xs
xsm
sm
md
lg

แม่เมาะผ่านเกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผู้จัดการออนไลน์ - ผลตรวจวัดคุณภาพอากาศบริเวณโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ 16 สถานี คุณภาพอากาศผ่านเกณฑ์มาตรฐานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เผย เป็นไปตามสัตยาบัน ประเทศภาคีอนุสัญญาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ พลังงาน การคมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม การกำจัดของเสีย ป่าไม้ การเกษตร และปศุสัตว์

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รายงานผลตรวจวัดคุณภาพอากาศบริเวณโรงไฟฟ้า และบริเวณเหมืองแม่เมาะ ประจำเดือนพฤษภาคม 2551 ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน บ้านพักของผู้ปฏิบัติงาน และพื้นที่ชุมชนโดยรอบ ที่คาดว่าอาจจะได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ ภายใต้อิทธิพลของลมที่พัดผ่านพื้นที่ พบว่า

การตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองรวม ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ จำนวน 16 สถานี ประกอบด้วย ค่ายประตูผา บ้านท่าสี บ้านเสด็จ บ้านหัวฝาย ศูนย์ราชการแม่เมาะ บ้านสบเมาะ บ้านสบป้าด บ้านแม่จาง บ้านใหม่รัตนโกสินทร์ บ้านห้วยคิง บ้านหางฮุง และสถานีตรวจอากาศหลักของ กฟผ.

ส่วนการตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน มี 4 สถานี ได้แก่ บ้านหัวฝาย ศูนย์ราชการอำเภอแม่เมาะ บ้านสบป้าด และสถานีตรวจอากาศหลักของ กฟผ.โดยการตรวจวัดค่าดังกล่าวได้ใช้วิธีการและเครื่องมือตามมาตรฐานที่กำหนด โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรือวิธีที่เทียบเท่า

ผลการตรวจวัดพบว่า มีค่าเฉลี่ยผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป ตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้กำหนดคือ ค่าเฉลี่ยของปริมาณฝุ่นละอองรวมในเวลา 24 ชั่วโมง มีค่าอยู่ระหว่าง 15-107 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยค่ามาตรฐานอยู่ที่ 330 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
 
 ค่าเฉลี่ยของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ในเวลา 24 ชั่วโมง มีค่าอยู่ระหว่าง 10-36 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยค่ามาตรฐานอยู่ที่ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร, ค่าเฉลี่ยของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในเวลา 1 ชั่วโมง มีค่าอยู่ระหว่าง 0-92 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยค่ามาตรฐานอยู่ที่ 780 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ส่วนค่าเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมง มีค่าอยู่ระหว่าง 0-18 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยค่ามาตรฐานอยู่ที่ 300 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในเวลา 1 ชั่วโมง มีค่าอยู่ระหว่าง 0-79 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยค่ามาตรฐานอยู่ที่ 320 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 

การตรวจวัดดังกล่าว  เป็นไปตามที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบัน เป็นประเทศภาคีอนุสัญญาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มิได้อยู่ในภาคผนวกที่ 1 ทำให้ประเทศไทยมีพันธกรณี แต่เพียงการจัดทำรายงานแห่งชาติ คือ บัญชีรายการแห่งชาติว่าด้วยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่มิได้ถูกควบคุมโดยพิธีสารมอนทรีออล ได้แก่  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนโตรเจนออกไซด์ ไนตรัสออกไซด์ และสารประกอบอนินทรีย์ที่ระเหยได้ ประเภท มีเทน สาขาการผลิตต่างๆ อันได้แก่ พลังงาน การคมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม การกำจัดของเสีย ป่าไม้ การเกษตร และปศุสัตว์ โดยใช้ข้อมูลปี พ.ศ. 2537 (1994) เป็นปีฐาน
กำลังโหลดความคิดเห็น