นางดาเรศ ชูศรี ผู้อำนวยการองค์การเพื่อผู้ลี้ภัยและผู้อพยพแห่งสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย (ยูเอสซีอาร์ไอ) เปิดเผยรายงานสถานการณ์ผู้ลี้ภัยทั่วโลกประจำปี 2551 พบว่า ประเทศไทยถูกจัดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศที่แย่ที่สุดสำหรับผู้ลี้ภัย เนื่องจากไทยมีการบังคับส่งกลับผู้ลี้ภัยหลายพันคนและไม่มีการรองรับสถานภาพผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่าจำนวนมากที่เข้ามาลี้ภัยในประเทศไทย ขณะเดียวกัน ยังมีการกักเก็บผู้ที่ได้รับการรับรองสถานภาพในค่ายผู้ลี้ภัย โดยไม่ให้สิทธิในการทำงาน นอกจากนี้ ไทยยังควบคุมตัวผู้ลี้ภัยม้งลาวเกือบ 8,000 คน ไว้ในค่ายผู้ลี้ภัย โดยผลสำรวจได้ลดเกรดของไทยลงจากปีที่ผ่านมา จากเกณฑ์ในประเมิน 4 ข้อ ที่เคยได้เกรด D 2 ข้อ และ F 2 ข้อ เป็น D 1 ข้อ และ F 3 ข้อ แทน จากการแบ่งเกรด ดี - แย่ เป็นระดับ A - F
ด้านนายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ในการช่วยสถานการณ์ผู้ลี้ภัยของไทยให้ดีขึ้น ควรจะปรับตัวกฏหมายด้านสิทธิการทำงานของผู้ลี้ภัย โดยต้องคำนึงถึงคนไทยด้วย โดยเข้าใจว่าทางภาครัฐบาลคงจะคำนึงถึงความมั่นคงของประเทศ แต่ไทยก็ยังต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนเป็นสำคัญเช่นกัน และหากผู้ลี้ภัยมีความเป็นอยู่ที่ไม่ดีก็จะส่งกระทบโดยตรงกับประเทศไทยด้วยเช่นกัน
รายงานดังกล่าวยังระบุอีกว่า มี 9 ประเทศ ที่ถูกจัดอันดับประเทศแย่ที่สุดสำหรับผู้ลี้ภัย ประกอบด้วย บังคลาเทศ จีน ยุโรป อินเดีย อิรัก เคนยา มาเลเซีย และซูดาน โดยขณะนี้ทั่วโลกมีผู้ลี้ภัยกว่า 14 ล้านคน นับว่ามากที่สุดในประวัติการณ์ ส่วนประเทศไทยมีผู้ลี้ภัย 406,000 คน มาจากพม่า 396,700 คน และลาว 7,800 คน และในทุกวันที่ 20 มิถุนายน เป็นวันผู้ลี้ภัยโลก
ด้านนายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ในการช่วยสถานการณ์ผู้ลี้ภัยของไทยให้ดีขึ้น ควรจะปรับตัวกฏหมายด้านสิทธิการทำงานของผู้ลี้ภัย โดยต้องคำนึงถึงคนไทยด้วย โดยเข้าใจว่าทางภาครัฐบาลคงจะคำนึงถึงความมั่นคงของประเทศ แต่ไทยก็ยังต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนเป็นสำคัญเช่นกัน และหากผู้ลี้ภัยมีความเป็นอยู่ที่ไม่ดีก็จะส่งกระทบโดยตรงกับประเทศไทยด้วยเช่นกัน
รายงานดังกล่าวยังระบุอีกว่า มี 9 ประเทศ ที่ถูกจัดอันดับประเทศแย่ที่สุดสำหรับผู้ลี้ภัย ประกอบด้วย บังคลาเทศ จีน ยุโรป อินเดีย อิรัก เคนยา มาเลเซีย และซูดาน โดยขณะนี้ทั่วโลกมีผู้ลี้ภัยกว่า 14 ล้านคน นับว่ามากที่สุดในประวัติการณ์ ส่วนประเทศไทยมีผู้ลี้ภัย 406,000 คน มาจากพม่า 396,700 คน และลาว 7,800 คน และในทุกวันที่ 20 มิถุนายน เป็นวันผู้ลี้ภัยโลก