(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Americans play Monopoly, Russians chess
By Spengler
18/08/2008
พูดกันตามจริง รัสเซียกำลังเล่นเกมเพื่อรักษาชีวิตของตัวเองให้อยู่รอด เนื่องจากในด้านอัตราเกิดของประชากรได้ผ่านเลยจุดที่ยังสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรได้ไปเสียแล้ว โดยรัสเซียกำลังกลายเป็นประเทศที่พลเมืองตายมากกว่าเกิด และจำนวนมีแต่จะน้อยลงเรื่อยๆ สภาพอันยากลำบากทางประชากรศาสตร์เช่นนี้ คือสิ่งที่มอสโกให้ความสำคัญที่สุด ในเวลาที่คิดคำนวณเรื่อง “การสั่งสมรวบรวม” ชนชาติรัสเซียนับล้านๆ คนที่กระจัดกระจายอยู่ในประเทศใกล้เคียงกับตน โดยที่หลังจากจอร์เจียแล้ว ก็ย่อมจะต้องถึงคราวของยูเครน
*รายงานนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
อย่างไรก็ตาม กระทั่งเมื่อมีคนชนชาติรัสเซียอพยพเข้ามา บวกกับการผนวกเอาดินแดนในอดีตของคนรัสเซียที่สูญเสียไปเมื่อตอนที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย รัสเซียก็จะยังไม่สามารถชนะในตอนปิดเกมอยู่ดี ในการต่อสู้กับภาวะประชากรลดต่ำ และการที่ประชากรมุสลิมขยายตัวค่อนข้างเร็วกว่าส่วนอื่นๆ เช่นนี้ กุญแจสำคัญที่จะทำให้รัสเซียอยู่รอดได้จึงอยู่ที่ กระบวนการแปรให้กลายเป็นรัสเซีย (Russification) นั่นคือ การนำเอาวัฒนธรรมรัสเซียและกฎหมายรัสเซียมาใช้กับชนชาติต่างๆ ที่อยู่บริเวณชายขอบของสหพันธรัฐ นี่อาจฟังดูเหมือนแข็งกร้าวดุดัน ทว่ามันก็เป็นธรรมชาติของชาวรัสเซียมาตั้งแต่ตอนที่พวกเขาถือกำเนิดขึ้นมาแล้ว
รัสเซียนั้นไม่ได้เป็นชนชาติๆ หนึ่ง แต่เป็นจักรวรรดิแห่งหนึ่ง เป็นผลลัพธ์ของช่วงเวลาหลายร้อยปีแห่งกระบวนการแปรให้กลายเป็นรัสเซีย การที่บอกว่ากระบวนการแปรให้กลายเป็นรัสเซียดังกล่าวนี้ เป็นไปอย่างโหดร้ายทารุณ ยังถือได้ว่าเป็นการกล่าวให้น้อยกว่าความเป็นจริงด้วยซ้ำ ทว่ามันก็เป็นสิ่งที่สร้างรัสเซียขึ้นมา จากสถานการณ์ความยุ่งยากสับสนระหว่างชนชาติต่างๆ รอบๆ ลุ่มแม่น้ำโวลกา
งานเขียนดีที่สุดชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับลักษณะที่ไม่เหมือนใครของรัสเซีย ปรากฏอยู่ในหนังสือเมื่อปี 1938 เรื่อง “Out of Revolution” ของ ยูยีน โรเซนสต็อก-ฮิวส์ซีย์ (เขาเป็นลูกพี่ลูกน้องของ ฟรานซ์ โรเซนสเวก และเคยร่วมมือกันทำงานเป็นบางครั้ง) ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ตั้งข้อสังเกตว่า ดินแดนของรัสเซียเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าตัวในช่วงระหว่างศตวรรษที่ 16 ถึง 18 และพวกที่มีบทบาททำให้เกิดการขยายตัวเช่นนี้ ก็เป็นแบบฉบับเฉพาะของรัสเซียที่ไม่มีใครเหมือน
โรเซนสต็อก-ฮิวส์ซีย์ชี้ว่า ชาวนารัสเซียนั้น “ไม่ได้เป็นผู้มีสิทธิในการทำกินในที่ดินอย่างมั่นคงตามแบบฉบับของทางตะวันตก หากแต่มีลักษณะที่เป็นชนเผ่าร่อนเร่, พวกพ่อค้าเร่, ช่างฝีมือ, และทหาร ซึ่งตระเวนไปตามที่ต่างๆ มากกว่า ศักยภาพของพวกเขาในการขยายดินแดนจึงมีอยู่อย่างมหาศาล”
ในปี 1581 ได้มีการเปิดดินแดนรัสเซียส่วนที่อยู่ทางฟากทวีปเอเชีย การขยายตัวของชาวรัสเซียนั้นยังคงมีอยู่แม้กระทั่งในศตวรรษที่ 18 โดยไปไกลโพ้นถึงแม่น้ำรัสเซีย ในภาคเหนือของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ทว่ามันไม่ได้มีลักษณะเพียงแค่การแผ่ขยายจักรวรรดิของพระเจ้าซาร์เท่านั้น อันที่จริงแล้ว ชาวนารัสเซียนั้นเรียกกันว่า “Moujik” เพราะเขาไม่ได้เป็น “Bauer” หรือ “ชาวนา” หรือ “ผู้ใช้แรงงาน” หากแต่เป็น “Moujik” หรือพวกที่เที่ยวเร่ร่อนและอาศัยอยู่กับที่เป็นพักๆ และพร้อมที่จะอพยพกันใหม่อีกในท้ายที่สุดครั้งแล้วครั้งเล่า
รัสเซียก็ไม่เคยเป็นรัฐที่ประกอบด้วยผู้คนหลากหลายชนชาติ หากแต่เป็นอย่างที่ผมขอเรียกว่า รัฐที่เหนือกว่าชนชาติ นั่นคือ เป็นรัฐซึ่งหลักการทางชาติอยู่เหนือกว่าเรื่องชนชาติ ผู้อ่านท่านหนึ่งเป็นผู้แนะนำให้ผมเกิดความสนใจในข้อเขียนของ ฟีโอดอร์ ดอสโตเยฟสกี นักเขียนผู้เป็นชาวรัสเซียยิ่งกว่านักเขียนทั้งมวล ซึ่งได้กล่าวถึงภูมิหลังความเป็นคนรัสเซีย-ลิทัวเนีย-ยูเครนของตนเองเอาไว้ดังนี้
“ผมสันนิษฐานว่าบรรพบุรุษชาวลิทัวเนียของผมคนหนึ่ง ได้อพยพไปยังยูเครน แล้วเปลี่ยนศาสนาของเขาเพื่อจะได้แต่งงานกับชาวยูเครนที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ จากนั้นก็กลายเป็นบาทหลวง (priest) เมื่อภรรยาของเขาตาย เป็นไปได้ที่เขาจะไปพำนักในสำนักสงฆ์ และในเวลาต่อมาก็ได้ขยับขึ้นเป็นอาร์กบิช็อป นี่จะอธิบายว่าทำไม อาร์กบิช็อป สเตปาน น่าจะเป็นผู้ก่อตั้งครอบครัวซึ่งนับถือออร์โธดอกซ์ของเรา ถึงแม้เขาใช้ชีวิตเป็นสงฆ์ (monk) เป็นเรื่องที่ออกจะน่าประหลาดใจอยู่สักหน่อยที่ได้เห็นว่า ดอสโตเยฟสกี ซึ่งเป็นพวกนักรบในลิทัวเนีย กลับกลายมาเป็นพวกบาทหลวงในยูเครน แต่นี่ก็นับว่าสอดคล้องกับขนบธรรมเนียมของชาวลิทัวเนียอยู่หรอก ผมจะขออ้างคำพูดของ ดับเบิลยู เซนต์วิดูนัส ผู้รู้ชาวลิทัวเนีย เกี่ยวกับความเชื่อมโยงอันนี้ “เมื่อก่อนชาวลิทัวเนียที่มีอันจะกินจำนวนมาก เคยมีความปรารถนาอยู่ประการหนึ่ง นั่นคือได้เห็นบุตรชายสักคนหนึ่งหรือมากกว่านั้นของพวกเขา เข้าสู่แวดวงอาชีพทางด้านนักบวช”
ภูมิหลังอันผสมคลุกเคล้ากันเช่นนี้ของดอสโตเยฟสกี คือแบบฉบับของชาวรัสเซีย เหมือนดังที่ โจเซฟ สตาลิน ก็มีต้นกำเนิดเป็นชาวจอร์เจีย
รัสเซียเข้าแทรกแซงในจอร์เจียคราวนี้ โดยอ้างเหตุผลการยึดมั่นในหลักการที่ว่า คนที่ถือพาสปอร์ตของรัสเซีย ไม่ว่าจะเป็นคนชนชาติออสซีเชีย, อับคาเซีย, ไบโลรัสเซีย, หรือ ยูเครน ก็คือชาวรัสเซีย ความอยู่รอดของรัสเซียนั้นไม่ได้พึ่งพาอะไรนักกับอัตราการเกิด หรือกับการอพยพเข้ามา หรือกระทั่งกับลู่ทางในการผนวกดินแดน ทว่าขึ้นอยู่กับความอยู่รอดของหลักการดังกล่าวนี้ อันเป็นสิ่งที่ได้สร้างรัสเซียขึ้นมาตั้งแต่ต้นแล้ว นี่เองเป็นเหตุผลว่าทำไมปูตินจึงไม่สามารถที่จะทอดทิ้งผู้คนที่ถือพาสปอร์ตรัสเซียกระหย่อมหนึ่งในภูมิภาคคอเคซัส การที่ประวัติศาสตร์รัสเซียช่างเต็มไปด้วยโศกนาฏกรรม รวมทั้งหลักการสร้างชาติของเขาก็ช่างทารุณโหดร้ายและบางครั้งก็ถึงขั้นไร้มนุษยธรรมนั้น นั่นต้องถือเป็นอีกประเด็นหนึ่งต่างหากออกไป ทว่ารัสเซียมีความสำคัญมากเสียจนกระทั่งโศกนาฏกรรมของเขาก็จะกลายเป็นโศกนาฏกรรมของเราไปด้วย เว้นแต่ว่าจะสามารถเบี่ยงเบนความหายนะเช่นนี้ได้
สถานที่ซึ่งจะสามารถเบี่ยงเบนโศกนาฏกรรมนี้ก็คือในยูเครน รัสเซียจะไม่ยินยอมให้ยูเครนปลิวลอยไปอยู่กับฝ่ายตะวันตก ประเทศแห่งนี้ที่ไม่เคยมีฐานะดำรงความเป็นชาติอย่างอิสระเอาเลย ก่อนหน้าการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ควรที่จะถูกฝ่ายตะวันตกหยิบยกขึ้นมาเป็นภาพโฆษณาเรื่องสิทธิที่จะกำหนดใจตนเองของชาติๆ หนึ่งหรือไม่ นั่นเป็นคำถามที่ต้องถือว่าเป็นอีกประเด็นหนึ่ง แต่สำหรับฝ่ายตะวันตกแล้ว มันมีหนทางเลือกอยู่ 2 ทาง นั่นคือ ลากเส้นรอบๆ ยูเครนห้ามรัสเซียเข้ามาแตะต้อง หรือไม่ก็เอายูเครนไปแลกเปลี่ยนให้ได้ชาวรัสเซียมา เพื่ออะไรบางอย่างที่ทรงความสำคัญยิ่งกว่า
ข้อเสนอของผมเกี่ยวกับสิ่งที่ควรขอให้รัสเซียกระทำนั้นมีง่ายๆ นั่นคือ รัสเซียต้องช่วยเหลือในการสกัดกั้นการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ และสกัดกั้นการก่อการร้ายในตะวันออกกลาง เรื่องเช่นนี้ย่อมมีความสำคัญสำหรับฝ่ายตะวันตก มากมายใหญ่หลวงกว่าเรื่องสิทธิการกำหนดใจตนเองอันดูคลุมเครือของยูเครน ฝ่ายตะวันตกควรวางตัวให้ดีที่สุดในการเสแสร้งทำเป็นว่า การปฏิวัติ “สีส้ม” เมื่อปี 2004 และ 2005 นั้นไม่เคยเกิดขึ้นเลย และทำให้เกิดความมั่นใจว่า รัสเซียจะให้การสนับสนุนในประเด็นปัญหานิวเคลียร์อิหร่าน ตลอดจนเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน เพื่อเป็นการตอบแทนการที่ฝ่ายตะวันตกเข้าอกเข้าใจสิ่งที่รัสเซียต้องกระทำเพื่อความอยู่รอดในดินแดนเพื่อนบ้านใกล้เคียง ใครก็ตามที่เห็นว่าความคิดเช่นนี้เป็นมุมมองแบบลัทธิเกลียดชังมนุษย์ (cynicism) ควรที่จะลองไปใช้อยู่ชีวิตอยู่ในเมืองเคียฟ (เมืองหลวงของยูเครน) สักอาทิตย์หนึ่ง
อันที่จริง รัสเซียควรต้องหวาดกลัวอิหร่านที่ติดอาวุธนิวเคลียร์ มากยิ่งกว่าที่สหรัฐฯจะต้องหวั่นวิตกด้วยซ้ำ เพราะรัฐมุสลิมก้าวร้าวที่อยู่ประชิดตรงพรมแดนของตนเลย ย่อมสามารถทำลายความพยายามของมอสโกในการใช้กระบวนการแปรให้กลายเป็นรัสเซีย กับดินแดนเอเชียกลาง ในเรื่องนี้แล้ว ผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ของรัสเซียไม่ได้มีอะไรขัดแย้งกับของสหรัฐฯ, จีน, หรืออินเดียเลย แน่นอนว่ามีการแข่งขันกันในระดับหนึ่งในเรื่องการช่วงชิงทรัพยากรพลังงาน ทว่าปรปักษ์ทางการพาณิชย์ไม่จำเป็นว่าจะต้องกลายเป็นศัตรูในทางยุทธศาสตร์
หากวอชิงตันเลือกที่จะทำให้รัสเซียกลายเป็นปีศาจร้าย สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นก็คือ รัสเซียจะกลายเป็นตัวก่อกวนบ่อนทำลาย ที่จะรังควาญผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ของอเมริกันโดยภาพรวม และใช้ปัญหาอิหร่านมาคอยกระตุกหางของอเมริกา เรื่องนี้ถือเป็นความเสี่ยงที่มีอันตรายร้ายแรงจริงๆ เพราะเครื่องมือประการหนึ่งซึ่งระบอบการปกครองนอกกฎหมายทั้งหลายอาจนำมาใช้สร้างภัยคุกคามร้ายแรงต่อมหาอำนาจยิ่งใหญ่ทั้งหลาย ย่อมได้แก่การแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ รัสเซียกำลังเผชิญปัญหาที่ไม่ใช่แค่เป็นเรื่องของความสะดวกสบาย แต่เป็นเรื่องการดำรงคงอยู่ให้ได้ และย่อมจะทำทุกอย่างที่สามารถทำได้เพื่อให้มีช่องทางในการเดินแต้มคู หากฝ่ายตะวันตกคิดหาทาง “ลงโทษ” มอสโก สำหรับการกระทำของเขาในจอร์เจีย
เรื่องน่าเย้ยหยันประการหนึ่งของวิกฤตคราวนี้ก็คือ จากการที่พวกอนุรักษนิยมใหม่ (neo-conservative) ในกรุงวอชิงตัน เรียกร้องให้ใช้จุดยืนอันแข็งกร้าวต่อรัสเซียนั้น อาจจะกลายเป็นการสร้างความเสียหายให้แก่ผลประโยชน์ด้านความมั่นคงปลอดภัยของอิสราเอล อย่างลึกล้ำยิ่งกว่าพวกกล่าวร้ายอิสราเอลใดๆ ในแวดวงการเมืองอเมริกันได้เคยกระทำมาเสียอีก มันไม่ได้เป็นกฎตายตัวว่าพวกอนุรักษนิยมใหม่จะต้องเป็นชาวยิว แต่จริงๆ แล้วพวกเขาจำนวนมากก็เป็นชาวยิว ซึ่งมีความเป็นห่วงอย่างลึกซึ้งต่อความมั่นคงปลอดภัยของอิสราเอล –เหมือนดังผู้เขียนคนนี้นี่แหละ หากอเมริกาเปลี่ยนให้รัสเซียกลายเป็นศัตรูในทางยุทธศาสตร์ โอกาสความน่าที่จะอยู่รอดได้ของอิสราเอลก็จะหดหายไปเยอะทีเดียว
สเปรงเกลอร์ เป็นคอลัมนิสต์ประจำของเอเชียไทมส์ออนไลน์
อเมริกันเล่นเกม“โมโนโพลี”แต่รัสเซียเล่น“หมากรุก” (ตอนแรก)
Americans play Monopoly, Russians chess
By Spengler
18/08/2008
พูดกันตามจริง รัสเซียกำลังเล่นเกมเพื่อรักษาชีวิตของตัวเองให้อยู่รอด เนื่องจากในด้านอัตราเกิดของประชากรได้ผ่านเลยจุดที่ยังสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรได้ไปเสียแล้ว โดยรัสเซียกำลังกลายเป็นประเทศที่พลเมืองตายมากกว่าเกิด และจำนวนมีแต่จะน้อยลงเรื่อยๆ สภาพอันยากลำบากทางประชากรศาสตร์เช่นนี้ คือสิ่งที่มอสโกให้ความสำคัญที่สุด ในเวลาที่คิดคำนวณเรื่อง “การสั่งสมรวบรวม” ชนชาติรัสเซียนับล้านๆ คนที่กระจัดกระจายอยู่ในประเทศใกล้เคียงกับตน โดยที่หลังจากจอร์เจียแล้ว ก็ย่อมจะต้องถึงคราวของยูเครน
*รายงานนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
อย่างไรก็ตาม กระทั่งเมื่อมีคนชนชาติรัสเซียอพยพเข้ามา บวกกับการผนวกเอาดินแดนในอดีตของคนรัสเซียที่สูญเสียไปเมื่อตอนที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย รัสเซียก็จะยังไม่สามารถชนะในตอนปิดเกมอยู่ดี ในการต่อสู้กับภาวะประชากรลดต่ำ และการที่ประชากรมุสลิมขยายตัวค่อนข้างเร็วกว่าส่วนอื่นๆ เช่นนี้ กุญแจสำคัญที่จะทำให้รัสเซียอยู่รอดได้จึงอยู่ที่ กระบวนการแปรให้กลายเป็นรัสเซีย (Russification) นั่นคือ การนำเอาวัฒนธรรมรัสเซียและกฎหมายรัสเซียมาใช้กับชนชาติต่างๆ ที่อยู่บริเวณชายขอบของสหพันธรัฐ นี่อาจฟังดูเหมือนแข็งกร้าวดุดัน ทว่ามันก็เป็นธรรมชาติของชาวรัสเซียมาตั้งแต่ตอนที่พวกเขาถือกำเนิดขึ้นมาแล้ว
รัสเซียนั้นไม่ได้เป็นชนชาติๆ หนึ่ง แต่เป็นจักรวรรดิแห่งหนึ่ง เป็นผลลัพธ์ของช่วงเวลาหลายร้อยปีแห่งกระบวนการแปรให้กลายเป็นรัสเซีย การที่บอกว่ากระบวนการแปรให้กลายเป็นรัสเซียดังกล่าวนี้ เป็นไปอย่างโหดร้ายทารุณ ยังถือได้ว่าเป็นการกล่าวให้น้อยกว่าความเป็นจริงด้วยซ้ำ ทว่ามันก็เป็นสิ่งที่สร้างรัสเซียขึ้นมา จากสถานการณ์ความยุ่งยากสับสนระหว่างชนชาติต่างๆ รอบๆ ลุ่มแม่น้ำโวลกา
งานเขียนดีที่สุดชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับลักษณะที่ไม่เหมือนใครของรัสเซีย ปรากฏอยู่ในหนังสือเมื่อปี 1938 เรื่อง “Out of Revolution” ของ ยูยีน โรเซนสต็อก-ฮิวส์ซีย์ (เขาเป็นลูกพี่ลูกน้องของ ฟรานซ์ โรเซนสเวก และเคยร่วมมือกันทำงานเป็นบางครั้ง) ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ตั้งข้อสังเกตว่า ดินแดนของรัสเซียเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าตัวในช่วงระหว่างศตวรรษที่ 16 ถึง 18 และพวกที่มีบทบาททำให้เกิดการขยายตัวเช่นนี้ ก็เป็นแบบฉบับเฉพาะของรัสเซียที่ไม่มีใครเหมือน
โรเซนสต็อก-ฮิวส์ซีย์ชี้ว่า ชาวนารัสเซียนั้น “ไม่ได้เป็นผู้มีสิทธิในการทำกินในที่ดินอย่างมั่นคงตามแบบฉบับของทางตะวันตก หากแต่มีลักษณะที่เป็นชนเผ่าร่อนเร่, พวกพ่อค้าเร่, ช่างฝีมือ, และทหาร ซึ่งตระเวนไปตามที่ต่างๆ มากกว่า ศักยภาพของพวกเขาในการขยายดินแดนจึงมีอยู่อย่างมหาศาล”
ในปี 1581 ได้มีการเปิดดินแดนรัสเซียส่วนที่อยู่ทางฟากทวีปเอเชีย การขยายตัวของชาวรัสเซียนั้นยังคงมีอยู่แม้กระทั่งในศตวรรษที่ 18 โดยไปไกลโพ้นถึงแม่น้ำรัสเซีย ในภาคเหนือของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ทว่ามันไม่ได้มีลักษณะเพียงแค่การแผ่ขยายจักรวรรดิของพระเจ้าซาร์เท่านั้น อันที่จริงแล้ว ชาวนารัสเซียนั้นเรียกกันว่า “Moujik” เพราะเขาไม่ได้เป็น “Bauer” หรือ “ชาวนา” หรือ “ผู้ใช้แรงงาน” หากแต่เป็น “Moujik” หรือพวกที่เที่ยวเร่ร่อนและอาศัยอยู่กับที่เป็นพักๆ และพร้อมที่จะอพยพกันใหม่อีกในท้ายที่สุดครั้งแล้วครั้งเล่า
รัสเซียก็ไม่เคยเป็นรัฐที่ประกอบด้วยผู้คนหลากหลายชนชาติ หากแต่เป็นอย่างที่ผมขอเรียกว่า รัฐที่เหนือกว่าชนชาติ นั่นคือ เป็นรัฐซึ่งหลักการทางชาติอยู่เหนือกว่าเรื่องชนชาติ ผู้อ่านท่านหนึ่งเป็นผู้แนะนำให้ผมเกิดความสนใจในข้อเขียนของ ฟีโอดอร์ ดอสโตเยฟสกี นักเขียนผู้เป็นชาวรัสเซียยิ่งกว่านักเขียนทั้งมวล ซึ่งได้กล่าวถึงภูมิหลังความเป็นคนรัสเซีย-ลิทัวเนีย-ยูเครนของตนเองเอาไว้ดังนี้
“ผมสันนิษฐานว่าบรรพบุรุษชาวลิทัวเนียของผมคนหนึ่ง ได้อพยพไปยังยูเครน แล้วเปลี่ยนศาสนาของเขาเพื่อจะได้แต่งงานกับชาวยูเครนที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ จากนั้นก็กลายเป็นบาทหลวง (priest) เมื่อภรรยาของเขาตาย เป็นไปได้ที่เขาจะไปพำนักในสำนักสงฆ์ และในเวลาต่อมาก็ได้ขยับขึ้นเป็นอาร์กบิช็อป นี่จะอธิบายว่าทำไม อาร์กบิช็อป สเตปาน น่าจะเป็นผู้ก่อตั้งครอบครัวซึ่งนับถือออร์โธดอกซ์ของเรา ถึงแม้เขาใช้ชีวิตเป็นสงฆ์ (monk) เป็นเรื่องที่ออกจะน่าประหลาดใจอยู่สักหน่อยที่ได้เห็นว่า ดอสโตเยฟสกี ซึ่งเป็นพวกนักรบในลิทัวเนีย กลับกลายมาเป็นพวกบาทหลวงในยูเครน แต่นี่ก็นับว่าสอดคล้องกับขนบธรรมเนียมของชาวลิทัวเนียอยู่หรอก ผมจะขออ้างคำพูดของ ดับเบิลยู เซนต์วิดูนัส ผู้รู้ชาวลิทัวเนีย เกี่ยวกับความเชื่อมโยงอันนี้ “เมื่อก่อนชาวลิทัวเนียที่มีอันจะกินจำนวนมาก เคยมีความปรารถนาอยู่ประการหนึ่ง นั่นคือได้เห็นบุตรชายสักคนหนึ่งหรือมากกว่านั้นของพวกเขา เข้าสู่แวดวงอาชีพทางด้านนักบวช”
ภูมิหลังอันผสมคลุกเคล้ากันเช่นนี้ของดอสโตเยฟสกี คือแบบฉบับของชาวรัสเซีย เหมือนดังที่ โจเซฟ สตาลิน ก็มีต้นกำเนิดเป็นชาวจอร์เจีย
รัสเซียเข้าแทรกแซงในจอร์เจียคราวนี้ โดยอ้างเหตุผลการยึดมั่นในหลักการที่ว่า คนที่ถือพาสปอร์ตของรัสเซีย ไม่ว่าจะเป็นคนชนชาติออสซีเชีย, อับคาเซีย, ไบโลรัสเซีย, หรือ ยูเครน ก็คือชาวรัสเซีย ความอยู่รอดของรัสเซียนั้นไม่ได้พึ่งพาอะไรนักกับอัตราการเกิด หรือกับการอพยพเข้ามา หรือกระทั่งกับลู่ทางในการผนวกดินแดน ทว่าขึ้นอยู่กับความอยู่รอดของหลักการดังกล่าวนี้ อันเป็นสิ่งที่ได้สร้างรัสเซียขึ้นมาตั้งแต่ต้นแล้ว นี่เองเป็นเหตุผลว่าทำไมปูตินจึงไม่สามารถที่จะทอดทิ้งผู้คนที่ถือพาสปอร์ตรัสเซียกระหย่อมหนึ่งในภูมิภาคคอเคซัส การที่ประวัติศาสตร์รัสเซียช่างเต็มไปด้วยโศกนาฏกรรม รวมทั้งหลักการสร้างชาติของเขาก็ช่างทารุณโหดร้ายและบางครั้งก็ถึงขั้นไร้มนุษยธรรมนั้น นั่นต้องถือเป็นอีกประเด็นหนึ่งต่างหากออกไป ทว่ารัสเซียมีความสำคัญมากเสียจนกระทั่งโศกนาฏกรรมของเขาก็จะกลายเป็นโศกนาฏกรรมของเราไปด้วย เว้นแต่ว่าจะสามารถเบี่ยงเบนความหายนะเช่นนี้ได้
สถานที่ซึ่งจะสามารถเบี่ยงเบนโศกนาฏกรรมนี้ก็คือในยูเครน รัสเซียจะไม่ยินยอมให้ยูเครนปลิวลอยไปอยู่กับฝ่ายตะวันตก ประเทศแห่งนี้ที่ไม่เคยมีฐานะดำรงความเป็นชาติอย่างอิสระเอาเลย ก่อนหน้าการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ควรที่จะถูกฝ่ายตะวันตกหยิบยกขึ้นมาเป็นภาพโฆษณาเรื่องสิทธิที่จะกำหนดใจตนเองของชาติๆ หนึ่งหรือไม่ นั่นเป็นคำถามที่ต้องถือว่าเป็นอีกประเด็นหนึ่ง แต่สำหรับฝ่ายตะวันตกแล้ว มันมีหนทางเลือกอยู่ 2 ทาง นั่นคือ ลากเส้นรอบๆ ยูเครนห้ามรัสเซียเข้ามาแตะต้อง หรือไม่ก็เอายูเครนไปแลกเปลี่ยนให้ได้ชาวรัสเซียมา เพื่ออะไรบางอย่างที่ทรงความสำคัญยิ่งกว่า
ข้อเสนอของผมเกี่ยวกับสิ่งที่ควรขอให้รัสเซียกระทำนั้นมีง่ายๆ นั่นคือ รัสเซียต้องช่วยเหลือในการสกัดกั้นการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ และสกัดกั้นการก่อการร้ายในตะวันออกกลาง เรื่องเช่นนี้ย่อมมีความสำคัญสำหรับฝ่ายตะวันตก มากมายใหญ่หลวงกว่าเรื่องสิทธิการกำหนดใจตนเองอันดูคลุมเครือของยูเครน ฝ่ายตะวันตกควรวางตัวให้ดีที่สุดในการเสแสร้งทำเป็นว่า การปฏิวัติ “สีส้ม” เมื่อปี 2004 และ 2005 นั้นไม่เคยเกิดขึ้นเลย และทำให้เกิดความมั่นใจว่า รัสเซียจะให้การสนับสนุนในประเด็นปัญหานิวเคลียร์อิหร่าน ตลอดจนเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน เพื่อเป็นการตอบแทนการที่ฝ่ายตะวันตกเข้าอกเข้าใจสิ่งที่รัสเซียต้องกระทำเพื่อความอยู่รอดในดินแดนเพื่อนบ้านใกล้เคียง ใครก็ตามที่เห็นว่าความคิดเช่นนี้เป็นมุมมองแบบลัทธิเกลียดชังมนุษย์ (cynicism) ควรที่จะลองไปใช้อยู่ชีวิตอยู่ในเมืองเคียฟ (เมืองหลวงของยูเครน) สักอาทิตย์หนึ่ง
อันที่จริง รัสเซียควรต้องหวาดกลัวอิหร่านที่ติดอาวุธนิวเคลียร์ มากยิ่งกว่าที่สหรัฐฯจะต้องหวั่นวิตกด้วยซ้ำ เพราะรัฐมุสลิมก้าวร้าวที่อยู่ประชิดตรงพรมแดนของตนเลย ย่อมสามารถทำลายความพยายามของมอสโกในการใช้กระบวนการแปรให้กลายเป็นรัสเซีย กับดินแดนเอเชียกลาง ในเรื่องนี้แล้ว ผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ของรัสเซียไม่ได้มีอะไรขัดแย้งกับของสหรัฐฯ, จีน, หรืออินเดียเลย แน่นอนว่ามีการแข่งขันกันในระดับหนึ่งในเรื่องการช่วงชิงทรัพยากรพลังงาน ทว่าปรปักษ์ทางการพาณิชย์ไม่จำเป็นว่าจะต้องกลายเป็นศัตรูในทางยุทธศาสตร์
หากวอชิงตันเลือกที่จะทำให้รัสเซียกลายเป็นปีศาจร้าย สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นก็คือ รัสเซียจะกลายเป็นตัวก่อกวนบ่อนทำลาย ที่จะรังควาญผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ของอเมริกันโดยภาพรวม และใช้ปัญหาอิหร่านมาคอยกระตุกหางของอเมริกา เรื่องนี้ถือเป็นความเสี่ยงที่มีอันตรายร้ายแรงจริงๆ เพราะเครื่องมือประการหนึ่งซึ่งระบอบการปกครองนอกกฎหมายทั้งหลายอาจนำมาใช้สร้างภัยคุกคามร้ายแรงต่อมหาอำนาจยิ่งใหญ่ทั้งหลาย ย่อมได้แก่การแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ รัสเซียกำลังเผชิญปัญหาที่ไม่ใช่แค่เป็นเรื่องของความสะดวกสบาย แต่เป็นเรื่องการดำรงคงอยู่ให้ได้ และย่อมจะทำทุกอย่างที่สามารถทำได้เพื่อให้มีช่องทางในการเดินแต้มคู หากฝ่ายตะวันตกคิดหาทาง “ลงโทษ” มอสโก สำหรับการกระทำของเขาในจอร์เจีย
เรื่องน่าเย้ยหยันประการหนึ่งของวิกฤตคราวนี้ก็คือ จากการที่พวกอนุรักษนิยมใหม่ (neo-conservative) ในกรุงวอชิงตัน เรียกร้องให้ใช้จุดยืนอันแข็งกร้าวต่อรัสเซียนั้น อาจจะกลายเป็นการสร้างความเสียหายให้แก่ผลประโยชน์ด้านความมั่นคงปลอดภัยของอิสราเอล อย่างลึกล้ำยิ่งกว่าพวกกล่าวร้ายอิสราเอลใดๆ ในแวดวงการเมืองอเมริกันได้เคยกระทำมาเสียอีก มันไม่ได้เป็นกฎตายตัวว่าพวกอนุรักษนิยมใหม่จะต้องเป็นชาวยิว แต่จริงๆ แล้วพวกเขาจำนวนมากก็เป็นชาวยิว ซึ่งมีความเป็นห่วงอย่างลึกซึ้งต่อความมั่นคงปลอดภัยของอิสราเอล –เหมือนดังผู้เขียนคนนี้นี่แหละ หากอเมริกาเปลี่ยนให้รัสเซียกลายเป็นศัตรูในทางยุทธศาสตร์ โอกาสความน่าที่จะอยู่รอดได้ของอิสราเอลก็จะหดหายไปเยอะทีเดียว
สเปรงเกลอร์ เป็นคอลัมนิสต์ประจำของเอเชียไทมส์ออนไลน์