เอเอฟพี – จีน, อินเดีย, มาเลเซีย, ไทย และบังกลาเทศ ถูกจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่ละเมิดสิทธิของผู้ลี้ภัยขั้นร้ายแรง ทั้งนี้ จากผลการสำรวจทั่วโลกที่เผยแพร่เนื่องในวันผู้ลี้ภัยสากล (20)
5 ชาติเอเชียดังกล่าวติด 10 อันดับดินแดนอันเลวร้ายสำหรับผู้อพยพ ร่วมกับอิรัก, เคนยา, รัสเซีย, ซูดาน และยุโรปในปีที่ผ่านมา จากการสำรวจผู้ลี้ภัยสากลปี 2008 ที่เผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี (19) ณ กรุงวอชิงตันของสหรัฐฯ
การสำรวจซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมาธิการเพื่อผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ (ยูเอสซีอาร์ไอ) อันเป็นองค์การเอ็นจีโอของสหรัฐฯ ชี้ว่า เมื่อปลายปีที่แล้ว ยอดรวมผู้อพยพทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 14 ล้านคน ซึ่งถือเป็นจำนวนที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2001
ตัวเลขผู้อพยพที่ขยับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเคย คือ ผู้ลี้ภัยชาวอิรัก โดยในปีที่แล้วมีชาวอิรักมากกว่า 550,000 ชีวิตต้องระหกระเหินออกจากมาตุภูมิ ส่งผลให้ยอดรวมจนถึงตอนนี้ มีผู้อพยพชาวอิรักมากกว่า 2 ล้านคน ยังคงรอคอยให้สถานการณ์ความรุนแรงภายในประเทศยุติลง
การจัดอันดับดินแดนเลวร้ายสำหรับผู้ลี้ภัยครั้งนี้ พิจารณาจากการที่ประเทศต่างๆ ขับไล่ผู้อพยพให้กลับไปเผชิญกับการลงโทษ, ความรุนแรง หรือแม้แต่ความตายที่รออยู่เบื้องหน้า หรือไม่ก็ยอมปล่อยให้ผู้ลี้ภัยเข้ามายังประเทศ จากนั้นก็ทอดทิ้งและไม่ให้การเหลียวแล ยูเอสซีอาร์ไอบอก
การสำรวจครั้งนี้ ได้จัดเกรด A ถึง F ให้กับประเทศต่างๆ ที่ละเมิดสิทธิของผู้ลี้ภัยไว้ด้วย โดยจีน, มาเลเซีย และไทยได้เกรด F จากการบีบบังคับให้ผู้อพยพกลับออกไปยังประเทศบ้านเกิดและปกป้องบุคคลกลุ่มนี้ในทางกายภาพ
เมอร์ริล สมิธ ผู้อำนวยการยูเอสซีอาร์ไอ ฝ่ายวางแผนและวิเคราะห์ระหว่างประเทศ อธิบายว่า “มาเลเซียขับไล่ผู้ลี้ภัยชาวพม่าไปยังประเทศไทย โดยผู้ลี้ภัยเหล่านี้บางคนถูกขายเป็นทาส พวกผู้ชายถูกขายให้กับเรือประมง ส่วนผู้หญิงถูกส่งไปตามซ่อง”
ประเทศไทยยังบีบบังคับให้ผู้อพยพกลับสู่มาตุภูมิในพม่าและลาวด้วย สมิธ บอก
นอกจากนี้ ไทย และ มาเลเซีย ยังครอง F อีกตัวร่วมกับบังกลาเทศและจีน สืบเนื่องจากการควบคุมตัวและดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ลี้ภัย ส่วนการจัดอันดับประเทศที่มีการให้เสรีภาพการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้อพยพ ประเทศไทยคว้า F ตัวที่ 3 ร่วมกับบังกลาเทศ
5 ชาติเอเชียดังกล่าวติด 10 อันดับดินแดนอันเลวร้ายสำหรับผู้อพยพ ร่วมกับอิรัก, เคนยา, รัสเซีย, ซูดาน และยุโรปในปีที่ผ่านมา จากการสำรวจผู้ลี้ภัยสากลปี 2008 ที่เผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี (19) ณ กรุงวอชิงตันของสหรัฐฯ
การสำรวจซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมาธิการเพื่อผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ (ยูเอสซีอาร์ไอ) อันเป็นองค์การเอ็นจีโอของสหรัฐฯ ชี้ว่า เมื่อปลายปีที่แล้ว ยอดรวมผู้อพยพทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 14 ล้านคน ซึ่งถือเป็นจำนวนที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2001
ตัวเลขผู้อพยพที่ขยับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเคย คือ ผู้ลี้ภัยชาวอิรัก โดยในปีที่แล้วมีชาวอิรักมากกว่า 550,000 ชีวิตต้องระหกระเหินออกจากมาตุภูมิ ส่งผลให้ยอดรวมจนถึงตอนนี้ มีผู้อพยพชาวอิรักมากกว่า 2 ล้านคน ยังคงรอคอยให้สถานการณ์ความรุนแรงภายในประเทศยุติลง
การจัดอันดับดินแดนเลวร้ายสำหรับผู้ลี้ภัยครั้งนี้ พิจารณาจากการที่ประเทศต่างๆ ขับไล่ผู้อพยพให้กลับไปเผชิญกับการลงโทษ, ความรุนแรง หรือแม้แต่ความตายที่รออยู่เบื้องหน้า หรือไม่ก็ยอมปล่อยให้ผู้ลี้ภัยเข้ามายังประเทศ จากนั้นก็ทอดทิ้งและไม่ให้การเหลียวแล ยูเอสซีอาร์ไอบอก
การสำรวจครั้งนี้ ได้จัดเกรด A ถึง F ให้กับประเทศต่างๆ ที่ละเมิดสิทธิของผู้ลี้ภัยไว้ด้วย โดยจีน, มาเลเซีย และไทยได้เกรด F จากการบีบบังคับให้ผู้อพยพกลับออกไปยังประเทศบ้านเกิดและปกป้องบุคคลกลุ่มนี้ในทางกายภาพ
เมอร์ริล สมิธ ผู้อำนวยการยูเอสซีอาร์ไอ ฝ่ายวางแผนและวิเคราะห์ระหว่างประเทศ อธิบายว่า “มาเลเซียขับไล่ผู้ลี้ภัยชาวพม่าไปยังประเทศไทย โดยผู้ลี้ภัยเหล่านี้บางคนถูกขายเป็นทาส พวกผู้ชายถูกขายให้กับเรือประมง ส่วนผู้หญิงถูกส่งไปตามซ่อง”
ประเทศไทยยังบีบบังคับให้ผู้อพยพกลับสู่มาตุภูมิในพม่าและลาวด้วย สมิธ บอก
นอกจากนี้ ไทย และ มาเลเซีย ยังครอง F อีกตัวร่วมกับบังกลาเทศและจีน สืบเนื่องจากการควบคุมตัวและดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ลี้ภัย ส่วนการจัดอันดับประเทศที่มีการให้เสรีภาพการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้อพยพ ประเทศไทยคว้า F ตัวที่ 3 ร่วมกับบังกลาเทศ