(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Energy reality starts to bite
By Dilip Hiro
16/07/2008
น้ำมันแพงช็อกโลกครั้งที่ 4 ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่แล้วจวบถึงช่วงปัจจุบัน มิได้ละม้ายใกล้เคียงกับเมื่อ 3 ครั้งที่แล้ว และจะไม่ยอมเลิกราจากไปในเร็ววันอย่างแน่นอน ในระยะกลางนี้ โลกจำจะต้องพึ่งพิงอยู่กับพลังงาน 2 รูปแบบหลักซึ่งล้วนเป็นพลังงานเจ้าปัญหากันทั้งคู่ นั่นคือพลังงานจากถ่านหินที่ “ชะล้างแล้ว” กับพลังงานจากนิวเคลียร์ จีนกับอินเดียไม่ยอมรับหน้าที่ผู้นำในเรื่องนี้แน่ ภารกิจจึงจะตกอยู่กับบรรดาผู้มีอันจะรับประทานในซีกโลกตะวันตก
(หมายเหตุ: ข้อเขียนชิ้นนี้ออกมาก่อนวันอังคารที่ 15 ซึ่งเป็นวันที่ราคาน้ำมันถอยฮวบลง - คิดเป็นมูลค่าลดลงต่อวันที่มากที่สุดในรอบ 17 ปี กล่าวคือ น้ำมันดิบไลต์สวีตครูดดิ่งไปทั้งสิ้น 6.44 ดอลลาร์ หรือราว 4.4% ปิดตลาดไนเม็กซ์ ณ ระดับ 138.74 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากนั้นราคาก็ยังถอยลงอีก จนอยู่ที่ระดับ 127.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลตอนปิดวันอังคารที่ 22)
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
การพุ่งขึ้นอย่างบดขยี้ของราคาน้ำมันจะยุติลงเมื่อไร ในเมื่อบัดนี้ราคาหน้าปั๊มไต่ขึ้นแตะระดับเฉลี่ยที่ 4.10 ดอลลาร์ต่อแกลลอนแล้ว คำถามนี้เกาะกุมความคิดของผู้ขับขี่ยวดยานชาวอเมริกันในเวลาซึ่งพวกเขาวางแผนท่องเที่ยวพักผ่อน หรือกระทั่งแค่คิดทบทวนเส้นทางสัญจรในแต่ละวัน คำตอบที่คิดได้ก็แค่ “ไม่ใช่ในเร็วๆ นี้หรอก”
ขณะที่ยังไม่มีสัญญาณใดที่จะชี้บ่งการหักเหของราคาน้ำมันที่พรวดสูงขึ้นเรื่อยๆ จนขึ้นไปแล้วมากกว่าเท่าตัวภายในเวลาหนึ่งปี ไปทำสถิติสูงสุดเหนือระดับ 147 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อไม่นานที่ผ่านมา ปัญหาน้ำมันแพงช็อกโลกที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 3 ทศวรรษครึ่งแต่เป็นครั้งที่ร้ายแรงที่สุดที่เคยเป็นมา ได้แสดงให้เป็นชัดในทุกแง่มุมว่ามันจะดำเนินต่อเนื่องไปเรื่อยๆ อย่างยืดเยื้อ
วิกฤตน้ำมันแพงสนั่นโลกทั้ง 3 ครั้งก่อนหน้านี้ ได้แก่ ในปี 1973-74 ปี 1980 และปี 1990-91 ล้วนมีต้นตอจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไปขัดขวางการผลิตน้ำมันภายในภูมิภาคตะวันออกกลาง วิกฤตที่ส่งผลให้อุปทานน้ำมันป้อนโลกถูกกระทบรุนแรงดังกล่าวไล่เรียงได้ตั้งแต่กรณีสงครามอาหรับ-อิสราเอล, การปฏิวัติในอิหร่าน และการรุกรานของอิรักต่อคูเวต วิกฤตราคาน้ำมันจากเหตุการณ์เหล่านั้นจบลงได้เมื่อมีการฟื้นฟูสันติภาพ เมื่อสถานการณ์หลังการปฏิวัติกลับเข้าที่เข้าทาง และเมื่อฝ่ายรุกรานถูกขับออกไปสำเร็จ ทำให้อุปทานน้ำมันที่ผลิตออกจากตะวันออกกลางกลับคืนสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม วิกฤตน้ำมันแพงครั้งที่ 4 นี้ เกิดจากปัญหาที่แตกต่างไปจากเดิมทั้งหมด
**ไม่มีครั้งใดเหมือนเช่นครั้งนี้**
การพุ่งพรวดของราคาน้ำมันในรอบนี้มิได้เหมือนกับครั้งใดๆ ในอดีตที่ผ่านมา มันมีสาเหตุหลักๆ มาจากอุปสงค์ของโลกต่อน้ำมันทวีตัวขึ้นและดูดซับเอาอุปทานที่มีอยู่ให้หดหายไปเกือบหมด ยิ่งกว่านั้น ยังไม่มีวี่แววให้เห็นในระยะสั้นๆ นี้ว่าจะมีอุปทานเพิ่มขึ้นมาตอบรับได้กับอุปสงค์อันมหาศาล ในการนี้ สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์อย่างปิโตรเลียม ซึ่งเป็นปัจจัยรองรับชีวิตยุคใหม่ไปเสียทุกแง่มุม – จากเชื้อเพลิงถึงปุ๋ย จากสีถึงพลาสติก จากยางสนถึงยางแผ่น- จุดสมดุลที่รับประกันความปลอดภัยในด้านอุปทานถูกตั้งไว้ที่ระดับการสำรองน้ำมัน 5% ของปริมาณน้ำมันที่ซื้อขายหมุนเวียนในแต่ละปี
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ อุตสาหกรรมน้ำมันมีศักยภาพในการสำรองน้ำมันอยู่ที่ระดับน้อยกว่า 2% ตกต่ำลงมากจากที่เคยสามารถเก็บสำรองน้ำมันได้เกินกว่า 6% เมื่อปี 2002 ผลที่ตามมาก็คือ ราคาน้ำมันจะกระชากตัวโต้ตอบทันทีกับทุกข่าวร้ายของทุกแหล่งข่าว ไม่ว่าจะเป็นข่าวโจมตีอิหร่านที่ออกมาจากรัฐมนตรีอิสราเอล ข่าวไฟไหม้แท่นขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่งนอร์เวย์ หรือข่าวฝ่ายกบฏในไนจีเรียโจมตีโรงงานน้ำมัน
นอกจากนั้น เบื้องหลังของการทะยานตัวด้านราคาน้ำมันในปัจจุบัน ยังมีปัจจัยอื่นๆ แผลงฤทธิ์อยู่ด้วย เช่น วิกฤตในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยกลุ่มซับไพร์มซึ่งลุกโหมขึ้นเล่นงานตลาดการเงินเมื่อเกือบหนึ่งปีที่แล้ว สามารถฉุดให้มูลค่าของหุ้นแบงก์และหุ้นบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวโยงอยู่กับแบงก์ ต้องร่วงดิ่งอย่างครึกโครม ในเวลาเดียวกัน หลักทรัพย์อื่นๆ ที่ทรุดต่ำลงด้วยกันก็ผลักดันให้พวกผู้จัดการกองทุนเพื่อการลงทุนและพวกนักเก็งกำไรทั้งหลายเบนทิศทางของเม็ดเงินไปยังตลาดอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดโภคภัณฑ์ทั้งหลาย เช่น ตลาดทอง และตลาดน้ำมัน ดังนั้น ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้จึงทะยานสูงขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้น ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยที่ยิ่งหนุนให้การลงทุนเทกันไปในตลาดโภคภัณฑ์ เพื่อค้ำประกันความเสียหายจากเงินดอลลาร์อ่อนค่า
วิกฤตน้ำมันแพงเขย่าโลกในครั้งก่อนๆ เคยพาให้เหล่าชาตินอกกลุ่มโอเปกเร่งสำรวจน้ำมันและขยายการขุดเจาะน้ำมันมาเพิ่มอุปทาน อย่างไรก็ตาม แหล่งน้ำมันสำรองของชาติเหล่านี้ก็มีไม่มาก รวมกันได้แค่หนึ่งในสามของโอเปกซึ่งมีสัดส่วนอยู่ 75% ของแหล่งน้ำมันสำรองโลก ในท้ายศตวรรษนี้ ประเทศนอกกลุ่มโอเปกจะดึงปริมาณน้ำมันสำรองออกมาใช้อย่างมหาศาลกระทั่งว่า ยอดผลผลิตรวมของประเทศเหล่านี้จะถดถอยฮวบลงเกินกว่าจะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ได้
เพียงแค่กวาดตามองตารางการผลิตน้ำมันในรายงานประจำปีว่าด้วยสถิติพลังงานโลกที่ตีพิมพ์โดยกลุ่มบีพี ผู้ผลิตปิโตรเลียมรายยักษ์ของโลก (BP Statistical Review of World Energy) ก็เห็นได้ว่าประเทศนอกกลุ่มโอเปกต่างมียอดการผลิตน้ำมันลดลง ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ บรูไน เดนมาร์ก เม็กซิโก นอร์เวย์ โอมาน ตรินิแดด หรือเยเมน นอกจากนั้น ในกรณีของสหรัฐฯ ผลผลิตน้ำมันในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมาได้ลดต่ำลงจากระดับ 8.27 ล้านบาร์เรลต่อวัน เหลือ 6.88 ล้านบาร์เรลต่อวัน
เมื่อพิจารณาการใช้ประโยชน์จากทรายน้ำมันของแคนาดาซึ่งเป็นที่โอ่อวดกันมาก และคาดหวังกันนักว่าจะมาเติมเต็มให้แก่ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันของโลก พบว่าสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตน้ำมันของแคนาดาได้ไม่มาก คือ จากระดับ 3.04 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็น 3.31 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเท่ากับว่าเพิ่มขึ้นมาแค่ 10% ในช่วง 2 ปีที่แล้วมา
ในทศวรรษ 1990 ปัญหาอุปทานน้ำมันล้นเกินและน้ำมันมีราคาถูก ทำให้มีการสำรวจแหล่งน้ำมันใหม่ๆ ลดน้อยลงโดยรวม นอกจากนั้น การลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของโรงกลั่นน้ำมันก็ถูกมองว่าไม่คุ้มเงิน เมื่อล่วงมาถึงปัจจุบัน ปัจจัยทั้งสองนี้จึงกลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางการเร่งขยายปริมาณอุปทานของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมประเภทต่างๆ สำหรับในอนาคตอันใกล้นี้
ยิ่งกว่านั้น แหล่งไฮโดรคาร์บอนใหม่ๆ ถูกพบมากขึ้นเรื่อยๆ ในย่านที่เป็นเขตน้ำลึกซึ่งต้องใช้ความพากเพียรอย่างยิ่งในการเข้าไปใช้ประโยชน์ ปัญหาการขาดแคลนเครื่องมือเครื่องจักรอุปกรณ์เฉพาะทางเพื่อการสกัดน้ำมันจากแหล่งสำรองพลังงานใหม่ๆ ดังกล่าวกลายเป็นปัญหาคอขวดสำหรับการผลิตน้ำมันจากพื้นที่นอกชายฝั่งในอนาคต เช่น ฝูงเรือขุดเจาะน้ำมันที่มีอุปกรณ์เฉพาะทางถูกจองใช้งานเต็มไปจนถึงปี 2013 ขณะที่ราคาค่าต่อเรือแบบนี้พุ่งทะยานขึ้นไปแล้วถึง 5 เท่าตัวแตะระดับ 500 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว ส่วนต้นทุนของวัสดุสำคัญ เช่น เหล็กกล้าทำแท่นและท่อ ก็ถีบตัวสูงอย่างมากด้วย ใช่แต่เท่านั้น อัตราค่าจ้างเงินเดือนสำหรับแรงงานมีฝีมือในอุตสาหกรรมนี้ก็ไต่ระดับขึ้นสูงลิ่วด้วย ดังนั้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า จากที่เคยใช้เงินจ้างแท่นขุดเจาะน้ำลึกที่ราคา 150,000 ดอลลาร์เมื่อปี 2002 มาบัดนี้ สนนราคาได้ทะยานขึ้นไป 4 เท่าตัวแล้ว
**อุปทานนิ่งสนิท อุปสงค์พุ่งลิ่ว**
ขณะที่อุปทานน้ำมันนิ่งทรงตัวสนิท อุปสงค์ต่อน้ำมันทั่วโลกมิได้แสดงสัญญาณใดๆ ว่าจะแผ่วบางลงเลย วิธีเดียวที่จะลดความร้อนแรงของตลาดพลังงานในขณะนี้จะต้องไปลดการบริโภค ที่ผ่านมาการที่ราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลพุ่งแพงขึ้นนั้น การบริโภคน้ำมันในอเมริกาเหนือและในยุโรปตะวันตกเริ่มลดลงแล้ว เช่น การบริโภคเบนซินในสหรัฐฯตกลงมา 3% ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2008 เมื่อเทียบกับในหนึ่งปีก่อนหน้า
เมื่อมาถึงประเด็นการสงวนรักษาพลังงาน โอกาสที่จะสร้างการอดออมภายในสังคมอันมั่งคั่งของโลกตะวันตกมักมีพื้นที่กว้างขวางกว่าภูมิภาคอื่นใดในโลก ทั้งนี้เพราะคนอเมริกันโดยเฉลี่ยหนึ่งคนใช้น้ำมันมากกว่าคนอังกฤษหนึ่งเท่าตัว ขณะที่คนอังกฤษก็ใช้มากกว่าคนรัสเซีย 2 เท่าตัว และคนรัสเซียใช้มากกว่าคนอินเดียถึง 8 เท่าตัว ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องที่แสดงความใจร้ายมากๆ ที่นายแซม โบดแมน รัฐมนตรีพลังงานของสหรัฐฯ ไปเพ่งเล็งเอากับแนวทางที่รัฐบาลจีนและรัฐบาลอินเดียจ่ายเงินอุดหนุนแก่ผลิตภัณฑ์น้ำมันเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชน ทังนี้ นายโบดแมนไปเร่งเร้าให้รัฐมนตรีพลังงานของชาติทั้งสองตัดเงินอุดหนุนเพื่อ “ลดอุปสงค์”
จริงอยู่ที่ว่าจีนและอินเดียซึ่งมีประชากรรวมกันราวสองในห้าของประชากรโลก เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญมากในการขยายตัวของอุปสงค์ต่อพลังงานโลก แต่ต้องไม่ลืมข้อเท็จจริงที่ไม่อาจโต้แย้งได้ ว่าการเพิ่มการบริโภคพลังงานต่อหัวในประเทศทั้งสองนี้จากระดับที่ต่ำอย่างสุดๆ ในปัจจุบันขึ้นมาบ้างนั้น รัฐบาลของจีนและอินเดียท่านหวังว่าจะช่วยยกระดับผู้คนหลายร้อยล้านชีวิตออกมาจากความยากจนอันแสนจะข้นแค้นได้
ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศอย่างอินเดีย ครัวเรือนครึ่งประเทศยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ดังนั้นตะเกียงเจ้าพายุที่ใช้น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงจึงเป็นของจำเป็นพื้นฐาน การจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อพยุงราคาน้ำมันก๊าด (ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงสำคัญในการหุงต้มด้วย) จึงเป็นการช่วยคนยากจนหลายร้อยล้านชีวิต การไปตัดหรือเลิกเงินอุดหนุนน้ำมันก๊าดย่อมเป็นการซ้ำเติมปัญหาความยากจน
ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อพูดถึงการสงวนรักษาพลังงาน จุดสนใจหลัก ณ ขณะนี้ควรมุ่งไปที่เหล่า 30 ชาติกลุ่มโออีซีดี หรือองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ อันเป็นกลุ่มประเทศร่ำรวยที่สุดของโลกซึ่งบริโภคน้ำมันรวมๆ กันมหาศาลในระดับที่เกือบจะเท่ากับ 3 ใน 5 ในการนี้ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่แสดงตัวอย่างอันน่าเจริญรอยตามยิ่ง
**บทบาทของญี่ปุ่นที่น่าเอาเป็นเยี่ยงอย่าง**
เมื่อคำนึงถึงการสงวนรักษาพลังงาน ญี่ปุ่นได้สร้างตัวแบบที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากสหรัฐฯ ลองดูกันว่ามีการดำเนินการอะไรบ้างในสองประเทศนี้ นับจากที่เกิดวิกฤตน้ำมันแพงสนั่นโลกครั้งแรกเมื่อกลางทศวรรษ 1970 ตอนที่ระดับราคาน้ำมันพุ่งขึ้นไป 4 เท่าตัว
ในช่วงแรก การทะยานแรงของราคาน้ำมันนำไปสู่การผลักดันให้เพิ่มประสิทธิภาพของเชื้อเพลิงขึ้นในสหรัฐ, ยุโรปตะวันตก และญี่ปุ่น นอกจากนั้น ยังส่งเสริมแนวคืดที่จะพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนต่างๆ ที่จะมาเป็นพลังงานทดแทนพวกปิโตรเลียม นับจากนั้นมา ญี่ปุ่นเป็นชาติที่ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไม่ละเลิกโดยเดินนโยบายลดการใช้ปิโตรเลียมให้สำเร็จในระยะยาว ในขณะที่สหรัฐฯ แสดงท่าทีลังเล แล้วก็เลิกสนใจเรื่องนี้ไปเลย
ในยุคของประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด และประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ สหรัฐฯปรับปรุงประสิทธิภาพเชื้อเพลิงในยานยนต์ได้ปานกลางผ่านการออกข้อบังคับเป็นกฎหมายระดับประเทศ นอกจากนั้น ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ประกาศใช้งบ 100 ล้านดอลลาร์ทำโครงการวิจัยและพัฒนาในระดับประเทศเพื่อพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ แถมยังมีการติดตั้งเครื่องทำความร้อนด้วยน้ำพลังแสงอาทิตย์บนหลังคาของทำเนียบขาวเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการเอาจริงกับเรื่องพลังงานทดแทนด้วย
ในเวลาต่อมาซึ่งเป็นยุคของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ราคาน้ำมันทรุดต่ำลงอย่างมากมาย นโยบายทั้งหลายเกี่ยวกับประสิทธิภาพพลังงานและการสงวนรักษาพลังงาน ตลอดจนการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนต่างๆ ก็พลอยตกต่ำไปด้วยกัน หนำซ้ำ เรแกนสั่งให้ถอดแผงพลังงานแสงอาทิตย์ออกจากทำเนียบขาวด้วย
ภาคเอกชนก็เช่นกัน มีการหั่นการลงทุนในเรื่องประสิทธิภาพพลังงานลงครึ่งหนึ่งโดยทันที หลังจากนั้น ประธานาธิบดีจอร์จ บุช (ผู้พ่อ) ซึ่งเป็นคนในวงการน้ำมัน เดินตามแนวทางของเรแกน พอมาถึงประธานาธิบดีบุช (ผู้ลูก) ซึ่งมีรองประธานาธิบดีชื่อดิก เชนีย์ อดีตซีอีโอของบริษัทฮัลลิเบอร์ตัน ผู้ให้บริการด้านการพลังงาน ก็มิได้ฝึกปรือให้คนอเมริกาละเลิกจากการ “เสพติดน้ำมัน”
แม้กระทั่งปัจจุบันนี้ แทนที่จะกระตุ้นให้คนอเมริกันหันมาลดการใช้น้ำมัน (โดยเพิ่มความหนักแน่นแก่การกระตุ้น ด้วยเครื่องมือด้านกฎหมายเล็กน้อย) กลับกลายเป็นว่านักการเมืองทั้งสองพรรคพากันไปโทษว่าราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลแพงกระฉูดขึ้นด้วยฝีมือของพวก “นักเก็งกำไร” โดยทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ว่า เส้นแบ่งระหว่าง “นักเก็งกำไร” กับ “นักลงทุน” นั้นบางเฉียบเพียงใด
* (อ่านต่อ ตอน 2 ดูว่าฝั่งญี่ปุ่นเอาจริงกับการแก้ปัญหาวิกฤตน้ำมันแพงได้แตกต่างเหนือชั้นกว่าสหรัฐฯ อย่างไรบ้าง) *
ดิลิป ฮิโร เขียนหนังสือเกี่ยวกับตะวันออกกลางมามากมาย ผลงานหนังสือที่ใหม่ที่สุดของเขาคือ Blood of the Earth: The Battle for the World's Vanishing Oil Resources (สำนักพิมพ์ Nation Books) นั่นเป็นหนังสือเชิงประวัติศาสตร์อันบรรเจิด ว่าด้วยแนวทางที่น้ำมันได้ปฏิวัติโลกในศตวรรษที่แล้ว ทั้งในแง่ของชีวิตผู้คน สงคราม และการเมืองโลก นอกจากนั้น หนังสือเล่มนี้ยังเล่าถึงทางเลือกที่จะมาทดแทนน้ำมัน ซึ่งรวมถึงแหล่งพลังงานหมุนเวียนทั้งหลาย
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
สัจธรรมน้ำมันแพงเริ่มบทโหดของจริง (ตอนจบ)
Energy reality starts to bite
By Dilip Hiro
16/07/2008
น้ำมันแพงช็อกโลกครั้งที่ 4 ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่แล้วจวบถึงช่วงปัจจุบัน มิได้ละม้ายใกล้เคียงกับเมื่อ 3 ครั้งที่แล้ว และจะไม่ยอมเลิกราจากไปในเร็ววันอย่างแน่นอน ในระยะกลางนี้ โลกจำจะต้องพึ่งพิงอยู่กับพลังงาน 2 รูปแบบหลักซึ่งล้วนเป็นพลังงานเจ้าปัญหากันทั้งคู่ นั่นคือพลังงานจากถ่านหินที่ “ชะล้างแล้ว” กับพลังงานจากนิวเคลียร์ จีนกับอินเดียไม่ยอมรับหน้าที่ผู้นำในเรื่องนี้แน่ ภารกิจจึงจะตกอยู่กับบรรดาผู้มีอันจะรับประทานในซีกโลกตะวันตก
(หมายเหตุ: ข้อเขียนชิ้นนี้ออกมาก่อนวันอังคารที่ 15 ซึ่งเป็นวันที่ราคาน้ำมันถอยฮวบลง - คิดเป็นมูลค่าลดลงต่อวันที่มากที่สุดในรอบ 17 ปี กล่าวคือ น้ำมันดิบไลต์สวีตครูดดิ่งไปทั้งสิ้น 6.44 ดอลลาร์ หรือราว 4.4% ปิดตลาดไนเม็กซ์ ณ ระดับ 138.74 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากนั้นราคาก็ยังถอยลงอีก จนอยู่ที่ระดับ 127.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลตอนปิดวันอังคารที่ 22)
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
การพุ่งขึ้นอย่างบดขยี้ของราคาน้ำมันจะยุติลงเมื่อไร ในเมื่อบัดนี้ราคาหน้าปั๊มไต่ขึ้นแตะระดับเฉลี่ยที่ 4.10 ดอลลาร์ต่อแกลลอนแล้ว คำถามนี้เกาะกุมความคิดของผู้ขับขี่ยวดยานชาวอเมริกันในเวลาซึ่งพวกเขาวางแผนท่องเที่ยวพักผ่อน หรือกระทั่งแค่คิดทบทวนเส้นทางสัญจรในแต่ละวัน คำตอบที่คิดได้ก็แค่ “ไม่ใช่ในเร็วๆ นี้หรอก”
ขณะที่ยังไม่มีสัญญาณใดที่จะชี้บ่งการหักเหของราคาน้ำมันที่พรวดสูงขึ้นเรื่อยๆ จนขึ้นไปแล้วมากกว่าเท่าตัวภายในเวลาหนึ่งปี ไปทำสถิติสูงสุดเหนือระดับ 147 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อไม่นานที่ผ่านมา ปัญหาน้ำมันแพงช็อกโลกที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 3 ทศวรรษครึ่งแต่เป็นครั้งที่ร้ายแรงที่สุดที่เคยเป็นมา ได้แสดงให้เป็นชัดในทุกแง่มุมว่ามันจะดำเนินต่อเนื่องไปเรื่อยๆ อย่างยืดเยื้อ
วิกฤตน้ำมันแพงสนั่นโลกทั้ง 3 ครั้งก่อนหน้านี้ ได้แก่ ในปี 1973-74 ปี 1980 และปี 1990-91 ล้วนมีต้นตอจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไปขัดขวางการผลิตน้ำมันภายในภูมิภาคตะวันออกกลาง วิกฤตที่ส่งผลให้อุปทานน้ำมันป้อนโลกถูกกระทบรุนแรงดังกล่าวไล่เรียงได้ตั้งแต่กรณีสงครามอาหรับ-อิสราเอล, การปฏิวัติในอิหร่าน และการรุกรานของอิรักต่อคูเวต วิกฤตราคาน้ำมันจากเหตุการณ์เหล่านั้นจบลงได้เมื่อมีการฟื้นฟูสันติภาพ เมื่อสถานการณ์หลังการปฏิวัติกลับเข้าที่เข้าทาง และเมื่อฝ่ายรุกรานถูกขับออกไปสำเร็จ ทำให้อุปทานน้ำมันที่ผลิตออกจากตะวันออกกลางกลับคืนสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม วิกฤตน้ำมันแพงครั้งที่ 4 นี้ เกิดจากปัญหาที่แตกต่างไปจากเดิมทั้งหมด
**ไม่มีครั้งใดเหมือนเช่นครั้งนี้**
การพุ่งพรวดของราคาน้ำมันในรอบนี้มิได้เหมือนกับครั้งใดๆ ในอดีตที่ผ่านมา มันมีสาเหตุหลักๆ มาจากอุปสงค์ของโลกต่อน้ำมันทวีตัวขึ้นและดูดซับเอาอุปทานที่มีอยู่ให้หดหายไปเกือบหมด ยิ่งกว่านั้น ยังไม่มีวี่แววให้เห็นในระยะสั้นๆ นี้ว่าจะมีอุปทานเพิ่มขึ้นมาตอบรับได้กับอุปสงค์อันมหาศาล ในการนี้ สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์อย่างปิโตรเลียม ซึ่งเป็นปัจจัยรองรับชีวิตยุคใหม่ไปเสียทุกแง่มุม – จากเชื้อเพลิงถึงปุ๋ย จากสีถึงพลาสติก จากยางสนถึงยางแผ่น- จุดสมดุลที่รับประกันความปลอดภัยในด้านอุปทานถูกตั้งไว้ที่ระดับการสำรองน้ำมัน 5% ของปริมาณน้ำมันที่ซื้อขายหมุนเวียนในแต่ละปี
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ อุตสาหกรรมน้ำมันมีศักยภาพในการสำรองน้ำมันอยู่ที่ระดับน้อยกว่า 2% ตกต่ำลงมากจากที่เคยสามารถเก็บสำรองน้ำมันได้เกินกว่า 6% เมื่อปี 2002 ผลที่ตามมาก็คือ ราคาน้ำมันจะกระชากตัวโต้ตอบทันทีกับทุกข่าวร้ายของทุกแหล่งข่าว ไม่ว่าจะเป็นข่าวโจมตีอิหร่านที่ออกมาจากรัฐมนตรีอิสราเอล ข่าวไฟไหม้แท่นขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่งนอร์เวย์ หรือข่าวฝ่ายกบฏในไนจีเรียโจมตีโรงงานน้ำมัน
นอกจากนั้น เบื้องหลังของการทะยานตัวด้านราคาน้ำมันในปัจจุบัน ยังมีปัจจัยอื่นๆ แผลงฤทธิ์อยู่ด้วย เช่น วิกฤตในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยกลุ่มซับไพร์มซึ่งลุกโหมขึ้นเล่นงานตลาดการเงินเมื่อเกือบหนึ่งปีที่แล้ว สามารถฉุดให้มูลค่าของหุ้นแบงก์และหุ้นบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวโยงอยู่กับแบงก์ ต้องร่วงดิ่งอย่างครึกโครม ในเวลาเดียวกัน หลักทรัพย์อื่นๆ ที่ทรุดต่ำลงด้วยกันก็ผลักดันให้พวกผู้จัดการกองทุนเพื่อการลงทุนและพวกนักเก็งกำไรทั้งหลายเบนทิศทางของเม็ดเงินไปยังตลาดอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดโภคภัณฑ์ทั้งหลาย เช่น ตลาดทอง และตลาดน้ำมัน ดังนั้น ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้จึงทะยานสูงขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้น ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยที่ยิ่งหนุนให้การลงทุนเทกันไปในตลาดโภคภัณฑ์ เพื่อค้ำประกันความเสียหายจากเงินดอลลาร์อ่อนค่า
วิกฤตน้ำมันแพงเขย่าโลกในครั้งก่อนๆ เคยพาให้เหล่าชาตินอกกลุ่มโอเปกเร่งสำรวจน้ำมันและขยายการขุดเจาะน้ำมันมาเพิ่มอุปทาน อย่างไรก็ตาม แหล่งน้ำมันสำรองของชาติเหล่านี้ก็มีไม่มาก รวมกันได้แค่หนึ่งในสามของโอเปกซึ่งมีสัดส่วนอยู่ 75% ของแหล่งน้ำมันสำรองโลก ในท้ายศตวรรษนี้ ประเทศนอกกลุ่มโอเปกจะดึงปริมาณน้ำมันสำรองออกมาใช้อย่างมหาศาลกระทั่งว่า ยอดผลผลิตรวมของประเทศเหล่านี้จะถดถอยฮวบลงเกินกว่าจะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ได้
เพียงแค่กวาดตามองตารางการผลิตน้ำมันในรายงานประจำปีว่าด้วยสถิติพลังงานโลกที่ตีพิมพ์โดยกลุ่มบีพี ผู้ผลิตปิโตรเลียมรายยักษ์ของโลก (BP Statistical Review of World Energy) ก็เห็นได้ว่าประเทศนอกกลุ่มโอเปกต่างมียอดการผลิตน้ำมันลดลง ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ บรูไน เดนมาร์ก เม็กซิโก นอร์เวย์ โอมาน ตรินิแดด หรือเยเมน นอกจากนั้น ในกรณีของสหรัฐฯ ผลผลิตน้ำมันในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมาได้ลดต่ำลงจากระดับ 8.27 ล้านบาร์เรลต่อวัน เหลือ 6.88 ล้านบาร์เรลต่อวัน
เมื่อพิจารณาการใช้ประโยชน์จากทรายน้ำมันของแคนาดาซึ่งเป็นที่โอ่อวดกันมาก และคาดหวังกันนักว่าจะมาเติมเต็มให้แก่ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันของโลก พบว่าสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตน้ำมันของแคนาดาได้ไม่มาก คือ จากระดับ 3.04 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็น 3.31 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเท่ากับว่าเพิ่มขึ้นมาแค่ 10% ในช่วง 2 ปีที่แล้วมา
ในทศวรรษ 1990 ปัญหาอุปทานน้ำมันล้นเกินและน้ำมันมีราคาถูก ทำให้มีการสำรวจแหล่งน้ำมันใหม่ๆ ลดน้อยลงโดยรวม นอกจากนั้น การลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของโรงกลั่นน้ำมันก็ถูกมองว่าไม่คุ้มเงิน เมื่อล่วงมาถึงปัจจุบัน ปัจจัยทั้งสองนี้จึงกลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางการเร่งขยายปริมาณอุปทานของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมประเภทต่างๆ สำหรับในอนาคตอันใกล้นี้
ยิ่งกว่านั้น แหล่งไฮโดรคาร์บอนใหม่ๆ ถูกพบมากขึ้นเรื่อยๆ ในย่านที่เป็นเขตน้ำลึกซึ่งต้องใช้ความพากเพียรอย่างยิ่งในการเข้าไปใช้ประโยชน์ ปัญหาการขาดแคลนเครื่องมือเครื่องจักรอุปกรณ์เฉพาะทางเพื่อการสกัดน้ำมันจากแหล่งสำรองพลังงานใหม่ๆ ดังกล่าวกลายเป็นปัญหาคอขวดสำหรับการผลิตน้ำมันจากพื้นที่นอกชายฝั่งในอนาคต เช่น ฝูงเรือขุดเจาะน้ำมันที่มีอุปกรณ์เฉพาะทางถูกจองใช้งานเต็มไปจนถึงปี 2013 ขณะที่ราคาค่าต่อเรือแบบนี้พุ่งทะยานขึ้นไปแล้วถึง 5 เท่าตัวแตะระดับ 500 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว ส่วนต้นทุนของวัสดุสำคัญ เช่น เหล็กกล้าทำแท่นและท่อ ก็ถีบตัวสูงอย่างมากด้วย ใช่แต่เท่านั้น อัตราค่าจ้างเงินเดือนสำหรับแรงงานมีฝีมือในอุตสาหกรรมนี้ก็ไต่ระดับขึ้นสูงลิ่วด้วย ดังนั้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า จากที่เคยใช้เงินจ้างแท่นขุดเจาะน้ำลึกที่ราคา 150,000 ดอลลาร์เมื่อปี 2002 มาบัดนี้ สนนราคาได้ทะยานขึ้นไป 4 เท่าตัวแล้ว
**อุปทานนิ่งสนิท อุปสงค์พุ่งลิ่ว**
ขณะที่อุปทานน้ำมันนิ่งทรงตัวสนิท อุปสงค์ต่อน้ำมันทั่วโลกมิได้แสดงสัญญาณใดๆ ว่าจะแผ่วบางลงเลย วิธีเดียวที่จะลดความร้อนแรงของตลาดพลังงานในขณะนี้จะต้องไปลดการบริโภค ที่ผ่านมาการที่ราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลพุ่งแพงขึ้นนั้น การบริโภคน้ำมันในอเมริกาเหนือและในยุโรปตะวันตกเริ่มลดลงแล้ว เช่น การบริโภคเบนซินในสหรัฐฯตกลงมา 3% ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2008 เมื่อเทียบกับในหนึ่งปีก่อนหน้า
เมื่อมาถึงประเด็นการสงวนรักษาพลังงาน โอกาสที่จะสร้างการอดออมภายในสังคมอันมั่งคั่งของโลกตะวันตกมักมีพื้นที่กว้างขวางกว่าภูมิภาคอื่นใดในโลก ทั้งนี้เพราะคนอเมริกันโดยเฉลี่ยหนึ่งคนใช้น้ำมันมากกว่าคนอังกฤษหนึ่งเท่าตัว ขณะที่คนอังกฤษก็ใช้มากกว่าคนรัสเซีย 2 เท่าตัว และคนรัสเซียใช้มากกว่าคนอินเดียถึง 8 เท่าตัว ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องที่แสดงความใจร้ายมากๆ ที่นายแซม โบดแมน รัฐมนตรีพลังงานของสหรัฐฯ ไปเพ่งเล็งเอากับแนวทางที่รัฐบาลจีนและรัฐบาลอินเดียจ่ายเงินอุดหนุนแก่ผลิตภัณฑ์น้ำมันเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชน ทังนี้ นายโบดแมนไปเร่งเร้าให้รัฐมนตรีพลังงานของชาติทั้งสองตัดเงินอุดหนุนเพื่อ “ลดอุปสงค์”
จริงอยู่ที่ว่าจีนและอินเดียซึ่งมีประชากรรวมกันราวสองในห้าของประชากรโลก เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญมากในการขยายตัวของอุปสงค์ต่อพลังงานโลก แต่ต้องไม่ลืมข้อเท็จจริงที่ไม่อาจโต้แย้งได้ ว่าการเพิ่มการบริโภคพลังงานต่อหัวในประเทศทั้งสองนี้จากระดับที่ต่ำอย่างสุดๆ ในปัจจุบันขึ้นมาบ้างนั้น รัฐบาลของจีนและอินเดียท่านหวังว่าจะช่วยยกระดับผู้คนหลายร้อยล้านชีวิตออกมาจากความยากจนอันแสนจะข้นแค้นได้
ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศอย่างอินเดีย ครัวเรือนครึ่งประเทศยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ดังนั้นตะเกียงเจ้าพายุที่ใช้น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงจึงเป็นของจำเป็นพื้นฐาน การจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อพยุงราคาน้ำมันก๊าด (ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงสำคัญในการหุงต้มด้วย) จึงเป็นการช่วยคนยากจนหลายร้อยล้านชีวิต การไปตัดหรือเลิกเงินอุดหนุนน้ำมันก๊าดย่อมเป็นการซ้ำเติมปัญหาความยากจน
ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อพูดถึงการสงวนรักษาพลังงาน จุดสนใจหลัก ณ ขณะนี้ควรมุ่งไปที่เหล่า 30 ชาติกลุ่มโออีซีดี หรือองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ อันเป็นกลุ่มประเทศร่ำรวยที่สุดของโลกซึ่งบริโภคน้ำมันรวมๆ กันมหาศาลในระดับที่เกือบจะเท่ากับ 3 ใน 5 ในการนี้ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่แสดงตัวอย่างอันน่าเจริญรอยตามยิ่ง
**บทบาทของญี่ปุ่นที่น่าเอาเป็นเยี่ยงอย่าง**
เมื่อคำนึงถึงการสงวนรักษาพลังงาน ญี่ปุ่นได้สร้างตัวแบบที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากสหรัฐฯ ลองดูกันว่ามีการดำเนินการอะไรบ้างในสองประเทศนี้ นับจากที่เกิดวิกฤตน้ำมันแพงสนั่นโลกครั้งแรกเมื่อกลางทศวรรษ 1970 ตอนที่ระดับราคาน้ำมันพุ่งขึ้นไป 4 เท่าตัว
ในช่วงแรก การทะยานแรงของราคาน้ำมันนำไปสู่การผลักดันให้เพิ่มประสิทธิภาพของเชื้อเพลิงขึ้นในสหรัฐ, ยุโรปตะวันตก และญี่ปุ่น นอกจากนั้น ยังส่งเสริมแนวคืดที่จะพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนต่างๆ ที่จะมาเป็นพลังงานทดแทนพวกปิโตรเลียม นับจากนั้นมา ญี่ปุ่นเป็นชาติที่ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไม่ละเลิกโดยเดินนโยบายลดการใช้ปิโตรเลียมให้สำเร็จในระยะยาว ในขณะที่สหรัฐฯ แสดงท่าทีลังเล แล้วก็เลิกสนใจเรื่องนี้ไปเลย
ในยุคของประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด และประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ สหรัฐฯปรับปรุงประสิทธิภาพเชื้อเพลิงในยานยนต์ได้ปานกลางผ่านการออกข้อบังคับเป็นกฎหมายระดับประเทศ นอกจากนั้น ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ประกาศใช้งบ 100 ล้านดอลลาร์ทำโครงการวิจัยและพัฒนาในระดับประเทศเพื่อพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ แถมยังมีการติดตั้งเครื่องทำความร้อนด้วยน้ำพลังแสงอาทิตย์บนหลังคาของทำเนียบขาวเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการเอาจริงกับเรื่องพลังงานทดแทนด้วย
ในเวลาต่อมาซึ่งเป็นยุคของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ราคาน้ำมันทรุดต่ำลงอย่างมากมาย นโยบายทั้งหลายเกี่ยวกับประสิทธิภาพพลังงานและการสงวนรักษาพลังงาน ตลอดจนการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนต่างๆ ก็พลอยตกต่ำไปด้วยกัน หนำซ้ำ เรแกนสั่งให้ถอดแผงพลังงานแสงอาทิตย์ออกจากทำเนียบขาวด้วย
ภาคเอกชนก็เช่นกัน มีการหั่นการลงทุนในเรื่องประสิทธิภาพพลังงานลงครึ่งหนึ่งโดยทันที หลังจากนั้น ประธานาธิบดีจอร์จ บุช (ผู้พ่อ) ซึ่งเป็นคนในวงการน้ำมัน เดินตามแนวทางของเรแกน พอมาถึงประธานาธิบดีบุช (ผู้ลูก) ซึ่งมีรองประธานาธิบดีชื่อดิก เชนีย์ อดีตซีอีโอของบริษัทฮัลลิเบอร์ตัน ผู้ให้บริการด้านการพลังงาน ก็มิได้ฝึกปรือให้คนอเมริกาละเลิกจากการ “เสพติดน้ำมัน”
แม้กระทั่งปัจจุบันนี้ แทนที่จะกระตุ้นให้คนอเมริกันหันมาลดการใช้น้ำมัน (โดยเพิ่มความหนักแน่นแก่การกระตุ้น ด้วยเครื่องมือด้านกฎหมายเล็กน้อย) กลับกลายเป็นว่านักการเมืองทั้งสองพรรคพากันไปโทษว่าราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลแพงกระฉูดขึ้นด้วยฝีมือของพวก “นักเก็งกำไร” โดยทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ว่า เส้นแบ่งระหว่าง “นักเก็งกำไร” กับ “นักลงทุน” นั้นบางเฉียบเพียงใด
* (อ่านต่อ ตอน 2 ดูว่าฝั่งญี่ปุ่นเอาจริงกับการแก้ปัญหาวิกฤตน้ำมันแพงได้แตกต่างเหนือชั้นกว่าสหรัฐฯ อย่างไรบ้าง) *
ดิลิป ฮิโร เขียนหนังสือเกี่ยวกับตะวันออกกลางมามากมาย ผลงานหนังสือที่ใหม่ที่สุดของเขาคือ Blood of the Earth: The Battle for the World's Vanishing Oil Resources (สำนักพิมพ์ Nation Books) นั่นเป็นหนังสือเชิงประวัติศาสตร์อันบรรเจิด ว่าด้วยแนวทางที่น้ำมันได้ปฏิวัติโลกในศตวรรษที่แล้ว ทั้งในแง่ของชีวิตผู้คน สงคราม และการเมืองโลก นอกจากนั้น หนังสือเล่มนี้ยังเล่าถึงทางเลือกที่จะมาทดแทนน้ำมัน ซึ่งรวมถึงแหล่งพลังงานหมุนเวียนทั้งหลาย
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)