(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Energy reality starts to bite
By Dilip Hiro
16/07/2008
น้ำมันแพงช็อกโลกครั้งที่ 4 ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่แล้วจวบถึงช่วงปัจจุบัน มิได้ละม้ายใกล้เคียงกับเมื่อ 3 ครั้งที่แล้ว และจะไม่ยอมเลิกราจากไปในเร็ววันอย่างแน่นอน ในระยะกลางนี้ โลกจำจะต้องพึ่งพิงอยู่กับพลังงาน 2 รูปแบบหลักซึ่งล้วนเป็นพลังงานเจ้าปัญหากันทั้งคู่ นั่นคือพลังงานจากถ่านหินที่ “ชะล้างแล้ว” กับพลังงานจากนิวเคลียร์ จีนกับอินเดียไม่ยอมรับหน้าที่ผู้นำในเรื่องนี้แน่ ภารกิจจึงจะตกอยู่กับบรรดาผู้มีอันจะรับประทานในซีกโลกตะวันตก
*รายงานนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**ดูตัวแบบที่ดีจากญี่ปุ่น**
สำหรับญี่ปุ่นแล้ว ความพยายามแก้ปัญหาวิกฤตน้ำมันแพงดำเนินไปอย่างเอาจริงเอาจิง ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับสหรัฐฯ ทั้งรัฐบาลและภาคเอกชนในญี่ปุ่นต่างมุ่งมั่นอยู่ในแนวทางการสงวนรักษาพลังงานมาตลอดตั้งแต่วิกฤตน้ำมันแพงครั้งแรก ในการนี้ ญี่ปุ่นสามารถรักษาระดับการบริโภคพลังงานโดยรวมต่อปีไว้คงที่ได้ตลอดทศวรรษ 1970 และ 1980 ทั้งๆ ที่พลังการผลิตในประเทศทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังสะท้อนอยู่ในการขยายอัตราขยายตัวของจีดีพีขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงสองทศวรรษดังกล่าว ทุกวันนี้ ในแต่ละ 1 ดอลลาร์ของมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจ ญี่ปุ่นใช้พลังงานน้อยกว่าสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปครึ่งหนึ่ง ยิ่งกว่านั้น ทางการในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นได้บังคับใช้กฎหมายคุมมาตรฐานการสงวนรักษาพลังงานอย่างเข้มงวดในอาคารสร้างใหม่ทุกแห่งอย่างต่อเนื่อง
ในด้านของการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนก็เช่นกัน ญี่ปุ่นสร้างความก้าวหน้าได้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว ตัวอย่างได้แก่ เมื่อถึงปี 2006 ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ได้เกือบครึ่งของการผลิตทั่วโลกทั้งหมด เกินหน้าสหรัฐฯ ไปไกลทีเดียว ทั้งๆ ที่คนอเมริกันนั่นแหละที่เป็นผู้ประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิคอนรายแรก คือนายรัสเซล โอห์ล เซลล์ดังกล่าวเป็นการสร้างแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่สามารถผันแสงแดดมาเป็นพลังงานไฟฟ้า
**แนวทางแก้ปัญหาในระยะกลาง**
น้ำมันที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกนั้น มากกว่าครึ่งเป็นไปเพื่อการสัญจร ในยุคที่เราก้าวออกมาจากศตวรรษที่ 20 นั้น แม้ว่าเราจะถูกแวดล้อมไปแต่ด้วยรถยนต์หรือรถบรรทุกที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) แต่ก็ยังมีรถที่ใช้เทคโนโลยีอื่น เช่นเครื่องยนต์จากพลังงานไอน้ำ หรือพลังงานแบตเตอรี
บัดนี้ ทางรอดของเราพึ่งอยู่กับการค้นหาหนทางย้อนกลับไปในยุคก่อน ICE ขณะนี้ มันเป็นบทบาทหน้าที่ของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในชาติร่ำรวย ที่จะเร่งกระบวนการเลิกร้างออกจากยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน รถยนต์แห่งอนาคตสามารถรับพลังงานจากแบตเตอรี หรือเซลล์ไฮโดรเจน หรือแผงพลังงานแสงอาทิตย์ – หรือกระทั่งพลังงานที่รวมทุกพลังงานดังกล่าวไว้ด้วยกัน
โดยทั่วๆ ไป บริษัทญี่ปุ่นเป็นแนวหน้าในการทำวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โตโยต้าซึ่งเป็นรายแรกของโลกที่นำแนวคิดรถไฮบริดมาใช้ในปี 1995 ได้รวมแบตเตอรีเข้าไว้ด้วยกันกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน และเริ่มผลิตออกขายเป็นการทั่วไปในช่วงไม่กี่ปีหลังมานี้ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จของเครื่องยนต์ไฮบริด
ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ฮอนด้าจัดตั้งสายการผลิตรถยนต์พลังงานไฮโดรเจนแล้ว คือรุ่น FCX Clarity รถรุ่นนี้ซึ่งติดตั้งถังบรรจุไฮโดรเจนเหลว สามารถเดินทางได้ไกล 448 กิโลเมตร แต่มันจะได้รับการผลิตเพื่อวางตลาดทั่วไปได้ก็ต่อเมื่อมีการก่อสร้างสถานีเติมไฮโดรเจนเหลวให้เติมเชื้อเพลิงได้อย่างสะดวกในญี่ปุ่นและในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งนั่นย่อมต้องใช้เวลาไม่ใช่น้อย ที่ผ่านมา มีการก่อสร้างสถานีเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนแค่ 13 แห่งในพื้นที่ย่านโตเกียว โดยที่ทางการญี่ปุ่นให้การสนับสนุนด้านเงินทุน ในขณะนี้ ฮอนด้าซึ่งตระหนักดีถึงภาระต้นทุนการผลิตอันมหาศาล ได้ใช้เทคนิคการตลาดเบื้องต้นคือ การให้เช่าซื้อรถรุ่น FXC Clarity ณ อัตราเพียง 600 ดอลลาร์ต่อเดือนเท่านั้น
ค่ายรถยนต์อีกค่ายหนึ่งของญี่ปุ่นคือ มาสด้า นำเสนอรถไฮบริดที่ใช้ได้ทั้งเซลล์ไฮโดรเจนและเครื่องยนต์สันดาปภายใน
ขณะที่การผลิตรถยนต์ที่ไม่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน เริ่มโตเร็วและไปแรงอยู่ในประเทศร่ำรวยทั้งหลาย ต้นทุนการผลิตจะค่อยๆ ลดต่ำลง รถรุ่นต่างๆ เหล่านี้จะไปขายดีในตลาดโตเร็ว (แต่ค่อนข้างยากจน) เช่น ตลาดจีน และตลาดอินเดีย
**ทางเลือกสำหรับระยะกลาง: พลังงานนิวเคลียร์**
นอกเหนือจากบทบาทด้านการคมนาคมขนส่งแล้ว น้ำมันยังเป็นแหล่งเชื้อเพลิงสำคัญสำหรับโรงไฟฟ้า ดังนั้น ในเมื่อกระทั่งซีอีโอของรอยัล ดัตช์ เชลล์ นายเจอโรน แวน เดอร์ วีร์ ต้องออกปากยอมรับต่อสาธารณชนว่าเราใกล้จะถึงจุดยอดของการผลิตน้ำมันแล้ว (หลังจากที่แหล่งน้ำมันสำรองจะลดถอยลงไปตลอดกาล) ความคิดของฝ่ายต่างๆ ในโลกตะวันตก จึงพากันหันไปสู่แหล่งพลังงานถ่านหินกับพลังงานนิวเคลียร์มากขึ้นเรื่อยๆ โดยมองเป็นทางแก้ปัญหาระยะกลาง
กระนั้นก็ตาม การเอ่ยถึงโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ก็มักเตือนความทรงจำอันน่าสยดสยองไปถึงกรณีโรงไฟฟ้าทรี ไมล์ ไอส์แลนด์ของสหรัฐฯ ซึ่งเกิดอุบัติเหตุที่ว่าบางส่วนของเครื่องปฏิกรณ์หลอมละลายในปี 1979 และในปี 1986 ก็มีกรณีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิลในยูเครน เกิดการระเบิด มีเพลิงลุกไหม้รุนแรง และมีการรั่วไหลแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสี อย่างไรก็ตาม สถานีนิวเคลียร์ที่เปิดทำการในขณะนี้ก็มีอยู่จำนวนมาก โดยในฝรั่งเศส การผลิตไฟฟ้า 79%มาจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และจวบจนกระทั่งบัดนี้ การทำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศนี้ก็มีความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ บริษัทนิวเคลียร์รายใหญ่ของฝรั่งเศสคือ อารีวา มีกำหนดการจะขายสถานีพลังงานนิวเคลียร์ 100 แห่งไปยังแหล่งต่างๆ ทั่วโลกภายในปี 2030 โดยสถานีดังกล่าวนี้จะใช้เชื้อเพลิงจากเครื่องปฏิกรณ์รุ่น EPWR ซึ่งใช้แรงดันจากน้ำอันเป็นพัฒนาการรุ่นที่ 3 ของเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์
อารีวายังเป็นผู้นำของกลุ่มคอนซอร์เชียม ที่ร่วมกันสร้างสถานีไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แห่งใหม่แห่งแรกในยุโรป นั่นคือที่ฟินแลนด์ ภายหลังที่ชะงักงันไม่ได้มีการสร้างกันมาสิบกว่าปี สำหรับประเด็นการรักษาความปลอดภัยและการบริหารจัดการกากนิวเคลียร์นั้น องค์การโปสิวา หน่วยงานทางการฟินแลนด์ในด้านพลังงานนิวเคลียร์ดูเหมือนจะพบวิธีดำเนินงานที่ใช้การได้เป็นอย่างดี หลังจาก 12 ปีแห่งการถกเถียงกันในทางสาธารณะ ฟินแลนด์ได้อนุมัติการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มูลค่า 3,500 ล้านดอลลาร์ ณ เกาะแห่งหนึ่งที่อยู่ไกลออกไปนอกชายฝั่งทะเล โรงไฟฟ้าแห่งนี้ใช้เครื่องปฏิกรณ์ EPWR
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่นี้ถูกออกแบบให้ใช้งานได้ 60 ปี หรือ 2 เท่าของอายุเฉลี่ยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบทั่วๆ ไปในปัจจุบัน ในกรณีที่แท่งเชื้อเพลิงควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ไม่สามารถทำงานได้ และเป็นชนวนให้เกิดการหลอมละลายของแกนปฏิกรณ์ เครื่องจะมีภาชนะพิเศษทำจากคอนกรีตเพื่อรองรับเศษซาก ดังนั้น ในทางทฤษฎีแล้ว มันจะป้องกันไม่ให้เกิดการปล่อยสารกัมมันตรังสีออกไปได้ ส่วนกากนิวเคลียร์จะถูกบรรจุในเหล็กหล่อ ซึ่งถูกผนึกอยู่ในทองแดง และถูกทิ้งลงไปตามหลุมความลึกครึ่งกิโลเมตร แล้วจะถูกปล่อยให้ถูกท่วมทับด้วยดินเบนโทไนต์ ซึ่งเมื่ออยู่ในสภาพดังกล่าวทองแดงที่ผนึกกากนิวเคลียร์จะคงทนไปได้นานเป็นล้านปี
ทันทีที่สถานีพลังงานนิวเคลียร์แห่งนี้สร้างเสร็จ ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์จะมีเพิ่มขึ้นกลายเป็น 37% ของไฟฟ้าทั้งหมดที่ใช้กันอยู่ในฟินแลนด์ จากสัดส่วนปัจจุบันที่ระดับ 27%
มองทางด้านอินเดียบ้าง อุปสงค์ต่อไฟฟ้าที่ประเทศนี้รุนแรงมากกระทั่งว่า ต้องสร้างสถานีพลังงานนิวเคลียร์ 3 แห่งให้เสร็จภายในปีนี้ กระนั้นก็ตาม เมื่อทั้ง 3 โรงไฟฟ้านี้สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจได้ มันก็ช่วยสนองอุปสงค์ต่อไฟฟ้าอันมหาศาลในอินเดียได้น้อยมาก สำหรับอินเดียแล้ว ต้องเป็นแหล่งเชื้อเพลิงถ่านหินจึงจะตอบปัญหาตรงนี้ได้ ในเมื่ออินเดียเป็นประเทศที่อุดมด้วยถ่านหิน ซึ่งลักษณะเช่นนี้ก็เป็นอยู่ในกรณีของประเทศจีนเช่นกัน ทั้งนี้ มีการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานถ่านหินขึ้นในจีนในทุกสัปดาห์ แม้จะต้องเผชิญปัญหาว่าด้วยความมลพิษก็ตาม
**แก้ปัญหาระยะกลาง: ถ่านหินสะอาด**
ภายในตระกูลไฮโดรคาร์บอน ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานที่มีประสิทธิภาพต่ำสุด โดยให้พลังงานได้แค่ครึ่งเดียวเมื่อเทียบกับน้ำมัน ขณะที่สร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าน้ำมันถึงสองเท่าตัว อย่างไรก็ตาม ถ่านหินมีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอยู่กับมนุษยมายาวนานเก่าแก่ที่สุดในแง่ของการป้อนพลังงานหล่อเลี้ยงสังคมยุคใหม่ และแม้ในยามที่เริ่มเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ถ่านหินยังครองตำแหน่งแถวหน้าของความเป็นเชื้อเพลิงป้อนพลังงานแก่โรงงานไฟฟ้าทั่วโลก
ทุกวันนี้ ถ่านหินมีส่วนในการผลิตไฟฟ้าให้แก่โลกในสัดส่วนถึง 28% ซึ่งเมื่อเทียบกับสัดส่วนที่เคยเป็นในทศวรรษ 1970 แล้วนับว่าน้อยลงกว่ากันนิดเดียว ส่วนในกรณีที่นำไปแจงตัวเลขลงรายประเทศแล้ว สัดส่วนดังกล่าวค่อนข้างแตกต่างกันมาก เช่น ถ่านหินมีส่วนในการผลิตไฟฟ้าในสหรัฐฯ ราว 20% ทั่วประเทศ แต่มีส่วนอยู่ในจีนมากกว่าสหรัฐฯถึง 4 เท่าตัว
เนื่องจากถ่านหินจะไม่จากลาโลกเราไปในเร็ววันนี้ ปัญหาที่ท้าทายเราจึงมีอยู่อย่างแจ่มแจ้งว่า จะเผาถ่านหินให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างไร และขณะเดียวกัน จะสกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้อย่างไรก่อนที่ก๊าซนี้จะไปถึงชั้นบรรยากาศ ทางแก้ปัญหาด้านมลพิษของถ่านหิน ซึ่งพอจะเป็นจริงได้ทางหนึ่งคือการผลิตถ่านหินที่ปราศจากคาร์บอน นั่นคือการแปลงถ่านหินเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ซึ่งนี่จะช่วยลดอุปสงค์ต่อน้ำมันดิบไปได้ในเวลาเดียวกันด้วย เทคโนโลยีไฮบริดนี้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับก๊าซธรรมชาติปราศจากคาร์บอน หรือถ่านหินปราศจากคาร์บอน เป็นสิ่งที่มีให้ใช้ได้แล้ว
ในโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ใช้เทคโนโลยีแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากก๊าซผสมที่เรียกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินแบบ IGCC นั้น จะมีการจัดทำกระบวนการแยกถ่านหินออกมาเพื่อสกัดเอาแต่ไฮโดรเจน และทิ้งส่วนที่เป็นคาร์บอนให้ไปเข้ากระบวนการทำให้แห้งด้วยความดันสูง เพื่อให้อยู่ในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เหลว และส่งไปยังแหล่งกักเก็บทางธรณี ที่อาจจะเป็นชั้นหินใต้ดินหรือใต้พื้นทะเล ส่วนไฮโดรเจนจะถูกนำไปเผาไหม้ให้เกิดความร้อนที่จะไปขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้ สถานีไฟฟ้าแบบ IGCC ต้องใช้ถ่านหินเพิ่มขึ้นมา 1 ใน 5 ของถ่านหินที่ใช้อยู่ในโรงไฟฟ้าถ่านหินแบบทั่วไป เพื่อเอาไปผลิตพลังงานให้กำลังแก่อุปกรณ์ดักจับและกักเก็บคาร์บอน ดังนั้น ราคาของไฟฟ้าที่ถูกผลิตออกมาจึงสูงกว่าไฟฟ้าจากโรงที่ใช้ถ่านหินไม่ผ่านการทำสะอาดเป็นสัดส่วนประมาณตั้งแต่ 1 ใน 3 ไปจึงถึงครึ่งต่อครึ่งทีเดียว
แต่ในอีกด้านหนึ่ง ข้อมูลของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) แห่งสหประชาชาติ ชี้ว่าในวันหนึ่งข้างหน้า ระบบดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึง 55% ในอันที่จะช่วยให้โลกหลีกเลี่ยงจากผลกระทบอันร้ายแรงที่สุดจากปัญหาโลกร้อน เมื่อเดือนที่แล้ว การประชุมระดับรัฐมนตรีพลังงานของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกทั้ง 8 (กลุ่มจี-8) ที่ประเทศญี่ปุ่น มีการเรียกร้องให้เริ่มโครงการ CCS ขนาดใหญ่ 20 แห่งทั่วโลกให้ได้ภายในปี 2010 หลังจากนั้นไม่นาน รัฐบาลอังกฤษได้เชิญบริษัทยุโรปชั้นนำ 4 แห่งมายื่นประมูลโครงการดังกล่าวสำหรับดำเนินการในสหราชอาณาจักร
ในการประชุมสุดยอดน้ำมันที่เจดดะห์ เมื่อเร็วๆ นี้ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ นายกอร์ดอน บราวน์ ประกาศว่าอังกฤษจะร่วมมือกับซาอุดีอาระเบียในการพัฒนาให้เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนมีความสมบูรณ์ ด้านสหรัฐฯ กับออสเตรเลียลั่นวาจาแล้วว่าจะทุ่มงบประมาณให้แก่การสร้างความก้าวหน้าในเทคโนโลยีนี้ เมื่อมีการพัฒนาและมีใช้กันแพร่หลายมากขึ้น เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนจะเริ่มมีราคาถูกมากขึ้น และกลายเป็นเทคโนโลยีที่ประเทศอย่างอินเดียและจีนจะสามารถซื้อไปใช้ได้ไหว
โดยที่อุปทานน้ำมันกำลังจะแตะจุดสูงสุดในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ และยูเรเนียมก็จะเผชิญสถานการณ์ทำนองเดียวกันภายในศตวรรษนี้ ความต้องการของมนุษยชาติจะไปทวีตัวมากขึ้นอย่างต่อเนื่องไปในด้านของถ่านหิน ไม่ว่าจะดีขึ้นหรือแย่ลง ถ่านหินจะเป็นแหล่งเชื้อเพลิงที่ป้อนพลังงานหล่อเลี้ยงมาตรฐานชีวิตที่เขยิบสูงขึ้นเรื่อยๆ ของมนุษย์ มันจะเป็นอย่างนี้ไปอีกนานต่อให้มีการค้นคว้าและพัฒนาพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ มากขึ้นหรือเร็วขึ้นเพียงใดก็ตาม และด้วยความตระหนักในข้อนี้ ที่ประชุมสุดยอดกลุ่มจี-8 เมื่อไม่นานมานี้ ได้ยืนยันคำมั่นสัญญาที่จะสร้างความก้าวหน้าแก่ระบบดักจับและกักเก็บคาร์บอนโดยเร็วที่สุดที่จะเป็นได้
นี้แหละคืออนาคตของพลังงานของโลกในระยะกลาง มันคือความเป็นจริงที่พวกเราต้องเผชิญ
ดิลิป ฮิโร เขียนหนังสือเกี่ยวกับตะวันออกกลางมามากมาย ผลงานหนังสือที่ใหม่ที่สุดของเขาคือ Blood of the Earth: The Battle for the World's Vanishing Oil Resources (สำนักพิมพ์ Nation Books) นั่นเป็นหนังสือเชิงประวัติศาสตร์อันบรรเจิด ว่าด้วยแนวทางที่น้ำมันได้ปฏิวัติโลกในศตวรรษที่แล้ว ทั้งในแง่ของชีวิตผู้คน สงคราม และการเมืองโลก นอกจากนั้น หนังสือเล่มนี้ยังเล่าถึงทางเลือกที่จะมาทดแทนน้ำมัน ซึ่งรวมถึงแหล่งพลังงานหมุนเวียนทั้งหลาย
สัจธรรมน้ำมันแพงเริ่มบทโหดของจริง (ตอนแรก)
Energy reality starts to bite
By Dilip Hiro
16/07/2008
น้ำมันแพงช็อกโลกครั้งที่ 4 ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่แล้วจวบถึงช่วงปัจจุบัน มิได้ละม้ายใกล้เคียงกับเมื่อ 3 ครั้งที่แล้ว และจะไม่ยอมเลิกราจากไปในเร็ววันอย่างแน่นอน ในระยะกลางนี้ โลกจำจะต้องพึ่งพิงอยู่กับพลังงาน 2 รูปแบบหลักซึ่งล้วนเป็นพลังงานเจ้าปัญหากันทั้งคู่ นั่นคือพลังงานจากถ่านหินที่ “ชะล้างแล้ว” กับพลังงานจากนิวเคลียร์ จีนกับอินเดียไม่ยอมรับหน้าที่ผู้นำในเรื่องนี้แน่ ภารกิจจึงจะตกอยู่กับบรรดาผู้มีอันจะรับประทานในซีกโลกตะวันตก
*รายงานนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
**ดูตัวแบบที่ดีจากญี่ปุ่น**
สำหรับญี่ปุ่นแล้ว ความพยายามแก้ปัญหาวิกฤตน้ำมันแพงดำเนินไปอย่างเอาจริงเอาจิง ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับสหรัฐฯ ทั้งรัฐบาลและภาคเอกชนในญี่ปุ่นต่างมุ่งมั่นอยู่ในแนวทางการสงวนรักษาพลังงานมาตลอดตั้งแต่วิกฤตน้ำมันแพงครั้งแรก ในการนี้ ญี่ปุ่นสามารถรักษาระดับการบริโภคพลังงานโดยรวมต่อปีไว้คงที่ได้ตลอดทศวรรษ 1970 และ 1980 ทั้งๆ ที่พลังการผลิตในประเทศทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังสะท้อนอยู่ในการขยายอัตราขยายตัวของจีดีพีขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงสองทศวรรษดังกล่าว ทุกวันนี้ ในแต่ละ 1 ดอลลาร์ของมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจ ญี่ปุ่นใช้พลังงานน้อยกว่าสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปครึ่งหนึ่ง ยิ่งกว่านั้น ทางการในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นได้บังคับใช้กฎหมายคุมมาตรฐานการสงวนรักษาพลังงานอย่างเข้มงวดในอาคารสร้างใหม่ทุกแห่งอย่างต่อเนื่อง
ในด้านของการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนก็เช่นกัน ญี่ปุ่นสร้างความก้าวหน้าได้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว ตัวอย่างได้แก่ เมื่อถึงปี 2006 ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ได้เกือบครึ่งของการผลิตทั่วโลกทั้งหมด เกินหน้าสหรัฐฯ ไปไกลทีเดียว ทั้งๆ ที่คนอเมริกันนั่นแหละที่เป็นผู้ประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิคอนรายแรก คือนายรัสเซล โอห์ล เซลล์ดังกล่าวเป็นการสร้างแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่สามารถผันแสงแดดมาเป็นพลังงานไฟฟ้า
**แนวทางแก้ปัญหาในระยะกลาง**
น้ำมันที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกนั้น มากกว่าครึ่งเป็นไปเพื่อการสัญจร ในยุคที่เราก้าวออกมาจากศตวรรษที่ 20 นั้น แม้ว่าเราจะถูกแวดล้อมไปแต่ด้วยรถยนต์หรือรถบรรทุกที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) แต่ก็ยังมีรถที่ใช้เทคโนโลยีอื่น เช่นเครื่องยนต์จากพลังงานไอน้ำ หรือพลังงานแบตเตอรี
บัดนี้ ทางรอดของเราพึ่งอยู่กับการค้นหาหนทางย้อนกลับไปในยุคก่อน ICE ขณะนี้ มันเป็นบทบาทหน้าที่ของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในชาติร่ำรวย ที่จะเร่งกระบวนการเลิกร้างออกจากยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน รถยนต์แห่งอนาคตสามารถรับพลังงานจากแบตเตอรี หรือเซลล์ไฮโดรเจน หรือแผงพลังงานแสงอาทิตย์ – หรือกระทั่งพลังงานที่รวมทุกพลังงานดังกล่าวไว้ด้วยกัน
โดยทั่วๆ ไป บริษัทญี่ปุ่นเป็นแนวหน้าในการทำวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โตโยต้าซึ่งเป็นรายแรกของโลกที่นำแนวคิดรถไฮบริดมาใช้ในปี 1995 ได้รวมแบตเตอรีเข้าไว้ด้วยกันกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน และเริ่มผลิตออกขายเป็นการทั่วไปในช่วงไม่กี่ปีหลังมานี้ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จของเครื่องยนต์ไฮบริด
ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ฮอนด้าจัดตั้งสายการผลิตรถยนต์พลังงานไฮโดรเจนแล้ว คือรุ่น FCX Clarity รถรุ่นนี้ซึ่งติดตั้งถังบรรจุไฮโดรเจนเหลว สามารถเดินทางได้ไกล 448 กิโลเมตร แต่มันจะได้รับการผลิตเพื่อวางตลาดทั่วไปได้ก็ต่อเมื่อมีการก่อสร้างสถานีเติมไฮโดรเจนเหลวให้เติมเชื้อเพลิงได้อย่างสะดวกในญี่ปุ่นและในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งนั่นย่อมต้องใช้เวลาไม่ใช่น้อย ที่ผ่านมา มีการก่อสร้างสถานีเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนแค่ 13 แห่งในพื้นที่ย่านโตเกียว โดยที่ทางการญี่ปุ่นให้การสนับสนุนด้านเงินทุน ในขณะนี้ ฮอนด้าซึ่งตระหนักดีถึงภาระต้นทุนการผลิตอันมหาศาล ได้ใช้เทคนิคการตลาดเบื้องต้นคือ การให้เช่าซื้อรถรุ่น FXC Clarity ณ อัตราเพียง 600 ดอลลาร์ต่อเดือนเท่านั้น
ค่ายรถยนต์อีกค่ายหนึ่งของญี่ปุ่นคือ มาสด้า นำเสนอรถไฮบริดที่ใช้ได้ทั้งเซลล์ไฮโดรเจนและเครื่องยนต์สันดาปภายใน
ขณะที่การผลิตรถยนต์ที่ไม่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน เริ่มโตเร็วและไปแรงอยู่ในประเทศร่ำรวยทั้งหลาย ต้นทุนการผลิตจะค่อยๆ ลดต่ำลง รถรุ่นต่างๆ เหล่านี้จะไปขายดีในตลาดโตเร็ว (แต่ค่อนข้างยากจน) เช่น ตลาดจีน และตลาดอินเดีย
**ทางเลือกสำหรับระยะกลาง: พลังงานนิวเคลียร์**
นอกเหนือจากบทบาทด้านการคมนาคมขนส่งแล้ว น้ำมันยังเป็นแหล่งเชื้อเพลิงสำคัญสำหรับโรงไฟฟ้า ดังนั้น ในเมื่อกระทั่งซีอีโอของรอยัล ดัตช์ เชลล์ นายเจอโรน แวน เดอร์ วีร์ ต้องออกปากยอมรับต่อสาธารณชนว่าเราใกล้จะถึงจุดยอดของการผลิตน้ำมันแล้ว (หลังจากที่แหล่งน้ำมันสำรองจะลดถอยลงไปตลอดกาล) ความคิดของฝ่ายต่างๆ ในโลกตะวันตก จึงพากันหันไปสู่แหล่งพลังงานถ่านหินกับพลังงานนิวเคลียร์มากขึ้นเรื่อยๆ โดยมองเป็นทางแก้ปัญหาระยะกลาง
กระนั้นก็ตาม การเอ่ยถึงโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ก็มักเตือนความทรงจำอันน่าสยดสยองไปถึงกรณีโรงไฟฟ้าทรี ไมล์ ไอส์แลนด์ของสหรัฐฯ ซึ่งเกิดอุบัติเหตุที่ว่าบางส่วนของเครื่องปฏิกรณ์หลอมละลายในปี 1979 และในปี 1986 ก็มีกรณีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิลในยูเครน เกิดการระเบิด มีเพลิงลุกไหม้รุนแรง และมีการรั่วไหลแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสี อย่างไรก็ตาม สถานีนิวเคลียร์ที่เปิดทำการในขณะนี้ก็มีอยู่จำนวนมาก โดยในฝรั่งเศส การผลิตไฟฟ้า 79%มาจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และจวบจนกระทั่งบัดนี้ การทำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศนี้ก็มีความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ บริษัทนิวเคลียร์รายใหญ่ของฝรั่งเศสคือ อารีวา มีกำหนดการจะขายสถานีพลังงานนิวเคลียร์ 100 แห่งไปยังแหล่งต่างๆ ทั่วโลกภายในปี 2030 โดยสถานีดังกล่าวนี้จะใช้เชื้อเพลิงจากเครื่องปฏิกรณ์รุ่น EPWR ซึ่งใช้แรงดันจากน้ำอันเป็นพัฒนาการรุ่นที่ 3 ของเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์
อารีวายังเป็นผู้นำของกลุ่มคอนซอร์เชียม ที่ร่วมกันสร้างสถานีไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แห่งใหม่แห่งแรกในยุโรป นั่นคือที่ฟินแลนด์ ภายหลังที่ชะงักงันไม่ได้มีการสร้างกันมาสิบกว่าปี สำหรับประเด็นการรักษาความปลอดภัยและการบริหารจัดการกากนิวเคลียร์นั้น องค์การโปสิวา หน่วยงานทางการฟินแลนด์ในด้านพลังงานนิวเคลียร์ดูเหมือนจะพบวิธีดำเนินงานที่ใช้การได้เป็นอย่างดี หลังจาก 12 ปีแห่งการถกเถียงกันในทางสาธารณะ ฟินแลนด์ได้อนุมัติการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มูลค่า 3,500 ล้านดอลลาร์ ณ เกาะแห่งหนึ่งที่อยู่ไกลออกไปนอกชายฝั่งทะเล โรงไฟฟ้าแห่งนี้ใช้เครื่องปฏิกรณ์ EPWR
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่นี้ถูกออกแบบให้ใช้งานได้ 60 ปี หรือ 2 เท่าของอายุเฉลี่ยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบทั่วๆ ไปในปัจจุบัน ในกรณีที่แท่งเชื้อเพลิงควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ไม่สามารถทำงานได้ และเป็นชนวนให้เกิดการหลอมละลายของแกนปฏิกรณ์ เครื่องจะมีภาชนะพิเศษทำจากคอนกรีตเพื่อรองรับเศษซาก ดังนั้น ในทางทฤษฎีแล้ว มันจะป้องกันไม่ให้เกิดการปล่อยสารกัมมันตรังสีออกไปได้ ส่วนกากนิวเคลียร์จะถูกบรรจุในเหล็กหล่อ ซึ่งถูกผนึกอยู่ในทองแดง และถูกทิ้งลงไปตามหลุมความลึกครึ่งกิโลเมตร แล้วจะถูกปล่อยให้ถูกท่วมทับด้วยดินเบนโทไนต์ ซึ่งเมื่ออยู่ในสภาพดังกล่าวทองแดงที่ผนึกกากนิวเคลียร์จะคงทนไปได้นานเป็นล้านปี
ทันทีที่สถานีพลังงานนิวเคลียร์แห่งนี้สร้างเสร็จ ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์จะมีเพิ่มขึ้นกลายเป็น 37% ของไฟฟ้าทั้งหมดที่ใช้กันอยู่ในฟินแลนด์ จากสัดส่วนปัจจุบันที่ระดับ 27%
มองทางด้านอินเดียบ้าง อุปสงค์ต่อไฟฟ้าที่ประเทศนี้รุนแรงมากกระทั่งว่า ต้องสร้างสถานีพลังงานนิวเคลียร์ 3 แห่งให้เสร็จภายในปีนี้ กระนั้นก็ตาม เมื่อทั้ง 3 โรงไฟฟ้านี้สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจได้ มันก็ช่วยสนองอุปสงค์ต่อไฟฟ้าอันมหาศาลในอินเดียได้น้อยมาก สำหรับอินเดียแล้ว ต้องเป็นแหล่งเชื้อเพลิงถ่านหินจึงจะตอบปัญหาตรงนี้ได้ ในเมื่ออินเดียเป็นประเทศที่อุดมด้วยถ่านหิน ซึ่งลักษณะเช่นนี้ก็เป็นอยู่ในกรณีของประเทศจีนเช่นกัน ทั้งนี้ มีการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานถ่านหินขึ้นในจีนในทุกสัปดาห์ แม้จะต้องเผชิญปัญหาว่าด้วยความมลพิษก็ตาม
**แก้ปัญหาระยะกลาง: ถ่านหินสะอาด**
ภายในตระกูลไฮโดรคาร์บอน ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานที่มีประสิทธิภาพต่ำสุด โดยให้พลังงานได้แค่ครึ่งเดียวเมื่อเทียบกับน้ำมัน ขณะที่สร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าน้ำมันถึงสองเท่าตัว อย่างไรก็ตาม ถ่านหินมีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอยู่กับมนุษยมายาวนานเก่าแก่ที่สุดในแง่ของการป้อนพลังงานหล่อเลี้ยงสังคมยุคใหม่ และแม้ในยามที่เริ่มเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ถ่านหินยังครองตำแหน่งแถวหน้าของความเป็นเชื้อเพลิงป้อนพลังงานแก่โรงงานไฟฟ้าทั่วโลก
ทุกวันนี้ ถ่านหินมีส่วนในการผลิตไฟฟ้าให้แก่โลกในสัดส่วนถึง 28% ซึ่งเมื่อเทียบกับสัดส่วนที่เคยเป็นในทศวรรษ 1970 แล้วนับว่าน้อยลงกว่ากันนิดเดียว ส่วนในกรณีที่นำไปแจงตัวเลขลงรายประเทศแล้ว สัดส่วนดังกล่าวค่อนข้างแตกต่างกันมาก เช่น ถ่านหินมีส่วนในการผลิตไฟฟ้าในสหรัฐฯ ราว 20% ทั่วประเทศ แต่มีส่วนอยู่ในจีนมากกว่าสหรัฐฯถึง 4 เท่าตัว
เนื่องจากถ่านหินจะไม่จากลาโลกเราไปในเร็ววันนี้ ปัญหาที่ท้าทายเราจึงมีอยู่อย่างแจ่มแจ้งว่า จะเผาถ่านหินให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างไร และขณะเดียวกัน จะสกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้อย่างไรก่อนที่ก๊าซนี้จะไปถึงชั้นบรรยากาศ ทางแก้ปัญหาด้านมลพิษของถ่านหิน ซึ่งพอจะเป็นจริงได้ทางหนึ่งคือการผลิตถ่านหินที่ปราศจากคาร์บอน นั่นคือการแปลงถ่านหินเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ซึ่งนี่จะช่วยลดอุปสงค์ต่อน้ำมันดิบไปได้ในเวลาเดียวกันด้วย เทคโนโลยีไฮบริดนี้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับก๊าซธรรมชาติปราศจากคาร์บอน หรือถ่านหินปราศจากคาร์บอน เป็นสิ่งที่มีให้ใช้ได้แล้ว
ในโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ใช้เทคโนโลยีแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากก๊าซผสมที่เรียกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินแบบ IGCC นั้น จะมีการจัดทำกระบวนการแยกถ่านหินออกมาเพื่อสกัดเอาแต่ไฮโดรเจน และทิ้งส่วนที่เป็นคาร์บอนให้ไปเข้ากระบวนการทำให้แห้งด้วยความดันสูง เพื่อให้อยู่ในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เหลว และส่งไปยังแหล่งกักเก็บทางธรณี ที่อาจจะเป็นชั้นหินใต้ดินหรือใต้พื้นทะเล ส่วนไฮโดรเจนจะถูกนำไปเผาไหม้ให้เกิดความร้อนที่จะไปขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้ สถานีไฟฟ้าแบบ IGCC ต้องใช้ถ่านหินเพิ่มขึ้นมา 1 ใน 5 ของถ่านหินที่ใช้อยู่ในโรงไฟฟ้าถ่านหินแบบทั่วไป เพื่อเอาไปผลิตพลังงานให้กำลังแก่อุปกรณ์ดักจับและกักเก็บคาร์บอน ดังนั้น ราคาของไฟฟ้าที่ถูกผลิตออกมาจึงสูงกว่าไฟฟ้าจากโรงที่ใช้ถ่านหินไม่ผ่านการทำสะอาดเป็นสัดส่วนประมาณตั้งแต่ 1 ใน 3 ไปจึงถึงครึ่งต่อครึ่งทีเดียว
แต่ในอีกด้านหนึ่ง ข้อมูลของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) แห่งสหประชาชาติ ชี้ว่าในวันหนึ่งข้างหน้า ระบบดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึง 55% ในอันที่จะช่วยให้โลกหลีกเลี่ยงจากผลกระทบอันร้ายแรงที่สุดจากปัญหาโลกร้อน เมื่อเดือนที่แล้ว การประชุมระดับรัฐมนตรีพลังงานของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกทั้ง 8 (กลุ่มจี-8) ที่ประเทศญี่ปุ่น มีการเรียกร้องให้เริ่มโครงการ CCS ขนาดใหญ่ 20 แห่งทั่วโลกให้ได้ภายในปี 2010 หลังจากนั้นไม่นาน รัฐบาลอังกฤษได้เชิญบริษัทยุโรปชั้นนำ 4 แห่งมายื่นประมูลโครงการดังกล่าวสำหรับดำเนินการในสหราชอาณาจักร
ในการประชุมสุดยอดน้ำมันที่เจดดะห์ เมื่อเร็วๆ นี้ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ นายกอร์ดอน บราวน์ ประกาศว่าอังกฤษจะร่วมมือกับซาอุดีอาระเบียในการพัฒนาให้เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนมีความสมบูรณ์ ด้านสหรัฐฯ กับออสเตรเลียลั่นวาจาแล้วว่าจะทุ่มงบประมาณให้แก่การสร้างความก้าวหน้าในเทคโนโลยีนี้ เมื่อมีการพัฒนาและมีใช้กันแพร่หลายมากขึ้น เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนจะเริ่มมีราคาถูกมากขึ้น และกลายเป็นเทคโนโลยีที่ประเทศอย่างอินเดียและจีนจะสามารถซื้อไปใช้ได้ไหว
โดยที่อุปทานน้ำมันกำลังจะแตะจุดสูงสุดในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ และยูเรเนียมก็จะเผชิญสถานการณ์ทำนองเดียวกันภายในศตวรรษนี้ ความต้องการของมนุษยชาติจะไปทวีตัวมากขึ้นอย่างต่อเนื่องไปในด้านของถ่านหิน ไม่ว่าจะดีขึ้นหรือแย่ลง ถ่านหินจะเป็นแหล่งเชื้อเพลิงที่ป้อนพลังงานหล่อเลี้ยงมาตรฐานชีวิตที่เขยิบสูงขึ้นเรื่อยๆ ของมนุษย์ มันจะเป็นอย่างนี้ไปอีกนานต่อให้มีการค้นคว้าและพัฒนาพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ มากขึ้นหรือเร็วขึ้นเพียงใดก็ตาม และด้วยความตระหนักในข้อนี้ ที่ประชุมสุดยอดกลุ่มจี-8 เมื่อไม่นานมานี้ ได้ยืนยันคำมั่นสัญญาที่จะสร้างความก้าวหน้าแก่ระบบดักจับและกักเก็บคาร์บอนโดยเร็วที่สุดที่จะเป็นได้
นี้แหละคืออนาคตของพลังงานของโลกในระยะกลาง มันคือความเป็นจริงที่พวกเราต้องเผชิญ
ดิลิป ฮิโร เขียนหนังสือเกี่ยวกับตะวันออกกลางมามากมาย ผลงานหนังสือที่ใหม่ที่สุดของเขาคือ Blood of the Earth: The Battle for the World's Vanishing Oil Resources (สำนักพิมพ์ Nation Books) นั่นเป็นหนังสือเชิงประวัติศาสตร์อันบรรเจิด ว่าด้วยแนวทางที่น้ำมันได้ปฏิวัติโลกในศตวรรษที่แล้ว ทั้งในแง่ของชีวิตผู้คน สงคราม และการเมืองโลก นอกจากนั้น หนังสือเล่มนี้ยังเล่าถึงทางเลือกที่จะมาทดแทนน้ำมัน ซึ่งรวมถึงแหล่งพลังงานหมุนเวียนทั้งหลาย