(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Bernanke’s words strike false note
By Julian Delasantellis
26/08/2008
ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เบน เบอร์นันกี แถลงในวันอังคารด้วยน้ำเสียงร่าเริงเกี่ยวกับอัตราเติบโตของเศรษฐกิจ ผงกศีรษะให้แก่ความวิตกทางด้านอัตราเงินเฟ้อ แล้วก็คงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้เท่าเก่า แต่ตลาดการเงินซึ่งตระหนักดีถึงข้อมูลอันมืดมัวไปเสียทั้งนั้นไม่ว่าในเรื่องงาน, ราคา, หรือกระทั่งหุ้นธนาคาร ไม่ได้คิดว่าเขาหมายความอย่างที่เขาพูดแม้แต่คำเดียว ในครั้งหน้า เขาจะต้องออกมาพร้อมกับการกระทำบางอย่างบางประการได้แล้ว
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ในปี 1968 วงดนตรีร็อคจากออสเตรเลียคือ เดอะบีจีส์ ขับขานเพลง Words (ถ้อยคำ) ที่บ่งบอกความในใจของชายผู้ตกหลุมรักซึ่งพยายามชนะใจหญิงสาวผ่านคำกวีว่า
Talk in everlasting words, and dedicate them all to me.
And I will give you all my life, I'm here if you should call to me.
You think that I don't even mean a single word I say.
It's only words, and words are all I have, to take your heart away
(โปรดพูดคุยกันด้วยถ้อยคำที่จะยั่งยืนตลอดกาล และโปรดอุทิศทุกถ้อยคำนั้นแก่ผม
แล้วผมจะมอบชีวิตทั้งหมดแก่คุณ ผมจะอยู่ตรงนี้หากว่าคุณจะเพรียกหาผม
คุณคิดว่าผมไม่ได้หมายใจจริงกับแต่ละถ้อยคำที่ผมเอ่ย
มันเป็นเพียงถ้อยคำ แต่ถ้อยคำคือทั้งหมดที่ผมมี เพื่อจะคว้าดวงใจของคุณมาครอง)
40 ปีผ่านมาถึงบัดนี้ เบน เบอร์นันกี ประธานธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริการ(เฟด) กำลังประกาศต่อโลกว่า เขาได้มาถึงจุดที่ว่า “เป็นเพียงถ้อยคำ แต่ถ้อยคำคือทั้งหมดที่ผมมี” เพื่อจะจัดการกับปัญหาที่ขนาบเข้าใส่ทั้งซ้ายและขวา คือภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นพร้อมกับสถานการณ์ว่างงาน ซึ่งเป็นต้นตอปัญหาเล่นงานระบบเศรษฐกิจของโลกอย่างไม่รู้จักจบสิ้น
นับเป็นครั้งแรกนับจากเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ที่การประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (เอฟโอเอ็มซี) ปิดฉากไปโดยไม่มีการหั่นลดดอกเบี้ยระยะสั้นของประเทศ เท่าที่ผ่านมานับจากการประชุมในวันที่ 17 กันยายน ปี 2007 ถึงการประชุมในวันที่ 30 เมษายน ปีนี้ เฟดได้ทยอยหั่นลดดอกเบี้ยเฟดฟันส์เรท ลง 3% หลังจากนั้นมาอัตราดอกเบี้ยเฟดฟันส์เรทถูกปล่อยให้ทรงตัวต่อเนื่องมาจวบจนป้จจุบัน ท่าทีใหม่ของประธานเบอร์นันกีจึงอาจเปรียบเทียบได้กับนักเล่นไพ่โปกเกอร์ที่แพ้จวนหมดตัว แต่พยายามจะเพิ่มเดิมพันเพื่อพลิกชะตา และแล้วในที่สุดก็ต้องลุกออกจากโต๊ะไปพร้อมกับนำเบี้ยที่เหลือติดตัวเล็กน้อยไปขึ้นเงิน
แน่นอนว่า การดำเนินการปรับลดดอกเบี้ยที่ผ่านมานั้นตั้งใจจะให้ส่งผลในทางต้านทานผลกระทบร้ายแรงจากวิกฤตหนี้ซับไพร์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภัยที่อาจเกิดขึ้นแก่ความสามารถในการชำระหนี้ภายในระบบการเงินและการธนาคาร กระนั้นก็ตาม บัดนี้ที่ดูเหมือนว่าการปรับลดดอกเบี้ยได้จบลงแล้ว ใครเลยจะสรุปได้ว่าภัยคุกคามดังกล่าวปิดฉากไปแล้ว ใครเลยจะสรุปได้ว่าพวกแบงก์สามารถกอบกู้สถานะของตนออกมาจากปลักตมที่พวกแบงก์ต้องตะเกี่ยตะกายเอาตัวให้อยู่รอดให้ได้นับจากเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว อันเป็นช่วงเปิดตัวของวิกฤตซับไพร์มที่เฟดยื่นมือเข้าอุ้มแบร์ สเทิร์นส์ ออกจากวิกฤตล้มละลาย แท้จริงแล้ว นับจากช่วงดังกล่าวมาถึงบัดนี้ ยังไม่มีสถาบันใดเลยที่สามารถปัดเนื้อปัดตัวให้สะอาดสะอ้าน แล้วลุกขึ้นมาทำตัวพรักพร้อมเดินบทบาทแค่คนกลางที่ช่วยเอื้อให้เกิดสภาพคล่องภายในระบบเศรษฐกิจ
ภาพที่เราเห็นอยู่ปัจจุบัน ล้วนแต่ฟ้องว่าปัญหายังปรากฏอยู่ทั่วไป ดัชนีทุกตัวที่ชี้วัดราคาหุ้นในเซ็กเตอร์แบงก์ยังไม่กระเตื้องขึ้นจากระดับที่ดิ่งต่ำน่าตกใจในวันคืนมืดมนของแบร์ สเทิร์นส์เดือนมีนาคม 2007 ขณะนี้บรรดาหุ้นซิตี้กรุ๊ป ซึ่งเป็นสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ร่วงรูดสู่ระดับที่ไม่เคยเห็นกันมานับจากช่วงวิกฤตการเงินเอเชียในปี 1998 หุ้นแบงก์ออฟอเมริกาก็ตกต่ำสู่ระดับที่ไม่เคยได้เห็นกันมานับจากช่วงหลังวินาศกรรม 11 กันยายน 2001
จวบกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ ฝ่ายต่างๆ เคยหวังกันว่าพวกแบงก์ระดับภูมิภาคของสหรัฐฯ ซึ่งมีขนาดย่อมลงมาจากแบงก์ระดับชาติ จะเป็นกลุ่มที่ปลอดภัยจากความทุกข์ยากร้ายแรงของระบบการธนาคาร โดยคิดกันว่าแบงก์ระดับภูมิภาคคงจะไม่โง่พอที่จะผิดพลาดดิ่งเข้าสู่บ่อโสโครกแห่งปัญหาหนี้เสียแบบที่พวกแบงก์ระดับชาติต้องประสบจากวิกฤตซับไพร์ม ความหวังเช่นนั้นส่วนใหญ่จะปราศนาการไปหมดสิ้น ดังปรากฏว่าหุ้นที่เคยเติบโตรวดเร็วของกลุ่มแบงก์อย่าง หุ้นคลีฟแลนด์ ดำดิ่งลงกว่า 70% แล้วในปีนี้
ภาคธุรกิจที่อยู่ ณ แกนกลางของปัญหาทั้งหลายในปัจจุบัน ย่อมเป็นอื่นใดไม่ได้นอกจากธุรกิจที่อยู่อาศัย อันเป็นภาคธุรกิจที่ถึงสภาวะฟองสบู่แตกเข้าจนได้หลังจากที่ราคาที่อยู๋อาศัยเคลื่อนไหวอยู่ในทิศทางขาขึ้นมาเนิ่นนาน ภายในธุรกิจที่อยู่อาศัยนี้ สิ่งต่างๆ ล้วนแต่ดูมืดมนไปหมด ตัวเลขชี้วัดเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา อย่างเช่น ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยของ S&P/Case-Shiller ชี้ว่าราคาที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ กำลังตกต่ำด้วยอัตราดิ่งแรงจัดชนิดที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในรอบ 20 ปีที่มีการจัดทำดัชนีตัวนี้ขึ้นมา ขณะที่ดัชนีราคาฟิวเจอร์ส ซึ่งอิงฐานอยู่กับดัชนีนี้ ก็บ่งชี้ว่ากว่าที่จุดต่ำสุดจะปรากฏให้เห็นก็จะต้องล่วงไปถึงปี 2010 ทีเดียว
การวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อกันว่า อย่างน้อยที่สุด กว่าที่ราคาที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ จะหลุดพ้นเขตวิกฤตได้ก็คงจะตกในราวปี 2009 เมื่อสัญญาจดจำนองที่อยู่อาศัย ARM ผ่านตราสารหนี้ซับไพร์ม/ออปชั่น รายการสุดท้ายของปี 2007 จะได้รับการปรับใหม่ โดยในขณะนี้ เกือบ 50%ของหนี้เหล่านี้อยู่ในข่ายที่ต้องถึงแก่กาลล้มละลายไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ จนกว่าจะถึงจุดที่ว่าวงจรอุบาทว์แห่งการยึดทรัพย์จดจำนอง – การบังคับขายทรัพย์ – การตกต่ำของระดับราคา – การยึดทรัพย์จดจำนองเพิ่ม เริ่มที่จะบรรเทาลงบ้างนั้น แรงกดดันจากปัญหาระดับราคาที่อยู่อาศัยตกต่ำ จะครองความเป็นแกนกลางของปัญหาการขาดไร้แรงขับเคลื่อนซึ่งครอบงำระบบการเงินของสหรัฐฯ อย่างชนิดที่โงหัวไม่ขึ้น
สถานการณ์เหล่านี้ฟังดูน่าหนักใจยิ่ง กระนั้นก็ตาม คำแถลงของการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟดเมื่อวันพุธที่ 25 มิถุนายน ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นความพยายามขุดหาของดีที่ซ่อนอยู่ใต้ซากขยะ
คำแถลงของที่ประชุมซึ่งออกมาพร้อมกับนโยบายการตัดสินใจที่จะไม่ดำเนินการตัดสินใจใดๆ ชี้ว่า
มีข้อมูลที่รวบรวมได้เมื่อไม่นานมานี้ ที่บ่งบอกว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยองค์รวมยังเดินหน้าขยายตัวได้ ข้อมูลดังกล่าวนี้ ในส่วนหนึ่งแล้ว สามารถสะท้อนว่าการจับจ่ายในครัวเรือนยังเป็นไปอย่างมั่นคงอยู่บ้าง
นโยบายผ่อนปรนทางการเงินอย่างมากมายที่ดำเนินมาถึงขณะนี้ เมื่อผนวกกับมาตรการอื่นๆ ที่ดำเนินการอยู่เพื่อหนุนสภาพคล่องของตลาด น่าที่จะช่วยส่งเสริมการเติบโตในระดับปานกลางได้สักระยะหนึ่ง แม้จะมีความเสี่ยงอยู่ว่าการขยายตัวจะตกต่ำลง ความเสี่ยงเหล่านี้ดูเหมือนว่าจะหายไปในระดับหนึ่ง ขณะที่ความเสี่ยงในด้านของเงินเฟ้อ และการคาดคิดว่าเงินเฟ้อจะมานั้น กำลังอยู่ในทิศทางขาขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ
เป็นที่แน่นอนว่า “เสถียรภาพภายในการจับจ่ายระดับครัวเรือน” ซึ่งถูกอ้างอิงอยู่ในคำแถลงของเฟดนั้น เป็นผลจากเช็คเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 160,000 ล้านดอลลาร์ที่รัฐบาลส่งไปสู่ครัวเรือนเมื่อเดือนพฤษภาคมนั่นเอง แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่ยาเสพติดโดสสั้นๆ ที่ช่วยให้ผู้บริโภคเพลินใจลืมปัญหาแท้จริงไปจนหมดฤดูใบไม้ผลิ และเมื่อถึงปัจจุบัน เมื่ออัดฉีดพิเศษหมดลงแล้ว หายนะที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ก็ย้อนกลับมาเล่นงาน ดังที่สะท้อนอยู่ในดัชนีวัดความมั่นใจผู้บริโภคซึ่งแตะจุดต่ำสุดจุดแล้วจุดเล่าเท่าที่เคยมีการเก็บสถิติกันนับจากเมื่อปี 1967
แล้วอะไรกันเล่าที่ทำให้เฟดชื่นมื่นอยู่ได้ พอจะมีใครสักคนไหมที่จะบอกเภสัชกรให้ยั้ง มือหน่อยตอนออกใบสั่งยาคลายประสาทโปรแซคโดสใหม่เพิ่มให้แก่เบน เบอร์นันกี
เฟดกำลังทำตัวเหมือนตัวตลกของวงการ แต่นั่นเป็นเพราะเฟดเองก็ไม่มีทางเลือก ทั้งนี้ หากเฟดนำเสนอภาพแท้จริงที่แสดงความอับจนของสถานการณ์เศรษฐกิจ คำถามก็จะผุดขึ้นมาว่า ทำไมเฟดไม่สืบสานมาตรการที่ช่วยส่งเสริมการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจด้วยการหั่นดอกเบี้ยลงอีกสักครั้งหนึ่ง เพราะอันที่จริงแล้ว การปรับลดดอกเบี้ยเป็นสิ่งสุดท้ายที่เฟดปรารถนาจะทำ หรือสามารถที่จะดำเนินการได้
เปรียบไปก็ละม้ายการไล่ล่าฆาตกรแหกคุก ฆาตกรที่ถูกกุมขังเพราะเคยเมามันกับการสังหารโหดเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ขณะนี้เศรษฐกิจของสหรัฐฯและของโลกถูกบังคับอีกครั้งหนึ่งให้ต้องจัดการกับภัยคุกคามที่พวกเขาอาจเคยคิดว่าพวกเขาจะไม่ค้องเผชิญกับมันอีก ซึ่งก็คือการเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อขยายตัวรุนแรงพร้อมๆ กับปัญหาการว่างงาน อันเป็นภาวการณ์ที่เรียกขานกันว่า เงินฝืดผสมเงินเฟ้อ (Stagflation) เงินเฟ้อที่ได้รับแรงโหมจากการที่ราคาน้ำมันดิบพุ่งทะยานสูงขึ้นแล้วสูงขึ้นอีก พร้อมกับถูกสมทบด้วยราคาอาหารที่ดีดตัวซ้ำๆ (โดยที่ว่าปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากการที่เกษตรกรในสหรัฐฯผันผายผลผลิตข้าวโพดไปทำอีทานอลเพื่อตอบสนองความต้องการใช้น้ำมันของคนอเมริกัน) ดังนั้น ดัชนีราคาผู้บริโภคในสหรัฐฯจึงปรับตัวขึ้นไป 4% โดยมียกเว้นแค่ในเดือนพฤษภาคมซึ่งอัตราขยายตัวอยู่ที่ระดับ 0.6%
ตัวเลขเหล่านี้ลอยสูงเหนือพื้นที่ปลอดภัยของเฟด โดยที่เฟดได้กำหนดง “ช่วงความกว้างของเงินเฟ้อตามเป้าหมาย” ไว้แค่ไม่เกิน 2.5% ทั้งนี้ ในหน้า 1 ของคู่มือธนาคารโลกยุคใหม่ทั้งหลาย จะต้องมีการเตือนว่าการต่อสู้กับเงินเฟ้อเสียตั้งแต่ต้นมือ จะง่ายแก่การเอาชนะได้เป็นอย่างยิ่ง และดีกว่าที่จะปล่อยให้ปัญหาผ่านระยะฟักตัว จนกลายเป็นเชื้อโรคจำนวนมหาศาลที่จะกินและทำลายทุกอย่างที่มันเข้าไปสัมผัส อันที่จริงแล้ว พวกแบงก์ชาติในปลายทศวรรษที่ 70 และต้นศตวรรษที่ 80 ได้เคยประสบกับบทเรียนนี้มาแล้วด้วยความเจ็บปวดรวดร้าว
จูเลียน เดอลาแซงเทนลิส เป็นที่ปรึกษาการบริหาร, นักลงทุนเอกชน และผู้สอนด้านธุรกิจระหว่างประเทศในมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ติดต่อเขาได้ที่อีเมล์: juliandelasantellis@yahoo.com
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
ปธ.เฟดเสียงแข็งขู่ตลาดด้วยคำว่า“เงินเฟ้อ” แต่ครั้งหน้าต้องใช้ของจริง (ตอนจบ)
Bernanke’s words strike false note
By Julian Delasantellis
26/08/2008
ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เบน เบอร์นันกี แถลงในวันอังคารด้วยน้ำเสียงร่าเริงเกี่ยวกับอัตราเติบโตของเศรษฐกิจ ผงกศีรษะให้แก่ความวิตกทางด้านอัตราเงินเฟ้อ แล้วก็คงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้เท่าเก่า แต่ตลาดการเงินซึ่งตระหนักดีถึงข้อมูลอันมืดมัวไปเสียทั้งนั้นไม่ว่าในเรื่องงาน, ราคา, หรือกระทั่งหุ้นธนาคาร ไม่ได้คิดว่าเขาหมายความอย่างที่เขาพูดแม้แต่คำเดียว ในครั้งหน้า เขาจะต้องออกมาพร้อมกับการกระทำบางอย่างบางประการได้แล้ว
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ในปี 1968 วงดนตรีร็อคจากออสเตรเลียคือ เดอะบีจีส์ ขับขานเพลง Words (ถ้อยคำ) ที่บ่งบอกความในใจของชายผู้ตกหลุมรักซึ่งพยายามชนะใจหญิงสาวผ่านคำกวีว่า
Talk in everlasting words, and dedicate them all to me.
And I will give you all my life, I'm here if you should call to me.
You think that I don't even mean a single word I say.
It's only words, and words are all I have, to take your heart away
(โปรดพูดคุยกันด้วยถ้อยคำที่จะยั่งยืนตลอดกาล และโปรดอุทิศทุกถ้อยคำนั้นแก่ผม
แล้วผมจะมอบชีวิตทั้งหมดแก่คุณ ผมจะอยู่ตรงนี้หากว่าคุณจะเพรียกหาผม
คุณคิดว่าผมไม่ได้หมายใจจริงกับแต่ละถ้อยคำที่ผมเอ่ย
มันเป็นเพียงถ้อยคำ แต่ถ้อยคำคือทั้งหมดที่ผมมี เพื่อจะคว้าดวงใจของคุณมาครอง)
40 ปีผ่านมาถึงบัดนี้ เบน เบอร์นันกี ประธานธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริการ(เฟด) กำลังประกาศต่อโลกว่า เขาได้มาถึงจุดที่ว่า “เป็นเพียงถ้อยคำ แต่ถ้อยคำคือทั้งหมดที่ผมมี” เพื่อจะจัดการกับปัญหาที่ขนาบเข้าใส่ทั้งซ้ายและขวา คือภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นพร้อมกับสถานการณ์ว่างงาน ซึ่งเป็นต้นตอปัญหาเล่นงานระบบเศรษฐกิจของโลกอย่างไม่รู้จักจบสิ้น
นับเป็นครั้งแรกนับจากเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ที่การประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (เอฟโอเอ็มซี) ปิดฉากไปโดยไม่มีการหั่นลดดอกเบี้ยระยะสั้นของประเทศ เท่าที่ผ่านมานับจากการประชุมในวันที่ 17 กันยายน ปี 2007 ถึงการประชุมในวันที่ 30 เมษายน ปีนี้ เฟดได้ทยอยหั่นลดดอกเบี้ยเฟดฟันส์เรท ลง 3% หลังจากนั้นมาอัตราดอกเบี้ยเฟดฟันส์เรทถูกปล่อยให้ทรงตัวต่อเนื่องมาจวบจนป้จจุบัน ท่าทีใหม่ของประธานเบอร์นันกีจึงอาจเปรียบเทียบได้กับนักเล่นไพ่โปกเกอร์ที่แพ้จวนหมดตัว แต่พยายามจะเพิ่มเดิมพันเพื่อพลิกชะตา และแล้วในที่สุดก็ต้องลุกออกจากโต๊ะไปพร้อมกับนำเบี้ยที่เหลือติดตัวเล็กน้อยไปขึ้นเงิน
แน่นอนว่า การดำเนินการปรับลดดอกเบี้ยที่ผ่านมานั้นตั้งใจจะให้ส่งผลในทางต้านทานผลกระทบร้ายแรงจากวิกฤตหนี้ซับไพร์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภัยที่อาจเกิดขึ้นแก่ความสามารถในการชำระหนี้ภายในระบบการเงินและการธนาคาร กระนั้นก็ตาม บัดนี้ที่ดูเหมือนว่าการปรับลดดอกเบี้ยได้จบลงแล้ว ใครเลยจะสรุปได้ว่าภัยคุกคามดังกล่าวปิดฉากไปแล้ว ใครเลยจะสรุปได้ว่าพวกแบงก์สามารถกอบกู้สถานะของตนออกมาจากปลักตมที่พวกแบงก์ต้องตะเกี่ยตะกายเอาตัวให้อยู่รอดให้ได้นับจากเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว อันเป็นช่วงเปิดตัวของวิกฤตซับไพร์มที่เฟดยื่นมือเข้าอุ้มแบร์ สเทิร์นส์ ออกจากวิกฤตล้มละลาย แท้จริงแล้ว นับจากช่วงดังกล่าวมาถึงบัดนี้ ยังไม่มีสถาบันใดเลยที่สามารถปัดเนื้อปัดตัวให้สะอาดสะอ้าน แล้วลุกขึ้นมาทำตัวพรักพร้อมเดินบทบาทแค่คนกลางที่ช่วยเอื้อให้เกิดสภาพคล่องภายในระบบเศรษฐกิจ
ภาพที่เราเห็นอยู่ปัจจุบัน ล้วนแต่ฟ้องว่าปัญหายังปรากฏอยู่ทั่วไป ดัชนีทุกตัวที่ชี้วัดราคาหุ้นในเซ็กเตอร์แบงก์ยังไม่กระเตื้องขึ้นจากระดับที่ดิ่งต่ำน่าตกใจในวันคืนมืดมนของแบร์ สเทิร์นส์เดือนมีนาคม 2007 ขณะนี้บรรดาหุ้นซิตี้กรุ๊ป ซึ่งเป็นสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ร่วงรูดสู่ระดับที่ไม่เคยเห็นกันมานับจากช่วงวิกฤตการเงินเอเชียในปี 1998 หุ้นแบงก์ออฟอเมริกาก็ตกต่ำสู่ระดับที่ไม่เคยได้เห็นกันมานับจากช่วงหลังวินาศกรรม 11 กันยายน 2001
จวบกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ ฝ่ายต่างๆ เคยหวังกันว่าพวกแบงก์ระดับภูมิภาคของสหรัฐฯ ซึ่งมีขนาดย่อมลงมาจากแบงก์ระดับชาติ จะเป็นกลุ่มที่ปลอดภัยจากความทุกข์ยากร้ายแรงของระบบการธนาคาร โดยคิดกันว่าแบงก์ระดับภูมิภาคคงจะไม่โง่พอที่จะผิดพลาดดิ่งเข้าสู่บ่อโสโครกแห่งปัญหาหนี้เสียแบบที่พวกแบงก์ระดับชาติต้องประสบจากวิกฤตซับไพร์ม ความหวังเช่นนั้นส่วนใหญ่จะปราศนาการไปหมดสิ้น ดังปรากฏว่าหุ้นที่เคยเติบโตรวดเร็วของกลุ่มแบงก์อย่าง หุ้นคลีฟแลนด์ ดำดิ่งลงกว่า 70% แล้วในปีนี้
ภาคธุรกิจที่อยู่ ณ แกนกลางของปัญหาทั้งหลายในปัจจุบัน ย่อมเป็นอื่นใดไม่ได้นอกจากธุรกิจที่อยู่อาศัย อันเป็นภาคธุรกิจที่ถึงสภาวะฟองสบู่แตกเข้าจนได้หลังจากที่ราคาที่อยู๋อาศัยเคลื่อนไหวอยู่ในทิศทางขาขึ้นมาเนิ่นนาน ภายในธุรกิจที่อยู่อาศัยนี้ สิ่งต่างๆ ล้วนแต่ดูมืดมนไปหมด ตัวเลขชี้วัดเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา อย่างเช่น ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยของ S&P/Case-Shiller ชี้ว่าราคาที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ กำลังตกต่ำด้วยอัตราดิ่งแรงจัดชนิดที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในรอบ 20 ปีที่มีการจัดทำดัชนีตัวนี้ขึ้นมา ขณะที่ดัชนีราคาฟิวเจอร์ส ซึ่งอิงฐานอยู่กับดัชนีนี้ ก็บ่งชี้ว่ากว่าที่จุดต่ำสุดจะปรากฏให้เห็นก็จะต้องล่วงไปถึงปี 2010 ทีเดียว
การวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อกันว่า อย่างน้อยที่สุด กว่าที่ราคาที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ จะหลุดพ้นเขตวิกฤตได้ก็คงจะตกในราวปี 2009 เมื่อสัญญาจดจำนองที่อยู่อาศัย ARM ผ่านตราสารหนี้ซับไพร์ม/ออปชั่น รายการสุดท้ายของปี 2007 จะได้รับการปรับใหม่ โดยในขณะนี้ เกือบ 50%ของหนี้เหล่านี้อยู่ในข่ายที่ต้องถึงแก่กาลล้มละลายไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ จนกว่าจะถึงจุดที่ว่าวงจรอุบาทว์แห่งการยึดทรัพย์จดจำนอง – การบังคับขายทรัพย์ – การตกต่ำของระดับราคา – การยึดทรัพย์จดจำนองเพิ่ม เริ่มที่จะบรรเทาลงบ้างนั้น แรงกดดันจากปัญหาระดับราคาที่อยู่อาศัยตกต่ำ จะครองความเป็นแกนกลางของปัญหาการขาดไร้แรงขับเคลื่อนซึ่งครอบงำระบบการเงินของสหรัฐฯ อย่างชนิดที่โงหัวไม่ขึ้น
สถานการณ์เหล่านี้ฟังดูน่าหนักใจยิ่ง กระนั้นก็ตาม คำแถลงของการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟดเมื่อวันพุธที่ 25 มิถุนายน ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นความพยายามขุดหาของดีที่ซ่อนอยู่ใต้ซากขยะ
คำแถลงของที่ประชุมซึ่งออกมาพร้อมกับนโยบายการตัดสินใจที่จะไม่ดำเนินการตัดสินใจใดๆ ชี้ว่า
มีข้อมูลที่รวบรวมได้เมื่อไม่นานมานี้ ที่บ่งบอกว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยองค์รวมยังเดินหน้าขยายตัวได้ ข้อมูลดังกล่าวนี้ ในส่วนหนึ่งแล้ว สามารถสะท้อนว่าการจับจ่ายในครัวเรือนยังเป็นไปอย่างมั่นคงอยู่บ้าง
นโยบายผ่อนปรนทางการเงินอย่างมากมายที่ดำเนินมาถึงขณะนี้ เมื่อผนวกกับมาตรการอื่นๆ ที่ดำเนินการอยู่เพื่อหนุนสภาพคล่องของตลาด น่าที่จะช่วยส่งเสริมการเติบโตในระดับปานกลางได้สักระยะหนึ่ง แม้จะมีความเสี่ยงอยู่ว่าการขยายตัวจะตกต่ำลง ความเสี่ยงเหล่านี้ดูเหมือนว่าจะหายไปในระดับหนึ่ง ขณะที่ความเสี่ยงในด้านของเงินเฟ้อ และการคาดคิดว่าเงินเฟ้อจะมานั้น กำลังอยู่ในทิศทางขาขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ
เป็นที่แน่นอนว่า “เสถียรภาพภายในการจับจ่ายระดับครัวเรือน” ซึ่งถูกอ้างอิงอยู่ในคำแถลงของเฟดนั้น เป็นผลจากเช็คเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 160,000 ล้านดอลลาร์ที่รัฐบาลส่งไปสู่ครัวเรือนเมื่อเดือนพฤษภาคมนั่นเอง แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่ยาเสพติดโดสสั้นๆ ที่ช่วยให้ผู้บริโภคเพลินใจลืมปัญหาแท้จริงไปจนหมดฤดูใบไม้ผลิ และเมื่อถึงปัจจุบัน เมื่ออัดฉีดพิเศษหมดลงแล้ว หายนะที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ก็ย้อนกลับมาเล่นงาน ดังที่สะท้อนอยู่ในดัชนีวัดความมั่นใจผู้บริโภคซึ่งแตะจุดต่ำสุดจุดแล้วจุดเล่าเท่าที่เคยมีการเก็บสถิติกันนับจากเมื่อปี 1967
แล้วอะไรกันเล่าที่ทำให้เฟดชื่นมื่นอยู่ได้ พอจะมีใครสักคนไหมที่จะบอกเภสัชกรให้ยั้ง มือหน่อยตอนออกใบสั่งยาคลายประสาทโปรแซคโดสใหม่เพิ่มให้แก่เบน เบอร์นันกี
เฟดกำลังทำตัวเหมือนตัวตลกของวงการ แต่นั่นเป็นเพราะเฟดเองก็ไม่มีทางเลือก ทั้งนี้ หากเฟดนำเสนอภาพแท้จริงที่แสดงความอับจนของสถานการณ์เศรษฐกิจ คำถามก็จะผุดขึ้นมาว่า ทำไมเฟดไม่สืบสานมาตรการที่ช่วยส่งเสริมการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจด้วยการหั่นดอกเบี้ยลงอีกสักครั้งหนึ่ง เพราะอันที่จริงแล้ว การปรับลดดอกเบี้ยเป็นสิ่งสุดท้ายที่เฟดปรารถนาจะทำ หรือสามารถที่จะดำเนินการได้
เปรียบไปก็ละม้ายการไล่ล่าฆาตกรแหกคุก ฆาตกรที่ถูกกุมขังเพราะเคยเมามันกับการสังหารโหดเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ขณะนี้เศรษฐกิจของสหรัฐฯและของโลกถูกบังคับอีกครั้งหนึ่งให้ต้องจัดการกับภัยคุกคามที่พวกเขาอาจเคยคิดว่าพวกเขาจะไม่ค้องเผชิญกับมันอีก ซึ่งก็คือการเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อขยายตัวรุนแรงพร้อมๆ กับปัญหาการว่างงาน อันเป็นภาวการณ์ที่เรียกขานกันว่า เงินฝืดผสมเงินเฟ้อ (Stagflation) เงินเฟ้อที่ได้รับแรงโหมจากการที่ราคาน้ำมันดิบพุ่งทะยานสูงขึ้นแล้วสูงขึ้นอีก พร้อมกับถูกสมทบด้วยราคาอาหารที่ดีดตัวซ้ำๆ (โดยที่ว่าปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากการที่เกษตรกรในสหรัฐฯผันผายผลผลิตข้าวโพดไปทำอีทานอลเพื่อตอบสนองความต้องการใช้น้ำมันของคนอเมริกัน) ดังนั้น ดัชนีราคาผู้บริโภคในสหรัฐฯจึงปรับตัวขึ้นไป 4% โดยมียกเว้นแค่ในเดือนพฤษภาคมซึ่งอัตราขยายตัวอยู่ที่ระดับ 0.6%
ตัวเลขเหล่านี้ลอยสูงเหนือพื้นที่ปลอดภัยของเฟด โดยที่เฟดได้กำหนดง “ช่วงความกว้างของเงินเฟ้อตามเป้าหมาย” ไว้แค่ไม่เกิน 2.5% ทั้งนี้ ในหน้า 1 ของคู่มือธนาคารโลกยุคใหม่ทั้งหลาย จะต้องมีการเตือนว่าการต่อสู้กับเงินเฟ้อเสียตั้งแต่ต้นมือ จะง่ายแก่การเอาชนะได้เป็นอย่างยิ่ง และดีกว่าที่จะปล่อยให้ปัญหาผ่านระยะฟักตัว จนกลายเป็นเชื้อโรคจำนวนมหาศาลที่จะกินและทำลายทุกอย่างที่มันเข้าไปสัมผัส อันที่จริงแล้ว พวกแบงก์ชาติในปลายทศวรรษที่ 70 และต้นศตวรรษที่ 80 ได้เคยประสบกับบทเรียนนี้มาแล้วด้วยความเจ็บปวดรวดร้าว
จูเลียน เดอลาแซงเทนลิส เป็นที่ปรึกษาการบริหาร, นักลงทุนเอกชน และผู้สอนด้านธุรกิจระหว่างประเทศในมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ติดต่อเขาได้ที่อีเมล์: juliandelasantellis@yahoo.com
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)