นายทาเคชิ ทาเคอิ รองผู้ว่าการจังหวัดฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น กล่าวในการประชุมนานาชาติ ว่าด้วยการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน และสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพจัดงาน ว่าที่ผ่านมาเมืองฟูกูโอกะ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหมอก 7 สี เพราะมีปัญหามลพิษเป็นอย่างมาก โดยในปี 2005 สามารถวัดค่าก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 60 ล้านตัน ซึ่งถือว่าเกินมาตรฐานไปมาก ทางจังหวัดจึงตั้งเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกลง 6 % ต่อมาในเดือนมีนาคม 2006 ได้ประกาศแผนป้องกันปัญหาโลกร้อนซึ่งมีหลายโครงการ อย่างเช่น โครงการใช้ไฮโดรเจนเป็นพลังงานสำหรับรถยนต์ โครงการปฏิทินเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะแจงรายละเอียดว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ โครงการย่อยสลายขยะด้วยจุลชีพขนาดเล็ก ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนที่อันตรายกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 20 เท่า และด้วยความร่วมมือและตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวทำให้ประชาชนมีความตั้งใจอย่างจริงจัง จนในปัจจุบันเมืองฟูกูโอกะได้กลายเป็นเมืองที่มีอากาศดีที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น
นอกจากโครงการที่กล่าวมาแล้ว ยังมีการจัดเก็บภาษีรักษาป่า โดยนำเงินที่ได้ไปพัฒนาด้านการปลูกป่า ซึ่งตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ 2,900 เฮกเตอร์ภายใน 10 ปี ข้างหน้า อีกทั้งยังมีการจัดเก็บภาษีขยะอุตสาหกรรม มุ่งส่งเสริมให้นำขยะกลับมาใช้ได้ใหม่ และนำภาษีที่ได้ไปจัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมทุกปี
ทั้งนี้นายทาเคชิ ทาเคอิ ยังกล่าวอีกว่า ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ดูเหมือนจะยากต่อการเยียวยา แต่หากได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังในทุกภาคส่วน มีการสร้างจิตสำนึกที่ดี และมีความตั้งใจที่มากพอ ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ยากเกินที่เราทุกคนจะผ่านพ้นไปด้วย
นอกจากโครงการที่กล่าวมาแล้ว ยังมีการจัดเก็บภาษีรักษาป่า โดยนำเงินที่ได้ไปพัฒนาด้านการปลูกป่า ซึ่งตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ 2,900 เฮกเตอร์ภายใน 10 ปี ข้างหน้า อีกทั้งยังมีการจัดเก็บภาษีขยะอุตสาหกรรม มุ่งส่งเสริมให้นำขยะกลับมาใช้ได้ใหม่ และนำภาษีที่ได้ไปจัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมทุกปี
ทั้งนี้นายทาเคชิ ทาเคอิ ยังกล่าวอีกว่า ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ดูเหมือนจะยากต่อการเยียวยา แต่หากได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังในทุกภาคส่วน มีการสร้างจิตสำนึกที่ดี และมีความตั้งใจที่มากพอ ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ยากเกินที่เราทุกคนจะผ่านพ้นไปด้วย