(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
All change in the US’s Afghan mission
By Syed Saleem Sharzad
19/09/2008
สหรัฐอเมริกากำลังยอมรับว่าจำเป็นต้องเร่งรัดสร้างความคืบหน้าในอัฟกานิสถาน ซึ่งในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา เป็นจุดที่ได้กลืนกินเอาเงินทองไปแล้วก้อนมโหฬารทีเดียว จากยอดงบประมาณ 752,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯที่ใช้จ่ายไปในการทำ “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” การที่สหรัฐฯหันมาใช้กำลังทหารจู่โจมเข้าไปในปากีสถาน ย่อมถือเป็นด้านหนึ่งใน “ยุทธศาสตร์ใหม่”แห่งการสร้างความคืบหน้าดังกล่าว โดยที่เรายังอาจได้เห็นคนอเมริกันเข้าทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมสั่งการตรง ต่อการดำเนินกิจกรรมต่อต้านการก่อการร้ายทั้งหลายทั้งปวงอีกด้วย นอกจากนั้นก็มีเสียงเรียกร้องขอทหารเพิ่มและขอทรัพยากรเพิ่ม ในขณะเดียวกับที่พวกตอลิบานกำลังอยู่ในขั้นตอนเพิ่มกระชับความเข้มแข็งของที่มั่นรอบๆ กรุงคาบูลของพวกเขา
การาจี – ค่าใช้จ่ายโดยตรงในช่วงระยะเวลา 7 ปีของ “สงครามต่อสู้การก่อร้าย” ซึ่งครอบคลุมถึงการปฏิบัติการในอิรักและอัฟกานิสถานด้วยนั้น กระโจนขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 752,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯแล้ว ถ้าหากนำเอายอดเงิน 188,000 ล้านดอลลาร์ที่ได้รับการจัดสรรในปีปัจจุบันเข้ามารวมด้วย ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักงานงบประมาณรัฐสภาสหรัฐฯ อันเป็นหน่วยงานของฝ่ายนิติบัญญัติที่ไม่ผูกติดกับพรรคการเมืองฝ่ายใด
จากการที่สถานการณ์ในอัฟกานิสถานยังคงอยู่ห่างไกลเหลือเกินจากภาวะสงบเรียบร้อย สหรัฐฯก็ดำเนินการตอบโต้ ในลักษณาการคล้ายคลึงอยู่มากกับปฏิกิริยาที่มีต่อวิกฤตทางการเงิน นั่นคือ การทุ่มเทเงินทองและทรัพยากรจำนวนมากมายขึ้นเข้าไปในปัญหา
พล.อ.เดวิด แมคเคียร์แนน ของสหรัฐฯ ซึ่งเวลานี้เป็นผู้บัญชาการกองกำลังในอัฟกานิสถานขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) กล่าวภายหลังการประชุมหารือในอัฟกานิสถานกับรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ รอเบิร์ต เกตส์ ในสัปดาห์นี้ว่า เขาจำเป็นต้องได้กำลังทหาร รวมทั้งทรัพย์สินอื่นๆ อาทิ เครื่องบินตรวจการณ์ เพิ่มมากขึ้นอย่างเป็นการถาวร
ถึงแม้ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช แถลงแล้วว่าจะจัดส่งกำลังทหารเพิ่มให้อีก 1 กองพลน้อย (เป็นจำนวนทหาร 4,000 ถึง 5,000 คน) แต่แมคเคียร์แนนบอกว่าเขาจำเป็นต้องได้มากกว่านั้นอีก 3 กองพลน้อย เพื่อ “ตอบโต้ความรุนแรงที่กำลังเพิ่มทวีขึ้น และเร่งรัดความคืบหน้าในสงคราม” ปัจจุบันมีทหารอเมริกันราว 33,000 คนอยู่ในอัฟกานิสถาน และถ้าแมคเคียร์แนนได้ตามที่เขาปรารถนา ก็เป็นไปได้ว่าจะมีทหารเพิ่มเข้ามาอีกกว่า 20,000 คน ทั้งนี้เมื่อนับรวมถึงพวกหน่วยสนับสนุนต่างๆ ด้วย
ทางด้านเกตส์กล่าวว่า คณะรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู บุช กำลังพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้ ในยุทธศาสตร์การทำสงครามในอัฟกานิสถานของตนเอง โดยที่เขาไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรมากไปกว่านี้ ขณะที่หนังสือพิมพ์ ดิ อินดีเพนเดนต์ ของกรุงลอนดอน รายงานข่าวว่าสหรัฐฯกำลังผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งมโหฬารในโครงสร้างการบังคับบัญชาทหารในอัฟกานิสถาน เพื่อทำให้ผู้บัญชาการกองกำลังนานาชาติ รายงานโดยตรงต่อกองบัญชาการทหารเขตกลางของสหรัฐฯ (US Central Command หรือ CENTCOM) แทนที่จะไปรายงานต่อนาโต้
หนังสือพิมพ์ฉบับนี้รายงานว่า ความเป็นไปได้ประการหนึ่งที่กำลังพิจารณากันอยู่ก็คือ ให้นาโต้ยังคงรับผิดชอบต่อไปเฉพาะส่วนงานการส่งกำลังบำรุง, งานปกป้องคุ้มครองกองกำลัง, และกิจการพลเรือน ขณะที่ปฏิบัติการต่อต้านการก่อความไม่สงบโดยตรงจะสั่งการจากกองบัญชาการทหารส่วนกลางสหรัฐฯ โดย พล.อ.เดวิด เพเทรอุส ผู้ซึ่งเวลานี้เป็นผู้บัญชาการของ CENTCOM ที่มีขอบข่ายรับผิดชอบดูแลการปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯทั้งในอิรักและอัฟกานิสถาน
เมื่อพิจารณาจากมุมมองของอเมริกาแล้ว ภายหลังการรุกรานซึ่งโค่นล้มพวกตอลิบานให้ตกจากอำนาจได้ผ่านพ้นไปถึง 7 ปีแล้วเช่นนี้ ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้เห็นสงครามที่ต้องสิ้นค่าใช้จ่ายมหาศาลยิ่งนี้ บังเกิดความคืบหน้าและคืบหน้าไปอย่างรวดเร็วด้วย
มีหน่วยงานคลังสมองฝ่ายตะวันตกที่เป็นอิสระไม่อยู่ในสังกัดฝักฝ่ายใด วาดภาพให้เห็นว่าเวลานี้พวกตอลิบานปรากฎตัวขึ้นตามพื้นที่ต่างๆ กว่า 54% ของอัฟกานิสถานทีเดียว ทั้งนี้รวมทั้งตามเมืองเล็กๆ ที่อยู่รอบๆ นครหลวงคาบูล
“เซนลิส เคาน์ซิล” (Senlis Council) หน่วยงานคลังสมองด้านนโยบายระหว่างประเทศซึ่งมีอิทธิพลอย่างสูง รายงานเอาไว้เมื่อเร็วๆ นี้ว่า “การวิจัยในฤดูร้อนปีนี้แสดงให้เห็นว่า พื้นที่กว่าครึ่งหนึ่งของจังหวัดวาร์ดัค –ซึ่งติดต่อกับจังหวัดโลการ์ และหากเดินทางโดยทางถนนก็จะไปถึงกรุงคาบูลได้ในเวลาเพียง 45 นาที—ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของพวกตอลิบาน ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของชาวอัฟกันในท้องที่หลายราย ข่าวสารชิ้นนี้รวมรวบได้โดยพวกนักวิจัยของเซนลิส เคาน์ซิล ในเดือนมิถุนายน 2008 และเป็นข้อพิสูจน์ว่าพวกตอลิบานกำลังกลับฟื้นตัวขึ้นมาแล้วทั้งภายในและรอบๆ นครหลวง เช่นเดียวกับในพื้นที่อันมั่นคงทางภาคใต้และภาคตะวันออกของพวกเขา”
เอเชียไทมส์ออนไลน์ได้เคยรายงานไว้แล้วเรื่องการเตรียมตัวของพวกตอลิบานเพื่อให้บรรลุถึงกรุงคาบูลและพื้นที่รอบๆ (ดูเรื่อง Taliban have Kabul in their sights, February 27, 2008)
กิจกรรมของพวกตอลิบานในจังหวัดวาร์ดุค ได้รับการบันทึกไว้เป็นเทปวิดีโอที่นำออกเผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ โดย “อัล-ซามูด” องค์กรสื่อที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ๆ ของพวกตอลิบาน สิ่งที่อยู่ในเทปวิดีโอแสดงให้เห็นพวกนักรบตอลิบานในชุดพราง เคลื่อนไปตามทางหลวงสายหลักที่มุ่งสู่นครหลวง และเข้าโจมตีขบวนลำเลียงสัมภาระของนาโต้ แล้วก็มีภาพที่พวกเขากำลังขับยานพาหนะของตำรวจอัฟกันที่ยึดมาได้ ตลอดจนภาพการขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ และการเตรียมตัวเพื่อเข้าโจมตี
ทั้งโฆษกทางทหารของนาโต้ในกรุงคาบุล และโฆษกประธานาธิบดีอัฟกานิสถาน ต่างก็ไม่พูดอะไรทั้งสิ้น เมื่อเอเชียไทมส์ออนไลน์ขอให้แสดงความเห็นเกี่ยวกับวิดีโอแผ่นนี้ ตลอดจนสถานการณ์ความมั่นคงปลอดภัยรอบๆ นครหลวง
**สมรภูมิแห่งสงครามกำลังขยายกว้างออกไป**
จากการที่ไม่ได้มีความคืบหน้าในอัฟกานิสถาน เวลานี้สหรัฐฯจึงกำลังกระตือรือร้นที่จะนำเอาสงครามแผ่เข้าไปยังปากีสถาน ที่ซึ่งพวกตอลิบานมีแหล่งพำนักหลบภัยอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ในเขตชนเผ่าบริเวณใกล้ชายแดน
ระหว่างการเยือนปากีสถานเป็นเที่ยวที่ 5 นับแต่ที่เขาขึ้นดำรงตำแหน่งประธานคณะเสนาธิการทหารผสมของสหรัฐฯเมื่อ 1 ปีก่อน พล.ร.อ.ไมก์ มุลเลน ได้แถลงเมื่อวันอังคาร(16) โดยพยายามย้ำยืนยันกับทางการอิสลามาบัดว่า สหรัฐฯจะคารพอธิปไตยของปากีสถาน ทว่าเพียงแค่วันรุ่งขึ้นเท่านั้น ก็เกิดเหตุเครื่องบินแบบไร้นักบินรุ่น “เพรดาเตอร์” ยิงขีปนาวุธเข้าโจมตีเขตเซาท์วิซิริสถานของปากีสถาน โดยที่อ้างกันว่าสามารถทำลายจรวดของพวกตอลิบานได้จำนวนหนึ่ง เหตุการณ์คราวนี้เกิดขึ้นหลังจากที่มีรายงานการปฏิบัติภารกิจของเครื่องบินแบบไร้นักบินเช่นนี้หลายต่อหลายครั้งในระยะสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมทั้งการเปิดยุทธการของหน่วยทหารรบพิเศษของสหรัฐฯ ซึ่งได้สังหารผู้คนเสียชีวิตไปประมาณ 15 คน
เพนตากอนบอกว่า ทั้งกองทัพและรัฐบาลพลเรือนของปากีสถานต่างก็เห็นพ้องกับการโจมตีด้วยขีปนาวุธหลายๆ ครั้งเหล่านี้ อันเป็นข้ออ้างซึ่งทางปากีสถานเองปฏิเสธ
ไม่ว่าความจริงจะเป็นอย่างไร แต่การโจมตีของสหรัฐฯก็กระตุ้นให้เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ระหว่างพวกชาวชนเผ่าในท้องถิ่น, พวกตอลิบาน, และพวกทหารชั้นผู้น้อยในกองกำลังรักษาความมั่นคงของปากีสถาน ซึ่งถูกส่งมาประจำอยู่ตามเขตชายแดนแถบนี้ แหล่งข่าวที่เป็นชาวชนเผ่าหลายๆ รายบอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ว่า ถ้าหากกองกำลังภาคพื้นดินของอเมริกันบุกเข้าไปในปากีสถานอีกในคราวหน้า พวกเขาก็จะเผชิญกับการต่อต้านอย่างแข็งกร้าวจากกองกำลังต่างๆ เหล่านี้ซึ่งได้รวมตัวเข้าด้วยกันแล้วในเวลานี้
ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด เป็นหัวหน้าสำนักงานปากีสถานของเอเชียไทมส์ออนไลน์ สามารถที่จะติดต่อกับเขาได้ทางอีเมล์ saleem_sharzad2002@yahoo.com
All change in the US’s Afghan mission
By Syed Saleem Sharzad
19/09/2008
สหรัฐอเมริกากำลังยอมรับว่าจำเป็นต้องเร่งรัดสร้างความคืบหน้าในอัฟกานิสถาน ซึ่งในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา เป็นจุดที่ได้กลืนกินเอาเงินทองไปแล้วก้อนมโหฬารทีเดียว จากยอดงบประมาณ 752,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯที่ใช้จ่ายไปในการทำ “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” การที่สหรัฐฯหันมาใช้กำลังทหารจู่โจมเข้าไปในปากีสถาน ย่อมถือเป็นด้านหนึ่งใน “ยุทธศาสตร์ใหม่”แห่งการสร้างความคืบหน้าดังกล่าว โดยที่เรายังอาจได้เห็นคนอเมริกันเข้าทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมสั่งการตรง ต่อการดำเนินกิจกรรมต่อต้านการก่อการร้ายทั้งหลายทั้งปวงอีกด้วย นอกจากนั้นก็มีเสียงเรียกร้องขอทหารเพิ่มและขอทรัพยากรเพิ่ม ในขณะเดียวกับที่พวกตอลิบานกำลังอยู่ในขั้นตอนเพิ่มกระชับความเข้มแข็งของที่มั่นรอบๆ กรุงคาบูลของพวกเขา
การาจี – ค่าใช้จ่ายโดยตรงในช่วงระยะเวลา 7 ปีของ “สงครามต่อสู้การก่อร้าย” ซึ่งครอบคลุมถึงการปฏิบัติการในอิรักและอัฟกานิสถานด้วยนั้น กระโจนขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 752,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯแล้ว ถ้าหากนำเอายอดเงิน 188,000 ล้านดอลลาร์ที่ได้รับการจัดสรรในปีปัจจุบันเข้ามารวมด้วย ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักงานงบประมาณรัฐสภาสหรัฐฯ อันเป็นหน่วยงานของฝ่ายนิติบัญญัติที่ไม่ผูกติดกับพรรคการเมืองฝ่ายใด
จากการที่สถานการณ์ในอัฟกานิสถานยังคงอยู่ห่างไกลเหลือเกินจากภาวะสงบเรียบร้อย สหรัฐฯก็ดำเนินการตอบโต้ ในลักษณาการคล้ายคลึงอยู่มากกับปฏิกิริยาที่มีต่อวิกฤตทางการเงิน นั่นคือ การทุ่มเทเงินทองและทรัพยากรจำนวนมากมายขึ้นเข้าไปในปัญหา
พล.อ.เดวิด แมคเคียร์แนน ของสหรัฐฯ ซึ่งเวลานี้เป็นผู้บัญชาการกองกำลังในอัฟกานิสถานขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) กล่าวภายหลังการประชุมหารือในอัฟกานิสถานกับรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ รอเบิร์ต เกตส์ ในสัปดาห์นี้ว่า เขาจำเป็นต้องได้กำลังทหาร รวมทั้งทรัพย์สินอื่นๆ อาทิ เครื่องบินตรวจการณ์ เพิ่มมากขึ้นอย่างเป็นการถาวร
ถึงแม้ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช แถลงแล้วว่าจะจัดส่งกำลังทหารเพิ่มให้อีก 1 กองพลน้อย (เป็นจำนวนทหาร 4,000 ถึง 5,000 คน) แต่แมคเคียร์แนนบอกว่าเขาจำเป็นต้องได้มากกว่านั้นอีก 3 กองพลน้อย เพื่อ “ตอบโต้ความรุนแรงที่กำลังเพิ่มทวีขึ้น และเร่งรัดความคืบหน้าในสงคราม” ปัจจุบันมีทหารอเมริกันราว 33,000 คนอยู่ในอัฟกานิสถาน และถ้าแมคเคียร์แนนได้ตามที่เขาปรารถนา ก็เป็นไปได้ว่าจะมีทหารเพิ่มเข้ามาอีกกว่า 20,000 คน ทั้งนี้เมื่อนับรวมถึงพวกหน่วยสนับสนุนต่างๆ ด้วย
ทางด้านเกตส์กล่าวว่า คณะรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู บุช กำลังพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้ ในยุทธศาสตร์การทำสงครามในอัฟกานิสถานของตนเอง โดยที่เขาไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรมากไปกว่านี้ ขณะที่หนังสือพิมพ์ ดิ อินดีเพนเดนต์ ของกรุงลอนดอน รายงานข่าวว่าสหรัฐฯกำลังผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งมโหฬารในโครงสร้างการบังคับบัญชาทหารในอัฟกานิสถาน เพื่อทำให้ผู้บัญชาการกองกำลังนานาชาติ รายงานโดยตรงต่อกองบัญชาการทหารเขตกลางของสหรัฐฯ (US Central Command หรือ CENTCOM) แทนที่จะไปรายงานต่อนาโต้
หนังสือพิมพ์ฉบับนี้รายงานว่า ความเป็นไปได้ประการหนึ่งที่กำลังพิจารณากันอยู่ก็คือ ให้นาโต้ยังคงรับผิดชอบต่อไปเฉพาะส่วนงานการส่งกำลังบำรุง, งานปกป้องคุ้มครองกองกำลัง, และกิจการพลเรือน ขณะที่ปฏิบัติการต่อต้านการก่อความไม่สงบโดยตรงจะสั่งการจากกองบัญชาการทหารส่วนกลางสหรัฐฯ โดย พล.อ.เดวิด เพเทรอุส ผู้ซึ่งเวลานี้เป็นผู้บัญชาการของ CENTCOM ที่มีขอบข่ายรับผิดชอบดูแลการปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯทั้งในอิรักและอัฟกานิสถาน
เมื่อพิจารณาจากมุมมองของอเมริกาแล้ว ภายหลังการรุกรานซึ่งโค่นล้มพวกตอลิบานให้ตกจากอำนาจได้ผ่านพ้นไปถึง 7 ปีแล้วเช่นนี้ ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้เห็นสงครามที่ต้องสิ้นค่าใช้จ่ายมหาศาลยิ่งนี้ บังเกิดความคืบหน้าและคืบหน้าไปอย่างรวดเร็วด้วย
มีหน่วยงานคลังสมองฝ่ายตะวันตกที่เป็นอิสระไม่อยู่ในสังกัดฝักฝ่ายใด วาดภาพให้เห็นว่าเวลานี้พวกตอลิบานปรากฎตัวขึ้นตามพื้นที่ต่างๆ กว่า 54% ของอัฟกานิสถานทีเดียว ทั้งนี้รวมทั้งตามเมืองเล็กๆ ที่อยู่รอบๆ นครหลวงคาบูล
“เซนลิส เคาน์ซิล” (Senlis Council) หน่วยงานคลังสมองด้านนโยบายระหว่างประเทศซึ่งมีอิทธิพลอย่างสูง รายงานเอาไว้เมื่อเร็วๆ นี้ว่า “การวิจัยในฤดูร้อนปีนี้แสดงให้เห็นว่า พื้นที่กว่าครึ่งหนึ่งของจังหวัดวาร์ดัค –ซึ่งติดต่อกับจังหวัดโลการ์ และหากเดินทางโดยทางถนนก็จะไปถึงกรุงคาบูลได้ในเวลาเพียง 45 นาที—ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของพวกตอลิบาน ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของชาวอัฟกันในท้องที่หลายราย ข่าวสารชิ้นนี้รวมรวบได้โดยพวกนักวิจัยของเซนลิส เคาน์ซิล ในเดือนมิถุนายน 2008 และเป็นข้อพิสูจน์ว่าพวกตอลิบานกำลังกลับฟื้นตัวขึ้นมาแล้วทั้งภายในและรอบๆ นครหลวง เช่นเดียวกับในพื้นที่อันมั่นคงทางภาคใต้และภาคตะวันออกของพวกเขา”
เอเชียไทมส์ออนไลน์ได้เคยรายงานไว้แล้วเรื่องการเตรียมตัวของพวกตอลิบานเพื่อให้บรรลุถึงกรุงคาบูลและพื้นที่รอบๆ (ดูเรื่อง Taliban have Kabul in their sights, February 27, 2008)
กิจกรรมของพวกตอลิบานในจังหวัดวาร์ดุค ได้รับการบันทึกไว้เป็นเทปวิดีโอที่นำออกเผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ โดย “อัล-ซามูด” องค์กรสื่อที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ๆ ของพวกตอลิบาน สิ่งที่อยู่ในเทปวิดีโอแสดงให้เห็นพวกนักรบตอลิบานในชุดพราง เคลื่อนไปตามทางหลวงสายหลักที่มุ่งสู่นครหลวง และเข้าโจมตีขบวนลำเลียงสัมภาระของนาโต้ แล้วก็มีภาพที่พวกเขากำลังขับยานพาหนะของตำรวจอัฟกันที่ยึดมาได้ ตลอดจนภาพการขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ และการเตรียมตัวเพื่อเข้าโจมตี
ทั้งโฆษกทางทหารของนาโต้ในกรุงคาบุล และโฆษกประธานาธิบดีอัฟกานิสถาน ต่างก็ไม่พูดอะไรทั้งสิ้น เมื่อเอเชียไทมส์ออนไลน์ขอให้แสดงความเห็นเกี่ยวกับวิดีโอแผ่นนี้ ตลอดจนสถานการณ์ความมั่นคงปลอดภัยรอบๆ นครหลวง
**สมรภูมิแห่งสงครามกำลังขยายกว้างออกไป**
จากการที่ไม่ได้มีความคืบหน้าในอัฟกานิสถาน เวลานี้สหรัฐฯจึงกำลังกระตือรือร้นที่จะนำเอาสงครามแผ่เข้าไปยังปากีสถาน ที่ซึ่งพวกตอลิบานมีแหล่งพำนักหลบภัยอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ในเขตชนเผ่าบริเวณใกล้ชายแดน
ระหว่างการเยือนปากีสถานเป็นเที่ยวที่ 5 นับแต่ที่เขาขึ้นดำรงตำแหน่งประธานคณะเสนาธิการทหารผสมของสหรัฐฯเมื่อ 1 ปีก่อน พล.ร.อ.ไมก์ มุลเลน ได้แถลงเมื่อวันอังคาร(16) โดยพยายามย้ำยืนยันกับทางการอิสลามาบัดว่า สหรัฐฯจะคารพอธิปไตยของปากีสถาน ทว่าเพียงแค่วันรุ่งขึ้นเท่านั้น ก็เกิดเหตุเครื่องบินแบบไร้นักบินรุ่น “เพรดาเตอร์” ยิงขีปนาวุธเข้าโจมตีเขตเซาท์วิซิริสถานของปากีสถาน โดยที่อ้างกันว่าสามารถทำลายจรวดของพวกตอลิบานได้จำนวนหนึ่ง เหตุการณ์คราวนี้เกิดขึ้นหลังจากที่มีรายงานการปฏิบัติภารกิจของเครื่องบินแบบไร้นักบินเช่นนี้หลายต่อหลายครั้งในระยะสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมทั้งการเปิดยุทธการของหน่วยทหารรบพิเศษของสหรัฐฯ ซึ่งได้สังหารผู้คนเสียชีวิตไปประมาณ 15 คน
เพนตากอนบอกว่า ทั้งกองทัพและรัฐบาลพลเรือนของปากีสถานต่างก็เห็นพ้องกับการโจมตีด้วยขีปนาวุธหลายๆ ครั้งเหล่านี้ อันเป็นข้ออ้างซึ่งทางปากีสถานเองปฏิเสธ
ไม่ว่าความจริงจะเป็นอย่างไร แต่การโจมตีของสหรัฐฯก็กระตุ้นให้เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ระหว่างพวกชาวชนเผ่าในท้องถิ่น, พวกตอลิบาน, และพวกทหารชั้นผู้น้อยในกองกำลังรักษาความมั่นคงของปากีสถาน ซึ่งถูกส่งมาประจำอยู่ตามเขตชายแดนแถบนี้ แหล่งข่าวที่เป็นชาวชนเผ่าหลายๆ รายบอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ว่า ถ้าหากกองกำลังภาคพื้นดินของอเมริกันบุกเข้าไปในปากีสถานอีกในคราวหน้า พวกเขาก็จะเผชิญกับการต่อต้านอย่างแข็งกร้าวจากกองกำลังต่างๆ เหล่านี้ซึ่งได้รวมตัวเข้าด้วยกันแล้วในเวลานี้
ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด เป็นหัวหน้าสำนักงานปากีสถานของเอเชียไทมส์ออนไลน์ สามารถที่จะติดต่อกับเขาได้ทางอีเมล์ saleem_sharzad2002@yahoo.com