู่ในลักษณะที่ปกป้องแก้ต่างให้แก่จาง
บทวิจารณ์ที่ลงนามผู้ขียนชิ้นหนึ่งในหนังสือพิมพ์กว่างโจวเดลี่ (Guangzhou Daily) กล่าวว่า เนื่องจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศจีนยังคงบริหารโดยพวกเจ้าหน้าที่ทางการ จึงเป็นที่น่าสงสัยข้องใจอยู่หรอกว่า หากบริจาคเงินให้แล้วจะช่วยให้ระบบการศึกษาดีขึ้นได้จริงหรือไม่ “เมื่อคนเราเกิดความสงสัยข้องใจว่าเงินที่บริจาคไปจะถูกใช้จ่ายกันอย่างไร ความกระตือรือร้นที่จะบริจาคของพวกเขาก็ย่อมเสียหายเสื่อมคลายไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น”
บทวิจารณ์ที่ลงชื่อผู้เขียนอีกชิ้นหนึ่งปรากฏใน ซีเคียวริตีส์ไทมส์ (Securities Times) 1 ใน 3 หนังสือพิมพ์รายวันชั้นนำทางด้านการเงินของจีน ได้เตือนว่าอย่าได้นำเอาการบริจาคของจางไปเกี่ยวโยงกับลัทธิชาตินิยม “ในฐานะเป็นผู้จบการศึกษาจากเยล คุณจางเหลยได้บริจาคเงินให้แก่มหาวิทยาลัยที่เขาสำเร็จการศึกษามาด้วยความรู้สึกกตัญญูรู้คุณ การกระทำเช่นนี้มีอะไรผิดล่ะ แล้วการกระทำเช่นนี้มีอะไรเกี่ยวข้องกับลัทธิรักชาติด้วย ถ้าหากการบริจาคเงินให้เยลถือเป็นความเคลื่อนไหวที่ไม่รักชาติแล้ว เราควรจะต้องเรียกบรรดาชาวต่างชาติที่ได้เคยบริจาคเงินให้แก่สถาบันการศึกษาของจีนว่าอะไร
“การศึกษาเป็นสิ่งที่ไม่มีเส้นพรมแดน การบริจาคเพื่อช่วยเหลือการศึกษาไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับสัญชาติหรือความรักชาติเลย ... ในปี 1919 ชาวอเมริกันชื่อ จอห์น เลจ์ตัน สจวร์ต (John Leighton Stuart เขามีชีวิตอยู่ระหว่างปี 1876-1962) ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ระดมเงินทุนเพื่อก่อตั้งมหาวิทยาลัยเอี้ยนจิง (Yenching University) ขึ้นในกรุงปักกิ่ง เมื่อถึงปี 1937 เขาระดมเงินได้ราว 2.5 ล้านดอลลาร์จากในสหรัฐฯ ในปี 1927 ขุนศึกซุนฉวนฟาง (Sun Chuanfang) ไถ่ถามเขาด้วยความรู้สึกประหลาดใจมากว่า “ทำไมชาวต่างประเทศอย่างพวกคุณถึงต้องการบริจาคเงินให้แก่มหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในประเทศจีน” สจวร์ตตอบว่า “อารยธรรมนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องระดับชาติ แต่เป็นเรื่องระดับนานาชาติ” ถ้าหากใครเชื่อตามหลักเหตุผลดังกล่าว (ซึ่งทำให้เรียกการบริจาคเงินให้แก่เยลของจางว่าเป็นการทรยศชาติ) จอห์น เลจ์ตัน สจวร์ต ก็ควรถูกเรียกเป็นคนทรยศชาติอเมริกันเช่นกัน”
ดูเหมือนว่า ทางการจีนต้องการที่จะตะล่อมทัดทานความโกรธเกรี้ยวแบบชาตินิยมไร้เหตุผลที่มีต่อการบริจาคของจาง เพราะถึงอย่างไรการกระทำเช่นนี้ก็เป็นเรื่องที่ถูกกฎหมาย นอกจากนั้นการกล่าวหากล่าวโทษกันอย่างรุนแรงรังแต่จะสร้างความเสียหายให้แก่ภาพลักษณ์ของจีนในสายตานานาชาติเท่านั้น
ผู้สังเกตการณ์บางคนได้ตอบโต้พวกที่วิพากษ์วิจารณ์จาง โดยชี้ให้เห็นว่าอันที่จริงแล้วคนจีนควรที่จะภาคภูมิใจกับสิ่งที่จางปฏิบัติต่อเยล นั่นคือ เป็นครั้งแรกที่มีคนจีนบริจาคเงินก้อนใหญ่ขนาดนั้นให้แก่สถาบันการศึกษาต่างประเทศ พวกเขากล่าวว่า ถึงอย่างไรเรื่องนี้ย่อมเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่า จีนในเวลานี้ดีขึ้นกว่าในอดีตอย่างมากมาย จนกระทั่งมีคนจีนบางคนสามารถที่จะบริจาคเงินก้อนใหญ่ได้ ถึงแม้จะเป็นการให้แก่สถาบันการศึกษาในต่างประเทศก็ตาม เพราะเมื่อมาถึงบทสรุปวิเคราะห์ขั้นสุดท้ายแล้ว มันไม่ได้เป็นสัญญาณอีกประการหนึ่งที่แสดงถึงการก้าวผงาดขึ้นมาของจีนหรอกหรือ
อู่จง เป็นบรรณาธิการด้านจีนของเอเชียไทมส์ออนไลน์
Yale donation sets tongues wagging
By Wu Zhong
13/01/2010
ศิษย์เก่าที่เป็นหนุ่มใหญ่ชาวจีนผู้หนึ่ง บริจาคเงินสูงสุดเป็นประวัติการณ์ร่วมๆ 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯให้แก่มหาวิทยาลยเยล สถาบันการศึกษาชื่อดังในสหรัฐอเมริกา กลายเป็นการจุดประกายให้เกิดการอภิปรายถกเถียงไปทั่วทั้งประเทศจีน โดยที่มีบางคนเรียกการกระทำคราวนี้ว่าเป็นการทรยศชาติ ขณะที่คนอื่นๆ บอกว่าควรคือเป็นความภาคภูมิใจของประเทศ และสิ่งที่ออกจะน่าประหลาดใจอยู่ไม่น้อยก็คือ สื่อที่รัฐควบคุมก็ได้เข้ามาร่วมวง โดยปกป้องแก้ต่างให้แก่ผู้ใจบุญรายนี้
ฮ่องกง – เศรษฐีเงินล้านชาวจีนผู้หนึ่ง บริจาคเงินร่วมๆ 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่คณะในมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ที่เขาเป็นศิษย์เก่าเคยร่ำเรียนจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เงินจำนวนนี้ถือว่าก้อนใหญ่ระดับสร้างสถิติใหม่ๆ ทีเดียว แล้วก็เลยกลายเป็นข่าวดังระเบิดในจีน จุดประกายให้เกิดการอภิปรายถกเถียงกันในทั่วทั้งประเทศว่า เขาสมควรที่จะให้เงินก้อนนี้แก่สถาบันการศึกษาของจีนมากกว่าหรือไม่
ภายหลังการแถลงข่าวของมหาวิทยาลัยเยล ทางโกลบอลไทมส์ (Global Times) ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือพิมพ์ของทางการจีน ก็ได้รายงานข่าวนี้ในแดนมังกรเป็นรายแรกเมื่อวันที่ 8 มกราคมว่า จางเหลย (Zhang Lei) ศิษย์เก่าผู้สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาโทด้านการบริหารจัดการ จากคณะบริหารจัดการ (School of Management) ของเยล และเป็นผู้ก่อตั้งตลอดจนเป็นหุ้นส่วนจัดการ (managing partner) ของกองทุนฮิลล์เฮาส์แคปิตอลแมเนจเมนต์ (Hillhouse Capital Management) ซึ่งจดทะเบียนในนิวยอร์กและตั้งสำนักงานอยู่ในปักกิ่ง ตกลงที่จะบริจาคเงินเป็นจำนวน 8,888,888 ล้านดอลลาร์ให้แก่คณะที่เขาเรียนจบมา ทั้งนี้การที่ให้เงินเป็นตัวเลขเช่นนี้ ก็เพราะคำว่า “แปด” ในภาษาจีน มีเสียงคล้ายๆ กับคำว่า “ร่ำรวย”คนจีนจึงถือกันโดยทั่วไปว่าเลขแปดเป็นเลขมงคล หลังจากการรายงานของโกลบอลไทมส์แล้ว สื่อจีนรายใหญ่ๆ อื่นๆ เป็นต้นว่า สำนักข่าวซินหวา, สถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน (China Central Television หรือ CCTV), ตลอดจนหนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี (China Daily) ก็ได้เสนอข่าวต่อเนื่องตามมาในทันที
ตามที่ปรากฏในเว็บไซต์ทางการของมหาวิทยาลัยเยล ริชาร์ด ซี เลวิน (Richard C Levin) อธิการบดีของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ แถลงเมื่อวันที่ 4 มกราคมว่า “เหลย จาง ตกลงที่จะให้ของขวัญชิ้นใหญ่ที่สุดเท่าที่คณะบริหารจัดการ ของมหาวิทยาลัยเยล เคยได้รับจากผู้สำเร็จจากศึกษาจากคณะนี้ นอกจากนั้นการที่จางสัญญาที่จะบริจาคเงินจำนวนนี้ ในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปีภายหลังที่เขาสำเร็จการศึกษาไปจากเยล ยังเท่ากับว่านี่เป็นการให้ของขวัญชิ้นใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา จากศิษย์เก่าที่ยังอยู่ในวัยเยาว์ของทั่วทั้งมหาวิทยาลัยเยลอีกด้วย”
เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยระบุว่า คณะบริหารจัดการของเยล กำลังอยู่ระหว่างการระดมหาเงินบริจาคให้ได้ถึง 300 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2011 เพื่อเป็นหลักประกัน “ความเป็นผู้นำในการศึกษาด้านบริหารจัดการแห่งศตวรรษที่ 21” นอกจากจางแล้ว ผู้บริจาคที่เป็นคนเชื้อสายจีนอีกคนหนึ่งที่ปรากฏชื่อในเว็บไซต์ก็คือ ลอรา ชา (Laura Cha) สมาชิกของสภาบริหารฮ่องกง (Hong Kong's executive council) ซึ่งเมื่อปลายทศวรรษ 1990 เคยทำงานเป็นรองประธานของคณะกรรมการหลักทรัพย์และตราสารอนุพันธ์ฟิวเจอร์สของฮ่องกง (Hong Kong's Securities and Futures Commission) รวมทั้งเคยเป็นรองประธานของคณะกรรมการกำกับตรวจสอบหลักทรัพย์แห่งประเทศจีน (China Securities Regulation Commission) ในช่วงปี 2001-2004
เนื่องจากจางแทบจะไม่เป็นที่รู้จักกันเอาเลยในประเทศจีน ทั้งผู้สื่อข่าวและบล็อกเกอร์ผู้อยากรู้อยากเห็น จึงเริ่มขุดเจาะหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับตัวเขากันในทันที บล็อกเกอร์บางคนถึงขั้นเปิดฉากดำเนินการสิ่งที่ภาษาจีนเรียกกันว่า “renrou shousuo” ( human flesh search การขุดค้นหาเนื้อมนุษย์) อันมีความหมายว่า ผู้คนในโลกไซเบอร์ส่งไม้ผลัดช่วยกันสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลพิเศษรายใดรายหนึ่ง
ตามรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ต้าเหอเดลี่ (Dahe Daily) ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ในเครือ เหอหนานเดลี่ (Henan Daily) หนังสือพิมพ์ทางการของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนสาขามณฑลเหอหนาน บอกเอาไว้ว่าจางปัจจุบันอายุ 38 ปี เกิดและเติบโตในเมืองจูหม่าเตี้ยน (Zhumadian) ในเหอหนาน ซึ่งเป็นมณฑลทางภาคกลางของจีน
ในปี 1989 เขาสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ด้วยคะแนนดีเยี่ยม และได้รับให้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเหรินหมินแห่งประเทศจีน (Renmin University of China) ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง เพื่อเรียนวิชาการเงินระหว่างประเทศ ถึงปี 1998 เขาไปเรียนต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเยล จางบอกกับต้าเหอเดลี่ โดยผ่านทาง เหลียงอวี๋ (Liang Yu) เพื่อนโรงเรียนมัธยมของเขาว่า เขาเลือกเรียนที่เยลก็เพราะในเวลานั้น สถาบันแห่งนี้คือสถาบันการศึกษาในต่างประเทศเพียงแห่งเดียวที่คุณพ่อคุณแม่ของเขารู้จักชื่อเสียงเรียงนาม
“ เยล ซอม (Yale SOM [School of Management]) เป็นผู้ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของผม นี่ไม่ได้เป็นการพูดให้เกินความจริงไปเลย” ต้าเหออ้างคำพูดของจาง เขากล่าวว่าครั้งหนึ่งเยลยังให้ความสนับสนุนทางการเงินแก่เขาเมื่อตอนที่เขาเริ่มก่อตั้งธุรกิจของเขาเองขึ้นมา เขาระบุด้วยว่า ตอนที่กลับประเทศเพื่อทำการลงทุนในจีนในปี 2005 นั้น เขามีเงินทุนอยู่ราว 30 ล้านดอลลาร์ เวลานี้ ฮิลล์เฮาส์ แคปิตอล แมเนจเมนต์ ของเขา เป็นผู้บริหารจัดการสินทรัพย์ทั้งสิ้น 2,500 ล้านดอลลาร์ (ต้าเหอเดลี่รายงานด้วยว่า มีบางคนสงสัยว่าฮิลล์เฮาส์อาจจะเป็นผู้บริหารจัดการกองทุนเพื่อการลงทุนในประเทศจีนของมหาวิทยาลัยเยลด้วย ทว่าหนังสือพิมพ์นี้ไม่ได้ให้หลักฐานอะไรยืนยันเรื่องนี้)
เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ในเรื่องที่กว้างไกลออกไปของเขา จางกล่าวว่าเหตุผลอีกประการหนึ่งที่ทำให้เขาตัดสินใจบริจาคเงินให้เยล ก็เพราะมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นที่รู้จักและยกย่องเชื่อถือในประเทศจีน เยลได้ช่วยประเทศจีนมากว่าร้อยปีแล้ว เจ้าหน้าที่จีนจำนวนมากทีเดียวสำเร็จการศึกษาจากเยล “ทว่าเป็นเวลานานมากแล้วที่ความช่วยเหลือดังกล่าวอยู่ในลักษณะทางเดียว ดังนั้นผมจึงต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้” จางบอก
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภูมิหลังของจาง ตลอดจนคำอธิบายของเขา กลายเป็นเชื้อเพลิงโหมเติมให้การอภิปรายถกเถียงยิ่งดำเนินไปอย่างดุเดือด
ในเว็บไซต์ของโกลบอลไทมส์ มีบล็อกเกอร์ 2-3 คนวิพากษ์วิจารณ์เรื่องที่จางอ้างว่าเยลเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา “คุณเข้าเรียนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเป็นเวลาตั้งสิบกว่าปี คุณจะไม่มีอะไรไม่เป็นอะไรทั้งนั้นแหละ ถ้าหากไม่ได้รับการศึกษาในประเทศจีน!” บล็อกเกอร์รายหนึ่งตอบโต้คำพูดของจาง
“สถานการณ์ปัจจุบันของการศึกษาขั้นอุดมศึกษาในประเทศจีนอยู่ในระดับที่น่าห่วง ผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยจำนวนมากไม่สามารถหางานทำได้ อย่างไรก็ตาม คุณกลับไปมอบเงินแก่มหาวิทยาลัยในต่างประเทศแทนที่จะมาช่วยเหลือการศึกษาของจีน นี่เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจจริงๆ” อีกคนหนึ่งบอก “เราไม่เคยเห็นเลยว่า ฮิลล์เฮาส์ แคปิตอล แมเนจเมนต์ ได้เคยบริจาคเงินก้อนใหญ่โตเช่นนี้เพื่อบรรเทาภัยพิบัติภายหลังเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ที่เสฉวน (ในเดือนพฤษภาคม 2008)”
บล็อกเกอร์คนหนึ่งพูดสรุปถึงจางอย่างง่ายๆ เลยว่า “คนทรยศชาติ ไปลงถังขยะเสียเถอะ”
ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเหรินหมิน ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่จางก็เคยร่ำเรียนมา หลายๆ คนตั้งคำถามว่า ทำไมจางจึงไม่บริจาคเงินให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้บ้าง
อย่างไรก็ดีในเว็บไซต์ทั้งสองที่กล่าวถึงนี้ มีผู้คนจำนวนมากที่แสดงความสนับสนุนจาง โดยกล่าวว่าการที่เขาจะทำอะไรกับเงินทองของเขาเอง ย่อมเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับตัวเขา ผู้สนับสนุนเหล่านี้หลายคนยังชี้ถึงปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบการศึกษาของจีน และกล่าวว่าความเคลื่อนไหวเช่นนี้ของจางน่าจะกลายเป็นแรงสะท้อนไปถึงปัญหาต่างๆ ที่กำลังกระทบกระเทือนระบบการศึกษาของจีน เป็นต้นว่า การทุจริตคอร์รัปชั่น, การทุจริตในเรื่องการสอบ, การให้ปริญญาบัตร/ประกาศนียบัตรปลอม, และการที่ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นมหาวิทยาลัยจำนวนมากยังไม่มีงานทำ “นักศึกษาจีนคนหนึ่งที่ทำคะแนนได้ดีเยี่ยมในตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัยระดับชาติ บอกว่าเยลคือผู้ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา นี่ไม่ใช่เป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่ของการศึกษาระดับอุดมศึกษาของจีนหรอกหรือ” บุคคลผู้หนึ่งตั้งคำถามในเว็บไซต์ของโกลบอลไทมส์
ในอีกด้านหนึ่ง ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจและน่าจะมีความสำคัญก็คือ มีบทวิจารณ์หลายชิ้นที่ปรากฏในสื่อของรัฐ อยู่ในลักษณะที่ปกป้องแก้ต่างให้แก่จาง
บทวิจารณ์ที่ลงนามผู้ขียนชิ้นหนึ่งในหนังสือพิมพ์กว่างโจวเดลี่ (Guangzhou Daily) กล่าวว่า เนื่องจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศจีนยังคงบริหารโดยพวกเจ้าหน้าที่ทางการ จึงเป็นที่น่าสงสัยข้องใจอยู่หรอกว่า หากบริจาคเงินให้แล้วจะช่วยให้ระบบการศึกษาดีขึ้นได้จริงหรือไม่ “เมื่อคนเราเกิดความสงสัยข้องใจว่าเงินที่บริจาคไปจะถูกใช้จ่ายกันอย่างไร ความกระตือรือร้นที่จะบริจาคของพวกเขาก็ย่อมเสียหายเสื่อมคลายไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น”
บทวิจารณ์ที่ลงชื่อผู้เขียนอีกชิ้นหนึ่งปรากฏใน ซีเคียวริตีส์ไทมส์ (Securities Times) 1 ใน 3 หนังสือพิมพ์รายวันชั้นนำทางด้านการเงินของจีน ได้เตือนว่าอย่าได้นำเอาการบริจาคของจางไปเกี่ยวโยงกับลัทธิชาตินิยม “ในฐานะเป็นผู้จบการศึกษาจากเยล คุณจางเหลยได้บริจาคเงินให้แก่มหาวิทยาลัยที่เขาสำเร็จการศึกษามาด้วยความรู้สึกกตัญญูรู้คุณ การกระทำเช่นนี้มีอะไรผิดล่ะ แล้วการกระทำเช่นนี้มีอะไรเกี่ยวข้องกับลัทธิรักชาติด้วย ถ้าหากการบริจาคเงินให้เยลถือเป็นความเคลื่อนไหวที่ไม่รักชาติแล้ว เราควรจะต้องเรียกบรรดาชาวต่างชาติที่ได้เคยบริจาคเงินให้แก่สถาบันการศึกษาของจีนว่าอะไร
“การศึกษาเป็นสิ่งที่ไม่มีเส้นพรมแดน การบริจาคเพื่อช่วยเหลือการศึกษาไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับสัญชาติหรือความรักชาติเลย ... ในปี 1919 ชาวอเมริกันชื่อ จอห์น เลจ์ตัน สจวร์ต (John Leighton Stuart เขามีชีวิตอยู่ระหว่างปี 1876-1962) ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ระดมเงินทุนเพื่อก่อตั้งมหาวิทยาลัยเอี้ยนจิง (Yenching University) ขึ้นในกรุงปักกิ่ง เมื่อถึงปี 1937 เขาระดมเงินได้ราว 2.5 ล้านดอลลาร์จากในสหรัฐฯ ในปี 1927 ขุนศึกซุนฉวนฟาง (Sun Chuanfang) ไถ่ถามเขาด้วยความรู้สึกประหลาดใจมากว่า “ทำไมชาวต่างประเทศอย่างพวกคุณถึงต้องการบริจาคเงินให้แก่มหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในประเทศจีน” สจวร์ตตอบว่า “อารยธรรมนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องระดับชาติ แต่เป็นเรื่องระดับนานาชาติ” ถ้าหากใครเชื่อตามหลักเหตุผลดังกล่าว (ซึ่งทำให้เรียกการบริจาคเงินให้แก่เยลของจางว่าเป็นการทรยศชาติ) จอห์น เลจ์ตัน สจวร์ต ก็ควรถูกเรียกเป็นคนทรยศชาติอเมริกันเช่นกัน”
ดูเหมือนว่า ทางการจีนต้องการที่จะตะล่อมทัดทานความโกรธเกรี้ยวแบบชาตินิยมไร้เหตุผลที่มีต่อการบริจาคของจาง เพราะถึงอย่างไรการกระทำเช่นนี้ก็เป็นเรื่องที่ถูกกฎหมาย นอกจากนั้นการกล่าวหากล่าวโทษกันอย่างรุนแรงรังแต่จะสร้างความเสียหายให้แก่ภาพลักษณ์ของจีนในสายตานานาชาติเท่านั้น
ผู้สังเกตการณ์บางคนได้ตอบโต้พวกที่วิพากษ์วิจารณ์จาง โดยชี้ให้เห็นว่าอันที่จริงแล้วคนจีนควรที่จะภาคภูมิใจกับสิ่งที่จางปฏิบัติต่อเยล นั่นคือ เป็นครั้งแรกที่มีคนจีนบริจาคเงินก้อนใหญ่ขนาดนั้นให้แก่สถาบันการศึกษาต่างประเทศ พวกเขากล่าวว่า ถึงอย่างไรเรื่องนี้ย่อมเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่า จีนในเวลานี้ดีขึ้นกว่าในอดีตอย่างมากมาย จนกระทั่งมีคนจีนบางคนสามารถที่จะบริจาคเงินก้อนใหญ่ได้ ถึงแม้จะเป็นการให้แก่สถาบันการศึกษาในต่างประเทศก็ตาม เพราะเมื่อมาถึงบทสรุปวิเคราะห์ขั้นสุดท้ายแล้ว มันไม่ได้เป็นสัญญาณอีกประการหนึ่งที่แสดงถึงการก้าวผงาดขึ้นมาของจีนหรอกหรือ
อู่จง เป็นบรรณาธิการด้านจีนของเอเชียไทมส์ออนไลน์