เอเจนซี - บรรดาธนาคารกลางในเอเชีย พากันอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดเมื่อวานนี้ (16) รวมทั้งออกมาประกันว่าสถานการณ์ในประเทศตน จะไม่เลวร้ายตามการทรุดลงอีกครั้งของวอลล์สตรีท ซึ่งอาจทำให้ภาวะขาดแคลนสภาพคล่องอย่างรุนแรงลุกลามไปทั่วภาคการเงินของโลก
รวมมูลค่าเงินหล่อเลี้ยงระบบที่ธนาคารกลางในภูมิภาคนี้ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น ออสเตรเลีย หรืออินเดีย อัดฉีดเข้าไปในตลาดนั้นสูงเกือบ 27,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียว โดยที่ในวันจันทร์ (15) ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ก็เทเม็ดเงิน 70,000 ล้านดอลลาร์เข้าสู่ระบบแล้ว หลังจากเลห์แมน บราเธอร์ส กลายเป็นเหยื่อรายล่าสุดของวิกฤตการเงินครั้งนี้
ความปั่นป่วนอย่างรุนแรงซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ต่อเนื่องกันชุด นับตั้งแต่เลห์แมนประกาศภาวะล้มละลาย,เมอร์ริล ลินช์ ประกาศควบรวมเข้ากับแบงก์ออฟอเมริกา และอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (เอไอจี) บริษัทประกันภัยที่เคยมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกดิ้นรนหาเม็ดเงินเข้ามาเพื่อประคองสถานะของบริษัท ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะประชุมกันในวันอังคาร (16) จะประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลง
ในเอเชียเมื่อวานนี้ ธนาคารกลางแห่งญี่ปุ่น ปล่อยเม็ดเงินเข้าระบบการธนาคารของประเทศเป็นปริมาณสูงสุดในรอบเกือบ 6 เดือน และนายกรัฐมนตรีก็ได้ประชุมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารระดับสูงของภาคการเงินของประเทศ เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทรุดลงของเลห์แมน
ขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมระหว่างธนาคาร ต่างพุ่งขึ้นอย่างมากทั้งในเกาหลีใต้ ฮ่องกงและสิงคโปร์ ขณะที่ตลาดหุ้นของแถบเอเชีย ซึ่งหลายๆ แห่งปิดทำการในวันจันทร์เนื่องจากเป็นวันหยุด พอเปิดใหม่วานนี้ก็ร่วงลงอย่างรุนแรง ด้านค่าเงินตราก็ผันผวนทั้งวันด้วย
นักวิเคราะห์พากัน คาดว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะเพิ่มเม็ดเงินเข้าสู่ระบบจำนวนมหาศาลต่อไปอีก จนกว่าความตื่นตระหนกในตลาดจะผ่อนคลายลงไป
ขณะที่ มาซาอากิ ชิรากาวะ ผู้ว่าการธนาคารกลางของญี่ปุ่น แถลงว่า “ธนาคารจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งวิเคราะห์ถึงภาวะแวดล้อมและผลกระทบต่างๆ จากความเคลื่อนไหวของสถาบันการเงินในสหรัฐฯ”
ธนาคารกลางของญี่ปุ่นซึ่งเริ่มการประชุมทบทวนอัตราดอกเบี้ยเมื่อวานนี้ ได้อัดฉีดเงิน 2.5 ล้านล้านเยนเข้าสู่ตลาดเงินในประเทศถึง 2 ระลอกด้วยกัน และนับเป็นจำนวนเงินสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทำให้อัตราดอกเบี้ยชั่วข้ามคืนลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 0.52%
ส่วนธนาคารกลางของอินโดนีเซียก็ลดอัตราดอกเบี้ยชั่วข้ามคืนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรลง 2.00% มาเป็น 10.25% เพื่อกระตุ้นสภาพคล่อง ดอกเบี้ยนี้เรียกเก็บจากการที่ธนาคารพาณิชย์มากู้ยืมเงินจากธนาคารกลางใน 1 คืน อย่างไรก็ตาม ธนาคารยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือบีไอทาร์เก็ต เรตอยู่ที่ 9.25% ดังเดิม
ธนาคารกลางของออสเตรเลียก็อัดฉีดเงินเข้าสูระบบ 1,800 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย และนับเป็นครั้งที่ 2 ในเวลา 2 วันที่ธนาคารกลางต้องเทเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ
สำหรับธนาคารกลางอินเดีย ก็อัดฉีดเม็ดเงิน 60,000 ล้านรูปี เข้าสู่ระบบโดยผ่านช่องทางการรีไฟแนนซ์ด้วยเช่นกัน ในขณะที่ธนาคารกลางจีนทำให้ตลาดประหลาดใจอย่างมากด้วยการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา เพื่อบรรเทาความตื่นตระหนกในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์
ที่ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน และ นิวซีแลนด์ ทางการต่างออกมาพูดเพื่อปลุกปลอบดึงความเชื่อมั่นของตลาดและนักลงทุนให้กลับคืนมา คิมดองซู รัฐมนตรีคลังของเกาหลีใต้ บอกว่า จะออกมาตรการอันเหมาะสมทันทีหากว่าเห็นว่ามีความผันผวนในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ทางการทุกประเทศกล่าวเหมือนกันว่า วิกฤตจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมมากนัก เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจนั้นแข็งแกร่งเพียงพอที่จะทนแรงเสียดทานได้ แต่ก็เตือนว่าปัญหากำลังจะทยอยตามมาในอนาคต เพราะวิกฤตที่แสดงออกมาในสหรัฐฯ นั้นยังจะคงอยู่ต่อไปอีกนาน
รวมมูลค่าเงินหล่อเลี้ยงระบบที่ธนาคารกลางในภูมิภาคนี้ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น ออสเตรเลีย หรืออินเดีย อัดฉีดเข้าไปในตลาดนั้นสูงเกือบ 27,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียว โดยที่ในวันจันทร์ (15) ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ก็เทเม็ดเงิน 70,000 ล้านดอลลาร์เข้าสู่ระบบแล้ว หลังจากเลห์แมน บราเธอร์ส กลายเป็นเหยื่อรายล่าสุดของวิกฤตการเงินครั้งนี้
ความปั่นป่วนอย่างรุนแรงซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ต่อเนื่องกันชุด นับตั้งแต่เลห์แมนประกาศภาวะล้มละลาย,เมอร์ริล ลินช์ ประกาศควบรวมเข้ากับแบงก์ออฟอเมริกา และอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (เอไอจี) บริษัทประกันภัยที่เคยมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกดิ้นรนหาเม็ดเงินเข้ามาเพื่อประคองสถานะของบริษัท ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะประชุมกันในวันอังคาร (16) จะประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลง
ในเอเชียเมื่อวานนี้ ธนาคารกลางแห่งญี่ปุ่น ปล่อยเม็ดเงินเข้าระบบการธนาคารของประเทศเป็นปริมาณสูงสุดในรอบเกือบ 6 เดือน และนายกรัฐมนตรีก็ได้ประชุมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารระดับสูงของภาคการเงินของประเทศ เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทรุดลงของเลห์แมน
ขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมระหว่างธนาคาร ต่างพุ่งขึ้นอย่างมากทั้งในเกาหลีใต้ ฮ่องกงและสิงคโปร์ ขณะที่ตลาดหุ้นของแถบเอเชีย ซึ่งหลายๆ แห่งปิดทำการในวันจันทร์เนื่องจากเป็นวันหยุด พอเปิดใหม่วานนี้ก็ร่วงลงอย่างรุนแรง ด้านค่าเงินตราก็ผันผวนทั้งวันด้วย
นักวิเคราะห์พากัน คาดว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะเพิ่มเม็ดเงินเข้าสู่ระบบจำนวนมหาศาลต่อไปอีก จนกว่าความตื่นตระหนกในตลาดจะผ่อนคลายลงไป
ขณะที่ มาซาอากิ ชิรากาวะ ผู้ว่าการธนาคารกลางของญี่ปุ่น แถลงว่า “ธนาคารจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งวิเคราะห์ถึงภาวะแวดล้อมและผลกระทบต่างๆ จากความเคลื่อนไหวของสถาบันการเงินในสหรัฐฯ”
ธนาคารกลางของญี่ปุ่นซึ่งเริ่มการประชุมทบทวนอัตราดอกเบี้ยเมื่อวานนี้ ได้อัดฉีดเงิน 2.5 ล้านล้านเยนเข้าสู่ตลาดเงินในประเทศถึง 2 ระลอกด้วยกัน และนับเป็นจำนวนเงินสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทำให้อัตราดอกเบี้ยชั่วข้ามคืนลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 0.52%
ส่วนธนาคารกลางของอินโดนีเซียก็ลดอัตราดอกเบี้ยชั่วข้ามคืนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรลง 2.00% มาเป็น 10.25% เพื่อกระตุ้นสภาพคล่อง ดอกเบี้ยนี้เรียกเก็บจากการที่ธนาคารพาณิชย์มากู้ยืมเงินจากธนาคารกลางใน 1 คืน อย่างไรก็ตาม ธนาคารยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือบีไอทาร์เก็ต เรตอยู่ที่ 9.25% ดังเดิม
ธนาคารกลางของออสเตรเลียก็อัดฉีดเงินเข้าสูระบบ 1,800 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย และนับเป็นครั้งที่ 2 ในเวลา 2 วันที่ธนาคารกลางต้องเทเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ
สำหรับธนาคารกลางอินเดีย ก็อัดฉีดเม็ดเงิน 60,000 ล้านรูปี เข้าสู่ระบบโดยผ่านช่องทางการรีไฟแนนซ์ด้วยเช่นกัน ในขณะที่ธนาคารกลางจีนทำให้ตลาดประหลาดใจอย่างมากด้วยการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา เพื่อบรรเทาความตื่นตระหนกในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์
ที่ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน และ นิวซีแลนด์ ทางการต่างออกมาพูดเพื่อปลุกปลอบดึงความเชื่อมั่นของตลาดและนักลงทุนให้กลับคืนมา คิมดองซู รัฐมนตรีคลังของเกาหลีใต้ บอกว่า จะออกมาตรการอันเหมาะสมทันทีหากว่าเห็นว่ามีความผันผวนในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ทางการทุกประเทศกล่าวเหมือนกันว่า วิกฤตจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมมากนัก เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจนั้นแข็งแกร่งเพียงพอที่จะทนแรงเสียดทานได้ แต่ก็เตือนว่าปัญหากำลังจะทยอยตามมาในอนาคต เพราะวิกฤตที่แสดงออกมาในสหรัฐฯ นั้นยังจะคงอยู่ต่อไปอีกนาน