(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
New stars in China’s firmament
By Wu Zhong
09/12/2009
การแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งผู้นำระดับมณฑลในประเทศจีนเมื่อเดือนที่แล้ว คือการตระเตรียมเพื่อสืบทอดอำนาจไปสู่คณะผู้นำชุดใหม่ที่กำหนดจะกระทำกันในปี 2012 รวมทั้งเป็นการป่าวร้องให้จับตามองผู้ปฏิบัติงานเด่นๆ ซึ่งน่าที่จะได้รับการโยกเข้าสู่ศูนย์อำนาจในเวลาต่อไป ในจำนวนผู้ที่โดดเด่นสะดุดตาเหล่านี้ หูชุนหวา กับ ซุนเจิ้งไฉ มีส่วนผสมครบเครื่องทั้งเรื่องความหนุ่มแน่น, ประสบการณ์, และแรงสนับสนุน จึงมีโอกาสอย่างมากที่พวกเขาจะก้าวไปจนถึงระดับสูงสุด
ฮ่องกง – เมื่อไม่นานมานี้จีนเพิ่งจะส่งสัญญาณอย่างแรงกล้าให้ทราบกันว่า ใครบ้างคือดาวเด่นที่ควรแก่การจับตามองว่าอาจจะได้ผงาดขึ้นเป็นผู้นำในอนาคตของประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกแห่งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการเลื่อนตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานรุ่นหนุ่ม 2 คนขึ้นสู่ระดับผู้นำมณฑล
ตอนต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา พรรคคอมมิวนิสต์จีน (พคจ.) ได้ประกาศการแต่งตั้งโยกย้ายเลขาธิการพรรคระดับมณฑลกันครั้งใหญ่ ความเคลื่อนไหวคราวนี้ได้รับการตีความว่า เป็นขั้นตอนหนึ่งของการตระเตรียมเพื่อให้การส่งมอบ-การสืบทอดอำนาจในระดับประเทศ สามารถดำเนินไปอย่างราบรื่นทั้งในปี 2012 และภายหลังจากนั้นไปอีก
ในการแต่งตั้งโยกย้ายคราวนี้ หูชุนหวา (Hu Chunhua) ได้เลื่อนขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคสาขามองโกเลียใน (มองโกเลียในเป็นเขตปกครองตนเองที่มีฐานะเทียบเท่ามณฑล) ส่วน ซุนเจิ้งไฉ (Sun Zhengcai) รัฐมนตรีเกษตรก็ได้โยกย้ายไปรับตำแหน่งเลขาธิการพรรคของมณฑลจี๋หลิน ที่อยู่ทางภาคตวันออกเฉียงเหนือ ทั้งคู่ต่างมีอายุ 46 ปี และยังเป็นแค่วัยรุ่นอยู่เลยเมื่อตอนที่เติ้งเสี่ยวผิงกลายเป็นผู้ทรงอำนาจที่สุดของจีนในปี 1978 เติ้งนี่แหละคือผู้ที่มองการณ์ไกลโดยเห็นว่าจะต้องมีการบ่มเพาะผู้นำรุ่นต่อๆ ไปให้รับช่วงต่อเนื่องกันแบบ “สายโซ่” ที่ไม่ขาดตอน จึงจะเป็นหลักประกันให้ พคจ.สามารถปกครองประเทศได้อย่างยืนยาว
พวกผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองเชื่อว่า หูเป็นดาวที่จรัสแสงที่สุด และอดีตผู้ว่าการมณฑลเหอเป่ย ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศผู้นี้ คือผู้ที่มีโอกาสมากที่สุดที่จะได้รับการบ่มเพาะอุ้มชูเพื่อให้ตามรอยเท้าของรองประธานาธิบดีสีว์จิ้นผิง (Xi Jinping) ซึ่งเป็นตัวเก็งที่จะได้เป็นทายาทสืบทอดตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีหูจิ่นเทา โดยที่ประธานาธิบดีหูมีกำหนดที่จะต้องก้าวลงจากอำนาจในปี 2012 นี้แล้ว ถ้าหากเป็นไปตามที่คาดการณ์กันเช่นนี้จริงๆ หูชุนหวา (เขามีแซ่เดียวกับหูจิ่นเทา แต่ไม่ได้เป็นญาติอะไรกันโดยตรง) ก็จะกลายเป็นผู้นำรุ่นที่ 6 ในสายโซ่แห่งการสืบอำนาจภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่เริ่มต้นตั้งแต่เหมาเจ๋อตง จากนั้นก็เป็นเติ้งที่ถือเป็นรุ่นที่ 2 และเจียงเจ๋อหมินคือรุ่นที่ 3 จนมาถึงหูจิ่นเทาที่เป็นรุ่นที่ 4 และทายาทคนต่อไปจากเขาซึ่งจะเป็นรุ่นที่ 5
หูชุนหวา ได้รับความสนับสนุนเป็นนัยๆ จากประธานาธิบดีคนปัจจุบัน จากการทำงานของเขาในเขตภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ ทั้งนี้หูจิ่นเทายืนยันเรื่อยมาว่าประสบการณ์ในการทำงานตามพื้นที่ต่างๆ (ยิ่งเป็นพื้นที่ห่างไกลและด้อยพัฒนาเท่าใดก็ยิ่งดีเท่านั้น) นี้แหละ เป็นคุณสมบัติอันจำเป็นของผู้ปฏิบัติงานทั้งหลาย ซึ่งจะได้รับพิจารณาเลือกเลื่อนเข้าสู่ศูนย์อำนาจ ด้วยเหตุนี้เอง การที่เจ้าหน้าที่อายุยังค่อนข้างหนุ่มแน่นผู้หนึ่ง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้นำในมณฑลที่อยู่ห่างไกล จึงเป็นการเพิ่มราคาของบุคคลผู้นั้นให้น่าเฝ้ามองมากยิ่งขึ้นไปอีก
“ถ้าจะเปรียบเทียบกับการแข่งม้า อันดับแรกเลยม้าจะต้องได้รับโอกาสให้ลงวิ่งเสียก่อน” ผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองผู้หนึ่งในกรุงปักกิ่งกล่าวให้ความเห็น
สำหรับหูชุนฮวา ภายหลังสำเร็จการศึกษาในปี 1983 จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ซึ่งเขาเรียนภาษาและวรรณคดีจีนเป็นวิชาเอก เขาก็ได้อาสาสมัครไปทำงานที่ทิเบต โดยได้ทำงานภายใต้หูจิ่นเทาในตำแหน่งรองเลขาธิการสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์สาขาทิเบต จนถึงปลายปี 2006 หลังจากทำงานที่นั่นมา 23 ปี เขาก็ได้เลื่อนตำแหน่งจากรองเลขาธิการพคจ.สาขาทิเบต มาเป็นเลขาธิการคนที่หนึ่งของสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์จีน อันเป็นตำแหน่งที่หูจิ่นเทาก็เคยนั่งมาแล้วในช่วงระหว่างปี 1984-85 จากนั้นหูชุนหวาจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการมณฑลเหอเป่ยในปี 2008
หากสามารถพูดได้ว่าหูชุนหวาเป็นผู้ที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของหูจิ่นเทาแล้ว ซุนเจิ้งไฉก็ต้องเป็นผู้ที่อยู่ในความอุปถัมถ์ของเจี่ยชิ่งหลิน (Jia Qinglin) โดยที่เจี่ยก็เป็นพันธมิตรใกล้ชิดมากผู้หนึ่งของอดีตผู้นำพรรคเจียงเจ๋อหมิน ซุนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านการเกษตรจาก สถาบันการเกษตรและวนศาสตร์ปักกิ่ง (Beijing Academy of Agriculture and Forestry Sciences) ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ต่อมาเขาได้ตำแหน่งเป็นหัวหน้าแขวงแห่งหนึ่งในพื้นที่นครปักกิ่ง แล้วจึงเลื่อนขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคของอำเภอซุนอี้ (Shunyi) ในเขตเมืองหลวงเมื่อปี 2002 เจี่ยซึ่งเป็นเลขาธิการพรรคสาขานครปักกิ่งจากปี 1996 จนถึงปี 2003 เป็นผู้ “ค้นพบ” และส่งเสริมสนับสนุนซุน
จากการแต่งตั้งโยกย้ายเมื่อเดือนธันวาคม ได้ทำให้ทั้งหูและซุนกลายเป็นเลขาธิการพรรคระดับมณฑลที่อายุน้อยที่สุดในรอบระยะเวลาหลายสิบปีทีเดียว ถึงแม้ผู้ที่ได้เลื่อนตำแหน่งสู่ระดับนี้ในคราวเดียวกันนี้ซึ่งมีอยู่ 5 คนด้วยกัน ต่างก็มีอายุต่ำกว่า 60 ปีทั้งสิ้น แต่การเลื่อนตำแหน่งของหูและซุน ก็ยังคงเป็นเครื่องหมายแสดงถึงการก้าวผงาดขึ้นมาในแวดวง พคจ. ของคนรุ่นที่เกิดในทศวรรษ 1960 นอกจากนั้นแล้ว การแต่งตั้งโยกย้ายครั้งนี้ยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างสะดุดตา (หากยังไม่ถึงกับเป็นเครื่องหมายแสดงการสิ้นสุด) ของประเพณีในพรรค ซึ่งที่ผ่านๆ มาผู้ครองอำนาจระดับสูงมีแต่คนอายุมากๆ จนกระทั่งถูกเรียกขานว่าเป็น “การเมืองของคนชรา”
ทั้งนี้ต้นเหตุโดยตรงที่ทำให้ต้องเกิดการปรับเปลี่ยนตำแหน่งผู้นำระดับภูมิภาคกันยกใหญ่คราวนี้ ได้แก่การเกษียณอายุของ จูปอ (Chu Bo) เลขาธิการพรรคสาขามองโกเลียใน, จางเหวินเย่ (Zhang Wenyue) ผู้นำพรรคสาขามณฑลเหลียวหนิง, และ สีว์กวงชุน (Xu Guangchun) เลขาธิการพรรคมณฑลเหอหนาน โดยทั้ง 3 คนมีอายุครบ 65 ปีซึ่งทาง พคจ.ตั้งกฎเกณฑ์เอาไว้ว่าเป็นวัยที่พวกเจ้าหน้าที่ระดับรัฐมนตรีและระดับมณฑลจะต้องลงจากตำแหน่ง
พวกนักวิเคราะห์เชื่อกันว่า นี่เป็นเพียงการเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยนตำแหน่งต่างๆ อย่างมโหฬารในขอบเขตทั่วประเทศ ซึ่งจะกลายเป็นการแผ้วถางทางให้แก่การเปลี่ยนถ่ายอำนาจอำนาจอย่างราบรื่น ในระหว่างการประชุมสมัชชาพรรคทั่วประเทศสมัยที่ 18 ของ พคจ. ที่กำหนดจะจัดขึ้นในปี 2012 โดยที่มีการจัดวางกันเอาไว้แล้วว่า สมัชชาพรรคคราวนี้คือเวลาแห่งการก้าวลงจากอำนาจของประธานาธิบดีหู, นายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่า, ตลอดจนผู้นำอาวุโสคนอื่นๆ
เกมผลัดเปลี่ยนนั่งเก้าอี้ที่จะเล่นกันในสมัชชาพรรคสมัยที่ 18 นี้แหละ ที่อาจจะผลักดันให้หูชุนหวา และซุนเจิ้งไฉ ได้ก้าวเข้าสู่ศูนย์อำนาจ เมื่อพิจารณาจากกฎระเบียบที่ว่าบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการประจำของกรมการเมืองจะต้องเกษียณอายุในวัย 70 ปีแล้ว ในจำนวนผู้นั่งตำแหน่งนี้ในปัจจุบันทั้ง 9 คน นอกจากหูจิ่นเทา และเวินเจียเป่า ก็มีอีกอย่างน้อย 3 คนที่ถึงกำหนดต้องอำลาเวที ได้แก่ อู่ปางกั๋ว (Wu Bangguo) ประธานสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ, เจี่ยชิ่งหลิน ประธานสภาปรึกษาการเมืองของประชาชนจีน, และ โจวหย่งคัง (Zhou Yongkang) ผู้รับผิดชอบงานด้านบังคับใช้กฎหมายของประเทศ
สำหรับ หลี่ฉางชุน (Li Changchun) กรรมการประจำกรมการเมืองที่รับผิดชอบงานด้านการโฆษณาและกิจการด้านอุดมการณ์ และ เฮอกั๋วเฉียง (He Guoqiang) ซึ่งกำกับดูแลงานด้านการจัดตั้งและงานบุคคล จะมีอายุ 68 และ 69 ปีตามลำดับ พวกเขาจะสามารถครองอำนาจต่อไปอีกวาระหนึ่งคืออีก 5 ปีหรือไม่ ยังคงเป็นปัญหาที่ไม่ทราบคำตอบในขณะนี้
รวมความแล้ว กรรมการประจำกรมการเมืองที่จะอยู่ในตำแหน่งต่อไปอย่างแน่นอนจะมีเพียง 2 คน ได้แก่ สีว์จิ้นผิง รองประธานาธิบดีวัย 56 ปีซึ่งได้รับการคาดเก็งกันว่าจะเป็นทายาทสืบทอดตำแหน่งต่อจากหูจิ่นเทา และรองนายกรัฐมนตรี หลี่เค่อเฉียง (Li Keqiang) ที่ปัจจุบันอายุ 55 ปี ผู้ซึ่งน่าจะได้เข้าแทนที่เวินเจียเป่า กระนั้นก็ตาม นักวิเคราะห์จำนวนมากเชื่อว่า ทั้งคู่ยังจำเป็นจะต้องใช้ความพยายามเพิ่มขึ้นอีกในการพิสูจน์คุณค่าของพวกเขาในช่วงเวลาก่อนจะถึงการประชุมสมัชชาพรรคปี 2012 ถ้าหากจะให้มั่นใจว่าจะไม่มีใครหาญขึ้นมาท้าทายพวกเขา
ในส่วนของพวกกรรมการกรมการเมืองธรรมดาทั้ง 16 คน มีอย่างน้อย 4 คนที่จะต้องก้าวลงจากตำแหน่งเพราะถึงวัยเกษียณ ได้แก่ หวังกัง (Wang Gang) รองประธานสภาปรึกษาการเมืองของประชาชนจีน,หวังเจ้ากั๋ว (Wang Zhaoguo) รองประธานสภาประชาชนแห่งชาติ และประธานสหพันธ์แรงงานแห่งประเทศจีน, หลิวฉี (Liu Qi) เลขาธิการพรรคสาขานครปักกิ่ง, และ พล.อ.กัวป๋อสยง (Guo Boxiong) รองประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง นอกจากนั้นยังมีรองนายกรัฐมนตรี หุยเหลียงอวี่ (Hui Liangyu) และเลขาธิการพรรคสาขาซินเจียง หวังเล่อเฉวียน (Wang Lequan) ซึ่งจะมีอายุ 68 ปี และก็น่าที่จะอำลาตำแหน่งเช่นกัน
ตำแหน่งที่จะว่างลงของพวกเขาเหล่านี้จำเป็นจะต้องหาคนมาลง กรรมการกรมการเมืองในปัจจุบันบางคน เป็นต้นว่า หลี่เหยียนเฉา (Li Yuanchao) ผู้ว่าการทบวงการจัดตั้งส่วนกลางของ พคจ., หวังฉีซาน (Wang Qishan) รองนายกรัฐมนตรี, วังหยาง (Wang Yang) เลขาธิการพรรคสาขามณฑลกวางตุ้ง, และ ป๋อซีไหล (Bo Xilai) เลขาธิการพรรคสาขานครฉงชิ่ง ต่างน่าที่จะได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นกรรมการประจำกรมการเมือง
ขณะเดียวกัน ตำแหน่งกรรมการกรมการเมืองที่ว่างลง ก็จะต้องหาผู้มานั่งแทนเช่นกัน โดยที่เจ้าหน้าที่ผู้มีประสบการณ์เป็นผู้นำพรรคระดับมณฑลมาแล้ว บางคนน่าจะได้ขึ้นสู่กรมการเมือง อันเป็นศูนย์อำนาจอันล้นพ้นในประเทศจีน
มองจากทัศนะที่ว่าการเมืองคือศิลปะแห่งการสร้างดุลอำนาจ การเลื่อนตำแหน่งของซุนยังอาจมองได้ว่าเป็นการถ่วงดุลการก้าวผงาดขึ้นของหูชุนหวา และเนื่องจากซุนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร ตลอดจนเป็นเจ้าหน้าที่ผู้สันทัดทางวิชาการทำนองเดียวกับนายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่า ด้วยเหตุนี้จึงมีโอกาสอยู่มากที่วันหนึ่งซุนจะขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เคียงคู่กับหูชุนหวาที่ก้าวขึ้นเป็นเลขาธิการใหญ่พรรค
อย่างไรก็ตาม การเมืองจีนมีตัวแปรจำนวนมากมายเหลือเกิน จนเป็นไปไม่ได้ที่จะยืนยันว่าดาวเด่นจรัสแสงกลุ่มนี้จะสาดแสงเรืองรองไปจนถึงตำแหน่งสูงสุดอย่างแน่นอน นอกจากนั้นระยะเวลาประมาณ 3 ปีก่อนจะถึงการประชุมสมัชชาพรรคสมัยต่อไป ก็ถือเป็นช่วงเวลาอันมากมายเพียงพอที่จะเกิดการรวมตัวหรือการตกลงอะไรใหม่ๆ ขึ้นมา หรือถ้าหากจะใช้คำพังเพยที่เติ้งเสี่ยวผิงชื่นชอบ ก็คงต้องกล่าวว่า ยังพูดไม่ได้หรอกว่า “สายโซ่แห่งการสืบทอดอำนาจ” ได้มีการกำหนดและเชื่อมข้อโซ่แต่ละข้อเอาไว้อย่างแน่นอนมั่นคงแล้ว
อู่จง เป็นบรรณาธิการด้านจีนของเอเชียไทมส์ออนไลน์
New stars in China’s firmament
By Wu Zhong
09/12/2009
การแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งผู้นำระดับมณฑลในประเทศจีนเมื่อเดือนที่แล้ว คือการตระเตรียมเพื่อสืบทอดอำนาจไปสู่คณะผู้นำชุดใหม่ที่กำหนดจะกระทำกันในปี 2012 รวมทั้งเป็นการป่าวร้องให้จับตามองผู้ปฏิบัติงานเด่นๆ ซึ่งน่าที่จะได้รับการโยกเข้าสู่ศูนย์อำนาจในเวลาต่อไป ในจำนวนผู้ที่โดดเด่นสะดุดตาเหล่านี้ หูชุนหวา กับ ซุนเจิ้งไฉ มีส่วนผสมครบเครื่องทั้งเรื่องความหนุ่มแน่น, ประสบการณ์, และแรงสนับสนุน จึงมีโอกาสอย่างมากที่พวกเขาจะก้าวไปจนถึงระดับสูงสุด
ฮ่องกง – เมื่อไม่นานมานี้จีนเพิ่งจะส่งสัญญาณอย่างแรงกล้าให้ทราบกันว่า ใครบ้างคือดาวเด่นที่ควรแก่การจับตามองว่าอาจจะได้ผงาดขึ้นเป็นผู้นำในอนาคตของประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกแห่งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการเลื่อนตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานรุ่นหนุ่ม 2 คนขึ้นสู่ระดับผู้นำมณฑล
ตอนต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา พรรคคอมมิวนิสต์จีน (พคจ.) ได้ประกาศการแต่งตั้งโยกย้ายเลขาธิการพรรคระดับมณฑลกันครั้งใหญ่ ความเคลื่อนไหวคราวนี้ได้รับการตีความว่า เป็นขั้นตอนหนึ่งของการตระเตรียมเพื่อให้การส่งมอบ-การสืบทอดอำนาจในระดับประเทศ สามารถดำเนินไปอย่างราบรื่นทั้งในปี 2012 และภายหลังจากนั้นไปอีก
ในการแต่งตั้งโยกย้ายคราวนี้ หูชุนหวา (Hu Chunhua) ได้เลื่อนขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคสาขามองโกเลียใน (มองโกเลียในเป็นเขตปกครองตนเองที่มีฐานะเทียบเท่ามณฑล) ส่วน ซุนเจิ้งไฉ (Sun Zhengcai) รัฐมนตรีเกษตรก็ได้โยกย้ายไปรับตำแหน่งเลขาธิการพรรคของมณฑลจี๋หลิน ที่อยู่ทางภาคตวันออกเฉียงเหนือ ทั้งคู่ต่างมีอายุ 46 ปี และยังเป็นแค่วัยรุ่นอยู่เลยเมื่อตอนที่เติ้งเสี่ยวผิงกลายเป็นผู้ทรงอำนาจที่สุดของจีนในปี 1978 เติ้งนี่แหละคือผู้ที่มองการณ์ไกลโดยเห็นว่าจะต้องมีการบ่มเพาะผู้นำรุ่นต่อๆ ไปให้รับช่วงต่อเนื่องกันแบบ “สายโซ่” ที่ไม่ขาดตอน จึงจะเป็นหลักประกันให้ พคจ.สามารถปกครองประเทศได้อย่างยืนยาว
พวกผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองเชื่อว่า หูเป็นดาวที่จรัสแสงที่สุด และอดีตผู้ว่าการมณฑลเหอเป่ย ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศผู้นี้ คือผู้ที่มีโอกาสมากที่สุดที่จะได้รับการบ่มเพาะอุ้มชูเพื่อให้ตามรอยเท้าของรองประธานาธิบดีสีว์จิ้นผิง (Xi Jinping) ซึ่งเป็นตัวเก็งที่จะได้เป็นทายาทสืบทอดตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีหูจิ่นเทา โดยที่ประธานาธิบดีหูมีกำหนดที่จะต้องก้าวลงจากอำนาจในปี 2012 นี้แล้ว ถ้าหากเป็นไปตามที่คาดการณ์กันเช่นนี้จริงๆ หูชุนหวา (เขามีแซ่เดียวกับหูจิ่นเทา แต่ไม่ได้เป็นญาติอะไรกันโดยตรง) ก็จะกลายเป็นผู้นำรุ่นที่ 6 ในสายโซ่แห่งการสืบอำนาจภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่เริ่มต้นตั้งแต่เหมาเจ๋อตง จากนั้นก็เป็นเติ้งที่ถือเป็นรุ่นที่ 2 และเจียงเจ๋อหมินคือรุ่นที่ 3 จนมาถึงหูจิ่นเทาที่เป็นรุ่นที่ 4 และทายาทคนต่อไปจากเขาซึ่งจะเป็นรุ่นที่ 5
หูชุนหวา ได้รับความสนับสนุนเป็นนัยๆ จากประธานาธิบดีคนปัจจุบัน จากการทำงานของเขาในเขตภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ ทั้งนี้หูจิ่นเทายืนยันเรื่อยมาว่าประสบการณ์ในการทำงานตามพื้นที่ต่างๆ (ยิ่งเป็นพื้นที่ห่างไกลและด้อยพัฒนาเท่าใดก็ยิ่งดีเท่านั้น) นี้แหละ เป็นคุณสมบัติอันจำเป็นของผู้ปฏิบัติงานทั้งหลาย ซึ่งจะได้รับพิจารณาเลือกเลื่อนเข้าสู่ศูนย์อำนาจ ด้วยเหตุนี้เอง การที่เจ้าหน้าที่อายุยังค่อนข้างหนุ่มแน่นผู้หนึ่ง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้นำในมณฑลที่อยู่ห่างไกล จึงเป็นการเพิ่มราคาของบุคคลผู้นั้นให้น่าเฝ้ามองมากยิ่งขึ้นไปอีก
“ถ้าจะเปรียบเทียบกับการแข่งม้า อันดับแรกเลยม้าจะต้องได้รับโอกาสให้ลงวิ่งเสียก่อน” ผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองผู้หนึ่งในกรุงปักกิ่งกล่าวให้ความเห็น
สำหรับหูชุนฮวา ภายหลังสำเร็จการศึกษาในปี 1983 จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ซึ่งเขาเรียนภาษาและวรรณคดีจีนเป็นวิชาเอก เขาก็ได้อาสาสมัครไปทำงานที่ทิเบต โดยได้ทำงานภายใต้หูจิ่นเทาในตำแหน่งรองเลขาธิการสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์สาขาทิเบต จนถึงปลายปี 2006 หลังจากทำงานที่นั่นมา 23 ปี เขาก็ได้เลื่อนตำแหน่งจากรองเลขาธิการพคจ.สาขาทิเบต มาเป็นเลขาธิการคนที่หนึ่งของสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์จีน อันเป็นตำแหน่งที่หูจิ่นเทาก็เคยนั่งมาแล้วในช่วงระหว่างปี 1984-85 จากนั้นหูชุนหวาจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการมณฑลเหอเป่ยในปี 2008
หากสามารถพูดได้ว่าหูชุนหวาเป็นผู้ที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของหูจิ่นเทาแล้ว ซุนเจิ้งไฉก็ต้องเป็นผู้ที่อยู่ในความอุปถัมถ์ของเจี่ยชิ่งหลิน (Jia Qinglin) โดยที่เจี่ยก็เป็นพันธมิตรใกล้ชิดมากผู้หนึ่งของอดีตผู้นำพรรคเจียงเจ๋อหมิน ซุนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านการเกษตรจาก สถาบันการเกษตรและวนศาสตร์ปักกิ่ง (Beijing Academy of Agriculture and Forestry Sciences) ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ต่อมาเขาได้ตำแหน่งเป็นหัวหน้าแขวงแห่งหนึ่งในพื้นที่นครปักกิ่ง แล้วจึงเลื่อนขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคของอำเภอซุนอี้ (Shunyi) ในเขตเมืองหลวงเมื่อปี 2002 เจี่ยซึ่งเป็นเลขาธิการพรรคสาขานครปักกิ่งจากปี 1996 จนถึงปี 2003 เป็นผู้ “ค้นพบ” และส่งเสริมสนับสนุนซุน
จากการแต่งตั้งโยกย้ายเมื่อเดือนธันวาคม ได้ทำให้ทั้งหูและซุนกลายเป็นเลขาธิการพรรคระดับมณฑลที่อายุน้อยที่สุดในรอบระยะเวลาหลายสิบปีทีเดียว ถึงแม้ผู้ที่ได้เลื่อนตำแหน่งสู่ระดับนี้ในคราวเดียวกันนี้ซึ่งมีอยู่ 5 คนด้วยกัน ต่างก็มีอายุต่ำกว่า 60 ปีทั้งสิ้น แต่การเลื่อนตำแหน่งของหูและซุน ก็ยังคงเป็นเครื่องหมายแสดงถึงการก้าวผงาดขึ้นมาในแวดวง พคจ. ของคนรุ่นที่เกิดในทศวรรษ 1960 นอกจากนั้นแล้ว การแต่งตั้งโยกย้ายครั้งนี้ยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างสะดุดตา (หากยังไม่ถึงกับเป็นเครื่องหมายแสดงการสิ้นสุด) ของประเพณีในพรรค ซึ่งที่ผ่านๆ มาผู้ครองอำนาจระดับสูงมีแต่คนอายุมากๆ จนกระทั่งถูกเรียกขานว่าเป็น “การเมืองของคนชรา”
ทั้งนี้ต้นเหตุโดยตรงที่ทำให้ต้องเกิดการปรับเปลี่ยนตำแหน่งผู้นำระดับภูมิภาคกันยกใหญ่คราวนี้ ได้แก่การเกษียณอายุของ จูปอ (Chu Bo) เลขาธิการพรรคสาขามองโกเลียใน, จางเหวินเย่ (Zhang Wenyue) ผู้นำพรรคสาขามณฑลเหลียวหนิง, และ สีว์กวงชุน (Xu Guangchun) เลขาธิการพรรคมณฑลเหอหนาน โดยทั้ง 3 คนมีอายุครบ 65 ปีซึ่งทาง พคจ.ตั้งกฎเกณฑ์เอาไว้ว่าเป็นวัยที่พวกเจ้าหน้าที่ระดับรัฐมนตรีและระดับมณฑลจะต้องลงจากตำแหน่ง
พวกนักวิเคราะห์เชื่อกันว่า นี่เป็นเพียงการเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยนตำแหน่งต่างๆ อย่างมโหฬารในขอบเขตทั่วประเทศ ซึ่งจะกลายเป็นการแผ้วถางทางให้แก่การเปลี่ยนถ่ายอำนาจอำนาจอย่างราบรื่น ในระหว่างการประชุมสมัชชาพรรคทั่วประเทศสมัยที่ 18 ของ พคจ. ที่กำหนดจะจัดขึ้นในปี 2012 โดยที่มีการจัดวางกันเอาไว้แล้วว่า สมัชชาพรรคคราวนี้คือเวลาแห่งการก้าวลงจากอำนาจของประธานาธิบดีหู, นายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่า, ตลอดจนผู้นำอาวุโสคนอื่นๆ
เกมผลัดเปลี่ยนนั่งเก้าอี้ที่จะเล่นกันในสมัชชาพรรคสมัยที่ 18 นี้แหละ ที่อาจจะผลักดันให้หูชุนหวา และซุนเจิ้งไฉ ได้ก้าวเข้าสู่ศูนย์อำนาจ เมื่อพิจารณาจากกฎระเบียบที่ว่าบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการประจำของกรมการเมืองจะต้องเกษียณอายุในวัย 70 ปีแล้ว ในจำนวนผู้นั่งตำแหน่งนี้ในปัจจุบันทั้ง 9 คน นอกจากหูจิ่นเทา และเวินเจียเป่า ก็มีอีกอย่างน้อย 3 คนที่ถึงกำหนดต้องอำลาเวที ได้แก่ อู่ปางกั๋ว (Wu Bangguo) ประธานสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ, เจี่ยชิ่งหลิน ประธานสภาปรึกษาการเมืองของประชาชนจีน, และ โจวหย่งคัง (Zhou Yongkang) ผู้รับผิดชอบงานด้านบังคับใช้กฎหมายของประเทศ
สำหรับ หลี่ฉางชุน (Li Changchun) กรรมการประจำกรมการเมืองที่รับผิดชอบงานด้านการโฆษณาและกิจการด้านอุดมการณ์ และ เฮอกั๋วเฉียง (He Guoqiang) ซึ่งกำกับดูแลงานด้านการจัดตั้งและงานบุคคล จะมีอายุ 68 และ 69 ปีตามลำดับ พวกเขาจะสามารถครองอำนาจต่อไปอีกวาระหนึ่งคืออีก 5 ปีหรือไม่ ยังคงเป็นปัญหาที่ไม่ทราบคำตอบในขณะนี้
รวมความแล้ว กรรมการประจำกรมการเมืองที่จะอยู่ในตำแหน่งต่อไปอย่างแน่นอนจะมีเพียง 2 คน ได้แก่ สีว์จิ้นผิง รองประธานาธิบดีวัย 56 ปีซึ่งได้รับการคาดเก็งกันว่าจะเป็นทายาทสืบทอดตำแหน่งต่อจากหูจิ่นเทา และรองนายกรัฐมนตรี หลี่เค่อเฉียง (Li Keqiang) ที่ปัจจุบันอายุ 55 ปี ผู้ซึ่งน่าจะได้เข้าแทนที่เวินเจียเป่า กระนั้นก็ตาม นักวิเคราะห์จำนวนมากเชื่อว่า ทั้งคู่ยังจำเป็นจะต้องใช้ความพยายามเพิ่มขึ้นอีกในการพิสูจน์คุณค่าของพวกเขาในช่วงเวลาก่อนจะถึงการประชุมสมัชชาพรรคปี 2012 ถ้าหากจะให้มั่นใจว่าจะไม่มีใครหาญขึ้นมาท้าทายพวกเขา
ในส่วนของพวกกรรมการกรมการเมืองธรรมดาทั้ง 16 คน มีอย่างน้อย 4 คนที่จะต้องก้าวลงจากตำแหน่งเพราะถึงวัยเกษียณ ได้แก่ หวังกัง (Wang Gang) รองประธานสภาปรึกษาการเมืองของประชาชนจีน,หวังเจ้ากั๋ว (Wang Zhaoguo) รองประธานสภาประชาชนแห่งชาติ และประธานสหพันธ์แรงงานแห่งประเทศจีน, หลิวฉี (Liu Qi) เลขาธิการพรรคสาขานครปักกิ่ง, และ พล.อ.กัวป๋อสยง (Guo Boxiong) รองประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง นอกจากนั้นยังมีรองนายกรัฐมนตรี หุยเหลียงอวี่ (Hui Liangyu) และเลขาธิการพรรคสาขาซินเจียง หวังเล่อเฉวียน (Wang Lequan) ซึ่งจะมีอายุ 68 ปี และก็น่าที่จะอำลาตำแหน่งเช่นกัน
ตำแหน่งที่จะว่างลงของพวกเขาเหล่านี้จำเป็นจะต้องหาคนมาลง กรรมการกรมการเมืองในปัจจุบันบางคน เป็นต้นว่า หลี่เหยียนเฉา (Li Yuanchao) ผู้ว่าการทบวงการจัดตั้งส่วนกลางของ พคจ., หวังฉีซาน (Wang Qishan) รองนายกรัฐมนตรี, วังหยาง (Wang Yang) เลขาธิการพรรคสาขามณฑลกวางตุ้ง, และ ป๋อซีไหล (Bo Xilai) เลขาธิการพรรคสาขานครฉงชิ่ง ต่างน่าที่จะได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นกรรมการประจำกรมการเมือง
ขณะเดียวกัน ตำแหน่งกรรมการกรมการเมืองที่ว่างลง ก็จะต้องหาผู้มานั่งแทนเช่นกัน โดยที่เจ้าหน้าที่ผู้มีประสบการณ์เป็นผู้นำพรรคระดับมณฑลมาแล้ว บางคนน่าจะได้ขึ้นสู่กรมการเมือง อันเป็นศูนย์อำนาจอันล้นพ้นในประเทศจีน
มองจากทัศนะที่ว่าการเมืองคือศิลปะแห่งการสร้างดุลอำนาจ การเลื่อนตำแหน่งของซุนยังอาจมองได้ว่าเป็นการถ่วงดุลการก้าวผงาดขึ้นของหูชุนหวา และเนื่องจากซุนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร ตลอดจนเป็นเจ้าหน้าที่ผู้สันทัดทางวิชาการทำนองเดียวกับนายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่า ด้วยเหตุนี้จึงมีโอกาสอยู่มากที่วันหนึ่งซุนจะขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เคียงคู่กับหูชุนหวาที่ก้าวขึ้นเป็นเลขาธิการใหญ่พรรค
อย่างไรก็ตาม การเมืองจีนมีตัวแปรจำนวนมากมายเหลือเกิน จนเป็นไปไม่ได้ที่จะยืนยันว่าดาวเด่นจรัสแสงกลุ่มนี้จะสาดแสงเรืองรองไปจนถึงตำแหน่งสูงสุดอย่างแน่นอน นอกจากนั้นระยะเวลาประมาณ 3 ปีก่อนจะถึงการประชุมสมัชชาพรรคสมัยต่อไป ก็ถือเป็นช่วงเวลาอันมากมายเพียงพอที่จะเกิดการรวมตัวหรือการตกลงอะไรใหม่ๆ ขึ้นมา หรือถ้าหากจะใช้คำพังเพยที่เติ้งเสี่ยวผิงชื่นชอบ ก็คงต้องกล่าวว่า ยังพูดไม่ได้หรอกว่า “สายโซ่แห่งการสืบทอดอำนาจ” ได้มีการกำหนดและเชื่อมข้อโซ่แต่ละข้อเอาไว้อย่างแน่นอนมั่นคงแล้ว
อู่จง เป็นบรรณาธิการด้านจีนของเอเชียไทมส์ออนไลน์