เอเจนซี – เกาหลีใต้กำลังพิจารณาสร้างศูนย์ผู้อพยพในประเทศไทย มองโกเลีย และ รัสเซีย ให้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวเกาหลีเหนือ ที่หลบหนีจากมาตุภูมิเพื่อหาที่ลี้ภัย ตามเอกสารซึ่งสำนักข่าวรอยเตอร์ได้รับมา
กลุ่มสิทธิมนุษยชน เผยว่า ในทุกๆ ปี จะมีชาวเกาหลีเหนือหลายพันคนหลบหนีออกจากประเทศของตัวเอง โดยมักจะข้ามแดนเข้าไปในจีน แล้วจึงหลบหนีต่อไปยังประเทศที่ 3 เพื่อหาทางลี้ภัยเข้าไปในเกาหลีใต้
ในจำนวนผู้ลี้ภัยเหล่านั้น หลายคนมักหลบหนีเข้ามายังประเทศไทย และมักถูกจับ ขณะที่เกาหลีใต้ยอมช่วยเหลือชาวโสมแดงเหล่านั้นน้อยกว่าจำนวนที่หลบหนีเข้ามาจริง จนทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างรัฐบาลของเกาหลีใต้ และไทย
จากคำสั่งของประธานาธิบดี ซึ่งออกโดย ฮองจุงวุก วุฒิสมาชิกพรรครัฐบาลในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รัฐบาลควรพิจารณาตั้งค่ายผู้ลี้ภัยในไทยโดยทันที ซึ่งทางทำเนียบประธานาธิบดีของโสมขาวปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นเกี่ยวกับเอกสาร ที่ทางรอยเตอร์ได้มาฉบับนี้
ทั้งนี้ ผู้อพยพชาวเกาหลีเหนือกว่า 10,000 คนตัดสินใจเดินทางไปเกาหลีใต้ ซึ่งพวกเขามักได้รับการยอมรับให้เป็นพลเมืองของประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้เสนอการฝึกฝนเพื่อช่วยให้ชาวกาหลีเหนือปรับตัวในเกาหลีใต้ได้ แต่ปัจจุบันสถานที่ที่มีจำกัดแสดงถึงว่าผู้ลี้ภัยจำนวนไม่มากที่จะได้รับความช่วยเหลือเหล่านั้น
กลุ่มสิทธิมนุษยชน เผยว่า ในทุกๆ ปี จะมีชาวเกาหลีเหนือหลายพันคนหลบหนีออกจากประเทศของตัวเอง โดยมักจะข้ามแดนเข้าไปในจีน แล้วจึงหลบหนีต่อไปยังประเทศที่ 3 เพื่อหาทางลี้ภัยเข้าไปในเกาหลีใต้
ในจำนวนผู้ลี้ภัยเหล่านั้น หลายคนมักหลบหนีเข้ามายังประเทศไทย และมักถูกจับ ขณะที่เกาหลีใต้ยอมช่วยเหลือชาวโสมแดงเหล่านั้นน้อยกว่าจำนวนที่หลบหนีเข้ามาจริง จนทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างรัฐบาลของเกาหลีใต้ และไทย
จากคำสั่งของประธานาธิบดี ซึ่งออกโดย ฮองจุงวุก วุฒิสมาชิกพรรครัฐบาลในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รัฐบาลควรพิจารณาตั้งค่ายผู้ลี้ภัยในไทยโดยทันที ซึ่งทางทำเนียบประธานาธิบดีของโสมขาวปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นเกี่ยวกับเอกสาร ที่ทางรอยเตอร์ได้มาฉบับนี้
ทั้งนี้ ผู้อพยพชาวเกาหลีเหนือกว่า 10,000 คนตัดสินใจเดินทางไปเกาหลีใต้ ซึ่งพวกเขามักได้รับการยอมรับให้เป็นพลเมืองของประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้เสนอการฝึกฝนเพื่อช่วยให้ชาวกาหลีเหนือปรับตัวในเกาหลีใต้ได้ แต่ปัจจุบันสถานที่ที่มีจำกัดแสดงถึงว่าผู้ลี้ภัยจำนวนไม่มากที่จะได้รับความช่วยเหลือเหล่านั้น