(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Calculated ambiguity in the South China Sea
By Peter J Brown
07/12/2009
เป้าหมายขั้นสุดท้ายของจีนในทะเลจีนใต้ อาจไม่ใช่เพียงแค่การสถาปนาเขตเศรษฐกิจเฉพาะ (EEZ) อันกว้างใหญ่ไพศาลขึ้นมาเท่านั้น การที่ปักกิ่งมุ่งมั่นขยายตัวเข้าสู่น่านน้ำที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งกับชาติอื่นๆ แห่งนี้ ยังทำท่าจะเป็นเตรียมการสำหรับพลานุภาพทางนาวีในอนาคต ซึ่งจะประกอบด้วยกองเรือดำน้ำติดตั้งขีปนาวุธนิวเคลียร์ข้ามทวีป
*ข้อเขียนนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**แผนที่เส้นประ**
คาร์ไลล์ เทเยอร์ (Carlyle Thayer) ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ณ สถาบันป้องกันประเทศออสเตรเลีย เล่าว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการที่ฮานอยในเดือนที่แล้ว ประสบความสำเร็จในแง่ที่มีการหยิบยกพูดถึงความวิตกกังวลในภูมิภาค เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่อุดมด้วยน้ำมันและก๊าซในทะเลจีนใต้ที่ยังเป็นพื้นที่พิพาทกันอยู่ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมหารือมีความเห็นเป็นฉันทามติว่า บรรดารัฐที่ต่างแข่งกันอ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่เหล่านี้ ควรที่จะรื้อฟื้นพิจารณาข้อเสนอที่ให้ประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการพัฒนา
อย่างไรก็ดี การประชุมเชิงปฏิบัติการคราวนี้ดูจะยังมีประเด็นที่สำคัญยิ่งกว่าที่กล่าวมานี้เสียอีก นั่นคือเรื่องจุดยืนของจีนเกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนต่างๆ ในเขตทะเลจีนใต้ เทเยอร์เล่าว่านอกเหนือจากข้อเท็จจริงที่ว่า มีการพูดกันออกมาว่า “จีนยังไม่ได้มีจุดยืนที่เป็นหนึ่งเดียว” แล้ว ยังมีผู้เข้าร่วมประชุมจากจีนผู้หนึ่งกล่าวถึงสิ่งที่เรียกขานกันมานานว่า “แผนที่เส้นประ 9 เส้น” (nine-dotted line map) นั้น “เป็นสิ่งที่กำลังมีการหารือถกเถียงกันอยู่”
ทั้งนี้เมื่อปี 1947 รัฐบาลจีนเวลานั้นซึ่งยังเป็นรัฐบาลพรรคก๊กมิ่นตั๋ง ได้ประกาศอ้างกรรมสิทธิ์ในดินแดนต่างๆ ในทะเลจีนใต้ โดยเสนอออกมาในรูปของแผนที่ซึ่งมีการลากเส้นประรวมทั้งสิ้น 11 เส้น เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนยึดครองอำนาจปกครองประเทศได้สำเร็จ แผนที่นี้ก็ได้รับการยอมรับจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วย และเวลาต่อมานายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล ได้จัดการลบเส้นประ 2 เส้นในพื้นที่อ่าวตังเกี๋ยออก จึงทำให้จากที่มีเส้นประ 11 เส้น ก็เหลือ 9 เส้น แผนที่อย่างไม่เป็นทางการซึ่งมีเส้นประ 9 เส้นนี้ ได้ถูกนำออกเผยแพร่กันอย่างกว้างขวางมานานแล้ว ตามคำอธิบายของเทเยอร์นั้น พวกเจ้าหน้าที่ในภูมิภาคไม่สามารถทำให้จีนชี้แจงได้ว่า จริงๆ แล้วเส้นประเหล่านี้จะมีการเชื่อมต่อกันอย่างไร อีกทั้งจีนกำลังอ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่เป็นจำนวนเท่าใดกันแน่
“พวกนักวิชาการพูดออกมาอยางชัดเจนว่า แผนที่ของทะเลจีนใต้ฉบับที่เป็นทางการนั้น มีการใส่เส้นประ 9 เส้นเอาไว้ แต่ให้ถือเป็นขอบเขตสูงสุดของการกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ต่อพื้นที่แถบนี้ตามที่ได้เคยกระทำกันไว้ในประวัติศาสตร์ พวกผู้ชำนาญการชาวจีนชี้ว่า การกล่าวเช่นนี้เท่ากับเป็นการเปิดพื้นที่กว้างๆ สำหรับการหารือถกเถียงกันต่อไป” เทเยอร์กล่าว “ตัวอย่างเช่น ตัวแทนจากจีนคนหนึ่งเสนอว่าถ้าหากชาติต่างๆ ที่อ้างกรรมสิทธิ์เหนือส่วนต่อขยายของไหล่ทวีป ต่างพากันถอนการอ้างดังกล่าว ก็จะมีพื้นที่จำนวนมากภายในเส้นประ ซึ่งอาจมีการถอนออกมาเช่นกัน เพื่อให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกันก็ได้”
ข้อเสนอเช่นนี้คือการนำเอาเส้นประของจีนมาผูกโยงกับการยื่นหนังสือเรียกร้องกรรมสิทธิ์เหนือส่วนต่อขยายของไหล่ทวีปที่กระทำโดยเวียดนามและมาเลเซียเมื่อช่วงก่อนหน้านี้ในปีนี้ ภายใต้กำหนดเวลาที่สหประชาชาติกำหนดออกมานั่นเอง ทั้งสองประเทศยื่นหนังสืออ้างกรรมสิทธิ์ร่วมกันในพื้นที่ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ ขณะที่เวียดนามตามลำพังยังยื่นหนังสืออีกฉบับหนึ่งอ้างกรรมสิทธิ์เหนือส่วนต่อขยายของไหล่ทวีปที่อยู่ทางตอนเหนือด้วย
“จีนได้ยื่นหนังสือประท้วง พร้อมเสนอแผนที่ที่มีเส้นประ 9 เส้น เพื่อบ่งบอกพื้นที่ซึ่งจีนอ้างว่าเป็นดินแดนของตน นี่ดูจะเป้นครั้งแรกเลยที่รัฐบาลจีนยื่นเสนอแผนที่นี้อย่างเป็นทางการ” เทเยอร์กล่าว “จีนกำลังจงใจเดินนโยบายแบบมุ่งหมายให้เกิดความคลุมเครือในเรื่องนี้ มันเป็นวิธีทำให้ยังไม่สามารถตกลงรอมชอมกันได้เกี่ยวกับการอ้างอธิปไตยเหนือท้องทะเลที่กำลังขัดแย้งกันอยู่เหล่านี้ ทั้งนี้จนกว่าจะถึงจังหวะเวลาที่ปักกิ่งเห็นว่าเหมาะสม”
เวลานี้มีการพูดจากันแล้วเรื่องที่จะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับทะเลจีนใต้เป็นครั้งที่สองในกรุงฮานอยประมาณกลางปีหน้า ดัตตันยังกล่าวถึงรายการจำนวนหนึ่งที่น่าจะบรรจุเข้าไปในวาระของครั้งที่สองดังกล่าวนี้ “ก้าวที่เป็นผลบวกก้าวหนึ่งก็คือ จะสามารถจัดเวทีระดับภูมิภาคระดับพหุภาคีขึ้นมา เพื่อหารือถกเถียงกันเรื่องขนาดของโครงการพหุภาคีที่อาจจะเกิดขึ้นมาได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการวิจัยเกี่ยวกับปริมาณของแร่ธาตุไฮโดรคาร์บอนที่มีอยู่ใต้ท้องทะเลจีนใต้” ดัตตันกล่าว
“ก้าวที่เป็นผลบวกอีกก้าวหนึ่งก็น่าจะเป็นเรื่อง การพัฒนากรอบโครงแม่บทในเรื่องการบริหารจัดการระดับพหุภาคีสำหรับการจัดการพวกทรัพยากรที่มีชีวิต เป็นต้นว่า การตั้งองค์กรระดับภูมิภาคขึ้นมาคอยกำกับดูแลให้ประเทศผู้อ้างกรรมสิทธิ์ทั้งหมดมีการทำประมงแบบยั่งยืน ภายใต้ระบบสนธิสัญญาที่จะมีการจัดสรรปริมาณสัตว์น้ำที่ฝ่ายต่างๆ สามารถจับขึ้นมาได้ ก้าวต่างๆ เหล่านี้จะเป็นการแก้ไขปัญหาท้าทายที่ถือว่ายากลำบากไม่มากนักให้ตกไปได้เป็นบางปัญหา ขณะที่พวกที่เป็นคำถามยากๆ เกี่ยวกับเรื่องอธิปไตย ก็เลื่อนชะลอกันไปก่อน” เขาชี้
**การอ้างกรรมสิทธิ์ที่อาจสร้างความเสียหายต่อเรื่องอื่นๆ**
ดัตตันชี้ว่าภายในจีนเองกำลังมีการถกเถียงกันว่าการอ้างกรรมสิทธิ์เหนืออธิปไตยและเขตอำนาจของรัฐชายฝั่งในทะเลจีนใต้ของจีนนั้น จริงๆ แล้วมีขอบเขตขนาดไหนกันแน่ ทั้งนี้เขาบอกว่า เอาเข้าจริงแล้ว จีนอาจจะพอใจให้มีการแก้ไขปัญหาตรงนี้ด้วยหนทางการเมือง ยิ่งกว่าจะใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยกรอบโครงทางกฎหมาย ซึ่งอาจจะไปสร้างความเสียหายให้แก่การอ้างกรรมสิทธิ์ในเรื่องอื่นๆ ของจีนเอง
“กฎหมายภายในประเทศของจีนนั้นอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะทั้งหมดในทะเลจีนใต้ แล้วยังอ้างกรรมสิทธิ์เหนือเขตน่านน้ำและเขตเศรษฐกิจจำเพาะที่ต่อเนื่องมาจากดินแดนที่อ้างกรรมสิทธิ์ทั้งหมดของตน อย่างไรก็ตาม มันน่าจะให้ผลประโยชน์แก่จีนมากกว่า หากยังมีความคลุมเครืออยู่บ้างในเรื่องที่ว่า ข้ออ้างทางกฎหมายเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ของจีนนั้นมีขนาดขอบเขตแค่ไหนกันแน่ๆ” ดัตตันบอก
“เป็นเรื่องสำคัญยิ่งยวดที่การตกลงกันเกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิ์ของจีนในทะเลจีนใต้ จะต้องไม่มีการใช้วิธีการทางกฎหมายที่อาจสร้างความเสียหายต่อการที่จีนอ้างกรรมสิทธิ์เพื่อคัดค้านญี่ปุ่นในเขตทะเลจีนตะวันออก ดังนั้น จากมุมมองของฝ่ายจีนแล้ว กรอบโครงทางกฎหมายเพื่อหาทางออกเกี่ยวกับข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ จะต้องจัดทำกันขึ้นมาโดยที่ไม่เสียหายต่อการอ้างกรรมสิทธิ์ของจีนในทะเลจีนตะวันออก”
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะมีการจัดทำกรอบโครงทางกฎหมายกันหรือไม่ เทเยอร์เชื่อว่าจีนน่าจะใช้วิธีแบ่งแยกรัฐต่างๆในภูมิภาค แล้วเจาะเข้าไปทำข้อตกลงแบบทวิภาคีด้วยเป็นรายๆ ไป
“เมื่อเร็วๆ นี้จีนได้บอกกับสมาชิกทั้ง 10 ประเทศของสมาคมอาเซียนว่า พวกเขาควรต้องมีการกระทำที่เป็นหนึ่งเดียวกันให้ได้ก่อน แล้วจึงมาติดต่อกับจีนเพื่อหารือกันเกี่ยวกับเรื่องทะเลจีนใต้ มีรัฐอาเซียนบางรายชี้ออกมาเลยว่า การทำให้รัฐอาเซียนทั้ง 10 ได้ฉันทามตินั้นจะเป็นเรื่องยากเย็นมาก และการพยายามรวมเป็นกลุ่มหนึ่งเดียวกันนั้นมีแต่จะทำให้เกิดความขัดเคืองกันในเวลาทำข้อตกลงกับจีนเท่านั้นเอง” เทเยอร์เล่า
การประชุมเชิงปฏิบัติการในฮานอยเมื่อเดือนที่แล้ว จะตามมาด้วยการพูดจาในเรื่องทะเลจีนใต้อีกครั้งหนึ่งในวันที่ 16 ธันวาคม นั่นคือรอบต่อไปของสิ่งที่เรียกกันว่า การหารือว่าด้วยความตกลงเพื่อการปรึกษาทางทหารด้านการเดินเรือ (Military Maritime Consultative Agreement หรือ MMCA) ซึ่งจะมีผู้แทนจากจีนและสหรัฐฯเข้าร่วมด้วย การพบปะคราวนี้จะจัดขึ้นที่ศูนย์เอเชีย-แปซิฟิกเพื่อความมั่นคงศึกษา (Asia-Pacific Center for Security Studies) ในนครโฮโนลูลู มลรัฐฮาวาย
“การหารือที่เมืองหลวงของเวียดนามนั้นโดยเนื้อหาสาระแล้วคือการพูดจาถกเถียงประเด็นต่างๆ แบบลู่วิ่งที่ 2 ขณะที่ MMCA คือการสนทนาระหว่างทหารกับทหาร ซึ่งถือเป็นลู่วิ่งที่ 1” ดัตตันเปรียบเทียบ “การหารือที่เวียดนามจะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อ MMCA เนื่องจากประเด็นต่างๆ ที่นำมาพูดจากันมีความแตกต่างกันโดยพื้นฐาน ผู้เข้าร่วมการหารือที่เวียดนามจะถกเถียงกันในประเด็นด้านอธิปไตยและเขตอำนาจปกครองของชาติ ขณะที่การถกเถียงของ MMCA เน้นไปที่เรื่องเสรีภาพในการเดินเรือและการใช้น่านน้ำท้องทะเลนอกชายฝั่งของจีนเพื่อกิจการทางทหารอย่างอื่นๆ”
เทเยอร์ตั้งข้อสังเกตว่า สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ณ กรุงอานอยไม่ได้ส่งผู้สังเกตการณ์ทางการทูตเข้าไปร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ดังนั้นจึงกำลังทำให้สหรัฐฯถอยห่างออกจากข้อพิพาทด้านอธิปไตยและเรื่องดินแดนในทะเลจีนใต้
แต่สำหรับ“การประชุมครั้งต่อไปของ MMCA นั้น น่าจะเต็มไปด้วยเรื่องการเผชิญหน้ากันในท้องทะเล เป็นต้นว่าเหตุการณ์เกี่ยวกับเรือ ยูเอสเอ็นเอส อิมเพกคะเบิล แต่การเจรจาเพื่อจัดทำ “ความตกลงว่าด้วยเหตุการณ์ทางทะเล” เช่นนี้คงจะต้องใช้เวลาสัก 1 ปีหรือกว่านั้นอีกจึงจะสามารถลงนามกันได้” เทเยอร์คาดการณ์
เทเยอร์ยังชี้ไปถึงการเดินทางเยือนสหรัฐฯเมื่อเดือนตุลาคมของ พล.อ.สีว์ไฉโฮ่ว (Xu Caihou) รองประธานคณะกรรมการทหารกลางของจีน พลอ.สีว์ได้ระบุถึงอุปสรรค 4 ประการที่ขัดขวางไม่ให้เกิดความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างสหรัฐฯกับจีนที่ดำเนินไปอย่างเข้มแข็งและมีเสถียรภาพ โดยเริ่มต้นตั้งแต่เรื่องไต้หวัน นอกจากนั้นเขายังเรียกร้องให้สหรัฐฯยุติการบุกรุก ด้วยการส่งเครื่องบินทหารและเรือทหารล่วงล้ำเข้าไปในเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางทะเลของจีน
“วัตถุประสงค์หลักของจีนนั้นอยู่ที่ทำให้สหรัฐฯลดระดับลงมา ไม่ใช่ให้เลิกไปเลย ในเรื่องกิจกรรมตรวจการณ์สอดแนมนอกชายฝั่งของจีน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจการณ์สอดแนมฐานทัพนาวีบนเกาะไหหลำ” เทเยอร์ชี้
นอกเหนือจากข้อเรียกร้องของพล.อ.สีว์แล้ว ฟิชเชอร์ยังชี้ไปที่คำพูดของนายพลเพิ่งเกษียณอายุของกองทัพปลดแอกประชาชนจีนผู้หนึ่ง ซึ่งกล่าวในที่สาธารณะเรียกร้องให้จีนเพิ่มกำลังทหารที่ประจำอยู่ในทะเลจีนใต้ และขอให้สร้างฐานทัพอากาศบนแนวปะการัง มิสชีฟ ในหมู่เกาะสแปรตลีย์อีกด้วย
“นอกเหนือจากจะอยู่ห่างเกาะปาลาวัน (Palawan) ของฟิลิปปินส์เพียงแค่ราวๆ 200 ไมล์แล้ว (การตั้งฐานทัพอากาศที่มิสชีฟ รีฟ) จะทำให้กองทัพปลดแอกประชาชนจีนสามารถขยายการควบคุมเหนือช่องแคบปาลาวัน อันเป็นเส้นทางพาณิชย์ทางทะเลที่สำคัญมากสำหรับญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, และไต้หวัน” ฟิชเชอร์ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ กล่าวให้ทัศนะ “ฐานทัพอากาศที่มิสชีฟ รีฟ จะสร้างปัญหาท้าทายด้านความมั่นคงในระดับสูงมาก ซึ่งวอชิงตันไม่สามารถที่จะเพิกเฉยได้”
พวกหมู่เกาะเล็กๆ ของไต้หวันในทะเลจีนใต้ ก็ทำให้เรื่องราวยิ่งสลับซับซ้อนมากขึ้นไปอีก “ยังมีหมู่เกาะเล็กๆ หลายแห่งที่อยู่ใกล้ๆ เกาะไหหลำ ซึ่งไต้หวันยึดครองอยู่ ปักกิ่งสามารถที่จะใช้ข้ออ้างมากมายเลย ตั้งแต่ว่าการยึดครองหมู่เกาะเหล่านี้ของไต้หวันเป็นกิจกรรมทางทหารที่คุกคามทรัพย์สินทางนิวเคลียร์ที่มีอยู่บนเกาะไหหลำ ไปจนถึงข้ออ้างที่ว่าต้องการสร้างภาวะไร้เสถียรภาพขึ้นในไต้หวัน เพื่อใช้เป็นเหตุผลที่จะเข้าไปยึดหมู่เกาะเหล่านี้” ฟิชเชอร์กล่าว
ฟิชเชอร์ยังแสดงทัศนะของเขาต่อไปว่า “เนื่องจากกองทัพปลดแอกประชาชนจีนมีการลงทุนในด้านกำลังโจมตีแบบสะเทินน้ำสะเทินบกมาเป็นสิบปีแล้ว จึงสามารถเข้ายึดครองหมู่เกาะเหล่านี้ได้อย่างง่ายดาย และเนื่องจากรัฐในเอเชียอื่นๆ ได้เลือกที่จะยอมรับนโยบาย ‘จีนเดียว’ของปักกิ่งมานานแล้ว จึงไม่น่าที่จะมีรัฐเอเชียใดๆ แสดงการตอบโต้อย่างรุนแรง ในลักษณะที่เหมือนกับการเข้าป้องกันผลประโยชน์ที่ใหญ่หลวงกว่านี้ของพวกตน”
ทะเลจีนใต้และแม้กระทั่งไต้หวัน เวลานี้มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สำหรับสหรัฐฯน้อยลงกว่าในระหว่างช่วงสงครามเย็นเป็นอันมาก ทว่าจีนก็ไม่ควรดูเบาสหรัฐฯที่ดูเหมือนกำลังมีจุดยืน “ไม่สนใจใยดี” เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากว่ายุทธศาสตร์ของสหรัฐฯอาจจะมีการปรับเปลี่ยนก็ได้ จากการเพิ่มกิจกรรมทางหทารของจีนในภูมิภาคแถบนี้ ขณะเดียวกันก็ยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่า การพบปะหารือในกรุงฮานอยนั้น เป็นตัวแทนของการเปิดบทใหม่อันสำคัญมากในสายสัมพันธ์ระหว่างจีนกับบรรดาประเทศเพื่อนบ้านของตนหรือไม่
ฟิชเชอร์แสดงทัศนะของตนต่อไปว่า “การที่สหรัฐฯยังคงวางตัวเป็นกลางต่อไป มีแต่จะเร่งวันเวลาที่จีนจะกลายเป็นเจ้าผู้ต่อต้านประชาธิปไตยในภูมิภาคแถบนี้ โดยที่มีความสามารถในการใช้แรงกดดันทางเศรษฐกิจและการทหารอันมหาศาล เพื่อบังคับให้ทั่วทั้งภูมิภาคยอมตามความปรารถนาของตน”
ปีเตอร์ เจ บราวน์ เป็นนักเขียนอิสระซึ่งพำนักอยู่ที่มลรัฐเมน, สหรัฐอเมริกา
‘ความคลุมเครือ’อย่างจงใจใน‘ทะเลจีนใต้’(ตอนแรก)
Calculated ambiguity in the South China Sea
By Peter J Brown
07/12/2009
เป้าหมายขั้นสุดท้ายของจีนในทะเลจีนใต้ อาจไม่ใช่เพียงแค่การสถาปนาเขตเศรษฐกิจเฉพาะ (EEZ) อันกว้างใหญ่ไพศาลขึ้นมาเท่านั้น การที่ปักกิ่งมุ่งมั่นขยายตัวเข้าสู่น่านน้ำที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งกับชาติอื่นๆ แห่งนี้ ยังทำท่าจะเป็นเตรียมการสำหรับพลานุภาพทางนาวีในอนาคต ซึ่งจะประกอบด้วยกองเรือดำน้ำติดตั้งขีปนาวุธนิวเคลียร์ข้ามทวีป
*ข้อเขียนนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**แผนที่เส้นประ**
คาร์ไลล์ เทเยอร์ (Carlyle Thayer) ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ณ สถาบันป้องกันประเทศออสเตรเลีย เล่าว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการที่ฮานอยในเดือนที่แล้ว ประสบความสำเร็จในแง่ที่มีการหยิบยกพูดถึงความวิตกกังวลในภูมิภาค เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่อุดมด้วยน้ำมันและก๊าซในทะเลจีนใต้ที่ยังเป็นพื้นที่พิพาทกันอยู่ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมหารือมีความเห็นเป็นฉันทามติว่า บรรดารัฐที่ต่างแข่งกันอ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่เหล่านี้ ควรที่จะรื้อฟื้นพิจารณาข้อเสนอที่ให้ประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการพัฒนา
อย่างไรก็ดี การประชุมเชิงปฏิบัติการคราวนี้ดูจะยังมีประเด็นที่สำคัญยิ่งกว่าที่กล่าวมานี้เสียอีก นั่นคือเรื่องจุดยืนของจีนเกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนต่างๆ ในเขตทะเลจีนใต้ เทเยอร์เล่าว่านอกเหนือจากข้อเท็จจริงที่ว่า มีการพูดกันออกมาว่า “จีนยังไม่ได้มีจุดยืนที่เป็นหนึ่งเดียว” แล้ว ยังมีผู้เข้าร่วมประชุมจากจีนผู้หนึ่งกล่าวถึงสิ่งที่เรียกขานกันมานานว่า “แผนที่เส้นประ 9 เส้น” (nine-dotted line map) นั้น “เป็นสิ่งที่กำลังมีการหารือถกเถียงกันอยู่”
ทั้งนี้เมื่อปี 1947 รัฐบาลจีนเวลานั้นซึ่งยังเป็นรัฐบาลพรรคก๊กมิ่นตั๋ง ได้ประกาศอ้างกรรมสิทธิ์ในดินแดนต่างๆ ในทะเลจีนใต้ โดยเสนอออกมาในรูปของแผนที่ซึ่งมีการลากเส้นประรวมทั้งสิ้น 11 เส้น เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนยึดครองอำนาจปกครองประเทศได้สำเร็จ แผนที่นี้ก็ได้รับการยอมรับจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วย และเวลาต่อมานายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล ได้จัดการลบเส้นประ 2 เส้นในพื้นที่อ่าวตังเกี๋ยออก จึงทำให้จากที่มีเส้นประ 11 เส้น ก็เหลือ 9 เส้น แผนที่อย่างไม่เป็นทางการซึ่งมีเส้นประ 9 เส้นนี้ ได้ถูกนำออกเผยแพร่กันอย่างกว้างขวางมานานแล้ว ตามคำอธิบายของเทเยอร์นั้น พวกเจ้าหน้าที่ในภูมิภาคไม่สามารถทำให้จีนชี้แจงได้ว่า จริงๆ แล้วเส้นประเหล่านี้จะมีการเชื่อมต่อกันอย่างไร อีกทั้งจีนกำลังอ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่เป็นจำนวนเท่าใดกันแน่
“พวกนักวิชาการพูดออกมาอยางชัดเจนว่า แผนที่ของทะเลจีนใต้ฉบับที่เป็นทางการนั้น มีการใส่เส้นประ 9 เส้นเอาไว้ แต่ให้ถือเป็นขอบเขตสูงสุดของการกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ต่อพื้นที่แถบนี้ตามที่ได้เคยกระทำกันไว้ในประวัติศาสตร์ พวกผู้ชำนาญการชาวจีนชี้ว่า การกล่าวเช่นนี้เท่ากับเป็นการเปิดพื้นที่กว้างๆ สำหรับการหารือถกเถียงกันต่อไป” เทเยอร์กล่าว “ตัวอย่างเช่น ตัวแทนจากจีนคนหนึ่งเสนอว่าถ้าหากชาติต่างๆ ที่อ้างกรรมสิทธิ์เหนือส่วนต่อขยายของไหล่ทวีป ต่างพากันถอนการอ้างดังกล่าว ก็จะมีพื้นที่จำนวนมากภายในเส้นประ ซึ่งอาจมีการถอนออกมาเช่นกัน เพื่อให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกันก็ได้”
ข้อเสนอเช่นนี้คือการนำเอาเส้นประของจีนมาผูกโยงกับการยื่นหนังสือเรียกร้องกรรมสิทธิ์เหนือส่วนต่อขยายของไหล่ทวีปที่กระทำโดยเวียดนามและมาเลเซียเมื่อช่วงก่อนหน้านี้ในปีนี้ ภายใต้กำหนดเวลาที่สหประชาชาติกำหนดออกมานั่นเอง ทั้งสองประเทศยื่นหนังสืออ้างกรรมสิทธิ์ร่วมกันในพื้นที่ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ ขณะที่เวียดนามตามลำพังยังยื่นหนังสืออีกฉบับหนึ่งอ้างกรรมสิทธิ์เหนือส่วนต่อขยายของไหล่ทวีปที่อยู่ทางตอนเหนือด้วย
“จีนได้ยื่นหนังสือประท้วง พร้อมเสนอแผนที่ที่มีเส้นประ 9 เส้น เพื่อบ่งบอกพื้นที่ซึ่งจีนอ้างว่าเป็นดินแดนของตน นี่ดูจะเป้นครั้งแรกเลยที่รัฐบาลจีนยื่นเสนอแผนที่นี้อย่างเป็นทางการ” เทเยอร์กล่าว “จีนกำลังจงใจเดินนโยบายแบบมุ่งหมายให้เกิดความคลุมเครือในเรื่องนี้ มันเป็นวิธีทำให้ยังไม่สามารถตกลงรอมชอมกันได้เกี่ยวกับการอ้างอธิปไตยเหนือท้องทะเลที่กำลังขัดแย้งกันอยู่เหล่านี้ ทั้งนี้จนกว่าจะถึงจังหวะเวลาที่ปักกิ่งเห็นว่าเหมาะสม”
เวลานี้มีการพูดจากันแล้วเรื่องที่จะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับทะเลจีนใต้เป็นครั้งที่สองในกรุงฮานอยประมาณกลางปีหน้า ดัตตันยังกล่าวถึงรายการจำนวนหนึ่งที่น่าจะบรรจุเข้าไปในวาระของครั้งที่สองดังกล่าวนี้ “ก้าวที่เป็นผลบวกก้าวหนึ่งก็คือ จะสามารถจัดเวทีระดับภูมิภาคระดับพหุภาคีขึ้นมา เพื่อหารือถกเถียงกันเรื่องขนาดของโครงการพหุภาคีที่อาจจะเกิดขึ้นมาได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการวิจัยเกี่ยวกับปริมาณของแร่ธาตุไฮโดรคาร์บอนที่มีอยู่ใต้ท้องทะเลจีนใต้” ดัตตันกล่าว
“ก้าวที่เป็นผลบวกอีกก้าวหนึ่งก็น่าจะเป็นเรื่อง การพัฒนากรอบโครงแม่บทในเรื่องการบริหารจัดการระดับพหุภาคีสำหรับการจัดการพวกทรัพยากรที่มีชีวิต เป็นต้นว่า การตั้งองค์กรระดับภูมิภาคขึ้นมาคอยกำกับดูแลให้ประเทศผู้อ้างกรรมสิทธิ์ทั้งหมดมีการทำประมงแบบยั่งยืน ภายใต้ระบบสนธิสัญญาที่จะมีการจัดสรรปริมาณสัตว์น้ำที่ฝ่ายต่างๆ สามารถจับขึ้นมาได้ ก้าวต่างๆ เหล่านี้จะเป็นการแก้ไขปัญหาท้าทายที่ถือว่ายากลำบากไม่มากนักให้ตกไปได้เป็นบางปัญหา ขณะที่พวกที่เป็นคำถามยากๆ เกี่ยวกับเรื่องอธิปไตย ก็เลื่อนชะลอกันไปก่อน” เขาชี้
**การอ้างกรรมสิทธิ์ที่อาจสร้างความเสียหายต่อเรื่องอื่นๆ**
ดัตตันชี้ว่าภายในจีนเองกำลังมีการถกเถียงกันว่าการอ้างกรรมสิทธิ์เหนืออธิปไตยและเขตอำนาจของรัฐชายฝั่งในทะเลจีนใต้ของจีนนั้น จริงๆ แล้วมีขอบเขตขนาดไหนกันแน่ ทั้งนี้เขาบอกว่า เอาเข้าจริงแล้ว จีนอาจจะพอใจให้มีการแก้ไขปัญหาตรงนี้ด้วยหนทางการเมือง ยิ่งกว่าจะใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยกรอบโครงทางกฎหมาย ซึ่งอาจจะไปสร้างความเสียหายให้แก่การอ้างกรรมสิทธิ์ในเรื่องอื่นๆ ของจีนเอง
“กฎหมายภายในประเทศของจีนนั้นอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะทั้งหมดในทะเลจีนใต้ แล้วยังอ้างกรรมสิทธิ์เหนือเขตน่านน้ำและเขตเศรษฐกิจจำเพาะที่ต่อเนื่องมาจากดินแดนที่อ้างกรรมสิทธิ์ทั้งหมดของตน อย่างไรก็ตาม มันน่าจะให้ผลประโยชน์แก่จีนมากกว่า หากยังมีความคลุมเครืออยู่บ้างในเรื่องที่ว่า ข้ออ้างทางกฎหมายเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ของจีนนั้นมีขนาดขอบเขตแค่ไหนกันแน่ๆ” ดัตตันบอก
“เป็นเรื่องสำคัญยิ่งยวดที่การตกลงกันเกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิ์ของจีนในทะเลจีนใต้ จะต้องไม่มีการใช้วิธีการทางกฎหมายที่อาจสร้างความเสียหายต่อการที่จีนอ้างกรรมสิทธิ์เพื่อคัดค้านญี่ปุ่นในเขตทะเลจีนตะวันออก ดังนั้น จากมุมมองของฝ่ายจีนแล้ว กรอบโครงทางกฎหมายเพื่อหาทางออกเกี่ยวกับข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ จะต้องจัดทำกันขึ้นมาโดยที่ไม่เสียหายต่อการอ้างกรรมสิทธิ์ของจีนในทะเลจีนตะวันออก”
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะมีการจัดทำกรอบโครงทางกฎหมายกันหรือไม่ เทเยอร์เชื่อว่าจีนน่าจะใช้วิธีแบ่งแยกรัฐต่างๆในภูมิภาค แล้วเจาะเข้าไปทำข้อตกลงแบบทวิภาคีด้วยเป็นรายๆ ไป
“เมื่อเร็วๆ นี้จีนได้บอกกับสมาชิกทั้ง 10 ประเทศของสมาคมอาเซียนว่า พวกเขาควรต้องมีการกระทำที่เป็นหนึ่งเดียวกันให้ได้ก่อน แล้วจึงมาติดต่อกับจีนเพื่อหารือกันเกี่ยวกับเรื่องทะเลจีนใต้ มีรัฐอาเซียนบางรายชี้ออกมาเลยว่า การทำให้รัฐอาเซียนทั้ง 10 ได้ฉันทามตินั้นจะเป็นเรื่องยากเย็นมาก และการพยายามรวมเป็นกลุ่มหนึ่งเดียวกันนั้นมีแต่จะทำให้เกิดความขัดเคืองกันในเวลาทำข้อตกลงกับจีนเท่านั้นเอง” เทเยอร์เล่า
การประชุมเชิงปฏิบัติการในฮานอยเมื่อเดือนที่แล้ว จะตามมาด้วยการพูดจาในเรื่องทะเลจีนใต้อีกครั้งหนึ่งในวันที่ 16 ธันวาคม นั่นคือรอบต่อไปของสิ่งที่เรียกกันว่า การหารือว่าด้วยความตกลงเพื่อการปรึกษาทางทหารด้านการเดินเรือ (Military Maritime Consultative Agreement หรือ MMCA) ซึ่งจะมีผู้แทนจากจีนและสหรัฐฯเข้าร่วมด้วย การพบปะคราวนี้จะจัดขึ้นที่ศูนย์เอเชีย-แปซิฟิกเพื่อความมั่นคงศึกษา (Asia-Pacific Center for Security Studies) ในนครโฮโนลูลู มลรัฐฮาวาย
“การหารือที่เมืองหลวงของเวียดนามนั้นโดยเนื้อหาสาระแล้วคือการพูดจาถกเถียงประเด็นต่างๆ แบบลู่วิ่งที่ 2 ขณะที่ MMCA คือการสนทนาระหว่างทหารกับทหาร ซึ่งถือเป็นลู่วิ่งที่ 1” ดัตตันเปรียบเทียบ “การหารือที่เวียดนามจะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อ MMCA เนื่องจากประเด็นต่างๆ ที่นำมาพูดจากันมีความแตกต่างกันโดยพื้นฐาน ผู้เข้าร่วมการหารือที่เวียดนามจะถกเถียงกันในประเด็นด้านอธิปไตยและเขตอำนาจปกครองของชาติ ขณะที่การถกเถียงของ MMCA เน้นไปที่เรื่องเสรีภาพในการเดินเรือและการใช้น่านน้ำท้องทะเลนอกชายฝั่งของจีนเพื่อกิจการทางทหารอย่างอื่นๆ”
เทเยอร์ตั้งข้อสังเกตว่า สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ณ กรุงอานอยไม่ได้ส่งผู้สังเกตการณ์ทางการทูตเข้าไปร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ดังนั้นจึงกำลังทำให้สหรัฐฯถอยห่างออกจากข้อพิพาทด้านอธิปไตยและเรื่องดินแดนในทะเลจีนใต้
แต่สำหรับ“การประชุมครั้งต่อไปของ MMCA นั้น น่าจะเต็มไปด้วยเรื่องการเผชิญหน้ากันในท้องทะเล เป็นต้นว่าเหตุการณ์เกี่ยวกับเรือ ยูเอสเอ็นเอส อิมเพกคะเบิล แต่การเจรจาเพื่อจัดทำ “ความตกลงว่าด้วยเหตุการณ์ทางทะเล” เช่นนี้คงจะต้องใช้เวลาสัก 1 ปีหรือกว่านั้นอีกจึงจะสามารถลงนามกันได้” เทเยอร์คาดการณ์
เทเยอร์ยังชี้ไปถึงการเดินทางเยือนสหรัฐฯเมื่อเดือนตุลาคมของ พล.อ.สีว์ไฉโฮ่ว (Xu Caihou) รองประธานคณะกรรมการทหารกลางของจีน พลอ.สีว์ได้ระบุถึงอุปสรรค 4 ประการที่ขัดขวางไม่ให้เกิดความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างสหรัฐฯกับจีนที่ดำเนินไปอย่างเข้มแข็งและมีเสถียรภาพ โดยเริ่มต้นตั้งแต่เรื่องไต้หวัน นอกจากนั้นเขายังเรียกร้องให้สหรัฐฯยุติการบุกรุก ด้วยการส่งเครื่องบินทหารและเรือทหารล่วงล้ำเข้าไปในเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางทะเลของจีน
“วัตถุประสงค์หลักของจีนนั้นอยู่ที่ทำให้สหรัฐฯลดระดับลงมา ไม่ใช่ให้เลิกไปเลย ในเรื่องกิจกรรมตรวจการณ์สอดแนมนอกชายฝั่งของจีน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจการณ์สอดแนมฐานทัพนาวีบนเกาะไหหลำ” เทเยอร์ชี้
นอกเหนือจากข้อเรียกร้องของพล.อ.สีว์แล้ว ฟิชเชอร์ยังชี้ไปที่คำพูดของนายพลเพิ่งเกษียณอายุของกองทัพปลดแอกประชาชนจีนผู้หนึ่ง ซึ่งกล่าวในที่สาธารณะเรียกร้องให้จีนเพิ่มกำลังทหารที่ประจำอยู่ในทะเลจีนใต้ และขอให้สร้างฐานทัพอากาศบนแนวปะการัง มิสชีฟ ในหมู่เกาะสแปรตลีย์อีกด้วย
“นอกเหนือจากจะอยู่ห่างเกาะปาลาวัน (Palawan) ของฟิลิปปินส์เพียงแค่ราวๆ 200 ไมล์แล้ว (การตั้งฐานทัพอากาศที่มิสชีฟ รีฟ) จะทำให้กองทัพปลดแอกประชาชนจีนสามารถขยายการควบคุมเหนือช่องแคบปาลาวัน อันเป็นเส้นทางพาณิชย์ทางทะเลที่สำคัญมากสำหรับญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, และไต้หวัน” ฟิชเชอร์ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ กล่าวให้ทัศนะ “ฐานทัพอากาศที่มิสชีฟ รีฟ จะสร้างปัญหาท้าทายด้านความมั่นคงในระดับสูงมาก ซึ่งวอชิงตันไม่สามารถที่จะเพิกเฉยได้”
พวกหมู่เกาะเล็กๆ ของไต้หวันในทะเลจีนใต้ ก็ทำให้เรื่องราวยิ่งสลับซับซ้อนมากขึ้นไปอีก “ยังมีหมู่เกาะเล็กๆ หลายแห่งที่อยู่ใกล้ๆ เกาะไหหลำ ซึ่งไต้หวันยึดครองอยู่ ปักกิ่งสามารถที่จะใช้ข้ออ้างมากมายเลย ตั้งแต่ว่าการยึดครองหมู่เกาะเหล่านี้ของไต้หวันเป็นกิจกรรมทางทหารที่คุกคามทรัพย์สินทางนิวเคลียร์ที่มีอยู่บนเกาะไหหลำ ไปจนถึงข้ออ้างที่ว่าต้องการสร้างภาวะไร้เสถียรภาพขึ้นในไต้หวัน เพื่อใช้เป็นเหตุผลที่จะเข้าไปยึดหมู่เกาะเหล่านี้” ฟิชเชอร์กล่าว
ฟิชเชอร์ยังแสดงทัศนะของเขาต่อไปว่า “เนื่องจากกองทัพปลดแอกประชาชนจีนมีการลงทุนในด้านกำลังโจมตีแบบสะเทินน้ำสะเทินบกมาเป็นสิบปีแล้ว จึงสามารถเข้ายึดครองหมู่เกาะเหล่านี้ได้อย่างง่ายดาย และเนื่องจากรัฐในเอเชียอื่นๆ ได้เลือกที่จะยอมรับนโยบาย ‘จีนเดียว’ของปักกิ่งมานานแล้ว จึงไม่น่าที่จะมีรัฐเอเชียใดๆ แสดงการตอบโต้อย่างรุนแรง ในลักษณะที่เหมือนกับการเข้าป้องกันผลประโยชน์ที่ใหญ่หลวงกว่านี้ของพวกตน”
ทะเลจีนใต้และแม้กระทั่งไต้หวัน เวลานี้มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สำหรับสหรัฐฯน้อยลงกว่าในระหว่างช่วงสงครามเย็นเป็นอันมาก ทว่าจีนก็ไม่ควรดูเบาสหรัฐฯที่ดูเหมือนกำลังมีจุดยืน “ไม่สนใจใยดี” เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากว่ายุทธศาสตร์ของสหรัฐฯอาจจะมีการปรับเปลี่ยนก็ได้ จากการเพิ่มกิจกรรมทางหทารของจีนในภูมิภาคแถบนี้ ขณะเดียวกันก็ยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่า การพบปะหารือในกรุงฮานอยนั้น เป็นตัวแทนของการเปิดบทใหม่อันสำคัญมากในสายสัมพันธ์ระหว่างจีนกับบรรดาประเทศเพื่อนบ้านของตนหรือไม่
ฟิชเชอร์แสดงทัศนะของตนต่อไปว่า “การที่สหรัฐฯยังคงวางตัวเป็นกลางต่อไป มีแต่จะเร่งวันเวลาที่จีนจะกลายเป็นเจ้าผู้ต่อต้านประชาธิปไตยในภูมิภาคแถบนี้ โดยที่มีความสามารถในการใช้แรงกดดันทางเศรษฐกิจและการทหารอันมหาศาล เพื่อบังคับให้ทั่วทั้งภูมิภาคยอมตามความปรารถนาของตน”
ปีเตอร์ เจ บราวน์ เป็นนักเขียนอิสระซึ่งพำนักอยู่ที่มลรัฐเมน, สหรัฐอเมริกา