xs
xsm
sm
md
lg

2 นักข่าวมะกันกลับถึงสหรัฐฯ แล้ว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเอฟพี - 2 นักข่าวอเมริกัน ที่ได้รับการปล่อยตัวจากเกาหลีเหนือ หลั่งน้ำตาเมื่อได้พบกับครอบครัวอีกครั้งวานนี้ (5) ที่สนามบินในสหรัฐฯ ขณะที่รัฐบาลวอชิงตันพยายามลดความสำคัญของการเจรจาระดับทวิภาคีกับกรุงเปียงยาง

ลอรา หลิงวัย 32 ปี และอูนา ลี วัย 36 ปี 2 ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ของสหรัฐฯ เดินทางถึงสนามบินเบอร์แบงก์ ใกล้กับลอสแองเจลิส ด้วยเครื่องบินโดยสารส่วนตัว พร้อมกับบิลล์ คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งประสบความสำเร็จในการเจรจากับผู้นำเกาหลีเหนือให้ยอมปล่อยตัวผู้สื่อข่าวสาวอเมริกัน 2 คนที่ถูกจับตั้งแต่เดือนมีนาคม

หลิงแสดงความดีใจด้วยการชูมือขึ้นฟ้า ขณะทั้งคู่ก้าวลงจากเครื่องบิน เพื่อพบกับครอบครัวอีกครั้ง ลีโผเข้าสวมกอดลูกสาววัย 4 ขวบ ที่ไม่ได้พบกันนานถึง 5 เดือน

หลิงวัย 32 ปี และลีวัย 36 ปี สองผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ ถูกจับกุมในเดือนมีนาคม ขณะรายงานข่าวบริเวณพรมแดนของเกาหลีเหนือด้านที่ติดกับจีน ศาลเกาหลีเหนือตัดสินลงโทษทั้งคู่เมื่อเดือนมิถุนายน ให้ไปใช้แรงงานหนักในค่ายกักกันพิเศษเป็นระยะเวลา 12 ปี จากความผิดในข้อหาลักลอบเข้าเกาหลีเหนือแบบผิดกฎหมาย และกระทำการอันเป็นศัตรูต่อเกาหลีเหนือ

ด้านประธานาธิบดีบารัค โอบามา กล่าวว่า “รู้สึกโล่งใจเป็นอย่างมาก” ที่ 2 นักข่าวหญิงเดินทางกลับถึงประเทศ แต่ยืนกรานว่าทางแนวทางสำหรับเกาหลีเหนือในการปรับปรุงความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ คือ การยุติโครงการนิวเคลียร์ และหยุดพฤติกรรมก้าวร้าว

การเดินทางเยือนเกาหลีเหนือของคลินตันคราวนี้ เป็นการติดต่อสมาคมระดับสูงครั้งแรกระหว่างสหรัฐฯ กับเกาหลีเหนือในรอบเกือบทศวรรษ

ฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์เกาหลีเหนือ รวมทั้งจอห์น แมคเคน วุฒิสมาชิกสังกัดรีพับลิกัน กล่าวหาว่า ผู้นำโสมแดงในโอกาสในครั้งนี้ยกระดับสถานะของตนเอง ท่ามกลางข้อกังหาเรื่องสุขภาพ

ผู้เชี่ยวชาญเรียกร้องให้โอบามาอย่าล้มเลิกการเจรจา 6 ฝ่าย แล้วหันมาเจรจาระดับทวิภาคีกับเกาหลีเหนิอ เพื่อยุติโครงการนิวเคลียร์ อันเป็นมาตรการที่พันธมิตรสำคัญของสหรัฐฯ อย่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่นวิตกกังวลอย่างมาก

ทั้งนี้ เกาหลีเหนือถอนตัวจากการเจรา 6 ฝ่ายเมื่อปีที่แล้ว และยืนกรานนับแต่นั้นมาว่า จะเจรจากับสหรัฐฯ เท่านั้น

อนึ่ง การเจรจา 6 ฝ่ายประกอบด้วย เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย และสหรัฐฯ เพื่อโน้มน้าวให้เกาหลีเหนือยุติโครงการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ แลกกับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม


กำลังโหลดความคิดเห็น