(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Inflationary musketeers
By Hossein Askari and Noureddine Krichene
12/05/2009
ผู้นำของธนาคารกลางชาติต่างๆ นำโดยเบน เบอร์นันกีแห่งสหรัฐอเมริกา, เมอร์วิน คิง แห่งอังกฤษ และฌอง-คล็อท ทริเชต์แห่งธนาคารกลางแห่งยุโรป พากันอัดฉีดเงินปลอมหลายล้านล้านดอลลาร์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลก แต่พวกนี้ไม่สามารถที่จะหาของจริงใส่เข้าไปในระบบได้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันสักหนึ่งแกลลอน หรือข้าวสักหนึ่งถัง การพิมพ์เงินมหาศาลที่พวกนี้ทำอยู่ที่จริงแล้วมันจะแปรเป็นการเก็บภาษีเพิ่ม การปรับโครงสร้างการกระจายความมั่งคั่ง โดยมีผลลัพธ์คือภาวะเงินเฟ้อร้ายแรงรออยู่อย่างที่มิอาจหลีกหนีได้
*ข้อเขียนนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ในการนี้ แบงก์ชาติมีภาระที่จะต้องหมั่นอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ณ อัตราที่ไม่มีการจำกัด เพื่อรักษาดอกเบี้ยไว้ที่ระดับศูนย์ ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงถูกกดดันลงไปในระดับติดลบ พวกแบงก์พาณิชย์ก็ย่อมไม่เห็นความจำเป็นที่จะปล่อยกู้ในเมื่อผลตอบแทนจากการปล่อยกู้จะอยู่ในระดับที่ต่ำมาก หนำซ้ำยังต้องแบกความเสี่ยงสูงมากจากภาวะเงินเฟ้อและจากการขาดทุนกรณีลูกหนี้ล้มละลาย สิ่งชี้บ่งในเรื่องนี้ หรือจะเรียกอีกอย่างก็ได้ว่าผลพลอยได้จากนโยบายนี้ ก็คือแบงก์พาณิชย์ในสหรัฐฯ มีเงินสำรองส่วนเกินเพิ่มขึ้นมามหาศาล จากระดับต่ำกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงก่อนเดือนกันยายน 2008 เป็น 900,000 ล้านดอลลาร์ในเดือนพฤษภาคม 2009
นอกจากนั้น อัตราดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็นต์ยังส่งผลไปกัดกร่อนส่วนของเงินออม ตลอดจนบ่อนทำลายพื้นฐานเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจไปในเวลาเดียวกัน กลุ่มลูกค้าหลักในตลาดการเงินยุคที่ดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับศูนย์เปอร์เซ็นต์นั้น ก็คือพวกผู้บริโภค ในการนี้ เงินหลายล้านล้านดอลลาร์ที่แบงก์ชาติอัดฉีดเข้าระบบเมื่อระยะที่ผ่านมานั้น อันที่จริงก็มุ่งจะให้ไปถึงผู้บริโภคกับผู้กู้ยืมในตลาดบ้านที่อยู่อาศัยนั่นเอง แต่ในทางเป็นจริง มันจะไปกัดกร่อนฐานเงินออมและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในท้ายที่สุดแล้ว เงินกู้ที่ปล่อยให้ผู้บริโภคจะสูญหายหมด ดังที่วิกฤตการเงินเมื่อเร็วๆ ที่ได้แสดงสภาพการณ์ให้ได้เห็นกันแล้ว แล้วอย่างนี้ ใครกันบ้างที่จะเป็นคนจ่ายต้นทุนแท้จริงของความเสียหายตรงนี้ คำตอบมีอยู่ในวิกฤตที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้นี่เอง กล่าวคือ พวกประเทศยากจน (ผ่านภาษีแอบแฝงที่ทวีตามเงินเฟ้อ ประเทศจีน กองทุนของภาครัฐที่ลงทุนเพื่อสร้างรายได้ ผู้เกษียณอายุ แรงงาน คนเร่ร่อน และผู้จ่ายภาษีทั้งหลาย
นโยบายดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็นต์เปิดทางสะดวกแก่การเก็งกำไร เพราะนักเก็งกำไรสร้างรายได้จากแต่ละช่วงสั้นๆ ที่เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านราคา ยิ่งเมื่อเงินทุนที่ใช้ดำเนินการไม่มีต้นทุนด้านดอกเบี้ย การเก็งกำไรก็ยิ่งน่าดึงดูด ในเวลาเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็นต์ไม่ส่งเสริมการลงทุนเพื่อการผลิตซึ่งเจริญขึ้นได้บนฐานเงินออมแท้จริง ในเมื่อเงินออมหดหายไปหมด เม็ดเงินเพื่อการลงทุนก็มีปริมาณน้อยลง ราคาของเงินทุนที่ป้อนเข้าระบบย่อมจะพุ่งสูง ดังปรากฏให้เห็นจากการทะยานลิ่วของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และกำไรที่ลดลง
ต่อให้นักลงทุนที่ลงทุนเพื่อการผลิตสามารถทำกู้ได้ที่อัตราดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็นต์หรือที่ค่าติดลบตามการคำนวณจริง ปริมาณของเงินออมแท้จริงที่จะไปตอบสนองความต้องการกู้ก็จะมีน้อยเกินกว่าจะสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ ดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็นต์หรือกระทั่งดอกเบี้ยระดับต่ำๆ ทั้งหลายไม่สามารถช่วยกระตุ้นซัปพลายได้ เพราะตัวดำเนินการในฝั่งซัปพลายนั้นเป็นพวกนิยมทำกำไรสูงสุด ในยามที่พวกนี้มีภาระต้นทุนต่ำมากๆ โดยเฉพาะต้นทุนในการเก็บสินค้าคงคลัง กับมีเงินทุนดำเนินงานล้นมือ ณ ดอกเบี้ยถูกเหมือนได้เปล่ส พวกเขาย่อมสามารถเพิ่มกำไรสูงๆ ได้โดยเพิ่มราคาพร้อมกับดึงสินค้าไม่รีบปล่อยของออกไป
ดังนั้น ดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็นต์เป็นการบิดเบือนสภาพการณ์อย่างแท้จริงบนการควบคุมบริหารงานของพวกแบงก์ชาติ ซึ่งทำไปทั้งๆ ที่มันเป็นการกัดกร่อนพื้นฐานการเติบโต การโหมกระแสเก็งกำไร และการบั่นทอนภาคการลงทุนกับภาคซัปพลาย กับเป็นการทำลายระบบเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่น่าประหลาดใจที่พบว่านโยบายนี้ซึ่งญี่ปุ่นใช้ตลอดช่วงปี 1990-2003 ถูกประกบติดอยู่ด้วยภาวะเศรษฐกิจซบเซายืดเยื้อยาวนาน
พวกแบงก์ชาติประเทศต่างๆ มักเชื่อว่าระบบเศรษฐกิจของพวกตนเสียหายจากการหดตัวในภาคอุปสงค์ โดยไม่ยอมคำนึงถึงปัจจัยว่าด้วยการหดตัวภายนอกซึ่งมีขนาดใหญ่โตมาก อีกทั้งปัจจัยว่าด้วยน้ำมันสำรองลดระดับลงมากในระยะนี้ นอกจากนั้น นานมากแล้วที่พวกแบงก์ชาติเหล่านี้ไม่ใส่ใจกับภัยเงินเฟ้อที่พ่วงมากับนโยบายเงินต้นทุนถูก ตลอดจนละเลยกับปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูงในอัตราระดับเลขสองตัวในช่วงปี 2002-2008 แล้วมาวันนี้ พวกเขามายืนยันความชอบธรรมให้แก่นโยบายขยายปริมาณเงินโดยไม่พูดถึงเงินเฟ้อ
ไม่ว่าจะยอมรับถึงความรุนแรงของปัญหาเงินเฟ้อหรือไม่ ราคาอาหารได้ถีบทะยานขึ้นไป 3-4 เท่าตัวโดยเฉลี่ย จากระดับราคาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ผลที่ตามมาก็คือธนาคารอาหารเพื่อการบริจาคที่ขยายขึ้นมาหลายเท่าตัวกับจำนวนผู้คนซึ่งออกรับแจกอาหารยังชีพที่ทวีขึ้นมหาศาล คนยากคนจนร้องโอดครวญกันมากว่าราคาอาหารพุ่งแพงขึ้นจนเงินทองที่พอจะมีอยู่บ้างนั้นไม่เพียงพอจะซื้อหาไปเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้ไหว สถานการณ์เหล่านี้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความขาดแคลนด้านอาหารในหมู่มวลประชากร และเมื่อแบงก์ชาติอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบมากขึ้น เงินเฟ้อจะยิ่งสาหัส ราคาอาหารก็จะยิ่งเฟ้อพุ่งสูงมากยิ่งๆ ขึ้นไปอีก แล้วจะเอาปัจจัยอะไรไปขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจได้เล่า
พวกแบงก์ชาติเข้าไปแทรกแซงในตลาดที่อยู่อาศัยด้วย ผ่านการอัดฉีดเงินกู้เพื่อการจดจำนองอสังหาริมทรัพย์มูลค่า 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ ในการนี้ เบน เบอร์นันกี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้สร้างสภาพบิดเบือนขึ้นในโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยของ
ตลาดจดจำนองโดยไม่คำนึงถึงมาตรฐานด้านการค้ำประกันใดๆ ทั้งสิ้น พร้อมกับยังได้ขยายการรับประกันที่ภาครัฐมีให้แก่สินเชื่อเหล่านี้ การดำเนินการดังกล่าว นอกจากจะสร้างผลกระทบด้านภาษีแอบแฝงในเงินเฟ้อแล้ว ยังปิดกั้นไม่ให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขตลาดที่อยู่อาศัยซึ่งควรจะต้องทำกันมานานแล้ว พร้อมกับชุบชีวิตพวกเก็งกำไร และสร้างปัจจัยหนุนเนื่องแก่การเกิดภาวะระบบล้มละลายรอบใหม่ที่จะได้ดำเนินควบคู่กับการที่รัฐบาลออกมาหว่านเงินโอบอุ้มท่านเจ้าของบ้านกันยกใหญ่อีกรอบหนึ่ง เมื่อเป็นอย่างนี้ ย่อมไม่มีประโยชน์ที่จะขยายกฎระเบียบหรือการกำกับดูแลสถาบันการเงินใดๆ ในเมื่อแบงก์ชาติเป็นฝ่ายที่แพร่กระจายความวุ่นวายทางการเงินเสียเองผ่านการพิมพ์แบงก์ไปโปรยปรายให้กู้แก่ผู้กู้ในตลาดซับไพรม์ทั้งหลาย
บรรดาคนดัง อาทิ โจเซฟ สติกลิตซ์ และจอร์จ โซรอส ต่างชี้ว่าวิกฤตการเงินปัจจุบันเกิดขึ้นจากนโยบายการเงินของพวกแบงก์ชาติชั้นนำซึ่งทำให้เงินอ่อนค่า และเป็นมรดกตกทอดจากประธานเฟดคนก่อนหน้าเบอร์นันกี คือ อลัน กรีนสแปน
แบงก์ชาติรายใหญ่ๆ ของโลกล้วนแต่มองโลกแคบๆ และมุ่งมั่นเหลือเกินที่จะทำลายมูลค่าของเงิน แบงก์ชาติเหล่านี้ได้รับการหนุนจากพวกรัฐบาลประชาธิปไตยทั้งหลายภายในบริบทของการประชุมสุดยอดกลุ่มจี-20 ซึ่งไฟเขียวให้ทำลายรากฐานทางเศรษฐกิจที่ต้องมีไว้เพื่อการเติบโตและเพื่อเสถียรภาพของระบบการธนาคาร สภาพคล่องปริมาณมหาศาลที่พวกนี้อัดฉีดเข้าระบบนับจากเดือนสิงหาคม 2007 และการหั่นดอกเบี้ยลงมาอย่างต่อเนื่อง ได้สร้างความย่อยยับแก่เศรษฐกิจโลก และทำให้เกิดการร่วงดิ่งในผลผลิตและการจ้างงาน พวกแบงก์ชาติมองสภาพการณ์ฉูดฉาดที่เกิดจากการเก็งกำไรในราคาสินทรัพย์และสินค้าโภคภัณฑ์เมื่อเร็วๆ นี้ เป็นสัญญาณการฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม การอัดฉีดเม็ดเงินอย่างไร้ความรอบคอบได้ทำให้ราคาน้ำมันและอาหารต้องตกอยู่ใต้แรงกดดันรอบใหม่ การเติบโตแท้จริงของระบบเศรษฐกิจจะถูกบีบคั้นด้วยสภาพการณ์ของซัปพลายด้านเชื้อเพลิงและอาหาร
คำถามที่ต้องตอบคือ ระบบเศรษฐกิจจำเป็นต้องมีธนาคารกลางที่ไม่ยึดมั่นหลักการ อีกทั้งต้องการเงินซึ่งอ่อนด้อยในมูลค่าเพื่อหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือไม่ ถ้าคุณไม่ใชประธานฯ เบน เบอร์นันกี หรือเมอร์วิน คิง ประธานธนาคารกลางอังกฤษ หรือฌอง-คล็อท ทริเชต์ ผู้นำแห่งธนาคารกลางยุโรป คุณจะตอบว่า “ไม่ต้องการ” การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่มั่นคงและยืนยาวจำจะต้องได้ผู้กำหนดนโยบายที่เป็นธนาคารกลางแบบที่ยึดมั่นในหลักการพื้นฐาน ซึ่งไม่ไปกดดันให้อัตราดอกเบี้ยอ่อนแตะระดับศูนย์หรือมีค่าแท้จริงในระดับติดลบ อีกทั้งเป็นผู้กำหนดนโยบายที่ไม่มุ่งแต่จะอัดฉีดเงินเข้าไปช่วยเหลือพวกเก็งกำไรและพวกผู้บริโภค
พวกธนาคารกลางที่ไม่ยึดมั่นหลักการมีแต่จะไปโหมเชื้อกองเพลิงแห่งเงินเฟ้อและทำลายการเติบโตทางเศรษฐกิจระยะยาว ผลกระทบทางสังคมจากเรื่องนี้นับว่าเป็นหายนะรุนแรงทีเดียว ทั้งนี้ ประสบการณ์ของพวกแบงก์ชาติทำนองนี้เมื่อยุคอดีตนั้นนับว่าดกดื่น และความวิบัติทางเศรษฐกิจที่ตามมาก็เนิ่นนานทีเดียว
ทางออกจากระบบของธนาคารกลางที่ไม่ยึดมั่นหลักการนั้นมีอยู่หรือไม่ พวกประธานแบงก์ชาติที่ไม่ยึดมั่นหลักการในขณะนี้ อาทิ เบอร์นันกี อ้างว่าพวกตนสามารถผละจากนโยบายเหล่านี้ได้ทุกเมื่อ แต่ขอให้เราประเมินกันง่ายๆ ว่าเฟดแห่งสหรัฐฯ จะสามารถลดหนี้ลงจากระดับ 3 ล้านล้านดอลลาร์มาเหลือ 0.7 ล้านล้านดอลลาร์ ได้ล่ะหรือ เมื่อศึกษาประสบการณ์ในอดีต การหดหนี้ฮวบฮาบอย่างนี้ไม่เคยปรากฏเป็นจริงได้เลย เพราะมันหมายถึงการเดินนโยบายดอกเบี้ยโหดระเบิดและภาวะเงินฝืดอย่างแรง
นโยบายการเงินแบบไม่ยึดมั่นหลักการในอดีต ยุติลงในท่ามกลางสถานการณ์ของเศรษฐกิจเสื่อมถอย ค่าแรงแท้จริงตกต่ำ ความวุ่นวายทางสังคม และการจากไปของตัวสกุลเงิน ตัวอย่างได้แก่ ประสบการณ์ของเยอรมนีในช่วงปี 1920-23 ฝรั่งเศสในช่วงทศวรรษ 1950 ละติน อเมริกา ในช่วง 1950-1985ม อดีตประเทศซาอีร์ในช่วงปี 1970-1995 และซิมบับเวเมื่อเร็วๆ นี้ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าสกุลเงินที่เฟ้อรุนแรงนั้นในท้ายที่สุดแล้วจะถูกแทนที่ด้วยสกุลเงินใหม่โดยสร้างความขาดทุนเสียหายมหาศาลให้แก่ผู้ที่ถือเงินสกุลอันแสนเฟ้อดังกล่าว
นักนิยมเงินเฟ้อและผู้สนับสนุนเงินเฟ้อมีอิทธิพลเหนือแบงก์ชาติชั้นนำของโลก คนพวกนี้มองว่าเงินออมเป็นสิ่งชั่วร้าย และเชื่อว่าการทำลายฐานของเงินเป็นหนทางที่จะหนุนให้ดีมานด์ขยายตัวเกินหน้าซัปพลาย สำหรับคนพวกนี้แล้วต้นทุนของเงินเฟ้อไม่มีอยู่จริง คนพวกนี้ต้องการแต่แค่การทำกำไรระยะสั้นๆ จากการเติบโตและการจ้างงาน แม้ต้องแลกกับเสถียรภาพของการเงินและการเติบโตระยะยาว
เนื่องจากการเดินนโยบายแบบไร้ความระมัดระวังของสามเกลอจอมเงินเฟ้อ - เบอร์นันกี, คิง และทริเชต์ เศรษฐกิจของโลกถูกจองจำไว้กับชะตากรรมความตกต่ำด้วยภาวะเงินเฟ้อรุนแรงครั้งที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่คนจะสามารถจดจำกันได้ โดยจะสาหัสเสียยิ่งกว่าเมื่อคราวเงินเฟ้อทศวรรษ 1970 ในเมื่อเงินที่พวกเขาอัดฉีดเข้าระบบเป็นเงินเก๊ การฟื้นตัวก็ย่อมเป็นเรื่องเก๊เช่นกัน วิกฤตที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันแสดงให้เห็นชัดว่า เศรษฐกิจโลกต้องการการปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศเพื่อป้องกันระบบให้ปลอดภัยจากธนาคารกลางที่ไร้หลักการ ปลอดจากความไร้เสถียรภาพ และปราศจากซึ่งระบบภาษีโหดสาหัส
ฮอสเซน อัสการี เป็นศาสตราจารย์ด้านธุรกิจระหว่างประเทศและการระหว่างประเทศ แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน ยูนิเวอร์ซิตี้ ส่วน นูเรดดีน กริเชนเน เป็นนักเศรษฐศาสตร์ประจำกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และอดีตที่ปรึกษาธนาคารเพื่อการพัฒนาอิสลาม ณ กรุงเจดดะห์
สามทหารเสือเจ้าพ่อเงินเฟ้อ (ตอนแรก)
Inflationary musketeers
By Hossein Askari and Noureddine Krichene
12/05/2009
ผู้นำของธนาคารกลางชาติต่างๆ นำโดยเบน เบอร์นันกีแห่งสหรัฐอเมริกา, เมอร์วิน คิง แห่งอังกฤษ และฌอง-คล็อท ทริเชต์แห่งธนาคารกลางแห่งยุโรป พากันอัดฉีดเงินปลอมหลายล้านล้านดอลลาร์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลก แต่พวกนี้ไม่สามารถที่จะหาของจริงใส่เข้าไปในระบบได้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันสักหนึ่งแกลลอน หรือข้าวสักหนึ่งถัง การพิมพ์เงินมหาศาลที่พวกนี้ทำอยู่ที่จริงแล้วมันจะแปรเป็นการเก็บภาษีเพิ่ม การปรับโครงสร้างการกระจายความมั่งคั่ง โดยมีผลลัพธ์คือภาวะเงินเฟ้อร้ายแรงรออยู่อย่างที่มิอาจหลีกหนีได้
*ข้อเขียนนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ในการนี้ แบงก์ชาติมีภาระที่จะต้องหมั่นอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ณ อัตราที่ไม่มีการจำกัด เพื่อรักษาดอกเบี้ยไว้ที่ระดับศูนย์ ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงถูกกดดันลงไปในระดับติดลบ พวกแบงก์พาณิชย์ก็ย่อมไม่เห็นความจำเป็นที่จะปล่อยกู้ในเมื่อผลตอบแทนจากการปล่อยกู้จะอยู่ในระดับที่ต่ำมาก หนำซ้ำยังต้องแบกความเสี่ยงสูงมากจากภาวะเงินเฟ้อและจากการขาดทุนกรณีลูกหนี้ล้มละลาย สิ่งชี้บ่งในเรื่องนี้ หรือจะเรียกอีกอย่างก็ได้ว่าผลพลอยได้จากนโยบายนี้ ก็คือแบงก์พาณิชย์ในสหรัฐฯ มีเงินสำรองส่วนเกินเพิ่มขึ้นมามหาศาล จากระดับต่ำกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงก่อนเดือนกันยายน 2008 เป็น 900,000 ล้านดอลลาร์ในเดือนพฤษภาคม 2009
นอกจากนั้น อัตราดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็นต์ยังส่งผลไปกัดกร่อนส่วนของเงินออม ตลอดจนบ่อนทำลายพื้นฐานเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจไปในเวลาเดียวกัน กลุ่มลูกค้าหลักในตลาดการเงินยุคที่ดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับศูนย์เปอร์เซ็นต์นั้น ก็คือพวกผู้บริโภค ในการนี้ เงินหลายล้านล้านดอลลาร์ที่แบงก์ชาติอัดฉีดเข้าระบบเมื่อระยะที่ผ่านมานั้น อันที่จริงก็มุ่งจะให้ไปถึงผู้บริโภคกับผู้กู้ยืมในตลาดบ้านที่อยู่อาศัยนั่นเอง แต่ในทางเป็นจริง มันจะไปกัดกร่อนฐานเงินออมและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในท้ายที่สุดแล้ว เงินกู้ที่ปล่อยให้ผู้บริโภคจะสูญหายหมด ดังที่วิกฤตการเงินเมื่อเร็วๆ ที่ได้แสดงสภาพการณ์ให้ได้เห็นกันแล้ว แล้วอย่างนี้ ใครกันบ้างที่จะเป็นคนจ่ายต้นทุนแท้จริงของความเสียหายตรงนี้ คำตอบมีอยู่ในวิกฤตที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้นี่เอง กล่าวคือ พวกประเทศยากจน (ผ่านภาษีแอบแฝงที่ทวีตามเงินเฟ้อ ประเทศจีน กองทุนของภาครัฐที่ลงทุนเพื่อสร้างรายได้ ผู้เกษียณอายุ แรงงาน คนเร่ร่อน และผู้จ่ายภาษีทั้งหลาย
นโยบายดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็นต์เปิดทางสะดวกแก่การเก็งกำไร เพราะนักเก็งกำไรสร้างรายได้จากแต่ละช่วงสั้นๆ ที่เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านราคา ยิ่งเมื่อเงินทุนที่ใช้ดำเนินการไม่มีต้นทุนด้านดอกเบี้ย การเก็งกำไรก็ยิ่งน่าดึงดูด ในเวลาเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็นต์ไม่ส่งเสริมการลงทุนเพื่อการผลิตซึ่งเจริญขึ้นได้บนฐานเงินออมแท้จริง ในเมื่อเงินออมหดหายไปหมด เม็ดเงินเพื่อการลงทุนก็มีปริมาณน้อยลง ราคาของเงินทุนที่ป้อนเข้าระบบย่อมจะพุ่งสูง ดังปรากฏให้เห็นจากการทะยานลิ่วของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และกำไรที่ลดลง
ต่อให้นักลงทุนที่ลงทุนเพื่อการผลิตสามารถทำกู้ได้ที่อัตราดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็นต์หรือที่ค่าติดลบตามการคำนวณจริง ปริมาณของเงินออมแท้จริงที่จะไปตอบสนองความต้องการกู้ก็จะมีน้อยเกินกว่าจะสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ ดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็นต์หรือกระทั่งดอกเบี้ยระดับต่ำๆ ทั้งหลายไม่สามารถช่วยกระตุ้นซัปพลายได้ เพราะตัวดำเนินการในฝั่งซัปพลายนั้นเป็นพวกนิยมทำกำไรสูงสุด ในยามที่พวกนี้มีภาระต้นทุนต่ำมากๆ โดยเฉพาะต้นทุนในการเก็บสินค้าคงคลัง กับมีเงินทุนดำเนินงานล้นมือ ณ ดอกเบี้ยถูกเหมือนได้เปล่ส พวกเขาย่อมสามารถเพิ่มกำไรสูงๆ ได้โดยเพิ่มราคาพร้อมกับดึงสินค้าไม่รีบปล่อยของออกไป
ดังนั้น ดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็นต์เป็นการบิดเบือนสภาพการณ์อย่างแท้จริงบนการควบคุมบริหารงานของพวกแบงก์ชาติ ซึ่งทำไปทั้งๆ ที่มันเป็นการกัดกร่อนพื้นฐานการเติบโต การโหมกระแสเก็งกำไร และการบั่นทอนภาคการลงทุนกับภาคซัปพลาย กับเป็นการทำลายระบบเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่น่าประหลาดใจที่พบว่านโยบายนี้ซึ่งญี่ปุ่นใช้ตลอดช่วงปี 1990-2003 ถูกประกบติดอยู่ด้วยภาวะเศรษฐกิจซบเซายืดเยื้อยาวนาน
พวกแบงก์ชาติประเทศต่างๆ มักเชื่อว่าระบบเศรษฐกิจของพวกตนเสียหายจากการหดตัวในภาคอุปสงค์ โดยไม่ยอมคำนึงถึงปัจจัยว่าด้วยการหดตัวภายนอกซึ่งมีขนาดใหญ่โตมาก อีกทั้งปัจจัยว่าด้วยน้ำมันสำรองลดระดับลงมากในระยะนี้ นอกจากนั้น นานมากแล้วที่พวกแบงก์ชาติเหล่านี้ไม่ใส่ใจกับภัยเงินเฟ้อที่พ่วงมากับนโยบายเงินต้นทุนถูก ตลอดจนละเลยกับปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูงในอัตราระดับเลขสองตัวในช่วงปี 2002-2008 แล้วมาวันนี้ พวกเขามายืนยันความชอบธรรมให้แก่นโยบายขยายปริมาณเงินโดยไม่พูดถึงเงินเฟ้อ
ไม่ว่าจะยอมรับถึงความรุนแรงของปัญหาเงินเฟ้อหรือไม่ ราคาอาหารได้ถีบทะยานขึ้นไป 3-4 เท่าตัวโดยเฉลี่ย จากระดับราคาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ผลที่ตามมาก็คือธนาคารอาหารเพื่อการบริจาคที่ขยายขึ้นมาหลายเท่าตัวกับจำนวนผู้คนซึ่งออกรับแจกอาหารยังชีพที่ทวีขึ้นมหาศาล คนยากคนจนร้องโอดครวญกันมากว่าราคาอาหารพุ่งแพงขึ้นจนเงินทองที่พอจะมีอยู่บ้างนั้นไม่เพียงพอจะซื้อหาไปเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้ไหว สถานการณ์เหล่านี้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความขาดแคลนด้านอาหารในหมู่มวลประชากร และเมื่อแบงก์ชาติอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบมากขึ้น เงินเฟ้อจะยิ่งสาหัส ราคาอาหารก็จะยิ่งเฟ้อพุ่งสูงมากยิ่งๆ ขึ้นไปอีก แล้วจะเอาปัจจัยอะไรไปขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจได้เล่า
พวกแบงก์ชาติเข้าไปแทรกแซงในตลาดที่อยู่อาศัยด้วย ผ่านการอัดฉีดเงินกู้เพื่อการจดจำนองอสังหาริมทรัพย์มูลค่า 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ ในการนี้ เบน เบอร์นันกี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้สร้างสภาพบิดเบือนขึ้นในโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยของ
ตลาดจดจำนองโดยไม่คำนึงถึงมาตรฐานด้านการค้ำประกันใดๆ ทั้งสิ้น พร้อมกับยังได้ขยายการรับประกันที่ภาครัฐมีให้แก่สินเชื่อเหล่านี้ การดำเนินการดังกล่าว นอกจากจะสร้างผลกระทบด้านภาษีแอบแฝงในเงินเฟ้อแล้ว ยังปิดกั้นไม่ให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขตลาดที่อยู่อาศัยซึ่งควรจะต้องทำกันมานานแล้ว พร้อมกับชุบชีวิตพวกเก็งกำไร และสร้างปัจจัยหนุนเนื่องแก่การเกิดภาวะระบบล้มละลายรอบใหม่ที่จะได้ดำเนินควบคู่กับการที่รัฐบาลออกมาหว่านเงินโอบอุ้มท่านเจ้าของบ้านกันยกใหญ่อีกรอบหนึ่ง เมื่อเป็นอย่างนี้ ย่อมไม่มีประโยชน์ที่จะขยายกฎระเบียบหรือการกำกับดูแลสถาบันการเงินใดๆ ในเมื่อแบงก์ชาติเป็นฝ่ายที่แพร่กระจายความวุ่นวายทางการเงินเสียเองผ่านการพิมพ์แบงก์ไปโปรยปรายให้กู้แก่ผู้กู้ในตลาดซับไพรม์ทั้งหลาย
บรรดาคนดัง อาทิ โจเซฟ สติกลิตซ์ และจอร์จ โซรอส ต่างชี้ว่าวิกฤตการเงินปัจจุบันเกิดขึ้นจากนโยบายการเงินของพวกแบงก์ชาติชั้นนำซึ่งทำให้เงินอ่อนค่า และเป็นมรดกตกทอดจากประธานเฟดคนก่อนหน้าเบอร์นันกี คือ อลัน กรีนสแปน
แบงก์ชาติรายใหญ่ๆ ของโลกล้วนแต่มองโลกแคบๆ และมุ่งมั่นเหลือเกินที่จะทำลายมูลค่าของเงิน แบงก์ชาติเหล่านี้ได้รับการหนุนจากพวกรัฐบาลประชาธิปไตยทั้งหลายภายในบริบทของการประชุมสุดยอดกลุ่มจี-20 ซึ่งไฟเขียวให้ทำลายรากฐานทางเศรษฐกิจที่ต้องมีไว้เพื่อการเติบโตและเพื่อเสถียรภาพของระบบการธนาคาร สภาพคล่องปริมาณมหาศาลที่พวกนี้อัดฉีดเข้าระบบนับจากเดือนสิงหาคม 2007 และการหั่นดอกเบี้ยลงมาอย่างต่อเนื่อง ได้สร้างความย่อยยับแก่เศรษฐกิจโลก และทำให้เกิดการร่วงดิ่งในผลผลิตและการจ้างงาน พวกแบงก์ชาติมองสภาพการณ์ฉูดฉาดที่เกิดจากการเก็งกำไรในราคาสินทรัพย์และสินค้าโภคภัณฑ์เมื่อเร็วๆ นี้ เป็นสัญญาณการฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม การอัดฉีดเม็ดเงินอย่างไร้ความรอบคอบได้ทำให้ราคาน้ำมันและอาหารต้องตกอยู่ใต้แรงกดดันรอบใหม่ การเติบโตแท้จริงของระบบเศรษฐกิจจะถูกบีบคั้นด้วยสภาพการณ์ของซัปพลายด้านเชื้อเพลิงและอาหาร
คำถามที่ต้องตอบคือ ระบบเศรษฐกิจจำเป็นต้องมีธนาคารกลางที่ไม่ยึดมั่นหลักการ อีกทั้งต้องการเงินซึ่งอ่อนด้อยในมูลค่าเพื่อหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือไม่ ถ้าคุณไม่ใชประธานฯ เบน เบอร์นันกี หรือเมอร์วิน คิง ประธานธนาคารกลางอังกฤษ หรือฌอง-คล็อท ทริเชต์ ผู้นำแห่งธนาคารกลางยุโรป คุณจะตอบว่า “ไม่ต้องการ” การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่มั่นคงและยืนยาวจำจะต้องได้ผู้กำหนดนโยบายที่เป็นธนาคารกลางแบบที่ยึดมั่นในหลักการพื้นฐาน ซึ่งไม่ไปกดดันให้อัตราดอกเบี้ยอ่อนแตะระดับศูนย์หรือมีค่าแท้จริงในระดับติดลบ อีกทั้งเป็นผู้กำหนดนโยบายที่ไม่มุ่งแต่จะอัดฉีดเงินเข้าไปช่วยเหลือพวกเก็งกำไรและพวกผู้บริโภค
พวกธนาคารกลางที่ไม่ยึดมั่นหลักการมีแต่จะไปโหมเชื้อกองเพลิงแห่งเงินเฟ้อและทำลายการเติบโตทางเศรษฐกิจระยะยาว ผลกระทบทางสังคมจากเรื่องนี้นับว่าเป็นหายนะรุนแรงทีเดียว ทั้งนี้ ประสบการณ์ของพวกแบงก์ชาติทำนองนี้เมื่อยุคอดีตนั้นนับว่าดกดื่น และความวิบัติทางเศรษฐกิจที่ตามมาก็เนิ่นนานทีเดียว
ทางออกจากระบบของธนาคารกลางที่ไม่ยึดมั่นหลักการนั้นมีอยู่หรือไม่ พวกประธานแบงก์ชาติที่ไม่ยึดมั่นหลักการในขณะนี้ อาทิ เบอร์นันกี อ้างว่าพวกตนสามารถผละจากนโยบายเหล่านี้ได้ทุกเมื่อ แต่ขอให้เราประเมินกันง่ายๆ ว่าเฟดแห่งสหรัฐฯ จะสามารถลดหนี้ลงจากระดับ 3 ล้านล้านดอลลาร์มาเหลือ 0.7 ล้านล้านดอลลาร์ ได้ล่ะหรือ เมื่อศึกษาประสบการณ์ในอดีต การหดหนี้ฮวบฮาบอย่างนี้ไม่เคยปรากฏเป็นจริงได้เลย เพราะมันหมายถึงการเดินนโยบายดอกเบี้ยโหดระเบิดและภาวะเงินฝืดอย่างแรง
นโยบายการเงินแบบไม่ยึดมั่นหลักการในอดีต ยุติลงในท่ามกลางสถานการณ์ของเศรษฐกิจเสื่อมถอย ค่าแรงแท้จริงตกต่ำ ความวุ่นวายทางสังคม และการจากไปของตัวสกุลเงิน ตัวอย่างได้แก่ ประสบการณ์ของเยอรมนีในช่วงปี 1920-23 ฝรั่งเศสในช่วงทศวรรษ 1950 ละติน อเมริกา ในช่วง 1950-1985ม อดีตประเทศซาอีร์ในช่วงปี 1970-1995 และซิมบับเวเมื่อเร็วๆ นี้ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าสกุลเงินที่เฟ้อรุนแรงนั้นในท้ายที่สุดแล้วจะถูกแทนที่ด้วยสกุลเงินใหม่โดยสร้างความขาดทุนเสียหายมหาศาลให้แก่ผู้ที่ถือเงินสกุลอันแสนเฟ้อดังกล่าว
นักนิยมเงินเฟ้อและผู้สนับสนุนเงินเฟ้อมีอิทธิพลเหนือแบงก์ชาติชั้นนำของโลก คนพวกนี้มองว่าเงินออมเป็นสิ่งชั่วร้าย และเชื่อว่าการทำลายฐานของเงินเป็นหนทางที่จะหนุนให้ดีมานด์ขยายตัวเกินหน้าซัปพลาย สำหรับคนพวกนี้แล้วต้นทุนของเงินเฟ้อไม่มีอยู่จริง คนพวกนี้ต้องการแต่แค่การทำกำไรระยะสั้นๆ จากการเติบโตและการจ้างงาน แม้ต้องแลกกับเสถียรภาพของการเงินและการเติบโตระยะยาว
เนื่องจากการเดินนโยบายแบบไร้ความระมัดระวังของสามเกลอจอมเงินเฟ้อ - เบอร์นันกี, คิง และทริเชต์ เศรษฐกิจของโลกถูกจองจำไว้กับชะตากรรมความตกต่ำด้วยภาวะเงินเฟ้อรุนแรงครั้งที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่คนจะสามารถจดจำกันได้ โดยจะสาหัสเสียยิ่งกว่าเมื่อคราวเงินเฟ้อทศวรรษ 1970 ในเมื่อเงินที่พวกเขาอัดฉีดเข้าระบบเป็นเงินเก๊ การฟื้นตัวก็ย่อมเป็นเรื่องเก๊เช่นกัน วิกฤตที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันแสดงให้เห็นชัดว่า เศรษฐกิจโลกต้องการการปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศเพื่อป้องกันระบบให้ปลอดภัยจากธนาคารกลางที่ไร้หลักการ ปลอดจากความไร้เสถียรภาพ และปราศจากซึ่งระบบภาษีโหดสาหัส
ฮอสเซน อัสการี เป็นศาสตราจารย์ด้านธุรกิจระหว่างประเทศและการระหว่างประเทศ แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน ยูนิเวอร์ซิตี้ ส่วน นูเรดดีน กริเชนเน เป็นนักเศรษฐศาสตร์ประจำกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และอดีตที่ปรึกษาธนาคารเพื่อการพัฒนาอิสลาม ณ กรุงเจดดะห์